การให้หรือทานในภาษาบาลี ตามนัยแห่งคำสอนในทางพุทธศาสนา จะให้ผลเป็นบุญได้อย่างสมบูรณ์จะต้องประกอบด้วยองค์ 3 คือ
1. ปฏิคาหก คือผู้รับจะต้องเป็นผู้มีศีล
2. ทายาก คือผู้ให้จะต้องมีศรัทธา ทั้งก่อนให้ กำลังให้ และให้แล้วมีใจเบิกบาน ยินดีในการให้
3. เทยยทาน คือสิ่งที่ให้จะต้องได้มาโดยชอบธรรม ไม่ได้คดโกงใครเขามา
การให้ที่ประกอบด้วยองค์ 3 ดังกล่าวข้างต้น เป็นบ่อเกิดแห่งบุญ และเป็นการปฏิบัติธรรม ซึ่งมีอยู่ 3 ขั้นคือ
1. ทาน คือการให้
2. ศีล คือการรักษากายและวาจาให้เป็นปกติ
3. ภาวนา คือการเจริญวิปัสสนาหรือสมถกัมมัฏฐานเพื่อการเข้าถึงความจริงของสรรพสิ่ง ตามที่มันมี และตามที่มันเป็น หรือที่เรียกว่า ยถาภูตํ ตถาทสฺสนํ (มีอยู่อย่างไร เห็นอย่างนั้น)
การให้นอกจากเป็นบ่อเกิดแห่งบุญกุศลแล้ว ยังเป็นกุศโลบายสำคัญในการบริหารบุคคล ซึ่งเป็นหนึ่งในสามประการอันเป็นปัจจัยหลักในการบริหารองค์กรคือ 1. คน 2. เงิน 3. วัสดุ
การให้ที่มีส่วนสำคัญในการบริหารบุคคล คือการให้ความรู้ ให้โอกาส ให้สิ่งของ และที่สำคัญที่สุดได้แก่การให้อภัย ซึ่งพุทธศาสนาถือว่าเป็นสุดยอดของการให้เรียกว่า อภัยทาน
แต่การให้จะช่วยให้งานบริหารบุคคลบรรลุผลสำเร็จได้ ผู้ให้จะต้องรู้เกี่ยวกับความมี ความเป็นของผู้รับ เพื่อให้การให้นั่นสอดคล้องกับความต้องการของผู้รับ และผู้รับมีศักยภาพพอที่จะรับได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความรู้
พระพุทธเจ้าได้แบ่งบุคคลออกเป็น 4 ประเภทคือ
1. อุคฆฏิตัญญู เรียนรู้ได้เร็ว แม้เพียงได้ฟังครั้งเดียวเข้าใจแจ่มแจ้งแทงตลอด เปรียบได้กับดอกบัวพ้นน้ำพร้อมที่จะบานเมื่อได้รับแสงจากดวงอาทิตย์
2. วิปจิตัญญู ผู้ที่รู้และเข้าใจ เมื่อได้ฟังคำอธิบายขยายความเพียงเล็กน้อย เปรียบได้กับดอกบัวที่กำลังจะพ้นน้ำ และรอบานในวันต่อไป
3. เนยยะ ผู้ที่พอแนะนำให้แต่จะต้องฟังหลายครั้งจึงจะรู้และเข้าใจ เปรียบได้กับดอกบัวที่อยู่กลางน้ำจะต้องใช้เวลาในการโผล่ขึ้นเหนือน้ำ
4. ปทปรมะ ผู้ที่สั่งสอนไม่ได้ ไม่รู้ และไม่เข้าใจ มีนิสัยดื้อด้าน เปรียบได้กับดอกบัวที่อยู่ในโคลนตมเป็นอาหารปลาและเต่า
การแบ่งประเภทบุคคลดังกล่าวข้างต้น มีประโยชน์ในการแบ่งกลุ่มผู้เรียน และทำการสอนให้สอดคล้องกับศักยภาพแห่งการรับรู้ ทั้งยังมีประโยชน์สำหรับหัวหน้างานในการสั่งการมอบหมายงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไปทำ โดยยึดหลักความยากง่ายของงานให้สอดคล้องกับศักยภาพแห่งการเรียนรู้ของผู้ที่จะมอบหมายงานให้ทำ รวมไปถึงความเร่งด่วนและไม่เร่งด่วนของงานด้วย ทั้งนี้เพื่อให้งานมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุดตามที่องค์กรต้องการ
การให้ซึ่งนำมาใช้เป็นกุศโลบายในการปกครองได้มีมาก่อนพุทธกาล และปรากฏว่าได้ผลดีช่วยแก้ปัญหาความไม่สงบของประเทศได้ดังปรากฏในกฏทันตสูตร ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ดังต่อไปนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในแคว้นมคธ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ และเสด็จแวะพัก ณ บ้านพราหมณ์ชื่อ ขานุมัตทะ
ในเวลานั้นกฏทันตพราหมณ์ได้ครอบครองหมู่บ้านขานุมัตทะ และต้องการจะประกอบพิธีบูชายัญ จึงได้นำโคตัวผู้ ลูกโตทั้งตัวผู้ตัวเมีย แพะ และแกะอย่างละ 700 ตัว ผูกติดกันแล้วเพื่อเตรียมประกอบพิธีบูชายัญ
แต่ได้ทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาจึงได้ไปเข้าเฝ้าเพื่อทูลถามให้ทรงอธิบายถึงยัญญสัมปทาคือความถึงพร้อมยัญ
พระพุทธเจ้าได้ทรงเล่าถึงพระเจ้ามหาวิชิตะในอดีตกาล ผู้สมบูรณ์ด้วยทรัพย์ได้รับชัยชนะเหนือปฐพีมณฑล เป็นผู้ยิ่งใหญ่ใคร่จะบูชายัญเพื่อประโยชน์และความสุข จึงได้ตรัสเรียกปุโรหิตมาช่วยสอนวิธีบูชายัญ
ปุโรหิตแนะให้ปราบโจรผู้ร้ายก่อน แต่มิใช่ด้วยการฆ่าหรือจองจำ เพราะพวกที่เหลือจากการถูกฆ่าจะเบียดเบียนชนบทในภายหลัง โดยที่แท้ควรถอนรากโจรผู้ร้ายด้วยการจัดการทางเศรษฐกิจคือ
1. แจกพันธุ์พืชแก่เกษตรกรที่มีความอุตสาหะในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
2. ให้ทุนแก่พ่อค้าผู้มีความอุตสาหะในการทำการค้า
3. ให้อาหารและค่าจ้างแก่ข้าราชการ
โดยสรุปให้ทุกคนมีงานทำมีรายได้เพียงแค่นี้ พระราชทรัพย์ก็จะเพิ่มพูน ชนบทก็จะสงบไม่มีเสี้ยนหนาม คนทั้งหลายก็รื่นเริง อุ้มลูกจูงหลานไปสนุกสนานนอกบ้านโดยไม่ต้องปิดประตูเรือน
เมื่อพระเจ้ามหาวิชิตทรงทำตามคำแนะนำก็ได้ผลดี จึงได้เรียกปุโรหิตมาให้แจ้งหัวเมืองต่างๆ ทำตาม
จากแนวทางการปกครองซึ่งปรากฏในพระสูตรดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าการให้เป็นกุศโลบาย การปกครองที่ประสบความสำเร็จมาแล้วเมื่อ 2,500 กว่าปี
ดังนั้น การให้ในรูปแบบของนโยบายประชานิยมมิใช่ของใหม่ แท้จริงแล้วเป็นของลอกเลียนมาจากของเก่า แต่ที่ล้มเหลวก็ด้วยกระทำไม่ครบถ้วนตามแบบอย่างที่เคยทำมา
การให้ในยุคก่อนประสบความสำเร็จก็ด้วยเหตุปัจจัย 3 ประการคือ
1. ผู้ให้มีคุณธรรม มีพฤติกรรมโปร่งใส ไม่ทำเพื่อตนเองและพวกพ้อง แต่ยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
2. มีการคัดเลือกผู้รับก่อนให้ กล่าวคือ จะเลือกให้แก่คนที่มีคุณธรรม และรับผิดชอบในงานที่ทำ ทั้งรักษาสัญญาที่ให้ไว้แก่ผู้ให้ เช่น เกษตรกรที่ได้รับพันธุ์พืชก็จะนำไปปลูก และดูแลรักษาเป็นอย่างดี
3. เมื่อให้ไปแล้วมีการติดตามประเมินผลว่า ผู้รับเมื่อรับไปแล้วได้ดำเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขของการให้หรือไม่
ในขณะนี้ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.ได้เข้ามาปกครองประเทศ และกำลังเดินหน้าแก้ไขปัญหาของชาติโดยการปฏิรูปในด้านต่างๆ
ดังนั้น จึงน่าจะได้นำหลักการให้มาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาแทนนโยบายประชานิยมที่ล้มเหลว และปฏิรูปการศึกษาโดยการนำปรัชญาจิตนิยมมาใช้แทนวัตถุนิยมดังที่เป็นอยู่ หรือจะผสมผสาน 2 แนวทางเข้าด้วยกัน โดยยึดหลักจริยศาสตร์ที่ว่า จิตใจที่ดีจะต้องอยู่ในร่างกายที่ดี (The Sound Mind Must be in the Sound Body)
1. ปฏิคาหก คือผู้รับจะต้องเป็นผู้มีศีล
2. ทายาก คือผู้ให้จะต้องมีศรัทธา ทั้งก่อนให้ กำลังให้ และให้แล้วมีใจเบิกบาน ยินดีในการให้
3. เทยยทาน คือสิ่งที่ให้จะต้องได้มาโดยชอบธรรม ไม่ได้คดโกงใครเขามา
การให้ที่ประกอบด้วยองค์ 3 ดังกล่าวข้างต้น เป็นบ่อเกิดแห่งบุญ และเป็นการปฏิบัติธรรม ซึ่งมีอยู่ 3 ขั้นคือ
1. ทาน คือการให้
2. ศีล คือการรักษากายและวาจาให้เป็นปกติ
3. ภาวนา คือการเจริญวิปัสสนาหรือสมถกัมมัฏฐานเพื่อการเข้าถึงความจริงของสรรพสิ่ง ตามที่มันมี และตามที่มันเป็น หรือที่เรียกว่า ยถาภูตํ ตถาทสฺสนํ (มีอยู่อย่างไร เห็นอย่างนั้น)
การให้นอกจากเป็นบ่อเกิดแห่งบุญกุศลแล้ว ยังเป็นกุศโลบายสำคัญในการบริหารบุคคล ซึ่งเป็นหนึ่งในสามประการอันเป็นปัจจัยหลักในการบริหารองค์กรคือ 1. คน 2. เงิน 3. วัสดุ
การให้ที่มีส่วนสำคัญในการบริหารบุคคล คือการให้ความรู้ ให้โอกาส ให้สิ่งของ และที่สำคัญที่สุดได้แก่การให้อภัย ซึ่งพุทธศาสนาถือว่าเป็นสุดยอดของการให้เรียกว่า อภัยทาน
แต่การให้จะช่วยให้งานบริหารบุคคลบรรลุผลสำเร็จได้ ผู้ให้จะต้องรู้เกี่ยวกับความมี ความเป็นของผู้รับ เพื่อให้การให้นั่นสอดคล้องกับความต้องการของผู้รับ และผู้รับมีศักยภาพพอที่จะรับได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความรู้
พระพุทธเจ้าได้แบ่งบุคคลออกเป็น 4 ประเภทคือ
1. อุคฆฏิตัญญู เรียนรู้ได้เร็ว แม้เพียงได้ฟังครั้งเดียวเข้าใจแจ่มแจ้งแทงตลอด เปรียบได้กับดอกบัวพ้นน้ำพร้อมที่จะบานเมื่อได้รับแสงจากดวงอาทิตย์
2. วิปจิตัญญู ผู้ที่รู้และเข้าใจ เมื่อได้ฟังคำอธิบายขยายความเพียงเล็กน้อย เปรียบได้กับดอกบัวที่กำลังจะพ้นน้ำ และรอบานในวันต่อไป
3. เนยยะ ผู้ที่พอแนะนำให้แต่จะต้องฟังหลายครั้งจึงจะรู้และเข้าใจ เปรียบได้กับดอกบัวที่อยู่กลางน้ำจะต้องใช้เวลาในการโผล่ขึ้นเหนือน้ำ
4. ปทปรมะ ผู้ที่สั่งสอนไม่ได้ ไม่รู้ และไม่เข้าใจ มีนิสัยดื้อด้าน เปรียบได้กับดอกบัวที่อยู่ในโคลนตมเป็นอาหารปลาและเต่า
การแบ่งประเภทบุคคลดังกล่าวข้างต้น มีประโยชน์ในการแบ่งกลุ่มผู้เรียน และทำการสอนให้สอดคล้องกับศักยภาพแห่งการรับรู้ ทั้งยังมีประโยชน์สำหรับหัวหน้างานในการสั่งการมอบหมายงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไปทำ โดยยึดหลักความยากง่ายของงานให้สอดคล้องกับศักยภาพแห่งการเรียนรู้ของผู้ที่จะมอบหมายงานให้ทำ รวมไปถึงความเร่งด่วนและไม่เร่งด่วนของงานด้วย ทั้งนี้เพื่อให้งานมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุดตามที่องค์กรต้องการ
การให้ซึ่งนำมาใช้เป็นกุศโลบายในการปกครองได้มีมาก่อนพุทธกาล และปรากฏว่าได้ผลดีช่วยแก้ปัญหาความไม่สงบของประเทศได้ดังปรากฏในกฏทันตสูตร ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ดังต่อไปนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในแคว้นมคธ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ และเสด็จแวะพัก ณ บ้านพราหมณ์ชื่อ ขานุมัตทะ
ในเวลานั้นกฏทันตพราหมณ์ได้ครอบครองหมู่บ้านขานุมัตทะ และต้องการจะประกอบพิธีบูชายัญ จึงได้นำโคตัวผู้ ลูกโตทั้งตัวผู้ตัวเมีย แพะ และแกะอย่างละ 700 ตัว ผูกติดกันแล้วเพื่อเตรียมประกอบพิธีบูชายัญ
แต่ได้ทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาจึงได้ไปเข้าเฝ้าเพื่อทูลถามให้ทรงอธิบายถึงยัญญสัมปทาคือความถึงพร้อมยัญ
พระพุทธเจ้าได้ทรงเล่าถึงพระเจ้ามหาวิชิตะในอดีตกาล ผู้สมบูรณ์ด้วยทรัพย์ได้รับชัยชนะเหนือปฐพีมณฑล เป็นผู้ยิ่งใหญ่ใคร่จะบูชายัญเพื่อประโยชน์และความสุข จึงได้ตรัสเรียกปุโรหิตมาช่วยสอนวิธีบูชายัญ
ปุโรหิตแนะให้ปราบโจรผู้ร้ายก่อน แต่มิใช่ด้วยการฆ่าหรือจองจำ เพราะพวกที่เหลือจากการถูกฆ่าจะเบียดเบียนชนบทในภายหลัง โดยที่แท้ควรถอนรากโจรผู้ร้ายด้วยการจัดการทางเศรษฐกิจคือ
1. แจกพันธุ์พืชแก่เกษตรกรที่มีความอุตสาหะในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
2. ให้ทุนแก่พ่อค้าผู้มีความอุตสาหะในการทำการค้า
3. ให้อาหารและค่าจ้างแก่ข้าราชการ
โดยสรุปให้ทุกคนมีงานทำมีรายได้เพียงแค่นี้ พระราชทรัพย์ก็จะเพิ่มพูน ชนบทก็จะสงบไม่มีเสี้ยนหนาม คนทั้งหลายก็รื่นเริง อุ้มลูกจูงหลานไปสนุกสนานนอกบ้านโดยไม่ต้องปิดประตูเรือน
เมื่อพระเจ้ามหาวิชิตทรงทำตามคำแนะนำก็ได้ผลดี จึงได้เรียกปุโรหิตมาให้แจ้งหัวเมืองต่างๆ ทำตาม
จากแนวทางการปกครองซึ่งปรากฏในพระสูตรดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าการให้เป็นกุศโลบาย การปกครองที่ประสบความสำเร็จมาแล้วเมื่อ 2,500 กว่าปี
ดังนั้น การให้ในรูปแบบของนโยบายประชานิยมมิใช่ของใหม่ แท้จริงแล้วเป็นของลอกเลียนมาจากของเก่า แต่ที่ล้มเหลวก็ด้วยกระทำไม่ครบถ้วนตามแบบอย่างที่เคยทำมา
การให้ในยุคก่อนประสบความสำเร็จก็ด้วยเหตุปัจจัย 3 ประการคือ
1. ผู้ให้มีคุณธรรม มีพฤติกรรมโปร่งใส ไม่ทำเพื่อตนเองและพวกพ้อง แต่ยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
2. มีการคัดเลือกผู้รับก่อนให้ กล่าวคือ จะเลือกให้แก่คนที่มีคุณธรรม และรับผิดชอบในงานที่ทำ ทั้งรักษาสัญญาที่ให้ไว้แก่ผู้ให้ เช่น เกษตรกรที่ได้รับพันธุ์พืชก็จะนำไปปลูก และดูแลรักษาเป็นอย่างดี
3. เมื่อให้ไปแล้วมีการติดตามประเมินผลว่า ผู้รับเมื่อรับไปแล้วได้ดำเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขของการให้หรือไม่
ในขณะนี้ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.ได้เข้ามาปกครองประเทศ และกำลังเดินหน้าแก้ไขปัญหาของชาติโดยการปฏิรูปในด้านต่างๆ
ดังนั้น จึงน่าจะได้นำหลักการให้มาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาแทนนโยบายประชานิยมที่ล้มเหลว และปฏิรูปการศึกษาโดยการนำปรัชญาจิตนิยมมาใช้แทนวัตถุนิยมดังที่เป็นอยู่ หรือจะผสมผสาน 2 แนวทางเข้าด้วยกัน โดยยึดหลักจริยศาสตร์ที่ว่า จิตใจที่ดีจะต้องอยู่ในร่างกายที่ดี (The Sound Mind Must be in the Sound Body)