ที่ประชุมสนช.มีมติ 87 ต่อ 75 เสียง รับเรื่องถอดถอน"นิคม-สมศักดิ์"ไว้พิจารณา หลังประชุมลับกว่า 3 ชั่วโมงครึ่ง ชี้ลงคะแนนลับทำมติพลิก เชื่อถึงขั้นสุดท้ายจะถอดถอนไม่ได้ เพราะต้องใช้ถึง 132 เสียง "พรเพชร" นัดเปิดพิจารณาคดี 24-25 พ.ย. ด้าน"นิคม" ลั่นสู้ต่อ เพราะสงครามยังไม่จบ ขอรอดูมติก่อน ยังไม่ยื่นฟ้องศาล
เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ ( 6 พ.ย.) ที่รัฐสภา มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. ทำหน้าที่ประธานการประชุม ซึ่งที่ประชุมมีการพิจารณา สำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กรณีกล่าวหานายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา และกล่าวหานายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภากรณีดำเนินการพิจารณาร่างแก้ไขรธน.ปี 50 เกี่ยวกับที่มาส.ว. เป็นการกระทำที่ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดรธน.ปี 50 ว่า เป็นความผิดที่อยู่ในอำนาจของสนช. ที่จะถอดถอน ตามข้อบังคับการประชุมสนช.หรือไม่
นายพรเพชร ได้ย้ำต่อสมาชิกถึงการพิจารณาเรื่องนี้ ว่าตามข้อบังคับสมาชิกสนช. ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับการประชุมข้อ 161 โดยต้องวางตัวเป็นกลาง เที่ยงธรรม ไม่กล่าวหรือแสดง ไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ ซึ่งจะทำให้การพิจารณา และการวินิจฉัยของที่ประชุมต้องเสียความยุติธรรม
จากนั้นนายสมชาย แสวงการ สนช. ในฐานะ วิปสนช.ได้เสนอญัตติให้เป็นการประชุมลับ เพื่อให้สมาชิกมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง ในกรณีที่พาดพิงถึงบุคคลภายนอก เมื่อมีการถ่ายทอดผ่านโทรทัศน์ และวิทยุกระจายเสียง จะไม่มีเอกสิทธิ์คุ้มครอง จึงจำเป็นที่ต้องมีการประชุมลับ โดยมีสมาชิกยกมือรับรอง แต่สมาชิกสนช. บางส่วนไม่เห็นด้วยที่จะมีการประชุมลับ อาทิ นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สมาชิก สนช. เห็นแย้ง โดยระบุว่า เนื่องจากการประชุมเมื่อวันที่ 17 ต.ค. ที่ผ่านมา มีการนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมลับมาแล้วครั้งหนึ่งอย่าหมดเปลือก แต่ที่ประชุมยังสงสัยว่า เรายังไม่ได้รับเอกสารสำนวน และมีการแจกให้สมาชิกไปอ่านกันหมดแล้ว ซึ่งเอกสารต่างๆ ทั้งผู้ร้อง และผู้ถูกร้อง และผู้คัดค้าน เราได้อ่านกันหมดแล้ว และล้วนเป็นเรื่องซ้ำๆ กับสาระที่พูดกันในการประชุมลับครั้งที่แล้ว ถือว่าไม่มีความลับอีกต่อไปแล้ว วันนี้มีสาระเดียวว่าจะรับหรือ ไม่รับ เท่านั้น
"สังคมกำลังจับตามองพวกเราอยู่ เราทำอะไรกันอยู่ สมมุติมีการประชุมลับ 3 ชั่วโมง เปิดประชุมมา ที่ประชุมมีมติรับ หรือไม่รับ แล้วมันคืออะไร ผมจึงอยากให้มีการประชุมอย่างเปิดเผย สาธารณะชนกำลังรอฟังว่า ที่เราไม่รับเพราะสาเหตุใด เขาจะได้ชั่งใจ ผมเชื่อว่าสำนวนที่อ่านทั้งหมดไม่ต้องชังใจแล้ว เพียงพูดแต่กระบวนการว่า รับ ไม่รับ เข้าสู่การถอดถอนเท่านั้น จึงจำเป็นต้องประชุมอย่างเปิดเผย" นายสมชาย กล่าว
ด้านนพ.เจตน์ ศิระธรานนท์ สมาชิก สนช. กล่าวเสริมว่า แม้สมาชิกกังวลใจ แต่เรามีวุฒิภาวะเพียงพอ และรู้ว่าถ้าพูดพาดพิงบุคคลอื่นก็จะถูกฟ้องร้องได้ จึงเป็นเรื่องการใช้วิจารณญาณของแต่ละคน เมื่อมีการพูดกันมากมายไปแล้ว ในการประชุมลับครั้งที่แล้ว วันนี้จะมีการอภิปรายในประเด็นข้อกฎหมาย ก็ไม่ควรที่จะกลับไปอภิปรายข้อเท็จจริงอีก แม้จะติดว่าสมาชิกมีเวลาพิจารณาสำนวนไม่เพียงพอ เพราะเอกสารจำนวนมากเกินกว่าจะใช้เวลาสั้นๆ เข้าใจในสำนวน แต่เมื่อวันนี้เป็นการพิจารณาในประเด็นข้อกฎหมาย และไม่ได้มีส่วนอะไรจะพาดพิงบุคคลอื่น จึงไม่เห็นด้วยที่ต้องประชุมลับ
ผู้สื่อข่าวรายงานหลังสมาชิกได้แสดงความเห็นแล้ว นายพรเพชร ให้สมาชิกลงมติ ปรากฏว่า ที่ประชุมมีมติด้วยคะแนน 96 ต่อ 1 คะแนน ให้ประชุมลับ และไม่ลงคะแนน 75 คะแนน ทำให้ที่ประชุมต้องพิจารณาวาระดังกล่าว เป็นการประชุมลับ เริ่มเวลา 10.50 น.
หลังจากการประชุมลับประมาณ 3 ชั่วโมงครึ่ง ประธานในที่ประชุม ได้ให้มีการประชุมอย่างเปิดเผยอีกครั้งและได้ขอให้สมาชิกลงมติว่า ความผิดตามรายงานคณะกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงของป.ป.ช. กรณีนายสมศักดิ์ และนายนิคม เป็นความผิดที่อยู่ในอำนาจของสนช. หรือไม่ แต่นายกล้าณรงค์ จันทิก สมาชิกสนช. ลุกขึ้นถามว่า สรุปจะรับ ไม่รับ ใช่หรือไม่ เอาให้ชัดเจน โดยนายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ แสดงความเห็นด้วย ทำให้ นายพรเพชร ชี้แจงว่า ถ้าที่ประชุมมีมติอย่างไร ก็หมายความว่า รับ หรือไม่รับ แต่ภาษากฎหมายต้องว่าอย่างนี้
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมยังได้ถกเถียงกันในประเด็นที่ว่า ควรจะให้สมาชิกลงคะแนนอย่างเปิดเผย หรือเป็นความลับ สุดท้าย ประธานสั่งให้เป็นการลงคะแนนด้วยวิธีลับ และเชิญสื่อออกนอกห้องประชุม ปรากฏว่าที่ประชุมมีมติรับเรื่องไว้พิจารณา 87 เสียง ต่อ 75 เสียง และงดออกเสียง 15 เสียง
**รับพิจารณาแต่ไม่ถอดถอน
แหล่งข่าวจากสนช. เปิดเผยว่า สำหรับผลการลงคะแนนที่ออกมา 87 เสียง ให้รับสำนวนไว้ทำการถอดถอนนั้น ถือว่าเป็นสิ่งที่ผิดคาดพอสมควร เพราะเดิมคิดไว้ว่า สมาชิกส่วนใหญ่จะไม่รับไว้พิจารณา แต่เมื่อมีการเสนอให้ประชุมลับ และลงมติลับ ทำให้สมาชิกมีความกล้ามากขึ้น ที่จะแสดงความเห็น และลงคะแนน ซึ่งคะแนนออกมาอย่างนี้ เป็นการชี้ให้เห็นว่า หลักการ สนช. ยังมีอำนาจพิจารณา และ สนช.บางส่วนก็เกรงว่าหากไม่รับไว้พิจารณา ก็มีความผิดตามกฎหมายป.ป.ช.ได้ แต่ในส่วนการลงมติถอดถอนนั้นฟันธงได้เลยว่าถอดถอนไม่ได้แน่นอน เพราะยังมีคลื่นใต้น้ำ มีธงในเรื่องความปรองดอง ยังมีอยู่ อย่างไรก็ตาม ระหว่างทางก่อนที่จะถึงเวลาลงมติถอดถอนนั้น ยังมีเวลาอีกพอสมควร ที่จะมีการชี้แจงทำความเข้าใจกับ สนช. ที่ลงมติไม่รับไว้พิจารณา ปรับเปลี่ยนความคิดได้ เพราะยังมีการชี้แจงทั้งจากผู้ถูกกล่าวหา และป.ป.ช. ในการแถลงเปิดคดีอีก
อย่างไรก็ตาม การรับเรื่องไว้พิจารณา กับการถอดถอนเป็นคนละประเด็นกัน และไม่ได้หมายความว่าเมื่อถึงเวลาลงมติถอนถอน 87 เสียงที่ลงมติรับเรื่อง จะลงมติถอดถอน ซึ่งสมาชิกบางคนที่ลงมติรับเรื่อง ท้ายที่สุดก็อาจจะลงมติไม่ถอดถอนก็ได้
"ผลการลงมติในวันนี้ ยังก็สามารถมองไปถึงการลงมติถอดถอดในอนาคตได้เช่นกัน เพราะ คงเป็นไปได้ยากที่ 75 เสียง ที่ลงมติไม่รับเรื่อง จะลงมติถอนถอน ในเมื่อเขาเห็นว่าไม่รับเรื่องไว้พิจารณาแล้ว จะถอดถอนทำไม และการจะมีมติถอดถอนได้ เราต้องใช้เสียง 3 ใน 5 ของสมาชิก นั่นหมายถึง 132 เสียง ดังนั้นเมื่อนำ 75 เสียง ไปบวกกับสมาชิกบางคนที่ตั้งใจให้รับไปก่อน แล้วค่อยถอดถอนที่หลังอีก และอย่าลืมเสียงที่งดออกเสียง 15 เสียง ที่อาจจะตัดสินใจลงลงมติไม่ถอดถอน โอกาสที่จะเห็นการถอดถอนบุคคลทั้งสอง คงเป็นไปได้ยาก" แหล่งข่าวกล่าว
เช่นเดียวกับ นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี อดีต ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ผลการลงมติที่เห็นด้วย 87 เสียง ยังห่างไกลกับจำนวนเสียง 3 ใน 5 คือ 132 เสียง และตนไม่กล้าคิดถึงเสียงโหวตถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในกรณีปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตจำนำข้าว ที่จะมีการพิจารณาในวันที่ 12 พ.ย.นี้ ซึ่งถ้าสนช. มาจากการแต่งตั้งล้วนๆ ยังไม่กล้า แล้วใครจะกล้าดำเนินการเรื่องนี้
**คาดแถลงเปิดคดี 24-25 พ.ย.
นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. แถลงภายหลังที่ สนช.มีมติรับสำนวนถอถดถอนนายนิคม และนายสมศักดิ์ ไว้พิจารณาว่า หลังจากนี้ ตนจะสั่งให้นำสำนวนของป.ป.ช. เข้าสู่กระบวนการถอดถอน ตามข้อบังคับของ สนช. โดยจะต้องส่งเอกสารให้กับสนช.ทุกท่าน รวมถึงผู้ถูกกล่าวหา ให้ทราบล่วงหน้า 15 วัน ดังนั้นคาดว่าวันที่ 24-25 พ.ย. จะเป็นวันแถลงเปิดคดีของนายนิคม และนายสมศักดิ์
อย่างไรก็ตาม นายพรเพชร ไม่ตอบคำถามที่ว่า ให้สนช.รับถอดถอนไปก่อน แล้วค่อยปล่อยนายนิคม และนายสมศักดิ์ ในภายหลัง
ด้าน นพ.เจตน์ ศิรธนานนท์ สนช. ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการประสานงาน สนช. กล่าวถึงสาเหตุที่ต้องประชุมลับและลงมติลับ เนื่องจากสมาชิกกลัวว่าจะเกิดความวุ่นวาย พาดพิงบุคคลที่ 3 และไม่มีเอกสิทธิ์คุ้มครองสมาชิกผู้อภิปราย รวมทั้งยืนยันสมาชิกไม่ได้กลัวถูกหมายหัวหรือถูกฟ้องร้อง แต่ต้องการลงมติอย่างอิสระ ปราศจากความกดดัน
เมื่อถามว่าสาเหตุที่รับถอดถอนเพราะกลัวผิดกฎหมายป.ป.ช. ใช่หรือไม่ นายพรเพชร กล่าวว่า ไม่ได้กลัวผิดกฎหมาย เพราะทุกอย่างดำเนินการตามหลักกฎหมายที่ถูกต้องอยู่แล้ว สมาชิกทุกคนลงความเห็นด้วยความสุจริตใจ ทั้งนี้ คำวินิจฉัยในวันนี้ จะเป็นมาตรฐานให้กับประธานในการดำเนินการเรื่องต่างๆที่ใกล้เคียงกับกรณีนี้ให้ง่ายยิ่งขึ้น
**"นิคม"รอดูมติก่อน ยังไม่ยื่นศาล
นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา ให้สัมภาษณ์ว่า หลังจากนี้ต้องรอหนังสือจากสนช. ที่จะกำหนดวันให้ตนเข้าไปชี้แจง ซึ่งต้องดูรายละเอียดของหนังสือดังกล่าวก่อน โดยมติที่ออกมา ก็เป็นแนวทางหนึ่ง เนื่องจากมีเพียง 2 แนวทางว่าสนช.จะรับ หรือไม่รับไว้พิจารณา อย่างไรก็ตาม สงครามยังไม่จบ ก็คงต้องสู้ต่อไป
สำหรับการยื่นร้องต่อศาลยุติธรรม ขณะนี้ตนต้องรอดูอีกครั้งหนึ่ง จะไม่ผลีผลาม เพราะผลมติที่ออกมาคะแนนรับกับไม่รับไว้พิจารณานั้น ไม่ห่างกันมากนัก บ่งชี้ถึงนัยยะบางอย่าง
เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ ( 6 พ.ย.) ที่รัฐสภา มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. ทำหน้าที่ประธานการประชุม ซึ่งที่ประชุมมีการพิจารณา สำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กรณีกล่าวหานายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา และกล่าวหานายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภากรณีดำเนินการพิจารณาร่างแก้ไขรธน.ปี 50 เกี่ยวกับที่มาส.ว. เป็นการกระทำที่ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดรธน.ปี 50 ว่า เป็นความผิดที่อยู่ในอำนาจของสนช. ที่จะถอดถอน ตามข้อบังคับการประชุมสนช.หรือไม่
นายพรเพชร ได้ย้ำต่อสมาชิกถึงการพิจารณาเรื่องนี้ ว่าตามข้อบังคับสมาชิกสนช. ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับการประชุมข้อ 161 โดยต้องวางตัวเป็นกลาง เที่ยงธรรม ไม่กล่าวหรือแสดง ไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ ซึ่งจะทำให้การพิจารณา และการวินิจฉัยของที่ประชุมต้องเสียความยุติธรรม
จากนั้นนายสมชาย แสวงการ สนช. ในฐานะ วิปสนช.ได้เสนอญัตติให้เป็นการประชุมลับ เพื่อให้สมาชิกมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง ในกรณีที่พาดพิงถึงบุคคลภายนอก เมื่อมีการถ่ายทอดผ่านโทรทัศน์ และวิทยุกระจายเสียง จะไม่มีเอกสิทธิ์คุ้มครอง จึงจำเป็นที่ต้องมีการประชุมลับ โดยมีสมาชิกยกมือรับรอง แต่สมาชิกสนช. บางส่วนไม่เห็นด้วยที่จะมีการประชุมลับ อาทิ นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สมาชิก สนช. เห็นแย้ง โดยระบุว่า เนื่องจากการประชุมเมื่อวันที่ 17 ต.ค. ที่ผ่านมา มีการนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมลับมาแล้วครั้งหนึ่งอย่าหมดเปลือก แต่ที่ประชุมยังสงสัยว่า เรายังไม่ได้รับเอกสารสำนวน และมีการแจกให้สมาชิกไปอ่านกันหมดแล้ว ซึ่งเอกสารต่างๆ ทั้งผู้ร้อง และผู้ถูกร้อง และผู้คัดค้าน เราได้อ่านกันหมดแล้ว และล้วนเป็นเรื่องซ้ำๆ กับสาระที่พูดกันในการประชุมลับครั้งที่แล้ว ถือว่าไม่มีความลับอีกต่อไปแล้ว วันนี้มีสาระเดียวว่าจะรับหรือ ไม่รับ เท่านั้น
"สังคมกำลังจับตามองพวกเราอยู่ เราทำอะไรกันอยู่ สมมุติมีการประชุมลับ 3 ชั่วโมง เปิดประชุมมา ที่ประชุมมีมติรับ หรือไม่รับ แล้วมันคืออะไร ผมจึงอยากให้มีการประชุมอย่างเปิดเผย สาธารณะชนกำลังรอฟังว่า ที่เราไม่รับเพราะสาเหตุใด เขาจะได้ชั่งใจ ผมเชื่อว่าสำนวนที่อ่านทั้งหมดไม่ต้องชังใจแล้ว เพียงพูดแต่กระบวนการว่า รับ ไม่รับ เข้าสู่การถอดถอนเท่านั้น จึงจำเป็นต้องประชุมอย่างเปิดเผย" นายสมชาย กล่าว
ด้านนพ.เจตน์ ศิระธรานนท์ สมาชิก สนช. กล่าวเสริมว่า แม้สมาชิกกังวลใจ แต่เรามีวุฒิภาวะเพียงพอ และรู้ว่าถ้าพูดพาดพิงบุคคลอื่นก็จะถูกฟ้องร้องได้ จึงเป็นเรื่องการใช้วิจารณญาณของแต่ละคน เมื่อมีการพูดกันมากมายไปแล้ว ในการประชุมลับครั้งที่แล้ว วันนี้จะมีการอภิปรายในประเด็นข้อกฎหมาย ก็ไม่ควรที่จะกลับไปอภิปรายข้อเท็จจริงอีก แม้จะติดว่าสมาชิกมีเวลาพิจารณาสำนวนไม่เพียงพอ เพราะเอกสารจำนวนมากเกินกว่าจะใช้เวลาสั้นๆ เข้าใจในสำนวน แต่เมื่อวันนี้เป็นการพิจารณาในประเด็นข้อกฎหมาย และไม่ได้มีส่วนอะไรจะพาดพิงบุคคลอื่น จึงไม่เห็นด้วยที่ต้องประชุมลับ
ผู้สื่อข่าวรายงานหลังสมาชิกได้แสดงความเห็นแล้ว นายพรเพชร ให้สมาชิกลงมติ ปรากฏว่า ที่ประชุมมีมติด้วยคะแนน 96 ต่อ 1 คะแนน ให้ประชุมลับ และไม่ลงคะแนน 75 คะแนน ทำให้ที่ประชุมต้องพิจารณาวาระดังกล่าว เป็นการประชุมลับ เริ่มเวลา 10.50 น.
หลังจากการประชุมลับประมาณ 3 ชั่วโมงครึ่ง ประธานในที่ประชุม ได้ให้มีการประชุมอย่างเปิดเผยอีกครั้งและได้ขอให้สมาชิกลงมติว่า ความผิดตามรายงานคณะกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงของป.ป.ช. กรณีนายสมศักดิ์ และนายนิคม เป็นความผิดที่อยู่ในอำนาจของสนช. หรือไม่ แต่นายกล้าณรงค์ จันทิก สมาชิกสนช. ลุกขึ้นถามว่า สรุปจะรับ ไม่รับ ใช่หรือไม่ เอาให้ชัดเจน โดยนายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ แสดงความเห็นด้วย ทำให้ นายพรเพชร ชี้แจงว่า ถ้าที่ประชุมมีมติอย่างไร ก็หมายความว่า รับ หรือไม่รับ แต่ภาษากฎหมายต้องว่าอย่างนี้
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมยังได้ถกเถียงกันในประเด็นที่ว่า ควรจะให้สมาชิกลงคะแนนอย่างเปิดเผย หรือเป็นความลับ สุดท้าย ประธานสั่งให้เป็นการลงคะแนนด้วยวิธีลับ และเชิญสื่อออกนอกห้องประชุม ปรากฏว่าที่ประชุมมีมติรับเรื่องไว้พิจารณา 87 เสียง ต่อ 75 เสียง และงดออกเสียง 15 เสียง
**รับพิจารณาแต่ไม่ถอดถอน
แหล่งข่าวจากสนช. เปิดเผยว่า สำหรับผลการลงคะแนนที่ออกมา 87 เสียง ให้รับสำนวนไว้ทำการถอดถอนนั้น ถือว่าเป็นสิ่งที่ผิดคาดพอสมควร เพราะเดิมคิดไว้ว่า สมาชิกส่วนใหญ่จะไม่รับไว้พิจารณา แต่เมื่อมีการเสนอให้ประชุมลับ และลงมติลับ ทำให้สมาชิกมีความกล้ามากขึ้น ที่จะแสดงความเห็น และลงคะแนน ซึ่งคะแนนออกมาอย่างนี้ เป็นการชี้ให้เห็นว่า หลักการ สนช. ยังมีอำนาจพิจารณา และ สนช.บางส่วนก็เกรงว่าหากไม่รับไว้พิจารณา ก็มีความผิดตามกฎหมายป.ป.ช.ได้ แต่ในส่วนการลงมติถอดถอนนั้นฟันธงได้เลยว่าถอดถอนไม่ได้แน่นอน เพราะยังมีคลื่นใต้น้ำ มีธงในเรื่องความปรองดอง ยังมีอยู่ อย่างไรก็ตาม ระหว่างทางก่อนที่จะถึงเวลาลงมติถอดถอนนั้น ยังมีเวลาอีกพอสมควร ที่จะมีการชี้แจงทำความเข้าใจกับ สนช. ที่ลงมติไม่รับไว้พิจารณา ปรับเปลี่ยนความคิดได้ เพราะยังมีการชี้แจงทั้งจากผู้ถูกกล่าวหา และป.ป.ช. ในการแถลงเปิดคดีอีก
อย่างไรก็ตาม การรับเรื่องไว้พิจารณา กับการถอดถอนเป็นคนละประเด็นกัน และไม่ได้หมายความว่าเมื่อถึงเวลาลงมติถอนถอน 87 เสียงที่ลงมติรับเรื่อง จะลงมติถอดถอน ซึ่งสมาชิกบางคนที่ลงมติรับเรื่อง ท้ายที่สุดก็อาจจะลงมติไม่ถอดถอนก็ได้
"ผลการลงมติในวันนี้ ยังก็สามารถมองไปถึงการลงมติถอดถอดในอนาคตได้เช่นกัน เพราะ คงเป็นไปได้ยากที่ 75 เสียง ที่ลงมติไม่รับเรื่อง จะลงมติถอนถอน ในเมื่อเขาเห็นว่าไม่รับเรื่องไว้พิจารณาแล้ว จะถอดถอนทำไม และการจะมีมติถอดถอนได้ เราต้องใช้เสียง 3 ใน 5 ของสมาชิก นั่นหมายถึง 132 เสียง ดังนั้นเมื่อนำ 75 เสียง ไปบวกกับสมาชิกบางคนที่ตั้งใจให้รับไปก่อน แล้วค่อยถอดถอนที่หลังอีก และอย่าลืมเสียงที่งดออกเสียง 15 เสียง ที่อาจจะตัดสินใจลงลงมติไม่ถอดถอน โอกาสที่จะเห็นการถอดถอนบุคคลทั้งสอง คงเป็นไปได้ยาก" แหล่งข่าวกล่าว
เช่นเดียวกับ นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี อดีต ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ผลการลงมติที่เห็นด้วย 87 เสียง ยังห่างไกลกับจำนวนเสียง 3 ใน 5 คือ 132 เสียง และตนไม่กล้าคิดถึงเสียงโหวตถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในกรณีปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตจำนำข้าว ที่จะมีการพิจารณาในวันที่ 12 พ.ย.นี้ ซึ่งถ้าสนช. มาจากการแต่งตั้งล้วนๆ ยังไม่กล้า แล้วใครจะกล้าดำเนินการเรื่องนี้
**คาดแถลงเปิดคดี 24-25 พ.ย.
นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. แถลงภายหลังที่ สนช.มีมติรับสำนวนถอถดถอนนายนิคม และนายสมศักดิ์ ไว้พิจารณาว่า หลังจากนี้ ตนจะสั่งให้นำสำนวนของป.ป.ช. เข้าสู่กระบวนการถอดถอน ตามข้อบังคับของ สนช. โดยจะต้องส่งเอกสารให้กับสนช.ทุกท่าน รวมถึงผู้ถูกกล่าวหา ให้ทราบล่วงหน้า 15 วัน ดังนั้นคาดว่าวันที่ 24-25 พ.ย. จะเป็นวันแถลงเปิดคดีของนายนิคม และนายสมศักดิ์
อย่างไรก็ตาม นายพรเพชร ไม่ตอบคำถามที่ว่า ให้สนช.รับถอดถอนไปก่อน แล้วค่อยปล่อยนายนิคม และนายสมศักดิ์ ในภายหลัง
ด้าน นพ.เจตน์ ศิรธนานนท์ สนช. ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการประสานงาน สนช. กล่าวถึงสาเหตุที่ต้องประชุมลับและลงมติลับ เนื่องจากสมาชิกกลัวว่าจะเกิดความวุ่นวาย พาดพิงบุคคลที่ 3 และไม่มีเอกสิทธิ์คุ้มครองสมาชิกผู้อภิปราย รวมทั้งยืนยันสมาชิกไม่ได้กลัวถูกหมายหัวหรือถูกฟ้องร้อง แต่ต้องการลงมติอย่างอิสระ ปราศจากความกดดัน
เมื่อถามว่าสาเหตุที่รับถอดถอนเพราะกลัวผิดกฎหมายป.ป.ช. ใช่หรือไม่ นายพรเพชร กล่าวว่า ไม่ได้กลัวผิดกฎหมาย เพราะทุกอย่างดำเนินการตามหลักกฎหมายที่ถูกต้องอยู่แล้ว สมาชิกทุกคนลงความเห็นด้วยความสุจริตใจ ทั้งนี้ คำวินิจฉัยในวันนี้ จะเป็นมาตรฐานให้กับประธานในการดำเนินการเรื่องต่างๆที่ใกล้เคียงกับกรณีนี้ให้ง่ายยิ่งขึ้น
**"นิคม"รอดูมติก่อน ยังไม่ยื่นศาล
นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา ให้สัมภาษณ์ว่า หลังจากนี้ต้องรอหนังสือจากสนช. ที่จะกำหนดวันให้ตนเข้าไปชี้แจง ซึ่งต้องดูรายละเอียดของหนังสือดังกล่าวก่อน โดยมติที่ออกมา ก็เป็นแนวทางหนึ่ง เนื่องจากมีเพียง 2 แนวทางว่าสนช.จะรับ หรือไม่รับไว้พิจารณา อย่างไรก็ตาม สงครามยังไม่จบ ก็คงต้องสู้ต่อไป
สำหรับการยื่นร้องต่อศาลยุติธรรม ขณะนี้ตนต้องรอดูอีกครั้งหนึ่ง จะไม่ผลีผลาม เพราะผลมติที่ออกมาคะแนนรับกับไม่รับไว้พิจารณานั้น ไม่ห่างกันมากนัก บ่งชี้ถึงนัยยะบางอย่าง