ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันนี้ ( 14 พ.ค.) เวลา 14.00 น. คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)จะมีการหารือกับฝ่ายรัฐบาล ที่นำโดยนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี และคณะ ถึงกรณีผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี มีอำนาจที่จะทูลเกล้าฯ และรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ร่าง พ.ร.ฎ.แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดวันเลือกตั้งส.ส.เป็นทั่วไปหรือไม่ รวมทั้งกกต.ต้องการให้มีการบรรจุถ้อยคำ ทำนองว่า หากมีเหตุจำเป็น หรือสุดวิสัยให้รัฐบาลออก พ.ร.ฎ.เลื่อนวันเลือกตั้งตามที่กกต.ร้องขอ ไว้ในร่าง พ.ร.ฎ.ดังกล่าว จะสามารถทำได้หรือไม่
ทั้งนี้ ก่อนการหารือกับรัฐบาล ในช่วงเช้า กกต.จะมีการประชุมพิจารณาประเด็นหารือที่ทางสำนักงานฯได้มีการสรุปความเห็นทั้งในส่วนของฝ่ายกฎหมายของสำนักงาน และความเห็นของคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมาย ที่ กกต.ได้มีการประชุมร่วมกันไปเมื่อวันที่ 12 พ.ค.ที่ผ่านมา
ซึ่งมีรายงานว่า ความเห็นของคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายนั้น แม้จะเห็นไปในทางเดียวกันว่า เมื่อพิจารณา พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2545 มาตรา 10 และหลักกฎหมายมหาชน ที่การบริหารบ้านเมืองจะเกิดสูญญากาศไม่ได้ ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี มีอำนาจเหมือนนายกรัฐมนตรี สามารถทูลเกล้าฯ และรับสนองพระบรมราชโองการ ร่าง พ.ร.ฎ. กำหนดวันเลือกตั้งส.ส.ได้
แต่มีข้อสังเกตว่า ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการกฤษฎีกา และเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้มีความเห็นไปยังเลขาธิการวุฒิสภา กรณีเลขาธิการวุฒิสภา จะขอให้นายกรัฐมนตรี ทูลเกล้าฯ เพื่อให้ทรงมี พ.ร.ฎ.เรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา ในวันที่ 18 เม.ย เพื่อจะถอดถอน นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ที่ถูกป.ป.ช.ชี้มูล ว่า "ข้อเท็จจริงขณะนี้ มิได้มีผู้ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานรัฐสภา หรือประธานวุฒิสภา ซึ่งทำหน้าที่รองประธานวุฒิสภา ที่สามารถปฏิบัติหน้าที่แทนประธานรัฐสภาได้ ดังนั้น โดยกระบวนการถอดถอนบุคคลตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 273 วรรคสอง จึงไม่อาจกระทำได้ กรณีจึงไม่อาจที่จะดำเนินการเพื่อให้มีการประชุมสมัยวิสามัญตาม มาตรา 273 ของรัฐธรรมนูญได้เช่นกัน"
ซึ่งเท่ากับว่า รัฐบาลมีความเห็นว่า นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภา ที่ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานวุฒิสภา ไม่ใช่ประธานวุฒิสภา ที่จะปฏิบัติหน้าที่แทนรองประธานรัฐสภาได้ รวมทั้ง นายสุรชัย ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่แทนประธานวุฒิสภาได้ทุกเรื่อง ดังนั้นหากเอากรณีนี้มาเทียบเคียงกับกรณี นายนิวัฒน์ธำรง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี จะถือว่า นายนิวัฒน์ธำรง ก็ไม่มีอำนาจจะทูลเกล้าฯ และรับสนองพระบรมราชโองการ ร่าง พ.ร.ฎ. กำหนดวันเลือกตั้งส.ส.หรือไม่
" ปมนี้คณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายก็เห็นว่า มันมัดคอรัฐบาลเอง ถ้ารัฐบาลบอกว่า นายนิวัฒน์ธำรง มีอำนาจ ทูลเกล้าฯ และรับสนองพระบรมราชโองการ ร่าง พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งฯ แต่ทำไมกรณี นายสุรชัย รองประธานวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานวุฒิสภา จึงปฎิบัติ หน้าที่แทนรองประธานรัฐสภาไม่ได้ ซึ่งร่าง พ.ร.ฎ.แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดวันเลือกตั้งนี้ มีพ.ร.ฎ.ยุบสภา ซึ่งออกโดยรัฐธรรมนูญเป็นฐานอยู่ เหมือนกับ ร่าง พ.ร.ฎ.ขอเปิดประชุมวิสามัญเพื่อถอดถอนบุคคล ที่ออกตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 273 ถ้าบอกว่า นายสุรชัย รองประธานวุฒิสภา ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่ผู้ปฎิบัติหน้าที่แทนรองประธานรัฐสภา รับสนองพระบรมราชโองการแทนประธานรัฐสภาไม่ได้แล้ว ฉันใดก็ฉันนั้น นายนิวัฒน์ธำรง รองนายกรัฐมนตรี ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี จะรับสนองพระบรมราชโองการ ร่าง พ.ร.ฎ.แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดวันเลือกตั้งฯได้หรือ และอย่าลืมว่า พ.ร.ฎ. ยุบสภาผู้แทนราษฎร ยังอยู่ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้เสียไปเฉพาะในส่วนให้มีการเลือกตั้ง ในวันที่ 2 ก.พ.เท่านั้น ซึ่ง มาตรา 5 ของ พ.ร.ฎ.ยุบสภาฯ ให้นายกรัฐมนตรี และประธานกกต. รักษาการพระราชกฤษฎีกานี้ แต่ ร่าง พ.ร.ฎ.แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดวันเลือกตั้งส.ส. ที่จะมีการทูลเกล้าฯ และรับสนองพระบรมราชโองการ จะต้องลงนามโดย นายนิวัฒน์ธำรง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี มันจะขัดกัน และจะนำไปสู่การตีความหรือไม่ ที่ประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายกกต. จึงเสนอว่า ทางที่ดีควรให้รัฐบาลส่งเรื่องนี้ให้คณะกรรมการกฤษฎีกาชุดใหญ่ ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายจำนวนมาก มีความเห็นที่ชัดเจนเสียก่อน แล้ว กกต.จึงค่อยพิจารณาอีกครั้ง"
ส่วนในประเด็นข้อความที่ กกต.จะให้ระบุว่า ให้รัฐบาลออก พ.ร.ฎ.เลื่อนวันเลือกตั้งตามที่กกต.เสนอไว้ใน ร่าง พ.ร.ฎ.นั้น ในคณะกรรมที่ปรึกษากฎหมายมีทั้งที่เห็นว่า สามารถทำได้ และไม่สามารถทำได้ เพราะไม่เคยมีปฏิบัติมาก่อน รวมทั้งรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 บัญญัติถึงกรณียุบสภาให้ตราเป็น พ.ร.ฎ. และกำหนดวันเลือกตั้งเท่านั้น ซึ่งหากกกต.จะไปเพิ่มถ้อยคำ หรือข้อความอื่น แม้รัฐบาลจะยินยอม เพราะอยากเลือกตั้งเร็ว แต่ก็อาจถูกร้องศาลในอนาคตได้ว่า ร่าง พ.ร.ฎ.ดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญ อีกทั้งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเรื่องการเลื่อนวันเลือกตั้ง ให้นายกฯ และประธานกกต. หารือกัน แต่หากไปบรรจุเรื่องนี้ไว้ใน ร่าง พ.ร.ฎ.ดังกล่าว ก็จะเท่ากับเป็นการมัดมือชกรัฐบาลต้องเลื่อนวันเลือกตั้ง เมื่อกกต.ร้องขอ
ดังนั้นการเพิ่มถ้อยคำจึงน่าจะไม่เป็นผลดีกับกกต.มากว่า เพราะเมื่อมีการโต้แย้งรัฐบาลก็จะโบ้ยมาว่า เป็นความต้องการของกกต. ทำให้กกต. เสี่ยงต่อการต้องรับผิดชอบหากมีการฟ้อง พ.ร.ฎ.ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญอีก
อย่างไรก็ตาม ในการหารือคณะที่ปรึกษากฎหมาย ยังมีความเห็นเสนอว่า สถานการณ์ปัจจุบันไม่มีความแน่นอนว่าจะไปในทิศทางใด ดังนั้นในเรื่องของการเสนอวันเลือกตั้งที่เหมาะสม และความพยายามผลักดันที่จะเดินหน้าจัดการเลือกตั้ง กกต.ยังไม่ควรที่จะแสดงส่งสัญญาณความชัดเจนแน่นอนออกไป เพราะทำเช่นนั้นแล้ว หากเกิดปัญหาซ้ำรอยการเลือกตั้ง 2 ก.พ. น้ำหนักความรับผิดชอบต่อความเสียหาย จะเทมายัง กกต.จึงควรรอให้ฝ่ายการเมืองมีความชัดเจนเสียก่อน ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่นานนับจากนี้
** ขอตำรวจเพิ่มการอารักขากกต.
นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดเผยว่า ในช่วงสถานการณ์การเมืองที่ไม่ปกติขณะนี้ ทางสำนักงานฯได้ประสานไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองบัญชาการตำรวจนครบาล เพิ่มเติมจากเดิมที่ประสานเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจเจ้าของท้องที่ ที่รับผิดชอบในพื้นที่ ที่พักอาศัยของกกต. ทั้ง 5 คน โดยขอให้เพิ่มความเข้มงวดในการดูแลรักษาความปลอดภัยมากขึ้น และยังให้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยติดตาม กกต.ใกล้ชิด แต่ทั้งนี้ยังไม่ถึงขั้นที่กกต.จะต้องใช้รถกันกระสุน หรือมีป้อมยามประจำที่พักอาศัยของกกต. เพราะยังเชื่อว่าไม่น่าจะมีเหตุความรุนแรงเกิดขึ้น
สำหรับวันที่ 14 พ.ค.นี้ ที่กกต.จะหารือกับรัฐบาลเกี่ยวกับการ ตรา พ.ร.ฎ.แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดวันเลือกตั้งส.ส. เป็นการทั่วไป ซึ่งทราบมาว่า นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี จะมาหารือด้วยตนเอง ซึ่งสถานที่ก็ยังคงเป็นที่สำนักงานกกต.เช่นเดิม แต่ก็ได้มีการเตรียมสถานที่สำรองไว้ หากมีกลุ่มผู้ชุมนุมมากดดัน ถ้าหากสถานที่มีการเปลี่ยนแปลงตนจะแจ้งให้ทราบในเช้าวันที่ 14 พ.ค.
เมื่อถามว่าในช่วงที่มีการเลือกตั้ง ทางสำนักงานกกต.ได้มีการเตรียมสถานที่สำรองไว้ปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ นายภุชงค์ กล่าวว่า ทางสำนักงานได้มีการเตรียมสถานที่สำรองไว้แล้ว ซึ่งขณะนี้กกต.ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดแบบวันต่อวัน
**ยัน"นิวัฒน์ธำรง"มีอำนาจทูลเกล้าฯ
ด้านนายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรมช.เกษตรฯ กล่าวว่า ในการหารือกับกกต.วันนี้น่าจะได้ข้อสรุป ซึ่งรัฐบาลพร้อมที่จะหารือ และนำเอาประเด็นที่กกต.ตั้งไว้ มาพิจารณาอยู่แล้ว และคิดว่าคงจะได้ข้อยุติ อย่างน้อยก็เกิดความชัดเจนในเรื่องของการที่จะออก พ.ร.ฎ.เลือกตั้ง และเรื่องของการกำหนดวันเลือกตั้ง ส่วนเรื่องของการแก้ปัญหาการจัดการเลือกตั้งนั้น ก็คงต้องมีเวลาทำกันต่อ โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมต่างๆ ที่กกต.ต้องการ ซึ่งคงต้องใช้เวลาในการหารือกับฝ่ายปฏิบัติ สำหรับสถานที่ในการหารือ ขณะนี้ยังกำหนดไว้ที่สำนักงาน กกต. ช่วงบ่าย โดยในส่วนของรัฐบาลนอกจากนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล แล้วก็ยังมีตน มีนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา และมีตัวแทนจากกระทรวงที่เป็นหน่วยปฏิบัติ เช่น กระทรวงมหาดไทย ศึกษาธิการ เทคโนโลยีและสารสนเทศ (ไอซีที) และกระทรวงกลาโหม
ส่วนปัญหาที่ กกต.บางท่าน ยังตั้งข้อสังเกต และไม่มั่นใจว่า นายนิวัฒน์ธำรง จะมีอำนาจหน้าที่ในการนำพ.ร.ฎ.เลือกตั้งขึ้นทูลเกล้าฯได้หรือไม่นั้น นายวราเทพ กล่าวยืนยันว่า ไม่มีปัญหา เรื่องเหล่านี้เรามีคำตอบหมดแล้ว มีแนวปฏิบัติ มีข้อกฎหมายชัดเจน เมื่อถามว่า ทางกกต.อาจจะมีประเด็นในข้อกฎหมายอีกแง่มุมหนึ่ง มาโต้แย้งว่า นายนิวัฒน์ธำรง ไม่มีอำนาจในการทูลเกล้าฯ นายวราเทพ กล่าวว่า อยากให้เข้าใจว่า กฎหมายที่ใช้กันทุกวันนี้ มีฉบับเดียว ใช้ฉบับเดียวกัน อยู่ที่ว่าคนใช้จะไปตีความกันอย่างไร แต่ยืนยันว่ารัฐบาลยึดหลักในเรื่องของกฎหมาย และแนวปฏิบัติ และมีความชัดเจน คนที่ทำหน้าที่ทูลเกล้าฯ พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้ง หรือ รับสนองพระบรมราชโองการ คือ นายนิวัฒน์ธำรง ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี
เมื่อถามว่า หากตกลงกับกกต.ไม่ได้ ก็อาจจำเป็นต้องเลื่อนวันเลือกตั้งจากที่กำหนดไว้เดิม วันที่ 20 ก.ค.ใช่หรือไม่ นายวราเทพ กล่าวว่า คิดว่ายังไม่ถึงขนาดนั้น ขอคุยกันก่อน
** รัฐบาลพร้อมเลื่อนวันเลือกตั้ง
นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ เมื่อยุบสภาแล้วจะต้องมีการเลือกตั้ง โดยมีกำหนดว่าจะต้องมีระยะเวลาในการเลือกตั้งภายในกี่วัน ซึ่งวันนี้(14พ.ค.) ตนพร้อมคณะจะเดินทางไปหารือกับกกต. ซึ่งสถานที่ กกต.กำลังพิจารณา แต่คาดว่าน่าจะเป็นโรงเรียนนายเรืออากาศดอนเมือง ที่เดิม ขณะนี้อยู่ช่วงประสานกัน ทั้งนี้ในส่วนของรัฐบาล ก็คงจะยืนในหลักการเดิมที่เคยหารือกันไว้ในครั้งแรก แต่กำหนดเวลาอาจจะมีการขยับได้บ้าง จากเดิมที่กำหนดวันเลือกตั้งไว้ในวันที่ 20 ก.ค.นี้ ถ้าเป็นกำหนดการเดิมได้ก็คงดี แต่ถ้าจำเป็นที่จะขยับบ้าง ก็ต้องมาคุยกัน
เมื่อถามว่า ทางกกต.ยังมีข้อสงสัยในอำนาจหน้าที่ของท่าน และอาจเป็นเงื่อนไขที่ทำให้ต้องเลื่อนวันเลือกตั้งออกไปอีก นายนิวัฒน์ธำรง กล่าวว่า ตนได้พูดและแจกเอกสารข้อกฏหมายไปแล้วว่า อำนาจหน้าที่ของรัฐบาลรักษาการแล้ว ทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฏหมาย
"ผมยืนยันว่า เรามีสิทธิและอำนาจเต็มตามกฎหมายทุกอย่าง เราจะขอยืน และเดินไปตามข้อกฎหมายที่มี " นายนิวัฒน์ธำรง กล่าว
** ชี้เลือกตั้งยังมีอุปสรรคสำคัญ 3 ข้อ
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงความพยายามเดินหน้ากำหนดวันเลือกตั้งของรัฐบาล โดยมีกำหนดหารือร่วมกับกกต.ในวันนี้ ว่า ในสถานการณ์เช่นนี้ การเลือกตั้งไม่ใช่หนทางแก้วิกฤตชาติ แม้ว่าการเลือกตั้งจะเป็นกระบวนการตามระบอบประชาธิปไตย และพรรคไม่คัดค้าน แต่การดำเนินการขณะนี้ไม่ใช่ทางออก เพราะการเลือกตั้งจะสำเร็จ ต้องได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีอุปสรรค 3 ส่วนที่จะเกิดกับการเลือกตั้ง คือ
1 . ยังไม่มีความชัดเจนว่า นายนิวัฒน์ธำรง มีอำนาจทูลเกล้าฯ และรับสนองพระบรมราชโองการฯ แก้ไขกฤษฎีกาเพิ่มเติมได้หรือไม่ อย่างไร แม้ว่านายนิวัฒน์ธำรง จะพยายามชี้นำสังคมว่า ตนเองดำเนินการได้ แต่ก็มีคนส่วนหนึ่งโต้แย้งว่าทำไม่ได้ ทำให้มีความไม่ชัดเจนเกิดขึ้น ถือเป็นอุปสรรคขั้นต้นก่อนเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้ง ที่ต้องชัดเจนก่อนกำหนดวันเลือกตั้ง
2. รัฐบาลและกกต. จะมีวิธีการให้การเลือกตั้งสุจริต เที่ยงธรรมอย่างไร เพราะการเลือกตั้ง 2 ก.พ. ที่ผ่านมา กระบวนการเลือกตั้งไม่สุจริต เที่ยงธรรม ตามรัฐธรรมนูญ มีหลายกรณีขัดกฎหมาย จนการเลือกตั้งเป็นโมฆะ แม้กกต.จะเสนอวิธีการที่จะให้การเลือกตั้งเกิดได้หลายวิธี เช่น รับสมัครทางไปรษณีย์ แต่กระบวนการเลือกตั้งไม่ได้มีแค่การรับสมัครเท่านั้น การจับสลาก จะทำอย่างไร ถ้า กกต.จับเองจะเป็นไปโดยสุจริตหรือไม่ มีอะไรเป็นหลักประกัน ดังนั้นกระบวนการเลือกตั้งหลังจากนี้ ยังมีการดำเนินการที่อาจไม่สุจริต เที่ยงธรรม อีกมากมายที่จะเกิดได้ หากยังเดินหน้าโดยที่การเลือกตั้งไม่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย ก็จะเป็นโมฆะอีก
3. มีกลุ่ม กปปส. แสดงตนคัดค้านการเลือกตั้ง เพราะต้องการให้มีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง หากยังมีการคัดค้านเช่นนี้ ก็ต้องมีปฏิบัติการเช่นเดียวกับที่เคยทำในวันที่ 2 ก.พ. หากเดินหน้าอาจมีคนบาดเจ็บ ล้มตาย มากกว่าเดิม โดยรัฐบาลทำทุกวิถีทางเพื่อดึงดันสู่การเลือกตั้ง ซึ่งอาจทำให้เกิดความสูญเสียมากกว่า วันที่ 2 ก.พ. ที่ผ่านมา
"ผมคิดว่ารัฐบาลควรจะต้องร่วมมือกับกกต. ทำให้การเลือกตั้งเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายก่อน รัฐบาลต้องคำนึงถึงเรื่องที่รัฐบาลสามารถรับได้ และดำเนินการ เพราะไม่เพียงแค่สูญเสียงบประมาณกว่า 4 พันล้าน แต่ประเทศจะเสียโอกาสเพิ่มมากขึ้น จึงควรเอาเวลา 4-5 เดือนข้างหน้า มาหาทางออกอื่นที่ทุกฝ่ายยอมรับได้จะเป็นประโยชน์มากกว่า การใช้การเลือกตั้งเป็นพิธีกรรมสร้างความชอบธรรมให้ตนเองกลับมามีอำนาจ โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายต่อประเทศชาติบ้านเมือง ผมขอเรียกร้องไปยังรัฐบาล เพราะเป็นผู้ครองอำนาจรัฐ ต้องยอมสละอำนาจบางส่วนให้บ้านเมืองเดินหน้าได้ เพราะประชาชนหวังเห็นความเปลี่ยนแปลงในบ้านเมือง ปัญหาจึงอยู่ในมือของรัฐบาลว่าจะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาประเทศหรือไม่" นายองอาจ กล่าว
ทั้งนี้ ก่อนการหารือกับรัฐบาล ในช่วงเช้า กกต.จะมีการประชุมพิจารณาประเด็นหารือที่ทางสำนักงานฯได้มีการสรุปความเห็นทั้งในส่วนของฝ่ายกฎหมายของสำนักงาน และความเห็นของคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมาย ที่ กกต.ได้มีการประชุมร่วมกันไปเมื่อวันที่ 12 พ.ค.ที่ผ่านมา
ซึ่งมีรายงานว่า ความเห็นของคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายนั้น แม้จะเห็นไปในทางเดียวกันว่า เมื่อพิจารณา พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2545 มาตรา 10 และหลักกฎหมายมหาชน ที่การบริหารบ้านเมืองจะเกิดสูญญากาศไม่ได้ ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี มีอำนาจเหมือนนายกรัฐมนตรี สามารถทูลเกล้าฯ และรับสนองพระบรมราชโองการ ร่าง พ.ร.ฎ. กำหนดวันเลือกตั้งส.ส.ได้
แต่มีข้อสังเกตว่า ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการกฤษฎีกา และเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้มีความเห็นไปยังเลขาธิการวุฒิสภา กรณีเลขาธิการวุฒิสภา จะขอให้นายกรัฐมนตรี ทูลเกล้าฯ เพื่อให้ทรงมี พ.ร.ฎ.เรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา ในวันที่ 18 เม.ย เพื่อจะถอดถอน นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ที่ถูกป.ป.ช.ชี้มูล ว่า "ข้อเท็จจริงขณะนี้ มิได้มีผู้ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานรัฐสภา หรือประธานวุฒิสภา ซึ่งทำหน้าที่รองประธานวุฒิสภา ที่สามารถปฏิบัติหน้าที่แทนประธานรัฐสภาได้ ดังนั้น โดยกระบวนการถอดถอนบุคคลตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 273 วรรคสอง จึงไม่อาจกระทำได้ กรณีจึงไม่อาจที่จะดำเนินการเพื่อให้มีการประชุมสมัยวิสามัญตาม มาตรา 273 ของรัฐธรรมนูญได้เช่นกัน"
ซึ่งเท่ากับว่า รัฐบาลมีความเห็นว่า นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภา ที่ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานวุฒิสภา ไม่ใช่ประธานวุฒิสภา ที่จะปฏิบัติหน้าที่แทนรองประธานรัฐสภาได้ รวมทั้ง นายสุรชัย ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่แทนประธานวุฒิสภาได้ทุกเรื่อง ดังนั้นหากเอากรณีนี้มาเทียบเคียงกับกรณี นายนิวัฒน์ธำรง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี จะถือว่า นายนิวัฒน์ธำรง ก็ไม่มีอำนาจจะทูลเกล้าฯ และรับสนองพระบรมราชโองการ ร่าง พ.ร.ฎ. กำหนดวันเลือกตั้งส.ส.หรือไม่
" ปมนี้คณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายก็เห็นว่า มันมัดคอรัฐบาลเอง ถ้ารัฐบาลบอกว่า นายนิวัฒน์ธำรง มีอำนาจ ทูลเกล้าฯ และรับสนองพระบรมราชโองการ ร่าง พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งฯ แต่ทำไมกรณี นายสุรชัย รองประธานวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานวุฒิสภา จึงปฎิบัติ หน้าที่แทนรองประธานรัฐสภาไม่ได้ ซึ่งร่าง พ.ร.ฎ.แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดวันเลือกตั้งนี้ มีพ.ร.ฎ.ยุบสภา ซึ่งออกโดยรัฐธรรมนูญเป็นฐานอยู่ เหมือนกับ ร่าง พ.ร.ฎ.ขอเปิดประชุมวิสามัญเพื่อถอดถอนบุคคล ที่ออกตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 273 ถ้าบอกว่า นายสุรชัย รองประธานวุฒิสภา ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่ผู้ปฎิบัติหน้าที่แทนรองประธานรัฐสภา รับสนองพระบรมราชโองการแทนประธานรัฐสภาไม่ได้แล้ว ฉันใดก็ฉันนั้น นายนิวัฒน์ธำรง รองนายกรัฐมนตรี ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี จะรับสนองพระบรมราชโองการ ร่าง พ.ร.ฎ.แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดวันเลือกตั้งฯได้หรือ และอย่าลืมว่า พ.ร.ฎ. ยุบสภาผู้แทนราษฎร ยังอยู่ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้เสียไปเฉพาะในส่วนให้มีการเลือกตั้ง ในวันที่ 2 ก.พ.เท่านั้น ซึ่ง มาตรา 5 ของ พ.ร.ฎ.ยุบสภาฯ ให้นายกรัฐมนตรี และประธานกกต. รักษาการพระราชกฤษฎีกานี้ แต่ ร่าง พ.ร.ฎ.แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดวันเลือกตั้งส.ส. ที่จะมีการทูลเกล้าฯ และรับสนองพระบรมราชโองการ จะต้องลงนามโดย นายนิวัฒน์ธำรง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี มันจะขัดกัน และจะนำไปสู่การตีความหรือไม่ ที่ประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายกกต. จึงเสนอว่า ทางที่ดีควรให้รัฐบาลส่งเรื่องนี้ให้คณะกรรมการกฤษฎีกาชุดใหญ่ ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายจำนวนมาก มีความเห็นที่ชัดเจนเสียก่อน แล้ว กกต.จึงค่อยพิจารณาอีกครั้ง"
ส่วนในประเด็นข้อความที่ กกต.จะให้ระบุว่า ให้รัฐบาลออก พ.ร.ฎ.เลื่อนวันเลือกตั้งตามที่กกต.เสนอไว้ใน ร่าง พ.ร.ฎ.นั้น ในคณะกรรมที่ปรึกษากฎหมายมีทั้งที่เห็นว่า สามารถทำได้ และไม่สามารถทำได้ เพราะไม่เคยมีปฏิบัติมาก่อน รวมทั้งรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 บัญญัติถึงกรณียุบสภาให้ตราเป็น พ.ร.ฎ. และกำหนดวันเลือกตั้งเท่านั้น ซึ่งหากกกต.จะไปเพิ่มถ้อยคำ หรือข้อความอื่น แม้รัฐบาลจะยินยอม เพราะอยากเลือกตั้งเร็ว แต่ก็อาจถูกร้องศาลในอนาคตได้ว่า ร่าง พ.ร.ฎ.ดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญ อีกทั้งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเรื่องการเลื่อนวันเลือกตั้ง ให้นายกฯ และประธานกกต. หารือกัน แต่หากไปบรรจุเรื่องนี้ไว้ใน ร่าง พ.ร.ฎ.ดังกล่าว ก็จะเท่ากับเป็นการมัดมือชกรัฐบาลต้องเลื่อนวันเลือกตั้ง เมื่อกกต.ร้องขอ
ดังนั้นการเพิ่มถ้อยคำจึงน่าจะไม่เป็นผลดีกับกกต.มากว่า เพราะเมื่อมีการโต้แย้งรัฐบาลก็จะโบ้ยมาว่า เป็นความต้องการของกกต. ทำให้กกต. เสี่ยงต่อการต้องรับผิดชอบหากมีการฟ้อง พ.ร.ฎ.ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญอีก
อย่างไรก็ตาม ในการหารือคณะที่ปรึกษากฎหมาย ยังมีความเห็นเสนอว่า สถานการณ์ปัจจุบันไม่มีความแน่นอนว่าจะไปในทิศทางใด ดังนั้นในเรื่องของการเสนอวันเลือกตั้งที่เหมาะสม และความพยายามผลักดันที่จะเดินหน้าจัดการเลือกตั้ง กกต.ยังไม่ควรที่จะแสดงส่งสัญญาณความชัดเจนแน่นอนออกไป เพราะทำเช่นนั้นแล้ว หากเกิดปัญหาซ้ำรอยการเลือกตั้ง 2 ก.พ. น้ำหนักความรับผิดชอบต่อความเสียหาย จะเทมายัง กกต.จึงควรรอให้ฝ่ายการเมืองมีความชัดเจนเสียก่อน ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่นานนับจากนี้
** ขอตำรวจเพิ่มการอารักขากกต.
นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดเผยว่า ในช่วงสถานการณ์การเมืองที่ไม่ปกติขณะนี้ ทางสำนักงานฯได้ประสานไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองบัญชาการตำรวจนครบาล เพิ่มเติมจากเดิมที่ประสานเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจเจ้าของท้องที่ ที่รับผิดชอบในพื้นที่ ที่พักอาศัยของกกต. ทั้ง 5 คน โดยขอให้เพิ่มความเข้มงวดในการดูแลรักษาความปลอดภัยมากขึ้น และยังให้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยติดตาม กกต.ใกล้ชิด แต่ทั้งนี้ยังไม่ถึงขั้นที่กกต.จะต้องใช้รถกันกระสุน หรือมีป้อมยามประจำที่พักอาศัยของกกต. เพราะยังเชื่อว่าไม่น่าจะมีเหตุความรุนแรงเกิดขึ้น
สำหรับวันที่ 14 พ.ค.นี้ ที่กกต.จะหารือกับรัฐบาลเกี่ยวกับการ ตรา พ.ร.ฎ.แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดวันเลือกตั้งส.ส. เป็นการทั่วไป ซึ่งทราบมาว่า นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี จะมาหารือด้วยตนเอง ซึ่งสถานที่ก็ยังคงเป็นที่สำนักงานกกต.เช่นเดิม แต่ก็ได้มีการเตรียมสถานที่สำรองไว้ หากมีกลุ่มผู้ชุมนุมมากดดัน ถ้าหากสถานที่มีการเปลี่ยนแปลงตนจะแจ้งให้ทราบในเช้าวันที่ 14 พ.ค.
เมื่อถามว่าในช่วงที่มีการเลือกตั้ง ทางสำนักงานกกต.ได้มีการเตรียมสถานที่สำรองไว้ปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ นายภุชงค์ กล่าวว่า ทางสำนักงานได้มีการเตรียมสถานที่สำรองไว้แล้ว ซึ่งขณะนี้กกต.ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดแบบวันต่อวัน
**ยัน"นิวัฒน์ธำรง"มีอำนาจทูลเกล้าฯ
ด้านนายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรมช.เกษตรฯ กล่าวว่า ในการหารือกับกกต.วันนี้น่าจะได้ข้อสรุป ซึ่งรัฐบาลพร้อมที่จะหารือ และนำเอาประเด็นที่กกต.ตั้งไว้ มาพิจารณาอยู่แล้ว และคิดว่าคงจะได้ข้อยุติ อย่างน้อยก็เกิดความชัดเจนในเรื่องของการที่จะออก พ.ร.ฎ.เลือกตั้ง และเรื่องของการกำหนดวันเลือกตั้ง ส่วนเรื่องของการแก้ปัญหาการจัดการเลือกตั้งนั้น ก็คงต้องมีเวลาทำกันต่อ โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมต่างๆ ที่กกต.ต้องการ ซึ่งคงต้องใช้เวลาในการหารือกับฝ่ายปฏิบัติ สำหรับสถานที่ในการหารือ ขณะนี้ยังกำหนดไว้ที่สำนักงาน กกต. ช่วงบ่าย โดยในส่วนของรัฐบาลนอกจากนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล แล้วก็ยังมีตน มีนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา และมีตัวแทนจากกระทรวงที่เป็นหน่วยปฏิบัติ เช่น กระทรวงมหาดไทย ศึกษาธิการ เทคโนโลยีและสารสนเทศ (ไอซีที) และกระทรวงกลาโหม
ส่วนปัญหาที่ กกต.บางท่าน ยังตั้งข้อสังเกต และไม่มั่นใจว่า นายนิวัฒน์ธำรง จะมีอำนาจหน้าที่ในการนำพ.ร.ฎ.เลือกตั้งขึ้นทูลเกล้าฯได้หรือไม่นั้น นายวราเทพ กล่าวยืนยันว่า ไม่มีปัญหา เรื่องเหล่านี้เรามีคำตอบหมดแล้ว มีแนวปฏิบัติ มีข้อกฎหมายชัดเจน เมื่อถามว่า ทางกกต.อาจจะมีประเด็นในข้อกฎหมายอีกแง่มุมหนึ่ง มาโต้แย้งว่า นายนิวัฒน์ธำรง ไม่มีอำนาจในการทูลเกล้าฯ นายวราเทพ กล่าวว่า อยากให้เข้าใจว่า กฎหมายที่ใช้กันทุกวันนี้ มีฉบับเดียว ใช้ฉบับเดียวกัน อยู่ที่ว่าคนใช้จะไปตีความกันอย่างไร แต่ยืนยันว่ารัฐบาลยึดหลักในเรื่องของกฎหมาย และแนวปฏิบัติ และมีความชัดเจน คนที่ทำหน้าที่ทูลเกล้าฯ พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้ง หรือ รับสนองพระบรมราชโองการ คือ นายนิวัฒน์ธำรง ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี
เมื่อถามว่า หากตกลงกับกกต.ไม่ได้ ก็อาจจำเป็นต้องเลื่อนวันเลือกตั้งจากที่กำหนดไว้เดิม วันที่ 20 ก.ค.ใช่หรือไม่ นายวราเทพ กล่าวว่า คิดว่ายังไม่ถึงขนาดนั้น ขอคุยกันก่อน
** รัฐบาลพร้อมเลื่อนวันเลือกตั้ง
นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ เมื่อยุบสภาแล้วจะต้องมีการเลือกตั้ง โดยมีกำหนดว่าจะต้องมีระยะเวลาในการเลือกตั้งภายในกี่วัน ซึ่งวันนี้(14พ.ค.) ตนพร้อมคณะจะเดินทางไปหารือกับกกต. ซึ่งสถานที่ กกต.กำลังพิจารณา แต่คาดว่าน่าจะเป็นโรงเรียนนายเรืออากาศดอนเมือง ที่เดิม ขณะนี้อยู่ช่วงประสานกัน ทั้งนี้ในส่วนของรัฐบาล ก็คงจะยืนในหลักการเดิมที่เคยหารือกันไว้ในครั้งแรก แต่กำหนดเวลาอาจจะมีการขยับได้บ้าง จากเดิมที่กำหนดวันเลือกตั้งไว้ในวันที่ 20 ก.ค.นี้ ถ้าเป็นกำหนดการเดิมได้ก็คงดี แต่ถ้าจำเป็นที่จะขยับบ้าง ก็ต้องมาคุยกัน
เมื่อถามว่า ทางกกต.ยังมีข้อสงสัยในอำนาจหน้าที่ของท่าน และอาจเป็นเงื่อนไขที่ทำให้ต้องเลื่อนวันเลือกตั้งออกไปอีก นายนิวัฒน์ธำรง กล่าวว่า ตนได้พูดและแจกเอกสารข้อกฏหมายไปแล้วว่า อำนาจหน้าที่ของรัฐบาลรักษาการแล้ว ทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฏหมาย
"ผมยืนยันว่า เรามีสิทธิและอำนาจเต็มตามกฎหมายทุกอย่าง เราจะขอยืน และเดินไปตามข้อกฎหมายที่มี " นายนิวัฒน์ธำรง กล่าว
** ชี้เลือกตั้งยังมีอุปสรรคสำคัญ 3 ข้อ
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงความพยายามเดินหน้ากำหนดวันเลือกตั้งของรัฐบาล โดยมีกำหนดหารือร่วมกับกกต.ในวันนี้ ว่า ในสถานการณ์เช่นนี้ การเลือกตั้งไม่ใช่หนทางแก้วิกฤตชาติ แม้ว่าการเลือกตั้งจะเป็นกระบวนการตามระบอบประชาธิปไตย และพรรคไม่คัดค้าน แต่การดำเนินการขณะนี้ไม่ใช่ทางออก เพราะการเลือกตั้งจะสำเร็จ ต้องได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีอุปสรรค 3 ส่วนที่จะเกิดกับการเลือกตั้ง คือ
1 . ยังไม่มีความชัดเจนว่า นายนิวัฒน์ธำรง มีอำนาจทูลเกล้าฯ และรับสนองพระบรมราชโองการฯ แก้ไขกฤษฎีกาเพิ่มเติมได้หรือไม่ อย่างไร แม้ว่านายนิวัฒน์ธำรง จะพยายามชี้นำสังคมว่า ตนเองดำเนินการได้ แต่ก็มีคนส่วนหนึ่งโต้แย้งว่าทำไม่ได้ ทำให้มีความไม่ชัดเจนเกิดขึ้น ถือเป็นอุปสรรคขั้นต้นก่อนเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้ง ที่ต้องชัดเจนก่อนกำหนดวันเลือกตั้ง
2. รัฐบาลและกกต. จะมีวิธีการให้การเลือกตั้งสุจริต เที่ยงธรรมอย่างไร เพราะการเลือกตั้ง 2 ก.พ. ที่ผ่านมา กระบวนการเลือกตั้งไม่สุจริต เที่ยงธรรม ตามรัฐธรรมนูญ มีหลายกรณีขัดกฎหมาย จนการเลือกตั้งเป็นโมฆะ แม้กกต.จะเสนอวิธีการที่จะให้การเลือกตั้งเกิดได้หลายวิธี เช่น รับสมัครทางไปรษณีย์ แต่กระบวนการเลือกตั้งไม่ได้มีแค่การรับสมัครเท่านั้น การจับสลาก จะทำอย่างไร ถ้า กกต.จับเองจะเป็นไปโดยสุจริตหรือไม่ มีอะไรเป็นหลักประกัน ดังนั้นกระบวนการเลือกตั้งหลังจากนี้ ยังมีการดำเนินการที่อาจไม่สุจริต เที่ยงธรรม อีกมากมายที่จะเกิดได้ หากยังเดินหน้าโดยที่การเลือกตั้งไม่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย ก็จะเป็นโมฆะอีก
3. มีกลุ่ม กปปส. แสดงตนคัดค้านการเลือกตั้ง เพราะต้องการให้มีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง หากยังมีการคัดค้านเช่นนี้ ก็ต้องมีปฏิบัติการเช่นเดียวกับที่เคยทำในวันที่ 2 ก.พ. หากเดินหน้าอาจมีคนบาดเจ็บ ล้มตาย มากกว่าเดิม โดยรัฐบาลทำทุกวิถีทางเพื่อดึงดันสู่การเลือกตั้ง ซึ่งอาจทำให้เกิดความสูญเสียมากกว่า วันที่ 2 ก.พ. ที่ผ่านมา
"ผมคิดว่ารัฐบาลควรจะต้องร่วมมือกับกกต. ทำให้การเลือกตั้งเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายก่อน รัฐบาลต้องคำนึงถึงเรื่องที่รัฐบาลสามารถรับได้ และดำเนินการ เพราะไม่เพียงแค่สูญเสียงบประมาณกว่า 4 พันล้าน แต่ประเทศจะเสียโอกาสเพิ่มมากขึ้น จึงควรเอาเวลา 4-5 เดือนข้างหน้า มาหาทางออกอื่นที่ทุกฝ่ายยอมรับได้จะเป็นประโยชน์มากกว่า การใช้การเลือกตั้งเป็นพิธีกรรมสร้างความชอบธรรมให้ตนเองกลับมามีอำนาจ โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายต่อประเทศชาติบ้านเมือง ผมขอเรียกร้องไปยังรัฐบาล เพราะเป็นผู้ครองอำนาจรัฐ ต้องยอมสละอำนาจบางส่วนให้บ้านเมืองเดินหน้าได้ เพราะประชาชนหวังเห็นความเปลี่ยนแปลงในบ้านเมือง ปัญหาจึงอยู่ในมือของรัฐบาลว่าจะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาประเทศหรือไม่" นายองอาจ กล่าว