เมื่อเวลา 09.00 น. วานนี้ (29ต.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้มีตัวแทนชาวบ้าน 5 จังหวัด ประกอบด้วย จ.พิจิตร พิษณุโลก สระบุรี ลพบุรี และเพชรบูรณ์ ประมาณ 50 คน นำโดย นางวันเพ็ญ พรหมรังสรรค์ ได้เข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ผ่าน น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิฯ เพื่อขอให้ตรวจสอบคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2557 ที่คณะรัฐมนตรี มีมติให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 21 ต.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากเห็นว่าไม่ชอบด้วยหลักกฎหมาย ละเมิดสิทธิของประชาชน
นางวันเพ็ญ กล่าวว่า ขณะนี้ชาวบ้านใน 5 จังหวัด เดือดร้อนจากการที่ บริษัทอัคราไมนิ่ง หรือ อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) เข้าทำการสำรวจพื้นที่ เพื่อทำเหมืองแร่ทองคำในที่ดินของชาวบ้าน โดยได้รับความร่วมมือจากส่วนราชการบางแห่ง ออกใบรับรองเข้าทำประโยชน์ให้กับบริษัท โดยอ้างว่าที่ดินที่ชาวบ้านครอบครองมาแต่บรรพบุรษนั้น เป็นพื้นที่ป่า และเป็นพื้นที่ส.ป.ก. ทั้งที่โดยข้อเท็จจริงแล้ว บริษัทดังกล่าวยังไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่ากระทรวงอุตสาหกรรม ให้เข้าทำการสำรวจพื้นที่ รวมถึงยังไม่ได้รับประทานบัตรเลย
นางวันเพ็ญ ยังได้ตั้งข้อสังเกตว่า รมว.อุตสาหกรรม เพิ่งเข้าปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่นาน แต่ทำไมจึงรีบอนุมัติประทานบัตรกับให้บริษัทเอกชนดังกล่าว จำนวนกว่า 100 แปลง เป็นเพราะมีแรงผลักดันจากกลุ่มการเมืองบางกลุ่มหรือไม่ เนื่องจากหาก ร่าง พ.ร.บ.แร่ฉบับใหม่บังคับใช้ ก็จะไม่สามารถย้อนหลังไปเอาผิดกับการสำรวจ และการได้รับประทานบัตรที่ไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.แร่ฉบับปัจจุบันได้
อีกทั้งสาระสำคัญของ ร่าง พ.ร.บ.แร่ฉบับใหม่ ยังระบุให้การอนุมัติประทานบัตร เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด และ อบต. แทนรัฐมนตรี ยิ่งจะทำให้การอนุมัติทำได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยขณะนี้ก็พบว่า มีการเคลื่อนไหวของส่วนราชการบางแห่งอย่างผิดปกติ เช่น กรมป่าไม้ ประกาศเวนคืนที่ดินของชาวบ้าน โดยอ้างว่าที่ดินที่ชาวบ้านครอบครองเป็นพื้นที่ป่า ตามมาตรา 4 (1) ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่รู้กันของชาวบ้านว่า บริษัทเอกชนต้องการเข้ามาทำการสำรวจสายแร่ ดังนั้นเป็นไปได้ว่าอาจจะมีการนำไปดำเนินการให้เอกชนประมูลเพื่อเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ ซึ่งต่อไปก็จะทำให้แร่กลายเป็นสิทธิของรัฐ ร่วมกับบริษัทเอกชนโดยผ่านการประมูล
ด้านนายคำเพลิน บุญธรรม ชาวบ้านหมู่ 9 ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร กล่าวว่า ที่ดินของตนเอง จำนวน 9 ไร่ ซึ่งบรรพบุรุษใช้ทำกินมากว่า 40 ปี ปลูกต้นสัก และยูคาลิปตัส โดยเสียภาษีบำรุงท้องที่มาตลอด แต่เมื่อปีต้นปี 2557 บริษัทเอกชนกลับใช้รถแบคโฮ เข้าไถที่ดินทำลายต้นไม้ที่ปลูก และไล่คนงานออก โดยอ้างว่าได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ให้เข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว ซึ่งตนไปร้องเรียน ก็อ้างว่าที่ดินตรงนี้เป็นของรัฐ ไม่ใช่ที่ดินของตนเอง
ขณะที่น.พ.นิรันดร์ กล่าวว่า การมาร้องเรียนของชาวบ้านครั้งนี้ ถือวเป็นการแสดงสิทธิในการมีส่วนร่วมในการรักษาทรัพย์สินป่า ลุ่มน้ำ ทะเล ชายฝั่ง สินแร่ ที่เป็นของแผ่นดินและเป็นของประชาชน โดยการเสนอนโยบายและกฎหมาย และเป็นการยืนยันว่า สิทธิชุมชนที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ปี 50 มาตรา 67 มีอยู่จริง ไม่ได้มาเพื่อประท้วง หรือใช้ความรุนแรง และไม่ถือว่าเป็นการขัดต่อกฎอัยการศึก ซึ่งทาง กสม. ก็จะได้มีการเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงต่อไป
"ยืนยันว่า ตรงนี้ไม่เกี่ยวกับการเมือง หรือมีความขัดแย้งรุนแรง แต่เกี่ยวกับประโยชน์ของประชาชน ซึ่งต้องยอมรับว่า ทรัพยากรธรรมชาติ ป่า ลุ่มน้ำ สินแร่ ทรัพยากรชายฝั่ง ไม่ใช่สมบัติของรัฐบาล หรือรัฐมนตรี ที่มาเดี๋ยวก็ไป แต่เป็นสมบัติของประชาชน 60 ล้านคน ซึ่งย่อมต้องมีส่วนร่วมที่จะบอกว่า ทองคำ ที่มีอยู่ที่ พิจิตร ลพบุรี เลย เราควรจะจัดการอย่างไร ไม่ใช่ให้เอกชนมาจัดการโดยที่ประชาชนพื้นที่ไม่ได้อะไรเลย"
น.พ.นิรันดร์ ยังกล่าวด้วยว่าได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ไปแจ้งความในฐานะสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ต่อสถานีตำรวจทุ่งสองห้อง เนื่องจากพบว่า มีการเผยแพร่ใบปลิวข้อความและใบเสร็จรับเงินในพื้นที่ จ.ลำปาง ระบุว่า กรรมการสิทธิจ่ายเงินให้กับชาวบ้านตำบลบ้านแหง จ.ลำปาง เป็นค่าประสานงานมวลชนจำนวน 12,000 บาท และค่าเดินทางให้กับชาวบ้านกลุ่มรักษ์บ้านแหงใช้เดินทางไป อ.แม่เมาะ จำนวน 150 คน เป็นเงิน 75,000 บาท โดยใบเสร็จมีการระบุชื่อบุคคลชัดเจน ซึ่งเมื่อตรวจสอบชื่อดังกล่าวกับเจ้าหน้าที่ในสำนักงานกสม.แล้วไม่พบว่ามีชื่อคนดังกล่าว การกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นการใส่ความทำให้สำนักงานเกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียง
"กรณีนี้เป็นเรื่องที่ผมได้ลงไปตรวจสอบเหมืองถ่านหิน ลิกไนต์ และตอนนี้ได้ทำรายงานสรุปเสร็จ เตรียมที่จะเสนอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยืนยันว่าการเดินไปตรวจสอบ และมีชาวบ้านมาให้ข้อมูล หมอนิรันดร์ ไม่จำเป็นต้องให้เงินชาวบ้านๆ มากันเอง ชาวบ้านมีตังค์ ข่าวดังกล่าวจึงไม่เป็นความจริง เป็นการกุข่าวทำลายความน่าเชื่อถือของ กสม. ยิ่งขณะนี้มีกระแสยุบ กสม.ด้วย ก็ไม่รู้ว่า เป็นการสร้างกระแสหรือไม่" นพ.นิรันดร์ กล่าว
นางวันเพ็ญ กล่าวว่า ขณะนี้ชาวบ้านใน 5 จังหวัด เดือดร้อนจากการที่ บริษัทอัคราไมนิ่ง หรือ อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) เข้าทำการสำรวจพื้นที่ เพื่อทำเหมืองแร่ทองคำในที่ดินของชาวบ้าน โดยได้รับความร่วมมือจากส่วนราชการบางแห่ง ออกใบรับรองเข้าทำประโยชน์ให้กับบริษัท โดยอ้างว่าที่ดินที่ชาวบ้านครอบครองมาแต่บรรพบุรษนั้น เป็นพื้นที่ป่า และเป็นพื้นที่ส.ป.ก. ทั้งที่โดยข้อเท็จจริงแล้ว บริษัทดังกล่าวยังไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่ากระทรวงอุตสาหกรรม ให้เข้าทำการสำรวจพื้นที่ รวมถึงยังไม่ได้รับประทานบัตรเลย
นางวันเพ็ญ ยังได้ตั้งข้อสังเกตว่า รมว.อุตสาหกรรม เพิ่งเข้าปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่นาน แต่ทำไมจึงรีบอนุมัติประทานบัตรกับให้บริษัทเอกชนดังกล่าว จำนวนกว่า 100 แปลง เป็นเพราะมีแรงผลักดันจากกลุ่มการเมืองบางกลุ่มหรือไม่ เนื่องจากหาก ร่าง พ.ร.บ.แร่ฉบับใหม่บังคับใช้ ก็จะไม่สามารถย้อนหลังไปเอาผิดกับการสำรวจ และการได้รับประทานบัตรที่ไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.แร่ฉบับปัจจุบันได้
อีกทั้งสาระสำคัญของ ร่าง พ.ร.บ.แร่ฉบับใหม่ ยังระบุให้การอนุมัติประทานบัตร เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด และ อบต. แทนรัฐมนตรี ยิ่งจะทำให้การอนุมัติทำได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยขณะนี้ก็พบว่า มีการเคลื่อนไหวของส่วนราชการบางแห่งอย่างผิดปกติ เช่น กรมป่าไม้ ประกาศเวนคืนที่ดินของชาวบ้าน โดยอ้างว่าที่ดินที่ชาวบ้านครอบครองเป็นพื้นที่ป่า ตามมาตรา 4 (1) ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่รู้กันของชาวบ้านว่า บริษัทเอกชนต้องการเข้ามาทำการสำรวจสายแร่ ดังนั้นเป็นไปได้ว่าอาจจะมีการนำไปดำเนินการให้เอกชนประมูลเพื่อเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ ซึ่งต่อไปก็จะทำให้แร่กลายเป็นสิทธิของรัฐ ร่วมกับบริษัทเอกชนโดยผ่านการประมูล
ด้านนายคำเพลิน บุญธรรม ชาวบ้านหมู่ 9 ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร กล่าวว่า ที่ดินของตนเอง จำนวน 9 ไร่ ซึ่งบรรพบุรุษใช้ทำกินมากว่า 40 ปี ปลูกต้นสัก และยูคาลิปตัส โดยเสียภาษีบำรุงท้องที่มาตลอด แต่เมื่อปีต้นปี 2557 บริษัทเอกชนกลับใช้รถแบคโฮ เข้าไถที่ดินทำลายต้นไม้ที่ปลูก และไล่คนงานออก โดยอ้างว่าได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ให้เข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว ซึ่งตนไปร้องเรียน ก็อ้างว่าที่ดินตรงนี้เป็นของรัฐ ไม่ใช่ที่ดินของตนเอง
ขณะที่น.พ.นิรันดร์ กล่าวว่า การมาร้องเรียนของชาวบ้านครั้งนี้ ถือวเป็นการแสดงสิทธิในการมีส่วนร่วมในการรักษาทรัพย์สินป่า ลุ่มน้ำ ทะเล ชายฝั่ง สินแร่ ที่เป็นของแผ่นดินและเป็นของประชาชน โดยการเสนอนโยบายและกฎหมาย และเป็นการยืนยันว่า สิทธิชุมชนที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ปี 50 มาตรา 67 มีอยู่จริง ไม่ได้มาเพื่อประท้วง หรือใช้ความรุนแรง และไม่ถือว่าเป็นการขัดต่อกฎอัยการศึก ซึ่งทาง กสม. ก็จะได้มีการเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงต่อไป
"ยืนยันว่า ตรงนี้ไม่เกี่ยวกับการเมือง หรือมีความขัดแย้งรุนแรง แต่เกี่ยวกับประโยชน์ของประชาชน ซึ่งต้องยอมรับว่า ทรัพยากรธรรมชาติ ป่า ลุ่มน้ำ สินแร่ ทรัพยากรชายฝั่ง ไม่ใช่สมบัติของรัฐบาล หรือรัฐมนตรี ที่มาเดี๋ยวก็ไป แต่เป็นสมบัติของประชาชน 60 ล้านคน ซึ่งย่อมต้องมีส่วนร่วมที่จะบอกว่า ทองคำ ที่มีอยู่ที่ พิจิตร ลพบุรี เลย เราควรจะจัดการอย่างไร ไม่ใช่ให้เอกชนมาจัดการโดยที่ประชาชนพื้นที่ไม่ได้อะไรเลย"
น.พ.นิรันดร์ ยังกล่าวด้วยว่าได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ไปแจ้งความในฐานะสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ต่อสถานีตำรวจทุ่งสองห้อง เนื่องจากพบว่า มีการเผยแพร่ใบปลิวข้อความและใบเสร็จรับเงินในพื้นที่ จ.ลำปาง ระบุว่า กรรมการสิทธิจ่ายเงินให้กับชาวบ้านตำบลบ้านแหง จ.ลำปาง เป็นค่าประสานงานมวลชนจำนวน 12,000 บาท และค่าเดินทางให้กับชาวบ้านกลุ่มรักษ์บ้านแหงใช้เดินทางไป อ.แม่เมาะ จำนวน 150 คน เป็นเงิน 75,000 บาท โดยใบเสร็จมีการระบุชื่อบุคคลชัดเจน ซึ่งเมื่อตรวจสอบชื่อดังกล่าวกับเจ้าหน้าที่ในสำนักงานกสม.แล้วไม่พบว่ามีชื่อคนดังกล่าว การกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นการใส่ความทำให้สำนักงานเกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียง
"กรณีนี้เป็นเรื่องที่ผมได้ลงไปตรวจสอบเหมืองถ่านหิน ลิกไนต์ และตอนนี้ได้ทำรายงานสรุปเสร็จ เตรียมที่จะเสนอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยืนยันว่าการเดินไปตรวจสอบ และมีชาวบ้านมาให้ข้อมูล หมอนิรันดร์ ไม่จำเป็นต้องให้เงินชาวบ้านๆ มากันเอง ชาวบ้านมีตังค์ ข่าวดังกล่าวจึงไม่เป็นความจริง เป็นการกุข่าวทำลายความน่าเชื่อถือของ กสม. ยิ่งขณะนี้มีกระแสยุบ กสม.ด้วย ก็ไม่รู้ว่า เป็นการสร้างกระแสหรือไม่" นพ.นิรันดร์ กล่าว