การตัดสินใจ ในฐานะสมาชิกวุฒิสภา (ตอนที่ 1)
หนึ่งในข้อเสนอคือขอให้วุฒิสภาดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีโดยเร็ว
โดยอาศัยความในรัฐธรรมนูญมาตรา 7 ประกอบมาตรา 3 มาตรา 122 และมาตราอื่นๆ วุฒิสภาซึ่งเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยและเป็นองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติองค์กรเดียวที่เหลืออยู่ย่อมสามารถเข้ามาดำเนินการเพื่อให้ได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ได้
“ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” (มาตรา 7)
คำว่า ‘กรณีใด’ ในมาตรา 7 ปรับใช้กับสถานการณ์ปัจจุบันคือการดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ตามมาตรา 180 วรรคสองประกอบมาตรา 172
แม้ไม่มีสภาผู้แทนราษฎร แต่ยังมีวุฒิสภา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรัฐสภา สมาชิกวุฒิสภาถือเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยด้วยเช่นกัน
“อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้” (มาตรา 3)
“สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย โดยไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติ มอบหมาย หรือความครอบงำใดๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์” (มาตรา 122)
เป็นวิธีการภายในกรอบรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่วิธีการนอกรัฐธรรมนูญ
และไม่ใช่การขอพระราชทานนายกรัฐมนตรีที่ไม่มีกรอบรัฐธรรมนูญรองรับ และไม่ต้องตามพระราชกระแสเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549
หากแต่เป็นการกระทำตามหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภาซึ่งเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญ และที่สำคัญกว่านั้นคือเป็นการกระทำตามหน้าที่พื้นฐานของคนไทยทุกคนที่ไม่อาจนิ่งดูดายให้ประเทศค่อยๆ วิบัติลงไปต่อหน้าต่อตา
แต่แน่นอนว่าลักษณะพิเศษของสถานการณ์ปัจจุบันมี ‘ข้อย้อนแย้ง’ ที่มีน้ำหนักต่อการกระทำหน้าที่ดังกล่าวของวุฒิสภาด้วยเช่นกัน
ประเด็นย้อนแย้งที่นำมาใคร่ครวญสำคัญที่สุดไม่ใช่เพียงข้อกฎหมาย หากแต่ความเป็นจริงพื้นฐานประการสำคัญที่สุดที่ว่าหากวุฒิสภาดำเนินการให้ได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ตามมาตรา 180 วรรคสองประกอบมาตรา 172 กระบวนการนี้ไม่ได้จบอยู่ที่วุฒิสภา หากแต่อยู่ที่สถาบันพระมหากษัตริย์
ถึงแม้จะไม่ใช่การขอพระราชทานนายกรัฐมนตรีที่ไม่มีกรอบรัฐธรรมนูญรองรับและไม่ต้องตามพระราชกระแส แต่ในท่ามกลางความขัดแย้งที่มีประชาชนแตกแยกทางความคิดเป็น 2 ขั้วใหญ่ โดยขั้วหนึ่งปฏิเสธอย่างแข็งกร้าวต่อการกระทำหน้าที่ของวุฒิสภา การนำรายชื่อผู้ที่เหมาะสมจะเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง ในขณะที่เงื่อนไขยังไม่สมบูรณ์พร้อม คือยังไม่มีการเปิดทางยินยอมพร้อมใจลาออกจากรัฐมนตรีทั้ง 25 คนที่ยังคงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 181 และ/หรือการเลือกตั้งทั่วไปยังคงอยู่ในขั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้แต่ยังไม่ถึงขั้นเป็นไปไม่ได้ จะเป็นการสร้างความลำบากพระทัยอย่างยิ่งต่อองค์พระประมุขที่จะต้องทรงตัดสิน
พวกเราเคยถือเป็นหลักการสำคัญที่สุดในชีวิตว่าเรื่องใดที่ยังไม่มีความสมบูรณ์พร้อม ปราศจากข้อขัดแย้ง จะไม่นำขึ้นทูลเกล้าฯ
เคยวิพากษ์วิจารณ์ฝ่ายอื่นที่ไม่ทำตามหลักการนี้มาแล้ว
ธรรมเนียมของการนำเรื่องขึ้นทูลเกล้าฯ ผู้ทูลเกล้าฯ ซึ่งก็คือผู้ที่จะลงนามรับสนองพระบรมราชโองการจะต้องตอบคำถามสำคัญทุกคำถามของเรื่องที่นำขึ้นทูลเกล้าฯ นั้นให้ได้ครบถ้วนหมด
คำถามสำคัญของกรณีนี้หากวุฒิสภาดำเนินกระบวนการให้ได้นายกรัฐมนตรีมาในทันทีแล้วนำขึ้นทูลเกล้าฯ มี 3 ประการ
หนึ่ง – คณะรัฐมนตรียังคงดำรงอยู่หรือไม่?
สอง – การดำเนินการอยู่ในกรอบรัฐธรรมนูญหรือไม่ และมีทางเลือกอื่นหรือไม่?
สาม – จะเป็นการทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์เสียหายหรือไม่?
สถานการณ์ปัจจุบัน คำตอบของคำถามที่หนึ่งที่ต้องยอมรับกันแม้จะด้วยความเจ็บปวดก็คือคณะรัฐมนตรียังคงดำรงอยู่ แม้จะมีอำนาจจำกัด และไม่มีนายกรัฐมนตรีตัวจริงที่ทำให้เกิดคำถามถึงอำนาจหน้าที่ของผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรีในประเด็นสำคัญตามมา คำตอบนี้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 181 และคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 6/2557
สมาชิกวุฒิสภาจึงต้องตัดสินใจ
กล่าวโดยสรุป แม้โดยหลักการแล้วจะเห็นว่า วุฒิสภาสามารถดำเนินการให้มีนายกรัฐมนตรีคนใหม่ตามมาตรา 180 วรรคสองได้ โดยอาศัยช่องทางตามมาตรา 7 ประกอบมาตรา 3 มาตรา 122 และมาตราอื่นๆ ก็ตาม
แต่คำถามสำคัญคือจะกระทำได้ทันทีหรือไม่
ต้องเลือกระหว่าง 2 คำตอบ
คำตอบที่หนึ่ง - ต้องดำเนินการโดยทันที ด้วยเหตุผลที่ไม่อาจปล่อยให้บ้านเมืองเสียหายไปมากกว่านี้ ต้องตัดสินใจวันนี้ ไม่อาจรอไปเรื่อยๆ อย่างไร้ความหวัง
คำตอบที่สอง - ดำเนินการเมื่อเงื่อนไขสถานการณ์สมบูรณ์ ด้วยเหตุผลที่จะไม่อาจยอมให้เกิดเป็นปัจจัยสร้างความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์แม้แต่น้อย แม้บ้านเมืองอาจจะเกิดความเสียหายมากขึ้นกว่าจะเกิดเงื่อนไขสถานการณ์สมบูรณ์ แต่เมื่อชั่งน้ำหนักกันแล้ว ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อสถาบันพระมหากษัตริย์แม้แต่น้อยในสถานการณ์ปัจจุบันอาจจะสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงให้แก่ชาติบ้านเมืองในอนาคตอันใกล้มากกว่ามากนัก
เงื่อนไขสถานการณ์ที่สมบูรณ์คือ
เงื่อนไขที่หนึ่ง - มีการเปิดทางจาก 24 รัฐมนตรีที่อยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อตามมาตรา 181 ยินยอมพร้อมใจลาออก
เงื่อนไขที่สอง - หนทางไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปเป็นไปไม่ได้โดยสมบูรณ์ อาจจะเป็นเพราะมีองค์กรที่น่าเชื่อถือและ/หรือมีอำนาจชี้ขาดตามรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ารองนายกรัฐมนตรีผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรีไม่มีอำนาจเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 และ/หรือรัฐบาลกับกกต.ไม่สามารถตกลงเนื้อหาของร่างพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมฯ กันได้
การตัดสินใจของสมาชิกวุฒิสภาไม่ใช่เรื่องของความกล้าหาญ หรือความขลาดเขลา ไม่ใช่เรื่องของความรับผิดชอบ หรือไม่รับผิดชอบ
หากเป็นเรื่องของการตัดสินใจชั่งน้ำหนักความเสียหายของบ้านเมือง
เมื่อได้ไตร่ตรอง และปรึกษาหารือรอบด้านแล้ว เห็นว่าคำตอบใดเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดที่ต้องกระทำเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ก็ต้องเลือกคำตอบนั้น และต้องเดินหน้าไป โดยอาศัยความสุจริตเป็นที่ตั้ง
หลังการตัดสินใจของวุฒิสภาเมื่อวานนี้ วุฒิสภายังคงเดินหน้าทำงานต่อไป
เมื่อเงื่อนไขสถานการณ์สมบูรณ์และ/หรือมีปัจจัยแปรเปลี่ยนมีเงื่อนไขสถานการณ์ใหม่เกิดขึ้น วุฒิสภาต้องตัดสินใจอีกครั้ง
หนึ่งในข้อเสนอคือขอให้วุฒิสภาดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีโดยเร็ว
โดยอาศัยความในรัฐธรรมนูญมาตรา 7 ประกอบมาตรา 3 มาตรา 122 และมาตราอื่นๆ วุฒิสภาซึ่งเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยและเป็นองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติองค์กรเดียวที่เหลืออยู่ย่อมสามารถเข้ามาดำเนินการเพื่อให้ได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ได้
“ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” (มาตรา 7)
คำว่า ‘กรณีใด’ ในมาตรา 7 ปรับใช้กับสถานการณ์ปัจจุบันคือการดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ตามมาตรา 180 วรรคสองประกอบมาตรา 172
แม้ไม่มีสภาผู้แทนราษฎร แต่ยังมีวุฒิสภา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรัฐสภา สมาชิกวุฒิสภาถือเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยด้วยเช่นกัน
“อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้” (มาตรา 3)
“สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย โดยไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติ มอบหมาย หรือความครอบงำใดๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์” (มาตรา 122)
เป็นวิธีการภายในกรอบรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่วิธีการนอกรัฐธรรมนูญ
และไม่ใช่การขอพระราชทานนายกรัฐมนตรีที่ไม่มีกรอบรัฐธรรมนูญรองรับ และไม่ต้องตามพระราชกระแสเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549
หากแต่เป็นการกระทำตามหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภาซึ่งเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญ และที่สำคัญกว่านั้นคือเป็นการกระทำตามหน้าที่พื้นฐานของคนไทยทุกคนที่ไม่อาจนิ่งดูดายให้ประเทศค่อยๆ วิบัติลงไปต่อหน้าต่อตา
แต่แน่นอนว่าลักษณะพิเศษของสถานการณ์ปัจจุบันมี ‘ข้อย้อนแย้ง’ ที่มีน้ำหนักต่อการกระทำหน้าที่ดังกล่าวของวุฒิสภาด้วยเช่นกัน
ประเด็นย้อนแย้งที่นำมาใคร่ครวญสำคัญที่สุดไม่ใช่เพียงข้อกฎหมาย หากแต่ความเป็นจริงพื้นฐานประการสำคัญที่สุดที่ว่าหากวุฒิสภาดำเนินการให้ได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ตามมาตรา 180 วรรคสองประกอบมาตรา 172 กระบวนการนี้ไม่ได้จบอยู่ที่วุฒิสภา หากแต่อยู่ที่สถาบันพระมหากษัตริย์
ถึงแม้จะไม่ใช่การขอพระราชทานนายกรัฐมนตรีที่ไม่มีกรอบรัฐธรรมนูญรองรับและไม่ต้องตามพระราชกระแส แต่ในท่ามกลางความขัดแย้งที่มีประชาชนแตกแยกทางความคิดเป็น 2 ขั้วใหญ่ โดยขั้วหนึ่งปฏิเสธอย่างแข็งกร้าวต่อการกระทำหน้าที่ของวุฒิสภา การนำรายชื่อผู้ที่เหมาะสมจะเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง ในขณะที่เงื่อนไขยังไม่สมบูรณ์พร้อม คือยังไม่มีการเปิดทางยินยอมพร้อมใจลาออกจากรัฐมนตรีทั้ง 25 คนที่ยังคงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 181 และ/หรือการเลือกตั้งทั่วไปยังคงอยู่ในขั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้แต่ยังไม่ถึงขั้นเป็นไปไม่ได้ จะเป็นการสร้างความลำบากพระทัยอย่างยิ่งต่อองค์พระประมุขที่จะต้องทรงตัดสิน
พวกเราเคยถือเป็นหลักการสำคัญที่สุดในชีวิตว่าเรื่องใดที่ยังไม่มีความสมบูรณ์พร้อม ปราศจากข้อขัดแย้ง จะไม่นำขึ้นทูลเกล้าฯ
เคยวิพากษ์วิจารณ์ฝ่ายอื่นที่ไม่ทำตามหลักการนี้มาแล้ว
ธรรมเนียมของการนำเรื่องขึ้นทูลเกล้าฯ ผู้ทูลเกล้าฯ ซึ่งก็คือผู้ที่จะลงนามรับสนองพระบรมราชโองการจะต้องตอบคำถามสำคัญทุกคำถามของเรื่องที่นำขึ้นทูลเกล้าฯ นั้นให้ได้ครบถ้วนหมด
คำถามสำคัญของกรณีนี้หากวุฒิสภาดำเนินกระบวนการให้ได้นายกรัฐมนตรีมาในทันทีแล้วนำขึ้นทูลเกล้าฯ มี 3 ประการ
หนึ่ง – คณะรัฐมนตรียังคงดำรงอยู่หรือไม่?
สอง – การดำเนินการอยู่ในกรอบรัฐธรรมนูญหรือไม่ และมีทางเลือกอื่นหรือไม่?
สาม – จะเป็นการทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์เสียหายหรือไม่?
สถานการณ์ปัจจุบัน คำตอบของคำถามที่หนึ่งที่ต้องยอมรับกันแม้จะด้วยความเจ็บปวดก็คือคณะรัฐมนตรียังคงดำรงอยู่ แม้จะมีอำนาจจำกัด และไม่มีนายกรัฐมนตรีตัวจริงที่ทำให้เกิดคำถามถึงอำนาจหน้าที่ของผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรีในประเด็นสำคัญตามมา คำตอบนี้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 181 และคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 6/2557
สมาชิกวุฒิสภาจึงต้องตัดสินใจ
กล่าวโดยสรุป แม้โดยหลักการแล้วจะเห็นว่า วุฒิสภาสามารถดำเนินการให้มีนายกรัฐมนตรีคนใหม่ตามมาตรา 180 วรรคสองได้ โดยอาศัยช่องทางตามมาตรา 7 ประกอบมาตรา 3 มาตรา 122 และมาตราอื่นๆ ก็ตาม
แต่คำถามสำคัญคือจะกระทำได้ทันทีหรือไม่
ต้องเลือกระหว่าง 2 คำตอบ
คำตอบที่หนึ่ง - ต้องดำเนินการโดยทันที ด้วยเหตุผลที่ไม่อาจปล่อยให้บ้านเมืองเสียหายไปมากกว่านี้ ต้องตัดสินใจวันนี้ ไม่อาจรอไปเรื่อยๆ อย่างไร้ความหวัง
คำตอบที่สอง - ดำเนินการเมื่อเงื่อนไขสถานการณ์สมบูรณ์ ด้วยเหตุผลที่จะไม่อาจยอมให้เกิดเป็นปัจจัยสร้างความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์แม้แต่น้อย แม้บ้านเมืองอาจจะเกิดความเสียหายมากขึ้นกว่าจะเกิดเงื่อนไขสถานการณ์สมบูรณ์ แต่เมื่อชั่งน้ำหนักกันแล้ว ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อสถาบันพระมหากษัตริย์แม้แต่น้อยในสถานการณ์ปัจจุบันอาจจะสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงให้แก่ชาติบ้านเมืองในอนาคตอันใกล้มากกว่ามากนัก
เงื่อนไขสถานการณ์ที่สมบูรณ์คือ
เงื่อนไขที่หนึ่ง - มีการเปิดทางจาก 24 รัฐมนตรีที่อยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อตามมาตรา 181 ยินยอมพร้อมใจลาออก
เงื่อนไขที่สอง - หนทางไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปเป็นไปไม่ได้โดยสมบูรณ์ อาจจะเป็นเพราะมีองค์กรที่น่าเชื่อถือและ/หรือมีอำนาจชี้ขาดตามรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ารองนายกรัฐมนตรีผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรีไม่มีอำนาจเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 และ/หรือรัฐบาลกับกกต.ไม่สามารถตกลงเนื้อหาของร่างพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมฯ กันได้
การตัดสินใจของสมาชิกวุฒิสภาไม่ใช่เรื่องของความกล้าหาญ หรือความขลาดเขลา ไม่ใช่เรื่องของความรับผิดชอบ หรือไม่รับผิดชอบ
หากเป็นเรื่องของการตัดสินใจชั่งน้ำหนักความเสียหายของบ้านเมือง
เมื่อได้ไตร่ตรอง และปรึกษาหารือรอบด้านแล้ว เห็นว่าคำตอบใดเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดที่ต้องกระทำเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ก็ต้องเลือกคำตอบนั้น และต้องเดินหน้าไป โดยอาศัยความสุจริตเป็นที่ตั้ง
หลังการตัดสินใจของวุฒิสภาเมื่อวานนี้ วุฒิสภายังคงเดินหน้าทำงานต่อไป
เมื่อเงื่อนไขสถานการณ์สมบูรณ์และ/หรือมีปัจจัยแปรเปลี่ยนมีเงื่อนไขสถานการณ์ใหม่เกิดขึ้น วุฒิสภาต้องตัดสินใจอีกครั้ง