มีคำอยู่ 3 คำในภาษาไทยที่มักจะนำมาพูดให้คล้องจองกัน เมื่อมีการพูดถึงการมียศ มีตำแหน่ง
คำ 3 คำที่ว่านี้คือ อำนาจ วาสนา บารมี และทั้ง 3 คำนี้มีที่มาและความหมายแตกต่างกัน แต่มีความเกี่ยวข้องกันเพราะเกื้อหนุนกัน
อำนาจตามนัยแห่งพุทธศาสนาหมายถึงความเป็นใหญ่ ดังจะเห็นได้จากพุทธพจน์ที่ว่า วโส อิสฺสริยํ โลเก โดยความว่า อำนาจเป็นใหญ่ในโลก และตามนัยแห่งนักปราชญ์ทางตะวันตกท่านหนึ่ง อำนาจเกิดจากปัจจัย 3 ประการคือ
1. เกิดจากเงิน หรือ Money Power
2. เกิดจากการมีตำแหน่งหน้าที่ หรือ Authority Power
3. เกิดจากการอ้างอิงสิ่งที่มีพลังเหนือปกติชนคนทั่วไป หรือ Reference Power
อำนาจ 3 ประการนี้ ทำให้คนซึ่งเป็นเจ้าของเป็นคนยิ่งใหญ่เหนือคนที่ไม่มีหรือมีน้อยกว่า
การมีอำนาจทำให้เกิดความยิ่งใหญ่ มิใช่ของใหม่ แท้จริงแล้ว ได้เกิดขึ้น และดำรงอยู่ในโลกหลายพันปีมาแล้ว อย่างน้อยก็ 2,500 กว่าปี จากคำสอนในศาสนาพุทธดังที่ได้ยกมากล่าวข้างต้น
ถึงแม้ว่าพระพุทธเจ้าจะยอมรับว่าอำนาจทำให้ผู้ที่มีหรือเจ้าของอำนาจมีความยิ่งใหญ่ แต่ก็สอนเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้อำนาจจะต้องมีความฉลาดกำกับการใช้เสมอ ในทางตรงกันข้าม ถ้าใช้อำนาจปราศจากปัญญากำกับควบคุม อำนาจนั้นก็จะทำลายเจ้าของอำนาจให้หายนะ เหมือนข้าวขุยไผ่ (ลูกต้นไผ่) ออกมาเพื่อฆ่าต้นไผ่
วาสนา หมายถึง การได้รับสิ่งดีๆ โดยมีผู้ให้และผู้รับไม่ต้องลงทุน หรือลงทุนน้อยได้มาก
วาสนามีที่มาหรือบ่อเกิดจากกรรมเก่า ซึ่งเป็นกุศลกรรที่ผู้มีวาสนาได้กระทำไว้ในอดีตชาติ
บารมีหมายถึง การยอมรับนับถือ และยอย่องสรรเสริญคุณงามความดี ที่ผู้มีบารมีได้กระทำไว้
บารมีเกิดจากการให้หรือการบริจาคซึ่งมีอยู่ 3 ประการตาม นัยแห่งคำสอนของพระพุทธศาสนาคือ
1. ให้วัตถุ ได้แก่ การให้หรือการบริจาคสิ่งของ รวมไปถึงการบริจาคโลหิต และอวัยวะ เช่น ดวงตา เป็นต้น
2. การให้ความรู้ อันได้แก่ การสอนให้รู้วิชาการแขนงต่างๆ อันควรแก่การเรียนรู้ และมีความจำเป็นต่อการดำรงตนในฐานะเป็นคน
3. การให้ธรรม อันได้แก่ การชี้แนะบอกกล่าวว่า อะไรผิด อะไรถูก อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ ซึ่งส่งผลให้ผู้ได้รับการชี้แนะมีความเป็นคนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ในการให้ 3 ประการนี้ พระพุทธเจ้าทรงยกย่องการให้ธรรมว่าเป็นยอดของการให้
อำนาจ วาสนา และบารมี เกี่ยวข้องกันอย่างไร?
อำนาจจะมีความยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง และยืนยงอยู่ได้ยาวนาน จะต้องมีวาสนาและบารมีเกื้อหนุน หาไม่แล้วจะไม่ยืนยง มั่นคงถาวรเมื่อถูกบั่นทอนและกัดกร่อนจากภาวะแวดล้อม 3 ประการดังต่อไปนี้
1. ผู้ใหญ่เหนือตนไม่สนับสนุน
2. ผู้น้อยกว่าตนไม่จงรักภักดี
3. ผู้เสมอตนไม่ให้ความร่วมมือ
อำนาจใดก็ตาม ที่ถูกกัดกร่อนจากภาวะแวดล้อม 3 ประการนี้ ผู้มีอำนาจนั้นไม่มีความมั่นคง และจะจบลงด้วยหายนะอย่างน้อย 3 ประการดังต่อไปนี้
1. มีอันต้องพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ หรือสถานภาพอันเป็นบ่อเกิดแห่งอำนาจนั้น
2. ทำให้เสียชื่อเสียงของตนเอง และวงศ์ตระกูล
3. มีคดีความติดตัว และอาจได้รับโทษทางอาญา อันเป็นที่มาจากการใช้อำนาจโดยขาดความชอบธรรม
ด้วยเหตุนานัปการดังกล่าวแล้วข้างต้น จึงถือได้ว่าอำนาจเปรียบเสมือนดาบสองคม มีทั้งคุณและโทษแก่ผู้มีอำนาจ
แต่ถึงกระนั้น ทุกคนที่เกิดมาและดำรงอยู่ในภาวะแห่งโลกียชน ล้วนแล้วแต่ต้องการอำนาจและมุ่งมั่นแสวงหาเพื่อการได้มาซึ่งอำนาจ
แต่เมื่อได้มาแล้วก็ควรศึกษาว่าจะใช้อำนาจอย่างไรให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง และสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับเรื่องนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนธรรม 4 ประการ สำหรับผู้มีอำนาจหน้าที่ในการปกครองประเทศ หรือที่เรียกว่า ราชสังคหวัตถุคือ
1. สัสสเมธะ ความฉลาดในการบำรุงพืชพันธุ์ธัญญาหาร
2. ปุริสเมธะ ความฉลาดในการบำรุงข้าราชการ รู้จักส่งเสริมคนดีมีความสามารถ
3. สัมมาปาสะ ความรู้จักผสมผสานรวมใจประชาชนด้วยการส่งเสริมอาชีพ เช่น ให้คนจนกู้ยืมไปสร้างตัวในการทำพาณิชยกรรม เป็นต้น
4. วาชเปยะ หรือวาจาเปยยะ รู้จักพูด รู้จักปราศรัยไพเราะนุ่มนวล ประกอบด้วยเหตุผลมีประโยชน์ทำให้เกิดความสามัคคี และได้รับความเชื่อถือ
ในธรรมะ 4 ประการข้างต้น จะเห็นได้ว่าพระพุทธเจ้าให้ความสำคัญเกี่ยวกับคนเป็นประการแรก ซึ่งสอดคล้องกับหลักการบริหารสมัยใหม่
ดังนั้น งานบริหารบุคคลมิใช่ของใหม่ แต่ได้เกิดขึ้นมานานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานสรรหาบุคคลเข้าสู่องค์กร
ส่วนการดูแลบุคลากรหลังจากรับเข้าสู่องค์กรแล้ว ก็มีความสำคัญแต่รองลงมา และสามารถทำได้โดยการให้ผลตอบแทนในรูปแบบต่างๆ มีตั้งแต่เงินเดือน ค่าจ้างไปจนถึงสวัสดิการตามที่กฎหมายกำหนด และสวัสดิการพิเศษ ซึ่งแต่ละองค์กรกำหนดขึ้นเอง โดยใช้เงินได้พิเศษนอกเหนืองบประมาณขององค์กร
สำหรับการให้พันธุ์พืชแก่เกษตรกร และการให้เงินทุนแก่พ่อค้า เป็นเสมือนประชานิยมในปัจจุบัน จะต่างกันก็เพียงกำหนดคุณสมบัติของผู้รับว่าจะต้องเป็นผู้มีความอุตสาหะขยันหมั่นเพียรเท่านั้น จึงควรจะได้รับ แต่ประชานิยมซึ่งกำหนดโดยนักการเมือง มิได้กำหนดคุณสมบัติแต่หว่านไปทั่วในกลุ่มที่เป็นฐานคะแนนเสียง ดังนั้น จึงมิใช่เรื่องแปลกที่นโยบายประชานิยมจะล้มเหลว และผลาญงบประมาณเหมือนตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ และที่เป็นเช่นนี้ก็เป็นผลมาจากการใช้อำนาจปราศจากปัญญา และความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ส่วนรวม
โดยสรุปใครก็ตามที่มีอำนาจ อันเกิดจากการมีตำแหน่งหน้าที่ ถ้าไม่มีวาสนาและบารมีค้ำจุน ทั้งการใช้อำนาจปราศจากคุณธรรมคอยกำกับ สุดท้ายก็จะพบกับความหายนะเหมือนกับต้นไผ่ที่ออกลูกแล้วตายไป
ในทางตรงกันข้าม ใครก็ตามได้อำนาจโดยมีวาสนาและบารมีเกื้อกูล ประกอบกับการใช้อำนาจโดยมีคุณธรรมกำกับ ก็จะยืนยงมั่นคงถาวร และถึงแม้ออกจากตำแหน่งแล้วผู้คนยังนับถือยกย่องบูชาในคุณงามความดี ซึ่งได้กระทำไว้เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง
คำ 3 คำที่ว่านี้คือ อำนาจ วาสนา บารมี และทั้ง 3 คำนี้มีที่มาและความหมายแตกต่างกัน แต่มีความเกี่ยวข้องกันเพราะเกื้อหนุนกัน
อำนาจตามนัยแห่งพุทธศาสนาหมายถึงความเป็นใหญ่ ดังจะเห็นได้จากพุทธพจน์ที่ว่า วโส อิสฺสริยํ โลเก โดยความว่า อำนาจเป็นใหญ่ในโลก และตามนัยแห่งนักปราชญ์ทางตะวันตกท่านหนึ่ง อำนาจเกิดจากปัจจัย 3 ประการคือ
1. เกิดจากเงิน หรือ Money Power
2. เกิดจากการมีตำแหน่งหน้าที่ หรือ Authority Power
3. เกิดจากการอ้างอิงสิ่งที่มีพลังเหนือปกติชนคนทั่วไป หรือ Reference Power
อำนาจ 3 ประการนี้ ทำให้คนซึ่งเป็นเจ้าของเป็นคนยิ่งใหญ่เหนือคนที่ไม่มีหรือมีน้อยกว่า
การมีอำนาจทำให้เกิดความยิ่งใหญ่ มิใช่ของใหม่ แท้จริงแล้ว ได้เกิดขึ้น และดำรงอยู่ในโลกหลายพันปีมาแล้ว อย่างน้อยก็ 2,500 กว่าปี จากคำสอนในศาสนาพุทธดังที่ได้ยกมากล่าวข้างต้น
ถึงแม้ว่าพระพุทธเจ้าจะยอมรับว่าอำนาจทำให้ผู้ที่มีหรือเจ้าของอำนาจมีความยิ่งใหญ่ แต่ก็สอนเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้อำนาจจะต้องมีความฉลาดกำกับการใช้เสมอ ในทางตรงกันข้าม ถ้าใช้อำนาจปราศจากปัญญากำกับควบคุม อำนาจนั้นก็จะทำลายเจ้าของอำนาจให้หายนะ เหมือนข้าวขุยไผ่ (ลูกต้นไผ่) ออกมาเพื่อฆ่าต้นไผ่
วาสนา หมายถึง การได้รับสิ่งดีๆ โดยมีผู้ให้และผู้รับไม่ต้องลงทุน หรือลงทุนน้อยได้มาก
วาสนามีที่มาหรือบ่อเกิดจากกรรมเก่า ซึ่งเป็นกุศลกรรที่ผู้มีวาสนาได้กระทำไว้ในอดีตชาติ
บารมีหมายถึง การยอมรับนับถือ และยอย่องสรรเสริญคุณงามความดี ที่ผู้มีบารมีได้กระทำไว้
บารมีเกิดจากการให้หรือการบริจาคซึ่งมีอยู่ 3 ประการตาม นัยแห่งคำสอนของพระพุทธศาสนาคือ
1. ให้วัตถุ ได้แก่ การให้หรือการบริจาคสิ่งของ รวมไปถึงการบริจาคโลหิต และอวัยวะ เช่น ดวงตา เป็นต้น
2. การให้ความรู้ อันได้แก่ การสอนให้รู้วิชาการแขนงต่างๆ อันควรแก่การเรียนรู้ และมีความจำเป็นต่อการดำรงตนในฐานะเป็นคน
3. การให้ธรรม อันได้แก่ การชี้แนะบอกกล่าวว่า อะไรผิด อะไรถูก อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ ซึ่งส่งผลให้ผู้ได้รับการชี้แนะมีความเป็นคนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ในการให้ 3 ประการนี้ พระพุทธเจ้าทรงยกย่องการให้ธรรมว่าเป็นยอดของการให้
อำนาจ วาสนา และบารมี เกี่ยวข้องกันอย่างไร?
อำนาจจะมีความยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง และยืนยงอยู่ได้ยาวนาน จะต้องมีวาสนาและบารมีเกื้อหนุน หาไม่แล้วจะไม่ยืนยง มั่นคงถาวรเมื่อถูกบั่นทอนและกัดกร่อนจากภาวะแวดล้อม 3 ประการดังต่อไปนี้
1. ผู้ใหญ่เหนือตนไม่สนับสนุน
2. ผู้น้อยกว่าตนไม่จงรักภักดี
3. ผู้เสมอตนไม่ให้ความร่วมมือ
อำนาจใดก็ตาม ที่ถูกกัดกร่อนจากภาวะแวดล้อม 3 ประการนี้ ผู้มีอำนาจนั้นไม่มีความมั่นคง และจะจบลงด้วยหายนะอย่างน้อย 3 ประการดังต่อไปนี้
1. มีอันต้องพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ หรือสถานภาพอันเป็นบ่อเกิดแห่งอำนาจนั้น
2. ทำให้เสียชื่อเสียงของตนเอง และวงศ์ตระกูล
3. มีคดีความติดตัว และอาจได้รับโทษทางอาญา อันเป็นที่มาจากการใช้อำนาจโดยขาดความชอบธรรม
ด้วยเหตุนานัปการดังกล่าวแล้วข้างต้น จึงถือได้ว่าอำนาจเปรียบเสมือนดาบสองคม มีทั้งคุณและโทษแก่ผู้มีอำนาจ
แต่ถึงกระนั้น ทุกคนที่เกิดมาและดำรงอยู่ในภาวะแห่งโลกียชน ล้วนแล้วแต่ต้องการอำนาจและมุ่งมั่นแสวงหาเพื่อการได้มาซึ่งอำนาจ
แต่เมื่อได้มาแล้วก็ควรศึกษาว่าจะใช้อำนาจอย่างไรให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง และสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับเรื่องนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนธรรม 4 ประการ สำหรับผู้มีอำนาจหน้าที่ในการปกครองประเทศ หรือที่เรียกว่า ราชสังคหวัตถุคือ
1. สัสสเมธะ ความฉลาดในการบำรุงพืชพันธุ์ธัญญาหาร
2. ปุริสเมธะ ความฉลาดในการบำรุงข้าราชการ รู้จักส่งเสริมคนดีมีความสามารถ
3. สัมมาปาสะ ความรู้จักผสมผสานรวมใจประชาชนด้วยการส่งเสริมอาชีพ เช่น ให้คนจนกู้ยืมไปสร้างตัวในการทำพาณิชยกรรม เป็นต้น
4. วาชเปยะ หรือวาจาเปยยะ รู้จักพูด รู้จักปราศรัยไพเราะนุ่มนวล ประกอบด้วยเหตุผลมีประโยชน์ทำให้เกิดความสามัคคี และได้รับความเชื่อถือ
ในธรรมะ 4 ประการข้างต้น จะเห็นได้ว่าพระพุทธเจ้าให้ความสำคัญเกี่ยวกับคนเป็นประการแรก ซึ่งสอดคล้องกับหลักการบริหารสมัยใหม่
ดังนั้น งานบริหารบุคคลมิใช่ของใหม่ แต่ได้เกิดขึ้นมานานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานสรรหาบุคคลเข้าสู่องค์กร
ส่วนการดูแลบุคลากรหลังจากรับเข้าสู่องค์กรแล้ว ก็มีความสำคัญแต่รองลงมา และสามารถทำได้โดยการให้ผลตอบแทนในรูปแบบต่างๆ มีตั้งแต่เงินเดือน ค่าจ้างไปจนถึงสวัสดิการตามที่กฎหมายกำหนด และสวัสดิการพิเศษ ซึ่งแต่ละองค์กรกำหนดขึ้นเอง โดยใช้เงินได้พิเศษนอกเหนืองบประมาณขององค์กร
สำหรับการให้พันธุ์พืชแก่เกษตรกร และการให้เงินทุนแก่พ่อค้า เป็นเสมือนประชานิยมในปัจจุบัน จะต่างกันก็เพียงกำหนดคุณสมบัติของผู้รับว่าจะต้องเป็นผู้มีความอุตสาหะขยันหมั่นเพียรเท่านั้น จึงควรจะได้รับ แต่ประชานิยมซึ่งกำหนดโดยนักการเมือง มิได้กำหนดคุณสมบัติแต่หว่านไปทั่วในกลุ่มที่เป็นฐานคะแนนเสียง ดังนั้น จึงมิใช่เรื่องแปลกที่นโยบายประชานิยมจะล้มเหลว และผลาญงบประมาณเหมือนตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ และที่เป็นเช่นนี้ก็เป็นผลมาจากการใช้อำนาจปราศจากปัญญา และความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ส่วนรวม
โดยสรุปใครก็ตามที่มีอำนาจ อันเกิดจากการมีตำแหน่งหน้าที่ ถ้าไม่มีวาสนาและบารมีค้ำจุน ทั้งการใช้อำนาจปราศจากคุณธรรมคอยกำกับ สุดท้ายก็จะพบกับความหายนะเหมือนกับต้นไผ่ที่ออกลูกแล้วตายไป
ในทางตรงกันข้าม ใครก็ตามได้อำนาจโดยมีวาสนาและบารมีเกื้อกูล ประกอบกับการใช้อำนาจโดยมีคุณธรรมกำกับ ก็จะยืนยงมั่นคงถาวร และถึงแม้ออกจากตำแหน่งแล้วผู้คนยังนับถือยกย่องบูชาในคุณงามความดี ซึ่งได้กระทำไว้เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง