นายเจตน์ ศิรธนานนท์ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญ ประจำสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ วิปสนช. ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุม ว่า ในวันที่ 6 พ.ย.นี้ ที่ประชุมสนช.จะพิจารณาว่า มีอำนาจการถอดถอน นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และ นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจรติแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติให้ถอดถอนหรือไม่ โดยวิปสนช.ได้เสนอให้มีการประชุมลับ เพราะเกรงจะกระทบต่อบุคคลที่สาม แต่สุดท้ายต้องขึ้นอยู่กับที่ประชุมสนช. ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่
ทั้งนี้ในการประชุม จะเปิดโอกาสให้สมาชิกอภิปรายอย่างเต็มที่ โดยขณะนี้มีฝ่ายที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยในการถอดถอนครั้งนี้ เนื่องจากยังมีปัญหาข้อกฎหมาย เพราะขณะนี้ไม่มีบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญปี 50 ซึ่งเป็นฐานความผิด แก่นายสมศักดิ์ และนายนิคมแล้ว แต่สุดท้ายก็จะมีการลงมติตัดสินว่า สนช. จะมีอำนาจรับคดีดังกล่าวนำเข้าสู้การพิจารณาหรือไม่ โดยภายหลังการการลงมติ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช. จะมาแถลงข่าวชี้แจงความชัดเจนอีกครั้งไม่ว่าผลจะออกมาว่า เห็นชอบให้รับเรื่องการถอดถอนไว้พิจารณา หรือไม่รับพิจารณาคดีดังกล่าว เพื่อป้องกันความสับสนที่อาจเกิดขึ้น
" ที่ประชุมวิป สนช. มีความกังวลว่า หากไม่รับเรื่องการถอดถอน จะถูกฝ่ายมวลชนที่ไม่เห็นด้วยมาสร้างความกดดัน มีสนช.ที่เป็นทหารบางคนเสนอให้รับเรื่องการถอดถอนเอาไว้ก่อน และค่อยไปตัดสินในการลงมติถอดถอน โดยใช้คะแนนเสียง 3 ใน 5 อีกครั้ง เพื่อเป็นการซื้อเวลา แต่นายพรเพชร แย้งว่าทำเช่นนั้นไม่ได้ เพราะผิดหลักการ เหมือนกับจับก่อน แล้วไปสอบสวนทีหลังมันไม่ถูกหลักการ แต่ทั้งหมดทั้งมวลสุดท้าย ก็ขึ้นอยู่กับคะแนนของที่ประชุมที่จะตัดสิน โดยขณะนี้ผมก็ไม่ทราบว่า ใครมีแนวคิดและแนวโน้มต่อเรื่องนี้อย่างไร"
ผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุผลที่จำเป็นต้องเสนอให้มีการประชุมลับเพราะอะไร โฆษกวิป สนช.กล่าวว่า เราก็กลัวว่าจะวุ่นวายโดยพยายามหาทางออกว่าจะทำอย่างไร ให้ไม่เกิดความวุ่นวาย เมื่อถามว่าขณะนี้สังคมเรียกหาความโปร่งใสของ สนช.ในเรื่องนี้ นพ.เจตน์ กล่าวว่า ถ้าเป็นความคิดส่วนตัวก็ได้ แต่เราคิดแทนคนอื่นไม่ได้ สำหรับตนมวลชนมากดดันไม่ได้ อะไรผิดก็ว่าไปตามนั้น แต่สำหรับคนอื่น ตนไปตอบแทนไม่ได้
ส่วนการประชุมในวันที่ 12 พ.ย. ที่จะมีวาระการพิจารณาคดีการถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หลังป.ป.ช.ชี้มูลความผิดในโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งสำนวนของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เข้าสู่การพิจารณาการถอดถอนแล้ว โดยในวันที่ 12 พ.ย. จะเป็นการประชุมกำหนดวันเปิดสำนวนการถอดถอน ให้คู่ความในคดีทั้งสองฝ่ายมาชี้แจง และต่อสู้ข้อกล่าวหาต่อไป
แหล่งข่าวระดับสูงจาก สนช.เปิดเผยถึง การพิจารณาสำนวนที่ป.ป.ช. ส่งมาให้สนช. ถอดถอน นายนิคม และ นายสมศักดิ์ กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของ ส.ว. มิชอบ ประธานสนช. จะเปิดให้สมาชิกอภิปรายอย่างกว้างขวาง ซึ่งมีทั้งฝ่ายที่เห็นว่าถอดถอนได้ และเห็นว่าถอดถอนไม่ได้ สุดท้าย สนช.จะลงมติให้เรื่องนี้ เข้าสู่การพิจารณาถอดถอน ตามกระบวนการต่อไป และเปิดโอกาสให้คู่ความคือ นายนิคม นายสมศักดิ์ และ ป.ป.ช. เข้ามาชี้แจง และต่อสู้คดีในเวทีการประชุม สนช. แต่สุดท้าย หากมีการลงมติถอดถอน ที่ต้องใช้เสียง 3 ใน 5 ของสมาชิกสนช. หรือ สมาชิก จำนวน 132 จาก 220 เสียง จะไม่สามารถดำเนินการถอดถอน นายนิคม และนายสมศักดิ์ ได้ เนื่องจากสำนวนที่ป.ป.ช. ทำเรื่องการถอดถอนมาให้ สนช.ถอดถอนนั้น เป็นการอ้างความผิดตามฐานรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ถูกคสช.ยกเลิกไปแล้วเพียงหลักกฎหมายเดียวเท่านั้น โดยไม่ได้อ้างฐานความผิดตามกฎหมายป.ป.ช. มาตรา 58 หรือกฎหมายอื่นๆ ซึ่งในการต่อสู้ของ นายนิคม และ นายสมศักดิ์ ก็จะต่อสู้ในประเด็นการดังกล่าว เพียงเรื่องเดียว ก็จะทำให้ไม่ถูกถอดถอนแล้ว
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ สนช. อดีตกลุ่ม 40 ส.ว. และ กลุ่มนักวิชาการ แม้จะเห็นว่า นายนิคม และ นายสมศักดิ์ มีความผิดก็จริง แต่ก็ยอมเลือกที่จะไม่ถอดถอน เนื่องจากไม่สามารถตอบคำถามแก่สังคมได้ โดยเฉพาะหลักกฎหมาย และทางวิชาการที่ไม่สามารถเอาผิดไปถึง อย่างไรก็ตาม แม้สนช.จะไม่สามารถถอดถอนได้ แต่เชื่อว่า นายนิคม และนายสมศักดิ์ ก็ยังมีความผิดในคดีอาญาอยู่ อย่างเช่น การปลอมแปลงเอกสาร ในการเปลี่ยนเอกสาร ร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญปี 50 เป็นต้น ซึ่งต้องรอให้หน่วยงานเกี่ยวข้องดำเนินการฟ้องร้องคดีต่อไป
แหล่งข่าวระดับสูง สนช. กล่าวต่อว่า ในส่วนสำนวนการถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่จะมีคิวพิจารณา ในวันที่ 12 พ.ย. นั้น ป.ป.ช.ได้ชี้มูลความผิดแตกต่างออกไปจากกรณีของนายนิคม และนายสมศักดิ์ โดยป.ป.ช. ยกเอาฐานความผิดตามรัฐธรรมนูญปี 50 รวมทั้ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และ กฎหมาย ป.ป.ช. มาตรา 58 โดยเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่า สนช. สามารถถอดถอน อดีตนายกฯได้ เพราะป.ป.ช.ได้อ้างความผิดตามฐานของกฎหมายที่ยังมีผลบังคับใช้อยู่ เหลือเพียงการพิจารณาปัญหาข้อเท็จจริงที่ว่าน.ส.ยิ่ง ลักษณ์ เกี่ยวข้องกับการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว หรือไม่
ทั้งนี้จากการเช็กเสียงของ สนช. ทั้ง 220 คน ปรากฏว่า สนช. สายอดีตกลุ่ม 40 ส.ว. รวมทั้ง สนช.กลุ่มข้าราชการพลเรือน เห็นด้วย กับการถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ดังนั้นเหลือเพียงการวัดใจว่า สนช.ในสายทหาร ที่มีความเป็นเอกภาพด้วยจำนวนเสียงมากถึง 130 เสียง จะมีความกล้าหาญพอที่จะโหวตถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ หรือไม่
** เล็งงัดมาตรา 44ปรามกลุ่มป่วน
พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมร่วมระหว่างครม.กับคสช. ถึงกรณีที่มีความเคลื่อนไหวของกลุ่มคู่ขัดแย้ง โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องการถอดถอนว่า นายกฯขอให้ทุกฝ่าย ได้ติดตามการเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด และพยายามทำความเข้าใจกับกลุ่มที่พยายามเคลื่อนไหวเหล่านี้ เพื่อที่จะให้เห็นถึงความจำเป็นว่าสถานการณ์บ้านเมืองของเราเป็นอย่างไร และถ้ามีการเคลื่อนไหวจนบ้านเมืองเกิดความสับสนทางสังคม บ้านเมืองจะกลับไปสู่สภาพเดิม และการเดินหน้าปฏิรูปการทำกิจกรรมต่างๆ ที่วางเอาไว้จะเป็นไปด้วยความลำบาก
"นายกฯบอกว่า หากไม่สามารถทำความเข้าใจกับผู้ที่เคลื่อนไหวได้ ถ้ามีความจำเป็นจะต้องบังคับใช้กฏหมายก็ต้องทำ โดยให้เริ่มจากกฎหมายปกติ ที่จากมาตรการขั้นเบาไปหาหนัก ก่อนใช้กฎอัยการศึก หรือแม้กระทั่ง มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว ที่ให้อำนาจพิเศษไว้ ซึ่งถ้าจำเป็นต้องทำก็ต้องทำเพื่อให้บ้านเมืองสงบ" พล.ต.สรรเสริญ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุใดจึงมีการหารือ ถึงการใช้อำนาจตาม มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว พล.ต.สรรเสริญ กล่าวว่า ไม่ได้เฉพาะเจาะจงเรื่องนี้ แต่ขณะนี้มีความเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ เกิดขึ้น เช่น การแสดงความคิดเห็นที่สามารถทำได้ แต่มีข้อกติกาที่เราเคยตกลงกันไว้แต่แรกว่า เมื่ออีกกลุ่มพูด อีกกลุ่มต้องพูดเหมือนกัน พอพูดแบบนี้เริ่มจากเล็กๆ ถ้าเราไม่ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดจะขยายกลายเป็นความขัดแย้ง บ้านเมืองจะกลับไปแบบเดิม แล้วใครจะหาญกล้ามาแบบนี้อีก จะยากยิ่งไปกว่าเดิม ดังนั้น ต้องใช้วิธีแบบวิถีคนไทย โดยการทำความเข้าใจ แต่ถ้าอธิบายความแล้วยังไม่เข้าใจ ก็ต้องบังคับใช้กฎหมาย เริ่มจากกฎหมายเบาไปหาหนัก ซึ่งท่านก็ปรารภว่า แม้กระทั่งมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว ซึ่งให้อำนาจพิเศษไว้ ถ้ามีความจำเป็นเพื่อรักษากรอบกติกาของบ้านเมืองให้เดินต่อไปได้ ก็ต้องใช้ โดยให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องประเมินและเสนอมา
เมื่อถามว่า ที่มีการพูดถึงมาตรา 44 เป็นเพราะขณะนี้ฝ่ายการเมืองเริ่มเคลื่อนไหวหรือไม่ พล.ต.สรรเสริญ กล่าวว่า ใช่ เพราะเกิดความเคลื่อนไหวแบบนี้ ดังนั้น ต้องบอกว่าอย่าเลย มันวุ่นวายเปล่าๆ คำว่าอย่าเลยคือ 1. เริ่มจากการอธิบายความให้เข้าใจแบบภาษาคนไทยต่างคนต่างช่วยพยุงบ้านเมืองกันไป และ 2. คุยแล้วไม่รู้เรื่อง มีมนุษย์สุดโต่ง ก็ต้องบังคับใช้กฎหมายจากเบาไปหาหนัก
เมื่อถามย้ำว่า บังเอิญพอดีกับช่วงที่สนช. จะพิจารณาถอดถอนบุคคลต่างๆ หรือไม่ พล.ต.สรรเสริญ กล่าวว่า เรื่องนี้นายกฯ ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องติดตามเกี่ยวกับเรื่องถอดถอน แต่ไม่ได้กำหนดว่าเรื่องอะไร เพียงแต่บอกว่าทุกคนต้องใช้วิจารณญาณ เรื่องทั้งหลายเป็นเรื่องของสนช.ที่อุดมไปด้วยผู้มีความรู้จะสามารถให้เหตุผลอธิบายความกับสังคมได้เป็นอย่างดี ต่อข้อถามว่า ขณะนี้คสช.มีอำนาจในการเรียกคนเข้ามารายงานตัวได้หรือไม่ พล.ต.สรรเสริญ กล่าวว่า ได้ คงจะเรียกเร็วๆนี้ ถ้ายังเคลื่อนไหวอยู่ก็ต้องเป็นไปตามนั้น
ทั้งนี้ในการประชุม จะเปิดโอกาสให้สมาชิกอภิปรายอย่างเต็มที่ โดยขณะนี้มีฝ่ายที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยในการถอดถอนครั้งนี้ เนื่องจากยังมีปัญหาข้อกฎหมาย เพราะขณะนี้ไม่มีบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญปี 50 ซึ่งเป็นฐานความผิด แก่นายสมศักดิ์ และนายนิคมแล้ว แต่สุดท้ายก็จะมีการลงมติตัดสินว่า สนช. จะมีอำนาจรับคดีดังกล่าวนำเข้าสู้การพิจารณาหรือไม่ โดยภายหลังการการลงมติ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช. จะมาแถลงข่าวชี้แจงความชัดเจนอีกครั้งไม่ว่าผลจะออกมาว่า เห็นชอบให้รับเรื่องการถอดถอนไว้พิจารณา หรือไม่รับพิจารณาคดีดังกล่าว เพื่อป้องกันความสับสนที่อาจเกิดขึ้น
" ที่ประชุมวิป สนช. มีความกังวลว่า หากไม่รับเรื่องการถอดถอน จะถูกฝ่ายมวลชนที่ไม่เห็นด้วยมาสร้างความกดดัน มีสนช.ที่เป็นทหารบางคนเสนอให้รับเรื่องการถอดถอนเอาไว้ก่อน และค่อยไปตัดสินในการลงมติถอดถอน โดยใช้คะแนนเสียง 3 ใน 5 อีกครั้ง เพื่อเป็นการซื้อเวลา แต่นายพรเพชร แย้งว่าทำเช่นนั้นไม่ได้ เพราะผิดหลักการ เหมือนกับจับก่อน แล้วไปสอบสวนทีหลังมันไม่ถูกหลักการ แต่ทั้งหมดทั้งมวลสุดท้าย ก็ขึ้นอยู่กับคะแนนของที่ประชุมที่จะตัดสิน โดยขณะนี้ผมก็ไม่ทราบว่า ใครมีแนวคิดและแนวโน้มต่อเรื่องนี้อย่างไร"
ผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุผลที่จำเป็นต้องเสนอให้มีการประชุมลับเพราะอะไร โฆษกวิป สนช.กล่าวว่า เราก็กลัวว่าจะวุ่นวายโดยพยายามหาทางออกว่าจะทำอย่างไร ให้ไม่เกิดความวุ่นวาย เมื่อถามว่าขณะนี้สังคมเรียกหาความโปร่งใสของ สนช.ในเรื่องนี้ นพ.เจตน์ กล่าวว่า ถ้าเป็นความคิดส่วนตัวก็ได้ แต่เราคิดแทนคนอื่นไม่ได้ สำหรับตนมวลชนมากดดันไม่ได้ อะไรผิดก็ว่าไปตามนั้น แต่สำหรับคนอื่น ตนไปตอบแทนไม่ได้
ส่วนการประชุมในวันที่ 12 พ.ย. ที่จะมีวาระการพิจารณาคดีการถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หลังป.ป.ช.ชี้มูลความผิดในโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งสำนวนของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เข้าสู่การพิจารณาการถอดถอนแล้ว โดยในวันที่ 12 พ.ย. จะเป็นการประชุมกำหนดวันเปิดสำนวนการถอดถอน ให้คู่ความในคดีทั้งสองฝ่ายมาชี้แจง และต่อสู้ข้อกล่าวหาต่อไป
แหล่งข่าวระดับสูงจาก สนช.เปิดเผยถึง การพิจารณาสำนวนที่ป.ป.ช. ส่งมาให้สนช. ถอดถอน นายนิคม และ นายสมศักดิ์ กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของ ส.ว. มิชอบ ประธานสนช. จะเปิดให้สมาชิกอภิปรายอย่างกว้างขวาง ซึ่งมีทั้งฝ่ายที่เห็นว่าถอดถอนได้ และเห็นว่าถอดถอนไม่ได้ สุดท้าย สนช.จะลงมติให้เรื่องนี้ เข้าสู่การพิจารณาถอดถอน ตามกระบวนการต่อไป และเปิดโอกาสให้คู่ความคือ นายนิคม นายสมศักดิ์ และ ป.ป.ช. เข้ามาชี้แจง และต่อสู้คดีในเวทีการประชุม สนช. แต่สุดท้าย หากมีการลงมติถอดถอน ที่ต้องใช้เสียง 3 ใน 5 ของสมาชิกสนช. หรือ สมาชิก จำนวน 132 จาก 220 เสียง จะไม่สามารถดำเนินการถอดถอน นายนิคม และนายสมศักดิ์ ได้ เนื่องจากสำนวนที่ป.ป.ช. ทำเรื่องการถอดถอนมาให้ สนช.ถอดถอนนั้น เป็นการอ้างความผิดตามฐานรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ถูกคสช.ยกเลิกไปแล้วเพียงหลักกฎหมายเดียวเท่านั้น โดยไม่ได้อ้างฐานความผิดตามกฎหมายป.ป.ช. มาตรา 58 หรือกฎหมายอื่นๆ ซึ่งในการต่อสู้ของ นายนิคม และ นายสมศักดิ์ ก็จะต่อสู้ในประเด็นการดังกล่าว เพียงเรื่องเดียว ก็จะทำให้ไม่ถูกถอดถอนแล้ว
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ สนช. อดีตกลุ่ม 40 ส.ว. และ กลุ่มนักวิชาการ แม้จะเห็นว่า นายนิคม และ นายสมศักดิ์ มีความผิดก็จริง แต่ก็ยอมเลือกที่จะไม่ถอดถอน เนื่องจากไม่สามารถตอบคำถามแก่สังคมได้ โดยเฉพาะหลักกฎหมาย และทางวิชาการที่ไม่สามารถเอาผิดไปถึง อย่างไรก็ตาม แม้สนช.จะไม่สามารถถอดถอนได้ แต่เชื่อว่า นายนิคม และนายสมศักดิ์ ก็ยังมีความผิดในคดีอาญาอยู่ อย่างเช่น การปลอมแปลงเอกสาร ในการเปลี่ยนเอกสาร ร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญปี 50 เป็นต้น ซึ่งต้องรอให้หน่วยงานเกี่ยวข้องดำเนินการฟ้องร้องคดีต่อไป
แหล่งข่าวระดับสูง สนช. กล่าวต่อว่า ในส่วนสำนวนการถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่จะมีคิวพิจารณา ในวันที่ 12 พ.ย. นั้น ป.ป.ช.ได้ชี้มูลความผิดแตกต่างออกไปจากกรณีของนายนิคม และนายสมศักดิ์ โดยป.ป.ช. ยกเอาฐานความผิดตามรัฐธรรมนูญปี 50 รวมทั้ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และ กฎหมาย ป.ป.ช. มาตรา 58 โดยเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่า สนช. สามารถถอดถอน อดีตนายกฯได้ เพราะป.ป.ช.ได้อ้างความผิดตามฐานของกฎหมายที่ยังมีผลบังคับใช้อยู่ เหลือเพียงการพิจารณาปัญหาข้อเท็จจริงที่ว่าน.ส.ยิ่ง ลักษณ์ เกี่ยวข้องกับการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว หรือไม่
ทั้งนี้จากการเช็กเสียงของ สนช. ทั้ง 220 คน ปรากฏว่า สนช. สายอดีตกลุ่ม 40 ส.ว. รวมทั้ง สนช.กลุ่มข้าราชการพลเรือน เห็นด้วย กับการถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ดังนั้นเหลือเพียงการวัดใจว่า สนช.ในสายทหาร ที่มีความเป็นเอกภาพด้วยจำนวนเสียงมากถึง 130 เสียง จะมีความกล้าหาญพอที่จะโหวตถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ หรือไม่
** เล็งงัดมาตรา 44ปรามกลุ่มป่วน
พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมร่วมระหว่างครม.กับคสช. ถึงกรณีที่มีความเคลื่อนไหวของกลุ่มคู่ขัดแย้ง โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องการถอดถอนว่า นายกฯขอให้ทุกฝ่าย ได้ติดตามการเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด และพยายามทำความเข้าใจกับกลุ่มที่พยายามเคลื่อนไหวเหล่านี้ เพื่อที่จะให้เห็นถึงความจำเป็นว่าสถานการณ์บ้านเมืองของเราเป็นอย่างไร และถ้ามีการเคลื่อนไหวจนบ้านเมืองเกิดความสับสนทางสังคม บ้านเมืองจะกลับไปสู่สภาพเดิม และการเดินหน้าปฏิรูปการทำกิจกรรมต่างๆ ที่วางเอาไว้จะเป็นไปด้วยความลำบาก
"นายกฯบอกว่า หากไม่สามารถทำความเข้าใจกับผู้ที่เคลื่อนไหวได้ ถ้ามีความจำเป็นจะต้องบังคับใช้กฏหมายก็ต้องทำ โดยให้เริ่มจากกฎหมายปกติ ที่จากมาตรการขั้นเบาไปหาหนัก ก่อนใช้กฎอัยการศึก หรือแม้กระทั่ง มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว ที่ให้อำนาจพิเศษไว้ ซึ่งถ้าจำเป็นต้องทำก็ต้องทำเพื่อให้บ้านเมืองสงบ" พล.ต.สรรเสริญ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุใดจึงมีการหารือ ถึงการใช้อำนาจตาม มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว พล.ต.สรรเสริญ กล่าวว่า ไม่ได้เฉพาะเจาะจงเรื่องนี้ แต่ขณะนี้มีความเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ เกิดขึ้น เช่น การแสดงความคิดเห็นที่สามารถทำได้ แต่มีข้อกติกาที่เราเคยตกลงกันไว้แต่แรกว่า เมื่ออีกกลุ่มพูด อีกกลุ่มต้องพูดเหมือนกัน พอพูดแบบนี้เริ่มจากเล็กๆ ถ้าเราไม่ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดจะขยายกลายเป็นความขัดแย้ง บ้านเมืองจะกลับไปแบบเดิม แล้วใครจะหาญกล้ามาแบบนี้อีก จะยากยิ่งไปกว่าเดิม ดังนั้น ต้องใช้วิธีแบบวิถีคนไทย โดยการทำความเข้าใจ แต่ถ้าอธิบายความแล้วยังไม่เข้าใจ ก็ต้องบังคับใช้กฎหมาย เริ่มจากกฎหมายเบาไปหาหนัก ซึ่งท่านก็ปรารภว่า แม้กระทั่งมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว ซึ่งให้อำนาจพิเศษไว้ ถ้ามีความจำเป็นเพื่อรักษากรอบกติกาของบ้านเมืองให้เดินต่อไปได้ ก็ต้องใช้ โดยให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องประเมินและเสนอมา
เมื่อถามว่า ที่มีการพูดถึงมาตรา 44 เป็นเพราะขณะนี้ฝ่ายการเมืองเริ่มเคลื่อนไหวหรือไม่ พล.ต.สรรเสริญ กล่าวว่า ใช่ เพราะเกิดความเคลื่อนไหวแบบนี้ ดังนั้น ต้องบอกว่าอย่าเลย มันวุ่นวายเปล่าๆ คำว่าอย่าเลยคือ 1. เริ่มจากการอธิบายความให้เข้าใจแบบภาษาคนไทยต่างคนต่างช่วยพยุงบ้านเมืองกันไป และ 2. คุยแล้วไม่รู้เรื่อง มีมนุษย์สุดโต่ง ก็ต้องบังคับใช้กฎหมายจากเบาไปหาหนัก
เมื่อถามย้ำว่า บังเอิญพอดีกับช่วงที่สนช. จะพิจารณาถอดถอนบุคคลต่างๆ หรือไม่ พล.ต.สรรเสริญ กล่าวว่า เรื่องนี้นายกฯ ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องติดตามเกี่ยวกับเรื่องถอดถอน แต่ไม่ได้กำหนดว่าเรื่องอะไร เพียงแต่บอกว่าทุกคนต้องใช้วิจารณญาณ เรื่องทั้งหลายเป็นเรื่องของสนช.ที่อุดมไปด้วยผู้มีความรู้จะสามารถให้เหตุผลอธิบายความกับสังคมได้เป็นอย่างดี ต่อข้อถามว่า ขณะนี้คสช.มีอำนาจในการเรียกคนเข้ามารายงานตัวได้หรือไม่ พล.ต.สรรเสริญ กล่าวว่า ได้ คงจะเรียกเร็วๆนี้ ถ้ายังเคลื่อนไหวอยู่ก็ต้องเป็นไปตามนั้น