ร่าง พ.ร.บ.อุ้มบุญ ผ่านเห็นชอบ คสช. แล้ว เตรียมเสนอต่อ สนช. พิจารณาตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ทบทวนรายกรณี ปลัด พม. เผย เตรียมเปิดประชุมอนุ กก. คุ้มครองเด็กวาระพิเศษ 15 ส.ค.
วันนี้ (13 ส.ค.) นายวิเชียร ชวลิต ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีมติเห็นชอบร่างพ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธ์ทางการแพทย์ พ.ศ. .... แล้วก่อนจะเสนอให้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นผู้พิจารณาต่อ ซึ่งร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว ได้มีกำหนดหลักการเพื่อกำหนดสถานะความเป็นบิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมายของเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ให้เหมาะสม ตลอดจนควบคุมการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์เกี่ยวกับตัวอ่อนและเทคโนโลยีดังกล่าวไม่ให้มีการนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง โดยมีทั้งหมด 49 มาตรา แบ่งเป็น 6 หมวด และบทเฉพาะกาล
นายวิเชียร กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ในส่วนของข้อกำหนดทางการแพทย์จะอยู่ในประกาศของแพทยสภา ซึ่งร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวจะให้อำนาจแพทยสภาในการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการต่างๆ ในส่วนของรายละเอียด ทั้งนี้ มีคณะกรรมการยกร่างฯ โดยมีปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน และมีปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมฯ เป็นคณะกรรมการ ซึ่งคณะกรรมการคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทางการแพทย์จะหน้าที่ในการให้ข้อแนะนำ แนวทางต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่การออกประกาศเกณฑ์ในแพทยสภา ใช้เป็นกรอบแนวทางการแพทย์ ต่อไป
ด้านนางระรินทิพย์ ศิโรรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ (สท.) กล่าวว่า จากการที่มีการทวงถามถึงการทบทวนร่างกฎหมายคุ้มครองเด็กอุ้มบุญนั้น ปัจจุบันยังยึดตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภา ซึ่งมีคณะกรรมการดูแลอยู่แล้วในการกำหนดหลักเกณฑ์ แนวทางต่างๆ และตอนนี้ร่างกฎหมายดังกล่าวได้ผ่านการทบทวนของกฤษฎีกามาแล้วไม่สามารถไปรื้อกลับมาใหม่ ซึ่งในวันนี้ก็มีการประชุมกับทางคณะรักษาความสงบ(คสช.) และผ่านความเห็นชอบ โดยลำดับต่อไปจะอยู่ในขั้นตอนของการเสนอต่อสภานิติบัญญัติ (สนช.) หลังจากนั้นก็จะเป็นอำนาจหน้าที่ของสนช.ในการออกคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานในการทบทวนกฎหมายหรือการทำประชาพิจารณ์ในประเด็นต่างๆ อย่างไรก็ตาม ร่างกฎหมายฉบับนี้จำเป็นต้องเร่งให้ผ่านโดยเร็วเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองเด็ก
ทั้งนี้ ในวันที่ 15 ส.ค. จะมีการประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก ในวาระพิเศษ โดยมีปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมฯ เป็นประธาน ซึ่งจะมีการพิจารณาถึงปัญหาอุ้มบุญ และจะนำผลการประชุมเข้าสู่คณะกรรมการเด็กแห่งชาติ ในวันที่ 26 ส.ค. นี้
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (13 ส.ค.) นายวิเชียร ชวลิต ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีมติเห็นชอบร่างพ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธ์ทางการแพทย์ พ.ศ. .... แล้วก่อนจะเสนอให้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นผู้พิจารณาต่อ ซึ่งร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว ได้มีกำหนดหลักการเพื่อกำหนดสถานะความเป็นบิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมายของเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ให้เหมาะสม ตลอดจนควบคุมการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์เกี่ยวกับตัวอ่อนและเทคโนโลยีดังกล่าวไม่ให้มีการนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง โดยมีทั้งหมด 49 มาตรา แบ่งเป็น 6 หมวด และบทเฉพาะกาล
นายวิเชียร กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ในส่วนของข้อกำหนดทางการแพทย์จะอยู่ในประกาศของแพทยสภา ซึ่งร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวจะให้อำนาจแพทยสภาในการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการต่างๆ ในส่วนของรายละเอียด ทั้งนี้ มีคณะกรรมการยกร่างฯ โดยมีปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน และมีปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมฯ เป็นคณะกรรมการ ซึ่งคณะกรรมการคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทางการแพทย์จะหน้าที่ในการให้ข้อแนะนำ แนวทางต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่การออกประกาศเกณฑ์ในแพทยสภา ใช้เป็นกรอบแนวทางการแพทย์ ต่อไป
ด้านนางระรินทิพย์ ศิโรรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ (สท.) กล่าวว่า จากการที่มีการทวงถามถึงการทบทวนร่างกฎหมายคุ้มครองเด็กอุ้มบุญนั้น ปัจจุบันยังยึดตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภา ซึ่งมีคณะกรรมการดูแลอยู่แล้วในการกำหนดหลักเกณฑ์ แนวทางต่างๆ และตอนนี้ร่างกฎหมายดังกล่าวได้ผ่านการทบทวนของกฤษฎีกามาแล้วไม่สามารถไปรื้อกลับมาใหม่ ซึ่งในวันนี้ก็มีการประชุมกับทางคณะรักษาความสงบ(คสช.) และผ่านความเห็นชอบ โดยลำดับต่อไปจะอยู่ในขั้นตอนของการเสนอต่อสภานิติบัญญัติ (สนช.) หลังจากนั้นก็จะเป็นอำนาจหน้าที่ของสนช.ในการออกคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานในการทบทวนกฎหมายหรือการทำประชาพิจารณ์ในประเด็นต่างๆ อย่างไรก็ตาม ร่างกฎหมายฉบับนี้จำเป็นต้องเร่งให้ผ่านโดยเร็วเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองเด็ก
ทั้งนี้ ในวันที่ 15 ส.ค. จะมีการประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก ในวาระพิเศษ โดยมีปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมฯ เป็นประธาน ซึ่งจะมีการพิจารณาถึงปัญหาอุ้มบุญ และจะนำผลการประชุมเข้าสู่คณะกรรมการเด็กแห่งชาติ ในวันที่ 26 ส.ค. นี้
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่