วานนี้ (19 พ.ย.) พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงภายหลังการรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะจากตัวแทน พรรคชาติพัฒนาและพรรคพลังชล เกี่ยวกับแนวทางการยกร่างรัฐธรรมนูญว่า น.พ.วรรณรัตน์ หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา ได้ฝากแนวทางการยกร่างรธน.ไว้ 6 ประเด็น คือ 1. รัฐธรรมนูญควรจะกระชับ กะทัดรัด ไม่มีข้อความมากที่ยากต่อการตีความ 2. เป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทยไม่มีการตัดต่อจากต่างประเทศ 3 . มีความเป็นกลางไม่อคติ 4 . มีความยืดหยุ่น ทันสมัย สามารถดำเนินงานในด้านการต่างประเทศได้อย่างทันเหตุการณ์ 5. มีบทบัญญัติที่จะไม่ให้ประเทศเข้าสู่ทางตัน 6. เป็นธรรมกับทุกฝ่าย
**ส.ส.ต้องสังกัดพรรค
นอกจากนี้ยังมีข้อเสนออีก 10 ประเด็น ที่เกี่ยวกับสถาบันทางการเมือง ทั้ง ส.ส. ส.ว. และที่มาของฝ่ายบริหาร คือ จำนวนส.ส.เห็นว่าที่กำหนดในปัจจุบันเหมาะสมแล้วคือ 1 ต่อ 1.5 แสนคน เพราะหากน้อยไป ก็ทำงานลำบากมากไปจะสิ้นเปลือง ส่วนการแบ่งเขตเลือกตั้ง แม้เขตใหญ่จะป้องกันการทุจริตได้ในระดับหนึ่ง แต่ถ้าเขตใหญ่มาก จะทำให้ส.ส.ไม่ยึดโยงกับประชาน เหมือนกับเขตเล็ก ดังนั้นหากจะกำหนดเป็นเขตใหญ่ ก็ควรมีส.ส.อยู่ที่ 3-5 คน ต่อเขต
ส่วนการทำงานของ กกต. ยังไม่เป็นเชิงรุกเพียงพอ ไม่สามารถป้องปรามการทุจริตเลือกตั้งได้ ขณะที่ ส.ส.ยังควรมี ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ โดยจำนวนที่มีไม่ควรเกินร้อยละ 20 ของจำนวนส.ส.ทั้งหมด และต้องมีคุณสมบัติสูงกว่าส.ส.เขต ทั้งการศึกษา และอายุ คุณสมบัติ ส.ส. ควรจบปริญญาตรี และสังกัดพรรคการเมือง เพราะในอดีต ส.ส.ไม่สังกัดพรรค จะมีข้อเสียคือ ซื้อตัวส.ส. ส่วนการแก้ปัญหาส.ส.ถูกบังคับโดยมติพรรคคือ กำหนดให้ส.ส.แสดงสิทธิอิสระในการลงมติบางเรื่องได้ เช่น การอภิปรายไม่ไว้วางใจ หรือ พิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ วุฒิสภาไม่ควรเกินร้อยละ 25 ของจำนวน ส.ส.และให้ ส.ว.ยึดโยงกับประชาชน คือมาจากการเลือกตั้ง หากจะมีการสรรหา ควรมีสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวน ส.ว. และคุณสมบัติของ ส.ว.สรรหาต้องสูงกว่า ส.ว.เลือกตั้ง ทั้งคุณวุฒิและวัยวุฒิ และกำหนดอำนาจส.ว.น้อยลง ไม่ให้มีอำนาจถอดถอนส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้ง
**นายกฯไม่ต้องมาจากส.ส.
นอกจากนั้น การแบ่งอำนาจฝ่ายบริหารกับนิติบัญญัติ เห็นด้วยรัฐมนตรีต้องไม่มาจากส.ส. และรัฐมนตรีต้องมีคุณสมบัติสูงกว่าส.ส. ส่วนนายกรัฐมนตรี ควรมาจากการเลือกตั้ง เว้นกรณีเกิดวิกฤตกับบ้านเมือง อาจให้สภาผู้แทนราษฎร เสนอบุคคลที่ไม่ใช่ ส.ส.มาดำรงตำแหน่งนายกเฉพาะกาล โดยใช้เสียงสามในสี่ ของส.ส. และให้มีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งอยู่แค่แก้วิกฤตแล้วเสร็จ ขณะที่นโยบายประชานิยมดำเนินการได้ แต่ต้องมีกรอบการทำงาน งบประมาณที่ชัดเจนเสนอเข้าสภาเป็นรายปี เพื่อจำกัดความเสียหายของงบประมาณ
สำหรับการแก้ปัญหาทุจริต คอร์รัปชัน เสนอให้มีมาตรการดำเนินการทั้งต่อนักการเมือง ข้าราชการในแนวทางเดียวกัน ไม่ใช่นักการเมืองขึ้นศาลเดียวไม่มีสิทธิอุทธรณ์ ฎีกา แต่ข้าราชการสู้คดีสามศาล จึงเห็นว่าควรจัดตั้งศาลพิเศษดำเนินคดีทุจริต ทั้งข้าราชการและนักการเมือง เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว และเป็นธรรม
เรื่องการสรรหาองค์กรอิสระ ต้องปรับการสรรหาให้รอบคอบกว้างขวาง และเหมาะสม ปรับการใช้อำนาจขององค์กรอิสระให้เป็นธรรม เสมอภาคกับทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย
ขณะที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการกระจายอำนาจ เสนอให้เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด โดยเริ่มจากจังหวัดที่มีความพร้อม เช่น เชียงใหม่ สงขลา และเห็นว่าการกระจายอำนาจ ต้องทำทั้งงบประมาณและกำลังคนอย่างเพียงพอ เพื่อให้เกิดประสิทธิผล ส่วนแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ให้กำหนดเรื่องกีฬา ลงไปด้วย
**กกต.มีหน้าที่แค่จัดเลือกตั้ง
พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวต่อว่า ในส่วนพรรคพลังชล เสนอว่า ส.ส.ควรสังกัดพรรค แต่ให้สิทธิในการลงมติโดยอิสระ เสนอกฎหมายโดยไม่ต้องอาศัยมติพรรค และแสดงความไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญ 50 มาตรา 237 ที่ให้ยุบพรรค และตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคทั้งหมด ทั้งที่มีกรรมการบริหารพรรคเพียงคนเดียวที่ทำผิด ทุจริตซื้อเสียง
สำหรับการกำหนดเขตเลือกตั้ง อยากให้เป็นเขตเล็กเพื่อให้ ส.ส.ดูแลพื้นที่ได้ดีกว่าเขตใหญ่ ส่วนที่เกรงว่าเขตเล็กจะมีการซื้อเสียงมากก็เห็นว่า เป็นหน้าที่ของผู้จัดการเลือกตั้ง ต้องควบคุม ดูแล และมีการกำหดบทลงโทษให้จริงจังมากขึ้น ขณะที่การจัดการเลือกตั้ง เห็นว่า ควรให้กกต. มีอำนาจเพียงจัดการเลือกตั้ง ส่วนการสืบสวนวินิจฉัยความผิด ให้เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรยุติธรรม หรือ อาจะเป็นศาล หรือองค์กรเฉพาะที่น่าเชื่อถือ แล้วให้มีการอุทธรณ์ได้ สำหรับที่มาของ ส.ว.ควรมาจากทั้งสรรหา และเลือกตั้ง
อย่างไรก็ตาม กรรมาธิการได้มีการสอบถามผู้แทนพรรคพลังชลใน 3-4 ประเด็น ซึ่งทางพรรคก็เห็นว่า หากส.ส.ไม่ต้องสังกัดพรรค จะเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการซื้อคะแนนเสียงในการลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจ การพิจารณางบประมาณ ขณะที่ในเรื่องการแยกอำนาจนิติบัญญัติ กับบริหารอย่างเด็ดขาด ถือว่าดี ถ้าสามารถถ่วงดุลได้ แต่หากส.ส.และรัฐมนตรีมีที่มาจากแหล่งเดียวกัน การพิจารณาของฝ่ายนิติบัญญัติ ส.ส.ก็ยังคงต้องปฏิบัติตามมติพรรค
ผู้สื่อข่าวถามว่า พรรคชาติพัฒนาได้มีการเสนอตัวอย่างที่เห็นว่าจะเป็นทางตันของประเทศ จนจำเป็นต้องเสนอให้มีการกำหนดบทบัญญัติ ที่จะไม่ให้ประเทศเข้าสู่ทางตันไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า พรรคชาติพัฒนา อยากให้รัฐธรรมนูญมีความยืดหยุ่น เช่นหากนายกฯ ถูกถอดถอน จะทำอย่างไร ซึ่งข้อเสนอก็สอดคล้องกับเหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ แต่ทั้งนี้จะมีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญจริงหรือไม่ ยังไม่รู้ และส่วนตัวก็เห็นว่า ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเขียนไว้
สำหรับการรับฟังความเห็นพรรคการเมืองของคณะกรรมาธิการฯ ได้พบกับตัวแทนพรรคการเมืองมาแล้ว 4 พรรค ประกอบด้วย ชาติไทย ภูมิใจไทย ชาติพัฒนา พลังชล และในวันนี้ (20 พ.ย.57) จะรับฟังความเห็นจากตัวแทน พรรคมาตุภูมิ
**บัญญัติทุนสำรองของชาติไว้ในรธน.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันเดียวกันนี้ คณะศิษยานุศิษย์ของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน นำโดย นางภิฤดี ภวภูนานันท์ ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ผ่านนางทัศนา บุญทอง รองประธาน สปช. เสนอความเห็นในการร่างรัฐธรรมนูญ 3 ประเด็น คือ
1. ให้มีการคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์ และสถาบันพระพุทธศาสนา โดยขอให้บัญญัติให้การสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช เป็นพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์เท่านั้น บุคคล หรือองค์ใด แม้มีหน้าที่ในการเสนอ แต่มิอาจก้าวล่วงพระราชอำนาจนี้ได้ และมีบทบัญญัติคุ้มครองพระพุทธศาสนาทุกกรณี รวมถึงสื่อทางพระพุทธศาสนา ที่ไม่แสวงหากำไรในทางธุรกิจด้วย
2. ให้รักษาหลักการของการปฏิรูปสื่อ ที่ต้องให้ความเสมอภาคกับสื่อภาคประชาชนทัดเทียมกับสื่อที่เคยผูกขาด
3. ให้บัญญัติทุนสำรองของชาติ ไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยกันทุนสำรอง แยกออกจากทุนสำรองประเภทอื่นๆ เพื่อเป็นหลักประกันอธิปไตยทางการเงินของชาติ
นอกจากนี้ คัดค้านการออกกฎหมายปกครองสงฆ์ที่ขัดต่อพระธรรมวินัย โดยเฉพาะในประเด็นที่จะให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เข้ามาก้าวก่ายตรวจสอบสมบัติของสงฆ์ เพราะพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระธรรมวินัยให้พระสงฆ์ปกครองกันเอง กิจการในวัดใด ก็ให้เป็นหน้าที่ของสมภารวัดนั้นเป็นผู้ดูแล ไม่ใช่ให้ฆารวาสเข้าไปก้าวก่าย ปกครองสงฆ์
**"บวรศักดิ์"นัดตรวจการบ้าน1ธ.ค.
นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวคสช. ได้กำชับให้เร่งทำงาน โดยเฉพาะการพิจารณากฎหมาย ที่เกี่ยวกับปฏิรูประเทศว่า ยังไม่ได้กำหนดว่า จะหารือกับ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อกำหนดแนวทางหรือปรับแนวทางใดๆ หรือไม่ แต่ในวันที่ 1 ธ.ค.นี้ จะมีการติดตามงานของคณะอนุกรรมาธิการพิจารณากรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญทั้ง 10 ประเด็น
ด้านนายเจษฎ์ โทณะวณิก กมธ.ยกร่างฯ กล่าวว่า ภายหลังจากจัดทำรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จมีเวลาประมาณ 6 เดือน ในการจัดทำกฎหมายลูกประกอบรัฐธรรมนูญ ที่ใช้เป็นกติกาเพื่อการเลือกตั้ง แต่เพื่อให้การทำงานเสร็จได้ตามเวลา ประธาน กมธ.ยกร่างฯ ให้แนวทางไว้ว่า ระหว่างที่มีการยกร่างรธน. คณะที่ทำงานเกี่ยวกับกฎหมายลูก จะต้องทำงานคู่ขนานกันไป ทั้งนำกฎหมายลูกฉบับเก่ามาพิจารณาประกอบ เพื่อแก้ไข หรือยกร่างใหม่ โดยการทำควบคู่ไป เพราะสามารถนำภาคปฏิบัติมาเขียนกฎหมายที่สอดรับกับรธน.ฉบับใหม่ จากเดิมที่ต้องรอยกร่างเสร็จก่อนแล้ว ถึงขั้นตอนทำกฎหมายลูก ซึ่งกฎหมายลูกที่จำเป็น คือ กฎหมายพรรคการเมือง กฎหมายเลือกตั้ง
นายประชา เตรัตน์ สปช. ในฐานะคณะกรรมาธิการวิสามัญ การรับการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็น กล่าวภายหลังการประชุมครั้งที่ 1 ว่า ประเด็นในที่ประชุม มีการพูดถึงจะดำเนินการอย่างไร ให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการปฏิรูปประเทศ และการยกร่างรธน. ให้มากที่สุด โดยเห็นว่ากระบวนการที่สำคัญ ที่ต้องออกแบบหวังผลให้ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แบ่งเป็น 3 วิธี 1. ใช้กระบวนการทางวิชาการ เลือกกลุ่มตัวแทนจากภาคประชาชน ที่จะมาแสดงความคิดเห็น เพื่อให้ได้ผลที่น่าเชื่อถือ 2. ใช้การเติมเต็มข้อมูล คือ โดยก่อนหน้านี้ได้มีข้อมูลการรับฟังความคิดเห็น จากหน่วยงานต่างๆ ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งส่วนที่เหลือจะเอาข้อมูลจากประชาชนมาเติมเต็มให้สมบูรณ์ 3. การทำให้ประชาชนมีความรู้สึกในการมีส่วนรวมมากที่สุด โดยจากนี้จะมีการตั้งคณะอนุกรรมาธิการระดับจังหวัด ทั้ง 77 จังหวัด จังหวัดละไม่เกิน 15 คน ประกอบด้วย สมาชิกสปช.จังหวัด ทำหน้าที่เป็นประธานอนุกมธ. ส่วนที่เหลือจะเลือกจากผู้ที่เคยสมัครสปช. และสำนักงาน กกต. เป็นเลขานุการ รวมถึงหน่วยงานข้าราชการระดับจังหวัด อาทิ กอ.รมน. ผู้ว่าราชการจังหวัด ฯลฯ ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาอนุกมธ. อย่างไรก็ตามจะมีการนัดประชุมกำหนดแผนงาน และรับรองการตั้งอนุกมธ.จังหวัดอีกครั้ง ในวันที่ 26 พ.ย. นี้
"กมธ. การมีส่วนร่วมฯ จะทำงานกว้างกว่ากมธ.ยกร่างฯ รัฐธรรมนูญ เพราะต้องฟังความคิดเห็นจากประชาชนในการปฏิรูป ทั้ง 18 ด้าน หรืออาจมากกว่านั้น การรับฟังนี้จะไม่ใช่เวทีร้องเรียน แต่จะเป็นเวทีที่ให้ทุกคนมองถึงอนาคต ว่าต้องการปฏิรูปประเทศอย่างไรบ้าง" นายประชา กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสปช. ได้ออกประกาศ สปช. เรื่องวันเริ่มต้น และวันสิ้นของแต่ละรอบระยะเวลา 90 วันของการประชุมสภาสปช. ตามข้อบังคับการประชุมสปช. พ.ศ.2557 ข้อที่ 78 ที่กำหนดให้สมาชิกที่ไม่แสดงตนเพื่อลงมติ ในที่ประชุมสภาตามข้อ 65 เกินกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนครั้ง ที่มีการแสดงตนเพื่อลงมติทั้งหมด ในรอบระยะเวลา 90 วันให้สมาชิกภาพสิ้นสุดลงตามมาตรา 29 ประกอบมาตรา 9 ( 5 ) ของรัฐธรรมนูญ โดยรอบที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 4 พ.ย. 57-1 ก.พ. 58 รอบที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 2 ก.พ. 58-2 พ.ค. 58 รอบที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 3 พ.ค. 58-31 ก.ค. 58 รอบที่ 4 ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 58- วันที่ 29 ต.ค. 58 และรอบที่ 5 ตั้งแต่วันที่ 30 ต.ค. 58-27 ม.ค. 59
**ส.ส.ต้องสังกัดพรรค
นอกจากนี้ยังมีข้อเสนออีก 10 ประเด็น ที่เกี่ยวกับสถาบันทางการเมือง ทั้ง ส.ส. ส.ว. และที่มาของฝ่ายบริหาร คือ จำนวนส.ส.เห็นว่าที่กำหนดในปัจจุบันเหมาะสมแล้วคือ 1 ต่อ 1.5 แสนคน เพราะหากน้อยไป ก็ทำงานลำบากมากไปจะสิ้นเปลือง ส่วนการแบ่งเขตเลือกตั้ง แม้เขตใหญ่จะป้องกันการทุจริตได้ในระดับหนึ่ง แต่ถ้าเขตใหญ่มาก จะทำให้ส.ส.ไม่ยึดโยงกับประชาน เหมือนกับเขตเล็ก ดังนั้นหากจะกำหนดเป็นเขตใหญ่ ก็ควรมีส.ส.อยู่ที่ 3-5 คน ต่อเขต
ส่วนการทำงานของ กกต. ยังไม่เป็นเชิงรุกเพียงพอ ไม่สามารถป้องปรามการทุจริตเลือกตั้งได้ ขณะที่ ส.ส.ยังควรมี ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ โดยจำนวนที่มีไม่ควรเกินร้อยละ 20 ของจำนวนส.ส.ทั้งหมด และต้องมีคุณสมบัติสูงกว่าส.ส.เขต ทั้งการศึกษา และอายุ คุณสมบัติ ส.ส. ควรจบปริญญาตรี และสังกัดพรรคการเมือง เพราะในอดีต ส.ส.ไม่สังกัดพรรค จะมีข้อเสียคือ ซื้อตัวส.ส. ส่วนการแก้ปัญหาส.ส.ถูกบังคับโดยมติพรรคคือ กำหนดให้ส.ส.แสดงสิทธิอิสระในการลงมติบางเรื่องได้ เช่น การอภิปรายไม่ไว้วางใจ หรือ พิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ วุฒิสภาไม่ควรเกินร้อยละ 25 ของจำนวน ส.ส.และให้ ส.ว.ยึดโยงกับประชาชน คือมาจากการเลือกตั้ง หากจะมีการสรรหา ควรมีสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวน ส.ว. และคุณสมบัติของ ส.ว.สรรหาต้องสูงกว่า ส.ว.เลือกตั้ง ทั้งคุณวุฒิและวัยวุฒิ และกำหนดอำนาจส.ว.น้อยลง ไม่ให้มีอำนาจถอดถอนส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้ง
**นายกฯไม่ต้องมาจากส.ส.
นอกจากนั้น การแบ่งอำนาจฝ่ายบริหารกับนิติบัญญัติ เห็นด้วยรัฐมนตรีต้องไม่มาจากส.ส. และรัฐมนตรีต้องมีคุณสมบัติสูงกว่าส.ส. ส่วนนายกรัฐมนตรี ควรมาจากการเลือกตั้ง เว้นกรณีเกิดวิกฤตกับบ้านเมือง อาจให้สภาผู้แทนราษฎร เสนอบุคคลที่ไม่ใช่ ส.ส.มาดำรงตำแหน่งนายกเฉพาะกาล โดยใช้เสียงสามในสี่ ของส.ส. และให้มีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งอยู่แค่แก้วิกฤตแล้วเสร็จ ขณะที่นโยบายประชานิยมดำเนินการได้ แต่ต้องมีกรอบการทำงาน งบประมาณที่ชัดเจนเสนอเข้าสภาเป็นรายปี เพื่อจำกัดความเสียหายของงบประมาณ
สำหรับการแก้ปัญหาทุจริต คอร์รัปชัน เสนอให้มีมาตรการดำเนินการทั้งต่อนักการเมือง ข้าราชการในแนวทางเดียวกัน ไม่ใช่นักการเมืองขึ้นศาลเดียวไม่มีสิทธิอุทธรณ์ ฎีกา แต่ข้าราชการสู้คดีสามศาล จึงเห็นว่าควรจัดตั้งศาลพิเศษดำเนินคดีทุจริต ทั้งข้าราชการและนักการเมือง เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว และเป็นธรรม
เรื่องการสรรหาองค์กรอิสระ ต้องปรับการสรรหาให้รอบคอบกว้างขวาง และเหมาะสม ปรับการใช้อำนาจขององค์กรอิสระให้เป็นธรรม เสมอภาคกับทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย
ขณะที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการกระจายอำนาจ เสนอให้เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด โดยเริ่มจากจังหวัดที่มีความพร้อม เช่น เชียงใหม่ สงขลา และเห็นว่าการกระจายอำนาจ ต้องทำทั้งงบประมาณและกำลังคนอย่างเพียงพอ เพื่อให้เกิดประสิทธิผล ส่วนแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ให้กำหนดเรื่องกีฬา ลงไปด้วย
**กกต.มีหน้าที่แค่จัดเลือกตั้ง
พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวต่อว่า ในส่วนพรรคพลังชล เสนอว่า ส.ส.ควรสังกัดพรรค แต่ให้สิทธิในการลงมติโดยอิสระ เสนอกฎหมายโดยไม่ต้องอาศัยมติพรรค และแสดงความไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญ 50 มาตรา 237 ที่ให้ยุบพรรค และตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคทั้งหมด ทั้งที่มีกรรมการบริหารพรรคเพียงคนเดียวที่ทำผิด ทุจริตซื้อเสียง
สำหรับการกำหนดเขตเลือกตั้ง อยากให้เป็นเขตเล็กเพื่อให้ ส.ส.ดูแลพื้นที่ได้ดีกว่าเขตใหญ่ ส่วนที่เกรงว่าเขตเล็กจะมีการซื้อเสียงมากก็เห็นว่า เป็นหน้าที่ของผู้จัดการเลือกตั้ง ต้องควบคุม ดูแล และมีการกำหดบทลงโทษให้จริงจังมากขึ้น ขณะที่การจัดการเลือกตั้ง เห็นว่า ควรให้กกต. มีอำนาจเพียงจัดการเลือกตั้ง ส่วนการสืบสวนวินิจฉัยความผิด ให้เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรยุติธรรม หรือ อาจะเป็นศาล หรือองค์กรเฉพาะที่น่าเชื่อถือ แล้วให้มีการอุทธรณ์ได้ สำหรับที่มาของ ส.ว.ควรมาจากทั้งสรรหา และเลือกตั้ง
อย่างไรก็ตาม กรรมาธิการได้มีการสอบถามผู้แทนพรรคพลังชลใน 3-4 ประเด็น ซึ่งทางพรรคก็เห็นว่า หากส.ส.ไม่ต้องสังกัดพรรค จะเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการซื้อคะแนนเสียงในการลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจ การพิจารณางบประมาณ ขณะที่ในเรื่องการแยกอำนาจนิติบัญญัติ กับบริหารอย่างเด็ดขาด ถือว่าดี ถ้าสามารถถ่วงดุลได้ แต่หากส.ส.และรัฐมนตรีมีที่มาจากแหล่งเดียวกัน การพิจารณาของฝ่ายนิติบัญญัติ ส.ส.ก็ยังคงต้องปฏิบัติตามมติพรรค
ผู้สื่อข่าวถามว่า พรรคชาติพัฒนาได้มีการเสนอตัวอย่างที่เห็นว่าจะเป็นทางตันของประเทศ จนจำเป็นต้องเสนอให้มีการกำหนดบทบัญญัติ ที่จะไม่ให้ประเทศเข้าสู่ทางตันไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า พรรคชาติพัฒนา อยากให้รัฐธรรมนูญมีความยืดหยุ่น เช่นหากนายกฯ ถูกถอดถอน จะทำอย่างไร ซึ่งข้อเสนอก็สอดคล้องกับเหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ แต่ทั้งนี้จะมีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญจริงหรือไม่ ยังไม่รู้ และส่วนตัวก็เห็นว่า ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเขียนไว้
สำหรับการรับฟังความเห็นพรรคการเมืองของคณะกรรมาธิการฯ ได้พบกับตัวแทนพรรคการเมืองมาแล้ว 4 พรรค ประกอบด้วย ชาติไทย ภูมิใจไทย ชาติพัฒนา พลังชล และในวันนี้ (20 พ.ย.57) จะรับฟังความเห็นจากตัวแทน พรรคมาตุภูมิ
**บัญญัติทุนสำรองของชาติไว้ในรธน.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันเดียวกันนี้ คณะศิษยานุศิษย์ของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน นำโดย นางภิฤดี ภวภูนานันท์ ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ผ่านนางทัศนา บุญทอง รองประธาน สปช. เสนอความเห็นในการร่างรัฐธรรมนูญ 3 ประเด็น คือ
1. ให้มีการคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์ และสถาบันพระพุทธศาสนา โดยขอให้บัญญัติให้การสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช เป็นพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์เท่านั้น บุคคล หรือองค์ใด แม้มีหน้าที่ในการเสนอ แต่มิอาจก้าวล่วงพระราชอำนาจนี้ได้ และมีบทบัญญัติคุ้มครองพระพุทธศาสนาทุกกรณี รวมถึงสื่อทางพระพุทธศาสนา ที่ไม่แสวงหากำไรในทางธุรกิจด้วย
2. ให้รักษาหลักการของการปฏิรูปสื่อ ที่ต้องให้ความเสมอภาคกับสื่อภาคประชาชนทัดเทียมกับสื่อที่เคยผูกขาด
3. ให้บัญญัติทุนสำรองของชาติ ไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยกันทุนสำรอง แยกออกจากทุนสำรองประเภทอื่นๆ เพื่อเป็นหลักประกันอธิปไตยทางการเงินของชาติ
นอกจากนี้ คัดค้านการออกกฎหมายปกครองสงฆ์ที่ขัดต่อพระธรรมวินัย โดยเฉพาะในประเด็นที่จะให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เข้ามาก้าวก่ายตรวจสอบสมบัติของสงฆ์ เพราะพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระธรรมวินัยให้พระสงฆ์ปกครองกันเอง กิจการในวัดใด ก็ให้เป็นหน้าที่ของสมภารวัดนั้นเป็นผู้ดูแล ไม่ใช่ให้ฆารวาสเข้าไปก้าวก่าย ปกครองสงฆ์
**"บวรศักดิ์"นัดตรวจการบ้าน1ธ.ค.
นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวคสช. ได้กำชับให้เร่งทำงาน โดยเฉพาะการพิจารณากฎหมาย ที่เกี่ยวกับปฏิรูประเทศว่า ยังไม่ได้กำหนดว่า จะหารือกับ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อกำหนดแนวทางหรือปรับแนวทางใดๆ หรือไม่ แต่ในวันที่ 1 ธ.ค.นี้ จะมีการติดตามงานของคณะอนุกรรมาธิการพิจารณากรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญทั้ง 10 ประเด็น
ด้านนายเจษฎ์ โทณะวณิก กมธ.ยกร่างฯ กล่าวว่า ภายหลังจากจัดทำรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จมีเวลาประมาณ 6 เดือน ในการจัดทำกฎหมายลูกประกอบรัฐธรรมนูญ ที่ใช้เป็นกติกาเพื่อการเลือกตั้ง แต่เพื่อให้การทำงานเสร็จได้ตามเวลา ประธาน กมธ.ยกร่างฯ ให้แนวทางไว้ว่า ระหว่างที่มีการยกร่างรธน. คณะที่ทำงานเกี่ยวกับกฎหมายลูก จะต้องทำงานคู่ขนานกันไป ทั้งนำกฎหมายลูกฉบับเก่ามาพิจารณาประกอบ เพื่อแก้ไข หรือยกร่างใหม่ โดยการทำควบคู่ไป เพราะสามารถนำภาคปฏิบัติมาเขียนกฎหมายที่สอดรับกับรธน.ฉบับใหม่ จากเดิมที่ต้องรอยกร่างเสร็จก่อนแล้ว ถึงขั้นตอนทำกฎหมายลูก ซึ่งกฎหมายลูกที่จำเป็น คือ กฎหมายพรรคการเมือง กฎหมายเลือกตั้ง
นายประชา เตรัตน์ สปช. ในฐานะคณะกรรมาธิการวิสามัญ การรับการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็น กล่าวภายหลังการประชุมครั้งที่ 1 ว่า ประเด็นในที่ประชุม มีการพูดถึงจะดำเนินการอย่างไร ให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการปฏิรูปประเทศ และการยกร่างรธน. ให้มากที่สุด โดยเห็นว่ากระบวนการที่สำคัญ ที่ต้องออกแบบหวังผลให้ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แบ่งเป็น 3 วิธี 1. ใช้กระบวนการทางวิชาการ เลือกกลุ่มตัวแทนจากภาคประชาชน ที่จะมาแสดงความคิดเห็น เพื่อให้ได้ผลที่น่าเชื่อถือ 2. ใช้การเติมเต็มข้อมูล คือ โดยก่อนหน้านี้ได้มีข้อมูลการรับฟังความคิดเห็น จากหน่วยงานต่างๆ ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งส่วนที่เหลือจะเอาข้อมูลจากประชาชนมาเติมเต็มให้สมบูรณ์ 3. การทำให้ประชาชนมีความรู้สึกในการมีส่วนรวมมากที่สุด โดยจากนี้จะมีการตั้งคณะอนุกรรมาธิการระดับจังหวัด ทั้ง 77 จังหวัด จังหวัดละไม่เกิน 15 คน ประกอบด้วย สมาชิกสปช.จังหวัด ทำหน้าที่เป็นประธานอนุกมธ. ส่วนที่เหลือจะเลือกจากผู้ที่เคยสมัครสปช. และสำนักงาน กกต. เป็นเลขานุการ รวมถึงหน่วยงานข้าราชการระดับจังหวัด อาทิ กอ.รมน. ผู้ว่าราชการจังหวัด ฯลฯ ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาอนุกมธ. อย่างไรก็ตามจะมีการนัดประชุมกำหนดแผนงาน และรับรองการตั้งอนุกมธ.จังหวัดอีกครั้ง ในวันที่ 26 พ.ย. นี้
"กมธ. การมีส่วนร่วมฯ จะทำงานกว้างกว่ากมธ.ยกร่างฯ รัฐธรรมนูญ เพราะต้องฟังความคิดเห็นจากประชาชนในการปฏิรูป ทั้ง 18 ด้าน หรืออาจมากกว่านั้น การรับฟังนี้จะไม่ใช่เวทีร้องเรียน แต่จะเป็นเวทีที่ให้ทุกคนมองถึงอนาคต ว่าต้องการปฏิรูปประเทศอย่างไรบ้าง" นายประชา กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสปช. ได้ออกประกาศ สปช. เรื่องวันเริ่มต้น และวันสิ้นของแต่ละรอบระยะเวลา 90 วันของการประชุมสภาสปช. ตามข้อบังคับการประชุมสปช. พ.ศ.2557 ข้อที่ 78 ที่กำหนดให้สมาชิกที่ไม่แสดงตนเพื่อลงมติ ในที่ประชุมสภาตามข้อ 65 เกินกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนครั้ง ที่มีการแสดงตนเพื่อลงมติทั้งหมด ในรอบระยะเวลา 90 วันให้สมาชิกภาพสิ้นสุดลงตามมาตรา 29 ประกอบมาตรา 9 ( 5 ) ของรัฐธรรมนูญ โดยรอบที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 4 พ.ย. 57-1 ก.พ. 58 รอบที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 2 ก.พ. 58-2 พ.ค. 58 รอบที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 3 พ.ค. 58-31 ก.ค. 58 รอบที่ 4 ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 58- วันที่ 29 ต.ค. 58 และรอบที่ 5 ตั้งแต่วันที่ 30 ต.ค. 58-27 ม.ค. 59