ถึงตอนนี้สถานการณ์การเมืองกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อว่าจะเดินไปสู่ทางตันทางการเมืองหรือไม่ หากว่าในวันที่ 23 เมษายนนี้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสถานภาพของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ว่าสิ้นสุดลงเฉพาะตัวหรือไม่ จากกรณีการโยกย้ายตำแหน่ง นายถวิล เปลี่ยนศรี อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ศาลปกครองสูงสุดได้พิพากษาเอาไว้แล้ว
หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์มีความผิดจะเข้าสู่สุญญากาศทันที เพราะจะทำให้คณะรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งไปทั้งคณะด้วย สิ่งที่จะเกิดขึ้นสำหรับประเทศไทยตอนนั้นก็คือ เดินหน้าไปไม่ได้ ถอยหลังไปไม่ได้ใกล้จะถึงทางตันลงไปทุกที
พูดก็พูดเถอะว่า ถึงวันนี้เราพูดได้ว่า ประเทศไทยกำลังแตกออกเป็นสองเสี่ยง ประชาชนทั้งสองฝ่ายมีดุลกำลังที่ใกล้เคียงกัน ต่างฝ่ายต่างอ้างว่าตัวเองเป็นฝ่ายชอบธรรม โชคดีที่ยังไม่มีการติดอาวุธออกมาห้ำหั่นกันจนเป็นสงครามกลางเมืองเท่านั้นเอง
คนเสื้อแดงเรียกตัวเองว่า ฝ่ายประชาธิปไตย ในขณะที่มวลมหาประชาชนกล่าวหาว่า รัฐบาลยิ่งลักษณ์ซึ่งเป็นเสียงข้างมากใช้อำนาจเกินขอบเขต เป็นเผด็จการรัฐสภาไม่ฟังความเห็นเสียงข้างน้อย จนนำมาสู่การชุมนุมประท้วง กระทั่งรัฐบาลต้องประกาศยุบสภา และนำมาสู่การชุมนุมขับไล่รัฐบาลที่ยังรักษาการและเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมืองปฏิรูปประเทศอยู่ในที่สุด
การเลือกตั้งเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะถูกขัดขวางจากฝ่ายที่เรียกร้องให้มีการปฏิรูปประเทศเพื่อกำหนดกติกากันเสียใหม่ก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง
ข้อเสนอทั้งจากฝ่ายที่ต้องการเลือกตั้งและฝ่ายที่ต้องการปฏิรูปก่อนยังไม่มีทีท่าเลยว่าจะลงเอยให้พอใจทั้งสองฝ่ายได้อย่างไร จะเลือกตั้งกันได้เมื่อไหร่ และการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งที่อีกฝ่ายเรียกร้องจะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่
แม้จะมีคนพยายามเสนอทางออกว่า ให้มีการเลือกตั้งขึ้นท่ามกลางพันธสัญญาร่วมกันของทุกพรรคการเมืองว่า รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจะต้องเดินหน้าผลักดันการปฏิรูปการเมืองในระยะสั้น เมื่อปฏิรูปเสร็จแล้วต้องยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ทันที แต่ข้อเสนอนี้ก็แทบจะเป็นไปไม่ได้เมื่อฝ่ายกำนันสุเทพยืนยันชัดเจนว่า จะต้องปฏิรูปก่อนเลือกตั้งเท่านั้น
ในขณะที่ทางออกกำลังตีบตันมีข้อเสนอจากคณะที่เรียกตัวเองว่ารัฐบุคคล เสนอให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ พูดคุยกับองค์กรต่างๆ ทั้งตุลาการ ทหาร และผู้นำทางสังคม เพื่อร่างพระบรมราชโองการทูลเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย แก้วิกฤตการเมือง
ข้อเสนอของคณะรัฐบุคคลถูกโจมตีจากนักวิชาการฝ่ายเสื้อแดงว่า เป็นการใช้สถาบันเป็นเครื่องมือเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง เป็นการกระทำที่ไม่บังควรที่ไปรบกวนเบื้องพระยุคลบาท พระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญจะทำอะไรต้องอยู่ใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นพระมหากษัตริย์ไม่สามารถทำอะไรที่เหนือไปจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญได้
ข้อเสนอของคณะรัฐบุคคลจึงถูกโจมตีว่าเป็นข้อเสนอที่ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายและธรรมเนียมประเพณีใดรองรับ
ดูเหมือนจะไม่มีข้อเสนอไหนที่สองฝ่ายจะยอมรับร่วมกันได้อีกแล้ว และไม่มีองค์การใดหรือบุคคลใดที่จะเข้ามาทำหน้าที่คนกลางที่ทุกฝ่ายยอมรับได้หลงเหลืออยู่ในประเทศไทยอีกต่อไป
ถ้าข้อเสนอของฝ่ายหนึ่งได้รับการตอบสนอง อีกฝ่ายหนึ่งก็ไม่เห็นด้วย
พูดกันตรงๆ ก็คือ ตอนนี้ข้อเสนอของฝ่าย กปปส.ก็คือ ผลักดันให้มีนายกฯ คนกลางเพื่อผลักดันให้มีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ได้ในทางกฎหมายก็ตาม ถ้าแนวทางของ กปปส.ได้รับการตอบสนองมวลมหาประชาชนกลับบ้านไป ก็จะมีมวลชนอีกกลุ่มหนึ่งออกมาประท้วงบนท้องถนนแทนมวลมหาประชาชนในเวลานี้ บ้านเมืองไม่มีวันจะกลับไปสู่ความสงบได้อีกต่อไป
แต่ประเด็นสำคัญมันอยู่ตรงวันที่ 23 เมษายนนี้ หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์มีความผิด ความเป็นนายกรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามมาตรา 182 (7) และมาตรา 180 (1) รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ... ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามมาตรา 182
ไม่มีกฎหมายฉบับไหนเขียนเอาไว้ว่าให้ไปต่ออย่างไร ไม่สามารถสรรหานายกฯ คนใหม่ได้เพราะไม่มีสภาผู้แทนราษฎรที่รัฐธรรมนูญกำหนดว่า คนเป็นนายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส.เท่านั้น
แสดงว่าถ้าเกิดกรณีนี้ขึ้นประเทศไทยจะไม่มีนายกรัฐมนตรี ไม่มีรัฐบาล เกิดสุญญากาศทางการเมือง
นักกฎหมายกำลังถกเถียงกันว่า กรณีดังกล่าวจะเข้าสู่กรณีตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญหรือไม่
“มาตรา 7 ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”
และมาตรา 4 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ยังเขียนไว้ว่า
“กฎหมายนั้นต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติใดๆ แห่งกฎหมายตามตัวอักษรหรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัตินั้นๆ
เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้นให้วินิจฉัยคดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง และถ้าบทกฎหมายเช่นนั้นก็ไม่มีด้วยให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป”
กระทั่งมีข้อเสนอว่าหากยึดตามหลักกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งก็คือ การให้วุฒิสภาทำหน้าที่แทน โดยให้ประธานวุฒิสภานำความขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ และเมื่อไม่มี ส.ส.ซึ่งเป็นคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญก็ให้นำรัฐธรรมนูญมาตรา 7 มาใช้
โดยกรณีดังกล่าวคุณคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา อธิบายว่า ไม่ใช่เรื่องขอพระราชทานนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่พระมหากษัตริย์ใช้พระราชอำนาจนอกรัฐธรรมนูญ และก็ไม่ได้ขัดกับพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549 ที่พระราชทานพระบรมราโชวาทแก่คณะตุลาการศาลปกครองสูงสุด
รัฐบาลชุดใหม่ก็เข้ามาเป็นรัฐบาลคนกลางที่ต้องเดินหน้าปฏิรูปก่อนกลับไปสู่การเลือกตั้ง
ถ้าออกมาแบบนี้ฝ่ายมวลมหาประชาชนกลับบ้านได้ กำนันสุเทพประกาศชัยชนะ
แต่ถ้าถามว่าจบไหมคำตอบของผมก็คือไม่จบครับ เพราะเมื่อมวลมหาประชาชนแยกย้ายกันกลับบ้าน มวลชนเสื้อแดงก็จะมาอยู่บนถนนแทน
เว้นเสียแต่ทักษิณกดปุ่มให้ถอย เพราะมั่นใจว่า เลือกตั้งกลับมาเมื่อไหร่ ฝ่ายเขาจะกลับมากำชัยในที่สุด
หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์มีความผิดจะเข้าสู่สุญญากาศทันที เพราะจะทำให้คณะรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งไปทั้งคณะด้วย สิ่งที่จะเกิดขึ้นสำหรับประเทศไทยตอนนั้นก็คือ เดินหน้าไปไม่ได้ ถอยหลังไปไม่ได้ใกล้จะถึงทางตันลงไปทุกที
พูดก็พูดเถอะว่า ถึงวันนี้เราพูดได้ว่า ประเทศไทยกำลังแตกออกเป็นสองเสี่ยง ประชาชนทั้งสองฝ่ายมีดุลกำลังที่ใกล้เคียงกัน ต่างฝ่ายต่างอ้างว่าตัวเองเป็นฝ่ายชอบธรรม โชคดีที่ยังไม่มีการติดอาวุธออกมาห้ำหั่นกันจนเป็นสงครามกลางเมืองเท่านั้นเอง
คนเสื้อแดงเรียกตัวเองว่า ฝ่ายประชาธิปไตย ในขณะที่มวลมหาประชาชนกล่าวหาว่า รัฐบาลยิ่งลักษณ์ซึ่งเป็นเสียงข้างมากใช้อำนาจเกินขอบเขต เป็นเผด็จการรัฐสภาไม่ฟังความเห็นเสียงข้างน้อย จนนำมาสู่การชุมนุมประท้วง กระทั่งรัฐบาลต้องประกาศยุบสภา และนำมาสู่การชุมนุมขับไล่รัฐบาลที่ยังรักษาการและเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมืองปฏิรูปประเทศอยู่ในที่สุด
การเลือกตั้งเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะถูกขัดขวางจากฝ่ายที่เรียกร้องให้มีการปฏิรูปประเทศเพื่อกำหนดกติกากันเสียใหม่ก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง
ข้อเสนอทั้งจากฝ่ายที่ต้องการเลือกตั้งและฝ่ายที่ต้องการปฏิรูปก่อนยังไม่มีทีท่าเลยว่าจะลงเอยให้พอใจทั้งสองฝ่ายได้อย่างไร จะเลือกตั้งกันได้เมื่อไหร่ และการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งที่อีกฝ่ายเรียกร้องจะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่
แม้จะมีคนพยายามเสนอทางออกว่า ให้มีการเลือกตั้งขึ้นท่ามกลางพันธสัญญาร่วมกันของทุกพรรคการเมืองว่า รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจะต้องเดินหน้าผลักดันการปฏิรูปการเมืองในระยะสั้น เมื่อปฏิรูปเสร็จแล้วต้องยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ทันที แต่ข้อเสนอนี้ก็แทบจะเป็นไปไม่ได้เมื่อฝ่ายกำนันสุเทพยืนยันชัดเจนว่า จะต้องปฏิรูปก่อนเลือกตั้งเท่านั้น
ในขณะที่ทางออกกำลังตีบตันมีข้อเสนอจากคณะที่เรียกตัวเองว่ารัฐบุคคล เสนอให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ พูดคุยกับองค์กรต่างๆ ทั้งตุลาการ ทหาร และผู้นำทางสังคม เพื่อร่างพระบรมราชโองการทูลเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย แก้วิกฤตการเมือง
ข้อเสนอของคณะรัฐบุคคลถูกโจมตีจากนักวิชาการฝ่ายเสื้อแดงว่า เป็นการใช้สถาบันเป็นเครื่องมือเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง เป็นการกระทำที่ไม่บังควรที่ไปรบกวนเบื้องพระยุคลบาท พระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญจะทำอะไรต้องอยู่ใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นพระมหากษัตริย์ไม่สามารถทำอะไรที่เหนือไปจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญได้
ข้อเสนอของคณะรัฐบุคคลจึงถูกโจมตีว่าเป็นข้อเสนอที่ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายและธรรมเนียมประเพณีใดรองรับ
ดูเหมือนจะไม่มีข้อเสนอไหนที่สองฝ่ายจะยอมรับร่วมกันได้อีกแล้ว และไม่มีองค์การใดหรือบุคคลใดที่จะเข้ามาทำหน้าที่คนกลางที่ทุกฝ่ายยอมรับได้หลงเหลืออยู่ในประเทศไทยอีกต่อไป
ถ้าข้อเสนอของฝ่ายหนึ่งได้รับการตอบสนอง อีกฝ่ายหนึ่งก็ไม่เห็นด้วย
พูดกันตรงๆ ก็คือ ตอนนี้ข้อเสนอของฝ่าย กปปส.ก็คือ ผลักดันให้มีนายกฯ คนกลางเพื่อผลักดันให้มีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ได้ในทางกฎหมายก็ตาม ถ้าแนวทางของ กปปส.ได้รับการตอบสนองมวลมหาประชาชนกลับบ้านไป ก็จะมีมวลชนอีกกลุ่มหนึ่งออกมาประท้วงบนท้องถนนแทนมวลมหาประชาชนในเวลานี้ บ้านเมืองไม่มีวันจะกลับไปสู่ความสงบได้อีกต่อไป
แต่ประเด็นสำคัญมันอยู่ตรงวันที่ 23 เมษายนนี้ หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์มีความผิด ความเป็นนายกรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามมาตรา 182 (7) และมาตรา 180 (1) รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ... ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามมาตรา 182
ไม่มีกฎหมายฉบับไหนเขียนเอาไว้ว่าให้ไปต่ออย่างไร ไม่สามารถสรรหานายกฯ คนใหม่ได้เพราะไม่มีสภาผู้แทนราษฎรที่รัฐธรรมนูญกำหนดว่า คนเป็นนายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส.เท่านั้น
แสดงว่าถ้าเกิดกรณีนี้ขึ้นประเทศไทยจะไม่มีนายกรัฐมนตรี ไม่มีรัฐบาล เกิดสุญญากาศทางการเมือง
นักกฎหมายกำลังถกเถียงกันว่า กรณีดังกล่าวจะเข้าสู่กรณีตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญหรือไม่
“มาตรา 7 ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”
และมาตรา 4 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ยังเขียนไว้ว่า
“กฎหมายนั้นต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติใดๆ แห่งกฎหมายตามตัวอักษรหรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัตินั้นๆ
เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้นให้วินิจฉัยคดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง และถ้าบทกฎหมายเช่นนั้นก็ไม่มีด้วยให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป”
กระทั่งมีข้อเสนอว่าหากยึดตามหลักกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งก็คือ การให้วุฒิสภาทำหน้าที่แทน โดยให้ประธานวุฒิสภานำความขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ และเมื่อไม่มี ส.ส.ซึ่งเป็นคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญก็ให้นำรัฐธรรมนูญมาตรา 7 มาใช้
โดยกรณีดังกล่าวคุณคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา อธิบายว่า ไม่ใช่เรื่องขอพระราชทานนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่พระมหากษัตริย์ใช้พระราชอำนาจนอกรัฐธรรมนูญ และก็ไม่ได้ขัดกับพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549 ที่พระราชทานพระบรมราโชวาทแก่คณะตุลาการศาลปกครองสูงสุด
รัฐบาลชุดใหม่ก็เข้ามาเป็นรัฐบาลคนกลางที่ต้องเดินหน้าปฏิรูปก่อนกลับไปสู่การเลือกตั้ง
ถ้าออกมาแบบนี้ฝ่ายมวลมหาประชาชนกลับบ้านได้ กำนันสุเทพประกาศชัยชนะ
แต่ถ้าถามว่าจบไหมคำตอบของผมก็คือไม่จบครับ เพราะเมื่อมวลมหาประชาชนแยกย้ายกันกลับบ้าน มวลชนเสื้อแดงก็จะมาอยู่บนถนนแทน
เว้นเสียแต่ทักษิณกดปุ่มให้ถอย เพราะมั่นใจว่า เลือกตั้งกลับมาเมื่อไหร่ ฝ่ายเขาจะกลับมากำชัยในที่สุด