สุทธิพงษ์ ปรัชญพฤทธิ์
https://www.facebook.com/suthipong.prachayapruithttp://twitter.com/indexthai2
จำได้ว่าเมื่อ 8-9 ปีที่แล้ว ราคาแก๊สหุงต้มถังเล็กราคาถังละประมาณ 130-150 บาท แล้วราคาก็เพิ่มขึ้นตลอดเวลา ราคาสินค้าและบริการต่างก็สูงขึ้นแบบมีอัตราเร่ง
ต้นเดือนกรกฎาคม 2557 ราคาแก๊สหุงต้มขึ้นมาเป็นถังละ 350 บาท ดูทีท่าว่าราคาน้ำมัน ราคาแก๊ส จะเดินหน้าขึ้นต่อไปไม่หยุด
เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนี้
ผู้เขียนสนใจความเป็นไปของตลาดเงิน ตลาดทุน และตลาดสินค้าโภคภัณฑ์โลก ได้เห็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับตลาดทุนในหลายมิติ จากทั้งภายในประเทศเองและจากต่างประเทศ เรื่องพลังงาน คลื่นโทรคมนาคมของประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับตลาดหุ้นว่าสิ่งที่เกิดขึ้น เป็นผลดีและไม่ดีต่อระบบ หรือต่อประเทศชาติประชาชนแบบไหนอย่างไร ไม่มีความรู้ด้านเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว แต่เข้าใจในเรื่องกลไกตลาดที่เกี่ยวข้องกันพอสมควร
ปัญหาพลังงานของประเทศไทย น่าจะแยกได้เป็น 2 ประเด็นหลัก ต้องแยกพิจารณาแต่ละประเด็นให้ชัดเจน จะได้ไม่ปะปนกัน
ประเด็นที่ 1 เรื่องสัมปทาน
นักวิชาการและคนที่สนใจหลายท่านได้นำแผนภูมิมาแสดงให้ทราบตลอด 5-6 ปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นการให้สัมปทานต่างชาติสำรวจ และขุดเจาะแหล่งน้ำมันทั่วประเทศ ทั้งบนบกและในทะเล ทำให้ทราบว่ามีบ่อน้ำมันบ่อแก๊สที่ไหนบ้าง ที่ใดแหล่งใหญ่-เล็ก
เอกชนอเมริกา เอกชนยุโรป ได้สัมปทานพลังงานจากประเทศไทยมากกว่าครึ่งศตวรรษแล้วเอกชนจีนคืออีกรายใหญ่ที่กำลังเข้ามาเกี่ยวข้องกับพลังงานในประเทศไทย
รู้สึกได้ว่ามีการให้สัมปทานแก่ต่างชาติแทบจะทุกพื้นที่ของประเทศไทย ทำไมจึงต้องให้สัมปทานมากมายปานนั้น
ไม่ได้ยินรายงานข้อมูลว่า ในแต่ละปีประเทศไทยมีรายได้จากสัมปทานต่างๆ ปีละเท่าใด หลายท่านบอกว่ารายได้จากสัมปทานประเทศไทยเสียเปรียบมาก ควรจะใช้วิธีแบ่งปันผลประโยชน์จากปริมาณน้ำมันที่นำขึ้นมาขายมากกว่าวิธีการคิดค่าสัมปทาน
แต่ผู้เขียนคิดว่า ประเทศไม่ควรจะหารายได้จากการขายทรัพยากรของประเทศ เพราะเป็นสมบัติที่ติดประเทศนับเป็นล้านปีมาแล้ว
หลายประเทศเขาสงวนน้ำมันใต้ดินไว้ แล้วไปซื้อของประเทศอื่นมาใช้แทน หรือไม่ก็ดูดน้ำมันมาใช้เองขายเอง
นางคริสตี้ เอ เคนนีย์ เอกอัครราชทูตประเทศสหรัฐอเมริกาเข้าหารือ ผบ.ทอ.
การทูตทุกวันนี้รับใช้ทุนสามานย์ มากกว่าจะรับใช้ประเทศชาติและประชาชนของประเทศตัวเอง ทำมาหากินกับทรัพยากรของประเทศอื่น ไม่สนใจความเดือดร้อนของประชาชนของประเทศตนเองและประเทศอื่นอุปมาอุปไมยคล้ายกับตำรวจไทย ดีเอสไอไทย และอัยการสูงสุดไทย ฯลฯ แทนที่จะรับใช้ประชาชนคนไทย แต่ไปรับใช้นักการเมืองทุนสามานย์ฉันใดก็ฉันนั้น เป็นแบบเดียวกันทั้งไทยและอเมริกา “มีวันนี้เพราะพี่ให้” ก็ยังอยู่กินเงินเดือนที่มาจากภาษีประชาชน ไม่ได้ไปกินเงินเดือนของพี่คนที่กล่าวถึงแต่อย่างใด
4 กรกฎาคม 2557 สถานทูตสหรัฐอเมริกา เชิญคนสำคัญของอดีตรัฐบาลยิ่งลักษณ์มาฉลองวันชาติเอกอัครราชทูตท่านนี้แสดงตัวเอาใจทักษิณทุกเรื่อง ไม่ว่าเรื่องหมู่บ้านคนเสื้อแดง การจาบจ้วงสถาบัน ไม่แยแสสายตาและความรู้สึกของคนไทยแต่อย่างใด
ลูกบอลเข้าเท้าพลอากาศเอก ดร.ประจิน จั่นตอง โอกาสเช่นนี้หายาก อย่าไปเออออห่อหมกกับเขาเลย เออออห่อหมกกับเขา ก็เสมือนเออออห่อหมกกับกลุ่มคนชั่ว ซึ่งมีทักษิณอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย เขาไม่ได้ทำงานเพื่อประชาชนอเมริกา ทำงานเพื่อทุนสามานย์ของอเมริกา ขู่ไม่ซ้อมรบคอร์บร้าโกลเพื่อเขาจะได้ขายอาวุธ เราต้องไปง้อคนที่ขายอาวุธด้วยหรือ คิดถึงแต่การทำแต่สงครามอย่างนั้นหรือ วาทกรรมและกิจกรรมเยอะมาก ไทยเป็นพันธมิตรนอกนาโต้
สั่งสอนกลุ่มผลประโยชน์อเมริกันให้รู้สำนึกบ้าง
เมื่อปี 1960 หรือเมื่อ 54 ปีที่แล้ว ที่เมืองบอสตัน ในหลวงทรงเคยแนะนำสหรัฐฯ ให้ GO SLOW แต่เขาก็ไม่เห็นความสำคัญ อเมริกาจึงลำบากมากขึ้นและลำบากมากมาจนถึงทุกวันนี้ หนี้ท่วมประเทศต้องพิมพ์เงินออกมาใช้ และคนตกงาน
เอกชนอเมริกันออกมาเที่ยวเกะกะระรานชาวโลก ทำธุรกิจอุตสาหกรรมเอารัดเอาเปรียบคนประเทศอื่น ประหนึ่งปล้นทรัพยากรของประเทศอื่น แทรกแซงเศรษฐกิจสังคมการเมืองประเทศอื่นในทางมิจฉาทิฐิ
ต้องให้ทำให้ได้ เปลี่ยนแปลงข้อตกลงผลประโยชน์ด้านพลังงาน ที่ประเทศไทยเสียเปรียบมาก และเสียเปรียบมานานแล้วกับเอกชนอเมริกันลดปริมาณการให้สัมปทานกับเชฟรอนเปลี่ยนค่าสัมปทานมาเป็นการแบ่งปันผลประโยชน์จากน้ำมันที่สูบขึ้นมาจากใต้แผ่นดินไทย รวมทั้งข้อตกลงทางตลาดเงินและอื่นๆ ที่มัดมือชกคนไทยเอาไว้
ที่จริง ประเทศไทยควรจะถือโอกาสเลิกการให้สัมปทานต่างชาติไปเลยก็ดี เอามาทำเอง ใช้เอง ขายเองแล้วหาทางพัฒนาพลังงานทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ให้เจริญขึ้นอีกทาง
ประเทศไทยจะเจริญกว่าทุกวันนี้ ไม่ต้องให้สัมปทานอะไรใครก็ได้
ประเทศไทยมีรายได้เท่าใดก็ไม่เคยพอใช้ ต้องกู้ทุกปี ไม่เคยมีปีไหนที่จะทำงบประมาณแบบสมดุล
เศรษฐกิจพอเพียง GO SLOW ไม่คอร์รัปชัน ไม่โกง ไม่ปล้นประเทศ ไม่ขายชาติกันเอง ประเทศไทยจะมีเงินเหลือใช้
“กระตุ้นความเจริญ” ของทุนนิยมสามานย์ คือระบบยากจนลง ช่องว่างคนรวยกับคนจนถ่างห่างมากขึ้น
“ทำแบบคนจน” ของในหลวง คือระบบมั่งคั่งขึ้น ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนจะไม่มาก
ประเด็นที่ 2 ราคาน้ำมันหน้าปั๊มสูงอย่างไม่เป็นธรรมเป็นผลมาจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจด้านพลังงาน
การสูงขึ้นของราคาน้ำมันมีมาจาก 2 ปัจจัย คือปัจจัยภายนอกประเทศ และปัจจัยภายในประเทศ
ปัจจัยภายนอกประเทศ
เกิดจากการพังทลายของค่าเงินเหรียญสหรัฐในปี 2000 และพังทลายต่อเนื่องมาอีกหลายปี โดยมีสาเหตุต่อเนื่องมาจากการพังทลายของตลาด NASDAQ ได้นำเสนอเรื่องนี้มาบ่อยครั้งแล้ว ผู้ที่สนใจสามารถหาดูได้จากบทความเก่าก่อนหน้านี้
ราคาสินค้าและบริการโลกผูกไว้กับค่าเงินเหรียญสหรัฐ เมื่อค่าเงินเหรียญสหรัฐเสียหาย ต้องใช้เงินเหรียญสหรัฐจำนวนมากขึ้น เพื่อซื้อสินค้าและบริการในปริมาณเท่าเดิม จึงทำให้เห็นว่าราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น สินค้าโภคภัณฑ์ ทอง โลหะต่างๆ เคมีภัณฑ์ เวชภัณฑ์ น้ำมัน พลังงานต่างๆ สินค้าเกษตร น้ำตาล ยางพารา มันสำปะหลัง ราคาสูงขึ้นทุกอย่าง ค่าขนส่ง ค่าเดินทางสูงขึ้น
ราคาน้ำและไฟฟ้าก็สูงขึ้นตามมา
ราคาน้ำมัน (Brent) สูงขึ้น กราฟแสดงให้เห็นว่าช่วงดังกล่าว หรือช่วงที่ค่าเงินเหรียญสหรัฐพังทลาย ราคาน้ำมันสูงขึ้น 758 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นก็พังทลายลงในปี 2008
ปัจจัยภายนอกประเทศ เราไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงอะไรได้ เป็นแบบเดียวกันทั้งโลก
ปัจจัยภายในประเทศ
วิกฤตเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2540 (1997) เกิดขึ้นในช่วงรัฐบาลพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ที่มีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเป็นรองนายกรัฐมนตรี ประเทศไทยต้องเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ต้องลอยค่าเงินบาท ค่าเงินบาทลอยลงจากระดับ 25 มาเป็น 56 บาทต่อเหรียญสหรัฐ
เป็นกลไกที่เข้าใจได้ บาทอ่อนค่าลง ทำให้ราคาน้ำมันในประเทศสูงขึ้น อันนี้เป็นข้อด้อยหรือข้อผิดพลาดของประเทศไทยเอง
รัฐวิสาหกิจ คือองค์กรที่บริหารจัดการกับสาธารณูปโภคของประเทศ ต้องเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ต้องบริหารจัดการให้ประชาชนได้ใช้อย่างพอเพียง ในราคาที่ต่ำ แต่มีการนำรัฐวิสาหกิจเข้าตลาดหุ้น ไปหาประโยชน์ส่วนตน ทำให้ราคาน้ำมันขึ้นมาอยู่ระดับสูง เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจด้านปิโตรเลียม ทำให้ราคาน้ำมันและแก๊สสูงขึ้นทำให้เอกชนผู้ถือหุ้น 49 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อยของระบบได้รับประโยชน์ แต่ประประชาชนส่วนใหญ่เดือดร้อนจากน้ำมันและแก๊สราคาแพง รวมทั้งสินค้าและบริการต่างๆ ก็แพงขึ้นอันเนื่องมาจากน้ำมันราคาสูงขึ้น
ปี 2544 ราคาน้ำมันของประเทศไทยเริ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและสูงขึ้นอย่างไม่เป็นธรรมเมื่อเวลาผ่านไป เมื่อเปรียบเทียบราคาน้ำมันกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียแล้ว ราคาน้ำมันของประเทศไทยสูงกว่าเขามาก
ความเป็นมา
วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 เป็นที่มาของกฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ 11 ฉบับ ในรัฐบาลชวน 2 กฎหมายออกมาหลังการแสดงความรับผิดชอบลาออกของรัฐบาลพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธที่มีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเป็นรองนายกรัฐมนตรี ที่นำพาประเทศประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ จนต้องเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF
กฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ 11 ฉบับ คนทั่วไปเรียกว่ากฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ คนไทยทั้งประเทศหดหู่ใจและเศร้าใจกับเรื่องนี้มาก เนื่องจากกำหนดให้มีการขายรัฐวิสาหกิจ (แปรรูปรัฐวิสาหกิจ) ใช้หนี้ IMF ในกรณีที่ไม่สามารถใช้หนี้ IMF ได้ตามกำหนด
ในช่วงหนึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หาเสียงเพื่อรับสมัครเลือกตั้งเป็นผู้แทนในปี 2543 ว่าหากได้เป็นรัฐบาล จะมายกเลิกกฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ เพื่อจะไม่ให้มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อใช้หนี้ IMF
โชคดีประเทศไทย การพังทลายของเงินเหรียญสหรัฐในปี 2000 (2543) ทำให้เงินไหลเข้าประเทศไทยท่วมท้น ทำให้ประเทศไทยสามารถใช้หนี้ IMF หมดในปี 2546 ใช้หนี้หมดก่อนกำหนดถึง 2 ปี
การใช้หนี้ IMF หมด และก่อนกำหนด หาใช่เกิดจากฝีมือการบริหารประเทศของทักษิณแต่อย่างใดไม่
แต่แทนที่ประเทศไทยไม่ต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อใช้หนี้ IMF แล้ว กลับปรากฏว่าประเทศไทยต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจหรือขายรัฐวิสาหกิจออกมามากเป็นประวัติการณ์
จากบางตอน ปาฐกถา ของทักษิณ วันชำระหนี้ IMF งวดสุดท้าย (31 กรกฎาคม 2546)
“..กฎหมายทุนรัฐวิสาหกิจ
ก่อนนี้ในกติกาเราต้องขายรัฐวิสาหกิจเพื่อนำเงินมาใช้หนี้ แต่วันนี้ไม่ใช่ครับ เราจะกระจายหุ้นรัฐวิสาหกิจในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการขยายการลงทุน เพื่อให้เกิดการบริหารงานอย่างมืออาชีพและเพื่อให้เกิดการตรวจสอบได้ทุกระบบ ซึ่งตรวจสอบจากระบบของตลาดทุนและตรวจสอบด้วยระบบของราชการ ตรวจสอบด้วยระบบของผู้ถือหุ้นเอง เพราะฉะนั้นรัฐวิสาหกิจไทยของเราจะเข้มแข็ง ซึ่งรัฐบาลนี้ได้ใช้มาตรการนี้บางส่วนแล้ว และใช้เรื่องของการรายงานระบบการตรวจสอบมากขึ้นแล้วทำให้รายได้ของรัฐวิสาหกิจเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เข้ามาเป็นรัฐบาล
หากรัฐวิสาหกิจทั้งหมดต้องไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ รัฐวิสาหกิจเหล่านี้จะบริหารงานอย่างมืออาชีพจะเข้มแข็งและแข็งแรงมากขึ้น
ไม่ได้เป็นการนำไปขายเพื่อนำมาใช้หนี้ เพราะไม่จำเป็นอีกแล้วที่จะต้องขายเพื่อใช้หนี้
เพราะวันนี้เราหมดพันธกรณีทางนี้
เราจึงจะมีการแก้กฎหมายทุนรัฐวิสาหกิจ โดยยกเลิก และจัดทำกฎหมายฉบับใหม่ คือกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงและพัฒนารัฐวิสาหกิจแห่งชาติ
เพื่อการปรับปรุงโครงสร้างรัฐวิสาหกิจให้เป็นองค์กรธุรกิจ เพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของการบริหารจัดการ
และส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของกิจการของรัฐ..”
…
รัฐวิสาหกิจเป็นของประชาชนคนไทย 100 เปอร์เซ็นต์อยู่แล้ว แล้วจะมาส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของกิจการของรัฐทำไม
ปาฐกถาดังกล่าว เป็นมิจฉาวาทกรรมล้างสมองคนไทย
ทำให้เกิดการปฏิบัติการที่เบี่ยงเบนไปจากคำนิยามของคำว่ารัฐวิสาหกิจ ไม่ต่างอะไรกับการปล้นสมบัติชาติ
มีการยกเลิกกฎหมายทุนรัฐวิสาหกิจ และจัดทำกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงและพัฒนารัฐวิสาหกิจแห่งชาติขึ้นมาแทน ผู้เขียนมักบอกกับผู้คนทั่วไปว่า เป็นการออกกฎหมายเพื่อมาใช้ในการปล้นสมบัติของประเทศตัวเอง
คำอธิบายต่างๆ ล้วนเป็นเพียงข้ออ้างให้ฟังดูดี เพื่อใช้ในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
หากแปรรูปแล้ว ราคาน้ำมันและแก๊สที่ขายให้ประชาชนราคาถูกลง คงไม่มีใครว่าอะไร จะมีคนยกย่องสรรเสริญ แต่แปรรูปแล้วราคาน้ำมันและแก๊สสูงขึ้นมาก เป็นเรื่องที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นตลอดเวลาของกินของใช้แพงขึ้นตลอดเวลา
แสดงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่างๆ ในช่วงของรัฐบาลทักษิณ
ปตท. (PTT) เป็นบริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูงที่สุดในตลาดหลักทรัพย์ฯ ถูกแปรรูปวันที่ 6 ธันวาคม 2544 (2001) หลังพ.ต.ท.ทักษิณเป็นรัฐบาล 10 เดือน เกิดขึ้นรวดเร็วมาก แปรรูปทั้งๆ ที่ยังไม่มีปัญหาการใช้หนี้ IMF
โรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ (TOP) ก็เป็นหนึ่งรัฐในรัฐวิสาหกิจด้านพลังงาน ถูกแปรรูปเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2547 (2004)
ทั้งหมด เป็นข้อมูลชี้บอกว่ารัฐบาลทักษิณมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจออกมามากเป็นประวัติการณ์
มี PTTAR ตัวเดียวที่แปรรูปหลังทักษิณหมดอำนาจไปแล้ว
และหลังจากนี้ ประเทศไทยไม่มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอีกเลย
ปตท.(PTT) ถูกแปรรูปรูปในช่วงที่ SET Index อยู่ในระดับต่ำมากที่ 305 จุด ทำให้คนคิดจะเป็นเจ้าของปตท.ซื้อหุ้นปตท.ได้ที่ราคาต่ำมาก คือหุ้นละ 35 บาท
แสดงให้เห็นถึงสัดส่วนของบริษัทแม่ปตท. (PTT) ที่ถือหุ้นในบริษัทลูกทั้งหลาย ทำให้กลุ่มนี้เป็นบริษัท “ผูกขาด” การกลั่นน้ำมันที่ผิดไปจากหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า บริษัทที่ผูกขาดสินค้าและบริการ จะนำมาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ได้
รัฐวิสาหกิจ คือรัฐเป็นเจ้าของ 100 เปอร์เซ็นต์
หรือประชาชนทั้งประเทศเป็นเจ้าของ
ตามธรรมดา “เจ้าของ” กิจการหรืออุตสาหกรรมทั่วไป ยกตัวอย่างเช่นเป็นเจ้าของพลังงานของระบบเจ้าของ (ประชาชน) จะต้องคิดออกแบบการบริหารจัดการอย่างไรที่จะให้ต้นทุนการผลิตทุนต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อจะได้ใช้เองที่ต้นทุนต่ำที่สุด หรือหากทำเพื่อการตลาด ก็จะทำให้สามารถแข่งสู้กับคู่แข่งได้
แต่
PTT “บริษัทแม่” ทำการตลาด บริหารจัดการกิจการน้ำมัน แปรรูปอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ
PTTEP “บริษัทลูก” ทำการสำรวจและจัดหาวัตถุดิบแปรรูปอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ
PTTGC TOP IRPC BCP “บริษัทลูก” บริษัทโรงกลั่นและบริษัทแยกส่วนประกอบปิโตรเคมีและก็แปรรูปอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ เช่นเดียวกัน
หลักการของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ คือต้องทำกำไรแก่ผู้ถือหุ้น
เมื่อทั้งบริษัทแม่และบริษัทลูกต่างอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ต่างทำกำไรด้วยกันทั้งหมดจึงทำให้ต้นทุนสุดท้ายการผลิตน้ำมันสูง (มาก)
และเมื่อเป็นเช่นนี้ จะไม่ให้น้ำมันที่ขายหน้าปั๊มราคาสูงได้อย่างไร ทำให้มีโอกาสทำกำไรถึง 2-3 ต่อ
ปตท.อาจจะขายน้ำมันที่ราคาเท่าทุนที่รับมาจากโรงกลั่นได้ อ้างได้ว่าไม่เอากำไร แต่กำไรอยู่ที่บริษัทลูก เมื่อรับปันผลมาจากบริษัทลูก ก็กลายมาเป็นกำไรของปตท. แบบนี้กำไรแค่ 2 ต่อ แต่ถ้าเอาน้ำมันจากโรงกลั่นมา แล้วบวกกำไรเข้าไปอีก แบบนี้คือกำไร 3 ต่อ
สิ่งแวดล้อมและโครงสร้างพลังงานไทยเป็นแบบผูกขาด ไม่มีคู่แข่ง ทำให้สามารถกำหนดราคาแบบไหน อย่างไร เท่าใด ก็ได้
ปิโตรนาสของมาเลเซีย ไม่ได้มีการแปรรูปเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นผลทำให้ราคาน้ำมันของประเทศมาเลเซียอยู่ในระดับต่ำ
ที่ประเทศไทย
รัฐวิสาหกิจด้านพลังงานของประเทศไทย แทนที่ประชาชนจะได้เป็นเจ้าของกิจการ ตามความหมายของคำนิยาม กลายเป็นว่า ประชาชนเป็นลูกค้าของกิจการ ที่ตนเองเป็นเจ้าของ ต้องบริโภคน้ำมันราคาสูงรับภาระเป็นผู้จ่ายเงินเดือน โบนัส เบี้ยประชุม ให้ผู้บริหาร และเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้น
ทางออก การแก้ปัญหาพลังงานของไทย ไม่ใช่เรื่องยากต้องทำให้ประชาชนเป็นเจ้าของกิจการ ไม่ใช่ลูกค้าของกิจการของตัวเอง
.............
https://www.facebook.com/suthipong.prachayapruit
http://twitter.com/indexthai2
https://www.facebook.com/suthipong.prachayapruithttp://twitter.com/indexthai2
จำได้ว่าเมื่อ 8-9 ปีที่แล้ว ราคาแก๊สหุงต้มถังเล็กราคาถังละประมาณ 130-150 บาท แล้วราคาก็เพิ่มขึ้นตลอดเวลา ราคาสินค้าและบริการต่างก็สูงขึ้นแบบมีอัตราเร่ง
ต้นเดือนกรกฎาคม 2557 ราคาแก๊สหุงต้มขึ้นมาเป็นถังละ 350 บาท ดูทีท่าว่าราคาน้ำมัน ราคาแก๊ส จะเดินหน้าขึ้นต่อไปไม่หยุด
เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนี้
ผู้เขียนสนใจความเป็นไปของตลาดเงิน ตลาดทุน และตลาดสินค้าโภคภัณฑ์โลก ได้เห็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับตลาดทุนในหลายมิติ จากทั้งภายในประเทศเองและจากต่างประเทศ เรื่องพลังงาน คลื่นโทรคมนาคมของประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับตลาดหุ้นว่าสิ่งที่เกิดขึ้น เป็นผลดีและไม่ดีต่อระบบ หรือต่อประเทศชาติประชาชนแบบไหนอย่างไร ไม่มีความรู้ด้านเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว แต่เข้าใจในเรื่องกลไกตลาดที่เกี่ยวข้องกันพอสมควร
ปัญหาพลังงานของประเทศไทย น่าจะแยกได้เป็น 2 ประเด็นหลัก ต้องแยกพิจารณาแต่ละประเด็นให้ชัดเจน จะได้ไม่ปะปนกัน
ประเด็นที่ 1 เรื่องสัมปทาน
นักวิชาการและคนที่สนใจหลายท่านได้นำแผนภูมิมาแสดงให้ทราบตลอด 5-6 ปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นการให้สัมปทานต่างชาติสำรวจ และขุดเจาะแหล่งน้ำมันทั่วประเทศ ทั้งบนบกและในทะเล ทำให้ทราบว่ามีบ่อน้ำมันบ่อแก๊สที่ไหนบ้าง ที่ใดแหล่งใหญ่-เล็ก
เอกชนอเมริกา เอกชนยุโรป ได้สัมปทานพลังงานจากประเทศไทยมากกว่าครึ่งศตวรรษแล้วเอกชนจีนคืออีกรายใหญ่ที่กำลังเข้ามาเกี่ยวข้องกับพลังงานในประเทศไทย
รู้สึกได้ว่ามีการให้สัมปทานแก่ต่างชาติแทบจะทุกพื้นที่ของประเทศไทย ทำไมจึงต้องให้สัมปทานมากมายปานนั้น
ไม่ได้ยินรายงานข้อมูลว่า ในแต่ละปีประเทศไทยมีรายได้จากสัมปทานต่างๆ ปีละเท่าใด หลายท่านบอกว่ารายได้จากสัมปทานประเทศไทยเสียเปรียบมาก ควรจะใช้วิธีแบ่งปันผลประโยชน์จากปริมาณน้ำมันที่นำขึ้นมาขายมากกว่าวิธีการคิดค่าสัมปทาน
แต่ผู้เขียนคิดว่า ประเทศไม่ควรจะหารายได้จากการขายทรัพยากรของประเทศ เพราะเป็นสมบัติที่ติดประเทศนับเป็นล้านปีมาแล้ว
หลายประเทศเขาสงวนน้ำมันใต้ดินไว้ แล้วไปซื้อของประเทศอื่นมาใช้แทน หรือไม่ก็ดูดน้ำมันมาใช้เองขายเอง
นางคริสตี้ เอ เคนนีย์ เอกอัครราชทูตประเทศสหรัฐอเมริกาเข้าหารือ ผบ.ทอ.
การทูตทุกวันนี้รับใช้ทุนสามานย์ มากกว่าจะรับใช้ประเทศชาติและประชาชนของประเทศตัวเอง ทำมาหากินกับทรัพยากรของประเทศอื่น ไม่สนใจความเดือดร้อนของประชาชนของประเทศตนเองและประเทศอื่นอุปมาอุปไมยคล้ายกับตำรวจไทย ดีเอสไอไทย และอัยการสูงสุดไทย ฯลฯ แทนที่จะรับใช้ประชาชนคนไทย แต่ไปรับใช้นักการเมืองทุนสามานย์ฉันใดก็ฉันนั้น เป็นแบบเดียวกันทั้งไทยและอเมริกา “มีวันนี้เพราะพี่ให้” ก็ยังอยู่กินเงินเดือนที่มาจากภาษีประชาชน ไม่ได้ไปกินเงินเดือนของพี่คนที่กล่าวถึงแต่อย่างใด
4 กรกฎาคม 2557 สถานทูตสหรัฐอเมริกา เชิญคนสำคัญของอดีตรัฐบาลยิ่งลักษณ์มาฉลองวันชาติเอกอัครราชทูตท่านนี้แสดงตัวเอาใจทักษิณทุกเรื่อง ไม่ว่าเรื่องหมู่บ้านคนเสื้อแดง การจาบจ้วงสถาบัน ไม่แยแสสายตาและความรู้สึกของคนไทยแต่อย่างใด
ลูกบอลเข้าเท้าพลอากาศเอก ดร.ประจิน จั่นตอง โอกาสเช่นนี้หายาก อย่าไปเออออห่อหมกกับเขาเลย เออออห่อหมกกับเขา ก็เสมือนเออออห่อหมกกับกลุ่มคนชั่ว ซึ่งมีทักษิณอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย เขาไม่ได้ทำงานเพื่อประชาชนอเมริกา ทำงานเพื่อทุนสามานย์ของอเมริกา ขู่ไม่ซ้อมรบคอร์บร้าโกลเพื่อเขาจะได้ขายอาวุธ เราต้องไปง้อคนที่ขายอาวุธด้วยหรือ คิดถึงแต่การทำแต่สงครามอย่างนั้นหรือ วาทกรรมและกิจกรรมเยอะมาก ไทยเป็นพันธมิตรนอกนาโต้
สั่งสอนกลุ่มผลประโยชน์อเมริกันให้รู้สำนึกบ้าง
เมื่อปี 1960 หรือเมื่อ 54 ปีที่แล้ว ที่เมืองบอสตัน ในหลวงทรงเคยแนะนำสหรัฐฯ ให้ GO SLOW แต่เขาก็ไม่เห็นความสำคัญ อเมริกาจึงลำบากมากขึ้นและลำบากมากมาจนถึงทุกวันนี้ หนี้ท่วมประเทศต้องพิมพ์เงินออกมาใช้ และคนตกงาน
เอกชนอเมริกันออกมาเที่ยวเกะกะระรานชาวโลก ทำธุรกิจอุตสาหกรรมเอารัดเอาเปรียบคนประเทศอื่น ประหนึ่งปล้นทรัพยากรของประเทศอื่น แทรกแซงเศรษฐกิจสังคมการเมืองประเทศอื่นในทางมิจฉาทิฐิ
ต้องให้ทำให้ได้ เปลี่ยนแปลงข้อตกลงผลประโยชน์ด้านพลังงาน ที่ประเทศไทยเสียเปรียบมาก และเสียเปรียบมานานแล้วกับเอกชนอเมริกันลดปริมาณการให้สัมปทานกับเชฟรอนเปลี่ยนค่าสัมปทานมาเป็นการแบ่งปันผลประโยชน์จากน้ำมันที่สูบขึ้นมาจากใต้แผ่นดินไทย รวมทั้งข้อตกลงทางตลาดเงินและอื่นๆ ที่มัดมือชกคนไทยเอาไว้
ที่จริง ประเทศไทยควรจะถือโอกาสเลิกการให้สัมปทานต่างชาติไปเลยก็ดี เอามาทำเอง ใช้เอง ขายเองแล้วหาทางพัฒนาพลังงานทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ให้เจริญขึ้นอีกทาง
ประเทศไทยจะเจริญกว่าทุกวันนี้ ไม่ต้องให้สัมปทานอะไรใครก็ได้
ประเทศไทยมีรายได้เท่าใดก็ไม่เคยพอใช้ ต้องกู้ทุกปี ไม่เคยมีปีไหนที่จะทำงบประมาณแบบสมดุล
เศรษฐกิจพอเพียง GO SLOW ไม่คอร์รัปชัน ไม่โกง ไม่ปล้นประเทศ ไม่ขายชาติกันเอง ประเทศไทยจะมีเงินเหลือใช้
“กระตุ้นความเจริญ” ของทุนนิยมสามานย์ คือระบบยากจนลง ช่องว่างคนรวยกับคนจนถ่างห่างมากขึ้น
“ทำแบบคนจน” ของในหลวง คือระบบมั่งคั่งขึ้น ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนจะไม่มาก
ประเด็นที่ 2 ราคาน้ำมันหน้าปั๊มสูงอย่างไม่เป็นธรรมเป็นผลมาจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจด้านพลังงาน
การสูงขึ้นของราคาน้ำมันมีมาจาก 2 ปัจจัย คือปัจจัยภายนอกประเทศ และปัจจัยภายในประเทศ
ปัจจัยภายนอกประเทศ
เกิดจากการพังทลายของค่าเงินเหรียญสหรัฐในปี 2000 และพังทลายต่อเนื่องมาอีกหลายปี โดยมีสาเหตุต่อเนื่องมาจากการพังทลายของตลาด NASDAQ ได้นำเสนอเรื่องนี้มาบ่อยครั้งแล้ว ผู้ที่สนใจสามารถหาดูได้จากบทความเก่าก่อนหน้านี้
ราคาสินค้าและบริการโลกผูกไว้กับค่าเงินเหรียญสหรัฐ เมื่อค่าเงินเหรียญสหรัฐเสียหาย ต้องใช้เงินเหรียญสหรัฐจำนวนมากขึ้น เพื่อซื้อสินค้าและบริการในปริมาณเท่าเดิม จึงทำให้เห็นว่าราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น สินค้าโภคภัณฑ์ ทอง โลหะต่างๆ เคมีภัณฑ์ เวชภัณฑ์ น้ำมัน พลังงานต่างๆ สินค้าเกษตร น้ำตาล ยางพารา มันสำปะหลัง ราคาสูงขึ้นทุกอย่าง ค่าขนส่ง ค่าเดินทางสูงขึ้น
ราคาน้ำและไฟฟ้าก็สูงขึ้นตามมา
ราคาน้ำมัน (Brent) สูงขึ้น กราฟแสดงให้เห็นว่าช่วงดังกล่าว หรือช่วงที่ค่าเงินเหรียญสหรัฐพังทลาย ราคาน้ำมันสูงขึ้น 758 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นก็พังทลายลงในปี 2008
ปัจจัยภายนอกประเทศ เราไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงอะไรได้ เป็นแบบเดียวกันทั้งโลก
ปัจจัยภายในประเทศ
วิกฤตเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2540 (1997) เกิดขึ้นในช่วงรัฐบาลพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ที่มีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเป็นรองนายกรัฐมนตรี ประเทศไทยต้องเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ต้องลอยค่าเงินบาท ค่าเงินบาทลอยลงจากระดับ 25 มาเป็น 56 บาทต่อเหรียญสหรัฐ
เป็นกลไกที่เข้าใจได้ บาทอ่อนค่าลง ทำให้ราคาน้ำมันในประเทศสูงขึ้น อันนี้เป็นข้อด้อยหรือข้อผิดพลาดของประเทศไทยเอง
รัฐวิสาหกิจ คือองค์กรที่บริหารจัดการกับสาธารณูปโภคของประเทศ ต้องเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ต้องบริหารจัดการให้ประชาชนได้ใช้อย่างพอเพียง ในราคาที่ต่ำ แต่มีการนำรัฐวิสาหกิจเข้าตลาดหุ้น ไปหาประโยชน์ส่วนตน ทำให้ราคาน้ำมันขึ้นมาอยู่ระดับสูง เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจด้านปิโตรเลียม ทำให้ราคาน้ำมันและแก๊สสูงขึ้นทำให้เอกชนผู้ถือหุ้น 49 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อยของระบบได้รับประโยชน์ แต่ประประชาชนส่วนใหญ่เดือดร้อนจากน้ำมันและแก๊สราคาแพง รวมทั้งสินค้าและบริการต่างๆ ก็แพงขึ้นอันเนื่องมาจากน้ำมันราคาสูงขึ้น
ปี 2544 ราคาน้ำมันของประเทศไทยเริ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและสูงขึ้นอย่างไม่เป็นธรรมเมื่อเวลาผ่านไป เมื่อเปรียบเทียบราคาน้ำมันกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียแล้ว ราคาน้ำมันของประเทศไทยสูงกว่าเขามาก
ความเป็นมา
วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 เป็นที่มาของกฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ 11 ฉบับ ในรัฐบาลชวน 2 กฎหมายออกมาหลังการแสดงความรับผิดชอบลาออกของรัฐบาลพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธที่มีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเป็นรองนายกรัฐมนตรี ที่นำพาประเทศประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ จนต้องเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF
กฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ 11 ฉบับ คนทั่วไปเรียกว่ากฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ คนไทยทั้งประเทศหดหู่ใจและเศร้าใจกับเรื่องนี้มาก เนื่องจากกำหนดให้มีการขายรัฐวิสาหกิจ (แปรรูปรัฐวิสาหกิจ) ใช้หนี้ IMF ในกรณีที่ไม่สามารถใช้หนี้ IMF ได้ตามกำหนด
ในช่วงหนึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หาเสียงเพื่อรับสมัครเลือกตั้งเป็นผู้แทนในปี 2543 ว่าหากได้เป็นรัฐบาล จะมายกเลิกกฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ เพื่อจะไม่ให้มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อใช้หนี้ IMF
โชคดีประเทศไทย การพังทลายของเงินเหรียญสหรัฐในปี 2000 (2543) ทำให้เงินไหลเข้าประเทศไทยท่วมท้น ทำให้ประเทศไทยสามารถใช้หนี้ IMF หมดในปี 2546 ใช้หนี้หมดก่อนกำหนดถึง 2 ปี
การใช้หนี้ IMF หมด และก่อนกำหนด หาใช่เกิดจากฝีมือการบริหารประเทศของทักษิณแต่อย่างใดไม่
แต่แทนที่ประเทศไทยไม่ต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อใช้หนี้ IMF แล้ว กลับปรากฏว่าประเทศไทยต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจหรือขายรัฐวิสาหกิจออกมามากเป็นประวัติการณ์
จากบางตอน ปาฐกถา ของทักษิณ วันชำระหนี้ IMF งวดสุดท้าย (31 กรกฎาคม 2546)
“..กฎหมายทุนรัฐวิสาหกิจ
ก่อนนี้ในกติกาเราต้องขายรัฐวิสาหกิจเพื่อนำเงินมาใช้หนี้ แต่วันนี้ไม่ใช่ครับ เราจะกระจายหุ้นรัฐวิสาหกิจในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการขยายการลงทุน เพื่อให้เกิดการบริหารงานอย่างมืออาชีพและเพื่อให้เกิดการตรวจสอบได้ทุกระบบ ซึ่งตรวจสอบจากระบบของตลาดทุนและตรวจสอบด้วยระบบของราชการ ตรวจสอบด้วยระบบของผู้ถือหุ้นเอง เพราะฉะนั้นรัฐวิสาหกิจไทยของเราจะเข้มแข็ง ซึ่งรัฐบาลนี้ได้ใช้มาตรการนี้บางส่วนแล้ว และใช้เรื่องของการรายงานระบบการตรวจสอบมากขึ้นแล้วทำให้รายได้ของรัฐวิสาหกิจเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เข้ามาเป็นรัฐบาล
หากรัฐวิสาหกิจทั้งหมดต้องไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ รัฐวิสาหกิจเหล่านี้จะบริหารงานอย่างมืออาชีพจะเข้มแข็งและแข็งแรงมากขึ้น
ไม่ได้เป็นการนำไปขายเพื่อนำมาใช้หนี้ เพราะไม่จำเป็นอีกแล้วที่จะต้องขายเพื่อใช้หนี้
เพราะวันนี้เราหมดพันธกรณีทางนี้
เราจึงจะมีการแก้กฎหมายทุนรัฐวิสาหกิจ โดยยกเลิก และจัดทำกฎหมายฉบับใหม่ คือกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงและพัฒนารัฐวิสาหกิจแห่งชาติ
เพื่อการปรับปรุงโครงสร้างรัฐวิสาหกิจให้เป็นองค์กรธุรกิจ เพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของการบริหารจัดการ
และส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของกิจการของรัฐ..”
…
รัฐวิสาหกิจเป็นของประชาชนคนไทย 100 เปอร์เซ็นต์อยู่แล้ว แล้วจะมาส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของกิจการของรัฐทำไม
ปาฐกถาดังกล่าว เป็นมิจฉาวาทกรรมล้างสมองคนไทย
ทำให้เกิดการปฏิบัติการที่เบี่ยงเบนไปจากคำนิยามของคำว่ารัฐวิสาหกิจ ไม่ต่างอะไรกับการปล้นสมบัติชาติ
มีการยกเลิกกฎหมายทุนรัฐวิสาหกิจ และจัดทำกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงและพัฒนารัฐวิสาหกิจแห่งชาติขึ้นมาแทน ผู้เขียนมักบอกกับผู้คนทั่วไปว่า เป็นการออกกฎหมายเพื่อมาใช้ในการปล้นสมบัติของประเทศตัวเอง
คำอธิบายต่างๆ ล้วนเป็นเพียงข้ออ้างให้ฟังดูดี เพื่อใช้ในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
หากแปรรูปแล้ว ราคาน้ำมันและแก๊สที่ขายให้ประชาชนราคาถูกลง คงไม่มีใครว่าอะไร จะมีคนยกย่องสรรเสริญ แต่แปรรูปแล้วราคาน้ำมันและแก๊สสูงขึ้นมาก เป็นเรื่องที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นตลอดเวลาของกินของใช้แพงขึ้นตลอดเวลา
แสดงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่างๆ ในช่วงของรัฐบาลทักษิณ
ปตท. (PTT) เป็นบริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูงที่สุดในตลาดหลักทรัพย์ฯ ถูกแปรรูปวันที่ 6 ธันวาคม 2544 (2001) หลังพ.ต.ท.ทักษิณเป็นรัฐบาล 10 เดือน เกิดขึ้นรวดเร็วมาก แปรรูปทั้งๆ ที่ยังไม่มีปัญหาการใช้หนี้ IMF
โรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ (TOP) ก็เป็นหนึ่งรัฐในรัฐวิสาหกิจด้านพลังงาน ถูกแปรรูปเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2547 (2004)
ทั้งหมด เป็นข้อมูลชี้บอกว่ารัฐบาลทักษิณมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจออกมามากเป็นประวัติการณ์
มี PTTAR ตัวเดียวที่แปรรูปหลังทักษิณหมดอำนาจไปแล้ว
และหลังจากนี้ ประเทศไทยไม่มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอีกเลย
ปตท.(PTT) ถูกแปรรูปรูปในช่วงที่ SET Index อยู่ในระดับต่ำมากที่ 305 จุด ทำให้คนคิดจะเป็นเจ้าของปตท.ซื้อหุ้นปตท.ได้ที่ราคาต่ำมาก คือหุ้นละ 35 บาท
แสดงให้เห็นถึงสัดส่วนของบริษัทแม่ปตท. (PTT) ที่ถือหุ้นในบริษัทลูกทั้งหลาย ทำให้กลุ่มนี้เป็นบริษัท “ผูกขาด” การกลั่นน้ำมันที่ผิดไปจากหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า บริษัทที่ผูกขาดสินค้าและบริการ จะนำมาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ได้
รัฐวิสาหกิจ คือรัฐเป็นเจ้าของ 100 เปอร์เซ็นต์
หรือประชาชนทั้งประเทศเป็นเจ้าของ
ตามธรรมดา “เจ้าของ” กิจการหรืออุตสาหกรรมทั่วไป ยกตัวอย่างเช่นเป็นเจ้าของพลังงานของระบบเจ้าของ (ประชาชน) จะต้องคิดออกแบบการบริหารจัดการอย่างไรที่จะให้ต้นทุนการผลิตทุนต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อจะได้ใช้เองที่ต้นทุนต่ำที่สุด หรือหากทำเพื่อการตลาด ก็จะทำให้สามารถแข่งสู้กับคู่แข่งได้
แต่
PTT “บริษัทแม่” ทำการตลาด บริหารจัดการกิจการน้ำมัน แปรรูปอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ
PTTEP “บริษัทลูก” ทำการสำรวจและจัดหาวัตถุดิบแปรรูปอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ
PTTGC TOP IRPC BCP “บริษัทลูก” บริษัทโรงกลั่นและบริษัทแยกส่วนประกอบปิโตรเคมีและก็แปรรูปอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ เช่นเดียวกัน
หลักการของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ คือต้องทำกำไรแก่ผู้ถือหุ้น
เมื่อทั้งบริษัทแม่และบริษัทลูกต่างอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ต่างทำกำไรด้วยกันทั้งหมดจึงทำให้ต้นทุนสุดท้ายการผลิตน้ำมันสูง (มาก)
และเมื่อเป็นเช่นนี้ จะไม่ให้น้ำมันที่ขายหน้าปั๊มราคาสูงได้อย่างไร ทำให้มีโอกาสทำกำไรถึง 2-3 ต่อ
ปตท.อาจจะขายน้ำมันที่ราคาเท่าทุนที่รับมาจากโรงกลั่นได้ อ้างได้ว่าไม่เอากำไร แต่กำไรอยู่ที่บริษัทลูก เมื่อรับปันผลมาจากบริษัทลูก ก็กลายมาเป็นกำไรของปตท. แบบนี้กำไรแค่ 2 ต่อ แต่ถ้าเอาน้ำมันจากโรงกลั่นมา แล้วบวกกำไรเข้าไปอีก แบบนี้คือกำไร 3 ต่อ
สิ่งแวดล้อมและโครงสร้างพลังงานไทยเป็นแบบผูกขาด ไม่มีคู่แข่ง ทำให้สามารถกำหนดราคาแบบไหน อย่างไร เท่าใด ก็ได้
ปิโตรนาสของมาเลเซีย ไม่ได้มีการแปรรูปเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นผลทำให้ราคาน้ำมันของประเทศมาเลเซียอยู่ในระดับต่ำ
ที่ประเทศไทย
รัฐวิสาหกิจด้านพลังงานของประเทศไทย แทนที่ประชาชนจะได้เป็นเจ้าของกิจการ ตามความหมายของคำนิยาม กลายเป็นว่า ประชาชนเป็นลูกค้าของกิจการ ที่ตนเองเป็นเจ้าของ ต้องบริโภคน้ำมันราคาสูงรับภาระเป็นผู้จ่ายเงินเดือน โบนัส เบี้ยประชุม ให้ผู้บริหาร และเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้น
ทางออก การแก้ปัญหาพลังงานของไทย ไม่ใช่เรื่องยากต้องทำให้ประชาชนเป็นเจ้าของกิจการ ไม่ใช่ลูกค้าของกิจการของตัวเอง
.............
https://www.facebook.com/suthipong.prachayapruit
http://twitter.com/indexthai2