“สหายเอ๋ย พร้อมหรือยัง เข้าใจหรือไม่ว่า ร่างกายนี้ดำรงอยู่แค่ชั่วครู่ชั่วยาม สิ่งที่จับต้องได้ใดๆ ก็ไม่อาจนำไปได้ทั้งนั้น แล้วอะไรคือสิ่งที่เป็นของท่านอย่างแท้จริงเล่า สิ่งใดนำไปด้วยได้ สิ่งนั้นแท้จริงย่อมเป็นของท่าน ไม่มีอื่นใดอีก จงรู้ไว้ ทุกสิ่งที่เป็นของท่านไม่ได้อยู่ที่ใด แต่อยู่ในหัวใจของท่านนั่นเอง”
นั่นคือ...การอยู่ในร่างมนุษย์นั้นสั้นจริงๆ แล้วสุดท้ายยมทูตก็เรียกหาเราจากเบื้องบน
คิดว่าทุกคนคงไม่อยากได้ยินเสียงนี้ แต่ไม่มีใครหนีพ้น คงต้องถึงคิวสักวันหนึ่ง การดำรงอยู่ด้วยการรอคิว (ที่ไม่รู้ลำดับ) คงไม่เกิดประโยชน์อะไร แต่การดำรงอยู่ด้วยความไม่ประมาทหรือความมีสตินี่ซิ สุดยอดของประโยชน์ทั้งตัวเองและคนอื่น
คนเกิดมาต้องทำประโยชน์ คนกับประโยชน์เป็นของคู่กัน ประโยชน์เป็นเงาตามตัวเรา
ประโยชน์นั้นมีอยู่ 3 ระดับ ได้แก่ (1) ประโยชน์ปัจจุบัน หรือประโยชน์ในโลกนี้ (2) ประโยชน์เบื้องหน้า หรือประโยชน์ภพหน้า (3) ประโยชน์สูงสุด หรือจุดหมายสูงสุดคือพระนิพพาน
คนส่วนมากมักทำแต่ประโยชน์ในโลกนี้ ประโยชน์ลำดับที่สองที่สามไม่ค่อยสนใจ โดยเฉพาะพระนิพพานที่ไม่สนใจทำ อาจจะไม่เชื่อหรือมีเหตุผลอื่นเฉพาะตัว
คนเราจะให้เหมือนกันมันยาก เพราะมันฝืนธรรมชาติ ท่านไม่เหมือนใคร ไม่มีใครเหมือนท่าน ท่านมีหนึ่งเดียวในโลก และคนอื่นก็มีหนึ่งเดียวในโลกเช่นกัน
ท่านผู้มีอำนาจ ท่านครูบาอาจารย์ ท่านผู้มีหน้าที่อบรมสั่งสอนคนทั้งหลาย เจตนาดีของท่านอาจล้มเหลว ก็ไม่ต้องเสียใจ ให้ใจเสีย เมฆหมอกที่เคลื่อนมาบดบังรัศมีของท่าน ไม่นานนักหรอก ก็จะหายไป และอีกไม่นานมันก็จะมาอีก เป็นอยู่เช่นนี้ชั่วนิรันดร์ นี่แหละคือโลก นี่แหละคือธรรม
ว่างๆ ผมชอบอ่านพุทธศาสนสุภาษิต เป็นคำสอนในพระไตรปิฎก รวบรวมไว้ในหนังสืออมฤตพจนา โดย พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) คุณยงยุทธ์-คุณชุติมา ธนะปุระ ประธานกรรมการมูลนิธิพุทธธรรม จัดพิมพ์เผยแพร่เป็นธรรมทาน (สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ-การให้ธรรม ชำนะการให้ทั้งปวง)
เป็นการเตือนสติตัวเอง (ถ้าเชื่อมต่อถึงคนอื่นด้วย ก็จะเป็นกุศลอันไพศาล) จะยกมากล่าว 2 บท (บางส่วน) คือเรื่องการปกครอง และเรื่องความดี-ชั่ว
(การปกครอง) อำนาจเป็นใหญ่ในโลก (อิสรภาพคือความมีอำนาจในตัว), การอยู่ในอำนาจของผู้อื่น เป็นทุกข์ทั้งสิ้น, อิสรภาพเป็นสุขทั้งสิ้น, ผู้ปกครองแผ่นดินมีปัญญา พึงแสวงสุขเพื่อปวงประชา
เมื่อฝูงโคว่ายข้ามฟากอยู่ ถ้าโคนำฝูงไปคด โคทั้งหมดก็ว่ายคดไปตาม ฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น ถ้าผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นใหญ่ ถ้าผู้นั้นประพฤติอธรรม จะป่วยการไปไยถึงประชาชนที่เหลือ ถ้าราชาไม่ตั้งอยู่ในธรรม รัฐทั้งหมดย่อมอยู่เป็นทุกข์
เมื่อฝูงโคว่ายข้ามฟากอยู่ ถ้าโคนำฝูงไปตรง โคทั้งหมดย่อมว่ายตรงไปตาม ฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นใหญ่ ถ้าผู้นั้นประพฤติธรรม ประชาชนที่เหลือก็เป็นอันไม่ต้องกล่าวถึง ถ้าราชาตั้งอยู่ในธรรม รัฐทั้งหมดย่อมอยู่เป็นสุข
เมื่ออนารยชนก่อกรรมชั่ว อารยชนใช้อาชญาหักห้ามการกระทำนั้น เป็นการสั่งสอนหาใช่เป็นเวรไม่ บัณฑิตทั้งหลายเข้าใจกันอย่างนี้ คนที่เป็นใหญ่จะต้องใคร่ครวญให้ดีก่อนจึงลงโทษ พึงข่มคนที่ควรข่ม พึงยกย่องคนที่ควรยกย่อง
ผู้ใดทำความชั่วด้วยสำคัญว่า “เราเป็นผู้ยิ่งใหญ่” ครั้นทำแล้วก็ไม่หวั่นเกรงต่อคนทั้งหลายอื่น ผู้นั้นจะดำรงชีพอยู่ยืนยาวด้วยความชั่วนั้นก็หาไม่ แม้เทพทั้งหลาย ก็มองดูเขาด้วยนัยน์ตาอันเหยียดหยาม เรื่องแรก แก้ไขข้อที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนให้เสร็จ ระงับความโกรธกริ้วและความบันเทิงไว้ก่อน จากนั้นจึงสั่งงาน ข้อนี้นักปราชญ์กล่าวว่าเป็นวัตร (ระเบียบปฏิบัติ) ของผู้ปกครอง
จากความมัวเมาก็เกิดความประมาท จากความประมาทก็เกิดความเสื่อม จากความเสื่อมก็เกิดโทษประดัง ผู้มีภาระปกครองรัฐ จงอย่าได้ประมาทเลย
ผู้ใดไม่รู้เท่าทันเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้โดยฉับพลัน ผู้นั้นจะหลงเข้าไปในอำนาจของศัตรู และจะเดือดร้อนภายหลัง ถึงมีกำลังน้อย แต่มีความคิด ก็เอาชนะกองทัพใหญ่ที่ไร้ความคิดได้
ผู้บริหารหมู่ชนเป็นปราชญ์ และมีกำลังเข้มแข็งจึงจะเป็นผลดี ฯลฯ
(ความดี-ชั่ว) ความดีโจรลักไม่ได้ ความดีที่ทำไว้เอง เป็นมิตรตายตัวไปเบื้องหน้า อย่าดูหมิ่นความชั่วว่าเล็กน้อย คงจักไม่มีผลมาถึงตัว เพราะน้ำหยดทีละน้อย หม้อน้ำก็ยังเต็มได้ พาลชนสร้างสมความชั่วทีละน้อย ก็เต็มเพียบไปด้วยความชั่ว
บุคคลใดในกาลก่อนเคยผิดพลาด ครั้งภายหลังเขากลับตัวได้ไม่ประมาท บุคคลนั้นย่อมทำโลกให้แจ่มได้ เหมือนดับดวงจันทร์ อันพ้นจากเมฆหมอก ช่างดอกไม้ร้อยพวงมาลัยได้มากมายจากกองดอกไม้กองหนึ่งกองใด ฉันใด คนเราเกิดมาแล้วก็ควร (ใช้ชีวิตชาติหนึ่งนี้) สร้างความดีงามให้มาก ฉันนั้น
ธีรชนสร้างความดีทีละน้อย ก็เต็มเปี่ยมไปด้วยความดี การสร้างสมความดี นำสุขมาให้ คำว่าบุญนี้ เป็นชื่อของความสุข ความดีที่ทำไว้เองนี่แหละ เป็นทรัพย์ส่วนของตัวโดยเฉพาะ ถึงคราวจะสิ้นชีพ บุญก็ช่วยให้เป็นสุข ไม่ควรทำบาปแม้เพราะเห็นแก่กิน คนมีความชั่ว ย่อมเดือดร้อน เพราะกรรมของตน ความชั่ว คนชั่วทำง่าย บาปไม่มีแก่ผู้ไม่ทำ
ความดี คนดีทำง่าย ความดี คนชั่วทำยาก สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม กรรมย่อมจำแนกสัตว์ คือให้ทรามและประณีต ทำดี ได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว กรรมไม่ดี ย่อมเผาผลาญในภายหลัง ความชั่วไม่ทำเสียเลยดีกว่า ธรรมนั่นแหละ รักษาผู้ประพฤติธรรม ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำมาซึ่งความสุข ผู้ประพฤติธรรมย่อมนอนเป็นสุข
บัณฑิตนั้น ถึงถูกทุกข์กระทบถึงพลาดพลั้งลง ก็คงสงบอยู่ได้ และไม่ละทิ้งธรรม เพราะชอบหรือชัง ไม่พึงปรารถนาความสำเร็จแก่ตน โดยทางไม่ชอบธรรม
การไม่ทำความชั่วทั้งปวง 1 การบำเพ็ญความดีให้เพียบพร้อม 1 การชำระจิตใจให้ผ่องใส 1 สามอย่างนี้คือคำสอนของพระพุทธเจ้า
ฯลฯ
อ่าน คิด พินิจธรรม และนำไปปฏิบัติ ก็จะรู้เห็นเองว่าเป็นอย่างไร จะหยุด จะละ หรือจะทำต่อ ก็เป็นเรื่องของคุณอีกนั่นแหละ เพราะคุณคือคุณ คุณไม่ใช่ผม และผมก็ไม่ใช่คุณ
ความดีความชั่ว คงไม่ต้องพูดอะไรอีก ยกตัวอย่างพุทธภาษิตให้แล้ว ยังจะมีอะไรที่สุดยอดกว่านี้อีกหรือ? หรือการคืนความสุขให้ประชาชนนั่นสุดยอด การทำให้ประชาชนมีความสุขแบบที่ทำอยู่นั้น ก็ดีอยู่นะ แต่มันซ้ำซ้อน เพราะการบันเทิงเริงใจของคนไทยนั้น มันมีอยู่โดยประเพณีหรือสายเลือด ไม่ว่าเทศกาลงานใด ไทย จีน ฝรั่ง ลาว มอญ แขก เขมร พี่ไทยก็สนุกสนาน เมากับเขาทุกงาน ควรจะทำอย่างไร ชาวไทยจึงจะมีเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น มิใช่กระเป๋าแบนๆ หรือว่างเปล่า บางทีก็ดูตุงๆ เหมือนกัน พอเปิดดูมีแต่ตั๋วจำนำ เมื่อมีอำนาจเต็มที่ทำไมไม่แก้ให้ตรงจุด นั่นคือลดราคาแก๊ส น้ำมันลงให้เหลือครึ่งหนึ่งของราคาปัจจุบัน สมมติน้ำมันลิตรละ 40 บาท ก็ลดลงให้เหลือ 20 บาท (ไม่ใช่ลดเป็นสตางค์ แต่ขึ้นเป็นบาท เอาอะไรคิด) ข้าวของที่จำเป็นแก่การดำรงชีพก็ลดลงเช่นกัน มิใช่ปล่อยให้พ่อค้าแม่ค้าขึ้นราคาตามอำเภอใจ ราวกับบ้านเมืองไม่มีขื่อมีแป คิดผิด คิดใหม่ได้ แก้ไขใหม่ได้ มีอำนาจอยู่กับมือ ไม่สร้างความดีตอนนี้ จะไปสร้างตอนไหน หรือตอนที่อำนาจหลุดมือแล้ว งั้นก็ไม่ฟินเลย เสียของ
เหนือชั่วเหนือดี แถวนี้หรือบรรทัดนี้สำคัญนัก คนที่เข้าถึงเขาไม่สามารถสื่อออกมาเป็นภาษาได้ ก็ได้แต่หุบปากเงียบ หากจำเป็นก็พูดน้อย หรือพูดแบบเซน ให้ไปตีความเอาเอง ผู้ที่ยังเข้าไม่ถึง (เช่นผู้เขียน) ก็ได้แต่ยกนั่นยกนี่มาตีความผิดบ้าง ถูกบ้าง ไม่ถือเป็นสาระ เพราะแท้จริงแล้ว มันไม่มีสิ่งใดถูก สิ่งใดผิด ก็มันว่างทั้งหมดทั้งสิ้น แล้วจะมีอะไรมาผิดมาถูก
ขอยกพุทธพจน์อีกครั้ง บทนี้ส่งเสริมให้คนทำความดีได้แบบครอบจักรวาล
“การไม่ทำความชั่วทั้งปวง 1
การบำเพ็ญความดีให้เพียบพร้อม 1
การชำระจิตใจให้ผ่องใส 1
สามอย่างนี้ คือคำสอนของพระพุทธเจ้า”
พุทธพจน์บทนี้ชัดแจ้งแทงทะลุอยู่แล้ว ไยต้องมาเพิ่มเติมเสริมแต่งอีกเล่า? ก็เพราะกิเลสตัณหาอุปาทานยังมั่นคงแข็งปึกอยู่ จึงอยากขอแจม (อวดโง่) บ้างตามประสาคนชอบขีดๆ เขียนๆ
บรรทัดที่ 1 ละชั่ว บรรทัดที่ 2 ทำดี สองบรรทัดนี้เป็นวิถีของโลกียธรรมที่ต้องปรุงแต่ง เกิด-ดับกันไป เรียกว่า สังขาร หรือสังขตธรรม ตรงนี้เป็นจิตใหม่เทียม
บรรทัดที่ 3 การชำระจิตใจให้ผ่องใส บรรทัดนี้เป็นโลกุตตรธรรม ไม่มีการปรุงแต่ง ไม่มีการเกิด-ดับ เรียกว่า วิสังขาร หรืออสังขตธรรม ตรงนี้แหละคือจิตเดิมแท้
บรรทัดที่ 1-2-3 มันเป็นธรรมชาติธรรมดา ตถตา-เช่นนั้นเอง มันคือจิตใจ หรือจิตวิญญาณหรือหัวใจของเรา ที่จะตามเราไปทุกภพทุกชาติ มันเป็นที่สะสมความดีความชั่ว ความเหนือดีเหนือชั่ว มันเป็นศูนย์เก็บข้อมูล การคิด การพูด การทำอะไรทุกอย่าง ถูกเก็บไว้ตรงนี้ ไม่ใช่ว่าทำชั่วแล้วไม่มีใครเห็น ก็ไม่มีโทษสบายใจ แต่ใจเห็น ตัวคุณเห็น ใจบริสุทธิ์ ใจซื่อสัตย์ที่สุด ด้วยเหตุนี้ คนมีสติหรือคนไม่ประมาท จึงไม่ยอมทำชั่ว ทำแต่ความดี และทำจิตให้บริสุทธิ์
มีหรือไม่มี อยู่ที่ตัวเรา คำว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” มีคนย้อนแย้งว่า “ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป” เสร็จแล้วก็มีคนเฮตามชอบกันใหญ่ ไปกันใหญ่ ปานไฟลามทุ่ง
ทำดีได้ดี หมายความ ทำดีได้ความดี ไม่ใช่ได้วัตถุสิ่งของ แก้วแหวนเงินทอง สองชั้นสามชั้น ทำชั่วได้ชั่ว คือได้ความชั่ว ที่ว่าทำชั่วได้ดีมีถมไป นั่นคงได้วัตถุสิ่งของ อาจเป็นผลพลอยได้หรือมีเหตุปัจจุบันสนับสนุนเลยเรียกว่าได้ดี แต่ไม่ใช่ความดีแน่ ดีจากการทำชั่ว มันก็คือความชั่ว ดีแบบนี้มันคือตราบาป
ทำดีได้ความดี ทำชั่วได้ความชั่ว ความดีความชั่วนี่แหละ เป็นสมบัติเราแท้จริงติดตัวไปทุกภพทุกชาติ ส่วนของดีของเน่า เอาไปด้วยไม่ได้ จงรู้ จงจำ จงทำ จงละเสียตั้งแต่ยังมีลมหายใจอยู่
จะมีความดี มีความชั่ว จะไม่มีความดี ไม่มีความชั่ว จะมีเหนือดีเหนือชั่ว จะไม่มีเหนือดีเหนือชั่ว ล้วนขึ้นอยู่กับตัวเราเองทั้งนั้น ตนแลเป็นที่พึ่งของตน สุดยอดที่สุด หากมัวหวังแต่พึ่งคนอื่นสิ่งอื่น คุณก็ไม่เป็นตัวของตัวเอง
คนไม่เป็นตัวของตัวเอง มันน่ารังเกียจขนาดไหน ไม่อยากแม้แต่จะคิด มันสุดๆๆ จะจะจะ ทุๆๆ...
มีกวีเต๋าบทหนึ่งเคาะกะโหลกวาบชะมัด ว่าคุณจะพึ่งตัวเอง หรือพึ่งคนอื่นตลอดไป
“เต๋านี้เป็นเพียงเต๋ากระดาษ
อันชี้นำไปสู่เต๋าที่แท้
ผู้รู้ย่อมละทิ้งเต๋ากระดาษนี้เสีย
เพื่อเข้าสู่เต๋าที่เที่ยงแท้”
...(วิถีแห่งเต๋า/พจนา จันทรคติ-แปลและเรียบเรียง/สนพ.เคล็ดไทย)
หัวใจหรือจิตใจ มีทั้งจิตใหม่เทียม และจิตเดิมแท้ จิตเดิมแท้นี่แหละคือความเที่ยงแท้ไม่แปรเปลี่ยน
บทความนี้ขอจบด้วย “กวีสี่แถว” ตามแนวธรรมะฯ ดังนี้...
“ความดีความชั่ว
เหนือชั่วเหนือดี
มีหรือไม่มี
อยู่ที่ตัวเรา”
ความเป็นตัวของตัวเอง อยู่ที่เราเป็นเรา เราไม่เหมือนใคร และใครก็ไม่เหมือนเรา เราคือเราที่...รู้เมารู้สร่าง รู้ว่างรู้วาง
นั่นคือ...การอยู่ในร่างมนุษย์นั้นสั้นจริงๆ แล้วสุดท้ายยมทูตก็เรียกหาเราจากเบื้องบน
คิดว่าทุกคนคงไม่อยากได้ยินเสียงนี้ แต่ไม่มีใครหนีพ้น คงต้องถึงคิวสักวันหนึ่ง การดำรงอยู่ด้วยการรอคิว (ที่ไม่รู้ลำดับ) คงไม่เกิดประโยชน์อะไร แต่การดำรงอยู่ด้วยความไม่ประมาทหรือความมีสตินี่ซิ สุดยอดของประโยชน์ทั้งตัวเองและคนอื่น
คนเกิดมาต้องทำประโยชน์ คนกับประโยชน์เป็นของคู่กัน ประโยชน์เป็นเงาตามตัวเรา
ประโยชน์นั้นมีอยู่ 3 ระดับ ได้แก่ (1) ประโยชน์ปัจจุบัน หรือประโยชน์ในโลกนี้ (2) ประโยชน์เบื้องหน้า หรือประโยชน์ภพหน้า (3) ประโยชน์สูงสุด หรือจุดหมายสูงสุดคือพระนิพพาน
คนส่วนมากมักทำแต่ประโยชน์ในโลกนี้ ประโยชน์ลำดับที่สองที่สามไม่ค่อยสนใจ โดยเฉพาะพระนิพพานที่ไม่สนใจทำ อาจจะไม่เชื่อหรือมีเหตุผลอื่นเฉพาะตัว
คนเราจะให้เหมือนกันมันยาก เพราะมันฝืนธรรมชาติ ท่านไม่เหมือนใคร ไม่มีใครเหมือนท่าน ท่านมีหนึ่งเดียวในโลก และคนอื่นก็มีหนึ่งเดียวในโลกเช่นกัน
ท่านผู้มีอำนาจ ท่านครูบาอาจารย์ ท่านผู้มีหน้าที่อบรมสั่งสอนคนทั้งหลาย เจตนาดีของท่านอาจล้มเหลว ก็ไม่ต้องเสียใจ ให้ใจเสีย เมฆหมอกที่เคลื่อนมาบดบังรัศมีของท่าน ไม่นานนักหรอก ก็จะหายไป และอีกไม่นานมันก็จะมาอีก เป็นอยู่เช่นนี้ชั่วนิรันดร์ นี่แหละคือโลก นี่แหละคือธรรม
ว่างๆ ผมชอบอ่านพุทธศาสนสุภาษิต เป็นคำสอนในพระไตรปิฎก รวบรวมไว้ในหนังสืออมฤตพจนา โดย พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) คุณยงยุทธ์-คุณชุติมา ธนะปุระ ประธานกรรมการมูลนิธิพุทธธรรม จัดพิมพ์เผยแพร่เป็นธรรมทาน (สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ-การให้ธรรม ชำนะการให้ทั้งปวง)
เป็นการเตือนสติตัวเอง (ถ้าเชื่อมต่อถึงคนอื่นด้วย ก็จะเป็นกุศลอันไพศาล) จะยกมากล่าว 2 บท (บางส่วน) คือเรื่องการปกครอง และเรื่องความดี-ชั่ว
(การปกครอง) อำนาจเป็นใหญ่ในโลก (อิสรภาพคือความมีอำนาจในตัว), การอยู่ในอำนาจของผู้อื่น เป็นทุกข์ทั้งสิ้น, อิสรภาพเป็นสุขทั้งสิ้น, ผู้ปกครองแผ่นดินมีปัญญา พึงแสวงสุขเพื่อปวงประชา
เมื่อฝูงโคว่ายข้ามฟากอยู่ ถ้าโคนำฝูงไปคด โคทั้งหมดก็ว่ายคดไปตาม ฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น ถ้าผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นใหญ่ ถ้าผู้นั้นประพฤติอธรรม จะป่วยการไปไยถึงประชาชนที่เหลือ ถ้าราชาไม่ตั้งอยู่ในธรรม รัฐทั้งหมดย่อมอยู่เป็นทุกข์
เมื่อฝูงโคว่ายข้ามฟากอยู่ ถ้าโคนำฝูงไปตรง โคทั้งหมดย่อมว่ายตรงไปตาม ฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นใหญ่ ถ้าผู้นั้นประพฤติธรรม ประชาชนที่เหลือก็เป็นอันไม่ต้องกล่าวถึง ถ้าราชาตั้งอยู่ในธรรม รัฐทั้งหมดย่อมอยู่เป็นสุข
เมื่ออนารยชนก่อกรรมชั่ว อารยชนใช้อาชญาหักห้ามการกระทำนั้น เป็นการสั่งสอนหาใช่เป็นเวรไม่ บัณฑิตทั้งหลายเข้าใจกันอย่างนี้ คนที่เป็นใหญ่จะต้องใคร่ครวญให้ดีก่อนจึงลงโทษ พึงข่มคนที่ควรข่ม พึงยกย่องคนที่ควรยกย่อง
ผู้ใดทำความชั่วด้วยสำคัญว่า “เราเป็นผู้ยิ่งใหญ่” ครั้นทำแล้วก็ไม่หวั่นเกรงต่อคนทั้งหลายอื่น ผู้นั้นจะดำรงชีพอยู่ยืนยาวด้วยความชั่วนั้นก็หาไม่ แม้เทพทั้งหลาย ก็มองดูเขาด้วยนัยน์ตาอันเหยียดหยาม เรื่องแรก แก้ไขข้อที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนให้เสร็จ ระงับความโกรธกริ้วและความบันเทิงไว้ก่อน จากนั้นจึงสั่งงาน ข้อนี้นักปราชญ์กล่าวว่าเป็นวัตร (ระเบียบปฏิบัติ) ของผู้ปกครอง
จากความมัวเมาก็เกิดความประมาท จากความประมาทก็เกิดความเสื่อม จากความเสื่อมก็เกิดโทษประดัง ผู้มีภาระปกครองรัฐ จงอย่าได้ประมาทเลย
ผู้ใดไม่รู้เท่าทันเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้โดยฉับพลัน ผู้นั้นจะหลงเข้าไปในอำนาจของศัตรู และจะเดือดร้อนภายหลัง ถึงมีกำลังน้อย แต่มีความคิด ก็เอาชนะกองทัพใหญ่ที่ไร้ความคิดได้
ผู้บริหารหมู่ชนเป็นปราชญ์ และมีกำลังเข้มแข็งจึงจะเป็นผลดี ฯลฯ
(ความดี-ชั่ว) ความดีโจรลักไม่ได้ ความดีที่ทำไว้เอง เป็นมิตรตายตัวไปเบื้องหน้า อย่าดูหมิ่นความชั่วว่าเล็กน้อย คงจักไม่มีผลมาถึงตัว เพราะน้ำหยดทีละน้อย หม้อน้ำก็ยังเต็มได้ พาลชนสร้างสมความชั่วทีละน้อย ก็เต็มเพียบไปด้วยความชั่ว
บุคคลใดในกาลก่อนเคยผิดพลาด ครั้งภายหลังเขากลับตัวได้ไม่ประมาท บุคคลนั้นย่อมทำโลกให้แจ่มได้ เหมือนดับดวงจันทร์ อันพ้นจากเมฆหมอก ช่างดอกไม้ร้อยพวงมาลัยได้มากมายจากกองดอกไม้กองหนึ่งกองใด ฉันใด คนเราเกิดมาแล้วก็ควร (ใช้ชีวิตชาติหนึ่งนี้) สร้างความดีงามให้มาก ฉันนั้น
ธีรชนสร้างความดีทีละน้อย ก็เต็มเปี่ยมไปด้วยความดี การสร้างสมความดี นำสุขมาให้ คำว่าบุญนี้ เป็นชื่อของความสุข ความดีที่ทำไว้เองนี่แหละ เป็นทรัพย์ส่วนของตัวโดยเฉพาะ ถึงคราวจะสิ้นชีพ บุญก็ช่วยให้เป็นสุข ไม่ควรทำบาปแม้เพราะเห็นแก่กิน คนมีความชั่ว ย่อมเดือดร้อน เพราะกรรมของตน ความชั่ว คนชั่วทำง่าย บาปไม่มีแก่ผู้ไม่ทำ
ความดี คนดีทำง่าย ความดี คนชั่วทำยาก สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม กรรมย่อมจำแนกสัตว์ คือให้ทรามและประณีต ทำดี ได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว กรรมไม่ดี ย่อมเผาผลาญในภายหลัง ความชั่วไม่ทำเสียเลยดีกว่า ธรรมนั่นแหละ รักษาผู้ประพฤติธรรม ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำมาซึ่งความสุข ผู้ประพฤติธรรมย่อมนอนเป็นสุข
บัณฑิตนั้น ถึงถูกทุกข์กระทบถึงพลาดพลั้งลง ก็คงสงบอยู่ได้ และไม่ละทิ้งธรรม เพราะชอบหรือชัง ไม่พึงปรารถนาความสำเร็จแก่ตน โดยทางไม่ชอบธรรม
การไม่ทำความชั่วทั้งปวง 1 การบำเพ็ญความดีให้เพียบพร้อม 1 การชำระจิตใจให้ผ่องใส 1 สามอย่างนี้คือคำสอนของพระพุทธเจ้า
ฯลฯ
อ่าน คิด พินิจธรรม และนำไปปฏิบัติ ก็จะรู้เห็นเองว่าเป็นอย่างไร จะหยุด จะละ หรือจะทำต่อ ก็เป็นเรื่องของคุณอีกนั่นแหละ เพราะคุณคือคุณ คุณไม่ใช่ผม และผมก็ไม่ใช่คุณ
ความดีความชั่ว คงไม่ต้องพูดอะไรอีก ยกตัวอย่างพุทธภาษิตให้แล้ว ยังจะมีอะไรที่สุดยอดกว่านี้อีกหรือ? หรือการคืนความสุขให้ประชาชนนั่นสุดยอด การทำให้ประชาชนมีความสุขแบบที่ทำอยู่นั้น ก็ดีอยู่นะ แต่มันซ้ำซ้อน เพราะการบันเทิงเริงใจของคนไทยนั้น มันมีอยู่โดยประเพณีหรือสายเลือด ไม่ว่าเทศกาลงานใด ไทย จีน ฝรั่ง ลาว มอญ แขก เขมร พี่ไทยก็สนุกสนาน เมากับเขาทุกงาน ควรจะทำอย่างไร ชาวไทยจึงจะมีเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น มิใช่กระเป๋าแบนๆ หรือว่างเปล่า บางทีก็ดูตุงๆ เหมือนกัน พอเปิดดูมีแต่ตั๋วจำนำ เมื่อมีอำนาจเต็มที่ทำไมไม่แก้ให้ตรงจุด นั่นคือลดราคาแก๊ส น้ำมันลงให้เหลือครึ่งหนึ่งของราคาปัจจุบัน สมมติน้ำมันลิตรละ 40 บาท ก็ลดลงให้เหลือ 20 บาท (ไม่ใช่ลดเป็นสตางค์ แต่ขึ้นเป็นบาท เอาอะไรคิด) ข้าวของที่จำเป็นแก่การดำรงชีพก็ลดลงเช่นกัน มิใช่ปล่อยให้พ่อค้าแม่ค้าขึ้นราคาตามอำเภอใจ ราวกับบ้านเมืองไม่มีขื่อมีแป คิดผิด คิดใหม่ได้ แก้ไขใหม่ได้ มีอำนาจอยู่กับมือ ไม่สร้างความดีตอนนี้ จะไปสร้างตอนไหน หรือตอนที่อำนาจหลุดมือแล้ว งั้นก็ไม่ฟินเลย เสียของ
เหนือชั่วเหนือดี แถวนี้หรือบรรทัดนี้สำคัญนัก คนที่เข้าถึงเขาไม่สามารถสื่อออกมาเป็นภาษาได้ ก็ได้แต่หุบปากเงียบ หากจำเป็นก็พูดน้อย หรือพูดแบบเซน ให้ไปตีความเอาเอง ผู้ที่ยังเข้าไม่ถึง (เช่นผู้เขียน) ก็ได้แต่ยกนั่นยกนี่มาตีความผิดบ้าง ถูกบ้าง ไม่ถือเป็นสาระ เพราะแท้จริงแล้ว มันไม่มีสิ่งใดถูก สิ่งใดผิด ก็มันว่างทั้งหมดทั้งสิ้น แล้วจะมีอะไรมาผิดมาถูก
ขอยกพุทธพจน์อีกครั้ง บทนี้ส่งเสริมให้คนทำความดีได้แบบครอบจักรวาล
“การไม่ทำความชั่วทั้งปวง 1
การบำเพ็ญความดีให้เพียบพร้อม 1
การชำระจิตใจให้ผ่องใส 1
สามอย่างนี้ คือคำสอนของพระพุทธเจ้า”
พุทธพจน์บทนี้ชัดแจ้งแทงทะลุอยู่แล้ว ไยต้องมาเพิ่มเติมเสริมแต่งอีกเล่า? ก็เพราะกิเลสตัณหาอุปาทานยังมั่นคงแข็งปึกอยู่ จึงอยากขอแจม (อวดโง่) บ้างตามประสาคนชอบขีดๆ เขียนๆ
บรรทัดที่ 1 ละชั่ว บรรทัดที่ 2 ทำดี สองบรรทัดนี้เป็นวิถีของโลกียธรรมที่ต้องปรุงแต่ง เกิด-ดับกันไป เรียกว่า สังขาร หรือสังขตธรรม ตรงนี้เป็นจิตใหม่เทียม
บรรทัดที่ 3 การชำระจิตใจให้ผ่องใส บรรทัดนี้เป็นโลกุตตรธรรม ไม่มีการปรุงแต่ง ไม่มีการเกิด-ดับ เรียกว่า วิสังขาร หรืออสังขตธรรม ตรงนี้แหละคือจิตเดิมแท้
บรรทัดที่ 1-2-3 มันเป็นธรรมชาติธรรมดา ตถตา-เช่นนั้นเอง มันคือจิตใจ หรือจิตวิญญาณหรือหัวใจของเรา ที่จะตามเราไปทุกภพทุกชาติ มันเป็นที่สะสมความดีความชั่ว ความเหนือดีเหนือชั่ว มันเป็นศูนย์เก็บข้อมูล การคิด การพูด การทำอะไรทุกอย่าง ถูกเก็บไว้ตรงนี้ ไม่ใช่ว่าทำชั่วแล้วไม่มีใครเห็น ก็ไม่มีโทษสบายใจ แต่ใจเห็น ตัวคุณเห็น ใจบริสุทธิ์ ใจซื่อสัตย์ที่สุด ด้วยเหตุนี้ คนมีสติหรือคนไม่ประมาท จึงไม่ยอมทำชั่ว ทำแต่ความดี และทำจิตให้บริสุทธิ์
มีหรือไม่มี อยู่ที่ตัวเรา คำว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” มีคนย้อนแย้งว่า “ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป” เสร็จแล้วก็มีคนเฮตามชอบกันใหญ่ ไปกันใหญ่ ปานไฟลามทุ่ง
ทำดีได้ดี หมายความ ทำดีได้ความดี ไม่ใช่ได้วัตถุสิ่งของ แก้วแหวนเงินทอง สองชั้นสามชั้น ทำชั่วได้ชั่ว คือได้ความชั่ว ที่ว่าทำชั่วได้ดีมีถมไป นั่นคงได้วัตถุสิ่งของ อาจเป็นผลพลอยได้หรือมีเหตุปัจจุบันสนับสนุนเลยเรียกว่าได้ดี แต่ไม่ใช่ความดีแน่ ดีจากการทำชั่ว มันก็คือความชั่ว ดีแบบนี้มันคือตราบาป
ทำดีได้ความดี ทำชั่วได้ความชั่ว ความดีความชั่วนี่แหละ เป็นสมบัติเราแท้จริงติดตัวไปทุกภพทุกชาติ ส่วนของดีของเน่า เอาไปด้วยไม่ได้ จงรู้ จงจำ จงทำ จงละเสียตั้งแต่ยังมีลมหายใจอยู่
จะมีความดี มีความชั่ว จะไม่มีความดี ไม่มีความชั่ว จะมีเหนือดีเหนือชั่ว จะไม่มีเหนือดีเหนือชั่ว ล้วนขึ้นอยู่กับตัวเราเองทั้งนั้น ตนแลเป็นที่พึ่งของตน สุดยอดที่สุด หากมัวหวังแต่พึ่งคนอื่นสิ่งอื่น คุณก็ไม่เป็นตัวของตัวเอง
คนไม่เป็นตัวของตัวเอง มันน่ารังเกียจขนาดไหน ไม่อยากแม้แต่จะคิด มันสุดๆๆ จะจะจะ ทุๆๆ...
มีกวีเต๋าบทหนึ่งเคาะกะโหลกวาบชะมัด ว่าคุณจะพึ่งตัวเอง หรือพึ่งคนอื่นตลอดไป
“เต๋านี้เป็นเพียงเต๋ากระดาษ
อันชี้นำไปสู่เต๋าที่แท้
ผู้รู้ย่อมละทิ้งเต๋ากระดาษนี้เสีย
เพื่อเข้าสู่เต๋าที่เที่ยงแท้”
...(วิถีแห่งเต๋า/พจนา จันทรคติ-แปลและเรียบเรียง/สนพ.เคล็ดไทย)
หัวใจหรือจิตใจ มีทั้งจิตใหม่เทียม และจิตเดิมแท้ จิตเดิมแท้นี่แหละคือความเที่ยงแท้ไม่แปรเปลี่ยน
บทความนี้ขอจบด้วย “กวีสี่แถว” ตามแนวธรรมะฯ ดังนี้...
“ความดีความชั่ว
เหนือชั่วเหนือดี
มีหรือไม่มี
อยู่ที่ตัวเรา”
ความเป็นตัวของตัวเอง อยู่ที่เราเป็นเรา เราไม่เหมือนใคร และใครก็ไม่เหมือนเรา เราคือเราที่...รู้เมารู้สร่าง รู้ว่างรู้วาง