**ส่อเค้าว่าจะไม่มีนักการเมืองจากพรรคใหญ่เข้าร่วมเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 119/2557 ว่าด้วยหลักเกณฑ์การเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ที่ตอนหนึ่งระบุว่า การเสนอชื่อบุคคลเพื่อรับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้องให้นิติบุคคลซึ่งไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไรมาแบ่งปันกันเป็นผู้เสนอชื่อ
“จึงเห็นควรกำหนดว่า กรณีนิติบุคคลที่เป็นพรรคการเมืองประสงค์จะเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติให้หัวหน้าพรรคการเมืองนั้นเป็นผู้เสนอชื่อ”
นอกจากประกาศฉบับดังกล่าวแล้ว พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ไปสำทับไว้ในการพูดในรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ”เมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา ที่มีใจความตอนหนึ่งได้วิงวอนขอความร่วมมือกับนักการเมือง พรรคการเมือง ให้เข้ามาร่วมกับเรื่องการวางแนวทางการปฏิรูปไว้ด้วย
สำหรับประกาศ คสช.ฉบับดังกล่าว ที่ไม่ได้มีสภาพบังคับตามกฎหมายเป็นแค่การขยายความพระราชกฤษฏีกา ว่าด้วยสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ. 2557 ให้มีความชัดเจนมากขึ้นว่า หากพรรคการเมืองจะเสนอชื่อคนเข้าร่วมเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้องทำโดยให้หัวหน้าพรรคเป็นคนเสนอชื่อ ผนวกกับคำเชิญชวนของ “บิ๊กตู่” ข้างต้นทั้งหมด มีนัยยะคือ
การขอความร่วมมือให้ทุกพรรคการเมืองที่จดทะเบียนอยู่กับคณะกรรมการการเลือกตั้งเวลานี้ ได้ส่งคนมาร่วมในกระบวนการสรรหา และคัดเลือกคนเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) นั่นเอง
แต่เมื่อสองพรรคใหญ่ “ประชาธิปัตย์-เพื่อไทย”ปฏิเสธจะร่วมสังฆกรรมด้วยกับคสช. เพื่อส่งคนไปเป็นสปช. คงมีแต่บางพรรค เช่น ภูมิใจไทย ที่มี อนุทิน ชาญวีรกูล เป็นหัวหน้าพรรค หรือ พรรคพลังชล ของ สนธยา คุณปลื้ม ออกมาบอกว่า พร้อมให้ความร่วมมือ
เมื่อทั้ง ประชาธิปัตย์–เพื่อไทย ปฏิเสธไม่ร่วมด้วย ประกาศ คสช. ฉบับที่ 119 และตัว พลเอกประยุทธ์ ที่ออกมาขอความร่วมมือดังกล่าว ก็หงายเงิบไป เสมือนพลเอกประยุทธ์ ไร้ความหมายทางการเมือง
**ว่าไปแล้วเท่าที่เช็กกระแสสังคม พบว่า ต่างเห็นด้วยกับการที่ พรรคการเมืองปฏิเสธไม่เข้าร่วมในกระบวนการเลือก สปช.
เพราะมองว่า นักการเมือง-พรรคการเมือง คือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางการเมืองโดยตรงกับการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เป็นคนที่จะต้องอยู่ในเกมการเมืองเมื่อมีการบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร เมื่อดูจากอำนาจหน้าที่ของสปช. จะเห็นได้ว่า เกี่ยวข้องกับ ร่าง รธน.ฉบับถาวรตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการที่สภาปฏิรูปฯ ต้องไปศึกษา และวางแนวทางการปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ เช่น การเมือง กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม สื่อมวลชน พลังงาน จากนั้นก็นำแนวทางต่างๆ ส่งไปให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
อีกทั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติ ก็ได้โควต้าส่งคนไปเป็นกมธ.ยกร่าง รธน. มากที่สุดคือ 20 คน จาก 36 คน จะกุมเสียงข้างมากใน กมธ.ได้แล้ว ที่สำคัญ สภาปฏิรูปฯ คือผู้ลงมติว่า จะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ร่าง รธน.ฉบับใหม่ ที่กมธ.ยกร่างรธน.ไปยกร่างมาหรือไม่ หากสภาปฏิรูปฯไม่เห็นชอบ ทุกอย่างก็ต้องไปนับหนึ่งใหม่อีก
สมาชิกสภาปฏิรูปฯ จึงเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเมืองไทยหลังจากนี้ค่อนข้างมาก เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการทำคลอด และเห็นชอบร่างรธน.ฉบับใหม่ ที่จะเป็นกติกาการเมืองต่อไป
**หลายคนจึงเห็นว่า ไม่สมควรที่จะให้นักการเมือง พรรคการเมือง มีส่วนร่วมในกระบวนการนี้ เพื่อให้กระบวนการปฏิรูป และการยกร่าง รธน. ปลอดจากการเมืองให้มากที่สุด
พบว่าสองพรรคใหญ่ เพื่อไทย-ประชาธิปัตย์ ก็พยายามจะโหนเหตุผลข้างต้นอธิบายต่อสังคมถึงการไม่ส่งคนไปร่วมในกระบวนการเลือกสปช.
แม้ในความเป็นจริงแล้วบางฝ่ายในสองพรรคใหญ่นี้ โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย ดูจะเชื่อตรงกันว่า ที่ไม่อยากไปร่วมสังฆกรรมก็เพราะรู้ดีว่า ร่วมไปก็เท่านั้น เพราะจะเป็นการไปสร้างความชอบธรรมให้กับ คสช. ว่าดึงทุกฝ่ายมาร่วมวงคัดเลือก สปช.ได้ทุกพรรค พร้อมร่วมวงปรองดอง-ปฏิรูป
**แต่ถึงเวลาเลือก สปช.จริงๆ ทาง คสช. ที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จเลือก สปช.ได้ทั้งหมด 250 คน ก็ต้องเลือกคนของตัวเองอยู่แล้ว ยากจะเลือกคนของพรรคการเมืองไปร่วมเป็นสมาชิก สปช. 250 คน โดยเฉพาะฝ่าย เพื่อไทย-เสื้อแดง
**ดังนั้นขืนไปร่วมวงด้วย มีแต่เสียมากกว่า
แต่เพื่อไม่ให้มีปัญหามาก ก็ต้องหาเหตุผลมาอ้างให้มันดูไม่ชนกับคสช.มากไป เช่น บอกว่า ประกาศ คสช. ล็อกไม่ให้พรรคการเมืองทำกิจกรรม ไม่ให้มีการประชุมพรรค แล้วจะไปมีมติส่งคนไปร่วมคัดเลือกเป็น สปช.ได้อย่างไร หัวหน้าพรรคจะเสนอชื่อใครได้ ต้องถามมติพรรคก่อน ก็หาเหตุแบบนี้มาอ้างกันไปก่อน
อย่างไรก็ตาม ประเด็นเรื่องพรรคการเมืองควรส่งคนไปร่วมกระบวนการเลือก สปช. ด้วยหรือไม่ ก็มีข้อโต้แย้งในเชิงสนับสนุนประกาศของ คสช. ที่ให้หัวหน้าพรรคการเมืองส่งคนมาร่วมเป็น สปช. ด้วยเหตุว่า นักการเมือง พรรคการเมือง คือตัวการสำคัญในการทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง หากจะทำให้ปัญหานี้จบ ก็ต้องให้นักการเมืองมีส่วนร่วม อีกทั้งนักการเมืองมีประสบการณ์โดยตรงกับเรื่องการเมือง กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม รวมถึงเรื่องอื่นๆ ก็ควรใช้ประสบการณ์ความเห็นของนักการเมืองให้เป็นประโยชน์ ในการมาเสนอข้อคิดเห็นต่อ สปช. เพื่อจะได้ออกแบบรัฐธรรมนูญมาให้ดีที่สุด เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย
โดยเฉพาะนักการเมือง พรรคการเมือง เพื่อว่าจะได้ไม่มีปัญหาในภายหลัง เพราะหากไม่เข้ามาร่วม แล้วยกร่าง รธน.กันออกมา พวกนักการเมืองก็จะมาหาเหตุมาขอแก้ไขรัฐธรรมนูญกันอีก แล้วก็จะเกิดกระแสต่อต้านการแก้ไข รธน.กันอีก สุดท้ายปัญหาก็จะวนกลับมาที่จุดเดิมอีก
** ความเห็นต่างเรื่องพรรคการเมือง ควรมีส่วนร่วมในการกระบวนการปฏิรูปยก ร่าง รธน.ฉบับใหม่หรือไม่ เวลานี้ เป็นแค่ จุดเริ่มต้น ของกระบวนการยก ร่าง รธน.ฉบับใหม่ กว่าจะทำกันเสร็จ คงมีเรื่องวุ่นวายตามมาตลอดทาง
ที่ตอนหนึ่งระบุว่า การเสนอชื่อบุคคลเพื่อรับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้องให้นิติบุคคลซึ่งไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไรมาแบ่งปันกันเป็นผู้เสนอชื่อ
“จึงเห็นควรกำหนดว่า กรณีนิติบุคคลที่เป็นพรรคการเมืองประสงค์จะเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติให้หัวหน้าพรรคการเมืองนั้นเป็นผู้เสนอชื่อ”
นอกจากประกาศฉบับดังกล่าวแล้ว พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ไปสำทับไว้ในการพูดในรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ”เมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา ที่มีใจความตอนหนึ่งได้วิงวอนขอความร่วมมือกับนักการเมือง พรรคการเมือง ให้เข้ามาร่วมกับเรื่องการวางแนวทางการปฏิรูปไว้ด้วย
สำหรับประกาศ คสช.ฉบับดังกล่าว ที่ไม่ได้มีสภาพบังคับตามกฎหมายเป็นแค่การขยายความพระราชกฤษฏีกา ว่าด้วยสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ. 2557 ให้มีความชัดเจนมากขึ้นว่า หากพรรคการเมืองจะเสนอชื่อคนเข้าร่วมเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้องทำโดยให้หัวหน้าพรรคเป็นคนเสนอชื่อ ผนวกกับคำเชิญชวนของ “บิ๊กตู่” ข้างต้นทั้งหมด มีนัยยะคือ
การขอความร่วมมือให้ทุกพรรคการเมืองที่จดทะเบียนอยู่กับคณะกรรมการการเลือกตั้งเวลานี้ ได้ส่งคนมาร่วมในกระบวนการสรรหา และคัดเลือกคนเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) นั่นเอง
แต่เมื่อสองพรรคใหญ่ “ประชาธิปัตย์-เพื่อไทย”ปฏิเสธจะร่วมสังฆกรรมด้วยกับคสช. เพื่อส่งคนไปเป็นสปช. คงมีแต่บางพรรค เช่น ภูมิใจไทย ที่มี อนุทิน ชาญวีรกูล เป็นหัวหน้าพรรค หรือ พรรคพลังชล ของ สนธยา คุณปลื้ม ออกมาบอกว่า พร้อมให้ความร่วมมือ
เมื่อทั้ง ประชาธิปัตย์–เพื่อไทย ปฏิเสธไม่ร่วมด้วย ประกาศ คสช. ฉบับที่ 119 และตัว พลเอกประยุทธ์ ที่ออกมาขอความร่วมมือดังกล่าว ก็หงายเงิบไป เสมือนพลเอกประยุทธ์ ไร้ความหมายทางการเมือง
**ว่าไปแล้วเท่าที่เช็กกระแสสังคม พบว่า ต่างเห็นด้วยกับการที่ พรรคการเมืองปฏิเสธไม่เข้าร่วมในกระบวนการเลือก สปช.
เพราะมองว่า นักการเมือง-พรรคการเมือง คือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางการเมืองโดยตรงกับการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เป็นคนที่จะต้องอยู่ในเกมการเมืองเมื่อมีการบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร เมื่อดูจากอำนาจหน้าที่ของสปช. จะเห็นได้ว่า เกี่ยวข้องกับ ร่าง รธน.ฉบับถาวรตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการที่สภาปฏิรูปฯ ต้องไปศึกษา และวางแนวทางการปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ เช่น การเมือง กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม สื่อมวลชน พลังงาน จากนั้นก็นำแนวทางต่างๆ ส่งไปให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
อีกทั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติ ก็ได้โควต้าส่งคนไปเป็นกมธ.ยกร่าง รธน. มากที่สุดคือ 20 คน จาก 36 คน จะกุมเสียงข้างมากใน กมธ.ได้แล้ว ที่สำคัญ สภาปฏิรูปฯ คือผู้ลงมติว่า จะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ร่าง รธน.ฉบับใหม่ ที่กมธ.ยกร่างรธน.ไปยกร่างมาหรือไม่ หากสภาปฏิรูปฯไม่เห็นชอบ ทุกอย่างก็ต้องไปนับหนึ่งใหม่อีก
สมาชิกสภาปฏิรูปฯ จึงเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเมืองไทยหลังจากนี้ค่อนข้างมาก เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการทำคลอด และเห็นชอบร่างรธน.ฉบับใหม่ ที่จะเป็นกติกาการเมืองต่อไป
**หลายคนจึงเห็นว่า ไม่สมควรที่จะให้นักการเมือง พรรคการเมือง มีส่วนร่วมในกระบวนการนี้ เพื่อให้กระบวนการปฏิรูป และการยกร่าง รธน. ปลอดจากการเมืองให้มากที่สุด
พบว่าสองพรรคใหญ่ เพื่อไทย-ประชาธิปัตย์ ก็พยายามจะโหนเหตุผลข้างต้นอธิบายต่อสังคมถึงการไม่ส่งคนไปร่วมในกระบวนการเลือกสปช.
แม้ในความเป็นจริงแล้วบางฝ่ายในสองพรรคใหญ่นี้ โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย ดูจะเชื่อตรงกันว่า ที่ไม่อยากไปร่วมสังฆกรรมก็เพราะรู้ดีว่า ร่วมไปก็เท่านั้น เพราะจะเป็นการไปสร้างความชอบธรรมให้กับ คสช. ว่าดึงทุกฝ่ายมาร่วมวงคัดเลือก สปช.ได้ทุกพรรค พร้อมร่วมวงปรองดอง-ปฏิรูป
**แต่ถึงเวลาเลือก สปช.จริงๆ ทาง คสช. ที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จเลือก สปช.ได้ทั้งหมด 250 คน ก็ต้องเลือกคนของตัวเองอยู่แล้ว ยากจะเลือกคนของพรรคการเมืองไปร่วมเป็นสมาชิก สปช. 250 คน โดยเฉพาะฝ่าย เพื่อไทย-เสื้อแดง
**ดังนั้นขืนไปร่วมวงด้วย มีแต่เสียมากกว่า
แต่เพื่อไม่ให้มีปัญหามาก ก็ต้องหาเหตุผลมาอ้างให้มันดูไม่ชนกับคสช.มากไป เช่น บอกว่า ประกาศ คสช. ล็อกไม่ให้พรรคการเมืองทำกิจกรรม ไม่ให้มีการประชุมพรรค แล้วจะไปมีมติส่งคนไปร่วมคัดเลือกเป็น สปช.ได้อย่างไร หัวหน้าพรรคจะเสนอชื่อใครได้ ต้องถามมติพรรคก่อน ก็หาเหตุแบบนี้มาอ้างกันไปก่อน
อย่างไรก็ตาม ประเด็นเรื่องพรรคการเมืองควรส่งคนไปร่วมกระบวนการเลือก สปช. ด้วยหรือไม่ ก็มีข้อโต้แย้งในเชิงสนับสนุนประกาศของ คสช. ที่ให้หัวหน้าพรรคการเมืองส่งคนมาร่วมเป็น สปช. ด้วยเหตุว่า นักการเมือง พรรคการเมือง คือตัวการสำคัญในการทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง หากจะทำให้ปัญหานี้จบ ก็ต้องให้นักการเมืองมีส่วนร่วม อีกทั้งนักการเมืองมีประสบการณ์โดยตรงกับเรื่องการเมือง กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม รวมถึงเรื่องอื่นๆ ก็ควรใช้ประสบการณ์ความเห็นของนักการเมืองให้เป็นประโยชน์ ในการมาเสนอข้อคิดเห็นต่อ สปช. เพื่อจะได้ออกแบบรัฐธรรมนูญมาให้ดีที่สุด เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย
โดยเฉพาะนักการเมือง พรรคการเมือง เพื่อว่าจะได้ไม่มีปัญหาในภายหลัง เพราะหากไม่เข้ามาร่วม แล้วยกร่าง รธน.กันออกมา พวกนักการเมืองก็จะมาหาเหตุมาขอแก้ไขรัฐธรรมนูญกันอีก แล้วก็จะเกิดกระแสต่อต้านการแก้ไข รธน.กันอีก สุดท้ายปัญหาก็จะวนกลับมาที่จุดเดิมอีก
** ความเห็นต่างเรื่องพรรคการเมือง ควรมีส่วนร่วมในการกระบวนการปฏิรูปยก ร่าง รธน.ฉบับใหม่หรือไม่ เวลานี้ เป็นแค่ จุดเริ่มต้น ของกระบวนการยก ร่าง รธน.ฉบับใหม่ กว่าจะทำกันเสร็จ คงมีเรื่องวุ่นวายตามมาตลอดทาง