ASTVผู้จัดการรายวัน – ปี57อุตสาหกรรมโฆษณาหืดขึ้นคอ ไตรมาสหนึ่งติดลบ2-3% ทั้งปีคาดโตแค่ 3% จากปัญหาการเมือง บวกพฤติกรรมมัลติสกรีนมีมากขึ้น บททดสอบใหม่สำหรับนักการตลาด ชี้วัยทำงานเป็นกลุ่มหลักใช้มัลติสกรีนสูงสุด 5.1 เครื่องต่อคน กระทบต่อการเสพสื่อหลักให้ลดลง โฆษณาต้องคว้าวิกฤติเป็นโอกาส เผย 24 ช่องดิจิตอลทีวี เป็นอีกปัจจัยที่เสริมให้พฤติกรรมคนดูจับต้องได้ยาก
นางวรรณี รัตนพล ประธานบริหารกลุ่ม ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส และนายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่ และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณาในช่วงไตรมาสหนึ่งปีนี้น่าจะติดลบ 2-3% จากปัญหาทางการเมืองที่ทำให้ในเดือนมกราคมโฆษณาติดลบ มากุมภาพันธ์เริ่มดีขึ้น และในเดือนมีนาคมน่าจะดีขึ้นไปอีก และน่าจะกลับมาปกติในเดือนเมษายนนี้ เนื่องจากเป็นช่วงการขาย และลูกค้าอั้นใช้เงินมานาน รวมถึงมองว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะเริ่มกลับมาปกติ จึงมั่นใจว่าจะมีเม็ดเงินโฆษณาหลังเดือนเม.ยค่อนข้างสูง ส่งให้ทั้งปีน่าจะเติบโตได้ราว 3% จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ว่าจะโต5%
ส่วนสำคัญมาจากค่าจีดีพีของประเทศที่ปรับลดลงจาก 5% เป็น 3% ซึ่งอุตสาหกรรมโฆษณาปกติจะเติบโตเท่าจีดีพี อย่างไรก็ตามทิศทางการวางแผนสื่อโฆษณาในปีนี้ ถือว่าต้องมีการปรับตัวสูงมาก จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป โดยทาง “ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส” ได้จัดสัมมนาขึ้นในหัวข้อ Boundless Platforms” เพื่อให้นักการตลาดได้ทราบถึงพฤติกรรมการเสพสื่อของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ตามเทคโนโลยีของระบบสื่อสาร และแพลทฟอร์มประเภทต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้สามารภกำหนดทิศทาง และวิธีการสื่อสารการตลาดของผู้ผลิตสื่อ เอเจนซี่ และเจ้าของผลิตภัณฑ์ ได้เข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นางสาวกนกกาญจน์ ประจงแสงศรี ผู้อำนวยการสมทบ Strategy&Innovation ในเครือไอพีจี มีเดียแบรนด์ส กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้เป็นการสำรวจทางออนไลน์ จำนวน 500 ราย พบว่าปัจจุบันผู้บริโภคคนไทยมีจำนวนผู้ใช้ออนไลน์กว่า 35% ในทุกแพลทฟอร์มจากจำนวนประชากรทั้งหมด และปัจจุบันเฉลี่ยคนไทยครอบครองอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์มัลติสกรีนอย่างน้อย 5.1 เครื่องต่อคน ขณะที่ระดับโกลบอลอยู่ที่ 5.6 เครื่องต่อคน โดยกลุ่มวัยรุ่นอายุ 12-24 ปี อยู่ที่ 4.8 เครื่องต่อคน และวัยทำงานอายุ 25-44 ปี อยู่ที่ 5.5 เครื่อง ถือเป็นกลุ่มที่ใช้มัลติสกรีนมากที่สุด โดยมัลติสกรีนเหล่านี้ ประกอบด้วย โทรทัศน์, มือถือ, แท็ปเลท, คอมพิวเตอร์ และโน็ตบุค เป็นต้น
ขณะที่มีความถี่ในการเข้าใช้งานแตกต่างกันไป ซึ่งโทรทัศน์อยู่ที่ 3.7 ชั่วโมงต่อวัน เท่ากับการใช้งานบนมือถือ ขณะที่การดูคอนเท้นท์บนจอโทรทัศน์นั้นยังอยู่ที่ 94% แต่ในขณะเดียวกันกว่า 70% ทำอย่างอื่นไปพร้อมกัน หรือใช้ควบคู่กับมัลติสกรีนตัวอื่นๆ และมีเพียง 24% ที่สนใจคอนเท้นท์บนจอโทรทัศน์เป็นหลัก ส่วนคอนเท้นท์บนจอโทรทัศน์อย่างละครพบว่า 54% ยังดูสด และดูผ่านออนไลน์ในสกรีนอื่นๆ 40% ส่วนคอนเท้นท์ข่าวจะนิยมดูสด คอนเท้นท์ซิทคอมจะดูย้อนหลังมากกว่าดูสด
พฤติกรรมที่เกิดขึ้นนี้ นักการตลาดจะต้องมีข้อมูล เพื่อนำมาคำนวนมัลติสกรีน แพลนดิ้ง สู่การเลือกใช้สื่อโฆษณาให้เข้าถึงผู้บริโภคให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะปัจจุบันจะเห็นได้ว่าผู้บริโภคเข้าใจในการทำงานของแต่ละสกรีนมากขึ้น โอกาสในการรับชมคอมเท้นท์บนจอโทรทัศน์จึงน้อยลง ไปสู่สกรีนอื่นๆแทน
ดังนั้นรูปแบบการทำโฆษณาจะต้องเปลี่ยนแปลงไป โดยจะต้องให้ความสำคัญและเลือกใช้สกรีนอื่นๆเข้ามาเสริม รวมถึงการสร้างแบรนด์ภายใต้คอนเท้นท์ที่สร้างขึ้นมาเอง เพราะถ้าแบรนด์สินค้าไม่เริ่มทำ วิกฤติทางการตลาดครั้งนี้จะกลายโอกาสทางการตลาดของคอนเท้นท์โพรไวเดอร์ราย ใหม่ๆ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีศักยภาพอยู่บนโลกออนไลน์อยู่แล้ว เช่น อะเมซอน และยาฮู ที่ต่างสร้างคอนเท้นท์ขึ้นมาเป็นของตัวเอง รวมถึงคอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกโปรดักส์อย่าง โทรทัศน์แบรนด์ต่างๆที่มาพร้อมเทคโนโลยีภาพคมชัดใหม่ๆ เช่น 4k จะต้องมีคอนเท้นท์เข้ามาเสริม โดยการจับมือกับพันธมิตร และในอนาคตอาจจะสร้างคอนเท้นท์ของตัวเองด้วย ถือเป็นคู่แข่งที่สำคัญที่อาจจะดึงความสนใจของผู้บริโภคออกไปมากขึ้น
นางสาวกนกกาญจน์ กล่าวสรุปว่า อนาคตมัลติสกรีนจะมีมากขึ้น พฤติกรรมผู้บริโภคจะเคยชินในการใช้มัลติสกรีนหลายอย่างไปพร้อมๆกัน ดังนั้นนักการตลาดจะต้องเลือกและสร้างคอนเท้นท์ให้เหมาะสมกับดีไวท์ต่างๆ ภายใต้ข้อมูลที่ถูกต้อง เนื่องจากดีไวท์ต่างๆเหล่านี้ ถือเป็นเครื่องมือที่วัดผลได้ยาก ต้องเจาะลึกและเลือกใช้ให้ถูกต้อง บวกกับในปีนี้ประเทศไทยจะมีดิจิตอลทีวีเข้ามาเพิ่มอีก 24 ช่อง ถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่อาจจะทำให้รายการส่วนใหญ่มีเรตติ้งไม่ถึง10 และต่ำกว่า1 เกินครึ่ง
เนื่องจากคอนเท้นท์มีความหลากหลาย ส่งผลให้เรื่องของเรตติ้งอาจจะหายไป นักการตลาดจะต้องทำงานหนักมากขึ้นในการเลือกใช้สื่อโทรทัศน์ จะต้องเจาะไปที่รายการมากยิ่งขึ้น รวมถึงสื่อออนไลน์ที่มีแนวโน้มสูงว่าผู้บริโภคจะหันมาดูผ่านช่องทางนี้มาก ขึ้น เนื่องจากดูไม่ทัน ดูย้อนหลัง และที่สำคัญไพร์มไทม์จะหายไป ผู้ชมคือผู้กำหนดการรับชม โดยมัลติสกรีนจะปัจจัยสำคัญของการรับชมคอนเท้นท์หลังจากนี้
นางวรรณี รัตนพล ประธานบริหารกลุ่ม ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส และนายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่ และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณาในช่วงไตรมาสหนึ่งปีนี้น่าจะติดลบ 2-3% จากปัญหาทางการเมืองที่ทำให้ในเดือนมกราคมโฆษณาติดลบ มากุมภาพันธ์เริ่มดีขึ้น และในเดือนมีนาคมน่าจะดีขึ้นไปอีก และน่าจะกลับมาปกติในเดือนเมษายนนี้ เนื่องจากเป็นช่วงการขาย และลูกค้าอั้นใช้เงินมานาน รวมถึงมองว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะเริ่มกลับมาปกติ จึงมั่นใจว่าจะมีเม็ดเงินโฆษณาหลังเดือนเม.ยค่อนข้างสูง ส่งให้ทั้งปีน่าจะเติบโตได้ราว 3% จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ว่าจะโต5%
ส่วนสำคัญมาจากค่าจีดีพีของประเทศที่ปรับลดลงจาก 5% เป็น 3% ซึ่งอุตสาหกรรมโฆษณาปกติจะเติบโตเท่าจีดีพี อย่างไรก็ตามทิศทางการวางแผนสื่อโฆษณาในปีนี้ ถือว่าต้องมีการปรับตัวสูงมาก จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป โดยทาง “ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส” ได้จัดสัมมนาขึ้นในหัวข้อ Boundless Platforms” เพื่อให้นักการตลาดได้ทราบถึงพฤติกรรมการเสพสื่อของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ตามเทคโนโลยีของระบบสื่อสาร และแพลทฟอร์มประเภทต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้สามารภกำหนดทิศทาง และวิธีการสื่อสารการตลาดของผู้ผลิตสื่อ เอเจนซี่ และเจ้าของผลิตภัณฑ์ ได้เข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นางสาวกนกกาญจน์ ประจงแสงศรี ผู้อำนวยการสมทบ Strategy&Innovation ในเครือไอพีจี มีเดียแบรนด์ส กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้เป็นการสำรวจทางออนไลน์ จำนวน 500 ราย พบว่าปัจจุบันผู้บริโภคคนไทยมีจำนวนผู้ใช้ออนไลน์กว่า 35% ในทุกแพลทฟอร์มจากจำนวนประชากรทั้งหมด และปัจจุบันเฉลี่ยคนไทยครอบครองอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์มัลติสกรีนอย่างน้อย 5.1 เครื่องต่อคน ขณะที่ระดับโกลบอลอยู่ที่ 5.6 เครื่องต่อคน โดยกลุ่มวัยรุ่นอายุ 12-24 ปี อยู่ที่ 4.8 เครื่องต่อคน และวัยทำงานอายุ 25-44 ปี อยู่ที่ 5.5 เครื่อง ถือเป็นกลุ่มที่ใช้มัลติสกรีนมากที่สุด โดยมัลติสกรีนเหล่านี้ ประกอบด้วย โทรทัศน์, มือถือ, แท็ปเลท, คอมพิวเตอร์ และโน็ตบุค เป็นต้น
ขณะที่มีความถี่ในการเข้าใช้งานแตกต่างกันไป ซึ่งโทรทัศน์อยู่ที่ 3.7 ชั่วโมงต่อวัน เท่ากับการใช้งานบนมือถือ ขณะที่การดูคอนเท้นท์บนจอโทรทัศน์นั้นยังอยู่ที่ 94% แต่ในขณะเดียวกันกว่า 70% ทำอย่างอื่นไปพร้อมกัน หรือใช้ควบคู่กับมัลติสกรีนตัวอื่นๆ และมีเพียง 24% ที่สนใจคอนเท้นท์บนจอโทรทัศน์เป็นหลัก ส่วนคอนเท้นท์บนจอโทรทัศน์อย่างละครพบว่า 54% ยังดูสด และดูผ่านออนไลน์ในสกรีนอื่นๆ 40% ส่วนคอนเท้นท์ข่าวจะนิยมดูสด คอนเท้นท์ซิทคอมจะดูย้อนหลังมากกว่าดูสด
พฤติกรรมที่เกิดขึ้นนี้ นักการตลาดจะต้องมีข้อมูล เพื่อนำมาคำนวนมัลติสกรีน แพลนดิ้ง สู่การเลือกใช้สื่อโฆษณาให้เข้าถึงผู้บริโภคให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะปัจจุบันจะเห็นได้ว่าผู้บริโภคเข้าใจในการทำงานของแต่ละสกรีนมากขึ้น โอกาสในการรับชมคอมเท้นท์บนจอโทรทัศน์จึงน้อยลง ไปสู่สกรีนอื่นๆแทน
ดังนั้นรูปแบบการทำโฆษณาจะต้องเปลี่ยนแปลงไป โดยจะต้องให้ความสำคัญและเลือกใช้สกรีนอื่นๆเข้ามาเสริม รวมถึงการสร้างแบรนด์ภายใต้คอนเท้นท์ที่สร้างขึ้นมาเอง เพราะถ้าแบรนด์สินค้าไม่เริ่มทำ วิกฤติทางการตลาดครั้งนี้จะกลายโอกาสทางการตลาดของคอนเท้นท์โพรไวเดอร์ราย ใหม่ๆ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีศักยภาพอยู่บนโลกออนไลน์อยู่แล้ว เช่น อะเมซอน และยาฮู ที่ต่างสร้างคอนเท้นท์ขึ้นมาเป็นของตัวเอง รวมถึงคอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกโปรดักส์อย่าง โทรทัศน์แบรนด์ต่างๆที่มาพร้อมเทคโนโลยีภาพคมชัดใหม่ๆ เช่น 4k จะต้องมีคอนเท้นท์เข้ามาเสริม โดยการจับมือกับพันธมิตร และในอนาคตอาจจะสร้างคอนเท้นท์ของตัวเองด้วย ถือเป็นคู่แข่งที่สำคัญที่อาจจะดึงความสนใจของผู้บริโภคออกไปมากขึ้น
นางสาวกนกกาญจน์ กล่าวสรุปว่า อนาคตมัลติสกรีนจะมีมากขึ้น พฤติกรรมผู้บริโภคจะเคยชินในการใช้มัลติสกรีนหลายอย่างไปพร้อมๆกัน ดังนั้นนักการตลาดจะต้องเลือกและสร้างคอนเท้นท์ให้เหมาะสมกับดีไวท์ต่างๆ ภายใต้ข้อมูลที่ถูกต้อง เนื่องจากดีไวท์ต่างๆเหล่านี้ ถือเป็นเครื่องมือที่วัดผลได้ยาก ต้องเจาะลึกและเลือกใช้ให้ถูกต้อง บวกกับในปีนี้ประเทศไทยจะมีดิจิตอลทีวีเข้ามาเพิ่มอีก 24 ช่อง ถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่อาจจะทำให้รายการส่วนใหญ่มีเรตติ้งไม่ถึง10 และต่ำกว่า1 เกินครึ่ง
เนื่องจากคอนเท้นท์มีความหลากหลาย ส่งผลให้เรื่องของเรตติ้งอาจจะหายไป นักการตลาดจะต้องทำงานหนักมากขึ้นในการเลือกใช้สื่อโทรทัศน์ จะต้องเจาะไปที่รายการมากยิ่งขึ้น รวมถึงสื่อออนไลน์ที่มีแนวโน้มสูงว่าผู้บริโภคจะหันมาดูผ่านช่องทางนี้มาก ขึ้น เนื่องจากดูไม่ทัน ดูย้อนหลัง และที่สำคัญไพร์มไทม์จะหายไป ผู้ชมคือผู้กำหนดการรับชม โดยมัลติสกรีนจะปัจจัยสำคัญของการรับชมคอนเท้นท์หลังจากนี้