เอเอฟพี/เอเจนซี-ปฏิบัติการค้นหาเครื่องบิน MH370เริ่มขึ้นแล้ว นานาชาติส่งเครื่องบินค้นหา หลังสภาพอากาศเป็นใจ ผู้เชี่ยวชาญชี้จุดค้นหาเป็นแนวภูเขาไฟใต้ทะเลอาจกู้กล่องดำได้ลำบาก สื่ออังกฤษอ้างทีมสอบสวนเชื่อเครื่องบินดิ่งมหาสมุทรโดยเจตนาและอาจเป็นการฆ่าตัวตาย เผยล่าสุดพบชิ้นส่วนต้องสงสัย 122 ชิ้นกลางมหาสมุทร แต่ยังไม่ระบุว่าใช่หรือไม่ ด้านมาลินโดแอร์ สายการบินต้นทุนต่ำมาเลเซีย เกิดไฟลุกไหม้ขณะบินขึ้น แต่กลับลงจอดได้ปลอดภัย ไร้คนบาดเจ็บ
สื่อต่างประเทศรายงานว่า ปฏิบัติการค้นหาเครื่องบินโดยสารมาเลเซียแอร์ไลน์สMH370 ที่คาดว่าประสบอุบัติเหตุตกลงกลางมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ ได้เริ่มขึ้นอีกครั้ง เมื่อวานนี้ (26 มี.ค.) โดยมีเครื่องบินนานาชาติออกไปค้นหาซาก MH370 ด้วยกันถึง 12 ลำ รวมถึงเกาหลีใต้ที่ส่งเครื่องบินเข้าร่วมปฏิบัติการค้นหาเป็นครั้งแรก หลังจากสภาพอากาศเริ่มเป็นใจ เพราะเมื่อวันที่ 25 มี.ค.ที่ผ่านมา ได้เกิดกระแสลมแรง พายุฝน และท้องทะเลปั่นป่วน ทำให้เครื่องบินค้นหาไม่สามารถออกเดินทางจากเมือเพิร์ทของออสเตรเลียไปยังจุดที่พบวัตถุต้องสงสัยได้
"ภารกิจจะเป็นการค้นหาใน 3 จุดที่อยู่ใกล้กัน ครอบคลุมพื้นที่ราว 80,000 ตารางกิโลเมตร" สำนักงานความปลอดภัยทางทะเลออสเตรเลีย (AMSA) ซึ่งทำหน้าที่ประสานงานในการค้นหาเครื่องบินแถลง
เรือรบ เอชเอ็มเอช ซักเซส ของกองทัพเรือออสเตรเลียได้ย้อนกลับเข้าไปยังน่านน้ำที่พบวัตถุต้องสงสัยในสัปดาห์นี้ ส่วนเรือตัดน้ำแข็ง "เซี่ยหลง" ของจีนก็ถูกส่งไปร่วมค้นหาซากเครื่องบิน เพื่อพิสูจน์ให้ได้ว่าเที่ยวบิน MH370 ตกลงสู่มหาสมุทรอินเดียจริงตามที่รัฐบาลมาเลเซียแถลงหรือไม่ และเพื่อสืบหาความจริงว่าเหตุใดเครื่องบินลำนี้จึงออกนอกเส้นทาง และสูญหายไปพร้อมผู้โดยสาร 239 ชีวิต เมื่อวันที่ 8 มี.ค.
นายกรัฐมนตรี โทนี แอบบ็อตต์ แห่งออสเตรเลีย ยืนยันว่า การค้นหาซึ่งเวลานี้เข้าสู่โหมดของการกู้เครื่องบิน จะไม่ยุติลง จนกว่าจะมั่นใจว่าหมดโอกาสหาเครื่องบินพบ
มาร์ค บินสกิน รองผู้บัญชาการกองกำลังป้องกันออสเตรเลีย ออกมาย้ำเตือนว่า พื้นที่ค้นหาอยู่ห่างไกลจากชายฝั่งตะวันตกของออสเตรเลียและมีขนาดกว้างใหญ่มาก จึงเป็นเรื่องท้าทายสำหรับเครื่องบินที่จะต้องผลัดเปลี่ยนกันออกไปค้นหา
อย่างไรก็ดี ต่อให้ทีมค้นหาพบชิ้นส่วนเครื่องบิน MH370 ลอยอยู่เหนือผิวน้ำ แต่นักธรณีวิทยา โรบิน บีแมน จากมหาวิทยาลัยเจมส์คุก รัฐควีนส์แลนด์ ได้เตือนว่า แนวภูเขาไฟใต้ทะเล อาจเป็นอุปสรรคใหญ่ที่ทำให้การเก็บกู้กล่องดำทำได้ยาก เพราะแนวสันเขาใต้สมุทรซึ่งอยู่ลึกลงไปราว 3,000 เมตร เป็นแนวภูเขาไฟที่มีพลังมาก เป็นจุดที่แผ่นเปลือกโลกแอนตาร์กติกและออสเตรเลเชียนมาชนกันพอดี และพื้นที่มหาสมุทรอินเดียตอนใต้ยังเป็นบริเวณที่ไม่เคยมีการสำรวจหรือทำแผนที่โดยละเอียด การกู้ซากเครื่องบินที่ตกไปบริเวณนั้น จะต้องอาศัยเทคโนโลยีแผนที่ 3 มิติ
"นับเป็นความโชคร้าย หากเครื่องบินลำนี้ ไปตกบริเวณรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทรที่ยังไม่สงบนิ่ง"
ทางด้านมาเลเซียแอร์ไลน์ส แถลงว่า แบตเตอรี่ในกล่องดำ จะส่งสัญญาณระบุตำแหน่งของมันเป็นเวลา 30 วันหลังจากสัมผัสกับน้ำ ซึ่งหมายความว่าทีมค้นหามีเวลาเหลืออีกไม่ถึง 2 สัปดาห์ที่จะค้นหาจุดตกของเครื่องบินให้เจอ
รัฐบาลมาเลเซียเชื่อว่า เครื่องบินลำนี้น่าจะถูกใครบางคนจงใจบังคับให้ออกนอกเส้นทางกัวลาลัมเปอร์-ปักกิ่ง แต่เนื่องจากยังไม่พบหลักฐานที่แน่ชัดจึงก่อให้เกิดทฤษฎีมากมาย เช่น การจี้เครื่องบิน นักบินถูกสังหาร หรือวิกฤตร้ายแรงบางอย่างที่ทำให้ลูกเรือไม่สามารถควบคุมเครื่อง และต้องปล่อยให้เครื่องบินเดินทางต่อไปเองด้วยระบบบินอัตโนมัติ (autopilot) จนกระทั่งน้ำมันหมด
ขณะที่ เว็บไซต์ของเทเลกราฟ สื่อมวลชนชั้นนำของอังกฤษ ได้อ้างคำบอกเล่าของแหล่งข่าวใกล้ชิดทีมสืบสวนเที่ยวบินปริศนา MH370 ระบุว่า คณะผู้สืบสวนปักใจเชื่อว่ามันตกลงในมหาสมุทรอินเดียโดยเจตนาและน่าจะเป็นการฆ่าตัวตายของใครบางคน
วันเดียวกันนี้ บริษัท ริบเบก ลอว์ ชาร์เตอร์ อินเตอร์เนชันแนล สำนักกฎหมายชื่อดังสหรัฐฯ ซึ่งมีที่ตั้งสำนักงานใหญ่ในชิคาโก ได้ระบุว่า ได้ยื่นฟ้องต่อศาลมลรัฐอิลลินอยส์ ของสหรัฐฯ เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายหลายล้านเหรียญสหรัฐ พร้อมทั้งกำลังค้นหาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ ความบกพร่องทางกลไก หรือการจัดการของสายการบินที่อาจทำให้เกิดภัยพิบัติในครั้งนี้
นอกจากนี้ มีรายงานข่าวว่า เครื่องบินของสายการบิน มาลินโดแอร์ (Malindo Air) ซึ่งเป็นสายการบินต้นทุนต่ำของมาเลเซีย ได้เกิดเพลิงลุกไหม้เครื่องยนต์ขณะทะยานขึ้นจากสนามบินในเมืองสุบัง รัฐสลังงอร์ ของมาเลเซีย โดยนักบินตัดสินใจนำเครื่องวกกลับไปลงจอดที่สนามบินได้อย่างปลอดภัย และไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ
ล่าสุด ฮิชามุดดิน ฮุสเซน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มาเลเซีย กล่าวว่า ภาพถ่ายจากฝ่ายการทหารและเทคโนโลยีอวกาศของแอร์บัสกรุ๊ป กิจการอากาศยานแดนน้ำหอม ได้เผยให้เห็นวัตถุปริศนาที่ลอยอยู่ในพื้นที่ 400 ตารางกิโลเมตรของมหาสมุทรอินเดีย แต่ยังระบุไม่ได้ว่ามาจากเครื่องบินโบอิ้ง 777-200 ER หรือไม่
ทั้งนี้ สำนักงานวิเคราะห์ข้อมูลระยะไกลแห่งมาเลเซีย ระบุว่าพบ วัตถุต้องสงสัย 122 ชิ้น ภายหลังที่นำภาพถ่ายจากดาวเทียมไปวิเคราะห์ โดยบางชิ้นมีความยาว 1 เมตร ขณะที่ชิ้นอื่นๆ มีความยาวถึง 23 เมตร โดยจุดที่พบวัตถุเหล่านี้ อยู่ห่างจากเมืองเพิร์ธของออสเตรเลียไปราว 2,557 กิโลเมตร
สื่อต่างประเทศรายงานว่า ปฏิบัติการค้นหาเครื่องบินโดยสารมาเลเซียแอร์ไลน์สMH370 ที่คาดว่าประสบอุบัติเหตุตกลงกลางมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ ได้เริ่มขึ้นอีกครั้ง เมื่อวานนี้ (26 มี.ค.) โดยมีเครื่องบินนานาชาติออกไปค้นหาซาก MH370 ด้วยกันถึง 12 ลำ รวมถึงเกาหลีใต้ที่ส่งเครื่องบินเข้าร่วมปฏิบัติการค้นหาเป็นครั้งแรก หลังจากสภาพอากาศเริ่มเป็นใจ เพราะเมื่อวันที่ 25 มี.ค.ที่ผ่านมา ได้เกิดกระแสลมแรง พายุฝน และท้องทะเลปั่นป่วน ทำให้เครื่องบินค้นหาไม่สามารถออกเดินทางจากเมือเพิร์ทของออสเตรเลียไปยังจุดที่พบวัตถุต้องสงสัยได้
"ภารกิจจะเป็นการค้นหาใน 3 จุดที่อยู่ใกล้กัน ครอบคลุมพื้นที่ราว 80,000 ตารางกิโลเมตร" สำนักงานความปลอดภัยทางทะเลออสเตรเลีย (AMSA) ซึ่งทำหน้าที่ประสานงานในการค้นหาเครื่องบินแถลง
เรือรบ เอชเอ็มเอช ซักเซส ของกองทัพเรือออสเตรเลียได้ย้อนกลับเข้าไปยังน่านน้ำที่พบวัตถุต้องสงสัยในสัปดาห์นี้ ส่วนเรือตัดน้ำแข็ง "เซี่ยหลง" ของจีนก็ถูกส่งไปร่วมค้นหาซากเครื่องบิน เพื่อพิสูจน์ให้ได้ว่าเที่ยวบิน MH370 ตกลงสู่มหาสมุทรอินเดียจริงตามที่รัฐบาลมาเลเซียแถลงหรือไม่ และเพื่อสืบหาความจริงว่าเหตุใดเครื่องบินลำนี้จึงออกนอกเส้นทาง และสูญหายไปพร้อมผู้โดยสาร 239 ชีวิต เมื่อวันที่ 8 มี.ค.
นายกรัฐมนตรี โทนี แอบบ็อตต์ แห่งออสเตรเลีย ยืนยันว่า การค้นหาซึ่งเวลานี้เข้าสู่โหมดของการกู้เครื่องบิน จะไม่ยุติลง จนกว่าจะมั่นใจว่าหมดโอกาสหาเครื่องบินพบ
มาร์ค บินสกิน รองผู้บัญชาการกองกำลังป้องกันออสเตรเลีย ออกมาย้ำเตือนว่า พื้นที่ค้นหาอยู่ห่างไกลจากชายฝั่งตะวันตกของออสเตรเลียและมีขนาดกว้างใหญ่มาก จึงเป็นเรื่องท้าทายสำหรับเครื่องบินที่จะต้องผลัดเปลี่ยนกันออกไปค้นหา
อย่างไรก็ดี ต่อให้ทีมค้นหาพบชิ้นส่วนเครื่องบิน MH370 ลอยอยู่เหนือผิวน้ำ แต่นักธรณีวิทยา โรบิน บีแมน จากมหาวิทยาลัยเจมส์คุก รัฐควีนส์แลนด์ ได้เตือนว่า แนวภูเขาไฟใต้ทะเล อาจเป็นอุปสรรคใหญ่ที่ทำให้การเก็บกู้กล่องดำทำได้ยาก เพราะแนวสันเขาใต้สมุทรซึ่งอยู่ลึกลงไปราว 3,000 เมตร เป็นแนวภูเขาไฟที่มีพลังมาก เป็นจุดที่แผ่นเปลือกโลกแอนตาร์กติกและออสเตรเลเชียนมาชนกันพอดี และพื้นที่มหาสมุทรอินเดียตอนใต้ยังเป็นบริเวณที่ไม่เคยมีการสำรวจหรือทำแผนที่โดยละเอียด การกู้ซากเครื่องบินที่ตกไปบริเวณนั้น จะต้องอาศัยเทคโนโลยีแผนที่ 3 มิติ
"นับเป็นความโชคร้าย หากเครื่องบินลำนี้ ไปตกบริเวณรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทรที่ยังไม่สงบนิ่ง"
ทางด้านมาเลเซียแอร์ไลน์ส แถลงว่า แบตเตอรี่ในกล่องดำ จะส่งสัญญาณระบุตำแหน่งของมันเป็นเวลา 30 วันหลังจากสัมผัสกับน้ำ ซึ่งหมายความว่าทีมค้นหามีเวลาเหลืออีกไม่ถึง 2 สัปดาห์ที่จะค้นหาจุดตกของเครื่องบินให้เจอ
รัฐบาลมาเลเซียเชื่อว่า เครื่องบินลำนี้น่าจะถูกใครบางคนจงใจบังคับให้ออกนอกเส้นทางกัวลาลัมเปอร์-ปักกิ่ง แต่เนื่องจากยังไม่พบหลักฐานที่แน่ชัดจึงก่อให้เกิดทฤษฎีมากมาย เช่น การจี้เครื่องบิน นักบินถูกสังหาร หรือวิกฤตร้ายแรงบางอย่างที่ทำให้ลูกเรือไม่สามารถควบคุมเครื่อง และต้องปล่อยให้เครื่องบินเดินทางต่อไปเองด้วยระบบบินอัตโนมัติ (autopilot) จนกระทั่งน้ำมันหมด
ขณะที่ เว็บไซต์ของเทเลกราฟ สื่อมวลชนชั้นนำของอังกฤษ ได้อ้างคำบอกเล่าของแหล่งข่าวใกล้ชิดทีมสืบสวนเที่ยวบินปริศนา MH370 ระบุว่า คณะผู้สืบสวนปักใจเชื่อว่ามันตกลงในมหาสมุทรอินเดียโดยเจตนาและน่าจะเป็นการฆ่าตัวตายของใครบางคน
วันเดียวกันนี้ บริษัท ริบเบก ลอว์ ชาร์เตอร์ อินเตอร์เนชันแนล สำนักกฎหมายชื่อดังสหรัฐฯ ซึ่งมีที่ตั้งสำนักงานใหญ่ในชิคาโก ได้ระบุว่า ได้ยื่นฟ้องต่อศาลมลรัฐอิลลินอยส์ ของสหรัฐฯ เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายหลายล้านเหรียญสหรัฐ พร้อมทั้งกำลังค้นหาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ ความบกพร่องทางกลไก หรือการจัดการของสายการบินที่อาจทำให้เกิดภัยพิบัติในครั้งนี้
นอกจากนี้ มีรายงานข่าวว่า เครื่องบินของสายการบิน มาลินโดแอร์ (Malindo Air) ซึ่งเป็นสายการบินต้นทุนต่ำของมาเลเซีย ได้เกิดเพลิงลุกไหม้เครื่องยนต์ขณะทะยานขึ้นจากสนามบินในเมืองสุบัง รัฐสลังงอร์ ของมาเลเซีย โดยนักบินตัดสินใจนำเครื่องวกกลับไปลงจอดที่สนามบินได้อย่างปลอดภัย และไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ
ล่าสุด ฮิชามุดดิน ฮุสเซน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มาเลเซีย กล่าวว่า ภาพถ่ายจากฝ่ายการทหารและเทคโนโลยีอวกาศของแอร์บัสกรุ๊ป กิจการอากาศยานแดนน้ำหอม ได้เผยให้เห็นวัตถุปริศนาที่ลอยอยู่ในพื้นที่ 400 ตารางกิโลเมตรของมหาสมุทรอินเดีย แต่ยังระบุไม่ได้ว่ามาจากเครื่องบินโบอิ้ง 777-200 ER หรือไม่
ทั้งนี้ สำนักงานวิเคราะห์ข้อมูลระยะไกลแห่งมาเลเซีย ระบุว่าพบ วัตถุต้องสงสัย 122 ชิ้น ภายหลังที่นำภาพถ่ายจากดาวเทียมไปวิเคราะห์ โดยบางชิ้นมีความยาว 1 เมตร ขณะที่ชิ้นอื่นๆ มีความยาวถึง 23 เมตร โดยจุดที่พบวัตถุเหล่านี้ อยู่ห่างจากเมืองเพิร์ธของออสเตรเลียไปราว 2,557 กิโลเมตร