เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ ( 4 มี.ค.) ที่รัฐสภา ตัวแทนพรรคเพื่อไทย นำโดย นายสุนัย จุลพงศธร นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ และ นายทศพร เสรีรักษ์ ได้เข้าพบ นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่ประธานรัฐสภา เพื่อหารือถึงการเปิดประชุมรัฐสภาครั้งแรก โดยนายทศพร กล่าวว่า ขณะนี้ ครบกำหนด 30 วัน ตามกฎหมายที่ต้องเปิดประชุมรัฐสภา แต่ กกต.กลับจัดการเลือกตั้งไม่สำเร็จ และยังนำการเลือกตั้งส.ว.มาแทรก แทนที่จะให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.ไปพร้อมๆ กับส.ว. ซึ่งก็ทำได้ แต่ไม่ทำ ตนจึงต้องหารือกับผู้ปฏิบัติหน้าที่ประธานรัฐสภา เพื่อหาทางออกว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ ในการเปิดประชุมสภาฯ โดยไม่ขอรับเงินเดือน ซึ่งพวกเราได้เสนอแนวทาง ให้จัดเวทีระดมความคิดเห็นของว่าที่ ส.ส. ให้เหมือนกับการประชุมสภาฯ และทำงานได้จริง ถึงแม้จะไม่ได้รับรองจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แต่ก็ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ขณะเดียวกัน เรื่องการปฏิรูป เรามีแนวคิดให้คณะกรรมาธิการสามัญแต่ละคณะได้เสนอแนวทางปฏิรูปต่อไป
ขณะที่นายสุนัย กล่าวว่า ได้ขอหารือต่อ นายนิคม ซึ่งได้อนุญาตให้ใช้ห้องประชุมรัฐสภา ในการจัดเวทีเสวนาครั้งแรก ในวันที่ 8 มี.ค. ในเรื่อง “เปิดสภาเดินหน้าปฏิรูปประเทศไทย” โดยเน้นเรื่องของกระบวนการยุติธรรม พร้อมกับจะเชิญว่าที่ ส.ส.จากพรรคการเมืองต่างๆ นักวิชาการ รวมถึง นายสถิต ไพเราะ อดีตรองประธานศาลฎีกา เข้าร่วมด้วย
อย่างไรก็ดี การดำเนินการเช่นนี้จะมีผลทางกฎหมายได้จริงหรือไม่นั้น ตนคิดว่าควรมองกลับไปยังกกต. มากกว่า อยากขอให้กกต. มีความจริงใจกับระบบรัฐสภา ให้ประกาศผลการเลือกตั้งได้แล้ว เพราะแม้แต่ขณะนี้มี ส.ส.หลายเขต ที่ไม่มีผู้ลงสมัครแข่งขัน แต่คะแนนก็ถึงร้อยละ 20 ตามที่กฎหมายกำหนด จึงถือว่าได้รับเลือกเป็นส.ส.แล้ว แต่ กกต.ก็ยังไม่มีประกาศผลในส่วนนี้เลย
ด้านนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีว่าที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย บางส่วน เข้าพบนายนิคม เพื่อขอจัดเวทีระดมความคิดของว่าที่ส.ส. ให้เหมือนการประชุมสภาฯ และทำงานได้จริง โดยไม่รอให้กกต.รับรองผลการเลือกตั้งว่า การจัดเวทีระดมความคิดทำได้ตามสิทธิ เหมือนกับกรณีวันเด็ก ที่มีเด็กเยาวชนมาใช้สถานที่ของรัฐสภา แต่ต้องเข้าใจเหตุที่ กกต. ยังไม่ประกาศรับรองผลเลือกตั้งเพราะมองเห็นว่า การเลือกตั้งครั้งนี้มีปัญหาและยังไม่ได้ส.ส.ครบ 95 เปอร์เซนต์ ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด และหากมีการประกาศผลรับรองการเลือกตั้งไปแล้ว จะเป็นการชี้นำในเขตที่ยังมีปัญหาในการจัดเลือกตั้งทดแทน เพราะจะเป็นการโน้มน้าวชี้นำได้ และอาจเห็นว่าจะมีคนร้องศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการเลือกตั้งนี้ว่า ขัดหรือแย้งรัฐธรรมนูญหรือไม่
ดังนั้นถ้า กกต.ยังไม่รับรองผลเลือกตั้ง ก็ถือว่ายังไม่ได้เป็นส.ส. ส่วนเรื่องเงินเดือน ส.ส.ที่ระบุว่า จะไม่ขอรับนั้น ก็ไม่มีสิทธิรับอยู่แล้ว เพราะต้องได้รับการรับรองผลจาก กกต. และต้องมีการปฏิญาณตนต่อที่ประชุมสภาฯ เมื่อเปิดสภาไม่ได้ ก็ปฏิญาณตนไม่ได้ ครั้งนี้จึงเหมือนการสร้างภาพที่จะขอทำหน้าที่ส.ส. ตนเห็นว่า พรรคเพื่อไทย และแกนนำนปช. เหมือนกันอย่างหนึ่งคือ การพูดความจริงไม่หมด และหลอกได้แต่เฉพาะชาวบ้านหรือคนที่ไม่รู้เท่านั้น
นายนิพิฏฐ์ กล่าวต่อว่า หากเขาจะใช้ห้องประชุมสภาทำหน้าที่ของว่าที่ส.ส. ที่กกต.ยังไม่รับรองผล มันก็แค่สภาโจ๊กของจริง ตัวจริง และคนที่อนุญาต ต้องตรองดูว่ามันจะทำให้เกียรติยศ ศักดิ์ศรี ของสภาตกต่ำลงไปกว่าที่เป็นอยู่หรือไม่
ส่วนที่จะขอใช้ห้องประชุมสภาเพื่อจัดการเสวนาเรื่อง "เปิดสภาเดินหน้าปฏิรูปประเทศไทย" โดยตั้งเป้าจะปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมนั้น ก็ไม่แปลกใจ เพราะที่ผ่านมาพรรคเพื่อไทยและนปช.พยายามใช้ทุกทางที่จะครอบงำ แทรกแซงเพื่อตัดทอนอำนาจของฝ่ายตุลาการ ศาล ที่เสนอให้มีการคัดเลือกผู้พิพากษาศาลต้องผ่านการคัดเลือกจากสภาฯ โดยอ้างว่า ศาลขาลอย ไม่ยึดโยงกับประชาชน อ้างสารพัดเหตุ ที่จะครอบงำยึดอำนาจศาลไว้ให้ได้ ทั้งที่ปัญหาวันนี้ควรที่จะปฏิรูปการเมือง นักการเมือง พรรคการเมืองมากกว่าปฏิรุปกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวกับศาล
"นักการเมืองต้องหันมาดูตัวเองก่อน วันนี้ระบบประชาธิปไตยไทยเหมือนมี 3เครื่องยนต์ คือ1. บริหาร 2. นิติบัญญัติ 3. ตุลาการศาล เครื่องยนต์ที่1 และ 2 มันน็อก ดับไปแล้ว เหลือเครื่องยนต์ที่ 3 ที่พยายามเดินหน้าแก้ไขปัญหา แต่ก็ยังมีคนจะดับเครื่องยนต์ที่ 3 ลงอีก เพราะรู้ว่า สุดท้ายทุกปัญหาต้องมาจบที่ศาลโดยยึดหลักกฎหมาย วันนี้เขาจึงต้องยึดให้ได้ หากดับหมดทั้ง 3 เครื่อง ก็ไม่เป็นประชาธิปไตยอีกแล้ว แต่จะเป็นเผด็จการ ถึงวันนั้น มันจะไม่มีทางแก้ ไร้ทางออก"นายนิพิฏฐ์ กล่าว
ขณะที่นายสุนัย กล่าวว่า ได้ขอหารือต่อ นายนิคม ซึ่งได้อนุญาตให้ใช้ห้องประชุมรัฐสภา ในการจัดเวทีเสวนาครั้งแรก ในวันที่ 8 มี.ค. ในเรื่อง “เปิดสภาเดินหน้าปฏิรูปประเทศไทย” โดยเน้นเรื่องของกระบวนการยุติธรรม พร้อมกับจะเชิญว่าที่ ส.ส.จากพรรคการเมืองต่างๆ นักวิชาการ รวมถึง นายสถิต ไพเราะ อดีตรองประธานศาลฎีกา เข้าร่วมด้วย
อย่างไรก็ดี การดำเนินการเช่นนี้จะมีผลทางกฎหมายได้จริงหรือไม่นั้น ตนคิดว่าควรมองกลับไปยังกกต. มากกว่า อยากขอให้กกต. มีความจริงใจกับระบบรัฐสภา ให้ประกาศผลการเลือกตั้งได้แล้ว เพราะแม้แต่ขณะนี้มี ส.ส.หลายเขต ที่ไม่มีผู้ลงสมัครแข่งขัน แต่คะแนนก็ถึงร้อยละ 20 ตามที่กฎหมายกำหนด จึงถือว่าได้รับเลือกเป็นส.ส.แล้ว แต่ กกต.ก็ยังไม่มีประกาศผลในส่วนนี้เลย
ด้านนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีว่าที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย บางส่วน เข้าพบนายนิคม เพื่อขอจัดเวทีระดมความคิดของว่าที่ส.ส. ให้เหมือนการประชุมสภาฯ และทำงานได้จริง โดยไม่รอให้กกต.รับรองผลการเลือกตั้งว่า การจัดเวทีระดมความคิดทำได้ตามสิทธิ เหมือนกับกรณีวันเด็ก ที่มีเด็กเยาวชนมาใช้สถานที่ของรัฐสภา แต่ต้องเข้าใจเหตุที่ กกต. ยังไม่ประกาศรับรองผลเลือกตั้งเพราะมองเห็นว่า การเลือกตั้งครั้งนี้มีปัญหาและยังไม่ได้ส.ส.ครบ 95 เปอร์เซนต์ ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด และหากมีการประกาศผลรับรองการเลือกตั้งไปแล้ว จะเป็นการชี้นำในเขตที่ยังมีปัญหาในการจัดเลือกตั้งทดแทน เพราะจะเป็นการโน้มน้าวชี้นำได้ และอาจเห็นว่าจะมีคนร้องศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการเลือกตั้งนี้ว่า ขัดหรือแย้งรัฐธรรมนูญหรือไม่
ดังนั้นถ้า กกต.ยังไม่รับรองผลเลือกตั้ง ก็ถือว่ายังไม่ได้เป็นส.ส. ส่วนเรื่องเงินเดือน ส.ส.ที่ระบุว่า จะไม่ขอรับนั้น ก็ไม่มีสิทธิรับอยู่แล้ว เพราะต้องได้รับการรับรองผลจาก กกต. และต้องมีการปฏิญาณตนต่อที่ประชุมสภาฯ เมื่อเปิดสภาไม่ได้ ก็ปฏิญาณตนไม่ได้ ครั้งนี้จึงเหมือนการสร้างภาพที่จะขอทำหน้าที่ส.ส. ตนเห็นว่า พรรคเพื่อไทย และแกนนำนปช. เหมือนกันอย่างหนึ่งคือ การพูดความจริงไม่หมด และหลอกได้แต่เฉพาะชาวบ้านหรือคนที่ไม่รู้เท่านั้น
นายนิพิฏฐ์ กล่าวต่อว่า หากเขาจะใช้ห้องประชุมสภาทำหน้าที่ของว่าที่ส.ส. ที่กกต.ยังไม่รับรองผล มันก็แค่สภาโจ๊กของจริง ตัวจริง และคนที่อนุญาต ต้องตรองดูว่ามันจะทำให้เกียรติยศ ศักดิ์ศรี ของสภาตกต่ำลงไปกว่าที่เป็นอยู่หรือไม่
ส่วนที่จะขอใช้ห้องประชุมสภาเพื่อจัดการเสวนาเรื่อง "เปิดสภาเดินหน้าปฏิรูปประเทศไทย" โดยตั้งเป้าจะปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมนั้น ก็ไม่แปลกใจ เพราะที่ผ่านมาพรรคเพื่อไทยและนปช.พยายามใช้ทุกทางที่จะครอบงำ แทรกแซงเพื่อตัดทอนอำนาจของฝ่ายตุลาการ ศาล ที่เสนอให้มีการคัดเลือกผู้พิพากษาศาลต้องผ่านการคัดเลือกจากสภาฯ โดยอ้างว่า ศาลขาลอย ไม่ยึดโยงกับประชาชน อ้างสารพัดเหตุ ที่จะครอบงำยึดอำนาจศาลไว้ให้ได้ ทั้งที่ปัญหาวันนี้ควรที่จะปฏิรูปการเมือง นักการเมือง พรรคการเมืองมากกว่าปฏิรุปกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวกับศาล
"นักการเมืองต้องหันมาดูตัวเองก่อน วันนี้ระบบประชาธิปไตยไทยเหมือนมี 3เครื่องยนต์ คือ1. บริหาร 2. นิติบัญญัติ 3. ตุลาการศาล เครื่องยนต์ที่1 และ 2 มันน็อก ดับไปแล้ว เหลือเครื่องยนต์ที่ 3 ที่พยายามเดินหน้าแก้ไขปัญหา แต่ก็ยังมีคนจะดับเครื่องยนต์ที่ 3 ลงอีก เพราะรู้ว่า สุดท้ายทุกปัญหาต้องมาจบที่ศาลโดยยึดหลักกฎหมาย วันนี้เขาจึงต้องยึดให้ได้ หากดับหมดทั้ง 3 เครื่อง ก็ไม่เป็นประชาธิปไตยอีกแล้ว แต่จะเป็นเผด็จการ ถึงวันนั้น มันจะไม่มีทางแก้ ไร้ทางออก"นายนิพิฏฐ์ กล่าว