เผยเบื้องหลังขบวนการสกัดการคัดเลือกบริษัท BMCL คว้าสัมปทานเดินรถสายสีน้ำเงิน เริ่มตั้งแต่ดึงสมาคมฯสื่อทำหนังสือร้องเรียน หวังป่วนให้คณะกรรมการ ม. 13 ทบทวนท่าทีในการเปิดเจรจาบิดเบือน ทำให้รฟม. ผู้ว่า และคณะกรรมการ รฟม. เสียหาย และขณะนี้มีกลุ่มบุคคลที่สร้างปัญหาทำเป็นขบวนการ ใช้สื่อออกข่าว กดดัน ร้องเรียนไปที่รัฐบาล และคสช. ใส่ร้ายว่ามีการทุจริต ชี้มุ่งแต่การเปิดประมูลใหม่ โดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชน และรัฐเกิดความเสียหาย
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผย"ASTVผู้จัดการรายวัน" ถึงขบวนการสกัดกั้นบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BMCL ซึ่งเสนอตัวที่จะเข้ามารับสัมปทานการเดินรถสายสีน้ำ ซึ่งพล.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มีนโยบายขีดเส้นตายในเดือนตุลาคมนี้ทำการตัดสินและคัดเลือกบริษัทเอกชนเดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ซึ่งมอบหมายให้คณะกรรมการตามมาตรา 13 พิจารณาว่าจะตัดสินให้มีการประมูลใหม่หรือเปิดให้เอกชนคือบริษัท BMCL มาเจรจา ซึ่งแนวทางใดประชาชนจะได้ประโยชน์สูงสุดก็ให้ใช้วิธีการนั้น แต่ขณะนี้มีข้อสังเกตุว่าได้มีหนังสือร้องเรียนจากสมาคมส่งเสริมวิชาชีพผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ วิทยุ และทัศน์ ได้ทำหนังสือร้องเรียนมา ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลกมากว่าสมาคมวิชาชีพสื่อเข้ามาเกี่ยวข้องอะไร เพราะบทบาทของสื่อมีหน้าที่ในการตรวจสอบอยู่แล้ว แต่นี่มาทำหนังสือร้องเรียน จึงทำให้มีข้อสังเกตุว่ามีเบื้องหน้าเบื้องหลังอะไรหรือไม่
แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่าได้มีการขบวนการปล่อยข่าวลือว่าจะปลดนาย นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการ รฟม. และลือสะพัดว่านายยงสิทธิ์ เตรียมยื่นใบลาออกจากผู้ว่าการ รฟม. เนื่องจากมีปัญหาการทำงาน โดยมีการกล่าวอ้างว่าผู้ว่ารฟม. แทรกแซงการทำงานของคณะกรรมการ ม.13 เพื่อช่วยเหลือ BMCLให้ได้งานโดยไม่ต้องประมูล และเมื่อคณะกรรมการม.13 ลงมติให้ประมูลไปแล้ว (ลงมติ 13 สค. รับรอง 25 สค.) จึงไม่พอใจปลดนายรณชิตและนายสุชิน จากประธานและเลขาฯ คณะกรรมการม.13 และปลดนายรณชิตจากประธานกรรมการตรวจการจ้างงานโยธาทั้ง 11 สัญญา
ซึ่งในข้อเท็จจริงแล้ว ผู้ว่ารฟม.ไม่ได้แทรกแซงการทำงานของคณะกรรมการม.13 แต่อย่างใด แต่ทำหน้าที่หัวหน้าหน่วยงานเจ้าของโครงการที่ต้องจัดทำร่าง TOR และเงื่อนไขการดำเนินงานเสนอให้คณะกรรมการม.13 พิจารณาตามขั้นตอนของม.12 พรบ.ร่วมลงทุน 2535
ทั้งนี้นายรณชิตจงใจไม่นำเสนอข้อมูลและความเห็นของรฟม.ที่ถูกต้องครบถ้วนตามม.12 ก่อนที่จะพิจารณาวิธีคัดเลือก (ประมูลหรือเจรจา) ทั้งที่กรรมการม.13 หลายท่านได้คัดค้าน (ตัวเองเป็นรองผู้ว่าฯ รฟม.กลับไม่ทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนรฟม.) และพยายามสรุปว่าคณะกรรมการม.13 มีมติว่าประมูลไปแล้ว (5:4:3) ทั้งที่เป็นการสอบถามความเห็นเบื้องต้นเท่านั้นและมีกรรมการ 2 ท่านที่ขอข้อมูลเพิ่มเติมก็อ้างว่างดออกเสียง ขณะนี้มีกรรมการ 2 ท่านทำหนังสือ (อัยการและผู้แทนกระทรวงมหาดไทย) คัดค้านมติแล้ว การกระทำเช่นนี้เป็นความผิดร้ายแรงและทำให้คณะกรรมการม.13 ทำผิดขั้นตอนของพรบ.ร่วมลงทุน 2535 ด้วย
อย่างไรก็ตามในการเปลี่ยนแปลงหรือแต่งตั้งคณะกรรมการม.13 ในส่วนของผู้แทนรฟม.เป็นอำนาจของผู้ว่าฯรฟม.สามาถบริหารจัดการได้ตามความเหมาะสม ในทางกลับกันหากผู้แทนรฟม.ไม่มีความเหมาะสม ทำหน้าที่บกพร่องเกิดความเสียหายต่อส่วนรวม สมควรจะโดนลงโทษและปรับเปลี่ยนทันที ส่วนการแต่งตั้งกรรมการตรวจการจ้างงานโยธาก็เป็นอำนาจผู้ว่ารฟม. เช่นกันซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามความเหมาะสมและไม่เกี่ยวกับคณะกรรมการม.13
แหล่งข่าวกล่าวต่อไปผู้ว่ารฟม.มีหน้าที่ชี้แจงผลการประชุมคณะกรรมการอยู่แล้ว และในการชี้แจงก็ระบุชัดเจนว่าการเห็นชอบให้เจรจาเป็นอำนาจของคณะกรรมการม.13 รฟม.ทำหน้าที่และให้ความเห็นในฐานะหน่วยงานเจ้าของโครงการตามขั้นตอนของพรบ.ร่วมทุน 2535 ในการชี้แจงสิ่งที่ถูกต้องไม่ใช่การกดดันคณะกรรมการม.13 แต่อย่างใด และไม่เกี่ยวกับการสร้างราคาหุ้น BMCL ซึ่งเป็นเรื่องของการดำเนินธุรกิจปกติ
สำหรับประเด็น การเดินรถต่อเนื่องไม่เกิดประโยชน์จริงเป็นข้ออ้างเพื่อให้เจรจากับBMCL เพราะสายสีน้ำเงินถูกออกแบบเพื่อมีผู้ให้บริการหลายราย การเดินรถต่อเนื่องไม่มีความจำเป็นเพราะการที่ประชาชนผู้โดยสารต้องเปลี่ยนรถเป็นเรื่องปกติทำกันในทุกประเทศ และในทุกกรณีก็ต้องเปลี่ยนรถที่สถานีท่าพระอยู่แล้ว โดยข้อเท็จจริงแล้ว การเดินรถต่อเนื่อง Through Operation ทำให้ประชาชนเดินทางได้สะดวกที่สุดและปลอดภัยสูงสุด และทำให้การเดินรถและบำรุงรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด ประหยัดค่าใช้จ่าย ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างชัดเจน สอดคล้องกับผลการศึกษาของรฟม.ตั้งแต่ปี 2551 ที่เสนอครม.เห็นชอบเมื่อปี 2553 และสอดคล้องแผนวิสาหกิจของรฟม.
การที่รฟม.เห็นชอบให้เดินรถต่อเนื่องเป็นการกำหนดนโยบายให้บริการที่ดีที่สุดต่อประชาชนในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบ ไม่ใช่การเอื้อประโยชน์ BMCL หากรฟม.ดำเนินการเองหรือให้เอกชนรายอื่นดำเนินการก็ต้องกำหนดให้เดินรถต่อเนื่องเช่นกัน นอกจากนี้ในการออกแบบก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเป็นไปตามหลักวิศวกรรมและข้อจำกัดทางกายภาพ เช่นการเวรคืน สามารถให้บริการทั้งแบบต่อเนื่องและไม่ต่อเนื่อง (ผู้ให้บริการหลายราย) แต่สุดท้ายรูปแบบการให้บริการประชาชนที่ดีและเหมาะสมที่สุดต้องเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนผู้ใช้บริการ ไม่ใช่ให้ผู้โดยสารต้องเปลี่ยนรถเพียงเพราะต้องการให้เกิดการแข่งขัน จึงยอมให้เดินรถไม่ต่อเนื่อง (ปกติการเปลี่ยนรถจะเกิดเมื่อเปลี่ยนสายหรือทิศทางการเดินรถ)
ส่วนที่สถานีท่าพระมีการเปลี่ยนรถเพราะมีการเปลี่ยนทิศทางประกอบติดปัญหาการเวรคืนที่ดินทำให้ก่อสร้างทางวิ่งเชื่อมต่อกันทั้ง 2 ทิศทางไม่ได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งปกติที่ควรเกิดขึ้น และไม่ควรเกิดที่สถานีอื่นๆด้วย
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวต่อไปถึงประเด็น การเจรจาทำให้รัฐเสียประโยชน์ ต้องใช้จ่ายเงินงบประมาณมากกว่าที่ควรเป็น ทำให้เกิดการผูกขาด ทำใหัรัฐไม่มีอำนาจต่อรอง จะเห็นได้ว่าในการเจรจาตรงกับ BMCL ให้เป็นผู้ดำเนินการส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงินโดยเดินรถต่อเนื่องเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดเพราะ BMCL สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งระบบรถไฟฟ้า บุคลากร อุปกรณ์ต่างๆ ต่อขยายให้เกิดประโยชน์สูงสุด ประหยัดค่าใช้จ่ายของรัฐจำนวนมาก และเปิดให้บริการได้เร็วที่สุด ซึ่งเป็นประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวมอย่างชัดเจนมากกว่าการประมูลแข่งขัน สอดคล้องกับผลการศึกษาของรฟม. และที่ปรึกษาของคณะกรรมการมาตรา 13 ได้ให้ความเห็นสนับสนุนไว้ เช่นสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้กว่า 10,000 ล้านบาท เปิดบริการได้เร็วขึ้นกว่า 1 ปีครึ่ง
นอกจากนี้ การผูกขาดเป็นการสร้างภาพที่ผิด เพราะการเจรจากับ BMCL เกิดขึ้นกับสายสีน้ำเงินส่วน
อขยายเท่านั้น หากเป็นสายอื่น BMCL ก็ต้องประมูลปกติ เช่น สายสีม่วง จึงไม่ใช่การผูกขาดกิจการรัฐแต่อย่างใด และในการเจรจาไม่ได้ทำให้รัฐขาดอำนาจต่อรอง เพราะรัฐสามารถกำหนดราคาเป้าหมายและเงื่อนไขที่ต้องการเจรจาได้อย่างเต็มที่ ต่างจากการประมูล หาก BMCL ชนะ จะทำให้ต่อรองยากขึ้นอีกเพราะเป็นผู้ชนะโดยชอบธรรมแล้ว
ทั้งนี้ในข้อเท็จในการเจรจาใช้เวลาสั้นกว่าการประมูลมาก เพราะมีขั้นตอนน้อยกว่า และเกิดขึ้นบ่อยครั้งในการจัดซื้อวิธีพิเศษของรัฐ การอ้างว่าถ้าเจรจาไม่สำเร็จต้องกลับมาประมูลจะทำให้ล่าช้า เป็นการให้ข้อมูลบิดเบือนเพราะไม่ว่าจะเจรจาหรือประมูลก็มีโอกาสไม่สำเร็จเช่นกันขึ้นกับประสิทธิภาพการดำเนินงาน แต่จำเป็นต้องคัดเลือกด้วยวิธีที่เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดก่อน นอกจานี้หากกระทรวงการคลังและสภาพัฒน์ หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งไม่เห็นชอบก็ต้องกลับมาประมูลทำให้เสียเวลา เป็นสิ่งที่ผิด เพราะเมื่อคณะกรรมการม.13 มีโอกาสเจรจาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต้องไม่ละเลยทำให้เสียโอกาสเพราะกลัวหน่วยงานใดไม่เห็นชอบทำให้เสียเวลา โดยการเจรจากับ BMCL สามารถทำได้ตามมาตรา 16 ของ พรบ.ร่วมลงทุน พ.ศ.2535 เหมือนเช่นการจัดจ้างวิธีพิเศษต่างๆ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผย"ASTVผู้จัดการรายวัน" ถึงขบวนการสกัดกั้นบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BMCL ซึ่งเสนอตัวที่จะเข้ามารับสัมปทานการเดินรถสายสีน้ำ ซึ่งพล.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มีนโยบายขีดเส้นตายในเดือนตุลาคมนี้ทำการตัดสินและคัดเลือกบริษัทเอกชนเดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ซึ่งมอบหมายให้คณะกรรมการตามมาตรา 13 พิจารณาว่าจะตัดสินให้มีการประมูลใหม่หรือเปิดให้เอกชนคือบริษัท BMCL มาเจรจา ซึ่งแนวทางใดประชาชนจะได้ประโยชน์สูงสุดก็ให้ใช้วิธีการนั้น แต่ขณะนี้มีข้อสังเกตุว่าได้มีหนังสือร้องเรียนจากสมาคมส่งเสริมวิชาชีพผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ วิทยุ และทัศน์ ได้ทำหนังสือร้องเรียนมา ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลกมากว่าสมาคมวิชาชีพสื่อเข้ามาเกี่ยวข้องอะไร เพราะบทบาทของสื่อมีหน้าที่ในการตรวจสอบอยู่แล้ว แต่นี่มาทำหนังสือร้องเรียน จึงทำให้มีข้อสังเกตุว่ามีเบื้องหน้าเบื้องหลังอะไรหรือไม่
แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่าได้มีการขบวนการปล่อยข่าวลือว่าจะปลดนาย นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการ รฟม. และลือสะพัดว่านายยงสิทธิ์ เตรียมยื่นใบลาออกจากผู้ว่าการ รฟม. เนื่องจากมีปัญหาการทำงาน โดยมีการกล่าวอ้างว่าผู้ว่ารฟม. แทรกแซงการทำงานของคณะกรรมการ ม.13 เพื่อช่วยเหลือ BMCLให้ได้งานโดยไม่ต้องประมูล และเมื่อคณะกรรมการม.13 ลงมติให้ประมูลไปแล้ว (ลงมติ 13 สค. รับรอง 25 สค.) จึงไม่พอใจปลดนายรณชิตและนายสุชิน จากประธานและเลขาฯ คณะกรรมการม.13 และปลดนายรณชิตจากประธานกรรมการตรวจการจ้างงานโยธาทั้ง 11 สัญญา
ซึ่งในข้อเท็จจริงแล้ว ผู้ว่ารฟม.ไม่ได้แทรกแซงการทำงานของคณะกรรมการม.13 แต่อย่างใด แต่ทำหน้าที่หัวหน้าหน่วยงานเจ้าของโครงการที่ต้องจัดทำร่าง TOR และเงื่อนไขการดำเนินงานเสนอให้คณะกรรมการม.13 พิจารณาตามขั้นตอนของม.12 พรบ.ร่วมลงทุน 2535
ทั้งนี้นายรณชิตจงใจไม่นำเสนอข้อมูลและความเห็นของรฟม.ที่ถูกต้องครบถ้วนตามม.12 ก่อนที่จะพิจารณาวิธีคัดเลือก (ประมูลหรือเจรจา) ทั้งที่กรรมการม.13 หลายท่านได้คัดค้าน (ตัวเองเป็นรองผู้ว่าฯ รฟม.กลับไม่ทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนรฟม.) และพยายามสรุปว่าคณะกรรมการม.13 มีมติว่าประมูลไปแล้ว (5:4:3) ทั้งที่เป็นการสอบถามความเห็นเบื้องต้นเท่านั้นและมีกรรมการ 2 ท่านที่ขอข้อมูลเพิ่มเติมก็อ้างว่างดออกเสียง ขณะนี้มีกรรมการ 2 ท่านทำหนังสือ (อัยการและผู้แทนกระทรวงมหาดไทย) คัดค้านมติแล้ว การกระทำเช่นนี้เป็นความผิดร้ายแรงและทำให้คณะกรรมการม.13 ทำผิดขั้นตอนของพรบ.ร่วมลงทุน 2535 ด้วย
อย่างไรก็ตามในการเปลี่ยนแปลงหรือแต่งตั้งคณะกรรมการม.13 ในส่วนของผู้แทนรฟม.เป็นอำนาจของผู้ว่าฯรฟม.สามาถบริหารจัดการได้ตามความเหมาะสม ในทางกลับกันหากผู้แทนรฟม.ไม่มีความเหมาะสม ทำหน้าที่บกพร่องเกิดความเสียหายต่อส่วนรวม สมควรจะโดนลงโทษและปรับเปลี่ยนทันที ส่วนการแต่งตั้งกรรมการตรวจการจ้างงานโยธาก็เป็นอำนาจผู้ว่ารฟม. เช่นกันซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามความเหมาะสมและไม่เกี่ยวกับคณะกรรมการม.13
แหล่งข่าวกล่าวต่อไปผู้ว่ารฟม.มีหน้าที่ชี้แจงผลการประชุมคณะกรรมการอยู่แล้ว และในการชี้แจงก็ระบุชัดเจนว่าการเห็นชอบให้เจรจาเป็นอำนาจของคณะกรรมการม.13 รฟม.ทำหน้าที่และให้ความเห็นในฐานะหน่วยงานเจ้าของโครงการตามขั้นตอนของพรบ.ร่วมทุน 2535 ในการชี้แจงสิ่งที่ถูกต้องไม่ใช่การกดดันคณะกรรมการม.13 แต่อย่างใด และไม่เกี่ยวกับการสร้างราคาหุ้น BMCL ซึ่งเป็นเรื่องของการดำเนินธุรกิจปกติ
สำหรับประเด็น การเดินรถต่อเนื่องไม่เกิดประโยชน์จริงเป็นข้ออ้างเพื่อให้เจรจากับBMCL เพราะสายสีน้ำเงินถูกออกแบบเพื่อมีผู้ให้บริการหลายราย การเดินรถต่อเนื่องไม่มีความจำเป็นเพราะการที่ประชาชนผู้โดยสารต้องเปลี่ยนรถเป็นเรื่องปกติทำกันในทุกประเทศ และในทุกกรณีก็ต้องเปลี่ยนรถที่สถานีท่าพระอยู่แล้ว โดยข้อเท็จจริงแล้ว การเดินรถต่อเนื่อง Through Operation ทำให้ประชาชนเดินทางได้สะดวกที่สุดและปลอดภัยสูงสุด และทำให้การเดินรถและบำรุงรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด ประหยัดค่าใช้จ่าย ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างชัดเจน สอดคล้องกับผลการศึกษาของรฟม.ตั้งแต่ปี 2551 ที่เสนอครม.เห็นชอบเมื่อปี 2553 และสอดคล้องแผนวิสาหกิจของรฟม.
การที่รฟม.เห็นชอบให้เดินรถต่อเนื่องเป็นการกำหนดนโยบายให้บริการที่ดีที่สุดต่อประชาชนในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบ ไม่ใช่การเอื้อประโยชน์ BMCL หากรฟม.ดำเนินการเองหรือให้เอกชนรายอื่นดำเนินการก็ต้องกำหนดให้เดินรถต่อเนื่องเช่นกัน นอกจากนี้ในการออกแบบก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเป็นไปตามหลักวิศวกรรมและข้อจำกัดทางกายภาพ เช่นการเวรคืน สามารถให้บริการทั้งแบบต่อเนื่องและไม่ต่อเนื่อง (ผู้ให้บริการหลายราย) แต่สุดท้ายรูปแบบการให้บริการประชาชนที่ดีและเหมาะสมที่สุดต้องเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนผู้ใช้บริการ ไม่ใช่ให้ผู้โดยสารต้องเปลี่ยนรถเพียงเพราะต้องการให้เกิดการแข่งขัน จึงยอมให้เดินรถไม่ต่อเนื่อง (ปกติการเปลี่ยนรถจะเกิดเมื่อเปลี่ยนสายหรือทิศทางการเดินรถ)
ส่วนที่สถานีท่าพระมีการเปลี่ยนรถเพราะมีการเปลี่ยนทิศทางประกอบติดปัญหาการเวรคืนที่ดินทำให้ก่อสร้างทางวิ่งเชื่อมต่อกันทั้ง 2 ทิศทางไม่ได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งปกติที่ควรเกิดขึ้น และไม่ควรเกิดที่สถานีอื่นๆด้วย
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวต่อไปถึงประเด็น การเจรจาทำให้รัฐเสียประโยชน์ ต้องใช้จ่ายเงินงบประมาณมากกว่าที่ควรเป็น ทำให้เกิดการผูกขาด ทำใหัรัฐไม่มีอำนาจต่อรอง จะเห็นได้ว่าในการเจรจาตรงกับ BMCL ให้เป็นผู้ดำเนินการส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงินโดยเดินรถต่อเนื่องเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดเพราะ BMCL สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งระบบรถไฟฟ้า บุคลากร อุปกรณ์ต่างๆ ต่อขยายให้เกิดประโยชน์สูงสุด ประหยัดค่าใช้จ่ายของรัฐจำนวนมาก และเปิดให้บริการได้เร็วที่สุด ซึ่งเป็นประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวมอย่างชัดเจนมากกว่าการประมูลแข่งขัน สอดคล้องกับผลการศึกษาของรฟม. และที่ปรึกษาของคณะกรรมการมาตรา 13 ได้ให้ความเห็นสนับสนุนไว้ เช่นสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้กว่า 10,000 ล้านบาท เปิดบริการได้เร็วขึ้นกว่า 1 ปีครึ่ง
นอกจากนี้ การผูกขาดเป็นการสร้างภาพที่ผิด เพราะการเจรจากับ BMCL เกิดขึ้นกับสายสีน้ำเงินส่วน
อขยายเท่านั้น หากเป็นสายอื่น BMCL ก็ต้องประมูลปกติ เช่น สายสีม่วง จึงไม่ใช่การผูกขาดกิจการรัฐแต่อย่างใด และในการเจรจาไม่ได้ทำให้รัฐขาดอำนาจต่อรอง เพราะรัฐสามารถกำหนดราคาเป้าหมายและเงื่อนไขที่ต้องการเจรจาได้อย่างเต็มที่ ต่างจากการประมูล หาก BMCL ชนะ จะทำให้ต่อรองยากขึ้นอีกเพราะเป็นผู้ชนะโดยชอบธรรมแล้ว
ทั้งนี้ในข้อเท็จในการเจรจาใช้เวลาสั้นกว่าการประมูลมาก เพราะมีขั้นตอนน้อยกว่า และเกิดขึ้นบ่อยครั้งในการจัดซื้อวิธีพิเศษของรัฐ การอ้างว่าถ้าเจรจาไม่สำเร็จต้องกลับมาประมูลจะทำให้ล่าช้า เป็นการให้ข้อมูลบิดเบือนเพราะไม่ว่าจะเจรจาหรือประมูลก็มีโอกาสไม่สำเร็จเช่นกันขึ้นกับประสิทธิภาพการดำเนินงาน แต่จำเป็นต้องคัดเลือกด้วยวิธีที่เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดก่อน นอกจานี้หากกระทรวงการคลังและสภาพัฒน์ หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งไม่เห็นชอบก็ต้องกลับมาประมูลทำให้เสียเวลา เป็นสิ่งที่ผิด เพราะเมื่อคณะกรรมการม.13 มีโอกาสเจรจาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต้องไม่ละเลยทำให้เสียโอกาสเพราะกลัวหน่วยงานใดไม่เห็นชอบทำให้เสียเวลา โดยการเจรจากับ BMCL สามารถทำได้ตามมาตรา 16 ของ พรบ.ร่วมลงทุน พ.ศ.2535 เหมือนเช่นการจัดจ้างวิธีพิเศษต่างๆ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535