วานนี้ (9 ต.ค.) ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)ได้มีการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.กำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการทหาร พ.ศ... โดยมีหลักการสำคัญคือ กำหนดระดับปริญญาในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ และโรงเรียนแผนที่ ให้มีปริญญาสามขั้น คือ ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก และกำหนดให้มีครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ เครื่องหมายแสดงวิทยฐานะ นอกจากนี้ ยังกำหนดให้มีตำแหน่งทางวิชาการคณาจารย์ประจำของสถาบันการศึกษา และให้มีสิทธิใช้เป็นคำนำหน้านาม เพื่อแสดงวิทยฐานะได้ตลอดไป
ทั้งนี้ พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม กล่าวชี้แจงว่า ปัจจุบันสถาบันการศึกษาวิชาการทหารจัดการเรียนการสอนได้เพียงระดับปริญญาโท ไม่สอดคล้องกับความจำเป็นต่อการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในกองทัพให้มีความรู้ความสามารถทันกับการเปลี่ยนแปลง สมควรกำหนดให้สถาบันการศึกษาวิชาการทหารมีอำนาจทำการสอนได้ถึงระดับปริญญาเอก และมีอำนาจให้ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง และประกาศนียบัตรบัณฑิตแก่นักเรียนวิชาการทหาร รวมถึงปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของสภาการศึกษาวิชาชีพทหารให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ สนช. และ ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา อภิปรายว่า การศึกษาปริญญาเอก เป็นเรื่องดี แต่ต้องระวังว่า การศึกษาระดับปริญญาเอก เพื่อสร้างนักวิจัยสร้างองค์ความรู้ ไม่ใช่เพื่อใช้ไปต่อยอดเพื่อให้ตำแหน่งสูงขึ้น แต่ที่บ้านเมืองมีปัญหาเวลานี้เพราะเอาปริญญาไปผูกกับตำแหน่ง จนเกิดปัญหาปริญญาเฟ้อ ยากต่อการควบคุมคุณภาพ ซึ่งการพูดเช่นนี้เพราะต้องการที่จะหาทางป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา
พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ สนช.อภิปรายตั้งข้อสังเกตว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ไม่ได้แก้ปัญหาอย่างครอบคลุม เพราะเป็นการแก้ไขวิทยฐานะเท่านั้น ควรปรับปรุงเป็น ร่าง พ.ร.บ.โรงเรียนนายทหาร เพื่อที่จะได้มีการแก้ไข และจัดการเหมือนกับสถาบันการศึกษาอื่นๆ รวมทั้งให้มีการเพิ่มอัตรานายพล เพื่อรองรับนักวิชาการ หรืออาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นอีก 4 - 5 ราย เพื่อป้องกันเกิดอาการสมองไหลด้วย
พล.อ.อุดมเดช ชี้แจงกรณีคุณภาพการศึกษาว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการเตรียมความพร้อมทั้งการศึกษา คณาจารย์ สถานที่ ส่วนหลักสูตร ก็ได้รับการรับรองจาก สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) เช่นเดียวกับหลักสูตรที่สอนภายนอกเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม สมาชิกได้มีมติเอกฉันท์ 206 เสียง งดออกเสียง 5 เสียง เห็นชอบหลักการวาระแรก พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ 15 คน พิจารณารายละเอียดในกรอบเวลา 30 วัน
ทั้งนี้ พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม กล่าวชี้แจงว่า ปัจจุบันสถาบันการศึกษาวิชาการทหารจัดการเรียนการสอนได้เพียงระดับปริญญาโท ไม่สอดคล้องกับความจำเป็นต่อการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในกองทัพให้มีความรู้ความสามารถทันกับการเปลี่ยนแปลง สมควรกำหนดให้สถาบันการศึกษาวิชาการทหารมีอำนาจทำการสอนได้ถึงระดับปริญญาเอก และมีอำนาจให้ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง และประกาศนียบัตรบัณฑิตแก่นักเรียนวิชาการทหาร รวมถึงปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของสภาการศึกษาวิชาชีพทหารให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ สนช. และ ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา อภิปรายว่า การศึกษาปริญญาเอก เป็นเรื่องดี แต่ต้องระวังว่า การศึกษาระดับปริญญาเอก เพื่อสร้างนักวิจัยสร้างองค์ความรู้ ไม่ใช่เพื่อใช้ไปต่อยอดเพื่อให้ตำแหน่งสูงขึ้น แต่ที่บ้านเมืองมีปัญหาเวลานี้เพราะเอาปริญญาไปผูกกับตำแหน่ง จนเกิดปัญหาปริญญาเฟ้อ ยากต่อการควบคุมคุณภาพ ซึ่งการพูดเช่นนี้เพราะต้องการที่จะหาทางป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา
พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ สนช.อภิปรายตั้งข้อสังเกตว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ไม่ได้แก้ปัญหาอย่างครอบคลุม เพราะเป็นการแก้ไขวิทยฐานะเท่านั้น ควรปรับปรุงเป็น ร่าง พ.ร.บ.โรงเรียนนายทหาร เพื่อที่จะได้มีการแก้ไข และจัดการเหมือนกับสถาบันการศึกษาอื่นๆ รวมทั้งให้มีการเพิ่มอัตรานายพล เพื่อรองรับนักวิชาการ หรืออาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นอีก 4 - 5 ราย เพื่อป้องกันเกิดอาการสมองไหลด้วย
พล.อ.อุดมเดช ชี้แจงกรณีคุณภาพการศึกษาว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการเตรียมความพร้อมทั้งการศึกษา คณาจารย์ สถานที่ ส่วนหลักสูตร ก็ได้รับการรับรองจาก สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) เช่นเดียวกับหลักสูตรที่สอนภายนอกเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม สมาชิกได้มีมติเอกฉันท์ 206 เสียง งดออกเสียง 5 เสียง เห็นชอบหลักการวาระแรก พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ 15 คน พิจารณารายละเอียดในกรอบเวลา 30 วัน