"ประยุทธ์" กำชับ สปช.ปฏิรูปการเมืองเร่งด่วน หวังนำประชาธิปไตยแบบตะวันตกมาใช้ให้สอดคล้องกับคนไทย ถามยึดอำนาจ ถ้ามันดีอยู่แล้วจะมายึดให้โง่ทำไม ชี้โลกเปลี่ยนไปแล้ว ต้องดูว่าควรทำอย่างไร แนะกมธ.ร่าง รัฐธรรมนูญ ทำอย่างไรไม่ให้รัฐบาลบิดเบือนกฎหมาย และให้รัฐมีเสถียรภาพ ยันไม่ได้จำกัดสิทธิ แค่ตักเตือนแบบพี่น้อง บอกไม่อยากทะเลาะกับสื่อ ลั่นไม่มีบูรพาพยัคฆ์-วงศ์เทวัญ แค่บังเอิญไปอยู่ 2-3 ปี แขวะอย่ามโน ไล่ปฏิรูปตัวเอง เลิกติพวกนั้น พวกนี้ สรุปเสนอชื่อสรรหาสปช. ยอดทะลุ 7 พัน ไม่เกิน 2 ต.ค. ได้ตัวสปช.ทั้ง 250 คน
เมื่อเวลา 09.00 น.วานนี้ (4ก.ย.) ที่สโมสรทหารบก ถ.วิภาวดี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าคสช. และ ผบ.ทบ. เป็นประธานเปิดการประชุม และมอบนโยบายแนวทางการดำเนินการสรรหาสมาชิก สปช. โดย พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า วันนี้เป็นอีกวันที่ค่อนข้างตื่นเต้น เพราะว่าอยู่ท่ามกลางผู้ใหญ่มากมาย ก็คิดว่าจะพูดอะไรกันดี จะพูดสไตล์แบบตนเอง หรือจะพูดแบบทางการ แต่คิดว่าตนเปลี่ยนตัวเองได้ไม่มากนัก ก็คงพูดคุยทำความเข้าใจกัน เพื่อให้เห็นความตั้งใจและจริงใจ ในการปฏิรูป ถือว่าวันนี้ตนอยู่ท่ามกลางผู้มีเกียรติ และคนที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศไทย และดูแลประชาธิปไตยไทยให้ไปสู่การเป็นประชาธิปไตยแบบสากล แต่สอดคล้องกับความเป็นไทยที่เป็นสิ่งที่ภาคภูมิใจ
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า จากการรายงานของ นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต. ถือเป็นความสำเร็จของพวกเราทุกคน เป็นที่น่ายินดีที่มีคนเข้ารับการคัดสรรเป็นจำนวนมาก ตนขอขอบคุณทุกฝ่าย วันนี้เรากำลังเดินเข้าสู่โรดแมป ระยะที่ 2 คือ การมีรัฐบาล และคณะรัฐมนตรี (ครม.) และได้มีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งครม.แล้ว เหลือเฉพาะการถวายสัตย์ปฏิญาณตน ซึ่งไม่ต้องกังวล เพราะถือเป็นพระราชอำนาจ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ได้มีการทำงานร่วมกันในแต่ละกระทรวงตั้งแต่โรดแม็พระยะที่ 1 โดยใช้ระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินปกติเป็นส่วนใหญ่ แต่บางอย่างต้องการความเร่งด้วยในการขับเคลื่อนจึงใช้อำนาจของคสช. อยากให้ทุกคนสบายใจว่าคสช.ไม่ได้มุ่งหวังมีอำนาจใดๆทั้งสิ้น แต่มุ่งหวังให้ประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลง วันนี้อาจจะมีการแต่งเครื่องแบบทหารมา ซึ่งบางคนบอกว่าไม่ควรแต่งเครื่องแบบ ตนก็ไม่ทราบว่าจะทำอย่างไร เพราะยังไม่เกษียณอายุราชการ เพราะขณะนี้ยังเป็นการบริหารราชการที่มีคสช.อยู่ เพราะ
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า พระองค์ท่านทรงมีพระชนมมายุมากแล้ว การถวายสัตย์ปฏิญาณตนยังไม่เรียบร้อย สิ่งที่พวกเราทุกคนต้องทำคือ การถวายพระพรให้พระองค์ท่านทรงแข็งแรง และอยู่เป็นมิ่งขวัญให้พวกเราได้อย่างยาวนาน เป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคน ที่ต้องทำเพื่อแผ่นดินแห่งพระมหากษัตริย์แผ่นดินนี้ขึ้นมาให้ทัดเทียมนานาประเทศ วันนี้อยู่ในโรดแมป ระยะที่ 2 ต้องทำให้บ้านเมืองเกิดความเรียบร้อย เราจะมาสร้างประวัติศาสตร์กัน เพราะการปฏิรูปประเทศไทย ไม่เคยเกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกในการเริ่มต้นประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ 22 พ.ค. ที่ผ่านเป็นประวัติศาสตร์ทั้งสิ้นว่า เราจะทำอะไรให้แผ่นดินนี้ ที่ผ่านมาทุกกระทรวงได้ทำงานด้วยดีเสมอมา เพื่อเตรียมการปรองกดองสมานฉันท์นำไปสู่การปฏิรูป รวมถึง 3-4 เดือนที่ผ่านมาบ้านเมืองมีความสงบเรียบร้อยมากขึ้น ทุกคนทราบดีว่าเราต้องดำเนินการทางกฎหมายให้ต่อเนื่อง เพื่อรักษาสถานภาพในขณะนี้ให้ได้ที่ประชาชนทุกคนและทุกฝ่ายมีความพอใจ อาจจะกระทบกระเทือนบางฝ่ายบ้าง ซึ่งต้องดูแลต่อไปโดยเป็นหน้าที่ของครม.ใหม่ที่ต้องดูแลให้เป็นรูปธรรมไม่ให้เป็นเหมือนในอดีตที่ผ่านมา
"วันนี้เราได้ทำงานตามโรดแมปที่วางไว้ ผมได้กำหนดตั้งแต่ วันที่ 22 พ.ค.เป็นต้นมา ก็คิดและปรึกษาที่ปรึกษาที่มีหลายคณะว่าจะทำอะไร และอย่างไรต่อไป ผมอ่านสิ่งพิมพ์และโฆษณา อ่านแล้วก็ปวดหัว เพราะมีคนละทาง สองทาง เราจะทำให้ทุกอย่างเข้าไปอยู่ในกรอบ ว่าทำอย่างไรจะแก้ไขปัญหาได้ โดยไม่มีการชี้นำ เพราะฉะนั้นขณะนี้กำลังก้าวเข้าสู่การจัดตั้ง สปช. ขอขอบคุณสื่อทุกแขนงที่ได้ช่วยกันประชาสัมพันธ์ การสมัคร สปช. เป็นไปได้ด้วยดี จากนั้นเราจะคัดเลือกคนอย่างไรให้คน 8,000-9,000 คน เหลือ 250 คน ท่ามกลางความสนใจและความกดดันต่างๆ ที่เกิดขึ้น วันนี้มีทั้งผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ที่มีผลกระทบและมีส่วนร่วมในความขัดแย้ง รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการปฏิรูปเข้ามาสมัครทั้งหมด ดังนั้นเรื่องนี้อยากให้คณะกรรมการคัดสรรทุกคนพิจารณาให้เป็นธรรม ว่าทำอย่างไรจะปฏิรูปได้โดยไม่เกิดความขัดแย้งต่อไป แต่ละคณะมียอดที่แตกต่างกัน แสดงให้เห็นว่า ประชาชนสนใจกลุ่มใดมากกว่า แสดงว่า เรื่องนั้นคือปัญหาสำคัญที่จะต้องดำเนินการให้ได้โดยเร็ว เพราะฉะนั้น จากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เป็นงานที่ยาก ที่จะคัดคนเหล่านี้เข้ามาให้เหมาะสม ทั้งนี้ผมจะหาโอกาสให้ผู้ที่ไม่ได้รับการคัดเลือกจะร่วมมมือกับเราได้อย่างไร จำเป็นต้องนำเข้าเข้ามาด้วย การคัดสรรจากวันนี้เป็นต้นไป เราจะนำมาพิจารณาและเสนอให้คสช. พิจารณาอีกครั้งโดยเร็ว " หัวหน้าคสช. กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า คณะกรรมการคัดสรร 11 คณะ ยังมีหัวข้อย่อยอีก เพื่อเดินหน้าประเทศต่อไป เช่น การทุจริตและให้เกิดความโปร่งใสในการบริหารราชการ ทั้งในส่วนการเมือง ข้าราชการ และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นขอให้ดำเนินการให้ดี วันนี้คัดเลือกมาโดยมีเวลาจำกัด ต้องดำเนินการด้วยความละเอียดถี่ถ้วน ในส่วนผู้สมัครแต่ละด้าน จะถูกคัดเลือกโดยคณะกรรมการคัดสรรให้เหลือด้านละ 50 คน ในจำนวน 11 ด้าน จะได้ 550 คน จากนั้น คสช. ก็จะตั้งคณะกรรมการของคสช.คัดเลือกให้เหลือ 173 คน และในส่วนของตัวแทนจังหวัด จังหวัดละ 77 คน ทั้งนี้ไม่ต้องห่วงว่าจะล็อกสเปก เพราะไม่รู้จักใครสักคน ถือว่าเป็นโอกาสให้ทุกเคนเข้ามามีส่วนร่วม อย่างไรก็ตาม ขอฝากคณะกรรมการสรรหาแต่ละด้าน และ คสช. คัดเลือกด้วยความละเอียด รอบคอบ โปร่งใส เป็นธรรม เพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณภาพ มุ่งมั่น เสียสละอย่างแท้จริง เพื่อเข้ามาเป็นสปช. ที่ต้องทำงานเพื่อให้ประเทศไทยมีการปฏิรูปโดยมีผลสัมฤทธิ์ที่สมบูรณ์ เพื่อเป็นอนาคตและประชาธิปไตยที่เหมาะสม และปฏิรูปประเทศไทยด้านต่างๆ มีความเจริญก้าวหน้า ประชาชนมีความผาสุกอย่างยั่งยืน นอกจากนี้การมีส่วนร่วมและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน นอกจากนี้ สปช.นั้น ทาง คสช. ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง จึงได้กำหนดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน โดยในช่วงระยะที่ 1 มีสำนักงานปฏิรูป ที่ผ่านมามีการถกแถลง และได้ข้อสรุปมาเป็นหนังสือ ซึ่งข้อสรุปจากหนังสือดังกล่าวไม่ได้เป็นการชี้นำ แต่เป็นแนวทางส่วนหนึ่งในการที่จะคิดต่อ หรือคิดใหม่ และไม่ได้เป็นการตีกรอบให้ สปช. ทั้งนี้ ตนจะมอบให้ผู้เกี่ยวข้องได้นำไปศึกษา
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เมื่อตั้งสปช.แล้ว กระบวนการต่อไปจะทำอย่างไร ให้ผู้ที่ไม่ได้รับเลือกเป็น สปช. เข้ามามีส่วนร่วมให้ได้ เพราะฉะนั้น ในช่วงระยะที่ 2 ตนจะให้สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ทำงานควบคู่ไปกับ สปช. เพื่อรวบรวมข้อมูลที่ประชาชนส่งมาให้ ต่อจากนั้นจะส่งให้เลขาธิการรัฐสภา เพื่อส่งไปให้ สปช. ให้ได้ครอบคลุมทุกเป้าหมายที่ต้องการ
ทั้งนี้ในส่วนภูมิภาค ได้สั่งการให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ระดับภาค หรือระดับจังหวัด และศูนย์ดำรงธรรมเป็นผู้รวบรวมความคิดเห็น เพื่อให้ควบคู่ไปพร้อมกับ สปช. ด้วย
"สิ่งที่เราต้องเข้าใจตรงกัน ผมไม่ใช่นักวิชาการ ผมจะพูดในข้อเท็จจริงที่ประสบมาจากเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ เราต้องเข้าใจตรงกันว่า การปฏิรูป คือ การที่จะทำให้ประเทศก้าวหน้าได้อย่างไร และต้องมีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง คือ ปรับปรุงสิ่งที่ยังบกพร่องอยู่ให้ดีขึ้น ไม่ให้มีปัญหาขึ้นในอนาคต ส่วนการเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างที่ไม่เคยทำ หรือจะทำขึ้นมาใหม่ เพราะฉะนั้นต้องปฏิรูปให้ครอบคลุม ในเรื่องการแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ ทั้งการบริหาร กฎหมาย กฎกระทรวง เราทำได้อยู่แล้วตามกลไกปรับปรุงไม่ให้มีปัญหา แต่สิ่งที่จะปฏิรูปนั้น ต้องแยกออกไป เพื่อจะไม่ให้มีปัญหาในอนาคต" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า ตนอยากให้แนวทางไว้ อย่างแรกจากการปฏิรูป 11 ด้าน ที่จะแตกออกเป็น ร้อยเรื่องนั้น จะให้มาทำทั้งหมดก็ไม่ได้ เพรามีระยะเวลาจำกัด เพราะปัจจัยการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก เช่น ด้านการเมือง เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปที่บีบรัดเข้ามา ดังนั้นทางเราต้องไปกำหนดให้ชัดเจน ว่าสิ่งที่อยากเน้นย้ำ คือ การจัดระเบียบการปฏิรูปให้ได้ว่าจะทำอะไรก่อน แล้วก็ทำทันที ให้มีผลสัมฤทธิ์ และอะไรที่จะส่งต่อเพื่อให้เกิดความยั่งยืน เช่น ปฏิรูปการศึกษา และมีอีกมากมาย จนกระทั่งการปรับปรุงโครงสร้างสังคมต่างๆ
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า สำหรับข้อมูลที่ส่งให้นั้น ตนไม่ได้ทิ้งของใครเลย ทั้งที่มาจากผู้ทรงคุณวุฒิ พรรคการเมือง ฝ่ายความขัดแย้ง ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน จนเกิดความเข้าใจ นอกจากนี้ ยังมีความคิดเห็นของ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี นายแพทย์ประเวศ วะสี ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ และท่านอื่นๆ อีกมาก ซึ่งทุกคนมีความคิดที่ตรงกัน และ เป็นประโยชน์ แต่ก็มีบางอย่างไม่ตรงกัน จึงต้องหาจุดที่จะจูนให้ตรงกัน โดยไม่มีอัตตา ตัวตน ทั้งสิ้น ซึ่งตนเคยบอกไว้ ถ้าหากคิดถึงแต่ตัวเอง ทำอะไรเพื่อใครก็จะไม่มีวันจบ ทั้งนี้ อยากให้คิดไปข้างหน้า และก็ระวังหกล้ม แต่อย่ามาใช้คำที่สื่อเอาไปลงว่า ผูกเชือกรองเท้าผ้าใบแล้วเดินเลย ซึ่งใครจะบ้าที่ไปทำอย่างนั้น เป็นการแปรเจตนาของตนผิด
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อไปว่า ปัญหาต่อไปที่เป็นประเด็นสำคัญที่สุด คือ การปฏิรูปการเมือง ซึ่งจะมีทั้งคนที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย บางคนบอกว่าดีแล้ว บางคนบอกว่า ต้องปรับปรุงแก้ไข นี่คือสิ่งที่ต้องทำอย่างเร่งด่วนทันที และต้องมีผลสัมฤทธิ์ เพราะเป็นอนาคตของเรา และอยากให้ระดมสติปัญญาของคนไทย ในการที่จะนำการเมือง ประชาธิปไตยแบบตะวันตก มาปรับใช้ให้สอดคล้องกับคนไทย เพราะคนไทยไม่เหมือนกันชาติอื่นในโลกนี้ เป็นคนที่ชอบแสดงความคิดเห็น แต่ไม่ยอมรับความแตกต่าง ซึ่งคิดแบบนั้นไม่ได้ จึงต้องไปหาวิธีว่าทำอย่างไร ที่จะนำความแตกต่างมาเกิดผลิตโดยรวม อะไรที่ยังไม่เห็นด้วย ทำไม่ได้ ก็อย่าไปทะเลาะกัน ถ้าทะเลาะกันทุกเรื่องก็แก้ไขอะไรไม่ได้
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า จะสร้างกลไกการปกครอง การใช้อำนาจรัฐอย่างไร โดยอย่าไปคำนึงว่า เพื่อป้องกันการยึดอำนาจในอนาคต ซึ่งอย่าไปคิดแบบนั้น ถ้าไม่มีสาเหตุ ไม่มีใครไปยึดอำนาจอยู่แล้ว นั่นคือสิ่งสำคัญ ถ้าดีอยู่แล้วใครจะมายึด จะมายึดให้มันโง่ทำไม ดังนั้นจะต้องไปแก้ไขปัญหาให้ได้ อย่าไปคำนึงตรงนั้น ต้องคำนึงว่า บุคคลที่จะมาเป็นรัฐบาล และนักการเมืองนั้น จะมาจากการเลือกตั้ง หรือไม่ได้มาจากส่งที่ตนพูด อย่าไปกังวล แต่จะต้องกังวลว่าจะไปกันอย่างไรในวันหน้า ผู้รู้เขียนมาว่า ระบบรัฐสภาสมัยก่อนมีสภาคู่ มีรัฐสภา และ รัฐบาล ก็มีอำนาจแยกกันอยู่มาเป็น 100 ปี ที่มีประชาธิปไตย หลังจากนั้นก็มี ส.ส. มีพรรคการเมือง และกลายเป็นอำนาจสภาเดี่ยว แบบอำนาจเดี่ยว ฉะนั้นกลายเป็นว่าสมัยก่อน สภาคุมรัฐบาลได้ แต่วันนี้รัฐบาล และสภา คุมกันไม่ได้ จึงต้องมีเสียงข้างมากพรรคเดียว หรือ หลายพรรคร่วมกัน กลายเป็นองค์กรเดียวในทางปฏิบัติ
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า จะต้องไปดูว่า โลกมันเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรแล้ว นักการเมืองควรจะต้องทำอย่างไร ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และพลเรือน จะต้องทำตัวอย่างไร แต่จะมาบอกว่า ทำแบบเดิม จะทำตามคำสั่ง ประเทศชาติก็จะถอยหลังกลับไปเก่า ทั้งนี้ยุโรป หลักการแยกกลไกบริหาร และนิติบัญญัติออกจากกัน เหตุผลทราบดีกันอยู่แล้ว ซึ่งจะต้องนำไปพิจารณาว่า จะทำอย่างไร ในการบัญญัติรัฐธรรมนูญ ก็มีคณะกรรมการ ร่างรัฐธรรมนูญจะต้องทำต่อ โดยฟังเสียงจากสภาปฏิรูป ว่าจะทำอย่างไรไม่ให้รัฐบาลที่เข้ามามีอำนาจบิดเบือนการใช้อำนาจข้อกฎหมาย หรือบทบัญญัติต่างๆ จะทำอย่างไร ซึ่งจะต้องไปทำให้จบ เพราะทุกอย่างเป็นกฎหมายหมด ไม่ใช่ว่าพูดเสร็จ หรือปฏิรูปเสร็จ และมีมติออกมาก็ทำเลย แต่จะต้องมีกฎหมายเข้ามาช่วย
ฉะนั้น เรื่องอำนาจเผด็จการรัฐสภา ที่บางคนกล่าวว่า มีเผด็จการทหาร มีเผด็จการรัฐสภา ซึ่งเรื่องนี้จะต้องไปดูเพื่อให้เกิดความเสถียรภาพ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลบ่อยเกินไป ถ้าดีก็ไม่ต้องเปลี่ยน หรือยุบสภาแล้วจะทำอย่างไร หรือกรณีที่นักการเมืองมีคดีความ จะทำอย่างไร ใครจะสอบสวน หรือจะยุบสภา หรือเลือกตั้งใหม่ ก็จะต้องไปหากันให้ชัดเจน
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า จะดำเนินการอย่างไรไม่มีการอาศัยเรื่องผลประโยชน์มาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว เพื่อให้เกิดการปกครองแบบนั้น ซึ่งมันไม่ได้ แต่จะต้องอย่าลืมคำว่า มีเสถียรภาพของรัฐบาลได้ด้วย หากไม่มีเสถียรภาพมันก็ไปไม่ได้เหมือนกัน ทั้งนี้การพูดถึงแนวทางไม่ได้เป็นการชี้นำอะไร แต่ตนพูดในฐานะประชาชนคนหนึ่ง ซึ่งวันนี้เป็นอะไรหลายอย่าง งงไปหมดแล้ว ว่าเป็นอะไรกันแน่ ตนถือว่าอยู่กับพี่ๆ เพื่อนๆ และข้าราชการทุกคน ที่เป็นข้าราชการของแผ่นดินในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทั้งนี้ เราจะต้องช่วยกันลดความขัดแย้ง อะไรที่จะเป็นความขัดแย้งกรุณาลดลงหน่อย ตนไม่ได้ไปจำกัดท่าน หรือ จำกัดสิทธิของสื่อมวลชน ตนไม่เคยไปทำร้ายอะไรใครสักคน เพียงแต่พูดคุยกันบ้าง เรียกมาคุยกันบ้าง หรือตักเตือนกันในฐานะพี่น้อง ตนขี้เกียจทะเลาะกับสื่อ เพราะทะเลาะไปก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร และสื่อก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรจากตน ตนก็ไม่ได้ทำตามอะไรสื่อ และสื่อก็ไม่ได้อะไรจากตนเหมือนกัน แต่อยากให้ท่านเสนอข้อเท็จจริง กรุณางดในเรื่องวิพากษ์ วิจารณ์ บางอย่างวิพากษ์วิจารณ์ตนขี้เกียจตอบโต้ บางอย่างมันไม่ใช่ คิดแบบนั้นไม่ได้ เราเป็นข้าราชการทหาร ตำรวจ เราคิดอย่างพลเรือนคิดไม่ได้ เราจะต้องคิดตามกติกาว่าจะทำอย่างไร สั่งกันอย่างไร เดินไปอย่างไร หรือวันข้างหน้าจะทำอย่างไร หรืออะไรจะเกิดขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการคิดของทหาร แต่บางคนบอกว่าเป็นความคิดที่จำกัด ถ้าไม่จำกัดไว้เยอะกว่านี้ จะมีเรื่องสั่งมากกว่านี้ วันนี้สั่งไป 1,800 กว่าเรื่องแล้ว แต่เสร็จกี่เรื่องไม่รู้ บางเรื่องทำแล้ว บางเรื่องยังไม่ได้ทำ บางเรื่องก็ไปทำให้ยั่งยืนในระยะที่สอง และ ระยะที่สาม
" เลิกได้แล้วว่า ล็อกสเปก จะบอกว่าสเปกบูรพาพยัคฆ์ ที่สื่อไปพูด ไม่เคยมีหรอก ไอ้บูรพาพยัคฆ์ หรือ วงศ์เทวัญ ไม่มี บูรพาพยัคฆ์อยู่ตะวันออก ใครอยู่ตรงไหน ก็โตตรงนั้น เดี๋ยววันหน้าเมืองกาญจน์ขึ้นมาเติบโต ก็จะบอกว่าเป็นทีมลาดหญ้า สื่อมะโนไปเลย มะโนตลอด ให้สื่อเขียนแบบมีข้อเท็จจริงหน่อย อย่ามะโน ถ้าอย่างนั้นให้ไปเขียนนิยาย อย่าติอย่างเดียว ชมบ้าง ที่ดี ๆ ไม่เห็นชมบ้างสักคำเลย พอถามว่าทำไมไม่ชมบ้าง ก็บอกว่า ดีอยู่แล้วไม่ต้องชม แต่พอที่ติแล้วติอีกเรื่องเดิม ติมาจนผมจะเกษียณอยู่แล้ว 4 ปีแล้ว หากย้อนไป ผบ.ทบ. เก่าอีกหลาย ไม่ยอมเลิกเสียที ฉะนั้นพอได้แล้ว สื่อต้องปฏิรูปตัวเอง ท่านมีฐานันดรอยู่แล้ว ท่านจะต้องมีจรรยาบรรณ ผมไม่ได้ตำหนิอะไรเลย ชื่นชมตลอด ผมไม่ใช่คู่ปรับท่านอยู่แล้ว" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า รัฐมนตรีตอนนี้อย่ากังวล เพราะได้มีช่องทางประสานงานตรงกันอยู่แล้ว เพียงให้ไว้ใจ ไม่ใช่แก๊งบูรพาพยัคฆ์ ไม่มี ตนเกิดที่กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ร.21 รอ.) และไปที่บูรพามาหน่อย ไปอยู่ 2-3 ปี ในกองทัพบกเหมือนกันทั้งสิ้น บังเอิญตนไปอยู่ที่นั่นมาเท่านั้นเอง และบังเอิญ ตนกับพี่ 2-3 คน ก็ตามกันมา สื่อก็ไปมะโนเรื่องนี้กัน ตนพูดตรงนี้ดีแล้ว ไม่มีใครเถียงได้ ทั้งนี้อยากให้ทุกคนสบายใจและไว้ใจเรา ในการทำหน้าที่ หากใครสงสัยไปฟังเพียง และช่วยกัน หากทำไม่สำเร็จ ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรกันต่อไปแล้ว ถ้าจะตีกันต่อ จะเคลื่อนไหวใต้ดินมาสู้กัน หรือจะใช้ทางพระ ทางเจ้าทำพิธีกันมาสู้กัน วันนี้ตนเจ็บคอ ปวดคอ หลายคนบอกว่า มีคนทำพิธีอยู่ ไม่รู้ว่าจะแก้กันอย่างไรแล้ว รดน้ำมนต์ใส่ตัว หนาวไปหมดแล้ว จะเป็นไข้อยู่ ตนพูดไม่อยากให้เครียดกัน 3-4 เดือน ที่ผ่านมาสบายใจขึ้น ทุกอย่างเดินไปตามโรดแมป วันนี้เป็นวันประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่ง ที่เราจะเดินหน้าประเทศไทยไปให้ได้ และหวังในความร่วมมือกัน วันนี้จะต้องเลิกกันให้หมด มาเดินหน้าประเทศไทย ติว่ากันว่าคนนั้นเป็นคนของพวกนั้น พวกนี้ วันนี้จะต้องให้กำลังใจกัน เพื่อเดินหน้าต่อไป ให้ทำในสิ่งที่ดี ทุกคนจะต้องมาช่วยกันปรับเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นในอนาคต อย่าให้เสียเวลาเปล่า หรือ เสียของ วันนี้มีอย่างเดียว เสียเกียรติยศ เสียความเป็นตัวของตัวเอง ไม่เห็นจะได้อะไรขึ้นมา แต่ประเทศชาติได้ นั่นคือ สิ่งที่พวกเราคิด
** สรุปเสนอชื่อสรรหาสปช.7,042 คน
นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ ของคณะกรรมการสรรหาสมาชิก สปช. กล่าวรายงานสรุปการเปิดรับเสนอชื่อบุคคลเข้ารับการสรรหาเป็นสปช. ระหว่างวันที่ 14 ส.ค.-2 ก.ย. ที่ผ่านมา ต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ว่าจากการเปิดรับการเสนอชื่อที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 14 ส.ค.-2 ก.ย. ขณะนี้มียอดผู้เสนอชื้อเข้ารับการสรรหาทั่วประเทศรวม 7,042 คน โดยแบ่งเป็นการเสนอชื่อจากนิติบุคคล จำนวน 4,262 คน และการสรรหาระดับจังหวัด จำนวน 2,780 คน โดยตัวเลขดังกล่าวนี้ ยังไม่ถือว่าเป็นที่สิ้นสุด เพราะต้องรอรายชื่อที่ส่งผ่านทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษ ที่ประทับตราไม่เกินวันที่ 2 ก.ย. ซึ่งคาดว่าจะสามารถสรุปยอดผู้เสนอรายชื่อทั้งหมดได้ในวันที่ 5 ก.ย.นี้
สำหรับขั้นตอนการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอชื่อนั้น ทางสำนักงาน กกต.ได้ร่วมมือกับ 18 หน่วยงานราชการ ที่เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 14 ส.ค.ที่ผ่านมา เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติต้องห้ามของผู้เสนอชื่อเป็นสปช. โดยตามขั้นตอนแล้วยังมีเวลาอีก 10 วัน ในการดำเนินการระหว่างวันที่ 3 ก.ย.-12 ก.ย.นี้
อย่างไรก็ตามหลังจากนี้ เมื่อสำนักงาน กกต. ตรวจสอบคุณสมบัติเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น จะส่งรายชื่อให้คณะกรรมการสรรหาคัดเลือกตั้งแต่วันที่ 13 ก.ย.-22 ก.ย. เพื่อให้คัดเลือกเหลือด้านละ 50 คน และจังหวัดละ 5 คน จากนั้นก็จะส่งรายชื่อให้ คสช. คัดเลือกให้เหลือ 250 คน ภายในวันที่ 23 ก.ย.-2 ต.ค.นี้
เมื่อเวลา 09.00 น.วานนี้ (4ก.ย.) ที่สโมสรทหารบก ถ.วิภาวดี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าคสช. และ ผบ.ทบ. เป็นประธานเปิดการประชุม และมอบนโยบายแนวทางการดำเนินการสรรหาสมาชิก สปช. โดย พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า วันนี้เป็นอีกวันที่ค่อนข้างตื่นเต้น เพราะว่าอยู่ท่ามกลางผู้ใหญ่มากมาย ก็คิดว่าจะพูดอะไรกันดี จะพูดสไตล์แบบตนเอง หรือจะพูดแบบทางการ แต่คิดว่าตนเปลี่ยนตัวเองได้ไม่มากนัก ก็คงพูดคุยทำความเข้าใจกัน เพื่อให้เห็นความตั้งใจและจริงใจ ในการปฏิรูป ถือว่าวันนี้ตนอยู่ท่ามกลางผู้มีเกียรติ และคนที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศไทย และดูแลประชาธิปไตยไทยให้ไปสู่การเป็นประชาธิปไตยแบบสากล แต่สอดคล้องกับความเป็นไทยที่เป็นสิ่งที่ภาคภูมิใจ
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า จากการรายงานของ นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต. ถือเป็นความสำเร็จของพวกเราทุกคน เป็นที่น่ายินดีที่มีคนเข้ารับการคัดสรรเป็นจำนวนมาก ตนขอขอบคุณทุกฝ่าย วันนี้เรากำลังเดินเข้าสู่โรดแมป ระยะที่ 2 คือ การมีรัฐบาล และคณะรัฐมนตรี (ครม.) และได้มีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งครม.แล้ว เหลือเฉพาะการถวายสัตย์ปฏิญาณตน ซึ่งไม่ต้องกังวล เพราะถือเป็นพระราชอำนาจ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ได้มีการทำงานร่วมกันในแต่ละกระทรวงตั้งแต่โรดแม็พระยะที่ 1 โดยใช้ระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินปกติเป็นส่วนใหญ่ แต่บางอย่างต้องการความเร่งด้วยในการขับเคลื่อนจึงใช้อำนาจของคสช. อยากให้ทุกคนสบายใจว่าคสช.ไม่ได้มุ่งหวังมีอำนาจใดๆทั้งสิ้น แต่มุ่งหวังให้ประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลง วันนี้อาจจะมีการแต่งเครื่องแบบทหารมา ซึ่งบางคนบอกว่าไม่ควรแต่งเครื่องแบบ ตนก็ไม่ทราบว่าจะทำอย่างไร เพราะยังไม่เกษียณอายุราชการ เพราะขณะนี้ยังเป็นการบริหารราชการที่มีคสช.อยู่ เพราะ
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า พระองค์ท่านทรงมีพระชนมมายุมากแล้ว การถวายสัตย์ปฏิญาณตนยังไม่เรียบร้อย สิ่งที่พวกเราทุกคนต้องทำคือ การถวายพระพรให้พระองค์ท่านทรงแข็งแรง และอยู่เป็นมิ่งขวัญให้พวกเราได้อย่างยาวนาน เป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคน ที่ต้องทำเพื่อแผ่นดินแห่งพระมหากษัตริย์แผ่นดินนี้ขึ้นมาให้ทัดเทียมนานาประเทศ วันนี้อยู่ในโรดแมป ระยะที่ 2 ต้องทำให้บ้านเมืองเกิดความเรียบร้อย เราจะมาสร้างประวัติศาสตร์กัน เพราะการปฏิรูปประเทศไทย ไม่เคยเกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกในการเริ่มต้นประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ 22 พ.ค. ที่ผ่านเป็นประวัติศาสตร์ทั้งสิ้นว่า เราจะทำอะไรให้แผ่นดินนี้ ที่ผ่านมาทุกกระทรวงได้ทำงานด้วยดีเสมอมา เพื่อเตรียมการปรองกดองสมานฉันท์นำไปสู่การปฏิรูป รวมถึง 3-4 เดือนที่ผ่านมาบ้านเมืองมีความสงบเรียบร้อยมากขึ้น ทุกคนทราบดีว่าเราต้องดำเนินการทางกฎหมายให้ต่อเนื่อง เพื่อรักษาสถานภาพในขณะนี้ให้ได้ที่ประชาชนทุกคนและทุกฝ่ายมีความพอใจ อาจจะกระทบกระเทือนบางฝ่ายบ้าง ซึ่งต้องดูแลต่อไปโดยเป็นหน้าที่ของครม.ใหม่ที่ต้องดูแลให้เป็นรูปธรรมไม่ให้เป็นเหมือนในอดีตที่ผ่านมา
"วันนี้เราได้ทำงานตามโรดแมปที่วางไว้ ผมได้กำหนดตั้งแต่ วันที่ 22 พ.ค.เป็นต้นมา ก็คิดและปรึกษาที่ปรึกษาที่มีหลายคณะว่าจะทำอะไร และอย่างไรต่อไป ผมอ่านสิ่งพิมพ์และโฆษณา อ่านแล้วก็ปวดหัว เพราะมีคนละทาง สองทาง เราจะทำให้ทุกอย่างเข้าไปอยู่ในกรอบ ว่าทำอย่างไรจะแก้ไขปัญหาได้ โดยไม่มีการชี้นำ เพราะฉะนั้นขณะนี้กำลังก้าวเข้าสู่การจัดตั้ง สปช. ขอขอบคุณสื่อทุกแขนงที่ได้ช่วยกันประชาสัมพันธ์ การสมัคร สปช. เป็นไปได้ด้วยดี จากนั้นเราจะคัดเลือกคนอย่างไรให้คน 8,000-9,000 คน เหลือ 250 คน ท่ามกลางความสนใจและความกดดันต่างๆ ที่เกิดขึ้น วันนี้มีทั้งผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ที่มีผลกระทบและมีส่วนร่วมในความขัดแย้ง รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการปฏิรูปเข้ามาสมัครทั้งหมด ดังนั้นเรื่องนี้อยากให้คณะกรรมการคัดสรรทุกคนพิจารณาให้เป็นธรรม ว่าทำอย่างไรจะปฏิรูปได้โดยไม่เกิดความขัดแย้งต่อไป แต่ละคณะมียอดที่แตกต่างกัน แสดงให้เห็นว่า ประชาชนสนใจกลุ่มใดมากกว่า แสดงว่า เรื่องนั้นคือปัญหาสำคัญที่จะต้องดำเนินการให้ได้โดยเร็ว เพราะฉะนั้น จากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เป็นงานที่ยาก ที่จะคัดคนเหล่านี้เข้ามาให้เหมาะสม ทั้งนี้ผมจะหาโอกาสให้ผู้ที่ไม่ได้รับการคัดเลือกจะร่วมมมือกับเราได้อย่างไร จำเป็นต้องนำเข้าเข้ามาด้วย การคัดสรรจากวันนี้เป็นต้นไป เราจะนำมาพิจารณาและเสนอให้คสช. พิจารณาอีกครั้งโดยเร็ว " หัวหน้าคสช. กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า คณะกรรมการคัดสรร 11 คณะ ยังมีหัวข้อย่อยอีก เพื่อเดินหน้าประเทศต่อไป เช่น การทุจริตและให้เกิดความโปร่งใสในการบริหารราชการ ทั้งในส่วนการเมือง ข้าราชการ และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นขอให้ดำเนินการให้ดี วันนี้คัดเลือกมาโดยมีเวลาจำกัด ต้องดำเนินการด้วยความละเอียดถี่ถ้วน ในส่วนผู้สมัครแต่ละด้าน จะถูกคัดเลือกโดยคณะกรรมการคัดสรรให้เหลือด้านละ 50 คน ในจำนวน 11 ด้าน จะได้ 550 คน จากนั้น คสช. ก็จะตั้งคณะกรรมการของคสช.คัดเลือกให้เหลือ 173 คน และในส่วนของตัวแทนจังหวัด จังหวัดละ 77 คน ทั้งนี้ไม่ต้องห่วงว่าจะล็อกสเปก เพราะไม่รู้จักใครสักคน ถือว่าเป็นโอกาสให้ทุกเคนเข้ามามีส่วนร่วม อย่างไรก็ตาม ขอฝากคณะกรรมการสรรหาแต่ละด้าน และ คสช. คัดเลือกด้วยความละเอียด รอบคอบ โปร่งใส เป็นธรรม เพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณภาพ มุ่งมั่น เสียสละอย่างแท้จริง เพื่อเข้ามาเป็นสปช. ที่ต้องทำงานเพื่อให้ประเทศไทยมีการปฏิรูปโดยมีผลสัมฤทธิ์ที่สมบูรณ์ เพื่อเป็นอนาคตและประชาธิปไตยที่เหมาะสม และปฏิรูปประเทศไทยด้านต่างๆ มีความเจริญก้าวหน้า ประชาชนมีความผาสุกอย่างยั่งยืน นอกจากนี้การมีส่วนร่วมและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน นอกจากนี้ สปช.นั้น ทาง คสช. ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง จึงได้กำหนดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน โดยในช่วงระยะที่ 1 มีสำนักงานปฏิรูป ที่ผ่านมามีการถกแถลง และได้ข้อสรุปมาเป็นหนังสือ ซึ่งข้อสรุปจากหนังสือดังกล่าวไม่ได้เป็นการชี้นำ แต่เป็นแนวทางส่วนหนึ่งในการที่จะคิดต่อ หรือคิดใหม่ และไม่ได้เป็นการตีกรอบให้ สปช. ทั้งนี้ ตนจะมอบให้ผู้เกี่ยวข้องได้นำไปศึกษา
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เมื่อตั้งสปช.แล้ว กระบวนการต่อไปจะทำอย่างไร ให้ผู้ที่ไม่ได้รับเลือกเป็น สปช. เข้ามามีส่วนร่วมให้ได้ เพราะฉะนั้น ในช่วงระยะที่ 2 ตนจะให้สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ทำงานควบคู่ไปกับ สปช. เพื่อรวบรวมข้อมูลที่ประชาชนส่งมาให้ ต่อจากนั้นจะส่งให้เลขาธิการรัฐสภา เพื่อส่งไปให้ สปช. ให้ได้ครอบคลุมทุกเป้าหมายที่ต้องการ
ทั้งนี้ในส่วนภูมิภาค ได้สั่งการให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ระดับภาค หรือระดับจังหวัด และศูนย์ดำรงธรรมเป็นผู้รวบรวมความคิดเห็น เพื่อให้ควบคู่ไปพร้อมกับ สปช. ด้วย
"สิ่งที่เราต้องเข้าใจตรงกัน ผมไม่ใช่นักวิชาการ ผมจะพูดในข้อเท็จจริงที่ประสบมาจากเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ เราต้องเข้าใจตรงกันว่า การปฏิรูป คือ การที่จะทำให้ประเทศก้าวหน้าได้อย่างไร และต้องมีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง คือ ปรับปรุงสิ่งที่ยังบกพร่องอยู่ให้ดีขึ้น ไม่ให้มีปัญหาขึ้นในอนาคต ส่วนการเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างที่ไม่เคยทำ หรือจะทำขึ้นมาใหม่ เพราะฉะนั้นต้องปฏิรูปให้ครอบคลุม ในเรื่องการแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ ทั้งการบริหาร กฎหมาย กฎกระทรวง เราทำได้อยู่แล้วตามกลไกปรับปรุงไม่ให้มีปัญหา แต่สิ่งที่จะปฏิรูปนั้น ต้องแยกออกไป เพื่อจะไม่ให้มีปัญหาในอนาคต" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า ตนอยากให้แนวทางไว้ อย่างแรกจากการปฏิรูป 11 ด้าน ที่จะแตกออกเป็น ร้อยเรื่องนั้น จะให้มาทำทั้งหมดก็ไม่ได้ เพรามีระยะเวลาจำกัด เพราะปัจจัยการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก เช่น ด้านการเมือง เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปที่บีบรัดเข้ามา ดังนั้นทางเราต้องไปกำหนดให้ชัดเจน ว่าสิ่งที่อยากเน้นย้ำ คือ การจัดระเบียบการปฏิรูปให้ได้ว่าจะทำอะไรก่อน แล้วก็ทำทันที ให้มีผลสัมฤทธิ์ และอะไรที่จะส่งต่อเพื่อให้เกิดความยั่งยืน เช่น ปฏิรูปการศึกษา และมีอีกมากมาย จนกระทั่งการปรับปรุงโครงสร้างสังคมต่างๆ
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า สำหรับข้อมูลที่ส่งให้นั้น ตนไม่ได้ทิ้งของใครเลย ทั้งที่มาจากผู้ทรงคุณวุฒิ พรรคการเมือง ฝ่ายความขัดแย้ง ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน จนเกิดความเข้าใจ นอกจากนี้ ยังมีความคิดเห็นของ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี นายแพทย์ประเวศ วะสี ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ และท่านอื่นๆ อีกมาก ซึ่งทุกคนมีความคิดที่ตรงกัน และ เป็นประโยชน์ แต่ก็มีบางอย่างไม่ตรงกัน จึงต้องหาจุดที่จะจูนให้ตรงกัน โดยไม่มีอัตตา ตัวตน ทั้งสิ้น ซึ่งตนเคยบอกไว้ ถ้าหากคิดถึงแต่ตัวเอง ทำอะไรเพื่อใครก็จะไม่มีวันจบ ทั้งนี้ อยากให้คิดไปข้างหน้า และก็ระวังหกล้ม แต่อย่ามาใช้คำที่สื่อเอาไปลงว่า ผูกเชือกรองเท้าผ้าใบแล้วเดินเลย ซึ่งใครจะบ้าที่ไปทำอย่างนั้น เป็นการแปรเจตนาของตนผิด
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อไปว่า ปัญหาต่อไปที่เป็นประเด็นสำคัญที่สุด คือ การปฏิรูปการเมือง ซึ่งจะมีทั้งคนที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย บางคนบอกว่าดีแล้ว บางคนบอกว่า ต้องปรับปรุงแก้ไข นี่คือสิ่งที่ต้องทำอย่างเร่งด่วนทันที และต้องมีผลสัมฤทธิ์ เพราะเป็นอนาคตของเรา และอยากให้ระดมสติปัญญาของคนไทย ในการที่จะนำการเมือง ประชาธิปไตยแบบตะวันตก มาปรับใช้ให้สอดคล้องกับคนไทย เพราะคนไทยไม่เหมือนกันชาติอื่นในโลกนี้ เป็นคนที่ชอบแสดงความคิดเห็น แต่ไม่ยอมรับความแตกต่าง ซึ่งคิดแบบนั้นไม่ได้ จึงต้องไปหาวิธีว่าทำอย่างไร ที่จะนำความแตกต่างมาเกิดผลิตโดยรวม อะไรที่ยังไม่เห็นด้วย ทำไม่ได้ ก็อย่าไปทะเลาะกัน ถ้าทะเลาะกันทุกเรื่องก็แก้ไขอะไรไม่ได้
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า จะสร้างกลไกการปกครอง การใช้อำนาจรัฐอย่างไร โดยอย่าไปคำนึงว่า เพื่อป้องกันการยึดอำนาจในอนาคต ซึ่งอย่าไปคิดแบบนั้น ถ้าไม่มีสาเหตุ ไม่มีใครไปยึดอำนาจอยู่แล้ว นั่นคือสิ่งสำคัญ ถ้าดีอยู่แล้วใครจะมายึด จะมายึดให้มันโง่ทำไม ดังนั้นจะต้องไปแก้ไขปัญหาให้ได้ อย่าไปคำนึงตรงนั้น ต้องคำนึงว่า บุคคลที่จะมาเป็นรัฐบาล และนักการเมืองนั้น จะมาจากการเลือกตั้ง หรือไม่ได้มาจากส่งที่ตนพูด อย่าไปกังวล แต่จะต้องกังวลว่าจะไปกันอย่างไรในวันหน้า ผู้รู้เขียนมาว่า ระบบรัฐสภาสมัยก่อนมีสภาคู่ มีรัฐสภา และ รัฐบาล ก็มีอำนาจแยกกันอยู่มาเป็น 100 ปี ที่มีประชาธิปไตย หลังจากนั้นก็มี ส.ส. มีพรรคการเมือง และกลายเป็นอำนาจสภาเดี่ยว แบบอำนาจเดี่ยว ฉะนั้นกลายเป็นว่าสมัยก่อน สภาคุมรัฐบาลได้ แต่วันนี้รัฐบาล และสภา คุมกันไม่ได้ จึงต้องมีเสียงข้างมากพรรคเดียว หรือ หลายพรรคร่วมกัน กลายเป็นองค์กรเดียวในทางปฏิบัติ
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า จะต้องไปดูว่า โลกมันเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรแล้ว นักการเมืองควรจะต้องทำอย่างไร ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และพลเรือน จะต้องทำตัวอย่างไร แต่จะมาบอกว่า ทำแบบเดิม จะทำตามคำสั่ง ประเทศชาติก็จะถอยหลังกลับไปเก่า ทั้งนี้ยุโรป หลักการแยกกลไกบริหาร และนิติบัญญัติออกจากกัน เหตุผลทราบดีกันอยู่แล้ว ซึ่งจะต้องนำไปพิจารณาว่า จะทำอย่างไร ในการบัญญัติรัฐธรรมนูญ ก็มีคณะกรรมการ ร่างรัฐธรรมนูญจะต้องทำต่อ โดยฟังเสียงจากสภาปฏิรูป ว่าจะทำอย่างไรไม่ให้รัฐบาลที่เข้ามามีอำนาจบิดเบือนการใช้อำนาจข้อกฎหมาย หรือบทบัญญัติต่างๆ จะทำอย่างไร ซึ่งจะต้องไปทำให้จบ เพราะทุกอย่างเป็นกฎหมายหมด ไม่ใช่ว่าพูดเสร็จ หรือปฏิรูปเสร็จ และมีมติออกมาก็ทำเลย แต่จะต้องมีกฎหมายเข้ามาช่วย
ฉะนั้น เรื่องอำนาจเผด็จการรัฐสภา ที่บางคนกล่าวว่า มีเผด็จการทหาร มีเผด็จการรัฐสภา ซึ่งเรื่องนี้จะต้องไปดูเพื่อให้เกิดความเสถียรภาพ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลบ่อยเกินไป ถ้าดีก็ไม่ต้องเปลี่ยน หรือยุบสภาแล้วจะทำอย่างไร หรือกรณีที่นักการเมืองมีคดีความ จะทำอย่างไร ใครจะสอบสวน หรือจะยุบสภา หรือเลือกตั้งใหม่ ก็จะต้องไปหากันให้ชัดเจน
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า จะดำเนินการอย่างไรไม่มีการอาศัยเรื่องผลประโยชน์มาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว เพื่อให้เกิดการปกครองแบบนั้น ซึ่งมันไม่ได้ แต่จะต้องอย่าลืมคำว่า มีเสถียรภาพของรัฐบาลได้ด้วย หากไม่มีเสถียรภาพมันก็ไปไม่ได้เหมือนกัน ทั้งนี้การพูดถึงแนวทางไม่ได้เป็นการชี้นำอะไร แต่ตนพูดในฐานะประชาชนคนหนึ่ง ซึ่งวันนี้เป็นอะไรหลายอย่าง งงไปหมดแล้ว ว่าเป็นอะไรกันแน่ ตนถือว่าอยู่กับพี่ๆ เพื่อนๆ และข้าราชการทุกคน ที่เป็นข้าราชการของแผ่นดินในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทั้งนี้ เราจะต้องช่วยกันลดความขัดแย้ง อะไรที่จะเป็นความขัดแย้งกรุณาลดลงหน่อย ตนไม่ได้ไปจำกัดท่าน หรือ จำกัดสิทธิของสื่อมวลชน ตนไม่เคยไปทำร้ายอะไรใครสักคน เพียงแต่พูดคุยกันบ้าง เรียกมาคุยกันบ้าง หรือตักเตือนกันในฐานะพี่น้อง ตนขี้เกียจทะเลาะกับสื่อ เพราะทะเลาะไปก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร และสื่อก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรจากตน ตนก็ไม่ได้ทำตามอะไรสื่อ และสื่อก็ไม่ได้อะไรจากตนเหมือนกัน แต่อยากให้ท่านเสนอข้อเท็จจริง กรุณางดในเรื่องวิพากษ์ วิจารณ์ บางอย่างวิพากษ์วิจารณ์ตนขี้เกียจตอบโต้ บางอย่างมันไม่ใช่ คิดแบบนั้นไม่ได้ เราเป็นข้าราชการทหาร ตำรวจ เราคิดอย่างพลเรือนคิดไม่ได้ เราจะต้องคิดตามกติกาว่าจะทำอย่างไร สั่งกันอย่างไร เดินไปอย่างไร หรือวันข้างหน้าจะทำอย่างไร หรืออะไรจะเกิดขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการคิดของทหาร แต่บางคนบอกว่าเป็นความคิดที่จำกัด ถ้าไม่จำกัดไว้เยอะกว่านี้ จะมีเรื่องสั่งมากกว่านี้ วันนี้สั่งไป 1,800 กว่าเรื่องแล้ว แต่เสร็จกี่เรื่องไม่รู้ บางเรื่องทำแล้ว บางเรื่องยังไม่ได้ทำ บางเรื่องก็ไปทำให้ยั่งยืนในระยะที่สอง และ ระยะที่สาม
" เลิกได้แล้วว่า ล็อกสเปก จะบอกว่าสเปกบูรพาพยัคฆ์ ที่สื่อไปพูด ไม่เคยมีหรอก ไอ้บูรพาพยัคฆ์ หรือ วงศ์เทวัญ ไม่มี บูรพาพยัคฆ์อยู่ตะวันออก ใครอยู่ตรงไหน ก็โตตรงนั้น เดี๋ยววันหน้าเมืองกาญจน์ขึ้นมาเติบโต ก็จะบอกว่าเป็นทีมลาดหญ้า สื่อมะโนไปเลย มะโนตลอด ให้สื่อเขียนแบบมีข้อเท็จจริงหน่อย อย่ามะโน ถ้าอย่างนั้นให้ไปเขียนนิยาย อย่าติอย่างเดียว ชมบ้าง ที่ดี ๆ ไม่เห็นชมบ้างสักคำเลย พอถามว่าทำไมไม่ชมบ้าง ก็บอกว่า ดีอยู่แล้วไม่ต้องชม แต่พอที่ติแล้วติอีกเรื่องเดิม ติมาจนผมจะเกษียณอยู่แล้ว 4 ปีแล้ว หากย้อนไป ผบ.ทบ. เก่าอีกหลาย ไม่ยอมเลิกเสียที ฉะนั้นพอได้แล้ว สื่อต้องปฏิรูปตัวเอง ท่านมีฐานันดรอยู่แล้ว ท่านจะต้องมีจรรยาบรรณ ผมไม่ได้ตำหนิอะไรเลย ชื่นชมตลอด ผมไม่ใช่คู่ปรับท่านอยู่แล้ว" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า รัฐมนตรีตอนนี้อย่ากังวล เพราะได้มีช่องทางประสานงานตรงกันอยู่แล้ว เพียงให้ไว้ใจ ไม่ใช่แก๊งบูรพาพยัคฆ์ ไม่มี ตนเกิดที่กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ร.21 รอ.) และไปที่บูรพามาหน่อย ไปอยู่ 2-3 ปี ในกองทัพบกเหมือนกันทั้งสิ้น บังเอิญตนไปอยู่ที่นั่นมาเท่านั้นเอง และบังเอิญ ตนกับพี่ 2-3 คน ก็ตามกันมา สื่อก็ไปมะโนเรื่องนี้กัน ตนพูดตรงนี้ดีแล้ว ไม่มีใครเถียงได้ ทั้งนี้อยากให้ทุกคนสบายใจและไว้ใจเรา ในการทำหน้าที่ หากใครสงสัยไปฟังเพียง และช่วยกัน หากทำไม่สำเร็จ ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรกันต่อไปแล้ว ถ้าจะตีกันต่อ จะเคลื่อนไหวใต้ดินมาสู้กัน หรือจะใช้ทางพระ ทางเจ้าทำพิธีกันมาสู้กัน วันนี้ตนเจ็บคอ ปวดคอ หลายคนบอกว่า มีคนทำพิธีอยู่ ไม่รู้ว่าจะแก้กันอย่างไรแล้ว รดน้ำมนต์ใส่ตัว หนาวไปหมดแล้ว จะเป็นไข้อยู่ ตนพูดไม่อยากให้เครียดกัน 3-4 เดือน ที่ผ่านมาสบายใจขึ้น ทุกอย่างเดินไปตามโรดแมป วันนี้เป็นวันประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่ง ที่เราจะเดินหน้าประเทศไทยไปให้ได้ และหวังในความร่วมมือกัน วันนี้จะต้องเลิกกันให้หมด มาเดินหน้าประเทศไทย ติว่ากันว่าคนนั้นเป็นคนของพวกนั้น พวกนี้ วันนี้จะต้องให้กำลังใจกัน เพื่อเดินหน้าต่อไป ให้ทำในสิ่งที่ดี ทุกคนจะต้องมาช่วยกันปรับเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นในอนาคต อย่าให้เสียเวลาเปล่า หรือ เสียของ วันนี้มีอย่างเดียว เสียเกียรติยศ เสียความเป็นตัวของตัวเอง ไม่เห็นจะได้อะไรขึ้นมา แต่ประเทศชาติได้ นั่นคือ สิ่งที่พวกเราคิด
** สรุปเสนอชื่อสรรหาสปช.7,042 คน
นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ ของคณะกรรมการสรรหาสมาชิก สปช. กล่าวรายงานสรุปการเปิดรับเสนอชื่อบุคคลเข้ารับการสรรหาเป็นสปช. ระหว่างวันที่ 14 ส.ค.-2 ก.ย. ที่ผ่านมา ต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ว่าจากการเปิดรับการเสนอชื่อที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 14 ส.ค.-2 ก.ย. ขณะนี้มียอดผู้เสนอชื้อเข้ารับการสรรหาทั่วประเทศรวม 7,042 คน โดยแบ่งเป็นการเสนอชื่อจากนิติบุคคล จำนวน 4,262 คน และการสรรหาระดับจังหวัด จำนวน 2,780 คน โดยตัวเลขดังกล่าวนี้ ยังไม่ถือว่าเป็นที่สิ้นสุด เพราะต้องรอรายชื่อที่ส่งผ่านทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษ ที่ประทับตราไม่เกินวันที่ 2 ก.ย. ซึ่งคาดว่าจะสามารถสรุปยอดผู้เสนอรายชื่อทั้งหมดได้ในวันที่ 5 ก.ย.นี้
สำหรับขั้นตอนการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอชื่อนั้น ทางสำนักงาน กกต.ได้ร่วมมือกับ 18 หน่วยงานราชการ ที่เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 14 ส.ค.ที่ผ่านมา เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติต้องห้ามของผู้เสนอชื่อเป็นสปช. โดยตามขั้นตอนแล้วยังมีเวลาอีก 10 วัน ในการดำเนินการระหว่างวันที่ 3 ก.ย.-12 ก.ย.นี้
อย่างไรก็ตามหลังจากนี้ เมื่อสำนักงาน กกต. ตรวจสอบคุณสมบัติเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น จะส่งรายชื่อให้คณะกรรมการสรรหาคัดเลือกตั้งแต่วันที่ 13 ก.ย.-22 ก.ย. เพื่อให้คัดเลือกเหลือด้านละ 50 คน และจังหวัดละ 5 คน จากนั้นก็จะส่งรายชื่อให้ คสช. คัดเลือกให้เหลือ 250 คน ภายในวันที่ 23 ก.ย.-2 ต.ค.นี้