ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ภูเก็ตเริ่มประดับตกแต่งเมืองด้วยธงสัญลักษณ์ของงานประเพณีถือศีลกินผักตลอดสองข้างทาง รวมทั้งจุดสำคัญที่เป็นสัญลักษณ์เมืองภูเก็ต เพื่อประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชน นักท่องเที่ยวร่วมงาน 5-13 ตุลาคมนี้
วันนี้ (2 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศช่วงก่อนประเพณีถือศีลกินผักจังหวัดภูเก็ต ประจำปี 2556 วันที่ 5-13 ตุลาคม 2556 ขณะนี้ศาลเจ้าต่างๆ ที่เข้าร่วมงานประเพณีถือศีลกินผัก จำนวน 21 แห่ง ได้จัดให้ทำความสะอาดศาลเจ้า และโรงครัวซึ่งเป็นสถานที่สำหรับใช้ในการประกอบอาหารเจ รวมถึงมีการจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ในงานพิธีทั้งหมดไว้พร้อมแล้ว ขณะที่บริเวณถนนสายต่างๆ ในเขตตัวเมืองภูเก็ต ก็เริ่มมีการประดับธงทิวสัญลักษณ์ของงานประเพณีถือศีลกินผักตลอด 2 ข้างทาง เพื่อประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไปทราบว่างานประเพณีถือศีลกินผักของจังหวัดภูเก็ต กำลังเริ่มขึ้น
นอกจากนั้น ในส่วนของหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ที่ร่วมให้การสนับสนุนงานประเพณีถือศีลกินผัก ยังได้มีการประดับตกแต่งสถานที่ โดยการจัดทำซุ้มประตู ประดับโคมแดง และตุ๊กตาจีน เพื่อสร้างสีสันให้แก่งานไว้อย่างสวยงามเป็นที่สนใจของประชาชน และนักท่องเที่ยว ซึ่งคาดว่าปีนี้จะมีผู้เข้าร่วมงานประเพณีถือศีลกินผักคึกคักมากกว่าปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของผู้ที่เข้าร่วมงานประเพณีถือศีลกินผัก จะเริ่มล้างท้องเพื่อร่วมถือศีลกินผักตั้งแต่คืนวันที่ 3 ตุลาคม และจะเริ่มถือศีลกินผักหลังจากมีการประกอบพิธียกเสาโกเต้ง ซึ่งเป็นการอัญเชิญตะเกียงน้ำมัน 9 ดวงขึ้นสู่ยอดเสา สัญลักษณ์ของการเริ่มต้นงานประเพณีถือศีลกินผัก ในช่วงเย็นของวันที่ 4 ตุลาคม และในวันแรกของการเริ่มต้นงานประเพณีถือศีลกินผัก วันที่ 5 ตุลาคม ผู้ที่ร่วมถือศีลกินผักจะมีการประกอบพิธีบูชาพระด้วยเครื่องเซ่นต่างๆ ทั้งที่ศาลเจ้า และตามบ้านเรือนของผู้ถือศีลกินผัก เมื่อกินผักได้ครบ 3 วัน ถือว่าผู้นั้นสะอาด บริสุทธิ์ หรือที่เรียกว่า เช้ง
สำหรับงานประเพณีถือศีลกินผักจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเดิมเรียกว่า ประเพณีเจี๊ยะฉ่าย ได้เริ่มขึ้นครั้งแรกที่หมู่บ้าน ไล่ทู (ในทู) ซึ่งเป็นหมู่บ้านกะทู้ ต.กะทู้ จ.ภูเก็ตในปัจจุบัน และปัจจุบันประเพณีถือศีลกินผัก (เจี๊ยะฉ่าย) ของชาวภูเก็ต ได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาทุกปีนับเวลาได้หลายร้อยปีแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นประเพณีที่ดีงามของชาวภูเก็ต พิธีกรรมในช่วงงานประเพณีถือศีลกินผักจังหวัดภูเก็ต ประกอบด้วย พิธีบูชาพระ พิธีโขกุ้น (พิธีเลี้ยงอาหารทหารที่รักษาบริเวณปริมณฑล)
พิธีซงเก้ง เป็นการสวดมนต์ โดยจะเริ่มทำการสวดมนต์ตั้งแต่เมื่อพระกิ๊วฮ่องไต่เต๋ เข้าประทับในศาลเจ้า ทำพิธีสวดมนต์วันละ 2 ครั้ง เป็นลักษณะการสวดมนต์เช้า และสวดมนต์เย็น พิธีป้ายชิดแช้ (พิธีบูชาดาว) พิธีอิ้วเก้ง เป็นการออกประพาสเพื่อโปรดสัตว์ หรือทำนองออกเยี่ยมราษฎรของพระมหากษัตริย์ โดยมีขบวนธง และป้ายชื่อแห่นำหน้า พิธีโก้ยโห้ย (พิธีลุยไฟ) พิธีโก้ยห่าน (พิธีสะเดาะเคราะห์) และพิธีส่งพระ ซึ่งจะทำในวันสุดท้ายของการถือศีลกินผัก
วันนี้ (2 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศช่วงก่อนประเพณีถือศีลกินผักจังหวัดภูเก็ต ประจำปี 2556 วันที่ 5-13 ตุลาคม 2556 ขณะนี้ศาลเจ้าต่างๆ ที่เข้าร่วมงานประเพณีถือศีลกินผัก จำนวน 21 แห่ง ได้จัดให้ทำความสะอาดศาลเจ้า และโรงครัวซึ่งเป็นสถานที่สำหรับใช้ในการประกอบอาหารเจ รวมถึงมีการจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ในงานพิธีทั้งหมดไว้พร้อมแล้ว ขณะที่บริเวณถนนสายต่างๆ ในเขตตัวเมืองภูเก็ต ก็เริ่มมีการประดับธงทิวสัญลักษณ์ของงานประเพณีถือศีลกินผักตลอด 2 ข้างทาง เพื่อประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไปทราบว่างานประเพณีถือศีลกินผักของจังหวัดภูเก็ต กำลังเริ่มขึ้น
นอกจากนั้น ในส่วนของหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ที่ร่วมให้การสนับสนุนงานประเพณีถือศีลกินผัก ยังได้มีการประดับตกแต่งสถานที่ โดยการจัดทำซุ้มประตู ประดับโคมแดง และตุ๊กตาจีน เพื่อสร้างสีสันให้แก่งานไว้อย่างสวยงามเป็นที่สนใจของประชาชน และนักท่องเที่ยว ซึ่งคาดว่าปีนี้จะมีผู้เข้าร่วมงานประเพณีถือศีลกินผักคึกคักมากกว่าปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของผู้ที่เข้าร่วมงานประเพณีถือศีลกินผัก จะเริ่มล้างท้องเพื่อร่วมถือศีลกินผักตั้งแต่คืนวันที่ 3 ตุลาคม และจะเริ่มถือศีลกินผักหลังจากมีการประกอบพิธียกเสาโกเต้ง ซึ่งเป็นการอัญเชิญตะเกียงน้ำมัน 9 ดวงขึ้นสู่ยอดเสา สัญลักษณ์ของการเริ่มต้นงานประเพณีถือศีลกินผัก ในช่วงเย็นของวันที่ 4 ตุลาคม และในวันแรกของการเริ่มต้นงานประเพณีถือศีลกินผัก วันที่ 5 ตุลาคม ผู้ที่ร่วมถือศีลกินผักจะมีการประกอบพิธีบูชาพระด้วยเครื่องเซ่นต่างๆ ทั้งที่ศาลเจ้า และตามบ้านเรือนของผู้ถือศีลกินผัก เมื่อกินผักได้ครบ 3 วัน ถือว่าผู้นั้นสะอาด บริสุทธิ์ หรือที่เรียกว่า เช้ง
สำหรับงานประเพณีถือศีลกินผักจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเดิมเรียกว่า ประเพณีเจี๊ยะฉ่าย ได้เริ่มขึ้นครั้งแรกที่หมู่บ้าน ไล่ทู (ในทู) ซึ่งเป็นหมู่บ้านกะทู้ ต.กะทู้ จ.ภูเก็ตในปัจจุบัน และปัจจุบันประเพณีถือศีลกินผัก (เจี๊ยะฉ่าย) ของชาวภูเก็ต ได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาทุกปีนับเวลาได้หลายร้อยปีแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นประเพณีที่ดีงามของชาวภูเก็ต พิธีกรรมในช่วงงานประเพณีถือศีลกินผักจังหวัดภูเก็ต ประกอบด้วย พิธีบูชาพระ พิธีโขกุ้น (พิธีเลี้ยงอาหารทหารที่รักษาบริเวณปริมณฑล)
พิธีซงเก้ง เป็นการสวดมนต์ โดยจะเริ่มทำการสวดมนต์ตั้งแต่เมื่อพระกิ๊วฮ่องไต่เต๋ เข้าประทับในศาลเจ้า ทำพิธีสวดมนต์วันละ 2 ครั้ง เป็นลักษณะการสวดมนต์เช้า และสวดมนต์เย็น พิธีป้ายชิดแช้ (พิธีบูชาดาว) พิธีอิ้วเก้ง เป็นการออกประพาสเพื่อโปรดสัตว์ หรือทำนองออกเยี่ยมราษฎรของพระมหากษัตริย์ โดยมีขบวนธง และป้ายชื่อแห่นำหน้า พิธีโก้ยโห้ย (พิธีลุยไฟ) พิธีโก้ยห่าน (พิธีสะเดาะเคราะห์) และพิธีส่งพระ ซึ่งจะทำในวันสุดท้ายของการถือศีลกินผัก