ASTVผู้จัดการรายวัน- "ประยุทธ์" ตั้งกมธ.ยกร่างฯโควต้า ครม.-คสช. "บวรศักดิ์" นั่งประธานฯ ตามคาด "จรูญ-ประสพสุข-บรรเจิด - นครินทร์-เจตน์" มาตามโผ มีชื่อ"หมอกระแส-ทูตกฤต" ร่วมด้วย พร้อมตั้ง 4 เวทีคู่ขนาน ดึงสปช.อกหักมาร่วมทีมปฏิรูป สั่งคสช. จับตาการเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมือง "บวรศักดิ์" เตรียมนำ 36 กมธ. ไหว้พระแก้ว พระสยามเทวาธิราช ศาลหลักเมือง ก่อนเริ่มงาน "เทียนฉาย" ลงนามแต่งตั้ง กมธ.ยกร่างรธน.แล้ว ชมแต่ละคนชำนาญในการยกร่างรธน. ประสบการณ์เพียบ
ในการประชุมร่วมระหว่าง คณะรัฐมนตรี (ครม.) และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวานนี้ (4พ.ย.) ได้มีการพิจารณารายชื่อผู้ที่จะได้รับการเสนอชื่อ เป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในสัดส่วนของครม.และ คสช. โดยในส่วนของ คสช. มีสิทธิ์เสนอจำนวน 6 ตำแหน่งรวมประธานคณะกรรมาธิการยกร่างฯด้วย ซึ่งมีรายชื่อดังต่อไปนี้
นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ เป็นประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนกรรมาธิการอีก 5 คน ได้แก่ นายสุจิต บุญบงการ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายจรูญ อินทจาร อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ นายประสพสุข บุญเดช อดีตประธานวุฒิสภา นายบรรเจิด สิงคะเนติ คณบดีคณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และ นายกฤต ไกรจิตติ อดีตเอกอัครราชทูตหลายประเทศ
ในส่วนของ ครม. มีชื่อกรรมาธิการ 5 คน ได้แก่ นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ นายเจตน์ โทณะวณิก คณบดีคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ นายปกรณ์ ปรียากร อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ นพ.กระแส ชนะวงศ์ อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง และนายวิชัย ทิตตะภักดี สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
** ดึงสปช.อกหักร่วม 4 เวทีปฏิรูป
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ด้านกฎหมาย กล่าวภายหลังการประชุมร่วม คสช.และครม.ว่า กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ทั้ง 11 คน อย่าง นายปกรณ์ ปรียากร อดีตรองคณบดี คณะรัฐประศาสนศาสตร์ นิด้า ซึ่งเป็นอดีตส.ส.ร. ปี 50 นายสุจิต บุญบงการ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายกฤต ไกรจิตติ อดีตเอกอัครราชทูต ณ กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย และเป็นอดีตอธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เป็นอธิบดีกรมสนธิสัญญา และกฎหมาย เป็นบุตรชาย นายสรรเสริญ ไกรจิตติ อดีตประธานศาลฏีกา จะมาดูในเรื่องของการเขียนรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 และมาดูในเรื่องของสิทธิ เสรีภาพ เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้มีแต่เรื่องเลือกตั้ง มีพระมหากษัตริย์ ครม. ศาล การตรวจสอบควบคุม สิทธิเสรีภาพ ต่างประเทศ แนวนโยบายพื้นฐาน ท้องถิ่น เพราะฉะนั้นต้องใช้คนที่มีความหลากหลาย
ทั้งนี้ เรื่องเศรษฐกิจ ได้เลือก นายวิชัย ทิตตะภักดี ประธานคณะทำงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสาร และในฐานะสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มาร่วม ส่วนที่เลือก นพ.กระแส ชนะวงศ์ อดีตรมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีต รมว.การต่างประเทศ อดีตรองหัวหน้าพรรคพลังธรรม เพราะใน 36 คน อยากได้นักการเมืองน้ำดี ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นว่า พวกที่มาร่างรัฐธรรมนูญ ไม่เคยเลือกตั้ง ซึ่งทั้ง 11 คน พล.อ.ประยุทธ์ เป็นผู้เลือกทั้งหมด และส่งชื่อมาให้ตนตรวจสอบ
นอกจากนี้ นายกฯ เห็นชอบตั้ง 4 เวทีปฏิรูป ทำงานควบคู่ สปช. ประกอบด้วย 1. ทีมงานวิชาการ สปช. ที่ตั้งผู้เชี่ยวชาญชำนาญการ เป็นคณะทำงาน 2. เวทีกรรมาธิการ สปช. รัฐบาลส่งคนเข้าร่วม สัดส่วน 1 ใน 5 ของจำนวน กมธ. 3. เวทีรูปแบบเดียวเวทีปฏิรูปประเทศ ในสมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี คัดมาจำนวน 300 คน จากผู้สมัคร สปช. จำนวน 7,000 คน ที่ไมได้รับคัดเลือกเป็น สปช. แบ่งเป็น 3 ทีม คือ 1. การเมือง การปกครอง 2. เศรษฐกิจ พลังงาน 3. สังคม แยกกันประชุม ใช้เวทีสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ หากมีอะไรที่รัฐบาลต้องการให้ทีมนี้ช่วย ก็จะส่งเรื่องไป และ 4. เวทีภูมิภาค ที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) กระทรวงกลาโหม รับไป ซึ่งเวทีวิชาการ สปช. เริ่มทำงานแล้ว ส่วนเวที กมธ.สปช. เมื่อเริ่มใช้ข้อบังคับได้ จะส่งคนไปร่วม ส่วนเวทีที่ 3 ประชุม ครม.สัปดาห์หน้า จะเสนอออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีมารองรับ แล้วลงมือคัดคน ส่วนเวทีภูมิภาค กอ.รมน. สามารถเริ่มจัดทำเวทีได้ ตั้งแต่วันที่ 5 พ.ย. เป็นต้นไป
เมื่อถามว่า จากกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญที่ตั้ง จะถูกมองหรือไม่ว่าเป็น “รัฐธรรมนูญสีชมพู”นายวิษณุ กล่าวว่า ถ้าเอาทั้ง 36 คนมาดู จะรู้ว่ามีทุกสี แดง เหลือ เขียว ชมพู บอกแล้วเวลาตั้ง ไม่ได้ดูอะไร แต่สื่อก็เอามาโยงกันได้ คนไทยคอนเนกชันมันมีแน่ เพราะว่ามันเป็นคนไทย ข้อสำคัญเป็นคอนเนกชันไม่เป็นไร แต่อย่าเป็น“conspiracy” หรือการสมคบร่วมคิด ก็แล้วกัน
** อ้างตั้ง"บวรศักดิ์"นั่งปธ. ตามที่สื่อเขียน
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช.) แถลงภายหลังการประชุมร่วม ว่า ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในสัดส่วนของ คสช. และครม. ทั้ง 11 คน แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จะต้องฟังข้อคิดเห็นจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ด้วย ต้องเชื่อมโยงกัน และต้องฟังเสียงจากภาคประชาชน
"ฝากขอร้องสื่อมวลชนอย่าไปเขียนอะไรให้เสียหาย เพราะที่ผ่านมาการเขียนรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายจะเขียนเพื่ออำนาจบริหาร การควบคุมดูแลเจ้าหน้าที่รัฐ บางทีก็หนักไป พอหนักไป ประชาชนก็ไม่รู้ว่าจะเข้าร่วมตรงไหน มันก็ขัดแย้งกันอยู่อย่างนี้ จึงต้องเขียนทั้งสองส่วน ทั้งการบริหารราชการแผ่นดิน การกำกับดูแล การจัดสรรงบประมาณ ให้ภาคเอกชนได้เข้ามาร่วม อะไรที่เป็นผลดีกับประชาชนบ้าง ก็เป็นแนวทางจัดสรรมาจากหลายส่วน" นายกรัฐมนตรี กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามถึงเหตุผลที่เลือก นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสปช. เป็นประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พล.อ.ประยุทธ์ ตอบว่า "เขาไม่เด่นตรงไหน คุณก็ตั้งขึ้นมาเอง สื่อก็ตั้งมาเอง ผมก็เห็นจากสื่อ เห็นสื่อเขียนมาเองอยู่แล้ว ผมตั้งตามมติของที่ประชุม ซึ่งเขามีการคัดเลือกคัดสรรกันภายในมาแล้ว ผมไม่ได้หมายความว่าใครจะเก่งไม่เก่ง ทุกคนเก่งกันหมด เป็นได้หมดทุกคน ผมถามว่า ประธานคนเดียว ชี้ได้หมดทุกอย่างหรืออย่างไร ผมอยากจะรู้ตรงนี้ เขาก็มีคณะกรรมาธิการคณะย่อยศึกษารายละเอียด เวลามีการประชุมอะไร ประธานก็สั่งไม่ได้หรอก มันต้องเป็นเรื่องของมติความเห็นชอบทั้ง 35 คน ผมถามว่า คน 35 คน สั่งได้ทุกคนหรือ เพราะทุกคนมีความรู้ความสามารถอาวุโสทั้งนั้น ผมว่าสั่งกันไม่ได้ "
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวด้วยว่า ได้มีการอนุมัติให้มีการตั้งคณะทำงาน เพื่อให้คนที่ไม่ได้รับการคัดเลือกเป็นสปช. จำนวน 7,000 กว่าคน เข้ามามีส่วนร่วมด้วย โดยใช้งบประมาณที่มีอยู่เดิม เพราะสปช. มีสิทธิ์ตั้งคณะทำงานอยู่แล้วคณะละ 5 คน ตามกฎหมาย โดยตกลงกันว่า จะตั้งใครก็แล้วแต่ ก็ให้มาตั้งจากที่หลุดใน สปช.250 คน เข้ามาดีกว่า เป็นการประหยัดงบประมาณ และให้โอกาสคนที่อยากทำงานเข้ามา
นอกจากนี้ ที่ประชุมให้ความเห็นชอบ ในเรื่องที่จะเดินทางไปเข้าร่วมประชุมที่ต่างประเทศ ในสัปดาห์หน้า ในการประชุมสุดยอดผู้นำเศรษฐกิจเอเชีย-ยุโรป (เอเปก) ครั้งที่ 22 ระหว่างวันที่ 9-11 พ.ย. ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน และการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้ง 25 ระหว่างวันที่ 12-13 พ.ย. ที่กรุงเนปิดอว์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับแถลงการณ์ร่วม ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย เป็นเรื่องแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของอาเซียน ซึ่งมีสหรัฐอเมริกา และรัสเซีย เข้าร่วมประชุม
** "บวรศักดิ์"นำ 36 กมธ.ไหว้พระแก้ว
พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช สปช. ในฐานะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า วันนี้ ( 5 พ.ย.) เวลา 06.30 น. คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทั้ง 36 คน จะเข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้แก่ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร, พระสยามเทวาธิราช ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ และ สักการะศาลหลักเมือง เพื่อความเป็นสิริมงคล ก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการ จากนั้นจะเดินทางกลับมาที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ทำกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ และรับประทานอาหารเที่ยงร่วมกัน และในเวลา 13.00 น. จะมีประชุม กมธ. ยกร่างรัฐธรรมนูญ ทั้ง 36 คน อย่างไม่เป็นทางการ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานของ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ สำหรับวันที่ 6 พ.ย. นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้นัดประชุม กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญนัดแรก ช่วงเช้า เพื่อเลือกรองประธาน กมธ. , เลขานุการ กมธ., โฆษก กมธ. และฝ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
** ดึงสภากระจก เข้าร่วมงาน
พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) กล่าวในที่ประชุมครม.ว่า อยากทำความเข้าใจในเรื่องของสต็อกข้าว ที่มีการกล่าวกันว่า พูดตัวเลขสองครั้งไม่ตรงกัน จึงชี้แจงว่า ในวันนั้นที่ พล.อ.ประยุทธ์ พูดก็คือยอดที่ตรวจสอบในวันนั้น แต่วันนี้ก็คือยอดของวันนี้ ในชุดสุดท้าย ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ ไม่ใช่ พล.อ.ประยุทธ์มั่ว จึงฝากมาชี้แจง โดยวันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ชี้แจงยอดคร่าวๆ คือข้าวที่ได้คุณภาพ มีประมาณ 10% ส่วนที่ต่ำกว่าคุณภาพมีประมาณ 70% ส่วนที่เสื่อมคุณภาพมีประมาณ 3-4 % และส่วนเหลือ ก็คือส่วนที่หาย โดยให้เร่งขออนุมัติป.ป.ช. เพื่อนำข้าวมาจำหน่ายในราคาที่ควรจะเป็น
พล.อ.ประยุทธ์ ยังได้ฝากให้ดูในเรื่องของสถาบันปฏิรูปประเทศไทย หรือ สภากระจก ที่มีการตั้งควบคู่กันขึ้นมากับสปช. โดยไม่อยากให้สังคมสับสน ซึ่งรัฐบาลมีช่องทางในการเสนอความคิดเห็นอยู่แล้ว จึงอยากทำความเข้าใจ และติดต่อประสานเพื่อให้เข้ามาร่วมกัน เพื่อไม่ให้สังคมเกิดความสับสน โดยให้ฝ่ายกฎหมายไปพิจารณาดูว่า จะติดตามประสานงานกับทั้งสองส่วนนี้ได้อย่างไร
นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้ฝากแนวความคิดพื้นฐานไว้ ในระหว่างที่เดินทางไปต่างประเทศว่าให้เร่งดำเนินการเรื่องที่ยังค้างอยู่โดยเฉพาะเรื่องหนี้สินของคนที่ยากจน รวมถึงให้ติดตามแก้ไขปัญหาหนี้สินของสถาบันเกษตร สหกรณ์ การพัฒนากองทุนระดับต่างๆ ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้มอบหมายให้ พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่แแทนในระหว่างเดินทางไปต่างประเทศ ส่วนการประชุมร่วมระหว่างครม.และคสช.ในครั้งหน้า คาดว่าจะประชุมกันในวันที่ 9 ธ.ค.
** คสช.จับตากลุ่มเคลื่อนไหวการเมือง
พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบก และทีมโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงการประชุมร่วม ครม. และคสช. ว่า ทาง คสช.ได้รายงานให้ที่ประชุมได้รับทราบถึงผลการบริหารราชการในงานด้านความมั่นคงในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่ การมุ่งเน้นป้องกันและแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ที่จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ทั้งปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล่ำ ความเป็นธรรมในสังคม และการสร้างสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย รวมถึงสถานการณ์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย อีกทั้งยังมีข้อคิดเห็นสำคัญของคสช. ที่เสนอให้ที่ประชุมได้รับทราบจำนวน 10 เรื่อง ได้แก่
1. เรื่องการเตรียมความพร้อมให้ทุกภาคส่วนมุ่งไปสู่เศรษฐกิจดิจิตอล เพื่อเป็นรากฐานด้านเศรษฐกิจในอนาคตที่มีความทันสมัย 2. เรื่องการจัดระเบียบวินรถจักรยานยนต์รับจ้าง โดยเฉพาะเรื่องการไปจดทะเบียนให้ถูกต้องและให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลา 3. เรื่อง ร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระบบยาทั้งประเทศ โดยมีในหลายประเด็นที่ควรแก้ไข เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภคอย่างแท้จริง 4. เรื่องระบบการศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 5. เรื่องการพัฒนาทางด้านการศึกษา และการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียน
6. เรื่องการจัดตั้งกรมการขนส่งทางราง ที่มีบทบาทและอำนาจหน้าที่ในการลงทุน บำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานที่จะเป็นบริการสาธารณะ รวมทั้งกำกับดูแลด้านความปลอดภัย อีกทั้งมีความจำเป็นต่อการบริหารจัดการระบบรางในอนาคต 7. เรื่องการจัดระเบียบเรือประมงและแรงงานประมง ที่ต้องมีการดำเนินการอย่างเร่งด่วน และจริงจังจะเป็นการลดปัญหาในเรื่องการค้ามนุษย์ การหลบหนีเข้าเมือง และการทารุณกรรมต่อแรงงานข้ามชาติ สามารถตรวจสอบการดำเนินงานของธุรกิจการประมงได้ถูกต้องรวดเร็ว
8. เรื่องกำหนดมาตรการการจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาชุมชนแออัด และโครงการบ้านมั่นคงชนบทเพื่อผู้ยากจนและด้อยโอกาสในชนบท เพื่อผลักดันให้เกิดสังคมสวัสดิการให้มีผลอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว 9. เรื่องการดำเนินงานปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป โดยได้มีการบูรณาการข้อมูลกันระหว่างศูนย์ปรองดองฯ ภาค1-4 กับศูนย์ดำรงธรรม ในข้อมูลความคิดเห็นเรื่องการปฏิรูป และเรื่องร้องเรียนที่สำคัญๆ เช่น ปัญหาความไม่เป็นธรรมจากเรื่องของหนี้นอกระบบ
10. เรื่องการเตรียมการปฏิรูปเพื่อคืนความสุขให้คนในชาติมีประเด็นที่ประชาชนสนใจและถือเป็นเรื่องเร่งด่วน ได้แก่ การปฏิรูปด้านการเมือง เช่น รูปแบบรัฐสภา พรรคการเมือง และส.ส. ส่วนการปฏิรูปด้านการศึกษา ได้แก่ โครงสร้างและการบริหารจัดการของกระทรวงศึกษา โอกาสการเข้าถึงการศึกษา ส่วนการปฏิรูปด้านเศรษฐกิจก็เพื่อให้เกิดการเพิ่มศักยภาพ และเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขัน ซึ่งความคิดเห็นนี้ที่ได้รวบรวมมาดังกล่าวเป็นเรื่องที่ประชาชนมีความต้องการ จึงน่าจะเป็นประโยชน์ที่แต่ละกระทรวงจะนำไปพิจารณาเพื่อเป็นข้อมูล หรือการหาแนวทางปฏิบัติเพื่อตอบสนองให้กับประชาชนต่อไป
" สำหรับข้อห่วงใยของ พล.อ.ประยุทธ์ ต่อสถานการณ์ในช่วงนี้ ได้แก่การเคลื่อนไหวในลักษณะเข้าข่ายเชิงการเมือง ซึ่งอาจยังไม่เหมาะสม และต้องติดตามต่อเนื่อง สำหรับการบังคับใช้กฎหมายในกรณีจำเป็น เจ้าหน้าที่ต้องใช้ดุลพินิจอย่างรอบคอบและเป็นไปด้วยความระมัดระวังเป็นไปอย่างเท่าเทียม ส่วนการแสดงความคิดเห็นในเชิงชี้นำต่อประเด็นต่างๆ ขององค์กรบางองค์กร ซึ่งอาจมีข้อมูลไม่ครบ หรือมีการตั้งสมมุติฐานโดยใช้ทัศนคติในเชิงลบ นำไปสู่ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของสังคม หรืออาจเป็นการทำลายชื่อเสียงประเทศชาติได้ จึงอยากให้เจ้าหน้าที่ดำรงความต่อเนื่องในการสร้างความเข้าใจ และสนับสนุนข้อมูลที่ถูกต้อง ในช่วงนี้อยากขอความร่วมมือทุกกลุ่มทุกฝ่าย หลีกเลี่ยงการพูด หรือการแสดงออกในลักษณะที่ทำให้เกิดความรู้สึกไม่ดีต่อกัน หรือกดดันการทำหน้าที่ขององค์กรต่างๆ เพื่อช่วยกันรักษาบรรยากาศที่ดีของการปฏิรูป และการเดินหน้าประเทศไปสู่เป้าหมาย" พ.อ.วินธัย กล่าว
**กกต.สั่ง 77 จ.หนุนสปช.ปฏิรูป
นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดเผยว่า ทางสำนักงานกกต.ได้รับการประสานงานจากคสช. และสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในเบื้องต้นที่มีความประสงค์ที่จะขอความร่วมมือให้สำนักงานกกต. ทั้ง 77 จังหวัด ปฏิบัติหน้าที่ ศูนย์ประสานงานในการช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานของสภาปฎิรูปแห่งชาติ รวมทั้งสมาชิกสปช. ในจังหวัดนั้นๆ
โดยในส่วนแรกจะทำในลักษณะหน้าที่ของฝ่ายธุรการ ด้วยการเป็นศูนย์รับเรื่องราวทั้งหมด ที่ประชาชนในพื้นที่มีความในการเสนอแนวคิดการปฏิรูปเรื่องต่างๆ ทั้ง 11 ด้าน เพื่อเป็นการรับฟังความเห็นในพื้นที่ ไม่ต้องเดินทางมาที่กทม.
ส่วนที่สอง คือการให้ใช้พื้นที่เปิดโอกาสให้สมาชิก สปช.ระดับจังหวัดได้พบปะกับประชาชน
สำหรับการจัดรับฟังความเห็นในการปฎิรูป กำลังรอความชัดเจนจากทางสปช.ว่า จะมีขอบเขตอย่างไร เบื้องต้นทางสำนักงาน กกต.ก็พร้อมที่จะดำเนินการจนกว่าภารกิจของ สปช. จะสิ้นสุดลง
"สำนักงานกกต. พร้อมที่จะดำเนินการ เพราะนายศุภชัย สมเจริญ ประธานกกต. ได้นำเรื่องเข้าหารือในหลักการกับที่ประชุมกกต.แล้ว ที่ประชุมก็มีมติให้สนับสนุนการทำงานของสปช. อย่างเต็มกำลังความสามารถ เบื้องต้นยังได้แจ้งประสานให้ผู้อำนวยการเลือกตั้งทั้ง 77 จังหวัด เตรียมความพร้อมไว้แล้ว หากมีความชัดเจนในเรื่องภาระกิจ จะประสานให้ดำเนินการได้ทันที" นายภุชงค์ กล่าว
เลขาฯ กกต.ยังกล่าวด้วยว่า ขณะนี้มีหลายจังหวัดที่สมาชิก สปช. ได้ไปประสานงาน และรับฟังความคิดเห็น เช่น ชลบุรี และสุโขทัย ซึ่งทางสำนักงาน กกต.ประจำจังหวัด ก็พร้อมที่จะดำเนินการ
**"เทียนฉาย"ลงนามแต่งตั้ง กมธ.ยกร่างรธน.แล้ว
เมื่อเวลา 17.30 น.วานนี้ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เปิดเผยว่า ตนได้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 36 คน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยทางสำนักเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้มีการตรวจสอบความถูกต้องรายชื่อที่มาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) แล้ว ทั้งนี้ เท่าที่ตนได้ดูรายชื่อ คณะกรรมาธิการทั้งหมด คิดว่าดี ส่วนหนึ่งก็เป็นผู้ที่มีความชำนาญในการร่างรัฐธรรมนูญ มีประสบการณ์ด้านนี้มาก่อน อีกส่วนก็มาจากหลายวงการ เช่น ผู้เชี่ยวชาญกฏหมายมหาชน เป็นต้น ส่วนจุดยืนทางการเมืองของแต่ละคนที่ผ่านมา เชื่อว่า จะไม่น่าเป็นปัญหาต่อการทำหน้าที่
สำหรับขั้นตอนแนวทางการทำงานของกมธ.ยกร่างฯ คงต้องเป็นหน้าที่ของ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ในฐานะประธาน กมธ.ยกร่างฯ แต่ในส่วนของสปช. ก็ต้องเร่งดำเนินการทำข้อเสนอแนะต่อคณะกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญตามกรอบระยะเวลา 60 วัน ซึ่งจะเริ่มดำเนินการได้ภายใน 2-3 วันนี้ อย่างไรก็ตาม ในการสัมมนา สปช. ในวันที่ 9-10 พ.ย.นี้จะมีการพูดคุยถึงสาระในการทำงานและวิสัยทัศน์ประเทศไทยในอนาคตด้วย
ในการประชุมร่วมระหว่าง คณะรัฐมนตรี (ครม.) และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวานนี้ (4พ.ย.) ได้มีการพิจารณารายชื่อผู้ที่จะได้รับการเสนอชื่อ เป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในสัดส่วนของครม.และ คสช. โดยในส่วนของ คสช. มีสิทธิ์เสนอจำนวน 6 ตำแหน่งรวมประธานคณะกรรมาธิการยกร่างฯด้วย ซึ่งมีรายชื่อดังต่อไปนี้
นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ เป็นประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนกรรมาธิการอีก 5 คน ได้แก่ นายสุจิต บุญบงการ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายจรูญ อินทจาร อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ นายประสพสุข บุญเดช อดีตประธานวุฒิสภา นายบรรเจิด สิงคะเนติ คณบดีคณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และ นายกฤต ไกรจิตติ อดีตเอกอัครราชทูตหลายประเทศ
ในส่วนของ ครม. มีชื่อกรรมาธิการ 5 คน ได้แก่ นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ นายเจตน์ โทณะวณิก คณบดีคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ นายปกรณ์ ปรียากร อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ นพ.กระแส ชนะวงศ์ อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง และนายวิชัย ทิตตะภักดี สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
** ดึงสปช.อกหักร่วม 4 เวทีปฏิรูป
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ด้านกฎหมาย กล่าวภายหลังการประชุมร่วม คสช.และครม.ว่า กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ทั้ง 11 คน อย่าง นายปกรณ์ ปรียากร อดีตรองคณบดี คณะรัฐประศาสนศาสตร์ นิด้า ซึ่งเป็นอดีตส.ส.ร. ปี 50 นายสุจิต บุญบงการ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายกฤต ไกรจิตติ อดีตเอกอัครราชทูต ณ กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย และเป็นอดีตอธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เป็นอธิบดีกรมสนธิสัญญา และกฎหมาย เป็นบุตรชาย นายสรรเสริญ ไกรจิตติ อดีตประธานศาลฏีกา จะมาดูในเรื่องของการเขียนรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 และมาดูในเรื่องของสิทธิ เสรีภาพ เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้มีแต่เรื่องเลือกตั้ง มีพระมหากษัตริย์ ครม. ศาล การตรวจสอบควบคุม สิทธิเสรีภาพ ต่างประเทศ แนวนโยบายพื้นฐาน ท้องถิ่น เพราะฉะนั้นต้องใช้คนที่มีความหลากหลาย
ทั้งนี้ เรื่องเศรษฐกิจ ได้เลือก นายวิชัย ทิตตะภักดี ประธานคณะทำงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสาร และในฐานะสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มาร่วม ส่วนที่เลือก นพ.กระแส ชนะวงศ์ อดีตรมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีต รมว.การต่างประเทศ อดีตรองหัวหน้าพรรคพลังธรรม เพราะใน 36 คน อยากได้นักการเมืองน้ำดี ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นว่า พวกที่มาร่างรัฐธรรมนูญ ไม่เคยเลือกตั้ง ซึ่งทั้ง 11 คน พล.อ.ประยุทธ์ เป็นผู้เลือกทั้งหมด และส่งชื่อมาให้ตนตรวจสอบ
นอกจากนี้ นายกฯ เห็นชอบตั้ง 4 เวทีปฏิรูป ทำงานควบคู่ สปช. ประกอบด้วย 1. ทีมงานวิชาการ สปช. ที่ตั้งผู้เชี่ยวชาญชำนาญการ เป็นคณะทำงาน 2. เวทีกรรมาธิการ สปช. รัฐบาลส่งคนเข้าร่วม สัดส่วน 1 ใน 5 ของจำนวน กมธ. 3. เวทีรูปแบบเดียวเวทีปฏิรูปประเทศ ในสมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี คัดมาจำนวน 300 คน จากผู้สมัคร สปช. จำนวน 7,000 คน ที่ไมได้รับคัดเลือกเป็น สปช. แบ่งเป็น 3 ทีม คือ 1. การเมือง การปกครอง 2. เศรษฐกิจ พลังงาน 3. สังคม แยกกันประชุม ใช้เวทีสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ หากมีอะไรที่รัฐบาลต้องการให้ทีมนี้ช่วย ก็จะส่งเรื่องไป และ 4. เวทีภูมิภาค ที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) กระทรวงกลาโหม รับไป ซึ่งเวทีวิชาการ สปช. เริ่มทำงานแล้ว ส่วนเวที กมธ.สปช. เมื่อเริ่มใช้ข้อบังคับได้ จะส่งคนไปร่วม ส่วนเวทีที่ 3 ประชุม ครม.สัปดาห์หน้า จะเสนอออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีมารองรับ แล้วลงมือคัดคน ส่วนเวทีภูมิภาค กอ.รมน. สามารถเริ่มจัดทำเวทีได้ ตั้งแต่วันที่ 5 พ.ย. เป็นต้นไป
เมื่อถามว่า จากกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญที่ตั้ง จะถูกมองหรือไม่ว่าเป็น “รัฐธรรมนูญสีชมพู”นายวิษณุ กล่าวว่า ถ้าเอาทั้ง 36 คนมาดู จะรู้ว่ามีทุกสี แดง เหลือ เขียว ชมพู บอกแล้วเวลาตั้ง ไม่ได้ดูอะไร แต่สื่อก็เอามาโยงกันได้ คนไทยคอนเนกชันมันมีแน่ เพราะว่ามันเป็นคนไทย ข้อสำคัญเป็นคอนเนกชันไม่เป็นไร แต่อย่าเป็น“conspiracy” หรือการสมคบร่วมคิด ก็แล้วกัน
** อ้างตั้ง"บวรศักดิ์"นั่งปธ. ตามที่สื่อเขียน
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช.) แถลงภายหลังการประชุมร่วม ว่า ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในสัดส่วนของ คสช. และครม. ทั้ง 11 คน แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จะต้องฟังข้อคิดเห็นจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ด้วย ต้องเชื่อมโยงกัน และต้องฟังเสียงจากภาคประชาชน
"ฝากขอร้องสื่อมวลชนอย่าไปเขียนอะไรให้เสียหาย เพราะที่ผ่านมาการเขียนรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายจะเขียนเพื่ออำนาจบริหาร การควบคุมดูแลเจ้าหน้าที่รัฐ บางทีก็หนักไป พอหนักไป ประชาชนก็ไม่รู้ว่าจะเข้าร่วมตรงไหน มันก็ขัดแย้งกันอยู่อย่างนี้ จึงต้องเขียนทั้งสองส่วน ทั้งการบริหารราชการแผ่นดิน การกำกับดูแล การจัดสรรงบประมาณ ให้ภาคเอกชนได้เข้ามาร่วม อะไรที่เป็นผลดีกับประชาชนบ้าง ก็เป็นแนวทางจัดสรรมาจากหลายส่วน" นายกรัฐมนตรี กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามถึงเหตุผลที่เลือก นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสปช. เป็นประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พล.อ.ประยุทธ์ ตอบว่า "เขาไม่เด่นตรงไหน คุณก็ตั้งขึ้นมาเอง สื่อก็ตั้งมาเอง ผมก็เห็นจากสื่อ เห็นสื่อเขียนมาเองอยู่แล้ว ผมตั้งตามมติของที่ประชุม ซึ่งเขามีการคัดเลือกคัดสรรกันภายในมาแล้ว ผมไม่ได้หมายความว่าใครจะเก่งไม่เก่ง ทุกคนเก่งกันหมด เป็นได้หมดทุกคน ผมถามว่า ประธานคนเดียว ชี้ได้หมดทุกอย่างหรืออย่างไร ผมอยากจะรู้ตรงนี้ เขาก็มีคณะกรรมาธิการคณะย่อยศึกษารายละเอียด เวลามีการประชุมอะไร ประธานก็สั่งไม่ได้หรอก มันต้องเป็นเรื่องของมติความเห็นชอบทั้ง 35 คน ผมถามว่า คน 35 คน สั่งได้ทุกคนหรือ เพราะทุกคนมีความรู้ความสามารถอาวุโสทั้งนั้น ผมว่าสั่งกันไม่ได้ "
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวด้วยว่า ได้มีการอนุมัติให้มีการตั้งคณะทำงาน เพื่อให้คนที่ไม่ได้รับการคัดเลือกเป็นสปช. จำนวน 7,000 กว่าคน เข้ามามีส่วนร่วมด้วย โดยใช้งบประมาณที่มีอยู่เดิม เพราะสปช. มีสิทธิ์ตั้งคณะทำงานอยู่แล้วคณะละ 5 คน ตามกฎหมาย โดยตกลงกันว่า จะตั้งใครก็แล้วแต่ ก็ให้มาตั้งจากที่หลุดใน สปช.250 คน เข้ามาดีกว่า เป็นการประหยัดงบประมาณ และให้โอกาสคนที่อยากทำงานเข้ามา
นอกจากนี้ ที่ประชุมให้ความเห็นชอบ ในเรื่องที่จะเดินทางไปเข้าร่วมประชุมที่ต่างประเทศ ในสัปดาห์หน้า ในการประชุมสุดยอดผู้นำเศรษฐกิจเอเชีย-ยุโรป (เอเปก) ครั้งที่ 22 ระหว่างวันที่ 9-11 พ.ย. ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน และการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้ง 25 ระหว่างวันที่ 12-13 พ.ย. ที่กรุงเนปิดอว์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับแถลงการณ์ร่วม ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย เป็นเรื่องแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของอาเซียน ซึ่งมีสหรัฐอเมริกา และรัสเซีย เข้าร่วมประชุม
** "บวรศักดิ์"นำ 36 กมธ.ไหว้พระแก้ว
พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช สปช. ในฐานะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า วันนี้ ( 5 พ.ย.) เวลา 06.30 น. คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทั้ง 36 คน จะเข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้แก่ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร, พระสยามเทวาธิราช ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ และ สักการะศาลหลักเมือง เพื่อความเป็นสิริมงคล ก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการ จากนั้นจะเดินทางกลับมาที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ทำกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ และรับประทานอาหารเที่ยงร่วมกัน และในเวลา 13.00 น. จะมีประชุม กมธ. ยกร่างรัฐธรรมนูญ ทั้ง 36 คน อย่างไม่เป็นทางการ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานของ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ สำหรับวันที่ 6 พ.ย. นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้นัดประชุม กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญนัดแรก ช่วงเช้า เพื่อเลือกรองประธาน กมธ. , เลขานุการ กมธ., โฆษก กมธ. และฝ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
** ดึงสภากระจก เข้าร่วมงาน
พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) กล่าวในที่ประชุมครม.ว่า อยากทำความเข้าใจในเรื่องของสต็อกข้าว ที่มีการกล่าวกันว่า พูดตัวเลขสองครั้งไม่ตรงกัน จึงชี้แจงว่า ในวันนั้นที่ พล.อ.ประยุทธ์ พูดก็คือยอดที่ตรวจสอบในวันนั้น แต่วันนี้ก็คือยอดของวันนี้ ในชุดสุดท้าย ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ ไม่ใช่ พล.อ.ประยุทธ์มั่ว จึงฝากมาชี้แจง โดยวันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ชี้แจงยอดคร่าวๆ คือข้าวที่ได้คุณภาพ มีประมาณ 10% ส่วนที่ต่ำกว่าคุณภาพมีประมาณ 70% ส่วนที่เสื่อมคุณภาพมีประมาณ 3-4 % และส่วนเหลือ ก็คือส่วนที่หาย โดยให้เร่งขออนุมัติป.ป.ช. เพื่อนำข้าวมาจำหน่ายในราคาที่ควรจะเป็น
พล.อ.ประยุทธ์ ยังได้ฝากให้ดูในเรื่องของสถาบันปฏิรูปประเทศไทย หรือ สภากระจก ที่มีการตั้งควบคู่กันขึ้นมากับสปช. โดยไม่อยากให้สังคมสับสน ซึ่งรัฐบาลมีช่องทางในการเสนอความคิดเห็นอยู่แล้ว จึงอยากทำความเข้าใจ และติดต่อประสานเพื่อให้เข้ามาร่วมกัน เพื่อไม่ให้สังคมเกิดความสับสน โดยให้ฝ่ายกฎหมายไปพิจารณาดูว่า จะติดตามประสานงานกับทั้งสองส่วนนี้ได้อย่างไร
นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้ฝากแนวความคิดพื้นฐานไว้ ในระหว่างที่เดินทางไปต่างประเทศว่าให้เร่งดำเนินการเรื่องที่ยังค้างอยู่โดยเฉพาะเรื่องหนี้สินของคนที่ยากจน รวมถึงให้ติดตามแก้ไขปัญหาหนี้สินของสถาบันเกษตร สหกรณ์ การพัฒนากองทุนระดับต่างๆ ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้มอบหมายให้ พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่แแทนในระหว่างเดินทางไปต่างประเทศ ส่วนการประชุมร่วมระหว่างครม.และคสช.ในครั้งหน้า คาดว่าจะประชุมกันในวันที่ 9 ธ.ค.
** คสช.จับตากลุ่มเคลื่อนไหวการเมือง
พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบก และทีมโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงการประชุมร่วม ครม. และคสช. ว่า ทาง คสช.ได้รายงานให้ที่ประชุมได้รับทราบถึงผลการบริหารราชการในงานด้านความมั่นคงในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่ การมุ่งเน้นป้องกันและแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ที่จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ทั้งปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล่ำ ความเป็นธรรมในสังคม และการสร้างสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย รวมถึงสถานการณ์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย อีกทั้งยังมีข้อคิดเห็นสำคัญของคสช. ที่เสนอให้ที่ประชุมได้รับทราบจำนวน 10 เรื่อง ได้แก่
1. เรื่องการเตรียมความพร้อมให้ทุกภาคส่วนมุ่งไปสู่เศรษฐกิจดิจิตอล เพื่อเป็นรากฐานด้านเศรษฐกิจในอนาคตที่มีความทันสมัย 2. เรื่องการจัดระเบียบวินรถจักรยานยนต์รับจ้าง โดยเฉพาะเรื่องการไปจดทะเบียนให้ถูกต้องและให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลา 3. เรื่อง ร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระบบยาทั้งประเทศ โดยมีในหลายประเด็นที่ควรแก้ไข เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภคอย่างแท้จริง 4. เรื่องระบบการศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 5. เรื่องการพัฒนาทางด้านการศึกษา และการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียน
6. เรื่องการจัดตั้งกรมการขนส่งทางราง ที่มีบทบาทและอำนาจหน้าที่ในการลงทุน บำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานที่จะเป็นบริการสาธารณะ รวมทั้งกำกับดูแลด้านความปลอดภัย อีกทั้งมีความจำเป็นต่อการบริหารจัดการระบบรางในอนาคต 7. เรื่องการจัดระเบียบเรือประมงและแรงงานประมง ที่ต้องมีการดำเนินการอย่างเร่งด่วน และจริงจังจะเป็นการลดปัญหาในเรื่องการค้ามนุษย์ การหลบหนีเข้าเมือง และการทารุณกรรมต่อแรงงานข้ามชาติ สามารถตรวจสอบการดำเนินงานของธุรกิจการประมงได้ถูกต้องรวดเร็ว
8. เรื่องกำหนดมาตรการการจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาชุมชนแออัด และโครงการบ้านมั่นคงชนบทเพื่อผู้ยากจนและด้อยโอกาสในชนบท เพื่อผลักดันให้เกิดสังคมสวัสดิการให้มีผลอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว 9. เรื่องการดำเนินงานปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป โดยได้มีการบูรณาการข้อมูลกันระหว่างศูนย์ปรองดองฯ ภาค1-4 กับศูนย์ดำรงธรรม ในข้อมูลความคิดเห็นเรื่องการปฏิรูป และเรื่องร้องเรียนที่สำคัญๆ เช่น ปัญหาความไม่เป็นธรรมจากเรื่องของหนี้นอกระบบ
10. เรื่องการเตรียมการปฏิรูปเพื่อคืนความสุขให้คนในชาติมีประเด็นที่ประชาชนสนใจและถือเป็นเรื่องเร่งด่วน ได้แก่ การปฏิรูปด้านการเมือง เช่น รูปแบบรัฐสภา พรรคการเมือง และส.ส. ส่วนการปฏิรูปด้านการศึกษา ได้แก่ โครงสร้างและการบริหารจัดการของกระทรวงศึกษา โอกาสการเข้าถึงการศึกษา ส่วนการปฏิรูปด้านเศรษฐกิจก็เพื่อให้เกิดการเพิ่มศักยภาพ และเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขัน ซึ่งความคิดเห็นนี้ที่ได้รวบรวมมาดังกล่าวเป็นเรื่องที่ประชาชนมีความต้องการ จึงน่าจะเป็นประโยชน์ที่แต่ละกระทรวงจะนำไปพิจารณาเพื่อเป็นข้อมูล หรือการหาแนวทางปฏิบัติเพื่อตอบสนองให้กับประชาชนต่อไป
" สำหรับข้อห่วงใยของ พล.อ.ประยุทธ์ ต่อสถานการณ์ในช่วงนี้ ได้แก่การเคลื่อนไหวในลักษณะเข้าข่ายเชิงการเมือง ซึ่งอาจยังไม่เหมาะสม และต้องติดตามต่อเนื่อง สำหรับการบังคับใช้กฎหมายในกรณีจำเป็น เจ้าหน้าที่ต้องใช้ดุลพินิจอย่างรอบคอบและเป็นไปด้วยความระมัดระวังเป็นไปอย่างเท่าเทียม ส่วนการแสดงความคิดเห็นในเชิงชี้นำต่อประเด็นต่างๆ ขององค์กรบางองค์กร ซึ่งอาจมีข้อมูลไม่ครบ หรือมีการตั้งสมมุติฐานโดยใช้ทัศนคติในเชิงลบ นำไปสู่ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของสังคม หรืออาจเป็นการทำลายชื่อเสียงประเทศชาติได้ จึงอยากให้เจ้าหน้าที่ดำรงความต่อเนื่องในการสร้างความเข้าใจ และสนับสนุนข้อมูลที่ถูกต้อง ในช่วงนี้อยากขอความร่วมมือทุกกลุ่มทุกฝ่าย หลีกเลี่ยงการพูด หรือการแสดงออกในลักษณะที่ทำให้เกิดความรู้สึกไม่ดีต่อกัน หรือกดดันการทำหน้าที่ขององค์กรต่างๆ เพื่อช่วยกันรักษาบรรยากาศที่ดีของการปฏิรูป และการเดินหน้าประเทศไปสู่เป้าหมาย" พ.อ.วินธัย กล่าว
**กกต.สั่ง 77 จ.หนุนสปช.ปฏิรูป
นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดเผยว่า ทางสำนักงานกกต.ได้รับการประสานงานจากคสช. และสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในเบื้องต้นที่มีความประสงค์ที่จะขอความร่วมมือให้สำนักงานกกต. ทั้ง 77 จังหวัด ปฏิบัติหน้าที่ ศูนย์ประสานงานในการช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานของสภาปฎิรูปแห่งชาติ รวมทั้งสมาชิกสปช. ในจังหวัดนั้นๆ
โดยในส่วนแรกจะทำในลักษณะหน้าที่ของฝ่ายธุรการ ด้วยการเป็นศูนย์รับเรื่องราวทั้งหมด ที่ประชาชนในพื้นที่มีความในการเสนอแนวคิดการปฏิรูปเรื่องต่างๆ ทั้ง 11 ด้าน เพื่อเป็นการรับฟังความเห็นในพื้นที่ ไม่ต้องเดินทางมาที่กทม.
ส่วนที่สอง คือการให้ใช้พื้นที่เปิดโอกาสให้สมาชิก สปช.ระดับจังหวัดได้พบปะกับประชาชน
สำหรับการจัดรับฟังความเห็นในการปฎิรูป กำลังรอความชัดเจนจากทางสปช.ว่า จะมีขอบเขตอย่างไร เบื้องต้นทางสำนักงาน กกต.ก็พร้อมที่จะดำเนินการจนกว่าภารกิจของ สปช. จะสิ้นสุดลง
"สำนักงานกกต. พร้อมที่จะดำเนินการ เพราะนายศุภชัย สมเจริญ ประธานกกต. ได้นำเรื่องเข้าหารือในหลักการกับที่ประชุมกกต.แล้ว ที่ประชุมก็มีมติให้สนับสนุนการทำงานของสปช. อย่างเต็มกำลังความสามารถ เบื้องต้นยังได้แจ้งประสานให้ผู้อำนวยการเลือกตั้งทั้ง 77 จังหวัด เตรียมความพร้อมไว้แล้ว หากมีความชัดเจนในเรื่องภาระกิจ จะประสานให้ดำเนินการได้ทันที" นายภุชงค์ กล่าว
เลขาฯ กกต.ยังกล่าวด้วยว่า ขณะนี้มีหลายจังหวัดที่สมาชิก สปช. ได้ไปประสานงาน และรับฟังความคิดเห็น เช่น ชลบุรี และสุโขทัย ซึ่งทางสำนักงาน กกต.ประจำจังหวัด ก็พร้อมที่จะดำเนินการ
**"เทียนฉาย"ลงนามแต่งตั้ง กมธ.ยกร่างรธน.แล้ว
เมื่อเวลา 17.30 น.วานนี้ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เปิดเผยว่า ตนได้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 36 คน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยทางสำนักเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้มีการตรวจสอบความถูกต้องรายชื่อที่มาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) แล้ว ทั้งนี้ เท่าที่ตนได้ดูรายชื่อ คณะกรรมาธิการทั้งหมด คิดว่าดี ส่วนหนึ่งก็เป็นผู้ที่มีความชำนาญในการร่างรัฐธรรมนูญ มีประสบการณ์ด้านนี้มาก่อน อีกส่วนก็มาจากหลายวงการ เช่น ผู้เชี่ยวชาญกฏหมายมหาชน เป็นต้น ส่วนจุดยืนทางการเมืองของแต่ละคนที่ผ่านมา เชื่อว่า จะไม่น่าเป็นปัญหาต่อการทำหน้าที่
สำหรับขั้นตอนแนวทางการทำงานของกมธ.ยกร่างฯ คงต้องเป็นหน้าที่ของ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ในฐานะประธาน กมธ.ยกร่างฯ แต่ในส่วนของสปช. ก็ต้องเร่งดำเนินการทำข้อเสนอแนะต่อคณะกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญตามกรอบระยะเวลา 60 วัน ซึ่งจะเริ่มดำเนินการได้ภายใน 2-3 วันนี้ อย่างไรก็ตาม ในการสัมมนา สปช. ในวันที่ 9-10 พ.ย.นี้จะมีการพูดคุยถึงสาระในการทำงานและวิสัยทัศน์ประเทศไทยในอนาคตด้วย