จากกรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี และรักษาการรัฐมนตรีบางส่วน ถูกวินิจฉัยให้สิ้นสภาพไปโดยศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งขณะนี้คงมีเพียง ครม.รักษาการ ที่มีนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรีรักษาการนั้น เมื่อวันที่ 12 พ.ค.57 ที่ผ่านมา นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 10/2557 เรื่องความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ กรณีประธานวุฒิสภาหรือรองประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่แทนประธานวุฒิสภา ในการกราบบังคมทูลให้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ภายใต้สถานการณ์ที่ราชอาณาจักรไทย ไม่มีนายกรัฐมนตรี และสภาผู้แทนราษฎร ระบุว่า
ตามที่สภาทนายความได้ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 9/2557 เผยแพร่ความเห็นทางกฎหมายให้แก่ประชาชนเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ 9 พ.ค. ที่ผ่านมานั้น เนื่องจากสถานการณ์ที่เกิดจากปัญหาของการหมดอำนาจการบริหาร ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คือรักษาการนายกรัฐมนตรี และรักษาการรัฐมนตรีทั้งคณะ ที่ต้องยุติอำนาจหน้าที่ของตน ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไปแล้ว
กับกรณีที่สภาผู้แทนราษฎร โดยอดีตนายกรัฐมนตรี มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาไปแล้ว เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.56 จึงปรากฏความจริงแน่นอนว่า การใช้อำนาจบริหาร และอำนาจนิติบัญญัติ ของสภาผู้แทนราษฎรได้ยุติลงแล้วโดยสิ้นเชิง วุฒิสภาจึงมีหน้าที่อย่างสำคัญในการสร้างสมดุลย์ของอำนาจนิติบัญญัติ กับอำนาจบริหาร ที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เกิดความมั่นคงของชาติอย่างต่อเนื่องตลอดไป
โดยอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาได้ถูกกำหนดไว้ชัดเจน ในรัฐธรรมนูญ ปี 2550 มาตรา 132 (2) ซึ่งประธานวุฒิสภา หรือรองประธานวุฒิสภา ผู้ทำหน้าที่ประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่พิจารณาผู้มาดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญได้ ซึ่งทั้งตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตำแหน่งอื่น ก็เป็นตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ
ดังนั้น เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงชอบที่จะนำ มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ มาวินิจฉัยกรณีนี้ได้ เพราะทางนิติศาสตร์นั้น การใช้รัฐธรรมนูญและกฎหมาย ต้องให้มีผลบังคับ ตามหลักนิติธรรมและหลักเกณฑ์สากล เหตุผลดังกล่าวข้างต้นแล้ว จึงไม่มีกรณีใดที่จะให้ประเทศชาติตกอยู่ในสภาวะไร้ฝ่ายบริหาร และสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้นประธานวุฒิสภา หรือรองประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่ประธานวุฒิสภา จึงต้องปฏิบัติดังนี้
1. ขณะที่ไม่มีสภาผู้แทนราษฎร และไม่มีนายกรัฐมนตรี ประธานวุฒิสภา หรือรองประธานวุฒิ สภาคนที่ 1 ซึ่งมีหน้าที่ ตาม มาตรา 132 (2) ประกอบกับ มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ ต้องกราบบังคมทูลฯ ขอพระราชทาน แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือการแต่งตั้ง นายกรัฐมนตรี และสภาผู้แทนราษฎร
2. รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ซึ่งทำหน้าที่ประธานวุฒิสภา ตามข้อ 11 ของข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551 ต้องรีบหารือประธานองคมนตรี เพื่อขอให้แต่งตั้ง นายกรัฐมนตรี และขอพระราชทานให้เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ประกาศพระราชกฤษฎีกา เพื่อคัดสรรและแต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่แทนสภาผู้แทนราษฎร ในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนถ่ายอำนาจบริหาร และอำนาจนิติบัญญัติ ก่อนจะมีการเลือกตั้ง
3. สถาบันพระมหากษัตริย์นั้น อยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมืองตลอดเวลา เพราะกลไกของการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่จะเป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ และประเพณีการปกครอง ตาม มาตรา 7 ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ได้มีส่วนร่วม และไม่ได้ทรงเข้ามาวินิจฉัยในข้อเท็จจริง หรือข้อกฎหมายใด แต่เป็นหน้าที่ของประธานวุฒิสภา หรือ รองประธานวุฒิสภา ในขณะนี้ที่ต้องกระทำเพื่อเติมเต็มสุญญากาศของการไม่มีนายกรัฐมนตรี และสภาผู้แทนราษฎร ประกอบกับภารกิจที่ต้องสร้างความมั่นคงของชาติ และความเชื่อมั่นในทางเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง และการลงทุนของภาคธุรกิจทั้งประเทศ รวมทั้งการขจัดการทุจริตคอร์รัปชัน รวมถึงการได้มาซึ่งสภาผู้แทนราษฎร และนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ ในโอกาสต่อไปให้สอดคล้องกับวิธีการเลือกตั้ง การได้มาซึ่งส.ส. และรัฐบาล ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในโอกาสต่อไปให้สอดคล้องกับวิธีการเลือกตั้ง การได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และรัฐบาลในระบบรัฐสภาที่สมบูรณ์ สอดคล้องกับมาตรฐานของนานาอารยประเทศ ป้องกันระบบการซื้อเสียง และดำเนินการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยความโปร่งใสและเป็นธรรมอย่างสมบูรณ์
ตามที่สภาทนายความได้ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 9/2557 เผยแพร่ความเห็นทางกฎหมายให้แก่ประชาชนเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ 9 พ.ค. ที่ผ่านมานั้น เนื่องจากสถานการณ์ที่เกิดจากปัญหาของการหมดอำนาจการบริหาร ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คือรักษาการนายกรัฐมนตรี และรักษาการรัฐมนตรีทั้งคณะ ที่ต้องยุติอำนาจหน้าที่ของตน ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไปแล้ว
กับกรณีที่สภาผู้แทนราษฎร โดยอดีตนายกรัฐมนตรี มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาไปแล้ว เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.56 จึงปรากฏความจริงแน่นอนว่า การใช้อำนาจบริหาร และอำนาจนิติบัญญัติ ของสภาผู้แทนราษฎรได้ยุติลงแล้วโดยสิ้นเชิง วุฒิสภาจึงมีหน้าที่อย่างสำคัญในการสร้างสมดุลย์ของอำนาจนิติบัญญัติ กับอำนาจบริหาร ที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เกิดความมั่นคงของชาติอย่างต่อเนื่องตลอดไป
โดยอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาได้ถูกกำหนดไว้ชัดเจน ในรัฐธรรมนูญ ปี 2550 มาตรา 132 (2) ซึ่งประธานวุฒิสภา หรือรองประธานวุฒิสภา ผู้ทำหน้าที่ประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่พิจารณาผู้มาดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญได้ ซึ่งทั้งตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตำแหน่งอื่น ก็เป็นตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ
ดังนั้น เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงชอบที่จะนำ มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ มาวินิจฉัยกรณีนี้ได้ เพราะทางนิติศาสตร์นั้น การใช้รัฐธรรมนูญและกฎหมาย ต้องให้มีผลบังคับ ตามหลักนิติธรรมและหลักเกณฑ์สากล เหตุผลดังกล่าวข้างต้นแล้ว จึงไม่มีกรณีใดที่จะให้ประเทศชาติตกอยู่ในสภาวะไร้ฝ่ายบริหาร และสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้นประธานวุฒิสภา หรือรองประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่ประธานวุฒิสภา จึงต้องปฏิบัติดังนี้
1. ขณะที่ไม่มีสภาผู้แทนราษฎร และไม่มีนายกรัฐมนตรี ประธานวุฒิสภา หรือรองประธานวุฒิ สภาคนที่ 1 ซึ่งมีหน้าที่ ตาม มาตรา 132 (2) ประกอบกับ มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ ต้องกราบบังคมทูลฯ ขอพระราชทาน แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือการแต่งตั้ง นายกรัฐมนตรี และสภาผู้แทนราษฎร
2. รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ซึ่งทำหน้าที่ประธานวุฒิสภา ตามข้อ 11 ของข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551 ต้องรีบหารือประธานองคมนตรี เพื่อขอให้แต่งตั้ง นายกรัฐมนตรี และขอพระราชทานให้เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ประกาศพระราชกฤษฎีกา เพื่อคัดสรรและแต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่แทนสภาผู้แทนราษฎร ในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนถ่ายอำนาจบริหาร และอำนาจนิติบัญญัติ ก่อนจะมีการเลือกตั้ง
3. สถาบันพระมหากษัตริย์นั้น อยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมืองตลอดเวลา เพราะกลไกของการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่จะเป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ และประเพณีการปกครอง ตาม มาตรา 7 ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ได้มีส่วนร่วม และไม่ได้ทรงเข้ามาวินิจฉัยในข้อเท็จจริง หรือข้อกฎหมายใด แต่เป็นหน้าที่ของประธานวุฒิสภา หรือ รองประธานวุฒิสภา ในขณะนี้ที่ต้องกระทำเพื่อเติมเต็มสุญญากาศของการไม่มีนายกรัฐมนตรี และสภาผู้แทนราษฎร ประกอบกับภารกิจที่ต้องสร้างความมั่นคงของชาติ และความเชื่อมั่นในทางเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง และการลงทุนของภาคธุรกิจทั้งประเทศ รวมทั้งการขจัดการทุจริตคอร์รัปชัน รวมถึงการได้มาซึ่งสภาผู้แทนราษฎร และนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ ในโอกาสต่อไปให้สอดคล้องกับวิธีการเลือกตั้ง การได้มาซึ่งส.ส. และรัฐบาล ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในโอกาสต่อไปให้สอดคล้องกับวิธีการเลือกตั้ง การได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และรัฐบาลในระบบรัฐสภาที่สมบูรณ์ สอดคล้องกับมาตรฐานของนานาอารยประเทศ ป้องกันระบบการซื้อเสียง และดำเนินการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยความโปร่งใสและเป็นธรรมอย่างสมบูรณ์