ในท่ามกลางกระแสวัตถุนิยม และการวิ่งไล่ความอยากเพื่อแสวงหาความต้องการส่วนเกินความจำเป็นในการดำรงชีวิต และเมื่อไล่ความอยากไม่ทันก็เป็นทุกข์เดือดร้อนใจ ดังที่ผู้คนในสังคมเมืองหรือแม้ผู้คนในสังคมชนบทเป็นอยู่
ความทุกข์ความเดือดร้อนอันเกิดจากการวิ่งไล่ความอยากตามกระแสวัตถุนิยมนี้ จะเห็นได้ในหมู่คนที่มีรายได้ต่ำ และรสนิยมในการบริโภคสูง จึงต้องเป็นหนี้เงินกู้เพื่อนำมากินมาใช้อย่างฟุ่มเฟือยเกินกว่าฐานะทางด้านเงินที่ตนเองมีอยู่
คนประเภทนี้ ถ้ามองในแง่คำสอนของพุทธศาสนาแล้ว คือคนที่ขาดคุณธรรมข้อที่ว่าด้วยสันโดษ 3 ประการคือ
1. ยถาลาภสันโดษหมายถึง การยินดีตามที่ได้มา โดยความชอบธรรม ไม่ขวนขวายเกินกว่าเหตุจนทำให้ตนเองเดือดร้อน เช่น ทุจริต คอร์รัปชัน เป็นต้น
2. ยถาพลสันโดษหมายถึง ยินดีตามกำลังที่หาได้คือพยายามอย่างเต็มที่เต็มความสามารถแล้วได้แค่ไหนก็พอแค่นั้น
3. ยถาสารุปปสันโดษหมายถึง ยินดีตามสมควรแก่ฐานะ และเพศภาวะของคน เช่น ผู้มีรายได้น้อยก็ไม่ควรที่หมายปองสิ่งของที่คนร่ำรวยใช้อยู่ เนื่องจากฐานะทางด้านการเงินไม่อำนวย เป็นต้น
โดยหลักธรรมแห่งความเป็นสันโดษ 3 ประการนี้ พระพุทธเจ้ามิได้สอนให้คนพอใจในความยากจน และไม่ขยันหมั่นเพียรเพื่อยกระดับรายได้ของตนเองและครอบครัว แต่มุ่งสอนให้คนพอใจในสิ่งที่เป็นของตน และหามาได้โดยความชอบธรรม เพื่อป้องกันมิให้คนเกิดความโลภ และแสวงหาโดยไม่ชอบธรรม ก่อความเดือดร้อนให้แก่ตนเอง และสังคมโดยรวม
ตรงกันข้าม พระพุทธเจ้าสอนให้ขยันหาทรัพย์ ดังจะเห็นในพุทธพจน์ที่ว่า ผู้ครองเรือนพึงเห็นการหาน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ของตัวผึ้ง แม้ทีละน้อยก็สะสมให้มากได้ และพึงเห็นการหมดไปของยาหยอดตา แม้ทีละหยดก็หมดได้
โดยนัยแห่งพุทธพจน์นี้หมายถึง ให้ขยันหาทรัพย์ แม้ทีละน้อยก็รวบรวมให้มากได้ และในขณะเดียวกันให้ประหยัด แม้จ่ายไปทีละน้อยก็หมดได้
จากคำสอนข้อนี้จะเป็นเครื่องยืนยันว่า พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ขยันหาทรัพย์ และให้ประหนัดไม่ให้ฟุ่มเฟือย
นอกจากนี้ ยังสอนวิธีการใช้ทรัพย์ที่หามาได้โดยแบ่งเป็น 4 ส่วน หรือที่เรียกว่า โภควิภาค 4 คือ
1. เอเกน โภเค ภุญฺเชยฺย อันได้แก่ การจ่าย 1 ส่วนหรือเท่ากับ 25% เพื่อเลี้ยงตน เลี้ยงคนที่ควรบำรุง และทำประโยชน์
2-3 ทฺวีหิ กมฺมํ ปโยชเย อันได้แก่ 2 ส่วนหรือเท่ากับ 50% เพื่อลงทุนทำการงาน ประกอบธุรกิจ
4. จตตฺถญฺจ นิธาเปยฺย ได้แก่ อีก 1 ส่วนหรือ 25% เก็บไว้ใช้ในคราวจำเป็นหรือเก็บเป็นเงินออม
ทั้งหมดที่เขียนมาก็เพื่อให้รู้ว่าแนวทางการใช้ชีวิตตามแนวพุทธ เน้นการพอเพียงพอดี
นอกจากสอนแนวทางการบริหารจัดการชีวิตแบบพอเพียงแล้ว พระพุทธเจ้าได้สอนเพื่อเตือนใจคนโลภที่แสวงหาเกินพอดี และทำให้ตนเองตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของความโลภ และทำให้ตนเองเดือดร้อน ดังปรากฏในมหาสุทัสสนสูตรซึ่งมีเนื้อความโดยย่อดังนี้
พระพุทธเจ้าทรงพรรณนาความมั่งคั่งของกรุงกุสาวดี และทรงพรรณนาถึงรัตน 7 ประการที่เกิดขึ้นแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะจักรพรรดิคือ
1. จักรแก้ว ซึ่งหมุนไปในทิศต่างๆ ได้นำชัยชนะมาสู่
2. ช้างแก้ว เป็นช้างเผือกชื่ออุโบสถ
3. ม้าแก้ว สีขาวล้วนชื่อ วจาหก
4. แก้วมณี เป็นแก้วไพฑูรย์
5.นางแก้ว รูปร่างงดงาม มีสัมผัสนิ่มนวล
6. ขุนคลังแก้ว ช่วยหาทรัพย์สินอย่างดีเลิศ
7. ขุนพลแก้ว บัณฑิตผู้สั่งสอนแนะนำ
อนึ่ง พระเจ้ามหาสุทัสสนะจักรพรรดินี้ ทรงมีความสำเร็จ 4 ประการคือ 1. รูปงาม 2. อายุยืน 3. มีโรคน้อย 4. เป็นที่รักของพราหมณ์ และคฤหัสบดี
นอกจากนี้ ยังทรงพรรณนาถึงสระโบกขรณี ทรัพย์สิน ปราสาทอันวิจิตรงดงามมาชื่นชม
ถึงแม้ว่า พระเจ้ามหาสุทัสสนะ จะทรงมีความมั่งคั่งสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สิน แต่ก็ได้ทรงเห็นว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นจากผลแห่งกรรมดีคือ การให้ การฝึกจิต และการสำรวจจิต จึงได้ทุ่มเทให้กับการบำเพ็ญฌานจนได้บรรลุฌาน 1-4 และมีจิตประกอบด้วย พรหมวิหาร 4 และทรงการเข้าเฝ้าให้น้อยลงเพื่อให้มีเวลาอบรมทางจิตมากขึ้น
ภายหลังพระมเหสีพระนามว่า สุภัททา ได้ขอเข้าเฝ้าและทรงขอให้เห็นแก่สมบัติ เห็นแก่ชีวิต แต่กลับตรัสตอบ ขอให้พระราชเทวีเห็นในทางตรงกันข้าม คืออย่าเห็นแก่สมบัติ อย่าเห็นแก่ชีวิต เพราะการพลัดจากของรักของความชอบใจเป็นของธรรมดา การตายของผู้มีความกังวล ห่วงใย เป็นทุกข์ และถูกติเตียน
พระราชเทวีก็ทรงกันแสง และฝืนพระหฤทัยเช็ดน้ำพระเนตรแล้ว ขอร้องใหม่ตามที่พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงแนะนำ
ครั้นแล้วพระพุทธเจ้าทรงสรุปว่า พระองค์เองเป็นพระเจ้ามหาสุทัสสนะในครั้งนั้น พรั่งพร้อมด้วยสมบัตินานาประการ แม้จะมีนครอยู่ในปกครองมากหลาย ก็อยู่ครอบครองได้เพียงนครเดียวคือ นครกุสาวดีแม้จะมีปราสาทอยู่มากหลาย แต่ก็อยู่ครอบครองได้เพียงปราสาทเดียว เป็นต้น
จากเนื้อหาในพระสูตรนี้ ให้ข้อคิดแก่คนโลภหลายประการสรุปได้ดังนี้
1. สิ่งที่ได้รับในปัจจุบันเป็นผลของกรรมในอดีต มิใช่เกิดจากการบันดาลแต่ประการใด ดังนั้น ถ้าจะให้อนาคตของเขาดีขึ้น จะต้องประกอบกรรมดีในปัจจุบัน
2. การที่เขามีของรัก ของชอบใจในวันนี้ มันคือเหตุให้เกิดทุกข์คือ การพลัดพรากมาถึงในวันข้างหน้า
3. ถึงแม้จะมีทรัพย์สมบัติมากมาย แต่ที่จะให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง แต่แล้วของก็คือสมบัติที่ตนเองได้ใช้สอยด้วยตนเอง
ด้วยเหตุนี้ ไม่ควรแสวงหาในทางมิชอบเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สิน เพราะนอกจากตนเองจะไม่ได้ใช้ทุกอย่างแล้ว ยังมีเหตุให้เกิดทุกข์ด้วย
ความทุกข์ความเดือดร้อนอันเกิดจากการวิ่งไล่ความอยากตามกระแสวัตถุนิยมนี้ จะเห็นได้ในหมู่คนที่มีรายได้ต่ำ และรสนิยมในการบริโภคสูง จึงต้องเป็นหนี้เงินกู้เพื่อนำมากินมาใช้อย่างฟุ่มเฟือยเกินกว่าฐานะทางด้านเงินที่ตนเองมีอยู่
คนประเภทนี้ ถ้ามองในแง่คำสอนของพุทธศาสนาแล้ว คือคนที่ขาดคุณธรรมข้อที่ว่าด้วยสันโดษ 3 ประการคือ
1. ยถาลาภสันโดษหมายถึง การยินดีตามที่ได้มา โดยความชอบธรรม ไม่ขวนขวายเกินกว่าเหตุจนทำให้ตนเองเดือดร้อน เช่น ทุจริต คอร์รัปชัน เป็นต้น
2. ยถาพลสันโดษหมายถึง ยินดีตามกำลังที่หาได้คือพยายามอย่างเต็มที่เต็มความสามารถแล้วได้แค่ไหนก็พอแค่นั้น
3. ยถาสารุปปสันโดษหมายถึง ยินดีตามสมควรแก่ฐานะ และเพศภาวะของคน เช่น ผู้มีรายได้น้อยก็ไม่ควรที่หมายปองสิ่งของที่คนร่ำรวยใช้อยู่ เนื่องจากฐานะทางด้านการเงินไม่อำนวย เป็นต้น
โดยหลักธรรมแห่งความเป็นสันโดษ 3 ประการนี้ พระพุทธเจ้ามิได้สอนให้คนพอใจในความยากจน และไม่ขยันหมั่นเพียรเพื่อยกระดับรายได้ของตนเองและครอบครัว แต่มุ่งสอนให้คนพอใจในสิ่งที่เป็นของตน และหามาได้โดยความชอบธรรม เพื่อป้องกันมิให้คนเกิดความโลภ และแสวงหาโดยไม่ชอบธรรม ก่อความเดือดร้อนให้แก่ตนเอง และสังคมโดยรวม
ตรงกันข้าม พระพุทธเจ้าสอนให้ขยันหาทรัพย์ ดังจะเห็นในพุทธพจน์ที่ว่า ผู้ครองเรือนพึงเห็นการหาน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ของตัวผึ้ง แม้ทีละน้อยก็สะสมให้มากได้ และพึงเห็นการหมดไปของยาหยอดตา แม้ทีละหยดก็หมดได้
โดยนัยแห่งพุทธพจน์นี้หมายถึง ให้ขยันหาทรัพย์ แม้ทีละน้อยก็รวบรวมให้มากได้ และในขณะเดียวกันให้ประหยัด แม้จ่ายไปทีละน้อยก็หมดได้
จากคำสอนข้อนี้จะเป็นเครื่องยืนยันว่า พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ขยันหาทรัพย์ และให้ประหนัดไม่ให้ฟุ่มเฟือย
นอกจากนี้ ยังสอนวิธีการใช้ทรัพย์ที่หามาได้โดยแบ่งเป็น 4 ส่วน หรือที่เรียกว่า โภควิภาค 4 คือ
1. เอเกน โภเค ภุญฺเชยฺย อันได้แก่ การจ่าย 1 ส่วนหรือเท่ากับ 25% เพื่อเลี้ยงตน เลี้ยงคนที่ควรบำรุง และทำประโยชน์
2-3 ทฺวีหิ กมฺมํ ปโยชเย อันได้แก่ 2 ส่วนหรือเท่ากับ 50% เพื่อลงทุนทำการงาน ประกอบธุรกิจ
4. จตตฺถญฺจ นิธาเปยฺย ได้แก่ อีก 1 ส่วนหรือ 25% เก็บไว้ใช้ในคราวจำเป็นหรือเก็บเป็นเงินออม
ทั้งหมดที่เขียนมาก็เพื่อให้รู้ว่าแนวทางการใช้ชีวิตตามแนวพุทธ เน้นการพอเพียงพอดี
นอกจากสอนแนวทางการบริหารจัดการชีวิตแบบพอเพียงแล้ว พระพุทธเจ้าได้สอนเพื่อเตือนใจคนโลภที่แสวงหาเกินพอดี และทำให้ตนเองตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของความโลภ และทำให้ตนเองเดือดร้อน ดังปรากฏในมหาสุทัสสนสูตรซึ่งมีเนื้อความโดยย่อดังนี้
พระพุทธเจ้าทรงพรรณนาความมั่งคั่งของกรุงกุสาวดี และทรงพรรณนาถึงรัตน 7 ประการที่เกิดขึ้นแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะจักรพรรดิคือ
1. จักรแก้ว ซึ่งหมุนไปในทิศต่างๆ ได้นำชัยชนะมาสู่
2. ช้างแก้ว เป็นช้างเผือกชื่ออุโบสถ
3. ม้าแก้ว สีขาวล้วนชื่อ วจาหก
4. แก้วมณี เป็นแก้วไพฑูรย์
5.นางแก้ว รูปร่างงดงาม มีสัมผัสนิ่มนวล
6. ขุนคลังแก้ว ช่วยหาทรัพย์สินอย่างดีเลิศ
7. ขุนพลแก้ว บัณฑิตผู้สั่งสอนแนะนำ
อนึ่ง พระเจ้ามหาสุทัสสนะจักรพรรดินี้ ทรงมีความสำเร็จ 4 ประการคือ 1. รูปงาม 2. อายุยืน 3. มีโรคน้อย 4. เป็นที่รักของพราหมณ์ และคฤหัสบดี
นอกจากนี้ ยังทรงพรรณนาถึงสระโบกขรณี ทรัพย์สิน ปราสาทอันวิจิตรงดงามมาชื่นชม
ถึงแม้ว่า พระเจ้ามหาสุทัสสนะ จะทรงมีความมั่งคั่งสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สิน แต่ก็ได้ทรงเห็นว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นจากผลแห่งกรรมดีคือ การให้ การฝึกจิต และการสำรวจจิต จึงได้ทุ่มเทให้กับการบำเพ็ญฌานจนได้บรรลุฌาน 1-4 และมีจิตประกอบด้วย พรหมวิหาร 4 และทรงการเข้าเฝ้าให้น้อยลงเพื่อให้มีเวลาอบรมทางจิตมากขึ้น
ภายหลังพระมเหสีพระนามว่า สุภัททา ได้ขอเข้าเฝ้าและทรงขอให้เห็นแก่สมบัติ เห็นแก่ชีวิต แต่กลับตรัสตอบ ขอให้พระราชเทวีเห็นในทางตรงกันข้าม คืออย่าเห็นแก่สมบัติ อย่าเห็นแก่ชีวิต เพราะการพลัดจากของรักของความชอบใจเป็นของธรรมดา การตายของผู้มีความกังวล ห่วงใย เป็นทุกข์ และถูกติเตียน
พระราชเทวีก็ทรงกันแสง และฝืนพระหฤทัยเช็ดน้ำพระเนตรแล้ว ขอร้องใหม่ตามที่พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงแนะนำ
ครั้นแล้วพระพุทธเจ้าทรงสรุปว่า พระองค์เองเป็นพระเจ้ามหาสุทัสสนะในครั้งนั้น พรั่งพร้อมด้วยสมบัตินานาประการ แม้จะมีนครอยู่ในปกครองมากหลาย ก็อยู่ครอบครองได้เพียงนครเดียวคือ นครกุสาวดีแม้จะมีปราสาทอยู่มากหลาย แต่ก็อยู่ครอบครองได้เพียงปราสาทเดียว เป็นต้น
จากเนื้อหาในพระสูตรนี้ ให้ข้อคิดแก่คนโลภหลายประการสรุปได้ดังนี้
1. สิ่งที่ได้รับในปัจจุบันเป็นผลของกรรมในอดีต มิใช่เกิดจากการบันดาลแต่ประการใด ดังนั้น ถ้าจะให้อนาคตของเขาดีขึ้น จะต้องประกอบกรรมดีในปัจจุบัน
2. การที่เขามีของรัก ของชอบใจในวันนี้ มันคือเหตุให้เกิดทุกข์คือ การพลัดพรากมาถึงในวันข้างหน้า
3. ถึงแม้จะมีทรัพย์สมบัติมากมาย แต่ที่จะให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง แต่แล้วของก็คือสมบัติที่ตนเองได้ใช้สอยด้วยตนเอง
ด้วยเหตุนี้ ไม่ควรแสวงหาในทางมิชอบเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สิน เพราะนอกจากตนเองจะไม่ได้ใช้ทุกอย่างแล้ว ยังมีเหตุให้เกิดทุกข์ด้วย