โดย...อภินันท์ สิริรัตนจิตต์
คณะศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
“ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง
มีคันโยงผูกสายไว้ปลายเสา
โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา
ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าเป็นน่า¬อาย
ไม่เมาเหล้าแล้วเรายังเมารัก
สุดจะหักห้ามจิตคิดไฉน
ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป
แต่เมาใจนี้ประจำทุกค่ำคืน”
จากคำประพันธ์ข้างต้น ถือว่าเป็นวรรคทองของกลอนสุภาพ ที่สุนทรภู่ฝากไว้เป็นมรดกทางภาษาอันแฝงด้วยแง่งามความคิดที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง จำความได้สมัยผู้เขียนศึกษาอยู่ในประถมศึกษาตามหลักสูตรเก่า (พ.ศ. 2521) ในชั่วโมงวิชาภาษาไทยและเวลาว่าง ครูจะให้อ่านและท่องบทอาขยานจนจำขึ้นใจและยังจำมาใช้ได้ในชีวิตปัจจุบัน โดยเฉพาะบทกลอนของสุนทรภู่ อาทิ บทกลอนเกี่ยวกับคติในการพูด จากนิราศภูเขาทองและเพลงยาวถวายโอวาท ที่ว่า
“อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย”
และ
“ถึงบางพูดพูดดีมีศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา”
ประวัติย่อของสุนทรภู่ เป็นกระฎุมพีผู้ดีมีมีมิตรชาวบางกอก เกิดในวังหลัง ปากคลองบางกอกน้อย เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 ยุคต้นสมัยแผ่นดินรัชกาลที่ 1 เมื่อเติบโตขึ้นเข้ารับราชการในวังหลวง เป็นนักปราชญ์ราชบัณฑิตประจำราชสำนักรัชกาลที่ 2 ต่อมาได้ออกบวชในรัชกาลที่ 3 อยู่วัดเทพธิดาราม นานถึง 18 ปี (พ.ศ.2367-2385 อายุ 38-56 ปี) แล้วลาสึกมารับราชการในวังหน้ากับสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ (แต่อาศัยอยู่พระราชวังเดิม ธนบุรี) จนถึงแก่กรรมในรัชกาลที่ 4 เมื่อ พ.ศ. 2398 อายุ 69 ปี
ผลงานของสุนทรภู่ที่ประพันธ์ฝากไว้มีมากมาย ที่ถูกรวบรวมและแบ่งประเภทไว้ได้ คือ ประเภทนิราศ นิทาน สุภาษิต บทละคร บทเสภา และบทเห่กล่อม ตามหลักฐานปรากฏชัด ได้แก่ นิราศ 9 เรื่อง ประกอบด้วยนิราศเมืองแกลง นิราศพระบาท นิราศภูเขาทอง นิราศวัดเจ้าฟ้า นิราศอิเหนา นิราศสุพรรณ นิราศพระประธม และนิราศเมืองเพชร รวมทั้งรำพันพิลาป ส่วนนิทานสุนทรภู่ มี 5 เรื่อง ได้แก่ เรื่องโคบุตร (8 เล่มสมุดไทย) เรื่องพระอภัยมณี (94 เล่มสมุดไทย) เรื่องพระไชยสุริยา (แต่งเป็นกาพย์) (1 เล่มสมุดไทย) เรื่องลักษณวงศ์ (9 เล่มสมุดไทย มีแต่งต่ออีก 10 เล่มด้วยสำนวนผู้อื่น) และเรื่องสิงหไตรภพ (15 เล่มสมุดไทย) สุภาษิต 3 เรื่อง ได้แก่ สวัสดิรักษา เพลงยาวถวายโอวาท สุภาษิตสอนหญิง บทละคร 1 เรื่อง คือ เรื่องอภัยนุราช บทเสภา 2 เรื่อง ได้แก่ เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม และเรื่องพระราชพงศาวดาร (8 เล่มสมุดไทย) รวมทั้งบทเห่กล่อม 4 เรื่อง ได้แก่ เห่เรื่องจับระบำ เห่เรื่องกากี เห่เรื่องพระอภัยมณี และเห่เรื่องโคบุตร
อนึ่ง สุนทรภู่ได้แต่งวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี นับเป็นผลงานที่คนไทยประทับใจและรู้จักสุนทรภู่มากที่สุดเรื่องหนึ่ง เนื่องจากเรื่องพระอภัยมณีได้ถูกดัดแปลงมาทำละคร และการ์ตูน ซึ่งสื่อสารได้ถึงกลุ่มเป้าหมายทั้งบุคคลทั่วไปและเด็ก เป็นที่ทราบว่าสังคมโลกยอมรับ สุนทรภู่ ว่าเป็นอัจฉริยบุคคล ที่โลกและไทยได้จารึกคุณประโยชน์และคุณูปการจากผลงานมากมาย ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งทางวิชาการ ประวัติศาสตร์และบันเทิงคดี โดยสิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่า คนไทยมีความสามารถเอกอุ ไม่แพ้ชนชาติใดในโลกมาทุกยุคสมัย ลักษณะเด่นความงดงามของภาษาในบทกลอน ซึ่งนับเป็นเสน่ห์ยิ่งของสุนทรภู่ คือกวีได้เขียนกลอนไปแล้วทำให้ผู้อ่านได้ข้อคิด เพราะใช้คำสัมผัสระหว่างกันอย่างสละสลวย โดยทำให้อำนาจของคำคล้องจองสามารถสะกดใจผู้อ่านให้เข้าใจและจดจำคำประพันธ์ได้ อย่างที่ท่านพุทธทาส กล่าวสนับสนุนไว้ว่า บทกลอนมีอำนาจของคำคล้องจอง ทำให้ผู้อ่านจำได้ ตัวอย่างความประทับใจในบทกลอนที่ผู้เขียนจำได้ตั้งแต่สมัยประถมศึกษา จากบางตอนในพระอภัยมณี (พระฤาษีสอนสุดสาคร) ว่า
บัดเดี๋ยวดังหงั่งเหง่งวังเวงแว่ว
สะดุ้งแล้วเหลียวแลชะแง้หา
เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา
ประคองพาขึ้นไปจนบนบรรพต
แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์
มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด
ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน
และบางตอนจาก สุภาษิตสอนหญิง ที่ผู้เขียนเคยท่องจำในวัยเด็ก เปรียบเสมือนคำสอนใจ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ว่า
มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท
อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์
จงมักน้อยกินน้อยค่อยบรรจง
อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน
จากการศึกษาผลงานของสุนทรภู่อย่างนิราศเมืองแกลง เป็นต้น ทำให้ทราบว่า พื้นที่ทุกท้องถิ่นของไทย เป็นแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารและเต็มไปด้วยนักปราชญ์ราชบัณฑิต สะท้อนให้เห็นว่า แผ่นดินนี้เป็นแผ่นดินทอง ซึ่งคนไทยควรหันหน้ามาส่งเสริมค่านิยมยกย่องและเชิดชู คนไทยที่มีความสามารถ มีอัจฉริยภาพเด่นและสนับสนุนคนดีให้เป็นแบบอย่างที่ดีในสังคมเรา ในทางกลับกันควรปรับเปลี่ยนค่านิยมทางลบ โดยการลด ละ เลิก ค่านิยมด้านการแก่งแย่งชิงดี การทำงานเอาหน้าโดยไม่คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม และค่านิยมที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาประเทศ
อนึ่ง สภาวการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน ทำให้ผู้เขียนรู้สึกมีความหวังและปรารถนาได้เห็นสังคมไทยเต็มไปด้วยความสุขสงบ รุ่งเรืองด้วยศิลปะวิทยาการต่างๆ โดยเฉพาะงานวรรณศิลป์ที่มีสุนทรภู่ ครูกวีเอกของโลก เป็นต้นแบบ เพราะจากแนวคิดในการจัดระเบียบประเทศ รวมทั้งปรับปรุงระบบการศึกษาโดยเฉพาะมีการเพิ่มเติมวิชาประวัติศาสตร์หรือวิชาหน้าที่พลเมือง ตามความมุ่งมาดของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แล้ว ดังนั้นการใช้วรรณกรรมเป็นฐานในการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ควบคู่กับภาษาไทย น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งในการเพิ่มเติมค่านิยมความรักชาติ ผ่านงานวรรณกรรมและใช้บุคคลต้นแบบอย่างสุนทรภู่ ที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้คนไทยยุคปัจจุบัน ได้เห็นความสำคัญและใช้ภูมิปัญญาของชาติอย่างเห็นคุณค่า
เนื่องในวาระวันสำคัญของโลก 26 มิถุนายน วันสุนทรภู่ ผู้เขียนจึงเสนอแนะให้มีวาระส่งเสริมและขับเคลื่อนการศึกษาวรรณกรรมเอกของชาติและบุคคลสำคัญทางวรรณกรรมไทย ที่มีผลงานวรรณกรรมส่งเสริมค่านิยมอันดีงาม โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างกระทรวงวัฒนธรรมและกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อสร้างเสริมค่านิยมรักชาติ รู้จักความเป็นชาติไทย และเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เสริมสร้างสุนทรียะในหัวใจให้กับพลเมืองประเทศนี้ รวมทั้งเป็นการร่วมประกาศให้พลเมืองของเพื่อนต่างชาติร่วมโลกได้รู้ว่า เมืองไทยมีดี คนไทยมีความสามารถเอกอุไม่แพ้ชนชาติใด
คณะศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
“ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง
มีคันโยงผูกสายไว้ปลายเสา
โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา
ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าเป็นน่า¬อาย
ไม่เมาเหล้าแล้วเรายังเมารัก
สุดจะหักห้ามจิตคิดไฉน
ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป
แต่เมาใจนี้ประจำทุกค่ำคืน”
จากคำประพันธ์ข้างต้น ถือว่าเป็นวรรคทองของกลอนสุภาพ ที่สุนทรภู่ฝากไว้เป็นมรดกทางภาษาอันแฝงด้วยแง่งามความคิดที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง จำความได้สมัยผู้เขียนศึกษาอยู่ในประถมศึกษาตามหลักสูตรเก่า (พ.ศ. 2521) ในชั่วโมงวิชาภาษาไทยและเวลาว่าง ครูจะให้อ่านและท่องบทอาขยานจนจำขึ้นใจและยังจำมาใช้ได้ในชีวิตปัจจุบัน โดยเฉพาะบทกลอนของสุนทรภู่ อาทิ บทกลอนเกี่ยวกับคติในการพูด จากนิราศภูเขาทองและเพลงยาวถวายโอวาท ที่ว่า
“อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย”
และ
“ถึงบางพูดพูดดีมีศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา”
ประวัติย่อของสุนทรภู่ เป็นกระฎุมพีผู้ดีมีมีมิตรชาวบางกอก เกิดในวังหลัง ปากคลองบางกอกน้อย เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 ยุคต้นสมัยแผ่นดินรัชกาลที่ 1 เมื่อเติบโตขึ้นเข้ารับราชการในวังหลวง เป็นนักปราชญ์ราชบัณฑิตประจำราชสำนักรัชกาลที่ 2 ต่อมาได้ออกบวชในรัชกาลที่ 3 อยู่วัดเทพธิดาราม นานถึง 18 ปี (พ.ศ.2367-2385 อายุ 38-56 ปี) แล้วลาสึกมารับราชการในวังหน้ากับสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ (แต่อาศัยอยู่พระราชวังเดิม ธนบุรี) จนถึงแก่กรรมในรัชกาลที่ 4 เมื่อ พ.ศ. 2398 อายุ 69 ปี
ผลงานของสุนทรภู่ที่ประพันธ์ฝากไว้มีมากมาย ที่ถูกรวบรวมและแบ่งประเภทไว้ได้ คือ ประเภทนิราศ นิทาน สุภาษิต บทละคร บทเสภา และบทเห่กล่อม ตามหลักฐานปรากฏชัด ได้แก่ นิราศ 9 เรื่อง ประกอบด้วยนิราศเมืองแกลง นิราศพระบาท นิราศภูเขาทอง นิราศวัดเจ้าฟ้า นิราศอิเหนา นิราศสุพรรณ นิราศพระประธม และนิราศเมืองเพชร รวมทั้งรำพันพิลาป ส่วนนิทานสุนทรภู่ มี 5 เรื่อง ได้แก่ เรื่องโคบุตร (8 เล่มสมุดไทย) เรื่องพระอภัยมณี (94 เล่มสมุดไทย) เรื่องพระไชยสุริยา (แต่งเป็นกาพย์) (1 เล่มสมุดไทย) เรื่องลักษณวงศ์ (9 เล่มสมุดไทย มีแต่งต่ออีก 10 เล่มด้วยสำนวนผู้อื่น) และเรื่องสิงหไตรภพ (15 เล่มสมุดไทย) สุภาษิต 3 เรื่อง ได้แก่ สวัสดิรักษา เพลงยาวถวายโอวาท สุภาษิตสอนหญิง บทละคร 1 เรื่อง คือ เรื่องอภัยนุราช บทเสภา 2 เรื่อง ได้แก่ เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม และเรื่องพระราชพงศาวดาร (8 เล่มสมุดไทย) รวมทั้งบทเห่กล่อม 4 เรื่อง ได้แก่ เห่เรื่องจับระบำ เห่เรื่องกากี เห่เรื่องพระอภัยมณี และเห่เรื่องโคบุตร
อนึ่ง สุนทรภู่ได้แต่งวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี นับเป็นผลงานที่คนไทยประทับใจและรู้จักสุนทรภู่มากที่สุดเรื่องหนึ่ง เนื่องจากเรื่องพระอภัยมณีได้ถูกดัดแปลงมาทำละคร และการ์ตูน ซึ่งสื่อสารได้ถึงกลุ่มเป้าหมายทั้งบุคคลทั่วไปและเด็ก เป็นที่ทราบว่าสังคมโลกยอมรับ สุนทรภู่ ว่าเป็นอัจฉริยบุคคล ที่โลกและไทยได้จารึกคุณประโยชน์และคุณูปการจากผลงานมากมาย ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งทางวิชาการ ประวัติศาสตร์และบันเทิงคดี โดยสิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่า คนไทยมีความสามารถเอกอุ ไม่แพ้ชนชาติใดในโลกมาทุกยุคสมัย ลักษณะเด่นความงดงามของภาษาในบทกลอน ซึ่งนับเป็นเสน่ห์ยิ่งของสุนทรภู่ คือกวีได้เขียนกลอนไปแล้วทำให้ผู้อ่านได้ข้อคิด เพราะใช้คำสัมผัสระหว่างกันอย่างสละสลวย โดยทำให้อำนาจของคำคล้องจองสามารถสะกดใจผู้อ่านให้เข้าใจและจดจำคำประพันธ์ได้ อย่างที่ท่านพุทธทาส กล่าวสนับสนุนไว้ว่า บทกลอนมีอำนาจของคำคล้องจอง ทำให้ผู้อ่านจำได้ ตัวอย่างความประทับใจในบทกลอนที่ผู้เขียนจำได้ตั้งแต่สมัยประถมศึกษา จากบางตอนในพระอภัยมณี (พระฤาษีสอนสุดสาคร) ว่า
บัดเดี๋ยวดังหงั่งเหง่งวังเวงแว่ว
สะดุ้งแล้วเหลียวแลชะแง้หา
เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา
ประคองพาขึ้นไปจนบนบรรพต
แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์
มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด
ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน
และบางตอนจาก สุภาษิตสอนหญิง ที่ผู้เขียนเคยท่องจำในวัยเด็ก เปรียบเสมือนคำสอนใจ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ว่า
มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท
อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์
จงมักน้อยกินน้อยค่อยบรรจง
อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน
จากการศึกษาผลงานของสุนทรภู่อย่างนิราศเมืองแกลง เป็นต้น ทำให้ทราบว่า พื้นที่ทุกท้องถิ่นของไทย เป็นแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารและเต็มไปด้วยนักปราชญ์ราชบัณฑิต สะท้อนให้เห็นว่า แผ่นดินนี้เป็นแผ่นดินทอง ซึ่งคนไทยควรหันหน้ามาส่งเสริมค่านิยมยกย่องและเชิดชู คนไทยที่มีความสามารถ มีอัจฉริยภาพเด่นและสนับสนุนคนดีให้เป็นแบบอย่างที่ดีในสังคมเรา ในทางกลับกันควรปรับเปลี่ยนค่านิยมทางลบ โดยการลด ละ เลิก ค่านิยมด้านการแก่งแย่งชิงดี การทำงานเอาหน้าโดยไม่คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม และค่านิยมที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาประเทศ
อนึ่ง สภาวการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน ทำให้ผู้เขียนรู้สึกมีความหวังและปรารถนาได้เห็นสังคมไทยเต็มไปด้วยความสุขสงบ รุ่งเรืองด้วยศิลปะวิทยาการต่างๆ โดยเฉพาะงานวรรณศิลป์ที่มีสุนทรภู่ ครูกวีเอกของโลก เป็นต้นแบบ เพราะจากแนวคิดในการจัดระเบียบประเทศ รวมทั้งปรับปรุงระบบการศึกษาโดยเฉพาะมีการเพิ่มเติมวิชาประวัติศาสตร์หรือวิชาหน้าที่พลเมือง ตามความมุ่งมาดของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แล้ว ดังนั้นการใช้วรรณกรรมเป็นฐานในการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ควบคู่กับภาษาไทย น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งในการเพิ่มเติมค่านิยมความรักชาติ ผ่านงานวรรณกรรมและใช้บุคคลต้นแบบอย่างสุนทรภู่ ที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้คนไทยยุคปัจจุบัน ได้เห็นความสำคัญและใช้ภูมิปัญญาของชาติอย่างเห็นคุณค่า
เนื่องในวาระวันสำคัญของโลก 26 มิถุนายน วันสุนทรภู่ ผู้เขียนจึงเสนอแนะให้มีวาระส่งเสริมและขับเคลื่อนการศึกษาวรรณกรรมเอกของชาติและบุคคลสำคัญทางวรรณกรรมไทย ที่มีผลงานวรรณกรรมส่งเสริมค่านิยมอันดีงาม โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างกระทรวงวัฒนธรรมและกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อสร้างเสริมค่านิยมรักชาติ รู้จักความเป็นชาติไทย และเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เสริมสร้างสุนทรียะในหัวใจให้กับพลเมืองประเทศนี้ รวมทั้งเป็นการร่วมประกาศให้พลเมืองของเพื่อนต่างชาติร่วมโลกได้รู้ว่า เมืองไทยมีดี คนไทยมีความสามารถเอกอุไม่แพ้ชนชาติใด