ยามรุ่งอรุณเริ่มมีแสงเงินแสงทองทาบทาขอบฟ้าตะวันออก ผมมักนั่งอยู่ที่ม้าหินอ่อนตัวเก่าบนเนินน้อยด้านเหนือของสวนหลังบ้าน (จุดสูงที่สุดในอำเภอ)
สายลมโชยสัมผัสกายเบาๆ อ่อนๆ อย่างทะนุถนอม ละมุนละไม ทำให้ระลึกถึงเพลงเลิฟมีเทนเดอร์ ของ เอลวิส เพรสลีย์ ราชาเพลงร็อกแอนด์โรล ซึ่งมีทั้งเพลงร้อนแรงและเยือกเย็น ภาพในอดีตเหมือนตายจากไปแล้วกลับมีชีวิตชีวาขึ้นมาอีก
มีชีวิตชีวาตรงที่ชีวิตมีสองด้านเหมือนสองด้านของเหรียญ มีบวกมีลบ มีดีมีชั่ว มีสว่างมีมืด มีสุขมีทุกข์ มีสวรรค์มีนรก ฯลฯ
อย่าด่วนตัดสินว่ามีแต่คนอยากไปสวรรค์ ไม่มีใครอยากไปนรก
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา ดูเหมือนว่าคนอยากไปนรกมากกว่าอยากไปสวรรค์?
ในมหาสังฆาตสูตรได้แบ่งยุคสมัยออกเป็น 5 ยุค โดยเริ่มนับจากเวลาที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน ซึ่งในแต่ละยุคจะเป็นเวลา 500 ปี รวมทั้งสิ้น 2,500 ปี โดยแต่ละยุคจะมีรายละเอียดดังนี้...
1. ยุคหลุดพ้นมั่นคง
2. ยุคฌานสมาธิมั่นคง
3. ยุคพหูสูตมั่นคง
4. ยุควัดอารามมั่นคง
5. ยุคแก่งแย่งชิงดีมั่นคง
สำหรับหลัง 500 ปีที่ได้กล่าวถึงในพระสูตรนี้จะหมายถึง 500 ปีในยุคที่ 5
...(อ้างอิงจากหลี่อี้หยู 2536 วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับภาษาจีนกลาง ฉางหงพริ้นติ้ง ไต้หวัน)
ปัจจุบัน พ.ศ. 2557 อยู่ในยุคที่ 5 คือยุคแก่งแย่งชิงดีมั่นคง จึงไม่แปลกใช่ไหม? ที่สังคมบ้านเราและสังคมโลกมันเป็นเช่นนี้ (เห็นแก่ตัวสุดๆ) จึงไม่แปลกใช่ไหม? ที่คนเราอยากไปนรก!
หลายๆ คนจึงด่วนสรุปและด่วนตัดสินใจว่า อย่าเสียเวลาไปกับยุค 1-2-3-4 อยู่เลย มันผ่านไปแล้ว มันจบแล้ว มันไม่มีหรอก มันคนละยุค คนละสมัย
แต่ผมคิดว่ายุค 1-2-3-4 มันยังอยู่ (แต่ไม่มั่นคง) เพียงแต่มันน้อยลง และอยู่คนละด้านกับยุคที่ 5 เท่านั้น
เหมือนเรื่อง “นรก สวรรค์ นิพพาน” นั่นแหละ คนในยุคที่ 5 ที่ชอบแก่งแย่งชิงดีอย่างมั่นคง หัวปักหัวปรำอย่างฝังใจ อย่างโงหัวไม่ขึ้นย่อมปฏิเสธ และตอกย้ำว่าเป็นนิทานหลอกเด็ก เป็นเหยื่อตกเบ็ดให้คนโง่มางับ อะไรประมาณนั้น ก็ว่ากันไป
สำหรับผู้ที่ยังมีความเชื่อศรัทธาในยุคที่ 1-2-3-4 อยู่ ยังอยากจะไปนรก สวรรค์ นิพพานอยู่ก็จำเป็นต้องศึกษา ต้องปฏิบัติ ต้องลงทุนกันไป...
อยากไปสวรรค์ต้องลงทุนทำความดี (บุญ) เช่น เศรษฐีให้เงินทองเป็นทาน ส่วนผู้ตื่นรู้ให้ขันธ์ห้าเป็นทาน เป็นต้น
อยากไปนรก ต้องลงทุนทำความชั่ว (บาป) ทำอะไรก็ได้ที่ตรงกันข้ามกับความดี หรือทำในสิ่งที่เบียดเบียนคนอื่นหรือตนเอง เป็นต้น
อยากไปนิพพานต้องลงทุนทำความ-เหนือดีเหนือชั่ว หรือพินิจพิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริงในสรรพสิ่ง หรือไม่ต้องลงทุนอะไรก็ได้ เพราะนิพพานมีอยู่แล้วกับตัวเราเอง เพียงแต่เราไม่รู้ ไม่เห็น เพราะหลงไปเที่ยวหาที่อื่น พึงหยุดหลง และพึง... “ลดละเลิกกิเลส ตัณหา อุปาทาน นามรูป (ใจกาย) ก็จะผลิบาน” เป็นสิ่งที่สัมผัสได้ง่ายๆ สบายๆ
เรื่องสวรรค์ เรื่องนรก ก็รู้ๆ กันอยู่ มีแฟนคลับเยอะแยะอยู่แล้ว ไม่จำเป็นพูดมากให้เปลืองความ เอาเวลาไปพูดไปคุยเรื่องนิพพานที่คนไม่ค่อยสนใจ และไม่ค่อยอยากไป คงดีกว่า...
ก่อนจะถึงบทนิพพานหรืออสังขตธรรม (สิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง) อยากจะเสริมบทสังขตธรรม (สิ่งที่เกิดขึ้นโดยมีปัจจัยปรุงแต่ง) ก่อน คือ...
คติ 6 หมายถึงที่เกิดของสัตว์ หรือแบบการดำเนินชีวิต ได้แก่ 1. นรก 2. เปรต 3. เดรัจฉาน 4. อสูร 5. มนุษย์ 6. สวรรค์ (1-2-3-4 = ทุคติ 5-6 = สุคติ)
...(พจนานุกรมพุทธศาสนา จีน-สันสกฤต-อังกฤษ-ไทย)
คติ 6 เตือนเราว่า อย่าได้ประมาทยกตน ฉันคือมนุษย์เลอเลิศประเสริฐศรี หล่อสวยรวยทรัพย์มีอำนาจล้นเหลือ ทำอะไรก็ได้ ไม่ผิด ส่วนเธอมันคือนรกจกเปรต เดรัจฉาน สามานย์ต่ำช้า กระจอกงอกง่อย
แท้จริงแล้วคติ 6 มันอยู่ที่ใจ (นาม) และสำแดงออกที่กาย (รูป) ทุกผู้คนนั่นแหละ สำคัญว่า จะรู้ทันมันหรือไม่ และยับยั้งมันได้หรือเปล่าเท่านั้น
กลับมาหา “นิพพาน” เรื่องอันน่าเบื่อหน่าย แต่มีคุณค่ายิ่งดีกว่า...
คำว่า “นิพพาน” หมายถึง สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว หรือภาวะที่เป็นสุขสูงสุด เพราะไร้กิเลสไร้ทุกข์ เป็นอิสรภาพสมบูรณ์
นิพพานโดยไวพจน์ คือ คำที่ใช้เรียกแทนกันได้ เช่น อสังขตะ สันติ อมตธรรม วิสังขาร เกวละ (ไกวัลย) วิโมกข วิมุตติ โมกขะ นิโรธะ บรมธรรม ฯลฯ... (ธรรมโฆษณ์ อรรถานุกรมเล่ม 1 โดยกลุ่มปฏิบัติงานเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ร่วมกับสวนอุศมมูลนิธิ)
นิพพานโดยไวพจน์อย่างเซ็น เช่น ตถตา พุทธจิต ธรรมญาณ สุญญตา จิตเดิมแท้ ฯลฯ
“นิพพาน” ไม่มีภาษามนุษย์ที่จะพูดให้ถูกตามที่เป็นจริงได้ แท้ที่จริง “นิพพานกับบรรลุเซ็น (ฌาน)” นั้น ก็คืออันเดียวกันนั่นเอง ถ้าจะพูดอธิบายเป็นภาษามนุษย์ ก็พอจะพูดได้เพียงใกล้เคียง ดังนี้...
“จิตที่ว่างจากกิเลส-ตัณหา-อุปาทาน สามารถที่จะปลดเปลื้องตนเองออกเสียจากความคิดปรุงแต่งได้แล้ว จิตหลุดพ้นจากกระแสแห่งความดึงดูดต่อสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้หมดแล้ว จิตได้เข้าอยู่ในสุญญตาวิหารธรรม ได้ตามต้องการนั่นเอง”
... (ภิกษุดอกบัวพ้นน้ำ) ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น เล่มที่ 2 แปลและเรียบเรียงโดย ธีรทาส)
เราจะบรรลุ หรือไปถึงนิพพานได้อย่างไร?
ก็มีมากมายหลากหลายทางหรือวิธีที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นอีกวิธีหนึ่ง ในจำนวนหลายหลากวิธีนั้น
...นิพพานไม่ถึงได้ด้วยการไป การมา การติดอยู่กับที่ แต่ถึงได้ด้วยการทำให้ปรากฏแก่จิต คือการทำลายม่านแห่งอวิชชาที่ห่อหุ้มจิต หรือกะเทาะเปลือกที่หุ้มจิตออกให้หมดนั่นเอง!
สุภูติ หากมีบุคคลได้นำสัปตรัตนะมาเติมเต็มอสงไขย (1) โลกธาตุอันไร้ขีดจำกัดใช้ในการบริจาคทาน แต่หากมีกุลบุตร กุลธิดา ได้บังเกิดในโพธิจิต ปฏิบัติในพระสูตรนี้ แม้ที่สุดจะเพียงแค่โศลก 4 บาท มาทำการสมาทานสวดท่อง กล่าวสาธยายแก่ผู้อื่น บุญนี้ยังจะมากยิ่งกว่าอย่างแรก แต่ควรกล่าวสาธยายแก่บุคคลอื่นอย่างไรล่ะ? ไม่ยึดมั่นในลักษณะตั้งมั่นอยู่ในตถาตาภาพโดยไม่หวั่นไหว (2) เพราะเหตุใด?
“สังขตธรรมทั้งปวง
ดุจฝันมายาฟองน้ำรูปเงา (3)
ดุจนิศาชลและอสนี (4)
ควรพินิจด้วยอาการเช่นนี้แล (5)”
ครั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสพระสูตรนี้จบ ผู้อาวุโสสุภูติ รวมทั้งเหล่าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ตลอดจนปวงเทพ มนุษย์ อสูร ทั้งหลายในโลกที่ได้สดับซึ่งพระพุทธพจน์นี้แล้ว ต่างพากันอนุโมทนายินดี ทั้งมีความศรัทธาน้อมรับไปปฏิบัติด้วยประการฉะนี้แล
อธิบายคำศัพท์...
(1) อสงไขย คือจำนวนที่มิอาจประมาณได้
(2) ตั้งมั่นอยู่ในตถตาภาพโดยไม่หวั่นไหว ใจมีความเป็นดั่งกระจก (0) ดังนั้นจึงกล่าวว่าเป็นตถตาภาพที่ไม่หวั่นไหว ซึ่งถือว่าเป็นแก่นสาระของพระสูตรนี้เลยทีเดียว
ไม่ยึดในลักษณะหมื่นธรรมล้วนว่างเปล่า ดำรงในตถตาโดยไม่หวั่นไหว ก็คือความกลมสมบูรณ์ที่เสรีภาพนั่นเองแล
(3) ดุจฝันมายาฟองน้ำรูปเงา ฝันเกิดโดยไม่ตั้งใจ มายาเกิดโดยเจตนา ตื่นจากฝันก็เข้าสู่ภวังค์แห่งมายา มายารวมตัวกลายเป็นความฝัน ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งที่เกิดจากการกลับตาลปัตรนั่นเอง
ฟองน้ำเกิดจากการกระเซ็นของน้ำ แล้วก็แตกสลายไปตามสายน้ำอีกทีหนึ่ง
รูปเงา เป็นปรากฏการณ์ที่แสงกระทบวัตถุ และสลายไปพร้อมกับวัตถุ
ทั้ง 4 ประการที่ได้กล่าว ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่มีความจริงแท้แต่ประการใดเลย
(4) ดุจนิศาชลและอสนี : นิศาชล (น้ำค้าง) ระเหยเพราะแดดเผา สายอสนีหายเมื่อเมฆคลายซึ่งทั้งสองเหตุการณ์นี้ ล้วนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเพียงพริบตาแล
(5) ควรพินิจด้วยอาการเช่นนี้ : ฝัน มายา ฟองน้ำ รูปเงา นิศาชล อสนี คือ 6 พินิจซึ่ง 6 พินิจนี้คือสิ่งเท็จ เอกพินิจจึงเป็นสิ่งจริง แต่เอกพินิจคือฉันใด? เอกพินิจก็คือ ดั่งตถตาภาพที่ไม่หวั่นไหว คือ โฉมเดิมแห่งธรรมญาณ นั่นแล
(6) ใจมีความเป็นดั่งกระจก!...
“บนบานกระจก ยามวัตถุมาก็เกิดภาพ ยามวัตถุไปภาพก็หาย ซึ่งกระจกจะไม่มีการยึดหรือละต่อภาวะที่ไปหรือมาแต่อย่างใด โดยกระจกก็ยังคงเป็นกระจก อันเหมือนดั่งตถตาภาพแห่งเรา ที่ยังคงเป็นดั่งที่เป็นอยู่ โดยหาได้ผกผันไปตามภาวะที่ประสบไม่”
...(วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร พระสงฆ์จี้กง อรรถาธิบาย อมร ทองสุก แปลและเรียบเรียง สำนักพิมพ์ชุณหวัตร)
โอ...เพื่อนร่วมทุกข์ร่วมสุข ทั้งทางโลกทางธรรมทั้งหลาย
เหนื่อยนักก็พักหน่อย ค่อยๆ ปล่อย ค่อยๆ วาง สัมผัสสายลมเย็นบริสุทธิ์ ทอดสายตาสู่ดินแลฟ้า ผลิบาน-ผลิบาน-ผลิบาน...ผ่อนคลาย-ผ่อนคลาย-ผ่อนคลาย...สบาย-สบาย-สบาย...
ชั่วขณะหนึ่ง...ว่าง-ว่าง-ว่าง...ก็ลองพินิจดู “กวีสี่แถว” ตามแนวธรรมชาติธรรมดา
“ดั่งกระจกเงา
ไม่เอาไม่ติด
ดูใจนึกคิด
ไม่ติดไม่เอา”
บางทีอาจจะรู้เห็นอะไร หรือแก้ปัญหาใจได้บ้าง ใครจะรู้ใจเราเท่ากับตัวเราเอง
สายลมโชยสัมผัสกายเบาๆ อ่อนๆ อย่างทะนุถนอม ละมุนละไม ทำให้ระลึกถึงเพลงเลิฟมีเทนเดอร์ ของ เอลวิส เพรสลีย์ ราชาเพลงร็อกแอนด์โรล ซึ่งมีทั้งเพลงร้อนแรงและเยือกเย็น ภาพในอดีตเหมือนตายจากไปแล้วกลับมีชีวิตชีวาขึ้นมาอีก
มีชีวิตชีวาตรงที่ชีวิตมีสองด้านเหมือนสองด้านของเหรียญ มีบวกมีลบ มีดีมีชั่ว มีสว่างมีมืด มีสุขมีทุกข์ มีสวรรค์มีนรก ฯลฯ
อย่าด่วนตัดสินว่ามีแต่คนอยากไปสวรรค์ ไม่มีใครอยากไปนรก
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา ดูเหมือนว่าคนอยากไปนรกมากกว่าอยากไปสวรรค์?
ในมหาสังฆาตสูตรได้แบ่งยุคสมัยออกเป็น 5 ยุค โดยเริ่มนับจากเวลาที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน ซึ่งในแต่ละยุคจะเป็นเวลา 500 ปี รวมทั้งสิ้น 2,500 ปี โดยแต่ละยุคจะมีรายละเอียดดังนี้...
1. ยุคหลุดพ้นมั่นคง
2. ยุคฌานสมาธิมั่นคง
3. ยุคพหูสูตมั่นคง
4. ยุควัดอารามมั่นคง
5. ยุคแก่งแย่งชิงดีมั่นคง
สำหรับหลัง 500 ปีที่ได้กล่าวถึงในพระสูตรนี้จะหมายถึง 500 ปีในยุคที่ 5
...(อ้างอิงจากหลี่อี้หยู 2536 วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับภาษาจีนกลาง ฉางหงพริ้นติ้ง ไต้หวัน)
ปัจจุบัน พ.ศ. 2557 อยู่ในยุคที่ 5 คือยุคแก่งแย่งชิงดีมั่นคง จึงไม่แปลกใช่ไหม? ที่สังคมบ้านเราและสังคมโลกมันเป็นเช่นนี้ (เห็นแก่ตัวสุดๆ) จึงไม่แปลกใช่ไหม? ที่คนเราอยากไปนรก!
หลายๆ คนจึงด่วนสรุปและด่วนตัดสินใจว่า อย่าเสียเวลาไปกับยุค 1-2-3-4 อยู่เลย มันผ่านไปแล้ว มันจบแล้ว มันไม่มีหรอก มันคนละยุค คนละสมัย
แต่ผมคิดว่ายุค 1-2-3-4 มันยังอยู่ (แต่ไม่มั่นคง) เพียงแต่มันน้อยลง และอยู่คนละด้านกับยุคที่ 5 เท่านั้น
เหมือนเรื่อง “นรก สวรรค์ นิพพาน” นั่นแหละ คนในยุคที่ 5 ที่ชอบแก่งแย่งชิงดีอย่างมั่นคง หัวปักหัวปรำอย่างฝังใจ อย่างโงหัวไม่ขึ้นย่อมปฏิเสธ และตอกย้ำว่าเป็นนิทานหลอกเด็ก เป็นเหยื่อตกเบ็ดให้คนโง่มางับ อะไรประมาณนั้น ก็ว่ากันไป
สำหรับผู้ที่ยังมีความเชื่อศรัทธาในยุคที่ 1-2-3-4 อยู่ ยังอยากจะไปนรก สวรรค์ นิพพานอยู่ก็จำเป็นต้องศึกษา ต้องปฏิบัติ ต้องลงทุนกันไป...
อยากไปสวรรค์ต้องลงทุนทำความดี (บุญ) เช่น เศรษฐีให้เงินทองเป็นทาน ส่วนผู้ตื่นรู้ให้ขันธ์ห้าเป็นทาน เป็นต้น
อยากไปนรก ต้องลงทุนทำความชั่ว (บาป) ทำอะไรก็ได้ที่ตรงกันข้ามกับความดี หรือทำในสิ่งที่เบียดเบียนคนอื่นหรือตนเอง เป็นต้น
อยากไปนิพพานต้องลงทุนทำความ-เหนือดีเหนือชั่ว หรือพินิจพิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริงในสรรพสิ่ง หรือไม่ต้องลงทุนอะไรก็ได้ เพราะนิพพานมีอยู่แล้วกับตัวเราเอง เพียงแต่เราไม่รู้ ไม่เห็น เพราะหลงไปเที่ยวหาที่อื่น พึงหยุดหลง และพึง... “ลดละเลิกกิเลส ตัณหา อุปาทาน นามรูป (ใจกาย) ก็จะผลิบาน” เป็นสิ่งที่สัมผัสได้ง่ายๆ สบายๆ
เรื่องสวรรค์ เรื่องนรก ก็รู้ๆ กันอยู่ มีแฟนคลับเยอะแยะอยู่แล้ว ไม่จำเป็นพูดมากให้เปลืองความ เอาเวลาไปพูดไปคุยเรื่องนิพพานที่คนไม่ค่อยสนใจ และไม่ค่อยอยากไป คงดีกว่า...
ก่อนจะถึงบทนิพพานหรืออสังขตธรรม (สิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง) อยากจะเสริมบทสังขตธรรม (สิ่งที่เกิดขึ้นโดยมีปัจจัยปรุงแต่ง) ก่อน คือ...
คติ 6 หมายถึงที่เกิดของสัตว์ หรือแบบการดำเนินชีวิต ได้แก่ 1. นรก 2. เปรต 3. เดรัจฉาน 4. อสูร 5. มนุษย์ 6. สวรรค์ (1-2-3-4 = ทุคติ 5-6 = สุคติ)
...(พจนานุกรมพุทธศาสนา จีน-สันสกฤต-อังกฤษ-ไทย)
คติ 6 เตือนเราว่า อย่าได้ประมาทยกตน ฉันคือมนุษย์เลอเลิศประเสริฐศรี หล่อสวยรวยทรัพย์มีอำนาจล้นเหลือ ทำอะไรก็ได้ ไม่ผิด ส่วนเธอมันคือนรกจกเปรต เดรัจฉาน สามานย์ต่ำช้า กระจอกงอกง่อย
แท้จริงแล้วคติ 6 มันอยู่ที่ใจ (นาม) และสำแดงออกที่กาย (รูป) ทุกผู้คนนั่นแหละ สำคัญว่า จะรู้ทันมันหรือไม่ และยับยั้งมันได้หรือเปล่าเท่านั้น
กลับมาหา “นิพพาน” เรื่องอันน่าเบื่อหน่าย แต่มีคุณค่ายิ่งดีกว่า...
คำว่า “นิพพาน” หมายถึง สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว หรือภาวะที่เป็นสุขสูงสุด เพราะไร้กิเลสไร้ทุกข์ เป็นอิสรภาพสมบูรณ์
นิพพานโดยไวพจน์ คือ คำที่ใช้เรียกแทนกันได้ เช่น อสังขตะ สันติ อมตธรรม วิสังขาร เกวละ (ไกวัลย) วิโมกข วิมุตติ โมกขะ นิโรธะ บรมธรรม ฯลฯ... (ธรรมโฆษณ์ อรรถานุกรมเล่ม 1 โดยกลุ่มปฏิบัติงานเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ร่วมกับสวนอุศมมูลนิธิ)
นิพพานโดยไวพจน์อย่างเซ็น เช่น ตถตา พุทธจิต ธรรมญาณ สุญญตา จิตเดิมแท้ ฯลฯ
“นิพพาน” ไม่มีภาษามนุษย์ที่จะพูดให้ถูกตามที่เป็นจริงได้ แท้ที่จริง “นิพพานกับบรรลุเซ็น (ฌาน)” นั้น ก็คืออันเดียวกันนั่นเอง ถ้าจะพูดอธิบายเป็นภาษามนุษย์ ก็พอจะพูดได้เพียงใกล้เคียง ดังนี้...
“จิตที่ว่างจากกิเลส-ตัณหา-อุปาทาน สามารถที่จะปลดเปลื้องตนเองออกเสียจากความคิดปรุงแต่งได้แล้ว จิตหลุดพ้นจากกระแสแห่งความดึงดูดต่อสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้หมดแล้ว จิตได้เข้าอยู่ในสุญญตาวิหารธรรม ได้ตามต้องการนั่นเอง”
... (ภิกษุดอกบัวพ้นน้ำ) ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น เล่มที่ 2 แปลและเรียบเรียงโดย ธีรทาส)
เราจะบรรลุ หรือไปถึงนิพพานได้อย่างไร?
ก็มีมากมายหลากหลายทางหรือวิธีที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นอีกวิธีหนึ่ง ในจำนวนหลายหลากวิธีนั้น
...นิพพานไม่ถึงได้ด้วยการไป การมา การติดอยู่กับที่ แต่ถึงได้ด้วยการทำให้ปรากฏแก่จิต คือการทำลายม่านแห่งอวิชชาที่ห่อหุ้มจิต หรือกะเทาะเปลือกที่หุ้มจิตออกให้หมดนั่นเอง!
สุภูติ หากมีบุคคลได้นำสัปตรัตนะมาเติมเต็มอสงไขย (1) โลกธาตุอันไร้ขีดจำกัดใช้ในการบริจาคทาน แต่หากมีกุลบุตร กุลธิดา ได้บังเกิดในโพธิจิต ปฏิบัติในพระสูตรนี้ แม้ที่สุดจะเพียงแค่โศลก 4 บาท มาทำการสมาทานสวดท่อง กล่าวสาธยายแก่ผู้อื่น บุญนี้ยังจะมากยิ่งกว่าอย่างแรก แต่ควรกล่าวสาธยายแก่บุคคลอื่นอย่างไรล่ะ? ไม่ยึดมั่นในลักษณะตั้งมั่นอยู่ในตถาตาภาพโดยไม่หวั่นไหว (2) เพราะเหตุใด?
“สังขตธรรมทั้งปวง
ดุจฝันมายาฟองน้ำรูปเงา (3)
ดุจนิศาชลและอสนี (4)
ควรพินิจด้วยอาการเช่นนี้แล (5)”
ครั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสพระสูตรนี้จบ ผู้อาวุโสสุภูติ รวมทั้งเหล่าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ตลอดจนปวงเทพ มนุษย์ อสูร ทั้งหลายในโลกที่ได้สดับซึ่งพระพุทธพจน์นี้แล้ว ต่างพากันอนุโมทนายินดี ทั้งมีความศรัทธาน้อมรับไปปฏิบัติด้วยประการฉะนี้แล
อธิบายคำศัพท์...
(1) อสงไขย คือจำนวนที่มิอาจประมาณได้
(2) ตั้งมั่นอยู่ในตถตาภาพโดยไม่หวั่นไหว ใจมีความเป็นดั่งกระจก (0) ดังนั้นจึงกล่าวว่าเป็นตถตาภาพที่ไม่หวั่นไหว ซึ่งถือว่าเป็นแก่นสาระของพระสูตรนี้เลยทีเดียว
ไม่ยึดในลักษณะหมื่นธรรมล้วนว่างเปล่า ดำรงในตถตาโดยไม่หวั่นไหว ก็คือความกลมสมบูรณ์ที่เสรีภาพนั่นเองแล
(3) ดุจฝันมายาฟองน้ำรูปเงา ฝันเกิดโดยไม่ตั้งใจ มายาเกิดโดยเจตนา ตื่นจากฝันก็เข้าสู่ภวังค์แห่งมายา มายารวมตัวกลายเป็นความฝัน ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งที่เกิดจากการกลับตาลปัตรนั่นเอง
ฟองน้ำเกิดจากการกระเซ็นของน้ำ แล้วก็แตกสลายไปตามสายน้ำอีกทีหนึ่ง
รูปเงา เป็นปรากฏการณ์ที่แสงกระทบวัตถุ และสลายไปพร้อมกับวัตถุ
ทั้ง 4 ประการที่ได้กล่าว ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่มีความจริงแท้แต่ประการใดเลย
(4) ดุจนิศาชลและอสนี : นิศาชล (น้ำค้าง) ระเหยเพราะแดดเผา สายอสนีหายเมื่อเมฆคลายซึ่งทั้งสองเหตุการณ์นี้ ล้วนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเพียงพริบตาแล
(5) ควรพินิจด้วยอาการเช่นนี้ : ฝัน มายา ฟองน้ำ รูปเงา นิศาชล อสนี คือ 6 พินิจซึ่ง 6 พินิจนี้คือสิ่งเท็จ เอกพินิจจึงเป็นสิ่งจริง แต่เอกพินิจคือฉันใด? เอกพินิจก็คือ ดั่งตถตาภาพที่ไม่หวั่นไหว คือ โฉมเดิมแห่งธรรมญาณ นั่นแล
(6) ใจมีความเป็นดั่งกระจก!...
“บนบานกระจก ยามวัตถุมาก็เกิดภาพ ยามวัตถุไปภาพก็หาย ซึ่งกระจกจะไม่มีการยึดหรือละต่อภาวะที่ไปหรือมาแต่อย่างใด โดยกระจกก็ยังคงเป็นกระจก อันเหมือนดั่งตถตาภาพแห่งเรา ที่ยังคงเป็นดั่งที่เป็นอยู่ โดยหาได้ผกผันไปตามภาวะที่ประสบไม่”
...(วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร พระสงฆ์จี้กง อรรถาธิบาย อมร ทองสุก แปลและเรียบเรียง สำนักพิมพ์ชุณหวัตร)
โอ...เพื่อนร่วมทุกข์ร่วมสุข ทั้งทางโลกทางธรรมทั้งหลาย
เหนื่อยนักก็พักหน่อย ค่อยๆ ปล่อย ค่อยๆ วาง สัมผัสสายลมเย็นบริสุทธิ์ ทอดสายตาสู่ดินแลฟ้า ผลิบาน-ผลิบาน-ผลิบาน...ผ่อนคลาย-ผ่อนคลาย-ผ่อนคลาย...สบาย-สบาย-สบาย...
ชั่วขณะหนึ่ง...ว่าง-ว่าง-ว่าง...ก็ลองพินิจดู “กวีสี่แถว” ตามแนวธรรมชาติธรรมดา
“ดั่งกระจกเงา
ไม่เอาไม่ติด
ดูใจนึกคิด
ไม่ติดไม่เอา”
บางทีอาจจะรู้เห็นอะไร หรือแก้ปัญหาใจได้บ้าง ใครจะรู้ใจเราเท่ากับตัวเราเอง