ถ้าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิดนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรภายในสิ้นเดือนมีนาคมหรือต้นเดือนเมษายน 2557 อะไรจะเกิดขึ้น
สุญญากาศทางอำนาจจะเกิดขึ้น?
จะมีโอกาสตั้งนายกรัฐมนตรีรักษาการที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดจากทุกฝ่าย??
ฝ่ายรัฐบาลดูเหมือนจะไม่ค่อยเป็นห่วงเท่าไร เพราะเชื่อว่าต่อให้แม่นางนายกรัฐมนตรีหุ่นเชิดของพวกเขาต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีรักษาการเพราะเหตุถูก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดตามรัฐธรรมนูญมาตรา 272 วรรคสาม ก็ยังมีรองนายกรัฐมนตรีรักษาการและรัฐมนตรีรักษาการอีกหลายคนที่จะขึ้นมารักษาการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน และก็ดูเหมือนจะวางแผนไว้แล้วว่าจะเป็นนายพงษ์เทพ เทพกาญจนาที่จะเป็นตัวเต็งขึ้นมารับไม้ต่อรักษาการแทน
ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลเองก็ดูเหมือนจะเห็นพ้องด้วยพอสมควร แม้จะไม่ได้พูดออกมาตรงๆ แต่ที่เห็นวิเคราะห์สถานการณ์กันส่วนใหญ่ก็จะออกไปในทำนองว่าการชี้มูลความผิดแม่นางนายกรัฐมนตรีของ ป.ป.ช.ตามมาตรา 272 วรรคสามนี้ยังไม่ใช่หมัดน็อก คณะรัฐมนตรียังไม่พ้นตำแหน่งทั้งคณะ
ลึกๆ แล้วฝ่ายต่อต้านรัฐบาลเองก็ยังมองไม่เห็นว่านอกจากให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะพร้อมใจกันลาออกจากการรักษาการแล้ว จะมีบทกฎหมายใดทำให้พวกเขาทั้งหมดพ้นไปจากการรักษาการ
ข้อเท็จจริงหรืออย่างน้อยความทรงจำที่เสมือนจะเป็นข้อเท็จจริงที่สนับสนุนมุมมองนี้คือเหตุการณ์เมื่อปี 2549 หลังยุบสภาผู้แทนราษฎร แล้วพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรที่เป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการหยุดปฏิบัติหน้าที่ไปพักหนึ่ง พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรีรักษาการในขณะนั้นก็ขึ้นมารักษาการแทน แต่กรณีนั้นแตกต่างกันกับที่จะพูดกันในวันนี้ เพราะครั้งนั้นไม่ได้หยุดปฏิบัติหน้าที่เพราะผลของกฎหมาย แต่ขอลาพักผ่อนเท่านั้น
ผมเองก็เคยเชื่อเคยคิดเช่นนี้ เคยพูดผ่านหน้าจอ ASTV ด้วยซ้ำ
แม้หลังจากจบรายการวันนั้นผู้อาวุโสที่เคารพนับถือกันมานานท่านกรุณาโทรศัพท์มาแสดงความเห็นแย้ง ผมก็ได้แต่แลกเปลี่ยนความเห็นโดยยกข้อกฎหมายชี้แจงท่าน และรับฟังความเห็นต่างของท่านไว้ ทว่าในใจยังไม่ถึงกับเห็นพ้องเต็มที่ ไม่ได้นำมาคิดต่ออย่างจริงจัง และก็ไม่เห็นใครถกเถียงประเด็นนี้กันมากนัก
จนกระทั่งวินาทีก่อนเขียนงานชิ้นนี้!
ผู้อาวุโสท่านบอกว่ารัฐธรรมนูญจะเขียนไว้อย่างไรก็ไปว่ากัน แต่หลักสำคัญที่สุดที่ท่านเชื่อมาตลอดคือประเทศเราปกครองในระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เลือกนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียว นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ไปเลือกรัฐมนตรีมาประกอบเป็นคณะรัฐมนตรีอีกทอดหนึ่ง ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีแต่นายกรัฐมนตรีเท่านั้นที่บังคับว่าต้องเป็น ส.ส. รัฐมนตรีคนอื่นที่นายกรัฐมนตรีไปเลือกมาไม่จำเป็นต้องเป็น ส.ส.ด้วยซ้ำ
เมื่อนายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีคนอื่นก็พ้นจากตำแหน่งตามไปด้วยแม้ไม่อยากพ้นก็เถอะ
แล้วเมื่อนายกรัฐมนตรีต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่โดยผลของกฎหมาย รัฐมนตรีคนอื่นจะอยู่ต่อได้อย่างไร
ถึงจะไม่มีรัฐธรรมนูญมาตราใดเขียนไว้ก็เถอะ แต่นี่คือหลักการทั่วไปของระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา เป็นหลักการทั่วไปในระดับสัจธรรมพื้นฐานที่ไม่จำเป็นต้องเขียนไว้
จริงของท่าน!
สภาผู้แทนฯ เลือกนายกรัฐมนตรีคนเดียว ไม่ได้เลือกรัฐมนตรี นี่เป็นไปตามหลักการของระบบรัฐสภาแบบอังกฤษที่เราเข้ามาใช้ เคยเรียนเคยสอนกันในวิชารัฐศาสตร์พื้นฐานว่าคณะรัฐมนตรีให้รับความรับผิดชอบร่วมกัน รัฐธรรมนูญ 2550 ฉบับนี้เขียนไว้ในมาตรา 171 เลยว่า
“พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งและรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกินสามสิบห้าคนประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามหลักความรับผิดชอบร่วมกัน”
สำคัญนะครับตรงคำว่า “...ตามหลักความรับผิดชอบร่วมกัน” ที่ผมขีดเส้นใต้ไว้น่ะ
ถ้าคณะรัฐมนตรียังปฏิบัติราชการอยู่เต็มรูปแบบ ไม่ใช่ช่วงรักษาการหลังยุบสภาเช่นทุกวันนี้ แล้วสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยื่นญัตติเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีคนเดียวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 158 แล้วสภาผู้แทนราษฎรมีมติตามวรรคห้าไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี อะไรจะเกิดขึ้น
ประการแรกก็คือความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามมาตรา 182 (4)
ประการต่อมารัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 180 (1)
น่าเสียดายเท่าที่จำความได้ ตั้งแต่มีรัฐธรรมนูญบทว่าด้วยการลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีเป็นต้นมา มีแต่การอภิปรายของฝ่ายค้านและการตอบโต้ของฝ่ายรัฐบาล แต่ไม่เคยมีการลงมติไม่ไว้วางใจสำเร็จ พวกเราก็เลยไม่คุ้นเคยกับหลักการนี้
แต่เราก็ยังคุ้นเคยกับการปรับคณะรัฐมนตรีที่เป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีคนเดียวโดยตรง
และพอคุ้นเคยกับการลาออกของนายกรัฐมนตรีที่มีผลให้รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นตำแหน่งไปด้วย
หลักการเดียวกันทั้งนั้น
แม่ตาย ลูกก็อยู่ไม่ได้ต้องตกตายไปตามกัน!
เรื่องการต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่เพราะเหตุ ป.ป.ช.ชี้มูลตามมาตรา 272 วรรคสามก็เหมือนกัน เรายังไม่เคยมีประสบการณ์โดยตรงเลย เพราะบทบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยองค์กรอิสระอย่าง ป.ป.ช.เพิ่งมีขึ้นในรัฐธรรมนูญ 2540 และกระบวนการทำงานของ ป.ป.ช.ค่อนข้างช้ากว่าการดำรงตำแหน่งของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เวลาชี้มูลก็มักจะพ้นตำแหน่งไปแล้ว
ประเด็นนายกรัฐมนตรีถูก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดขณะอยู่ในตำแหน่งจึงยังไม่เคยมีตัวอย่างมาก่อน
ก็เลยไม่มีธรรมเนียมปฏิบัติเป็นบรรทัดฐาน
มิพักต้องพูดถึงว่าขณะนี้คณะรัฐมนตรีทั้งชุดพ้นจากตำแหน่งไปหมดแล้วด้วยซ้ำตั้งแต่เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556 เมื่อมีการยุบสภา ทั้งนี้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 180 (2)
ไอ้ที่อยู่รักษาการกันทุกวันนี้ก็เพื่อรอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เท่านั้น ตามมาตรา 181 อำนาจมีจำกัด
ผมจึงเห็นว่าเมื่อนายกรัฐมนตรีต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่เพราะถูกชี้มูลความผิดโดย ป.ป.ช.ตามมาตรา 272 วรรคสามแล้ว แม้เมื่อเป็นนายกรัฐมนตรีในสถานการณ์ปกติที่ไม่ใช่รักษาการในช่วงยุบสภา ก็ยังมีปัญหาข้อกฎหมายเลยนะครับว่าจะให้รัฐมนตรีคนอื่นขึ้นมารักษาการแทนได้หรือไม่
ถึงรัฐธรรมนูญจะไม่ได้เขียนไว้ แต่การตีความกฎหมายเท่าที่ผมเล่าเรียนมาต้องตีความตามตัวอักษรและตามเจตนารมณ์ไปพร้อมๆ กัน ซี่งเมื่อพิจารณาตามหลักพื้นฐานของระบบรัฐสภา รัฐธรรมนูญมาตรา 171 ว่าด้วยหลักความรับผิดชอบร่วมกัน มาตรา 182 ว่าด้วยการพ้นตำแหน่งเฉพาะตัวของรัฐมนตรี มาตรา 180 (1) ว่าด้วยการพ้นตำแหน่งทั้งคณะของรัฐมนตรี มาประกอบกันแล้ว หากนายกรัฐมนตรีในสถานการณ์ปกติถูก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดก็ยังไม่น่าจะให้รัฐมนตรีคนอื่นขึ้นมารักษาการแทนได้ด้วยซ้ำ
สถานการณ์หลังยุบสภาในขณะนี้ยิ่งไปกันใหญ่
เพราะรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นตำแหน่งไปแล้วเมื่อ 9 ธันวาคม 2556 ตามมาตรา 180 (2)
จะให้รัฐมนตรีที่พ้นตำแหน่งไปแล้วมารักษาการแทนนายกรัฐมนตรีรักษาการที่ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่เพราะผลของกฎหมายได้อย่างไรกัน
สุญญากาศจึงมีโอกาสเกิดขึ้นแน่
และบทใหม่ของหนทางแก้ปัญหาจึงมีโอกาสเกิดขึ้นแน่
สุญญากาศทางอำนาจจะเกิดขึ้น?
จะมีโอกาสตั้งนายกรัฐมนตรีรักษาการที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดจากทุกฝ่าย??
ฝ่ายรัฐบาลดูเหมือนจะไม่ค่อยเป็นห่วงเท่าไร เพราะเชื่อว่าต่อให้แม่นางนายกรัฐมนตรีหุ่นเชิดของพวกเขาต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีรักษาการเพราะเหตุถูก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดตามรัฐธรรมนูญมาตรา 272 วรรคสาม ก็ยังมีรองนายกรัฐมนตรีรักษาการและรัฐมนตรีรักษาการอีกหลายคนที่จะขึ้นมารักษาการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน และก็ดูเหมือนจะวางแผนไว้แล้วว่าจะเป็นนายพงษ์เทพ เทพกาญจนาที่จะเป็นตัวเต็งขึ้นมารับไม้ต่อรักษาการแทน
ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลเองก็ดูเหมือนจะเห็นพ้องด้วยพอสมควร แม้จะไม่ได้พูดออกมาตรงๆ แต่ที่เห็นวิเคราะห์สถานการณ์กันส่วนใหญ่ก็จะออกไปในทำนองว่าการชี้มูลความผิดแม่นางนายกรัฐมนตรีของ ป.ป.ช.ตามมาตรา 272 วรรคสามนี้ยังไม่ใช่หมัดน็อก คณะรัฐมนตรียังไม่พ้นตำแหน่งทั้งคณะ
ลึกๆ แล้วฝ่ายต่อต้านรัฐบาลเองก็ยังมองไม่เห็นว่านอกจากให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะพร้อมใจกันลาออกจากการรักษาการแล้ว จะมีบทกฎหมายใดทำให้พวกเขาทั้งหมดพ้นไปจากการรักษาการ
ข้อเท็จจริงหรืออย่างน้อยความทรงจำที่เสมือนจะเป็นข้อเท็จจริงที่สนับสนุนมุมมองนี้คือเหตุการณ์เมื่อปี 2549 หลังยุบสภาผู้แทนราษฎร แล้วพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรที่เป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการหยุดปฏิบัติหน้าที่ไปพักหนึ่ง พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรีรักษาการในขณะนั้นก็ขึ้นมารักษาการแทน แต่กรณีนั้นแตกต่างกันกับที่จะพูดกันในวันนี้ เพราะครั้งนั้นไม่ได้หยุดปฏิบัติหน้าที่เพราะผลของกฎหมาย แต่ขอลาพักผ่อนเท่านั้น
ผมเองก็เคยเชื่อเคยคิดเช่นนี้ เคยพูดผ่านหน้าจอ ASTV ด้วยซ้ำ
แม้หลังจากจบรายการวันนั้นผู้อาวุโสที่เคารพนับถือกันมานานท่านกรุณาโทรศัพท์มาแสดงความเห็นแย้ง ผมก็ได้แต่แลกเปลี่ยนความเห็นโดยยกข้อกฎหมายชี้แจงท่าน และรับฟังความเห็นต่างของท่านไว้ ทว่าในใจยังไม่ถึงกับเห็นพ้องเต็มที่ ไม่ได้นำมาคิดต่ออย่างจริงจัง และก็ไม่เห็นใครถกเถียงประเด็นนี้กันมากนัก
จนกระทั่งวินาทีก่อนเขียนงานชิ้นนี้!
ผู้อาวุโสท่านบอกว่ารัฐธรรมนูญจะเขียนไว้อย่างไรก็ไปว่ากัน แต่หลักสำคัญที่สุดที่ท่านเชื่อมาตลอดคือประเทศเราปกครองในระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เลือกนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียว นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ไปเลือกรัฐมนตรีมาประกอบเป็นคณะรัฐมนตรีอีกทอดหนึ่ง ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีแต่นายกรัฐมนตรีเท่านั้นที่บังคับว่าต้องเป็น ส.ส. รัฐมนตรีคนอื่นที่นายกรัฐมนตรีไปเลือกมาไม่จำเป็นต้องเป็น ส.ส.ด้วยซ้ำ
เมื่อนายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีคนอื่นก็พ้นจากตำแหน่งตามไปด้วยแม้ไม่อยากพ้นก็เถอะ
แล้วเมื่อนายกรัฐมนตรีต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่โดยผลของกฎหมาย รัฐมนตรีคนอื่นจะอยู่ต่อได้อย่างไร
ถึงจะไม่มีรัฐธรรมนูญมาตราใดเขียนไว้ก็เถอะ แต่นี่คือหลักการทั่วไปของระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา เป็นหลักการทั่วไปในระดับสัจธรรมพื้นฐานที่ไม่จำเป็นต้องเขียนไว้
จริงของท่าน!
สภาผู้แทนฯ เลือกนายกรัฐมนตรีคนเดียว ไม่ได้เลือกรัฐมนตรี นี่เป็นไปตามหลักการของระบบรัฐสภาแบบอังกฤษที่เราเข้ามาใช้ เคยเรียนเคยสอนกันในวิชารัฐศาสตร์พื้นฐานว่าคณะรัฐมนตรีให้รับความรับผิดชอบร่วมกัน รัฐธรรมนูญ 2550 ฉบับนี้เขียนไว้ในมาตรา 171 เลยว่า
“พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งและรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกินสามสิบห้าคนประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามหลักความรับผิดชอบร่วมกัน”
สำคัญนะครับตรงคำว่า “...ตามหลักความรับผิดชอบร่วมกัน” ที่ผมขีดเส้นใต้ไว้น่ะ
ถ้าคณะรัฐมนตรียังปฏิบัติราชการอยู่เต็มรูปแบบ ไม่ใช่ช่วงรักษาการหลังยุบสภาเช่นทุกวันนี้ แล้วสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยื่นญัตติเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีคนเดียวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 158 แล้วสภาผู้แทนราษฎรมีมติตามวรรคห้าไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี อะไรจะเกิดขึ้น
ประการแรกก็คือความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามมาตรา 182 (4)
ประการต่อมารัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 180 (1)
น่าเสียดายเท่าที่จำความได้ ตั้งแต่มีรัฐธรรมนูญบทว่าด้วยการลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีเป็นต้นมา มีแต่การอภิปรายของฝ่ายค้านและการตอบโต้ของฝ่ายรัฐบาล แต่ไม่เคยมีการลงมติไม่ไว้วางใจสำเร็จ พวกเราก็เลยไม่คุ้นเคยกับหลักการนี้
แต่เราก็ยังคุ้นเคยกับการปรับคณะรัฐมนตรีที่เป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีคนเดียวโดยตรง
และพอคุ้นเคยกับการลาออกของนายกรัฐมนตรีที่มีผลให้รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นตำแหน่งไปด้วย
หลักการเดียวกันทั้งนั้น
แม่ตาย ลูกก็อยู่ไม่ได้ต้องตกตายไปตามกัน!
เรื่องการต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่เพราะเหตุ ป.ป.ช.ชี้มูลตามมาตรา 272 วรรคสามก็เหมือนกัน เรายังไม่เคยมีประสบการณ์โดยตรงเลย เพราะบทบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยองค์กรอิสระอย่าง ป.ป.ช.เพิ่งมีขึ้นในรัฐธรรมนูญ 2540 และกระบวนการทำงานของ ป.ป.ช.ค่อนข้างช้ากว่าการดำรงตำแหน่งของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เวลาชี้มูลก็มักจะพ้นตำแหน่งไปแล้ว
ประเด็นนายกรัฐมนตรีถูก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดขณะอยู่ในตำแหน่งจึงยังไม่เคยมีตัวอย่างมาก่อน
ก็เลยไม่มีธรรมเนียมปฏิบัติเป็นบรรทัดฐาน
มิพักต้องพูดถึงว่าขณะนี้คณะรัฐมนตรีทั้งชุดพ้นจากตำแหน่งไปหมดแล้วด้วยซ้ำตั้งแต่เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556 เมื่อมีการยุบสภา ทั้งนี้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 180 (2)
ไอ้ที่อยู่รักษาการกันทุกวันนี้ก็เพื่อรอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เท่านั้น ตามมาตรา 181 อำนาจมีจำกัด
ผมจึงเห็นว่าเมื่อนายกรัฐมนตรีต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่เพราะถูกชี้มูลความผิดโดย ป.ป.ช.ตามมาตรา 272 วรรคสามแล้ว แม้เมื่อเป็นนายกรัฐมนตรีในสถานการณ์ปกติที่ไม่ใช่รักษาการในช่วงยุบสภา ก็ยังมีปัญหาข้อกฎหมายเลยนะครับว่าจะให้รัฐมนตรีคนอื่นขึ้นมารักษาการแทนได้หรือไม่
ถึงรัฐธรรมนูญจะไม่ได้เขียนไว้ แต่การตีความกฎหมายเท่าที่ผมเล่าเรียนมาต้องตีความตามตัวอักษรและตามเจตนารมณ์ไปพร้อมๆ กัน ซี่งเมื่อพิจารณาตามหลักพื้นฐานของระบบรัฐสภา รัฐธรรมนูญมาตรา 171 ว่าด้วยหลักความรับผิดชอบร่วมกัน มาตรา 182 ว่าด้วยการพ้นตำแหน่งเฉพาะตัวของรัฐมนตรี มาตรา 180 (1) ว่าด้วยการพ้นตำแหน่งทั้งคณะของรัฐมนตรี มาประกอบกันแล้ว หากนายกรัฐมนตรีในสถานการณ์ปกติถูก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดก็ยังไม่น่าจะให้รัฐมนตรีคนอื่นขึ้นมารักษาการแทนได้ด้วยซ้ำ
สถานการณ์หลังยุบสภาในขณะนี้ยิ่งไปกันใหญ่
เพราะรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นตำแหน่งไปแล้วเมื่อ 9 ธันวาคม 2556 ตามมาตรา 180 (2)
จะให้รัฐมนตรีที่พ้นตำแหน่งไปแล้วมารักษาการแทนนายกรัฐมนตรีรักษาการที่ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่เพราะผลของกฎหมายได้อย่างไรกัน
สุญญากาศจึงมีโอกาสเกิดขึ้นแน่
และบทใหม่ของหนทางแก้ปัญหาจึงมีโอกาสเกิดขึ้นแน่