** การปฏิรูประบบภาษีให้มีฐานผู้เสียภาษีที่กว้างขึ้น การจัดเก็บภาษีมรดก รวมทั้งการปฏิรูประบบพลังงานใหม่ มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชน รวมไปถึงสร้างรายได้ให้กับรัฐอย่างโปร่งใส ถือว่าเป็นเป้าหมายสำคัญของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) และต่อเนื่องมาจนถึงรัฐบาลที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพราะที่ผ่านมาได้มีการประกาศเป็นสัญญาประชาคมแล้วว่า ต้องทำให้ได้ อย่างน้อยต้องเห็นผลเป็นรูปธรรมภายใน 1 ปี ภายใต้เงื่อนไขอายุของรัฐบาลเฉพาะกาลชุดปัจจุบัน
แน่นอนว่าทั้งสองเรื่อง ล้วนเป็นงานหิน หรือพูดแบบบ้านๆว่า "โคตรหิน" เลยก็ว่าได้ โดยเฉพาะเรื่องการเก็บ "ภาษีมรดก" ที่มีความพยายามดำเนินการกันมานานหลายสิบปีแล้ว แต่ไม่เคยทำสำเร็จได้สักที เนื่องจากมันเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของคนรวยบางกลุ่ม ซึ่งก็รวมถึงพวกนักการเมืองที่มีอำนาจ และบรรดาข้าราชการระดับสูง รวมหัวกันขัดขวาง จนไม่สามารถออกกฎหมายมาบังคับใช้ไดัสำเร็จสักที
แต่คราวนี้ทำท่าจะมีความหวังขึ้นมาอีก หลังจากมีคณะรักษาความสงบแห่งชาติเกิดขึ้นมา และ ต่อมาพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ประกาศว่าจะต้องมีการปฏิรูปทุกส่วน มีการประกาศว่า จะมีการปฏิรูประบบภาษีทั้งระบบ เพื่อให้การจัดเก็บรายได้ของรัฐได้มากขึ้นทั่วถึง และเป็นธรรมมากขึ้นกว่าเดิม
**นั่นคือ การขยายฐานของผู้เสียภาษีให้กว้างขึ้น จากในปัจจุบันที่มีผู้เสียภาษีเพียงแค่ประมาณกว่าสองล้านรายเท่านั้น จากจำนวนคนไทยทั้งประเทศกว่า 60 ล้านคน โดยในจำนวนนี้ จำนวนมากที่สุดประมาณสองล้านราย ก็เป็นพวกมนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี คือมีรายได้ 1.5 แสนบาทต่อปีขึ้นไป ที่เหลืออีกประมาณสองสามหมื่นคน ก็เป็นพวก "เจ้าสัว" มหาเศรษฐี และพวกอภิมหาเศรษฐี ซึ่งรายได้จากภาษีของคนพวกนี้รวมกันก็ประมาณปีละสองแสนล้านบาทต่อปี
ส่วนที่เหลืออีกจำนวนเกือบ 60 ล้านคนไม่ต้องเสียภาษี อาจมีประเภทที่รายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสีย รวมไปถึงพวกหลบเลี่ยงภาษี พวกที่ไม่เข้าระบบภาษี ซึ่งสองพวกหลังนี่ ถือว่ามีจำนวนมาก
ขณะเดียวกันความพยายามในการจัดเก็บภาษีที่ดิน และภาษีมรดก ที่มีความริเริ่มมานานหลายสิบปีแต่ไม่เคยสำเร็จสักที คราวนี้ในยุคที่รัฐบาลมีอำนาจเบ็ดเสร็จ ทำให้มีความหวังมากขึ้น และน่าจะทำได้ เพราะคนที่มีอำนาจมากที่สุดคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยืนยันหนักแน่นว่า ต้องทำ
ล่าสุดรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย วิษณุ เครืองาม ได้ออกมาเปิดเผยความคืบหน้าของร่างกฎหมายภาษีมรดก ว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งได้พิจารณาคืบหน้าไปกว่าร้อยละ 90 แล้ว และเมื่อให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สมหมาย ภาษี พิจารณาพิจารณาเรียบร้อยแล้ว ก็คงนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี และเข้าสภานิติบัญญัติ ออกมาเป็นกฎหมาย แม้ว่าจะไม่มีการกำหนดระยะเวลา แต่เมื่อเป็นนโบายของรัฐบาล ก็ต้องดำเนินการให้เร็วที่สุด
** โดยหลักการเบื้องต้นก็คือเก็บภาษีอัตราเดียวคือร้อยละ 10 กับผู้รับมรดกที่มีมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท
นอกจากนี้ สิ่งต้องพิจารณาควบคู่กันไปก็คือ ภาษีที่ดิน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ก็เปิดเผยว่า มีความพยายามในการปรับปรุงกฎหมายการใช้ที่ดิน โดยเฉพาะที่ดินที่ครอบครองโดยไม่ใช้ประโยชน์นาน 5-10 ปี ก็จะยึดมาเป็นของรัฐ อาจนำมาจัดสรรให้กับผู้ที่ไร้ที่ทำกิน ซึ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าติดตามว่า จะทำได้ตามที่พูดหรือไม่
สำหรับงานหินอีกอย่างก็คือ การปฏิรูปการใช้พลังงานของประเทศทั้งระบบ ซึ่งนับวันมีประชาชนมีความตื่นตัว และเรียกร้องให้ คสช. และรัฐบาลเข้ามาจัดการให้เกิดความเป็นธรรม รวมไปถึงการปฏิรูปโครงสร้างของ บริษัท ปตท.เสียใหม่ โดยให้ผลประโยชน์ตกอยู่กับคนไทยทุกคน ไม่ใช่อ้างความเป็นรัฐวิสาหกิจ กิจการของรัฐ ไปสร้างผลกำไรให้กับผู้ถือหุ้นเอกชนบางรายเท่านั้น และเรื่องนี้ถือว่าเป็นงานยาก เพราะมีเรื่องผลประโยชน์มหาศาลเข้ามาเกี่ยวข้อง และไม่มีทางสำเร็จลงได้เลย หากผู้นำไม่มีความเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว และมีจิตใจเพื่อประโยชน์สาธารณะ
**ดังนั้นหากพิจารณาจากความเคลื่อนไหวทุกเรื่องดังกล่าวมาทั้งหมด ทั้งเรื่องการผลักดันกฎหมายภาษีมรดก การขยายฐานการจัดเก็บภาษีให้กว้างและเป็นธรรมมากขึ้น รวมไปถึงการปฏิรูปด้านพลังงาน เพื่อประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ ถือเป็นเรื่องใหญ่ และยากที่สุด แต่ก็ทำได้หากผู้นำคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีความมุ่งมั่น และที่สำคัญคราวนี้มีโอกาสเปิดมากที่สุดแล้ว ที่ต้องใช้อำนาจเบ็ดเสร็จผลักดัน เพราะถ้าคราวนี้ทำไม่สำเร็จอีก ในอนาคตก็คงจะหมดหวังมองไม่เห็นทางแล้ว !!
แน่นอนว่าทั้งสองเรื่อง ล้วนเป็นงานหิน หรือพูดแบบบ้านๆว่า "โคตรหิน" เลยก็ว่าได้ โดยเฉพาะเรื่องการเก็บ "ภาษีมรดก" ที่มีความพยายามดำเนินการกันมานานหลายสิบปีแล้ว แต่ไม่เคยทำสำเร็จได้สักที เนื่องจากมันเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของคนรวยบางกลุ่ม ซึ่งก็รวมถึงพวกนักการเมืองที่มีอำนาจ และบรรดาข้าราชการระดับสูง รวมหัวกันขัดขวาง จนไม่สามารถออกกฎหมายมาบังคับใช้ไดัสำเร็จสักที
แต่คราวนี้ทำท่าจะมีความหวังขึ้นมาอีก หลังจากมีคณะรักษาความสงบแห่งชาติเกิดขึ้นมา และ ต่อมาพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ประกาศว่าจะต้องมีการปฏิรูปทุกส่วน มีการประกาศว่า จะมีการปฏิรูประบบภาษีทั้งระบบ เพื่อให้การจัดเก็บรายได้ของรัฐได้มากขึ้นทั่วถึง และเป็นธรรมมากขึ้นกว่าเดิม
**นั่นคือ การขยายฐานของผู้เสียภาษีให้กว้างขึ้น จากในปัจจุบันที่มีผู้เสียภาษีเพียงแค่ประมาณกว่าสองล้านรายเท่านั้น จากจำนวนคนไทยทั้งประเทศกว่า 60 ล้านคน โดยในจำนวนนี้ จำนวนมากที่สุดประมาณสองล้านราย ก็เป็นพวกมนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี คือมีรายได้ 1.5 แสนบาทต่อปีขึ้นไป ที่เหลืออีกประมาณสองสามหมื่นคน ก็เป็นพวก "เจ้าสัว" มหาเศรษฐี และพวกอภิมหาเศรษฐี ซึ่งรายได้จากภาษีของคนพวกนี้รวมกันก็ประมาณปีละสองแสนล้านบาทต่อปี
ส่วนที่เหลืออีกจำนวนเกือบ 60 ล้านคนไม่ต้องเสียภาษี อาจมีประเภทที่รายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสีย รวมไปถึงพวกหลบเลี่ยงภาษี พวกที่ไม่เข้าระบบภาษี ซึ่งสองพวกหลังนี่ ถือว่ามีจำนวนมาก
ขณะเดียวกันความพยายามในการจัดเก็บภาษีที่ดิน และภาษีมรดก ที่มีความริเริ่มมานานหลายสิบปีแต่ไม่เคยสำเร็จสักที คราวนี้ในยุคที่รัฐบาลมีอำนาจเบ็ดเสร็จ ทำให้มีความหวังมากขึ้น และน่าจะทำได้ เพราะคนที่มีอำนาจมากที่สุดคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยืนยันหนักแน่นว่า ต้องทำ
ล่าสุดรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย วิษณุ เครืองาม ได้ออกมาเปิดเผยความคืบหน้าของร่างกฎหมายภาษีมรดก ว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งได้พิจารณาคืบหน้าไปกว่าร้อยละ 90 แล้ว และเมื่อให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สมหมาย ภาษี พิจารณาพิจารณาเรียบร้อยแล้ว ก็คงนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี และเข้าสภานิติบัญญัติ ออกมาเป็นกฎหมาย แม้ว่าจะไม่มีการกำหนดระยะเวลา แต่เมื่อเป็นนโบายของรัฐบาล ก็ต้องดำเนินการให้เร็วที่สุด
** โดยหลักการเบื้องต้นก็คือเก็บภาษีอัตราเดียวคือร้อยละ 10 กับผู้รับมรดกที่มีมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท
นอกจากนี้ สิ่งต้องพิจารณาควบคู่กันไปก็คือ ภาษีที่ดิน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ก็เปิดเผยว่า มีความพยายามในการปรับปรุงกฎหมายการใช้ที่ดิน โดยเฉพาะที่ดินที่ครอบครองโดยไม่ใช้ประโยชน์นาน 5-10 ปี ก็จะยึดมาเป็นของรัฐ อาจนำมาจัดสรรให้กับผู้ที่ไร้ที่ทำกิน ซึ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าติดตามว่า จะทำได้ตามที่พูดหรือไม่
สำหรับงานหินอีกอย่างก็คือ การปฏิรูปการใช้พลังงานของประเทศทั้งระบบ ซึ่งนับวันมีประชาชนมีความตื่นตัว และเรียกร้องให้ คสช. และรัฐบาลเข้ามาจัดการให้เกิดความเป็นธรรม รวมไปถึงการปฏิรูปโครงสร้างของ บริษัท ปตท.เสียใหม่ โดยให้ผลประโยชน์ตกอยู่กับคนไทยทุกคน ไม่ใช่อ้างความเป็นรัฐวิสาหกิจ กิจการของรัฐ ไปสร้างผลกำไรให้กับผู้ถือหุ้นเอกชนบางรายเท่านั้น และเรื่องนี้ถือว่าเป็นงานยาก เพราะมีเรื่องผลประโยชน์มหาศาลเข้ามาเกี่ยวข้อง และไม่มีทางสำเร็จลงได้เลย หากผู้นำไม่มีความเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว และมีจิตใจเพื่อประโยชน์สาธารณะ
**ดังนั้นหากพิจารณาจากความเคลื่อนไหวทุกเรื่องดังกล่าวมาทั้งหมด ทั้งเรื่องการผลักดันกฎหมายภาษีมรดก การขยายฐานการจัดเก็บภาษีให้กว้างและเป็นธรรมมากขึ้น รวมไปถึงการปฏิรูปด้านพลังงาน เพื่อประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ ถือเป็นเรื่องใหญ่ และยากที่สุด แต่ก็ทำได้หากผู้นำคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีความมุ่งมั่น และที่สำคัญคราวนี้มีโอกาสเปิดมากที่สุดแล้ว ที่ต้องใช้อำนาจเบ็ดเสร็จผลักดัน เพราะถ้าคราวนี้ทำไม่สำเร็จอีก ในอนาคตก็คงจะหมดหวังมองไม่เห็นทางแล้ว !!