ไทยพลาดโอกาสในการปฏิรูปแรงงาน
เมื่อยังใช้ต่างชาติมาทำงานแทนโดยไร้จุดหมาย
การปฏิรูปทางเศรษฐกิจของไทยที่สำคัญที่สุดน่าจะหนีไม่พ้นเรื่องของการปฏิรูปขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
เรื่องนี้มิใช่เฉพาะการค้าระหว่างประเทศที่เกี่ยวพันไปถึง กฎระเบียบทางการค้า การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ อัตราแลกเปลี่ยน แต่เพียงลำพัง หากแต่เกี่ยวพันไปในหลายๆ ประเด็นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการผลิตของประเทศ
ความสามารถในการลดหรือคงราคาหรือต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือการนำเสนอสินค้าใหม่ที่คู่แข่งไม่มีจึงเป็นประเด็นสำคัญที่จะต้องมี โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยที่ตกอยู่ใน “กับดักของความเจริญ” ที่ทำให้ก้าวไปเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วก็ไปไม่ได้ขณะที่ก็ไม่สามารถย้อนกลับไปเป็นประเทศด้อยพัฒนาเหมือนเดิมได้ เหตุก็เพราะต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจากค่าจ้างค่าแรงที่เพิ่มขึ้นอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความเจริญของประเทศที่ทำให้รายได้ของประเทศที่สูงขึ้นแต่สูงไม่พอที่จะขยับไปเหมือนประเทศพัฒนาแล้ว
การผลิตสินค้าบริการใดก็ตามแต่จะมีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 3 ตัวหลักคือ แรงงาน ทุน และเทคโนโลยี
แรงงานเป็นองค์ประกอบที่ประเทศไทยใช้เป็นความได้เปรียบในอดีตที่ผ่านมาด้วยแรงงานที่มีจำนวนมากและที่สำคัญราคาถูก กรรมวิธีการผลิตในอดีตที่ผ่านมาผู้ประกอบการจึงเลือกใช้การผลิตแบบที่ใช้แรงงานเข้มข้น หรือ Labor Intensive มากกว่าใช้ทุนหรือเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า
อุตสาหกรรมที่ใช้การผลิตด้วยแรงงานเป็นหลักจึงเกิดขึ้นและเป็นกระดูกสันหลังให้กับโครงสร้างเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยมาจนถึงปัจจุบันโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
ปัจจุบันแรงงานไทยไม่มีราคาถูกอีกต่อไปแล้ว แต่วิธีการผลิตก็ไม่ได้ปรับเปลี่ยนไปแต่อย่างใดยังคงบิดเบือนความจริงใช้แรงงานเข้มข้นต่อไป เหตุก็คือผู้ประกอบการหันไปหาแรงงานต่างชาติที่นำเข้ามาทดแทนนั่นเอง นี่จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลทำให้ไทยติด “กับดักความเจริญ” เดินหน้าก็ไม่ได้ ถอยหลังยิ่งไม่ได้ใหญ่
หลักฐานเชิงประจักษ์มีให้เห็นชัดเจนเมื่อแรงงานต่างชาติเกิดการอพยพกลับประเทศบ้านเกิดโดยพร้อมเพรียงกันในช่วง คสช.ควบคุมอำนาจการบริหารบ้านเมือง ผู้ประกอบการที่ใช้แรงงานต่างชาติจึงร้องกันระงมจะเป็นจะตายเอาให้ได้ เช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านที่แรงงานเหล่านี้อพยพมาก็ประสบปัญหาว่าหากแรงงานเหล่านี้ไม่สามารถกลับไปทำงานได้เหมือนเดิมประเทศตนเองจะสร้างงานรองรับให้ได้อย่างไร
มาตรการผลักดันให้กลับไปทำงานในต่างประเทศโดยเร็ว เช่น ลดราคาและเวลาในการทำหนังสือเดินทางและวีซ่า หรือแม้แต่หันกลับมาญาติดีกับไทยแบบคาดไม่ถึงโดยการส่งคืนนักโทษโดยไม่มีเงื่อนไขจึงอาจถือได้ว่าเป็นผลพวงของประเด็นการใช้แรงงานต่างชาติไม่มากก็น้อย
ดูไปแล้วอาจถือได้ว่าเป็น Win-Win กับทั้ง 2 ฝ่ายไม่ว่าจะเป็นในระดับเอกชนคือระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างหรือระหว่างประเทศ แต่มันดีสำหรับประเทศไทยจริงหรือ?
ตัวอย่างทีมชาติอังกฤษตกรอบคัดเลือกฟุตบอลโลกอยู่อย่างสม่ำเสมอๆขณะที่ทีมฟุตบอลสโมสรอังกฤษจำนวนมากกลับอยู่ในแนวหน้าสะท้อนให้เห็นถึงประโยชน์ของเอกชนกับประเทศจากการใช้นักเตะ (แรงงาน) ต่างชาติจำนวนมากถึงประมาณ 1 ใน 3 ของจำนวนผู้เล่นในระดับสโมสร มันดีจริงสำหรับระดับเอกชนแต่ประเทศนั้นเสียประโยชน์เพราะไม่ได้เปิดโอกาสให้นักเตะคนในชาติได้พัฒนาแต่อย่างใด ผิดกับบราซิลหรือชาติอื่นๆ ที่ฟูมฟักผลิตนักเตะคนในชาติออกมา
ที่กำลังโปรโมตอย่างเอาเป็นเอาตายเรื่องการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน หากมีการไหลเข้าแรงงานโดยเสรี ไทยจะมีขีดความสามารถสู้กับชาติสมาชิกอื่นได้หรือ?
การที่นายจ้างไม่ต้องเปลี่ยนวิธีการผลิตในแง่เอกชนก็ถือได้ว่าถูกต้อง แต่ในระดับประเทศที่ผลประโยชน์ก็คือการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันในภาพรวมนั้น หากนายจ้างผู้ประกอบการยังไม่เผชิญเงื่อนไขที่ทำให้ตนเองจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิต ไม่ต้องซื้อเครื่องจักรหรือใช้เทคโนโลยีใหม่ โอกาสในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยการเปลี่ยนวิธีการผลิตให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ของยุคสมัยก็จะไม่เกิด แน่นอนว่าต้นทุนการผลิตอาจเท่าเดิมเพราะลดค่าจ้างหรือจ่ายเท่าเดิมแต่มีแรงงานต่างชาติมาทำงานแทนแรงงานไทย
แต่ที่สำคัญก็คือคนไทยและประเทศไทยไม่ได้ผลประโยชน์อะไรขึ้นมาจากการสนับสนุนให้แรงงานต่างชาติกลับเข้ามาทำงานได้อย่างอิสระเสรีเหมือนเดิม มิใช่เฉพาะเรื่องตำแหน่งงานที่คนไทยจะเสียไปเพราะนายจ้างอ้างเสมอว่าคนไทยไม่ยอมทำ แต่ทักษะความชำนาญการที่แรงงานต่างชาติจะได้ไปและที่สำคัญการพึ่งพาแรงงานต่างชาติก็จะเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ สวนทางกับขีดความสามารถในการผลิตเพราะยังฝืนใช้เทคโนโลยีแบบดั้งเดิมที่ล้าสมัยไปเรื่อยๆ
อย่าลืมว่า นอกจากการศึกษาในโรงเรียนแล้ว ทักษะความชำนาญการในการทำงานนั้นเป็นสิ่งที่เกื้อหนุนแรงงานให้มีขีดความสามารถในการผลิตได้เป็นอย่างดี
โครงสร้างประชากรของไทยกำลังจะมีคนที่อยู่ในวัยทำงานน้อยลงไปเรื่อยๆ ขณะที่ผู้สูงอายุก็มีสัดส่วนมากขึ้นสวนทางมา หากไม่เริ่มต้นนโยบายแรงงานให้ถูกต้อง ความสามารถในการแข่งขันก็คงเกิดขึ้นได้ยาก
ที่สำคัญการสะสมทุนและการปรับปรุงเทคโนโลยีก็จะไม่เกิดเพราะผู้ประกอบการยังมีทางเลือกนำแรงงานต่างชาติมาใช้ทดแทน แต่จะทำไปได้สักกี่น้ำ ประเทศเพื่อนบ้านถึงจุดหนึ่งก็จะกลายเป็นเช่นไทยในไม่ช้า ราคาและจำนวนแรงงานก็จะกลับมาเป็นปัญหาเช่นเดิม แล้วไทยจะหาแรงงานราคาถูกจากไหนมาทำงาน
ประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีลักษณะของการสะสมทุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยี ไม่มีประเทศใดสามารถเป็นประเทศพัฒนาแล้วได้โดยไม่มีการสะสมทุนและมีเทคโนโลยีเป็นของตนเอง
ไทยทำตรงกันข้ามมากว่า 55 ปี พึ่งพาการบริโภคแทนการออมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เมื่อไม่ส่งเสริมคนในประเทศให้ออมและยังพึ่งพาเงินออมจากต่างประเทศเพื่อหวังเป็นทุนเพื่อก้าวหน้าในทางลัด ด้วยแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่ผ่านมากว่า 11 แผน วิกฤตเศรษฐกิจจากการพึ่งพาเงินออมจากต่างชาติเมื่อปี 2540 ล้วนเป็นหลักฐานที่สนับสนุนว่าเราเดินมาถูกทางหรือไม่ แล้วยังไม่สำเหนียกอีกหรืออย่างไร?
นี่คือปัญหาในเชิงโครงสร้างที่หากเข้ามาแก้ก็คือการปฏิรูป
เมื่อยังใช้ต่างชาติมาทำงานแทนโดยไร้จุดหมาย
การปฏิรูปทางเศรษฐกิจของไทยที่สำคัญที่สุดน่าจะหนีไม่พ้นเรื่องของการปฏิรูปขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
เรื่องนี้มิใช่เฉพาะการค้าระหว่างประเทศที่เกี่ยวพันไปถึง กฎระเบียบทางการค้า การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ อัตราแลกเปลี่ยน แต่เพียงลำพัง หากแต่เกี่ยวพันไปในหลายๆ ประเด็นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการผลิตของประเทศ
ความสามารถในการลดหรือคงราคาหรือต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือการนำเสนอสินค้าใหม่ที่คู่แข่งไม่มีจึงเป็นประเด็นสำคัญที่จะต้องมี โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยที่ตกอยู่ใน “กับดักของความเจริญ” ที่ทำให้ก้าวไปเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วก็ไปไม่ได้ขณะที่ก็ไม่สามารถย้อนกลับไปเป็นประเทศด้อยพัฒนาเหมือนเดิมได้ เหตุก็เพราะต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจากค่าจ้างค่าแรงที่เพิ่มขึ้นอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความเจริญของประเทศที่ทำให้รายได้ของประเทศที่สูงขึ้นแต่สูงไม่พอที่จะขยับไปเหมือนประเทศพัฒนาแล้ว
การผลิตสินค้าบริการใดก็ตามแต่จะมีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 3 ตัวหลักคือ แรงงาน ทุน และเทคโนโลยี
แรงงานเป็นองค์ประกอบที่ประเทศไทยใช้เป็นความได้เปรียบในอดีตที่ผ่านมาด้วยแรงงานที่มีจำนวนมากและที่สำคัญราคาถูก กรรมวิธีการผลิตในอดีตที่ผ่านมาผู้ประกอบการจึงเลือกใช้การผลิตแบบที่ใช้แรงงานเข้มข้น หรือ Labor Intensive มากกว่าใช้ทุนหรือเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า
อุตสาหกรรมที่ใช้การผลิตด้วยแรงงานเป็นหลักจึงเกิดขึ้นและเป็นกระดูกสันหลังให้กับโครงสร้างเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยมาจนถึงปัจจุบันโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
ปัจจุบันแรงงานไทยไม่มีราคาถูกอีกต่อไปแล้ว แต่วิธีการผลิตก็ไม่ได้ปรับเปลี่ยนไปแต่อย่างใดยังคงบิดเบือนความจริงใช้แรงงานเข้มข้นต่อไป เหตุก็คือผู้ประกอบการหันไปหาแรงงานต่างชาติที่นำเข้ามาทดแทนนั่นเอง นี่จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลทำให้ไทยติด “กับดักความเจริญ” เดินหน้าก็ไม่ได้ ถอยหลังยิ่งไม่ได้ใหญ่
หลักฐานเชิงประจักษ์มีให้เห็นชัดเจนเมื่อแรงงานต่างชาติเกิดการอพยพกลับประเทศบ้านเกิดโดยพร้อมเพรียงกันในช่วง คสช.ควบคุมอำนาจการบริหารบ้านเมือง ผู้ประกอบการที่ใช้แรงงานต่างชาติจึงร้องกันระงมจะเป็นจะตายเอาให้ได้ เช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านที่แรงงานเหล่านี้อพยพมาก็ประสบปัญหาว่าหากแรงงานเหล่านี้ไม่สามารถกลับไปทำงานได้เหมือนเดิมประเทศตนเองจะสร้างงานรองรับให้ได้อย่างไร
มาตรการผลักดันให้กลับไปทำงานในต่างประเทศโดยเร็ว เช่น ลดราคาและเวลาในการทำหนังสือเดินทางและวีซ่า หรือแม้แต่หันกลับมาญาติดีกับไทยแบบคาดไม่ถึงโดยการส่งคืนนักโทษโดยไม่มีเงื่อนไขจึงอาจถือได้ว่าเป็นผลพวงของประเด็นการใช้แรงงานต่างชาติไม่มากก็น้อย
ดูไปแล้วอาจถือได้ว่าเป็น Win-Win กับทั้ง 2 ฝ่ายไม่ว่าจะเป็นในระดับเอกชนคือระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างหรือระหว่างประเทศ แต่มันดีสำหรับประเทศไทยจริงหรือ?
ตัวอย่างทีมชาติอังกฤษตกรอบคัดเลือกฟุตบอลโลกอยู่อย่างสม่ำเสมอๆขณะที่ทีมฟุตบอลสโมสรอังกฤษจำนวนมากกลับอยู่ในแนวหน้าสะท้อนให้เห็นถึงประโยชน์ของเอกชนกับประเทศจากการใช้นักเตะ (แรงงาน) ต่างชาติจำนวนมากถึงประมาณ 1 ใน 3 ของจำนวนผู้เล่นในระดับสโมสร มันดีจริงสำหรับระดับเอกชนแต่ประเทศนั้นเสียประโยชน์เพราะไม่ได้เปิดโอกาสให้นักเตะคนในชาติได้พัฒนาแต่อย่างใด ผิดกับบราซิลหรือชาติอื่นๆ ที่ฟูมฟักผลิตนักเตะคนในชาติออกมา
ที่กำลังโปรโมตอย่างเอาเป็นเอาตายเรื่องการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน หากมีการไหลเข้าแรงงานโดยเสรี ไทยจะมีขีดความสามารถสู้กับชาติสมาชิกอื่นได้หรือ?
การที่นายจ้างไม่ต้องเปลี่ยนวิธีการผลิตในแง่เอกชนก็ถือได้ว่าถูกต้อง แต่ในระดับประเทศที่ผลประโยชน์ก็คือการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันในภาพรวมนั้น หากนายจ้างผู้ประกอบการยังไม่เผชิญเงื่อนไขที่ทำให้ตนเองจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิต ไม่ต้องซื้อเครื่องจักรหรือใช้เทคโนโลยีใหม่ โอกาสในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยการเปลี่ยนวิธีการผลิตให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ของยุคสมัยก็จะไม่เกิด แน่นอนว่าต้นทุนการผลิตอาจเท่าเดิมเพราะลดค่าจ้างหรือจ่ายเท่าเดิมแต่มีแรงงานต่างชาติมาทำงานแทนแรงงานไทย
แต่ที่สำคัญก็คือคนไทยและประเทศไทยไม่ได้ผลประโยชน์อะไรขึ้นมาจากการสนับสนุนให้แรงงานต่างชาติกลับเข้ามาทำงานได้อย่างอิสระเสรีเหมือนเดิม มิใช่เฉพาะเรื่องตำแหน่งงานที่คนไทยจะเสียไปเพราะนายจ้างอ้างเสมอว่าคนไทยไม่ยอมทำ แต่ทักษะความชำนาญการที่แรงงานต่างชาติจะได้ไปและที่สำคัญการพึ่งพาแรงงานต่างชาติก็จะเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ สวนทางกับขีดความสามารถในการผลิตเพราะยังฝืนใช้เทคโนโลยีแบบดั้งเดิมที่ล้าสมัยไปเรื่อยๆ
อย่าลืมว่า นอกจากการศึกษาในโรงเรียนแล้ว ทักษะความชำนาญการในการทำงานนั้นเป็นสิ่งที่เกื้อหนุนแรงงานให้มีขีดความสามารถในการผลิตได้เป็นอย่างดี
โครงสร้างประชากรของไทยกำลังจะมีคนที่อยู่ในวัยทำงานน้อยลงไปเรื่อยๆ ขณะที่ผู้สูงอายุก็มีสัดส่วนมากขึ้นสวนทางมา หากไม่เริ่มต้นนโยบายแรงงานให้ถูกต้อง ความสามารถในการแข่งขันก็คงเกิดขึ้นได้ยาก
ที่สำคัญการสะสมทุนและการปรับปรุงเทคโนโลยีก็จะไม่เกิดเพราะผู้ประกอบการยังมีทางเลือกนำแรงงานต่างชาติมาใช้ทดแทน แต่จะทำไปได้สักกี่น้ำ ประเทศเพื่อนบ้านถึงจุดหนึ่งก็จะกลายเป็นเช่นไทยในไม่ช้า ราคาและจำนวนแรงงานก็จะกลับมาเป็นปัญหาเช่นเดิม แล้วไทยจะหาแรงงานราคาถูกจากไหนมาทำงาน
ประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีลักษณะของการสะสมทุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยี ไม่มีประเทศใดสามารถเป็นประเทศพัฒนาแล้วได้โดยไม่มีการสะสมทุนและมีเทคโนโลยีเป็นของตนเอง
ไทยทำตรงกันข้ามมากว่า 55 ปี พึ่งพาการบริโภคแทนการออมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เมื่อไม่ส่งเสริมคนในประเทศให้ออมและยังพึ่งพาเงินออมจากต่างประเทศเพื่อหวังเป็นทุนเพื่อก้าวหน้าในทางลัด ด้วยแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่ผ่านมากว่า 11 แผน วิกฤตเศรษฐกิจจากการพึ่งพาเงินออมจากต่างชาติเมื่อปี 2540 ล้วนเป็นหลักฐานที่สนับสนุนว่าเราเดินมาถูกทางหรือไม่ แล้วยังไม่สำเหนียกอีกหรืออย่างไร?
นี่คือปัญหาในเชิงโครงสร้างที่หากเข้ามาแก้ก็คือการปฏิรูป