ASTVผู้จัดการรายวัน-ศาลรัฐธรรมนูญนัดวินิจฉัย พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน 12 มี.ค.นี้ ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ พร้อมไม่รับคำร้องเพื่อไทยขอให้สั่ง "สุเทพ" ยุติชุมนุม ย้ำเป็นสิทธิและเสรีภาพ ส่วนกรณีจัดเลือกตั้งไม่เสร็จ เรียกร้องเลือกตั้งโมฆะ และการดันรัฐบาลแห่งชาติ ก็ไม่รับพิจารณา เผยพบกระจกศาลแตก คล้ายรอยกระสุน ยังเชื่อไม่ใช่รอยยิงข่มขู่
นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าคณะโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวานนี้ (5 มี.ค.) ว่า ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้มีการประชุมพิจารณาสำนวนกรณีประธานรัฐสภาส่งความเห็นของสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 154 ว่า ร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. ... วงเงินไม่เกิน 2 ล้านล้านบาท ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 169 และ 170 หรือไม่ และมีมตินัดแถลงด้วยวาจาและลงมติในวันที่ 12 มี.ค.นี้ ตั้งแต่เวลา 09.30 น. เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ที่ประชุมยังมีมติไม่รับคำร้องที่ นายสิงห์ทอง บัวชุม สมาชิกพรรคเพื่อไทย ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 เพื่อสั่งให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) และกลุ่มเครือข่ายนักศึกษาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) ยุติชุมนุม และยุบพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากพบว่าการชุมนุมไม่ได้สงบปราศจากอาวุธ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 63 โดยเฉพาะเมื่อวันที่ 18 ก.พ.2557 ที่ศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) ขอเปิดพื้นที่บริเวณสะพานผ่านฟ้า แต่กลับมีการใช้อาวุธจนมีผู้บาดเจ็บเสียชีวิต
"ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า การชุมนุมของประชาชนตามคำร้อง เป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพ โดยมีเหตุผลมาจากการต่อต้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม และมาจากความไม่ไว้วางใจในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล ส่วนการกระทำจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่นๆ เป็นเรื่องที่ผู้รับผิดชอบในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาต้องไปดำเนินการตามกฎหมาย กรณีนี้จึงยังไม่มีมูลตามคำร้องและไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคหนึ่ง ที่ศาลจะรับไว้พิจารณาได้"
นายพิมลกล่าวว่า คณะตุลาการฯ ยังมีมติไม่รับคำร้องที่นายรัฐกร นภาภาค ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กระทำการเพื่อได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิถีทางที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ จากกรณีไม่สามารถจัดการเลือกตั้ง 2 ก.พ. ครบทุกเขตเลือกตั้ง และไม่สามารถประกาศผลเลือกตั้ง ส.ส.ได้ร้อยละ 95 ภายใน 30 วัน นับแต่วันเลือกตั้ง เพื่อสามารถเปิดประชุมรัฐสภาครั้งแรกได้
นอกจากนี้ ไม่รับคำร้องนางชัญญา ชำนาญกุล ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามมาตรา 68 ว่า นายวิรัตน์ กัลยาศิริ อดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ กระทำการล้มล้างปกครองฯ จากกรณีที่นายวิรัตน์ ใช้สิทธิยื่นศาลรัฐธรรรมนูญเมื่อวันที่ 4 ก.พ. ขอให้วินิจฉัยให้การเลือกตั้ง 2 ก.พ.เป็นโมฆะ
ขณะเดียวกัน ไม่รับคำร้องที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคเพื่อไทย ขอให้วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ว่านายปราโมทย์ นาครทรรพ กระทำการล้มล้างปกครองฯ จากกรณีมีรายงานทางเว็บไซด์กระปุกดอทคอมเมื่อวันที่ 12 ก.พ.ว่า นายปราโมทย์มีหนังสือด่วนที่สุดลงวันที่ 11 ธ.ค.2556 ถึงประธานองคมนตรีขอให้เสนอราชเลขาธิการ นำความกราบบังคมทูลให้มีพระบรมราชโองการงดใช้บางมาตราของรัฐธรรมนูญ 50 ที่เป็นอุปสรรคต่อการขจัดความขัดแย้งและการปฏิรูป ก่อนที่จะมีการปะทะเสียเลือดเนื้อเป็นประวัติการณ์ อีกทั้งยังมีการเผยแพร่ หนังสือด่วนที่สุด ลงวันที่ 11 ก.พ. ที่นายปราโมทย์ ทำถึงพล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา องคมนตรี โดยมีเนื้อหาระบุถึงการที่นายปราโมทย์และบุคคลหลายฝ่าย ได้หารือเกี่ยวกับการดำเนินงานของ กกต. และกรณีการเกิดสุญญากาศอาจจะนำไปสู่รัฐบาลและสภานิติบัญญัติแห่งชาติชั่วคราว ไม่ใช่ในรูปแบบรัฐบาลแห่งชาติ แต่เป็นรูปแบบที่มีองค์ประกอบหลากหลายและเป็นประชาธิปไตย ซึ่งสามารถกระทำได้แม้ไม่มีการเลือกตั้ง จึงถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ได้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
"ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า ตามข้อเท็จจริงทั้ง 3 คำร้อง ยังไม่มีมูลกรณีที่เป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีทางที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ จึงไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์รัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคหนึ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับไว้วินิจฉัยได้"
อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เจ้าหน้าที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้พบรอยกระจกแตกร้าวคล้ายกับถูกยิงด้วยกระสุนปืน ที่บริเวณปีกขวาด้านหน้าอาคารสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ชั้น 2 โดยรอยกระสุนอยู่สูงจากพื้นประมาณ 4 เมตร กว้างประมาณ 10 เซนติเมตร ซึ่งเชื่อว่ารอยดังกล่าวน่าจะเกิดขึ้นเมื่อคืนวันที่ 4 มี.ค.2557 โดยเจ้าหน้าที่ศาลฯ ได้เข้าบันทึกภาพเก็บไว้เป็นหลักฐานเรียบร้อยแล้ว พร้อมวิเคราะห์หาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร และเบื้องต้นเชื่อว่าไม่น่าจะเกิดจากการข่มขู่ เพราะร่องรอยที่พบ ไม่น่าจะเกิดจากกระสุนปืน อีกทั้งบริเวณที่เกิดเหตุ มีเพียงแค่ก้อนหินตกอยู่ ประกอบกับพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นที่พักของการ์ด กปปส.
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวได้พยายามสอบถามถึงเหตุการณ์ดังกล่าว จากเจ้าหน้าที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย แต่ต่างก็ปฏิเสธที่จะให้ข้อมูล
ด้านนายสมฤทธิ์ ไชยวงศ์ รองโฆษกสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า อยู่ระหว่างการตรวจสอบว่ารอยดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อใด และเป็นรอยอะไร แต่เชื่อว่าไม่น่าจะเป็นการข่มขู่ โดยยังไม่ได้มีการแจ้งความ เพราะอยู่ระหว่างตรวจสอบและรวบรวมข้อมูล
นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าคณะโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวานนี้ (5 มี.ค.) ว่า ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้มีการประชุมพิจารณาสำนวนกรณีประธานรัฐสภาส่งความเห็นของสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 154 ว่า ร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. ... วงเงินไม่เกิน 2 ล้านล้านบาท ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 169 และ 170 หรือไม่ และมีมตินัดแถลงด้วยวาจาและลงมติในวันที่ 12 มี.ค.นี้ ตั้งแต่เวลา 09.30 น. เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ที่ประชุมยังมีมติไม่รับคำร้องที่ นายสิงห์ทอง บัวชุม สมาชิกพรรคเพื่อไทย ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 เพื่อสั่งให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) และกลุ่มเครือข่ายนักศึกษาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) ยุติชุมนุม และยุบพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากพบว่าการชุมนุมไม่ได้สงบปราศจากอาวุธ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 63 โดยเฉพาะเมื่อวันที่ 18 ก.พ.2557 ที่ศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) ขอเปิดพื้นที่บริเวณสะพานผ่านฟ้า แต่กลับมีการใช้อาวุธจนมีผู้บาดเจ็บเสียชีวิต
"ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า การชุมนุมของประชาชนตามคำร้อง เป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพ โดยมีเหตุผลมาจากการต่อต้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม และมาจากความไม่ไว้วางใจในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล ส่วนการกระทำจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่นๆ เป็นเรื่องที่ผู้รับผิดชอบในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาต้องไปดำเนินการตามกฎหมาย กรณีนี้จึงยังไม่มีมูลตามคำร้องและไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคหนึ่ง ที่ศาลจะรับไว้พิจารณาได้"
นายพิมลกล่าวว่า คณะตุลาการฯ ยังมีมติไม่รับคำร้องที่นายรัฐกร นภาภาค ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กระทำการเพื่อได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิถีทางที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ จากกรณีไม่สามารถจัดการเลือกตั้ง 2 ก.พ. ครบทุกเขตเลือกตั้ง และไม่สามารถประกาศผลเลือกตั้ง ส.ส.ได้ร้อยละ 95 ภายใน 30 วัน นับแต่วันเลือกตั้ง เพื่อสามารถเปิดประชุมรัฐสภาครั้งแรกได้
นอกจากนี้ ไม่รับคำร้องนางชัญญา ชำนาญกุล ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามมาตรา 68 ว่า นายวิรัตน์ กัลยาศิริ อดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ กระทำการล้มล้างปกครองฯ จากกรณีที่นายวิรัตน์ ใช้สิทธิยื่นศาลรัฐธรรรมนูญเมื่อวันที่ 4 ก.พ. ขอให้วินิจฉัยให้การเลือกตั้ง 2 ก.พ.เป็นโมฆะ
ขณะเดียวกัน ไม่รับคำร้องที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคเพื่อไทย ขอให้วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ว่านายปราโมทย์ นาครทรรพ กระทำการล้มล้างปกครองฯ จากกรณีมีรายงานทางเว็บไซด์กระปุกดอทคอมเมื่อวันที่ 12 ก.พ.ว่า นายปราโมทย์มีหนังสือด่วนที่สุดลงวันที่ 11 ธ.ค.2556 ถึงประธานองคมนตรีขอให้เสนอราชเลขาธิการ นำความกราบบังคมทูลให้มีพระบรมราชโองการงดใช้บางมาตราของรัฐธรรมนูญ 50 ที่เป็นอุปสรรคต่อการขจัดความขัดแย้งและการปฏิรูป ก่อนที่จะมีการปะทะเสียเลือดเนื้อเป็นประวัติการณ์ อีกทั้งยังมีการเผยแพร่ หนังสือด่วนที่สุด ลงวันที่ 11 ก.พ. ที่นายปราโมทย์ ทำถึงพล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา องคมนตรี โดยมีเนื้อหาระบุถึงการที่นายปราโมทย์และบุคคลหลายฝ่าย ได้หารือเกี่ยวกับการดำเนินงานของ กกต. และกรณีการเกิดสุญญากาศอาจจะนำไปสู่รัฐบาลและสภานิติบัญญัติแห่งชาติชั่วคราว ไม่ใช่ในรูปแบบรัฐบาลแห่งชาติ แต่เป็นรูปแบบที่มีองค์ประกอบหลากหลายและเป็นประชาธิปไตย ซึ่งสามารถกระทำได้แม้ไม่มีการเลือกตั้ง จึงถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ได้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
"ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า ตามข้อเท็จจริงทั้ง 3 คำร้อง ยังไม่มีมูลกรณีที่เป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีทางที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ จึงไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์รัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคหนึ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับไว้วินิจฉัยได้"
อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เจ้าหน้าที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้พบรอยกระจกแตกร้าวคล้ายกับถูกยิงด้วยกระสุนปืน ที่บริเวณปีกขวาด้านหน้าอาคารสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ชั้น 2 โดยรอยกระสุนอยู่สูงจากพื้นประมาณ 4 เมตร กว้างประมาณ 10 เซนติเมตร ซึ่งเชื่อว่ารอยดังกล่าวน่าจะเกิดขึ้นเมื่อคืนวันที่ 4 มี.ค.2557 โดยเจ้าหน้าที่ศาลฯ ได้เข้าบันทึกภาพเก็บไว้เป็นหลักฐานเรียบร้อยแล้ว พร้อมวิเคราะห์หาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร และเบื้องต้นเชื่อว่าไม่น่าจะเกิดจากการข่มขู่ เพราะร่องรอยที่พบ ไม่น่าจะเกิดจากกระสุนปืน อีกทั้งบริเวณที่เกิดเหตุ มีเพียงแค่ก้อนหินตกอยู่ ประกอบกับพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นที่พักของการ์ด กปปส.
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวได้พยายามสอบถามถึงเหตุการณ์ดังกล่าว จากเจ้าหน้าที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย แต่ต่างก็ปฏิเสธที่จะให้ข้อมูล
ด้านนายสมฤทธิ์ ไชยวงศ์ รองโฆษกสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า อยู่ระหว่างการตรวจสอบว่ารอยดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อใด และเป็นรอยอะไร แต่เชื่อว่าไม่น่าจะเป็นการข่มขู่ โดยยังไม่ได้มีการแจ้งความ เพราะอยู่ระหว่างตรวจสอบและรวบรวมข้อมูล