วานนี้ (26ธ.ค.) สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเผยแพร่เอกสารข่าว ระบุว่า คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้มีการพิจารณาคำร้องที่ประธานสภาผู้แทนราษฎร ส่งความเห็นของสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 154 วรรคหนึ่ง (1) ว่า ร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ (พ.ร.บ.กู้ 2 ล้านล้าน) มีข้อความขัด หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 วรรคหนึ่ง และ มาตรา 170 หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญหรือไม่
โดยศาลได้พิจารณาคำร้องแล้ว มีคำสั่งให้มีการไต่สวนพยานในวันที่ 8 ม.ค.57 เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป และให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานผู้เสนอความเห็น นายนริศร ทองธิราช อดีต ส.ส.สกลนคร พรรคเพื่อไทย นายกรัฐมนตรี หรือ ผู้แทน รมว.คลัง รมว.คมนาคม เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน นายพิสิฐ ลี้อาธรรม ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล น.ส.สุภา ปิยะจิตติ นายทนง พิทยะ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล จัดทำชี้แจง และมาให้ถ้อยคำต่อศาลในวันดังกล่าวด้วย
นอกจากนี้ ยังมีมติไม่รับคำร้องที่ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา นายสิงห์ทอง บัวชุม สมาชิกพรรคเพื่อไทย นายกิตติ อธินันท์ นายวิชาญ นุ่มมาก ยื่นคำร้องรวม 7 คำร้อง ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การกระทำบุกยึดสถานที่ราชการ เสนอตั้งสภาประชาชน ให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากการรักษาการ ให้หัวหน้าส่วนราชการมารายงานตัว ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) และการกระทำของพรรคประชาธิปัตย์ ที่จัด ชุมนุมสนับสนุนการชุมนุมของ กปปส. เข้าข่ายเป็นการกระทำล้มล้างการปกครอง และกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิถีทางที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 หรือไม่
โดยศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า การชุมนุมของกปปส. ตามคำร้อง เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพกระทำในนามประชาชน ที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองไว้ โดยมีเหตุสืบเนื่องมากจากการต่อต้าน ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม และมาจากความไม่ไว้วางใจในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล เป็นเพียงการเรียกร้อง แสดงพลังด้วยการสนับสนุนของประชาชนจำนวนมาก ยังไม่มีมูลกรณีเป็นการกระทำล้มล้างการปกครอง ส่วนกรณีการออกหมายจับ นายสุเทพ และพวกเป็นเรื่องที่ผู้ต้องรับผิดชอบในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย
และยังมีคำสั่งในคดีที่ นายวิรัตน์ กัลยาศิริ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ยื่นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การที่นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา และ สมาชิกรัฐสภา 381 คน ร่วมกันดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ที่จำกัดอำนาจรัฐสภาในให้ความเห็นชอบการทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศของฝ่ายบริหาร ว่าเข้าข่ายเป็นการกระทำล้มล้างการปกครองและกระทำการให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองโดยวิถีทางที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือไม่ โดยให้คู่กรณีมาฟังคำวินิจฉัยคดี ในวันพุธที่ 8 มกราคม 2557
**สภาทนายยื่นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
ในวันเดียวกันนี้ นายนรินทร์พงศ์ จินาภักดิ์ นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์สมาคมทนายความแห่งประเทศไทยเรียกร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญเพื่อปกป้องรัฐธรรมนูญและระบอบประชาธิปไตยอันเป็นทางออกของประเทศ โดยไม่หวั่นไหวต่อแรงกดดันใด ๆ เพื่อให้สังคมมีสันติสุข โดยขอให้ศาลรัฐธรรมนูญดำเนินการไต่สวนนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส.และพวกก่อนจะเกิดความขัดแย้งและความแตกแยกของคนในสังคม จนนำไปสู่การล่มสลายของสังคมและประเทศไทย
ทั้งนี้ นายนรินทร์พงศ์ได้อ้างกรณีที่ นายกิตติ อธินันท์ รองนายกสมาคมทนายความฯ ได้เคยไปยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ว่า นายสุเทพ และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และพรรคประชาธิปัตย์กระทำการเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญเคยมีมติไม่รับคำร้องไว้วินิจฉัย และนายกิตติ ก็ได้ยื่นคำร้องอีกครั้ง หลังมีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง ซึ่งทางสมาคมฯ เห็นว่ากลุ่มบุคคลที่ เคลื่อนไหวยึดพื้นที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สถานที่ราชการ ตลอดจนมีการปิดล้อมและบุกเข้าไปภายในสนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นสถานที่รับสมัครเลือกตั้ง ส.ส. โดยมีการประกาศเจตนารมณ์ว่าต้องการปฏิวัติประชาชน ล้มล้างการปกครองที่เป็นอยู่ ประกอบกับในวันนี้มีการกระทำผิดทางอาญา โดยผู้ชุมนุมมีการพกพาอาวุธ บุกรุก ทำลายรั้วของสถานที่เลือกตั้งอันเป็นทรัพย์สินของราชการ มีการใช้อาวุธปืนยิงเจ้าหน้าที่ตำรวจจนได้รับบาดเจ็บ ขัดขวางหน่วงเหนี่ยวไม่ให้ผู้อื่น ผู้ใดใช้สิทธิในการสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้กับการที่ศาลฯ มีคำสั่งไม่รับคำร้องที่ยื่นไปเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2556 ไว้วินิจฉัย โดยไม่ดำเนินการไต่สวน และอ้างว่าสถานการณ์เข้าสู่กระบวนการเลือกตั้งแล้ว ก็อาจจะดูแปลก ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับกรณีการแก้ไข
รัฐธรรมนูญ และกรณีที่ได้มีการยื่นคำร้องอีกครั้งเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม และ 24 ธันวาคม 2556 เพื่อชี้ให้เห็นว่านายสุเทพและพวกขัดขวางการเลือกตั้ง แต่ศาลฯ ยังมิได้นัดไต่สวนและกลุ่ม กปปส.ก็ได้ไปปิดล้อมสถานที่รับสมัครเลือกตั้ง แล้วเปลี่ยนให้กลุ่ม คปท.เข้าไปยึดแทน จึงทำให้ดูประหนึ่งว่าถ้าเปลี่ยนกลุ่ม จะทำให้ประชาชนส่วนหนึ่งของประเทศเชื่อว่าศาลฯ ไม่วินิจฉัยสั่งนายสุเทพและพวกให้เลิกกระทำการได้ ทั้ง ๆ ที่การกระทำของกลุ่มที่เรียกว่ามวลมหาประชาชนโดยการนำของนายสุเทพและพวกนั้นเข้าข่ายล้มล้างการปกครองมาตรา 68 ทางสมาคมฯ จึงอยากขอให้ศาลฯ ดำเนินไต่สวนในเรื่องนี้
โดยศาลได้พิจารณาคำร้องแล้ว มีคำสั่งให้มีการไต่สวนพยานในวันที่ 8 ม.ค.57 เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป และให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานผู้เสนอความเห็น นายนริศร ทองธิราช อดีต ส.ส.สกลนคร พรรคเพื่อไทย นายกรัฐมนตรี หรือ ผู้แทน รมว.คลัง รมว.คมนาคม เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน นายพิสิฐ ลี้อาธรรม ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล น.ส.สุภา ปิยะจิตติ นายทนง พิทยะ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล จัดทำชี้แจง และมาให้ถ้อยคำต่อศาลในวันดังกล่าวด้วย
นอกจากนี้ ยังมีมติไม่รับคำร้องที่ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา นายสิงห์ทอง บัวชุม สมาชิกพรรคเพื่อไทย นายกิตติ อธินันท์ นายวิชาญ นุ่มมาก ยื่นคำร้องรวม 7 คำร้อง ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การกระทำบุกยึดสถานที่ราชการ เสนอตั้งสภาประชาชน ให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากการรักษาการ ให้หัวหน้าส่วนราชการมารายงานตัว ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) และการกระทำของพรรคประชาธิปัตย์ ที่จัด ชุมนุมสนับสนุนการชุมนุมของ กปปส. เข้าข่ายเป็นการกระทำล้มล้างการปกครอง และกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิถีทางที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 หรือไม่
โดยศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า การชุมนุมของกปปส. ตามคำร้อง เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพกระทำในนามประชาชน ที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองไว้ โดยมีเหตุสืบเนื่องมากจากการต่อต้าน ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม และมาจากความไม่ไว้วางใจในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล เป็นเพียงการเรียกร้อง แสดงพลังด้วยการสนับสนุนของประชาชนจำนวนมาก ยังไม่มีมูลกรณีเป็นการกระทำล้มล้างการปกครอง ส่วนกรณีการออกหมายจับ นายสุเทพ และพวกเป็นเรื่องที่ผู้ต้องรับผิดชอบในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย
และยังมีคำสั่งในคดีที่ นายวิรัตน์ กัลยาศิริ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ยื่นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การที่นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา และ สมาชิกรัฐสภา 381 คน ร่วมกันดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ที่จำกัดอำนาจรัฐสภาในให้ความเห็นชอบการทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศของฝ่ายบริหาร ว่าเข้าข่ายเป็นการกระทำล้มล้างการปกครองและกระทำการให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองโดยวิถีทางที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือไม่ โดยให้คู่กรณีมาฟังคำวินิจฉัยคดี ในวันพุธที่ 8 มกราคม 2557
**สภาทนายยื่นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
ในวันเดียวกันนี้ นายนรินทร์พงศ์ จินาภักดิ์ นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์สมาคมทนายความแห่งประเทศไทยเรียกร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญเพื่อปกป้องรัฐธรรมนูญและระบอบประชาธิปไตยอันเป็นทางออกของประเทศ โดยไม่หวั่นไหวต่อแรงกดดันใด ๆ เพื่อให้สังคมมีสันติสุข โดยขอให้ศาลรัฐธรรมนูญดำเนินการไต่สวนนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส.และพวกก่อนจะเกิดความขัดแย้งและความแตกแยกของคนในสังคม จนนำไปสู่การล่มสลายของสังคมและประเทศไทย
ทั้งนี้ นายนรินทร์พงศ์ได้อ้างกรณีที่ นายกิตติ อธินันท์ รองนายกสมาคมทนายความฯ ได้เคยไปยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ว่า นายสุเทพ และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และพรรคประชาธิปัตย์กระทำการเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญเคยมีมติไม่รับคำร้องไว้วินิจฉัย และนายกิตติ ก็ได้ยื่นคำร้องอีกครั้ง หลังมีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง ซึ่งทางสมาคมฯ เห็นว่ากลุ่มบุคคลที่ เคลื่อนไหวยึดพื้นที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สถานที่ราชการ ตลอดจนมีการปิดล้อมและบุกเข้าไปภายในสนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นสถานที่รับสมัครเลือกตั้ง ส.ส. โดยมีการประกาศเจตนารมณ์ว่าต้องการปฏิวัติประชาชน ล้มล้างการปกครองที่เป็นอยู่ ประกอบกับในวันนี้มีการกระทำผิดทางอาญา โดยผู้ชุมนุมมีการพกพาอาวุธ บุกรุก ทำลายรั้วของสถานที่เลือกตั้งอันเป็นทรัพย์สินของราชการ มีการใช้อาวุธปืนยิงเจ้าหน้าที่ตำรวจจนได้รับบาดเจ็บ ขัดขวางหน่วงเหนี่ยวไม่ให้ผู้อื่น ผู้ใดใช้สิทธิในการสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้กับการที่ศาลฯ มีคำสั่งไม่รับคำร้องที่ยื่นไปเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2556 ไว้วินิจฉัย โดยไม่ดำเนินการไต่สวน และอ้างว่าสถานการณ์เข้าสู่กระบวนการเลือกตั้งแล้ว ก็อาจจะดูแปลก ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับกรณีการแก้ไข
รัฐธรรมนูญ และกรณีที่ได้มีการยื่นคำร้องอีกครั้งเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม และ 24 ธันวาคม 2556 เพื่อชี้ให้เห็นว่านายสุเทพและพวกขัดขวางการเลือกตั้ง แต่ศาลฯ ยังมิได้นัดไต่สวนและกลุ่ม กปปส.ก็ได้ไปปิดล้อมสถานที่รับสมัครเลือกตั้ง แล้วเปลี่ยนให้กลุ่ม คปท.เข้าไปยึดแทน จึงทำให้ดูประหนึ่งว่าถ้าเปลี่ยนกลุ่ม จะทำให้ประชาชนส่วนหนึ่งของประเทศเชื่อว่าศาลฯ ไม่วินิจฉัยสั่งนายสุเทพและพวกให้เลิกกระทำการได้ ทั้ง ๆ ที่การกระทำของกลุ่มที่เรียกว่ามวลมหาประชาชนโดยการนำของนายสุเทพและพวกนั้นเข้าข่ายล้มล้างการปกครองมาตรา 68 ทางสมาคมฯ จึงอยากขอให้ศาลฯ ดำเนินไต่สวนในเรื่องนี้