ขออนุญาตผู้อ่านก่อนจะเข้าสู่ปัญญาวิสาขบูชา ใคร่ให้ท่านทั้หลายได้พิจารณา ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทางการเมือง ดังนี้
ทุกข์ คือ ความทุกข์ยาก ยากจนข้นแค้นของประชาชน ตกเป็นทาสทางการเมืองของนักการเมือง โดยความไม่รู้ และไหลไปตามกระบวนการของกฎหมาย ที่พวกนักการเมืองเลวทรามบัญญัติไว้อย่างเอาเปรียบ กดขี่ ดุจน้ำไหลคดไปตามคลองคด ฉันนั้น
สมุทัย คือ เหตุแห่งความเลวร้ายทั้งปวงของชาติและประชาชนคือ ระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญอันเป็นเหตุเลว (หลอกว่าเป็นระบอบประชาธิปไตย) เมื่อมีเหตุเลว ก็ย่อมมีผลเลว ได้มีผล หรือเงา หรือปรากฏการณ์คือพรรคการเมืองเลว นักการเมืองเลว ทุนผูกขาด การกระชับรวมศูนย์ทุน ทุกคนเห็นภาพ “อัปรีย์ไป-จัญไรมา” จะกี่รัฐธรรมนูญ จะกี่รัฐบาล ก็แก้ไขเหตุวิกฤตชาติไม่ได้ หากไม่มีมรรคที่ถูกต้อง
นิโรธความดับทุกข์ของแผ่นดิน คือปฏิวัติ คือ การสถาปนาหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 อันเป็นพระราชทานหลักการปกครองโดยธรรมทางการเมืองอย่างแท้จริง เป็นระบอบการเมืองของปวงชนอย่างแท้จริง เปิดเผย กระจ่างแจ้งแก่ปวงชน
มรรค คือ เหล่าปัญญาชน พสกนิกร ศึกษา เข้าใจหลักการปกครองธรรมาธิปไตยอย่างถ่องแท้แล้ว ร่วมกันเสนอ ร่วมกันขอพระราชทานหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 ง่ายๆ ไม่ยากเลยก็แค่นี้เอง ช่วยกันแชร์เถิดเพื่อความมั่นคงของชาติและราชอาณาจักร ชั่วกัลปาวสาน
แนวทางถูก เห็นถูกทำถูก โค่นเผด็จการรัฐธรรมนูญ คือ โค่นนักการเมืองเลว ปล้นชาติ (ทุกพรรค)
แนวทางผิด แก้ปลายเหตุ โค่นทักษิณ คือโค่นเงาของระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญหลอกประชาชนไปโค่นฝ่ายตรงข้าม
แนวทางผิด โค่นระบอบเผด็จการรัฐสภา คือโค่นเงาของระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญ
แนวทางถูก ไม่หลอกลวงคือ ช่วยผลักดัน เสนอสถาปนาหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 (ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์) เท่านั้นคือแนวทางแห่งชัยชนะของปวงชนอย่างแท้จริง
ระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นระบอบเผด็จการของนักการเมืองเพียงหยิบมือเดียว จะสูญสิ้นไปอย่างง่ายดาย เมื่อสถาปนาหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 เข้ามาแทนที่ นี่คือการตอบสนองชาติ และปวงชนอย่างแท้จริง นี่คือแนวทางถูกต้องยิ่งใหญ่ของราชอาณาจักรไทย ซึ่งพสกนิกรได้ร่วมมือกับพระเจ้าแผ่นดินด้วยการ ทรงพระเจริญ ปวงข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย “ขอพระราชทานหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9”
วันวิสาขบูชาขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือวันเพ็ญเดือน 6 ซึ่งตรงกับวันประสูติ ตรัสรู้ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า พุทธศาสนิกชนทั่วโลกได้แสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณของโลกและเป็นวันสำคัญของปวงชนชาวไทยมาหลายร้อยปีพระมหากษัตริย์รัฐบาลและประชาชนให้ความสำคัญถือเป็นวันหยุดทางราชการเพื่อให้พี่น้องพุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้น้อมรำลึกปฏิบัติบูชาต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
วันวิสาขบูชาเป็นวันประสูติตรัสรู้ปรินิพพานเป็นความมหัศจรรย์ยิ่งใหญ่ 2 นัยสำคัญ
นัยสำคัญที่หนึ่ง พระพุทธเจ้ามีนามเดิมว่าสิทธัตถะเป็นพระโอรสในพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์ศากยวงศ์แห่งกรุงกบิลพัสดุ์และพระนางสิริมหามายาพระธิดาในพระเจ้าอัญชนะกษัตริย์โลลิยวงศ์แห่งกรุงเทวทหะทรงประสูติเมื่อวันศุกร์วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ปีจอเวลาใกล้เที่ยงใต้ต้นไม้รังหรือสาละแห่งลุมพินีวันก่อนพุทธศักราช 80 ปี
เป็นธรรมดาพระโพธิสัตว์อุบัติขึ้นมาเพื่อเป็นประโยชน์สุขแก่มวลมนุษยชาติย่อมต้องมีอภินิหารเป็นธรรมดา ขณะประสูติมีเทวดามาคอยรับพอประสูติแล้วทรงดำเนินไปได้ 7 ก้าวขณะที่ทรงดำเนินไปได้ 7 ก้าวก็ทรงหยุดอยู่เพียงเท่านั้นแล้วทรงเปล่งอาสภิวาจา คือประกาศพระองค์ว่าเป็นเอกในโลก ว่า
“อัคโคหะมัสมิ โลกัสสะเชฏโฐ เสฏโฐหะมัสมิ
อะยะมันติมาเมชาตินัตถิทานิปุนัพภะโว”
แปลความว่า“ในโลกนี้เราเป็นหนึ่ง เราเป็นยอด เราเป็นเลิศประเสริฐที่สุด การเกิดครั้งนี้ของเรา เป็นครั้งสุดท้าย ภพใหม่ต่อไปอีกไม่มีสำหรับเรา”
การตรัสรู้เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้เสด็จออกบวชเมื่อพระชนมายุ 29 ชันษาได้ละทิ้งราชสมบัติกามสุขทางโลกเพื่อแสวงหาโมกขธรรมเพื่อความหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดและพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวงได้ไปศึกษายังสำนักของอาฬารดาบส กาลามโคตรและอุททกดาบส รามบุตรมหาชนในสมัยนั้นถือกันว่าเป็นคณาจารย์ผู้มีความรู้อันยอดเยี่ยมทรงใช้เวลาไม่นานก็ได้สำเร็จสมาบัติ 8 ได้แก่ รูปญาน 4 และอรูปญาน 4
ทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางที่จะตรัสรู้ได้จึงได้บำเพ็ญทุกรกิริยาด้วยการบำเพ็ญเพียรทรมานตนต่างๆ อันยากที่ใครๆ จะทำได้เช่นกดพระทนต์ด้วยพระทนต์ (ฟัน) ทรงผ่อนกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ คือกลั่นลมหายใจทรงอดอาหารเสวยแต่วันละน้อยๆ จนพระวรกายเหี่ยวแห้งทรงลูบพระวรกายเส้นพระโลมาก็ร่วงหลุด
กระทั่งทรงเห็นว่าการทรมานกายอย่างนี้ (อัตตะกิละมะถานุโยค) ไม่ใช่ทางตรัสรู้ พระองค์จึงกลับมาเสวยอาหารดังเดิมและทรงเริ่มบำเพ็ญเพียรทางจิตต่อไป ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในวันตรัสรู้พระองค์ได้ประทับนั่งขัดสมาธิณ ควงไม้พระศรีมหาโพธิ์ หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออกแล้วทรงอธิฐานพระทัย (จาตุรงคมหาปธาน) ว่า “จักไม่ลุกขึ้นจากที่นี้ตราบใดที่ยังไม่ได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณแม้ว่าเนื้อและเลือดจะเหือดแห้งไปจนเหลือเพียงหนังหุ้มกระดูกก็ตามที”
ปฐมยาม ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุสสติญาณสามารถระลึกชาติได้เป็นเหตุให้ทรงหยั่งรู้อัตภาพขันธสังขารว่าเป็นเพียงสภาวะอย่างหนึ่งเท่านั้นรวมกันเข้าเป็นขันธ์เป็นผลให้ทรงกำจัดความหลงในขันธ์ (นามรูป) อันเป็นเหตุรักและชังเสียได้
มัชฌิมยามทรงบรรลุจุตูปปาตญาณ (ทิพพจักษุญาณ) ทรงมองเห็นการจุติ (ดับ) และการเกิดของมวลสัตว์ได้ เป็นเหตุให้ทรงหยั่งรู้ว่าขันธ์ขันธ์ (รูปนาม) เป็นไปตามอำนาจแห่งธรรมดาเป็นสัตว์บุคคลในเบื้องต้นแปรปรวนในท่ามกลางแตกสลายไปในที่สุดเหมือนกันหมด จะมีเลว ดี ทุกข์ สุข ก็เพราะกรรมที่ทำเอาไว้ เป็นผลให้ทรงกำจัดความหลงในคติแห่งขันธ์ อันเป็นเหตุสำคัญผิดด้วยประการต่างๆ เสียได้
ปัจฉิมยามทรงบรรลุอาสวักขยญาณ ปัญญาหยั่งรู้เป็นเหตุสิ้นไปแห่งอาสวะเครื่องเศร้าหมองอันหมักหมมอยู่ในจิตสันดานเป็นเหตุให้ทรงหยั่งรู้ขันธ์พร้อมทั้งอาการโดยความเป็นเหตุเป็นผลสืบต่อเนื่องติดต่อกันไปเหมือนลูกโซ่ซึ่งคล้องเกี่ยวกันเป็นสายทรงเรียกว่าอิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาทซึ่งก็ทรงรู้อริยสัจ 4 เป็นต้นเป็นผลให้พระองค์ทรงรู้และเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างจนสามารถบรรลุถึงความบริสุทธิ์สิ้นเชิงสำเร็จสมพระมโนปณิธานทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 6 ปี ทรงบรรลุธรรมเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ 35 ชันษา
พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้เองชอบได้ด้วยพระองค์เอง “อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลก” พระองค์จึงมีนามพิเศษ ว่า อรหํ (อะระหัง) และสัมมาสัมพุทโธ ทรงได้พระนามว่า อรหํ เพราะพระองค์เป็นผู้ควรและเป็นผู้บริสุทธิ์ ไกลจากกิเลส ทรงได้พระนามว่า สัมมาสัมพุทโธ เพราะพระองค์ตรัสรู้ได้ตามลำพังพระองค์เอง
จากนั้นพระองค์ทรงบำเพ็ญพุทธกิจออกสั่งสอนเผยแผ่สัจธรรมพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5ได้แก่ พระโกณฑัญญะ, พระวัปปะ, พระมหานามะ, พระภัททิยะ, และอัสสชิได้บรรลุพระอรหันต์ เป็นต้น
พระพุทธองค์ปรินิพานหลังจากพระพุทธองค์ได้ทรงเผยแผ่สัจธรรมคำสอนอยู่ 45 พรรษาทำให้พุทธสาวกบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน, พระสกทาคามี, พระอนาคามี, และพระอรหันต์เป็นจำนวนมากจนสามารถตั้งพระพุทธศาสนา (พระธรรมวินัย) ลงในประเทศอินเดียเป็นปึกแผ่นและพระพุทธองค์ได้ตรัสกับเหล่าภิกษุทั้งหลายเป็นครั้งสุดท้ายว่า “หันททานิ ภิกขะเว อามันตะยามิโว วะยะธัมมา สังขารา อัปปะมาเทนะสัมปาเทถะ” แปลความว่า“ดูก่อนภิกษุทั้งหลายบัดนี้เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่าสังขารทั้งปวงล้วนมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด” พระพุทธองค์ทรงดับขันธ์ปรินิพพาน เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ วันเพ็ญเดือน 6 ณ ตำบลสาลวโนทยานนครกุสินารารัฐมัลละ
นัยสำคัญที่สองพิจารณาตามนัยปรมัตถธรรมการประสูติ ตรัสรู้ปรินิพพานเกิดขึ้นพร้อมกันในวันเวลานาที เดือน ปี เดียวกันการประสูติ (การเกิดขึ้นของสภาวะพระพุทธเจ้า) ตรัสรู้ (การรู้แจ้งในขันธ์ 5) และปรินิพพาน (การดับสิ้นกิเลสโดยรอบ) หลังจากบำเพ็ญเพียรมาแล้ว 6 ปี คือเกิดขึ้นพร้อมกันในวันใกล้รุ่งขึ้น 15 ค่ำวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธกาล 45 ปี สภาวะพระพุทธเจ้ามีพระชนมายุเพียง 45 พรรษา ส่วนอีก 35 พรรษา ในช่วงแรกเป็นพระชนมายุของเจ้าชายสิทธัตถะพระมหาโพธิสัตว์
พระพุทธองค์ตรัสปรารภการบูชาว่า “บุคคลผู้ทำการสักการบูชาตถาคต (พระพุทธเจ้าทรงเรียกพระองค์เองว่าตถาคต) ด้วยอามิสบูชา หาชื่อว่าเป็นการบูชาอย่างยิ่งและหาแท้จริงไม่“หากแต่บุคคลใดศึกษาและประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนนี้แลจึงชื่อว่าเป็นการบูชาตถาคตอย่างแท้จริง”
ดังนั้น การบูชาอย่างแท้จริงของชาวพุทธศาสนิกชนในวันวิสาขบูชา ก็คือการศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนาภาวนามุ่งให้รู้แจ้งตามความเป็นจริงว่าขันธ์ 5 ย่อลงเหลือนามรูป หรือจิตกับกาย (ความคิดปรุงแต่งที่เป็นกุศล อกุศล และกลางๆ) และสิ่งทั้งหลายรอบตัวเราได้แก่รูป, เสียง, กลิ่น, ลิ้น, รส, สัมผัส, และธรรมารมณ์ วัตถุสิ่งของทั้งมวลตกอยู่ในอำนาจกฎไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง (ไม่เที่ยง) ทุกขัง (เป็นทุกข์) อนัตตา (ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน) ดูรูปประกอบ
สิ่งปรุงแต่งคือนิวรณ์ 5 (สิ่งที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม ได้แก่ความลุ่มหลงในกามคุณ, ความคิดร้าย, ความหดหู่และเซื่องซึม, ความฟุ้งซ่านร้อนใจ, ความลังเลสงสัย และความคิดปรุงแต่งเป็นกุศลอกุศลและเฉยๆ สังขารทั้งปวงรูปและนาม เกิดขึ้นในเบื้องต้นแปรปรวนในท่ามกลางและดับไปในที่สุด ไม่มีตัวตนไร้แก่นสาร“สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งมวลนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา”เมื่อไม่ติดยึดในสังขารทั้งปวงจิตก็จะผ่องใส บริสุทธิ์ผุดผ่องดังเดิม จิตเป็นประภัสสร
เมื่อรู้แจ้งจริงตามความเป็นจริงอย่างนี้ซ้ำๆๆๆๆ จึงหน่ายในสังขารทั้งปวงและหาทางอิสระจากสังขารทั้งปวง (สิ่งปรุงแต่งทั้งปวง) หมายความว่าอยู่กับสังขารแต่ไม่ยึดติดในสังขาร ประดุจหยดน้ำบนใบบัว “สังขารทั้งปวงนั้นไม่เที่ยงมันร้อยเรียงแปรปรวนทุกขณะสังขารทั้งปวงเป็นทุกขะธรรมะทั้งปวง (อสังขตธรรมและสังขตธรรม) เป็นอนัตตาแจ้งจริงจึงหน่ายในสังขารละอุปาทานได้เสียสิ้นจิตสิ้นราคิน (ราคะ) จึงวางเฉยแจ้งจริงแท้แน่เอยเปิดเผยอิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท, อริยสัจ 4, อิทัปปัจยตา” เป็นต้น
ชาวพุทธทั้งหลายสามารถปฏิบัติถวายเป็นพระพุทธบูชาวันหนึ่งๆ ได้เป็นร้อยครั้ง พันครั้งเพียงหายใจเข้าออกทุกครั้ง ให้มีสติสัมปชัญญะให้เห็นนามรูป ให้รู้แจ้งเห็นไตรลักษณ์อนิจจังทุกขังอนัตตาตามเป็นจริงว่าสังขารทั้งปวงหาแก่นสารไม่ได้จึงได้ชื่อว่าเป็นการปฏิบัติบูชาอย่างแท้จริงและได้ประโยชน์เกิดปัญญาอันยิ่งรู้เท่าทันเป็นมรรค เป็นผล เป็นสันติสุขแห่งตนอย่างแท้จริง และจะเป็นผลให้ครอบครัว สังคม ประเทศชาติ และโลกเกิดสันติภาพขึ้นมาได้
ในท้ายที่สุดก็คนดีมีศีลธรรมไม่ยอมให้มีระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญ ทุกรัฐบาล เอาแต่ปล้นชาติ ปล้นประชาชนซ้ำแล้วซ้ำเล่าผู้มีปัญญา พสกนิกรต้องร่วมกันต่อต้านขัดขวางระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญให้ถึงที่สุดด้วยการเรียกศึกษา เรียกร้อง ผลักดัน ขอพระราชทานหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 มีเพียงทางเดียวนี้เท่านั้นราชอาณาจักรจะพ้นภ้ยและแข็งแกร่งมั่นคงยั่งยืนตลอดไป
ทุกข์ คือ ความทุกข์ยาก ยากจนข้นแค้นของประชาชน ตกเป็นทาสทางการเมืองของนักการเมือง โดยความไม่รู้ และไหลไปตามกระบวนการของกฎหมาย ที่พวกนักการเมืองเลวทรามบัญญัติไว้อย่างเอาเปรียบ กดขี่ ดุจน้ำไหลคดไปตามคลองคด ฉันนั้น
สมุทัย คือ เหตุแห่งความเลวร้ายทั้งปวงของชาติและประชาชนคือ ระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญอันเป็นเหตุเลว (หลอกว่าเป็นระบอบประชาธิปไตย) เมื่อมีเหตุเลว ก็ย่อมมีผลเลว ได้มีผล หรือเงา หรือปรากฏการณ์คือพรรคการเมืองเลว นักการเมืองเลว ทุนผูกขาด การกระชับรวมศูนย์ทุน ทุกคนเห็นภาพ “อัปรีย์ไป-จัญไรมา” จะกี่รัฐธรรมนูญ จะกี่รัฐบาล ก็แก้ไขเหตุวิกฤตชาติไม่ได้ หากไม่มีมรรคที่ถูกต้อง
นิโรธความดับทุกข์ของแผ่นดิน คือปฏิวัติ คือ การสถาปนาหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 อันเป็นพระราชทานหลักการปกครองโดยธรรมทางการเมืองอย่างแท้จริง เป็นระบอบการเมืองของปวงชนอย่างแท้จริง เปิดเผย กระจ่างแจ้งแก่ปวงชน
มรรค คือ เหล่าปัญญาชน พสกนิกร ศึกษา เข้าใจหลักการปกครองธรรมาธิปไตยอย่างถ่องแท้แล้ว ร่วมกันเสนอ ร่วมกันขอพระราชทานหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 ง่ายๆ ไม่ยากเลยก็แค่นี้เอง ช่วยกันแชร์เถิดเพื่อความมั่นคงของชาติและราชอาณาจักร ชั่วกัลปาวสาน
แนวทางถูก เห็นถูกทำถูก โค่นเผด็จการรัฐธรรมนูญ คือ โค่นนักการเมืองเลว ปล้นชาติ (ทุกพรรค)
แนวทางผิด แก้ปลายเหตุ โค่นทักษิณ คือโค่นเงาของระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญหลอกประชาชนไปโค่นฝ่ายตรงข้าม
แนวทางผิด โค่นระบอบเผด็จการรัฐสภา คือโค่นเงาของระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญ
แนวทางถูก ไม่หลอกลวงคือ ช่วยผลักดัน เสนอสถาปนาหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 (ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์) เท่านั้นคือแนวทางแห่งชัยชนะของปวงชนอย่างแท้จริง
ระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นระบอบเผด็จการของนักการเมืองเพียงหยิบมือเดียว จะสูญสิ้นไปอย่างง่ายดาย เมื่อสถาปนาหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 เข้ามาแทนที่ นี่คือการตอบสนองชาติ และปวงชนอย่างแท้จริง นี่คือแนวทางถูกต้องยิ่งใหญ่ของราชอาณาจักรไทย ซึ่งพสกนิกรได้ร่วมมือกับพระเจ้าแผ่นดินด้วยการ ทรงพระเจริญ ปวงข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย “ขอพระราชทานหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9”
วันวิสาขบูชาขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือวันเพ็ญเดือน 6 ซึ่งตรงกับวันประสูติ ตรัสรู้ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า พุทธศาสนิกชนทั่วโลกได้แสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณของโลกและเป็นวันสำคัญของปวงชนชาวไทยมาหลายร้อยปีพระมหากษัตริย์รัฐบาลและประชาชนให้ความสำคัญถือเป็นวันหยุดทางราชการเพื่อให้พี่น้องพุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้น้อมรำลึกปฏิบัติบูชาต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
วันวิสาขบูชาเป็นวันประสูติตรัสรู้ปรินิพพานเป็นความมหัศจรรย์ยิ่งใหญ่ 2 นัยสำคัญ
นัยสำคัญที่หนึ่ง พระพุทธเจ้ามีนามเดิมว่าสิทธัตถะเป็นพระโอรสในพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์ศากยวงศ์แห่งกรุงกบิลพัสดุ์และพระนางสิริมหามายาพระธิดาในพระเจ้าอัญชนะกษัตริย์โลลิยวงศ์แห่งกรุงเทวทหะทรงประสูติเมื่อวันศุกร์วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ปีจอเวลาใกล้เที่ยงใต้ต้นไม้รังหรือสาละแห่งลุมพินีวันก่อนพุทธศักราช 80 ปี
เป็นธรรมดาพระโพธิสัตว์อุบัติขึ้นมาเพื่อเป็นประโยชน์สุขแก่มวลมนุษยชาติย่อมต้องมีอภินิหารเป็นธรรมดา ขณะประสูติมีเทวดามาคอยรับพอประสูติแล้วทรงดำเนินไปได้ 7 ก้าวขณะที่ทรงดำเนินไปได้ 7 ก้าวก็ทรงหยุดอยู่เพียงเท่านั้นแล้วทรงเปล่งอาสภิวาจา คือประกาศพระองค์ว่าเป็นเอกในโลก ว่า
“อัคโคหะมัสมิ โลกัสสะเชฏโฐ เสฏโฐหะมัสมิ
อะยะมันติมาเมชาตินัตถิทานิปุนัพภะโว”
แปลความว่า“ในโลกนี้เราเป็นหนึ่ง เราเป็นยอด เราเป็นเลิศประเสริฐที่สุด การเกิดครั้งนี้ของเรา เป็นครั้งสุดท้าย ภพใหม่ต่อไปอีกไม่มีสำหรับเรา”
การตรัสรู้เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้เสด็จออกบวชเมื่อพระชนมายุ 29 ชันษาได้ละทิ้งราชสมบัติกามสุขทางโลกเพื่อแสวงหาโมกขธรรมเพื่อความหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดและพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวงได้ไปศึกษายังสำนักของอาฬารดาบส กาลามโคตรและอุททกดาบส รามบุตรมหาชนในสมัยนั้นถือกันว่าเป็นคณาจารย์ผู้มีความรู้อันยอดเยี่ยมทรงใช้เวลาไม่นานก็ได้สำเร็จสมาบัติ 8 ได้แก่ รูปญาน 4 และอรูปญาน 4
ทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางที่จะตรัสรู้ได้จึงได้บำเพ็ญทุกรกิริยาด้วยการบำเพ็ญเพียรทรมานตนต่างๆ อันยากที่ใครๆ จะทำได้เช่นกดพระทนต์ด้วยพระทนต์ (ฟัน) ทรงผ่อนกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ คือกลั่นลมหายใจทรงอดอาหารเสวยแต่วันละน้อยๆ จนพระวรกายเหี่ยวแห้งทรงลูบพระวรกายเส้นพระโลมาก็ร่วงหลุด
กระทั่งทรงเห็นว่าการทรมานกายอย่างนี้ (อัตตะกิละมะถานุโยค) ไม่ใช่ทางตรัสรู้ พระองค์จึงกลับมาเสวยอาหารดังเดิมและทรงเริ่มบำเพ็ญเพียรทางจิตต่อไป ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในวันตรัสรู้พระองค์ได้ประทับนั่งขัดสมาธิณ ควงไม้พระศรีมหาโพธิ์ หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออกแล้วทรงอธิฐานพระทัย (จาตุรงคมหาปธาน) ว่า “จักไม่ลุกขึ้นจากที่นี้ตราบใดที่ยังไม่ได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณแม้ว่าเนื้อและเลือดจะเหือดแห้งไปจนเหลือเพียงหนังหุ้มกระดูกก็ตามที”
ปฐมยาม ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุสสติญาณสามารถระลึกชาติได้เป็นเหตุให้ทรงหยั่งรู้อัตภาพขันธสังขารว่าเป็นเพียงสภาวะอย่างหนึ่งเท่านั้นรวมกันเข้าเป็นขันธ์เป็นผลให้ทรงกำจัดความหลงในขันธ์ (นามรูป) อันเป็นเหตุรักและชังเสียได้
มัชฌิมยามทรงบรรลุจุตูปปาตญาณ (ทิพพจักษุญาณ) ทรงมองเห็นการจุติ (ดับ) และการเกิดของมวลสัตว์ได้ เป็นเหตุให้ทรงหยั่งรู้ว่าขันธ์ขันธ์ (รูปนาม) เป็นไปตามอำนาจแห่งธรรมดาเป็นสัตว์บุคคลในเบื้องต้นแปรปรวนในท่ามกลางแตกสลายไปในที่สุดเหมือนกันหมด จะมีเลว ดี ทุกข์ สุข ก็เพราะกรรมที่ทำเอาไว้ เป็นผลให้ทรงกำจัดความหลงในคติแห่งขันธ์ อันเป็นเหตุสำคัญผิดด้วยประการต่างๆ เสียได้
ปัจฉิมยามทรงบรรลุอาสวักขยญาณ ปัญญาหยั่งรู้เป็นเหตุสิ้นไปแห่งอาสวะเครื่องเศร้าหมองอันหมักหมมอยู่ในจิตสันดานเป็นเหตุให้ทรงหยั่งรู้ขันธ์พร้อมทั้งอาการโดยความเป็นเหตุเป็นผลสืบต่อเนื่องติดต่อกันไปเหมือนลูกโซ่ซึ่งคล้องเกี่ยวกันเป็นสายทรงเรียกว่าอิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาทซึ่งก็ทรงรู้อริยสัจ 4 เป็นต้นเป็นผลให้พระองค์ทรงรู้และเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างจนสามารถบรรลุถึงความบริสุทธิ์สิ้นเชิงสำเร็จสมพระมโนปณิธานทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 6 ปี ทรงบรรลุธรรมเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ 35 ชันษา
พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้เองชอบได้ด้วยพระองค์เอง “อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลก” พระองค์จึงมีนามพิเศษ ว่า อรหํ (อะระหัง) และสัมมาสัมพุทโธ ทรงได้พระนามว่า อรหํ เพราะพระองค์เป็นผู้ควรและเป็นผู้บริสุทธิ์ ไกลจากกิเลส ทรงได้พระนามว่า สัมมาสัมพุทโธ เพราะพระองค์ตรัสรู้ได้ตามลำพังพระองค์เอง
จากนั้นพระองค์ทรงบำเพ็ญพุทธกิจออกสั่งสอนเผยแผ่สัจธรรมพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5ได้แก่ พระโกณฑัญญะ, พระวัปปะ, พระมหานามะ, พระภัททิยะ, และอัสสชิได้บรรลุพระอรหันต์ เป็นต้น
พระพุทธองค์ปรินิพานหลังจากพระพุทธองค์ได้ทรงเผยแผ่สัจธรรมคำสอนอยู่ 45 พรรษาทำให้พุทธสาวกบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน, พระสกทาคามี, พระอนาคามี, และพระอรหันต์เป็นจำนวนมากจนสามารถตั้งพระพุทธศาสนา (พระธรรมวินัย) ลงในประเทศอินเดียเป็นปึกแผ่นและพระพุทธองค์ได้ตรัสกับเหล่าภิกษุทั้งหลายเป็นครั้งสุดท้ายว่า “หันททานิ ภิกขะเว อามันตะยามิโว วะยะธัมมา สังขารา อัปปะมาเทนะสัมปาเทถะ” แปลความว่า“ดูก่อนภิกษุทั้งหลายบัดนี้เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่าสังขารทั้งปวงล้วนมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด” พระพุทธองค์ทรงดับขันธ์ปรินิพพาน เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ วันเพ็ญเดือน 6 ณ ตำบลสาลวโนทยานนครกุสินารารัฐมัลละ
นัยสำคัญที่สองพิจารณาตามนัยปรมัตถธรรมการประสูติ ตรัสรู้ปรินิพพานเกิดขึ้นพร้อมกันในวันเวลานาที เดือน ปี เดียวกันการประสูติ (การเกิดขึ้นของสภาวะพระพุทธเจ้า) ตรัสรู้ (การรู้แจ้งในขันธ์ 5) และปรินิพพาน (การดับสิ้นกิเลสโดยรอบ) หลังจากบำเพ็ญเพียรมาแล้ว 6 ปี คือเกิดขึ้นพร้อมกันในวันใกล้รุ่งขึ้น 15 ค่ำวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธกาล 45 ปี สภาวะพระพุทธเจ้ามีพระชนมายุเพียง 45 พรรษา ส่วนอีก 35 พรรษา ในช่วงแรกเป็นพระชนมายุของเจ้าชายสิทธัตถะพระมหาโพธิสัตว์
พระพุทธองค์ตรัสปรารภการบูชาว่า “บุคคลผู้ทำการสักการบูชาตถาคต (พระพุทธเจ้าทรงเรียกพระองค์เองว่าตถาคต) ด้วยอามิสบูชา หาชื่อว่าเป็นการบูชาอย่างยิ่งและหาแท้จริงไม่“หากแต่บุคคลใดศึกษาและประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนนี้แลจึงชื่อว่าเป็นการบูชาตถาคตอย่างแท้จริง”
ดังนั้น การบูชาอย่างแท้จริงของชาวพุทธศาสนิกชนในวันวิสาขบูชา ก็คือการศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนาภาวนามุ่งให้รู้แจ้งตามความเป็นจริงว่าขันธ์ 5 ย่อลงเหลือนามรูป หรือจิตกับกาย (ความคิดปรุงแต่งที่เป็นกุศล อกุศล และกลางๆ) และสิ่งทั้งหลายรอบตัวเราได้แก่รูป, เสียง, กลิ่น, ลิ้น, รส, สัมผัส, และธรรมารมณ์ วัตถุสิ่งของทั้งมวลตกอยู่ในอำนาจกฎไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง (ไม่เที่ยง) ทุกขัง (เป็นทุกข์) อนัตตา (ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน) ดูรูปประกอบ
สิ่งปรุงแต่งคือนิวรณ์ 5 (สิ่งที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม ได้แก่ความลุ่มหลงในกามคุณ, ความคิดร้าย, ความหดหู่และเซื่องซึม, ความฟุ้งซ่านร้อนใจ, ความลังเลสงสัย และความคิดปรุงแต่งเป็นกุศลอกุศลและเฉยๆ สังขารทั้งปวงรูปและนาม เกิดขึ้นในเบื้องต้นแปรปรวนในท่ามกลางและดับไปในที่สุด ไม่มีตัวตนไร้แก่นสาร“สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งมวลนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา”เมื่อไม่ติดยึดในสังขารทั้งปวงจิตก็จะผ่องใส บริสุทธิ์ผุดผ่องดังเดิม จิตเป็นประภัสสร
เมื่อรู้แจ้งจริงตามความเป็นจริงอย่างนี้ซ้ำๆๆๆๆ จึงหน่ายในสังขารทั้งปวงและหาทางอิสระจากสังขารทั้งปวง (สิ่งปรุงแต่งทั้งปวง) หมายความว่าอยู่กับสังขารแต่ไม่ยึดติดในสังขาร ประดุจหยดน้ำบนใบบัว “สังขารทั้งปวงนั้นไม่เที่ยงมันร้อยเรียงแปรปรวนทุกขณะสังขารทั้งปวงเป็นทุกขะธรรมะทั้งปวง (อสังขตธรรมและสังขตธรรม) เป็นอนัตตาแจ้งจริงจึงหน่ายในสังขารละอุปาทานได้เสียสิ้นจิตสิ้นราคิน (ราคะ) จึงวางเฉยแจ้งจริงแท้แน่เอยเปิดเผยอิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท, อริยสัจ 4, อิทัปปัจยตา” เป็นต้น
ชาวพุทธทั้งหลายสามารถปฏิบัติถวายเป็นพระพุทธบูชาวันหนึ่งๆ ได้เป็นร้อยครั้ง พันครั้งเพียงหายใจเข้าออกทุกครั้ง ให้มีสติสัมปชัญญะให้เห็นนามรูป ให้รู้แจ้งเห็นไตรลักษณ์อนิจจังทุกขังอนัตตาตามเป็นจริงว่าสังขารทั้งปวงหาแก่นสารไม่ได้จึงได้ชื่อว่าเป็นการปฏิบัติบูชาอย่างแท้จริงและได้ประโยชน์เกิดปัญญาอันยิ่งรู้เท่าทันเป็นมรรค เป็นผล เป็นสันติสุขแห่งตนอย่างแท้จริง และจะเป็นผลให้ครอบครัว สังคม ประเทศชาติ และโลกเกิดสันติภาพขึ้นมาได้
ในท้ายที่สุดก็คนดีมีศีลธรรมไม่ยอมให้มีระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญ ทุกรัฐบาล เอาแต่ปล้นชาติ ปล้นประชาชนซ้ำแล้วซ้ำเล่าผู้มีปัญญา พสกนิกรต้องร่วมกันต่อต้านขัดขวางระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญให้ถึงที่สุดด้วยการเรียกศึกษา เรียกร้อง ผลักดัน ขอพระราชทานหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 มีเพียงทางเดียวนี้เท่านั้นราชอาณาจักรจะพ้นภ้ยและแข็งแกร่งมั่นคงยั่งยืนตลอดไป