แพทยสภาร่วมราชวิทยาลัยสูติฯ จ่อเรียกหมออุ้มบุญ 240 รายชี้แจงทำความเข้าใจ 29 ส.ค. พร้อมเสนอตั้งอนุฯสอบสวนพิเศษเคสอุ้มบุญโดยเฉพาะ ด้าน สธ. เห็นควรชะลอ กม. คุ้มครองเด็กอุ้มบุญ หลังเปิดช่องหญิงไม่ใช่ญาติท้องแทน แถมมีให้ค่าใช้จ่ายดูแลระหว่างท้อง ย้ำ พม. ต้องพิจารณาตอบคำถามสังคมก่อนผลักดันร่าง
วันนี้ (13 ส.ค.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังประชุมร่วมกับแพทยสภา และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กรณีปัญหาอุ้มบุญ ว่า ได้ข้อสรุปร่วมกัน 2 ส่วน คือ 1. การควบคุมแพทย์ และสถานบริการที่ให้บริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ หรืออุ้มบุญอย่างถูกต้อง โดยวันที่ 29 ส.ค. แพทยสภาจะเรียกประชุมแพทย์ที่ให้บริการอุ้มบุญทั่วประเทศ เพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจ และ 2. มอบให้ สบส. ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย รวมทั้งประเด็นสิทธิมนุษยชนเพื่อหาทางออกของปัญหาในภาพรวม โดยเฉพาะเรื่อง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. ... ซึ่งจำเป็นต้องหารือในรายละเอียดอีกครั้ง เพราะต้องการรับฟังความคิดเห็นในทุกภาคส่วน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ต้องมีการทบทวนก่อนการผลักดันกฎหมายหรือไม่ นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ถือเป็นหน้าที่ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าบางประเด็นมีความละเอียดอ่อน เช่น การอนุญาตให้หญิงไม่ใช่ญาติอุ้มท้องแทน อาจต้องถามความเห็นจากหลายๆ ฝ่าย ส่วนจะต้องทำประชาพิจารณ์หรือไม่ หรือจะทบทวนอย่างไร คงต้องเป็นหน้าที่ของ พม. ที่จะต้องพิจารณาว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว ครอบคลุมและตอบคำถามในสิ่งที่สังคมมีความกังวลได้หรือไม่
นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า การเชิญแพทย์ทำอุ้มบุญ 240 คน มาร่วมประชุมวันที่ 29 ส.ค. ที่อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี ซอยศูนย์วิจัย ก็เพื่อต้องการชี้แจงและทำความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีให้เป็นไปตามเกณฑ์ของแพทย์สภา แต่ไม่ได้หมายความว่า จะเรียกมาตรวจสอบว่าแพทย์คนใดทำผิด ทั้งนี้ วันที่ 14 ส.ค. จะมีการเสนอที่ประชุมคณะกรรมการแพทยสภา ขอมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสอบสวนชุดพิเศษ กรณีอุ้มบุญ เพื่อให้ทำงานในการตรวจสอบเรื่องนี้โดยเฉพาะ ส่วนการสอบสวนจริยธรรมแพทย์ 2 ราย จากคลินิก เอส.เอ.อาร์.ที ที่ทำอุ้มบุญให้ “น้องแกรมมี่” อยู่ระหว่างการตรวจสอบ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 6 เดือน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในที่ประชุมได้มีการหารือเกี่ยวกับ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. ... โดยเห็นว่า ควรมีการชะลอการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวออกไปก่อน เนื่องจากมีข้อกังวลว่า พ.ร.บ. ดังกล่าว มีการกำหนดว่าให้แพทย์ที่ดำเนินการอุ้มบุญนั้นทำตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานของแพทยสภา ซึ่งขณะนี้แพทยสภากำลังพิจารณาปรับปรุงใหม่ ให้หญิงที่ไม่ใช่ญาติสามารถท้องแทนได้ รวมถึงจะมีการให้ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสุขภาพแก่หญิงตั้งครรภ์แทนขณะตั้งครรภ์ การคลอด และหลังคลอด ซึ่งกำลังพิจารราอยู่ว่าราคามาตรฐานควรเป็นเท่าไร
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (13 ส.ค.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังประชุมร่วมกับแพทยสภา และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กรณีปัญหาอุ้มบุญ ว่า ได้ข้อสรุปร่วมกัน 2 ส่วน คือ 1. การควบคุมแพทย์ และสถานบริการที่ให้บริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ หรืออุ้มบุญอย่างถูกต้อง โดยวันที่ 29 ส.ค. แพทยสภาจะเรียกประชุมแพทย์ที่ให้บริการอุ้มบุญทั่วประเทศ เพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจ และ 2. มอบให้ สบส. ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย รวมทั้งประเด็นสิทธิมนุษยชนเพื่อหาทางออกของปัญหาในภาพรวม โดยเฉพาะเรื่อง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. ... ซึ่งจำเป็นต้องหารือในรายละเอียดอีกครั้ง เพราะต้องการรับฟังความคิดเห็นในทุกภาคส่วน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ต้องมีการทบทวนก่อนการผลักดันกฎหมายหรือไม่ นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ถือเป็นหน้าที่ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าบางประเด็นมีความละเอียดอ่อน เช่น การอนุญาตให้หญิงไม่ใช่ญาติอุ้มท้องแทน อาจต้องถามความเห็นจากหลายๆ ฝ่าย ส่วนจะต้องทำประชาพิจารณ์หรือไม่ หรือจะทบทวนอย่างไร คงต้องเป็นหน้าที่ของ พม. ที่จะต้องพิจารณาว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว ครอบคลุมและตอบคำถามในสิ่งที่สังคมมีความกังวลได้หรือไม่
นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า การเชิญแพทย์ทำอุ้มบุญ 240 คน มาร่วมประชุมวันที่ 29 ส.ค. ที่อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี ซอยศูนย์วิจัย ก็เพื่อต้องการชี้แจงและทำความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีให้เป็นไปตามเกณฑ์ของแพทย์สภา แต่ไม่ได้หมายความว่า จะเรียกมาตรวจสอบว่าแพทย์คนใดทำผิด ทั้งนี้ วันที่ 14 ส.ค. จะมีการเสนอที่ประชุมคณะกรรมการแพทยสภา ขอมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสอบสวนชุดพิเศษ กรณีอุ้มบุญ เพื่อให้ทำงานในการตรวจสอบเรื่องนี้โดยเฉพาะ ส่วนการสอบสวนจริยธรรมแพทย์ 2 ราย จากคลินิก เอส.เอ.อาร์.ที ที่ทำอุ้มบุญให้ “น้องแกรมมี่” อยู่ระหว่างการตรวจสอบ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 6 เดือน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในที่ประชุมได้มีการหารือเกี่ยวกับ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. ... โดยเห็นว่า ควรมีการชะลอการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวออกไปก่อน เนื่องจากมีข้อกังวลว่า พ.ร.บ. ดังกล่าว มีการกำหนดว่าให้แพทย์ที่ดำเนินการอุ้มบุญนั้นทำตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานของแพทยสภา ซึ่งขณะนี้แพทยสภากำลังพิจารณาปรับปรุงใหม่ ให้หญิงที่ไม่ใช่ญาติสามารถท้องแทนได้ รวมถึงจะมีการให้ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสุขภาพแก่หญิงตั้งครรภ์แทนขณะตั้งครรภ์ การคลอด และหลังคลอด ซึ่งกำลังพิจารราอยู่ว่าราคามาตรฐานควรเป็นเท่าไร
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่