ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวานนี้ (30ต.ค.) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระบรมราชโองการพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ให้นายเทียนฉาย กีระนันทน์ เป็นประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นรองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง และนางสาวทัศนา บุญทอง เป็นรองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ทั้งนี้ มีกำหนดพิธีรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งในวันที่ 3 พ.ย. นี้ เวลา 08.00 น. ที่อาคารรัฐสภา 1
** สนช.คัด 5 กมธ.ยกร่างรธน.
เมื่อเวลา10.00 น. วานนี้ (30ต.ค.) ได้มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยมี นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. ทำหน้าที่ประธานการประชุม มีวาระสำคัญคือ การคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมไปดำรงตำแหน่ง กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในสัดส่วนของสนช. จำนวน 5 คน จากผู้สมัครทั้งสิ้น 11 คน คือ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม รศ.ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ นายภัทรศักดิ์ วรรณแสง นางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ นายประมุท สูตะบุตร พล.อ.นิวัฒน์ ศรีเพ็ญ นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ พล.อ. ยอดยุทธ บุญญาธิการ และนายปรีชา วัชราภัย
ก่อนเริ่มดำเนินการลงคะแนน นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ สนช. เลขาธิการกฤษฎีกา ได้ขอถอนตัวโดยอ้างว่าก่อนหน้านี้ มีสมาชิกมาทาบทามตนให้เป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพราะต้องการให้มีตัวแทนด้านกฎหมายเข้าไป ซึ่งขณะนั้นมีผู้สมัครไม่มาก ตนจึงรับปากไป แต่เมื่อมีผู้ประสงค์สมัครเข้ามา 11 คน ตนเห็นว่าการปฏิบัติหน้าที่จำเป็นต้องได้ผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลาย และหนึ่งในผู้สมัครมีชื่อของ นายดิสทัต โหตระกิตย์ รองเลขาธิการกฤษฎีการ่วมด้วย ดังนั้นเพื่อไม่ให้ต้องแข่งขัน หรือตัดคะแนน หรือทำความลำบากใจให้กับสมาชิก จึงขอถอนตัว เพื่อให้เกิดความหลากหลายมากขึ้น ที่ประชุมจึงได้ถอนรายชื่อนายชูเกียรติ ออกไปทำให้เหลือผู้สมัคร 10 คน
จากนั้น นายพรเพชร ได้หารือถึงวิธีการลงคะแนนและทำความเข้าใจกับสมาชิก โดยนายสมชาย แสวงการ สนช. ในฐานะเลขานุการกรรมการประสานงานกิจการสนช. (วิปสนช.) เสนอว่า ในกรณีมีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ใช้วิธีจับฉลาก ซึ่งที่ประชุมเห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว ก่อนให้สมาชิกทำการลงคะแนน นายพรเพชร ได้เชิญสื่อมวลชนทั้งหมดออกจากห้องประชุม จากนั้นได้ทำการนับองค์ประชุม ปรากฏว่ามีจำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 182 คน จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้ทำการแจกบัตรลงคะแนนให้กับสมาชิก โดยให้ลงคะแนนได้ไม่เกิน 5 คน
ทั้งนี้การลงคะแนนของสมาชิก ใช้เวลาไม่ถึง 5 นาที เจ้าหน้าทีก็ได้เก็บบัตรลงคะแนน ส่งต่อให้คณะกรรมการนับคะแนน และใช้เวลาในการนับคะแนนประมาณ 2 ชั่วโมง
ต่อมานายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช. ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ได้ประกาศผลการนับคะแนน ปรากฏว่า อันดับอันดับ 1 นายดิสทัต ได้ 175 คะแนน 2. นางกาญจนารัตน์ ได้ 167 คะแนน 3. นายปรีชา ได้ 149 คะแนน 4. นายวุฒิศักดิ์ ได้126 คะแนน และ 5. พล.อ.ยอดยุทธ ได้ 100 คะแนน
ส่วนบุคคลที่พลาดตำแหน่งกรรมาธิการที่เหลือ ประกอบด้วย พล.อ.สมเจตน์ ที่กระแสข่าวระบุว่า จะได้รับคะแนนมากที่สุดกลับได้เพียง 85 คะแนน รศ.ทวีศักดิ์ ได้ 67 คะแนน นายภัทรศักดิ์ ได้ 37 คะแนน พล.อ.นิวัฒน์ ได้ 26 คะแนน และ นายประมุทได้ 24 คะแนน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สนช. ที่ได้รับการคัดเลือกทั้ง 5 คน ประกอบด้วยสายต่างๆ คือ สายกฤษฏีกา นางกาญจนรัตน์ นายดิษทัส สายการศึกษา และระบบราชการ นายวุฒิศักดิ์ นายปรีชา และนายทวีศักดิ์ และ สายทหาร พล.อ.ยอดยุทธ
**นัดข้อบังคับการประชุมสปช. 3 พ.ย.
ในวันเดียวกันนี้ มีการประชุม คณะกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่มี พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช สมาชิก สปช. เป็นประธานกรรมาธิการ ได้มีการหารือถึงการวางกรอบปฏิทินขั้นตอนการผ่านร่างข้อบังคับการประชุม ที่คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์เศษ โดยขณะนี้ทางคณะกรรมาธิการ อยู่ระหว่างทบทวนความพร้อมของร่างข้อบังคับ ก่อนจะมีการสรุปรายงานเสนอต่อประธานสภาสปช. เพื่อบรรจุเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมพิจารณารับหลักการ วาระแรก ในวันที่ 3 พ.ย.นี้
ทั้งนี้ ที่ประชุมยังเห็นควรให้สมาชิกสปช.ได้มีสิทธิแปรญัตติ โดยเบื้องต้นกำหนดไว้ 2 วัน คือในวันที่ 4-5 พ.ย. หลังจากนั้น จึงเข้าสู่การพิจารณาวาระ 2 และ 3 ในวันที่ 10 พ.ย. เมื่อผ่านการพิจารณาจากสภา 3 วาระแล้ว ก็จะเป็นการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ 17 คณะ และคณะกรรมาธิการวิสามัญทั่วไป 4 คณะ เพื่อเสนอให้ที่ประชุมรับรอง ในวันที่ 17 พ.ย. ต่อไป
**เสนอตั้งกมธ.วิสามัญ17 คณะ
สำหรับคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาทั้ง 17 ด้าน มีดังนี้ 1. ด้านการเมือง 2. ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน3. ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม 4. ด้านการปกครองท้องถิ่น 5. ด้านการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 6. ด้านเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง 7. ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร 8. ด้านพลังงาน 9. ด้านระบบสาธารณสุข
10. ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ 11. ด้านสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ 12. ด้านสังคม ชุมชน เด็กเยาวชน สตรี คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส 13. ด้านแรงงาน 14. ด้านการป้องกันและปราบปราบการทุจริตและประพฤติมิชอบ 15. ด้านการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม เอกลักษณ์ของชาติ และค่านิยม 16. ด้านกีฬาและการท่องเที่ยว 17. ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ทรัพย์สินทางปัญญา วิจัย และนวัตกรรม
ส่วน คณะกรรมาธิการ วิสามัญทั่วไปอีก 4 คณะ มีดังนี้ 1. การรับฟังความเห็นและการมีส่วนร่วม 2. ประชาสัมพันธ์เพื่อการปฏิรูป 3. ติดตามให้ข้อเสนอแนะการยกร่างรธน. และ 4. การจัดทำวิสัยทัศน์และรูปแบบอนาคตประเทศไทย
นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับฯ ยังได้เสนอให้มีการเยียวยาผู้สมัครรับการสรรหาสปช. ที่พลาดตำแหน่ง กว่า 7,000 คน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิรูปประเทศไทย ในคณะกรรมาธิการวิสามัญด้านต่างๆ โดยมอบให้รัฐบาล เป็นผู้ทำหน้าที่สรรหาตัวแทนเข้ามาทำหน้าที่ ไม่เกินด้านละ 7 คน แต่อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับความเห็นของที่ประชุมส่วนใหญ่ว่า จะเห็นตามที่ คณะกรรมาธิการยกร่างเสนอให้มี กมธ.วิสามัญ 17 คณะ กมธ.วิสมัญทั่วไป 4 คณะ และให้คนภายนอกเข้ามามีส่วนร่วม หรือไม่
** "ธีรภัทร"แนะทำประชามติรธน.
นายธีรภัทร เสรีรังสรรค์ ประธานสภาพัฒนาการเมือง กล่าวถึง ผลการคัดเลือก กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ 20 คน ของสมาชิก สปช. ที่ถูกมองว่าเป็นไปตามโผว่า เบื้องต้นยังไม่สามารถระบุได้ว่า แนวทางการยกร่างรัฐธรรมนูญจะเป็นไปในทิศทางใด ต้องขอรอดูองค์ประกอบของคณะกรรมาธิการเต็มคณะ และรอฟังแนวความคิดหลักของกรรมาธิการ ว่าจะกำหนดรูปแบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขว่าจะสอดคล้องกับสังคมไทยอย่างไร โดยดูจากหลักคิด กระบวนการได้มา ซึ่งกรรมาธิการยกร่างฯ ควรรับฟังความเห็นจากคนทั้งประเทศและทางดีก็ควรจะทำประชามติ แต่เบื้องต้นยังไม่เห็นช่องทางที่จะนำไปสู่ขั้นตอนการทำประชามติ
นายธีรภัทร ยังกล่าวด้วยว่า รูปแบบที่จะนำไปสู่การปกครองที่จะมีการปรับเปลี่ยนนั้นเห็นว่ามีอยู่ 3 แบบ แต่ยังไม่รู้ว่ากรรมาธิการ จะเลือกรูปแบบใด ซึ่ง 3 รูปแบบประกอบด้วย ประชาธิปไตยในลักษณะเดิม คือไม่มีการเปลี่ยนอะไรมาก เช่น ยังคงระบบรัฐสภา แต่อาจปรับปรุงในเรื่องที่มา และจำนวนของส.ส.
รูปแบบที่สอง ประชาธิปไตยแบบย้อนยุค หรือประชาธิปไตยครึ่งใบ ที่สภาอาจมาจากทั้งการเลือกตั้ง และแต่งตั้ง หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง และนายกรัฐมนตรี ที่ไม่ต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรง
รูปแบบที่ 3 ประชาธิปไตยแบบก้าวหน้า ที่จะมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางการเมือง มีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีโดยตรง
ส่วนนักการเมืองที่ชอบทำผิดกฎ ก็อาจสร้างบทลงโทษ จำกัดพฤติกรรมทางการเมืองของนักการเมืองนั้น เป็นรายบุคคลให้ชัดเจน ซึ่งในระบบนี้ หากเป็นไปได้จะดีมาก และสอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยทั่วโลก แต่คงเป็นไปได้ยาก ทั้งนี้หากกรรมาธิการยกร่างไปเลือกแนวทางถอยหลัง ก็เป็นอันตรายต่อประเทศ
" แน่นอนว่า รายชื่อกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่ออกมาไม่ใช่องค์กรประกอบของคนทุกฝ่าย ผู้แทนของฝ่ายตรงข้ามเข้ามามีส่วนน้อย ซึ่งถ้าองค์ประกอบไม่หลากกลาย ความคิดก็จะกระจุกตัวอยู่ที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือถ้ามีการกำหนดแนวทางของรัฐธรรมนูญไว้ล่วงหน้า โดยไม่ฟังเสียงของประชาชน มันก็อาจจะทำไปสู่การปฎิรูปประเทศที่ล้มเหลว เพราะเพียงแค่จะมารับฟังความคิด หรือประชาพิจารณ์ไม่เพียงพอ และยังไม่สะท้อนถึงการยอมรับ" นายธีรภัทร กล่าว
ทั้งนี้ มีกำหนดพิธีรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งในวันที่ 3 พ.ย. นี้ เวลา 08.00 น. ที่อาคารรัฐสภา 1
** สนช.คัด 5 กมธ.ยกร่างรธน.
เมื่อเวลา10.00 น. วานนี้ (30ต.ค.) ได้มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยมี นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. ทำหน้าที่ประธานการประชุม มีวาระสำคัญคือ การคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมไปดำรงตำแหน่ง กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในสัดส่วนของสนช. จำนวน 5 คน จากผู้สมัครทั้งสิ้น 11 คน คือ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม รศ.ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ นายภัทรศักดิ์ วรรณแสง นางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ นายประมุท สูตะบุตร พล.อ.นิวัฒน์ ศรีเพ็ญ นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ พล.อ. ยอดยุทธ บุญญาธิการ และนายปรีชา วัชราภัย
ก่อนเริ่มดำเนินการลงคะแนน นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ สนช. เลขาธิการกฤษฎีกา ได้ขอถอนตัวโดยอ้างว่าก่อนหน้านี้ มีสมาชิกมาทาบทามตนให้เป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพราะต้องการให้มีตัวแทนด้านกฎหมายเข้าไป ซึ่งขณะนั้นมีผู้สมัครไม่มาก ตนจึงรับปากไป แต่เมื่อมีผู้ประสงค์สมัครเข้ามา 11 คน ตนเห็นว่าการปฏิบัติหน้าที่จำเป็นต้องได้ผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลาย และหนึ่งในผู้สมัครมีชื่อของ นายดิสทัต โหตระกิตย์ รองเลขาธิการกฤษฎีการ่วมด้วย ดังนั้นเพื่อไม่ให้ต้องแข่งขัน หรือตัดคะแนน หรือทำความลำบากใจให้กับสมาชิก จึงขอถอนตัว เพื่อให้เกิดความหลากหลายมากขึ้น ที่ประชุมจึงได้ถอนรายชื่อนายชูเกียรติ ออกไปทำให้เหลือผู้สมัคร 10 คน
จากนั้น นายพรเพชร ได้หารือถึงวิธีการลงคะแนนและทำความเข้าใจกับสมาชิก โดยนายสมชาย แสวงการ สนช. ในฐานะเลขานุการกรรมการประสานงานกิจการสนช. (วิปสนช.) เสนอว่า ในกรณีมีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ใช้วิธีจับฉลาก ซึ่งที่ประชุมเห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว ก่อนให้สมาชิกทำการลงคะแนน นายพรเพชร ได้เชิญสื่อมวลชนทั้งหมดออกจากห้องประชุม จากนั้นได้ทำการนับองค์ประชุม ปรากฏว่ามีจำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 182 คน จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้ทำการแจกบัตรลงคะแนนให้กับสมาชิก โดยให้ลงคะแนนได้ไม่เกิน 5 คน
ทั้งนี้การลงคะแนนของสมาชิก ใช้เวลาไม่ถึง 5 นาที เจ้าหน้าทีก็ได้เก็บบัตรลงคะแนน ส่งต่อให้คณะกรรมการนับคะแนน และใช้เวลาในการนับคะแนนประมาณ 2 ชั่วโมง
ต่อมานายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช. ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ได้ประกาศผลการนับคะแนน ปรากฏว่า อันดับอันดับ 1 นายดิสทัต ได้ 175 คะแนน 2. นางกาญจนารัตน์ ได้ 167 คะแนน 3. นายปรีชา ได้ 149 คะแนน 4. นายวุฒิศักดิ์ ได้126 คะแนน และ 5. พล.อ.ยอดยุทธ ได้ 100 คะแนน
ส่วนบุคคลที่พลาดตำแหน่งกรรมาธิการที่เหลือ ประกอบด้วย พล.อ.สมเจตน์ ที่กระแสข่าวระบุว่า จะได้รับคะแนนมากที่สุดกลับได้เพียง 85 คะแนน รศ.ทวีศักดิ์ ได้ 67 คะแนน นายภัทรศักดิ์ ได้ 37 คะแนน พล.อ.นิวัฒน์ ได้ 26 คะแนน และ นายประมุทได้ 24 คะแนน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สนช. ที่ได้รับการคัดเลือกทั้ง 5 คน ประกอบด้วยสายต่างๆ คือ สายกฤษฏีกา นางกาญจนรัตน์ นายดิษทัส สายการศึกษา และระบบราชการ นายวุฒิศักดิ์ นายปรีชา และนายทวีศักดิ์ และ สายทหาร พล.อ.ยอดยุทธ
**นัดข้อบังคับการประชุมสปช. 3 พ.ย.
ในวันเดียวกันนี้ มีการประชุม คณะกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่มี พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช สมาชิก สปช. เป็นประธานกรรมาธิการ ได้มีการหารือถึงการวางกรอบปฏิทินขั้นตอนการผ่านร่างข้อบังคับการประชุม ที่คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์เศษ โดยขณะนี้ทางคณะกรรมาธิการ อยู่ระหว่างทบทวนความพร้อมของร่างข้อบังคับ ก่อนจะมีการสรุปรายงานเสนอต่อประธานสภาสปช. เพื่อบรรจุเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมพิจารณารับหลักการ วาระแรก ในวันที่ 3 พ.ย.นี้
ทั้งนี้ ที่ประชุมยังเห็นควรให้สมาชิกสปช.ได้มีสิทธิแปรญัตติ โดยเบื้องต้นกำหนดไว้ 2 วัน คือในวันที่ 4-5 พ.ย. หลังจากนั้น จึงเข้าสู่การพิจารณาวาระ 2 และ 3 ในวันที่ 10 พ.ย. เมื่อผ่านการพิจารณาจากสภา 3 วาระแล้ว ก็จะเป็นการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ 17 คณะ และคณะกรรมาธิการวิสามัญทั่วไป 4 คณะ เพื่อเสนอให้ที่ประชุมรับรอง ในวันที่ 17 พ.ย. ต่อไป
**เสนอตั้งกมธ.วิสามัญ17 คณะ
สำหรับคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาทั้ง 17 ด้าน มีดังนี้ 1. ด้านการเมือง 2. ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน3. ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม 4. ด้านการปกครองท้องถิ่น 5. ด้านการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 6. ด้านเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง 7. ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร 8. ด้านพลังงาน 9. ด้านระบบสาธารณสุข
10. ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ 11. ด้านสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ 12. ด้านสังคม ชุมชน เด็กเยาวชน สตรี คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส 13. ด้านแรงงาน 14. ด้านการป้องกันและปราบปราบการทุจริตและประพฤติมิชอบ 15. ด้านการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม เอกลักษณ์ของชาติ และค่านิยม 16. ด้านกีฬาและการท่องเที่ยว 17. ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ทรัพย์สินทางปัญญา วิจัย และนวัตกรรม
ส่วน คณะกรรมาธิการ วิสามัญทั่วไปอีก 4 คณะ มีดังนี้ 1. การรับฟังความเห็นและการมีส่วนร่วม 2. ประชาสัมพันธ์เพื่อการปฏิรูป 3. ติดตามให้ข้อเสนอแนะการยกร่างรธน. และ 4. การจัดทำวิสัยทัศน์และรูปแบบอนาคตประเทศไทย
นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับฯ ยังได้เสนอให้มีการเยียวยาผู้สมัครรับการสรรหาสปช. ที่พลาดตำแหน่ง กว่า 7,000 คน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิรูปประเทศไทย ในคณะกรรมาธิการวิสามัญด้านต่างๆ โดยมอบให้รัฐบาล เป็นผู้ทำหน้าที่สรรหาตัวแทนเข้ามาทำหน้าที่ ไม่เกินด้านละ 7 คน แต่อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับความเห็นของที่ประชุมส่วนใหญ่ว่า จะเห็นตามที่ คณะกรรมาธิการยกร่างเสนอให้มี กมธ.วิสามัญ 17 คณะ กมธ.วิสมัญทั่วไป 4 คณะ และให้คนภายนอกเข้ามามีส่วนร่วม หรือไม่
** "ธีรภัทร"แนะทำประชามติรธน.
นายธีรภัทร เสรีรังสรรค์ ประธานสภาพัฒนาการเมือง กล่าวถึง ผลการคัดเลือก กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ 20 คน ของสมาชิก สปช. ที่ถูกมองว่าเป็นไปตามโผว่า เบื้องต้นยังไม่สามารถระบุได้ว่า แนวทางการยกร่างรัฐธรรมนูญจะเป็นไปในทิศทางใด ต้องขอรอดูองค์ประกอบของคณะกรรมาธิการเต็มคณะ และรอฟังแนวความคิดหลักของกรรมาธิการ ว่าจะกำหนดรูปแบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขว่าจะสอดคล้องกับสังคมไทยอย่างไร โดยดูจากหลักคิด กระบวนการได้มา ซึ่งกรรมาธิการยกร่างฯ ควรรับฟังความเห็นจากคนทั้งประเทศและทางดีก็ควรจะทำประชามติ แต่เบื้องต้นยังไม่เห็นช่องทางที่จะนำไปสู่ขั้นตอนการทำประชามติ
นายธีรภัทร ยังกล่าวด้วยว่า รูปแบบที่จะนำไปสู่การปกครองที่จะมีการปรับเปลี่ยนนั้นเห็นว่ามีอยู่ 3 แบบ แต่ยังไม่รู้ว่ากรรมาธิการ จะเลือกรูปแบบใด ซึ่ง 3 รูปแบบประกอบด้วย ประชาธิปไตยในลักษณะเดิม คือไม่มีการเปลี่ยนอะไรมาก เช่น ยังคงระบบรัฐสภา แต่อาจปรับปรุงในเรื่องที่มา และจำนวนของส.ส.
รูปแบบที่สอง ประชาธิปไตยแบบย้อนยุค หรือประชาธิปไตยครึ่งใบ ที่สภาอาจมาจากทั้งการเลือกตั้ง และแต่งตั้ง หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง และนายกรัฐมนตรี ที่ไม่ต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรง
รูปแบบที่ 3 ประชาธิปไตยแบบก้าวหน้า ที่จะมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางการเมือง มีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีโดยตรง
ส่วนนักการเมืองที่ชอบทำผิดกฎ ก็อาจสร้างบทลงโทษ จำกัดพฤติกรรมทางการเมืองของนักการเมืองนั้น เป็นรายบุคคลให้ชัดเจน ซึ่งในระบบนี้ หากเป็นไปได้จะดีมาก และสอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยทั่วโลก แต่คงเป็นไปได้ยาก ทั้งนี้หากกรรมาธิการยกร่างไปเลือกแนวทางถอยหลัง ก็เป็นอันตรายต่อประเทศ
" แน่นอนว่า รายชื่อกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่ออกมาไม่ใช่องค์กรประกอบของคนทุกฝ่าย ผู้แทนของฝ่ายตรงข้ามเข้ามามีส่วนน้อย ซึ่งถ้าองค์ประกอบไม่หลากกลาย ความคิดก็จะกระจุกตัวอยู่ที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือถ้ามีการกำหนดแนวทางของรัฐธรรมนูญไว้ล่วงหน้า โดยไม่ฟังเสียงของประชาชน มันก็อาจจะทำไปสู่การปฎิรูปประเทศที่ล้มเหลว เพราะเพียงแค่จะมารับฟังความคิด หรือประชาพิจารณ์ไม่เพียงพอ และยังไม่สะท้อนถึงการยอมรับ" นายธีรภัทร กล่าว