ASTVผู้จัดการรายวัน-ผู้ว่าฯ รฟม.เดินเกมหนุนเจรจา BMCL เดินรถสีน้ำเงินส่วนต่อขยายโดยไม่ประมูล เตรียมให้กก.มาตรา 13 แห่งพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35 ชี้แจงบอร์ด รฟม. 19 ส.ค.นี้ กรณีมติให้เดินหน้าประมูล ชี้บอร์ดเห็นชอบเจรจาแล้ว ด้านกก.มาตร13 สวนกลับ บอร์ดรฟม.รับทราบไม่มีอำนาจเห็นชอบ มติสมบูรณ์ตามกฎหมายเปิดประมูลปลายก.ย.นี้
นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงกรณีที่คณะกรรมการตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ35) ที่มีนายรณชิต แย้มสอาด รองผู้ว่าฯ รฟม.เป็นประธาน ได้มีมติ 5:4 และงดออกเสียง 2 เสียง ให้เปิดประกวดราคางานเดินรถส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน(หัวลำโพง-บางแค และ
บางซื่อ-ท่าพระ) ระยะทาง 27 กม.ไม่ใช้การเจรจาตรงกับบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL ว่า รฟม.จะเสนอเรื่องดังกล่าวต่อที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.ที่มี พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ เป็นประธาน ในวันที่ 19 สิงหาคมเพื่อให้คณะกรรมการมาตรา 13 ชี้แจงถึงเหตุใดเปิดประมูล
เนื่องจากเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม บอร์ดรฟม.ที่มีนายชูศักดิ์ เกวี รองปลัดกระทรวงคมนาคมและกรรมการ รฟม.ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ได้มีมติเห็นชอบในหลักการแล้วว่าให้ รฟม.เจรจาตรงกับ BMCL ให้เดินรถส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน โดยไม่เปิดประมูล เพื่อความสะดวกของผู้โดยสาร ประหยัดเวลาประกวดราคา และค่าก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง
"ผมก็แปลกใจกับมติคณะกรรมการตามมาตรา 13 เพราะบอร์ดเคยเห็นชอบในหลักการไปแล้วว่าให้ รฟม.เจรจากับ BMCL เพื่อเดินรถต่อเนื่อง ดังนั้นคงต้องคุยกันหน่อยว่าเหตุใดคณะกรรมการมาตรา 13 จึงตัดสินใจอย่างนี้ ผมเข้าใจว่าคณะกรรมการมาตรา 13 มีอำนาจพิจารณาตัดสินใจ จะก้าวล่วงไม่ได้ แต่ รฟม.เองในฐานะที่เป็นเจ้าของโครงการก็มีสิทธิ์ถามมีสิทธิ์ทักท้วงเช่นกัน” นายยงสิทธิ์
กล่าว
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการฯมาตรา13 ระบุว่า ที่ประชุมคณะ กก.มาตรา13 เมื่อวันที่ 13 สิงหาคมมีมติชัดเจนเดินหน้าประมูลตามกระบวนการพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35 ซึ่งดำเนินการมาเกือบ1 ปี มีการร่างทีโออาร์แล้ว มติมีความสมบูรณ์ตามกฎหมายร่วมทุนฯ และจะประกาศประมูลในปลายเดือนกันยายนนี้ และเมื่อสรุปผลประมูลตามขั้นตอน กก.มาตรา13 จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอความเห็นชอบ
ส่วนที่ผู้ว่าฯรฟม.ระบุว่า บอร์ดรฟม.เห็นชอบเรื่องเจรจาตรงกับ BMCL นั้นคงเข้าใจผิด บอร์ดรฟม.เมื่อ 17 กรกฎาคมนั้นเป็นการรับทราบที่ BMCL เสนอขอเจรจา ไม่ใช่เห็นชอบและตามขั้นตอนกฎหมายร่วมทุน ไม่ใช่กระบวนการและอำนาจของบอร์ดที่จะเห็นชอบได้ หากที่ประชุมบอร์ดรฟม.วันที่ 19 สิงหาคมนี้หากมีข้อสังเกตุใดๆ ก็จะทำเป็นความเห็นประกอบเท่านั้นตามกฎหมายจะมาล้มขั้นตอนการทำงานของคณะกก.มาตรา 13 ไม่ได้
นอกจากนี้ นายยงสิทธิ์ยังระบุถึงรูปแบบการเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ (แบริ่ง-สมุทรปราการ) ว่า จะมีการเสนอบอร์ดรฟม. วันที่ 19 สิงหาคมนี้ด้วย โดย รฟม.จะเสนอใช้โมเดลเดียวกับแบบกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่รับผิดชอบก่อสร้างงานโยธาและวางระบบ เช่ารถจากเอกชน และจ้างเอกชนวิ่งบริการ เพราะหากใช้รูปแบบ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯในสายสีเขียวใต้ จะล่าช้า เนื่องจากมีขั้นตอนยุ่งยาก อาจส่งผลกระทบต่อกำหนดเปิดให้บริการช่วงปลายปี 2560 แต่ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเจรจากับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (BTS) ให้วิ่งบริการต่อเนื่องโดยในส่วนของ BTS จะเจรจาในส่วนของการเดินรถช่วงรอยต่อ 1 สถานี คือ จากสถานีแบริ่ง-สถานีสำโรง
"เรื่องให้BTS เดินรถทั้งเส้นทางสีเขียวต่อขยายเลยหรือไม่นั้น ยังไม่ได้ตัดสินใจ เพราะต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อน เช่น ปริมาณผู้โดยสารที่ปัจจุบัน BTS มีอยู่ 8-9 แสนคนต่อวัน ส่วนสายสีเขียวใต้ของรฟม.จะมีผู้โดยสารประมาณ 1.8-1.9 แสนคนต่อวัน ซึ่งต่างกันมาก และมีเพียง 30% เท่านั้นที่จะเป็นผู้โดยสารส่งต่อมาจาก BTS เข้ามา และยังมีประเด็นค่าโดยสารที่อาจจะแพงมาก เพราะที่ BTS รับจ้างวิ่งให้ กทม. 2 สถานี มารวมทั้งเส้นทางแล้วค่าโดยสารยังแพงว่ารถไฟฟ้าใต้ดิน ดังนั้นตอนนี้วิธีการเป็นไปได้ทั้งเจรากับ BTS และเปิดประมูล” นายยงสิทธิ์ กล่าว
นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงกรณีที่คณะกรรมการตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ35) ที่มีนายรณชิต แย้มสอาด รองผู้ว่าฯ รฟม.เป็นประธาน ได้มีมติ 5:4 และงดออกเสียง 2 เสียง ให้เปิดประกวดราคางานเดินรถส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน(หัวลำโพง-บางแค และ
บางซื่อ-ท่าพระ) ระยะทาง 27 กม.ไม่ใช้การเจรจาตรงกับบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL ว่า รฟม.จะเสนอเรื่องดังกล่าวต่อที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.ที่มี พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ เป็นประธาน ในวันที่ 19 สิงหาคมเพื่อให้คณะกรรมการมาตรา 13 ชี้แจงถึงเหตุใดเปิดประมูล
เนื่องจากเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม บอร์ดรฟม.ที่มีนายชูศักดิ์ เกวี รองปลัดกระทรวงคมนาคมและกรรมการ รฟม.ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ได้มีมติเห็นชอบในหลักการแล้วว่าให้ รฟม.เจรจาตรงกับ BMCL ให้เดินรถส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน โดยไม่เปิดประมูล เพื่อความสะดวกของผู้โดยสาร ประหยัดเวลาประกวดราคา และค่าก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง
"ผมก็แปลกใจกับมติคณะกรรมการตามมาตรา 13 เพราะบอร์ดเคยเห็นชอบในหลักการไปแล้วว่าให้ รฟม.เจรจากับ BMCL เพื่อเดินรถต่อเนื่อง ดังนั้นคงต้องคุยกันหน่อยว่าเหตุใดคณะกรรมการมาตรา 13 จึงตัดสินใจอย่างนี้ ผมเข้าใจว่าคณะกรรมการมาตรา 13 มีอำนาจพิจารณาตัดสินใจ จะก้าวล่วงไม่ได้ แต่ รฟม.เองในฐานะที่เป็นเจ้าของโครงการก็มีสิทธิ์ถามมีสิทธิ์ทักท้วงเช่นกัน” นายยงสิทธิ์
กล่าว
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการฯมาตรา13 ระบุว่า ที่ประชุมคณะ กก.มาตรา13 เมื่อวันที่ 13 สิงหาคมมีมติชัดเจนเดินหน้าประมูลตามกระบวนการพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35 ซึ่งดำเนินการมาเกือบ1 ปี มีการร่างทีโออาร์แล้ว มติมีความสมบูรณ์ตามกฎหมายร่วมทุนฯ และจะประกาศประมูลในปลายเดือนกันยายนนี้ และเมื่อสรุปผลประมูลตามขั้นตอน กก.มาตรา13 จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอความเห็นชอบ
ส่วนที่ผู้ว่าฯรฟม.ระบุว่า บอร์ดรฟม.เห็นชอบเรื่องเจรจาตรงกับ BMCL นั้นคงเข้าใจผิด บอร์ดรฟม.เมื่อ 17 กรกฎาคมนั้นเป็นการรับทราบที่ BMCL เสนอขอเจรจา ไม่ใช่เห็นชอบและตามขั้นตอนกฎหมายร่วมทุน ไม่ใช่กระบวนการและอำนาจของบอร์ดที่จะเห็นชอบได้ หากที่ประชุมบอร์ดรฟม.วันที่ 19 สิงหาคมนี้หากมีข้อสังเกตุใดๆ ก็จะทำเป็นความเห็นประกอบเท่านั้นตามกฎหมายจะมาล้มขั้นตอนการทำงานของคณะกก.มาตรา 13 ไม่ได้
นอกจากนี้ นายยงสิทธิ์ยังระบุถึงรูปแบบการเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ (แบริ่ง-สมุทรปราการ) ว่า จะมีการเสนอบอร์ดรฟม. วันที่ 19 สิงหาคมนี้ด้วย โดย รฟม.จะเสนอใช้โมเดลเดียวกับแบบกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่รับผิดชอบก่อสร้างงานโยธาและวางระบบ เช่ารถจากเอกชน และจ้างเอกชนวิ่งบริการ เพราะหากใช้รูปแบบ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯในสายสีเขียวใต้ จะล่าช้า เนื่องจากมีขั้นตอนยุ่งยาก อาจส่งผลกระทบต่อกำหนดเปิดให้บริการช่วงปลายปี 2560 แต่ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเจรจากับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (BTS) ให้วิ่งบริการต่อเนื่องโดยในส่วนของ BTS จะเจรจาในส่วนของการเดินรถช่วงรอยต่อ 1 สถานี คือ จากสถานีแบริ่ง-สถานีสำโรง
"เรื่องให้BTS เดินรถทั้งเส้นทางสีเขียวต่อขยายเลยหรือไม่นั้น ยังไม่ได้ตัดสินใจ เพราะต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อน เช่น ปริมาณผู้โดยสารที่ปัจจุบัน BTS มีอยู่ 8-9 แสนคนต่อวัน ส่วนสายสีเขียวใต้ของรฟม.จะมีผู้โดยสารประมาณ 1.8-1.9 แสนคนต่อวัน ซึ่งต่างกันมาก และมีเพียง 30% เท่านั้นที่จะเป็นผู้โดยสารส่งต่อมาจาก BTS เข้ามา และยังมีประเด็นค่าโดยสารที่อาจจะแพงมาก เพราะที่ BTS รับจ้างวิ่งให้ กทม. 2 สถานี มารวมทั้งเส้นทางแล้วค่าโดยสารยังแพงว่ารถไฟฟ้าใต้ดิน ดังนั้นตอนนี้วิธีการเป็นไปได้ทั้งเจรากับ BTS และเปิดประมูล” นายยงสิทธิ์ กล่าว