หลายปีที่ผ่านมานี้ คนไทยชอกช้ำใจกับข่าวคราวในเชิงลบของพนักงานอัยการ ที่ได้ออกสู่สาธารณะอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย เป็นข่าวคราวเกี่ยวกับการกระทำที่คนไทยรู้สึกว่าสวนทางกับความยุติธรรมอย่างร้ายแรงหลายครั้ง
กระทั่งเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการอำนวยความยุติธรรมและการปราบปรามการทุจริต ที่มักจะมีข่าวคราวว่าการดำเนินคดีอาญาของ ป.ป.ช.จะเกิดความขัดแย้งจากทางพนักงานอัยการและสูญเสียเวลาไปเป็นอันมาก กระทั่ง ป.ป.ช.ต้องฟ้องคดีเอง และหลายคดี ป.ป.ช.ก็เป็นฝ่ายชนะคดี โดยที่ผู้เกี่ยวข้องในการไม่ยอมฟ้องคดีไม่เคยต้องรับผิดชอบใดๆ เลย
กระทั่งมีการใช้อำนาจถอนฟ้องคดีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลแล้ว เพื่อเอื้อประโยชน์ทางการเมืองให้นักการเมือง มีการสั่งไม่ฎีกาในคดีที่มีปกติต้องฎีกา เพื่อประโยชน์ของนักการเมือง รวมทั้งการเข้าไปเป็นกรรมการของรัฐวิสาหกิจ ทำให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน และในที่สุดก็เกิดความเสียหายใหญ่หลวงแก่รัฐวิสาหกิจหลายครั้ง
เหล่านี้เป็นความชอกช้ำระกำใจที่คนไทยต้องการเห็นการปฏิรูปสำนักงานอัยการสูงสุด
ยิ่งล่าสุดนี้พฤติกรรมของอดีตอัยการสูงสุดที่ให้คำตอบต่อฝ่ายทหารว่า นาทีนี้ไม่ลาออก และก่อนหน้านั้นเล็กน้อยที่แสดงท่าทีอันส่อว่าจะกระทบต่อพระมหากษัตริย์ สร้างความเจ็บช้ำน้ำใจอย่างยิ่ง
เพราะคำพูดสุดท้ายของอดีตอัยการสูงสุดที่รู้กันทั้งบ้านทั้งเมืองว่า มีความสัมพันธ์ลึกล้ำกับระบอบทักษิณ จึงทำให้เกิดคำพูดแรกสุดของฝ่ายทหารคือ ถ้าอย่างนี้ผมยึดอำนาจ และเกิดการรัฐประหารครั้งที่ 13 ขึ้นดังที่เป็นอยู่ในขณะนี้
เราจะปฏิรูปสำนักงานอัยการสูงสุดกันอย่างไร? จะต้องรู้จักฐานะและภูมิหลังของหน่วยงานนี้เสียก่อน
ข้อแรก แต่ก่อนหน้านี้พนักงานอัยการทั้งหลายสังกัดอยู่ในกรมอัยการ ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับกรมในกระทรวงมหาดไทย ทำหน้าที่เป็นทนายแผ่นดินในการฟ้องคดีอาญาผู้กระทำผิดตามกฎหมาย ที่กระทบต่อรัฐและว่าต่างแก้ต่างให้กับหน่วยราชการหรือส่วนราชการที่เป็นคดีความ
ฐานะของกรมอัยการคือกลไกหนึ่งของรัฐบาลในการฟ้องผู้กระทำความผิดต่อศาล และในการเป็นทนายความว่าต่างแก้ต่างให้ส่วนราชการและข้าราชการ ฐานะดังกล่าวจึงเป็นฐานะที่เป็นหน่วยงานของรัฐบาล ไม่ใช่องค์กรอิสระที่จะทำอะไรตามใจชอบก็ได้ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
นับตั้งแต่ประเทศไทยมีระบบกฎหมายขึ้นใช้บังคับเป็นต้นมา กรมอัยการและฐานะของพนักงานอัยการเป็นดั่งนี้ กระบวนการยุติธรรมขั้นกลางที่ต่อเนื่องมาจากตำรวจคือพนักงานสอบสวนซึ่งเป็นกระบวนการยุติธรรมขั้นต้น จึงเป็นองค์กรหรือเครื่องมือของรัฐบาลในการบังคับใช้กฎหมาย ไม่ใช่ฐานะที่เป็นอิสระ และได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยดีตลอดมา
ต่อมาก็มีความพยายามที่จะยกฐานะของอัยการให้ทัดเทียมหรือเสมอกับฝ่ายตุลาการ ทั้งๆ ที่เป็นคนละเรื่องคนละราว เพราะฝ่ายตุลาการนั้นเป็นอำนาจตุลาการ เป็นอธิปไตยหนึ่งทัดเทียมกับอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติ แต่หน่วยงานระดับกรมอย่างอัยการกลับใฝ่ฝันที่จะมีฐานะองค์กรและฐานะของบุคลากรเสมอด้วยสถาบันตุลาการ
ความพยายามดังกล่าวไม่สามารถฝ่าฝืนหลักการที่อัยการคือกลไกหรือเครื่องมือของฝ่ายบริหาร และไม่อาจนำไปเปรียบเทียบกับสถาบันตุลาการได้ ยกเว้นเฉพาะด้านเงินเดือนก็ได้มีการเคลื่อนไหวรณรงค์จนกระทั่งบุคลากรของอัยการมีฐานะและเงินเดือนทัดเทียมกับฝ่ายตุลาการ
เริ่มมีความแปลกเปลี่ยนเกิดขึ้นจากการวิ่งเต้นเข้าหานักการเมือง ยอมตนเป็นเครื่องไม้เครื่องมือของนักการเมืองเพื่อผลักดันให้อัยการมีฐานะทัดเทียมกับอำนาจตุลาการ และในที่สุดความแปรเปลี่ยนนั้นก็เป็นผลให้นักการเมืองแต่งตั้งให้พนักงานอัยการเข้าไปเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจต่างๆ โดยอ้างว่าเพื่อช่วยดูแลทางด้านกฎหมาย ซึ่งเป็นคนละเรื่องเพราะหากเป็นปัญหาทางกฎหมาย หน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ต้องปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ไม่ใช่อัยการ
ทำให้บางครั้งอัยการมีบทบาทกลายเป็นที่ปรึกษาแทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปเลยก็มี การเข้าไปเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจทำให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนและเกิดความเสียหายขึ้น และเมื่อมีคดีความเกิดขึ้นก็มีการเอื้อประโยชน์หรือดำเนินการเพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ ทำให้เสื่อมเสียต่อผลประโยชน์แห่งรัฐ
แต่ครั้งหนึ่งเมื่อมีการปฏิวัติเกิดขึ้น ผู้นำของอัยการคนหนึ่งมีบทบาทในการร่างประกาศคณะปฏิวัติ จึงได้ฉวยโอกาสนั้นก่อการเคลื่อนไหวเรื่อยมา เป็นผลให้มีการแยกอัยการออกจากกระทรวงมหาดไทย ตั้งเป็นสำนักงานอัยการสูงสุด และผู้บริหารสูงสุดก็คืออัยการสูงสุด ทำนองเดียวกับประธานศาลฎีกา หรือผู้บัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายทหาร
และเมื่อมีการตรารัฐธรรมนูญในระยะหลัง ก็ได้มีการตราให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นองค์กรอิสระ และได้ก่อให้เกิดความรู้สึกที่เจ็บช้ำน้ำใจ จนก่อเกิดเป็นกระแสเรียกร้องให้มีการปฏิรูปขึ้น
ประเทศนี้ไม่สามารถปล่อยให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นอย่างนี้ต่อไปได้ แล้วจะปฏิรูปกันอย่างไร?
ประการแรก จะต้องกลับสู่สถานะเดิม คือเป็นกลไกหนึ่งของรัฐ ดังที่เป็นมาแต่เดิม ไม่ใช่เป็นองค์กรอิสระที่จะฟ้องใครหรือไม่ฟ้องใคร หรือจะถอนฟ้องใครอย่างไรก็ได้ดังที่เป็นอยู่ในขณะนี้ นั่นคือต้องตรากฎหมายให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นหน่วยงานระดับทบวงในสังกัดกระทรวงยุติธรรม โดยให้อัยการสูงสุดเป็นหัวหน้าส่วนราชการเหมือนเดิมและโครงสร้างตามเดิม ทั้งต้องไม่ตรารัฐธรรมนูญยกฐานะเป็นองค์กรอิสระอีกต่อไป
ประการที่สอง จะต้องห้ามเด็ดขาดไม่ให้พนักงานอัยการไปดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐ ในกรณีมีปัญหาทางกฎหมาย ต้องให้ไปปรึกษาหารือกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เว้นแต่มีการประสานงานในระหว่างการดำเนินคดีกับส่วนราชการ ก็เป็นเรื่องของการประสานงานเท่านั้น เพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างสิ้นเชิง เช่นเดียวกับฝ่ายตุลาการที่ห้ามเด็ดขาดมิให้มีผลประโยชน์ทับซ้อนในลักษณะนี้ และต้องไม่มีข้อยกเว้นเป็นช่องทางแล้วใช้ช่องทางนี้ก่อผลประโยชน์ทับซ้อนจนเกิดความเสียหายใหญ่หลวงขึ้น
ประการที่สาม จะต้องตราระเบียบการอัยการว่าด้วยการสั่งฟ้อง ว่าด้วยการดำเนินคดี ว่าด้วยการว่าต่าง แก้ต่าง ว่าด้วยการถอนฟ้อง ถอนอุทธรณ์ ถอนฎีกาให้มีความชัดเจน และเป็นหลักปฏิบัติ ทำนองเดียวกับพระธรรมนูญศาลยุติธรรมและวิธีพิจารณาความของสถาบันตุลาการ
ประการที่สี่ จะต้องมีผู้ตรวจการสำนักงานอัยการสูงสุด ในสังกัดของกระทรวงยุติธรรม เพื่อทำหน้าที่ตรวจราชการและการปฏิบัติของสำนักงานอัยการสูงสุดและข้าราชการอัยการเพื่อถ่วงดุลและคานอำนาจกับคณะกรรมการอัยการ เพื่อทำให้ความยุติธรรมดำเนินไปอย่างถูกต้องเที่ยงตรง
สำนักงานอัยการสูงสุดกลายเป็นองค์กรอิสระ และเกิดผลดังที่เห็นๆ กันอยู่ก็เพราะการปฏิวัติ ดังนั้นการกลับไปสู่สถานะเดิมเพื่ออำนวยความยุติธรรมในบ้านเมืองให้เป็นที่พึ่งของอาณาประชาราษฎรทั้งหลายก็ต้องกลับด้วยการปฏิวัติด้วยเช่นเดียวกัน!
กระทั่งเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการอำนวยความยุติธรรมและการปราบปรามการทุจริต ที่มักจะมีข่าวคราวว่าการดำเนินคดีอาญาของ ป.ป.ช.จะเกิดความขัดแย้งจากทางพนักงานอัยการและสูญเสียเวลาไปเป็นอันมาก กระทั่ง ป.ป.ช.ต้องฟ้องคดีเอง และหลายคดี ป.ป.ช.ก็เป็นฝ่ายชนะคดี โดยที่ผู้เกี่ยวข้องในการไม่ยอมฟ้องคดีไม่เคยต้องรับผิดชอบใดๆ เลย
กระทั่งมีการใช้อำนาจถอนฟ้องคดีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลแล้ว เพื่อเอื้อประโยชน์ทางการเมืองให้นักการเมือง มีการสั่งไม่ฎีกาในคดีที่มีปกติต้องฎีกา เพื่อประโยชน์ของนักการเมือง รวมทั้งการเข้าไปเป็นกรรมการของรัฐวิสาหกิจ ทำให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน และในที่สุดก็เกิดความเสียหายใหญ่หลวงแก่รัฐวิสาหกิจหลายครั้ง
เหล่านี้เป็นความชอกช้ำระกำใจที่คนไทยต้องการเห็นการปฏิรูปสำนักงานอัยการสูงสุด
ยิ่งล่าสุดนี้พฤติกรรมของอดีตอัยการสูงสุดที่ให้คำตอบต่อฝ่ายทหารว่า นาทีนี้ไม่ลาออก และก่อนหน้านั้นเล็กน้อยที่แสดงท่าทีอันส่อว่าจะกระทบต่อพระมหากษัตริย์ สร้างความเจ็บช้ำน้ำใจอย่างยิ่ง
เพราะคำพูดสุดท้ายของอดีตอัยการสูงสุดที่รู้กันทั้งบ้านทั้งเมืองว่า มีความสัมพันธ์ลึกล้ำกับระบอบทักษิณ จึงทำให้เกิดคำพูดแรกสุดของฝ่ายทหารคือ ถ้าอย่างนี้ผมยึดอำนาจ และเกิดการรัฐประหารครั้งที่ 13 ขึ้นดังที่เป็นอยู่ในขณะนี้
เราจะปฏิรูปสำนักงานอัยการสูงสุดกันอย่างไร? จะต้องรู้จักฐานะและภูมิหลังของหน่วยงานนี้เสียก่อน
ข้อแรก แต่ก่อนหน้านี้พนักงานอัยการทั้งหลายสังกัดอยู่ในกรมอัยการ ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับกรมในกระทรวงมหาดไทย ทำหน้าที่เป็นทนายแผ่นดินในการฟ้องคดีอาญาผู้กระทำผิดตามกฎหมาย ที่กระทบต่อรัฐและว่าต่างแก้ต่างให้กับหน่วยราชการหรือส่วนราชการที่เป็นคดีความ
ฐานะของกรมอัยการคือกลไกหนึ่งของรัฐบาลในการฟ้องผู้กระทำความผิดต่อศาล และในการเป็นทนายความว่าต่างแก้ต่างให้ส่วนราชการและข้าราชการ ฐานะดังกล่าวจึงเป็นฐานะที่เป็นหน่วยงานของรัฐบาล ไม่ใช่องค์กรอิสระที่จะทำอะไรตามใจชอบก็ได้ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
นับตั้งแต่ประเทศไทยมีระบบกฎหมายขึ้นใช้บังคับเป็นต้นมา กรมอัยการและฐานะของพนักงานอัยการเป็นดั่งนี้ กระบวนการยุติธรรมขั้นกลางที่ต่อเนื่องมาจากตำรวจคือพนักงานสอบสวนซึ่งเป็นกระบวนการยุติธรรมขั้นต้น จึงเป็นองค์กรหรือเครื่องมือของรัฐบาลในการบังคับใช้กฎหมาย ไม่ใช่ฐานะที่เป็นอิสระ และได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยดีตลอดมา
ต่อมาก็มีความพยายามที่จะยกฐานะของอัยการให้ทัดเทียมหรือเสมอกับฝ่ายตุลาการ ทั้งๆ ที่เป็นคนละเรื่องคนละราว เพราะฝ่ายตุลาการนั้นเป็นอำนาจตุลาการ เป็นอธิปไตยหนึ่งทัดเทียมกับอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติ แต่หน่วยงานระดับกรมอย่างอัยการกลับใฝ่ฝันที่จะมีฐานะองค์กรและฐานะของบุคลากรเสมอด้วยสถาบันตุลาการ
ความพยายามดังกล่าวไม่สามารถฝ่าฝืนหลักการที่อัยการคือกลไกหรือเครื่องมือของฝ่ายบริหาร และไม่อาจนำไปเปรียบเทียบกับสถาบันตุลาการได้ ยกเว้นเฉพาะด้านเงินเดือนก็ได้มีการเคลื่อนไหวรณรงค์จนกระทั่งบุคลากรของอัยการมีฐานะและเงินเดือนทัดเทียมกับฝ่ายตุลาการ
เริ่มมีความแปลกเปลี่ยนเกิดขึ้นจากการวิ่งเต้นเข้าหานักการเมือง ยอมตนเป็นเครื่องไม้เครื่องมือของนักการเมืองเพื่อผลักดันให้อัยการมีฐานะทัดเทียมกับอำนาจตุลาการ และในที่สุดความแปรเปลี่ยนนั้นก็เป็นผลให้นักการเมืองแต่งตั้งให้พนักงานอัยการเข้าไปเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจต่างๆ โดยอ้างว่าเพื่อช่วยดูแลทางด้านกฎหมาย ซึ่งเป็นคนละเรื่องเพราะหากเป็นปัญหาทางกฎหมาย หน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ต้องปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ไม่ใช่อัยการ
ทำให้บางครั้งอัยการมีบทบาทกลายเป็นที่ปรึกษาแทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปเลยก็มี การเข้าไปเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจทำให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนและเกิดความเสียหายขึ้น และเมื่อมีคดีความเกิดขึ้นก็มีการเอื้อประโยชน์หรือดำเนินการเพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ ทำให้เสื่อมเสียต่อผลประโยชน์แห่งรัฐ
แต่ครั้งหนึ่งเมื่อมีการปฏิวัติเกิดขึ้น ผู้นำของอัยการคนหนึ่งมีบทบาทในการร่างประกาศคณะปฏิวัติ จึงได้ฉวยโอกาสนั้นก่อการเคลื่อนไหวเรื่อยมา เป็นผลให้มีการแยกอัยการออกจากกระทรวงมหาดไทย ตั้งเป็นสำนักงานอัยการสูงสุด และผู้บริหารสูงสุดก็คืออัยการสูงสุด ทำนองเดียวกับประธานศาลฎีกา หรือผู้บัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายทหาร
และเมื่อมีการตรารัฐธรรมนูญในระยะหลัง ก็ได้มีการตราให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นองค์กรอิสระ และได้ก่อให้เกิดความรู้สึกที่เจ็บช้ำน้ำใจ จนก่อเกิดเป็นกระแสเรียกร้องให้มีการปฏิรูปขึ้น
ประเทศนี้ไม่สามารถปล่อยให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นอย่างนี้ต่อไปได้ แล้วจะปฏิรูปกันอย่างไร?
ประการแรก จะต้องกลับสู่สถานะเดิม คือเป็นกลไกหนึ่งของรัฐ ดังที่เป็นมาแต่เดิม ไม่ใช่เป็นองค์กรอิสระที่จะฟ้องใครหรือไม่ฟ้องใคร หรือจะถอนฟ้องใครอย่างไรก็ได้ดังที่เป็นอยู่ในขณะนี้ นั่นคือต้องตรากฎหมายให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นหน่วยงานระดับทบวงในสังกัดกระทรวงยุติธรรม โดยให้อัยการสูงสุดเป็นหัวหน้าส่วนราชการเหมือนเดิมและโครงสร้างตามเดิม ทั้งต้องไม่ตรารัฐธรรมนูญยกฐานะเป็นองค์กรอิสระอีกต่อไป
ประการที่สอง จะต้องห้ามเด็ดขาดไม่ให้พนักงานอัยการไปดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐ ในกรณีมีปัญหาทางกฎหมาย ต้องให้ไปปรึกษาหารือกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เว้นแต่มีการประสานงานในระหว่างการดำเนินคดีกับส่วนราชการ ก็เป็นเรื่องของการประสานงานเท่านั้น เพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างสิ้นเชิง เช่นเดียวกับฝ่ายตุลาการที่ห้ามเด็ดขาดมิให้มีผลประโยชน์ทับซ้อนในลักษณะนี้ และต้องไม่มีข้อยกเว้นเป็นช่องทางแล้วใช้ช่องทางนี้ก่อผลประโยชน์ทับซ้อนจนเกิดความเสียหายใหญ่หลวงขึ้น
ประการที่สาม จะต้องตราระเบียบการอัยการว่าด้วยการสั่งฟ้อง ว่าด้วยการดำเนินคดี ว่าด้วยการว่าต่าง แก้ต่าง ว่าด้วยการถอนฟ้อง ถอนอุทธรณ์ ถอนฎีกาให้มีความชัดเจน และเป็นหลักปฏิบัติ ทำนองเดียวกับพระธรรมนูญศาลยุติธรรมและวิธีพิจารณาความของสถาบันตุลาการ
ประการที่สี่ จะต้องมีผู้ตรวจการสำนักงานอัยการสูงสุด ในสังกัดของกระทรวงยุติธรรม เพื่อทำหน้าที่ตรวจราชการและการปฏิบัติของสำนักงานอัยการสูงสุดและข้าราชการอัยการเพื่อถ่วงดุลและคานอำนาจกับคณะกรรมการอัยการ เพื่อทำให้ความยุติธรรมดำเนินไปอย่างถูกต้องเที่ยงตรง
สำนักงานอัยการสูงสุดกลายเป็นองค์กรอิสระ และเกิดผลดังที่เห็นๆ กันอยู่ก็เพราะการปฏิวัติ ดังนั้นการกลับไปสู่สถานะเดิมเพื่ออำนวยความยุติธรรมในบ้านเมืองให้เป็นที่พึ่งของอาณาประชาราษฎรทั้งหลายก็ต้องกลับด้วยการปฏิวัติด้วยเช่นเดียวกัน!