โลกโฆษณาถึงยุคก้าวผ่านสู่พรมแดนใหม่ ในวันที่ผู้บริโภคมีลักษณะเฉพาะตัวมากขึ้น นักโฆษณาและการตลาดต้องก้าวนำ หลังหลงไปกับกระแสเทคโนโลยี ตอกย้ำการคืนสู่สามัญ ชิ้นงานโฆษณาต้องโดนใจ อิมเมจแบรนด์ดี ขายได้ และเติบโตอย่างยั่งยืน
นายวีรชน วีรวรวิทย์ ประธานคณะกรรมการตัดสิน Adman Awards & Symposium 2014 เปิดเผยว่า ทิศทางวงการโฆษณาในประเทศไทย หลังจากนี้ควรจะต้องมีการปรับตัวอย่างมาก หลังจากที่พบว่ามี 4 ปัจจัยหลักที่เปลี่ยนแปลงไป คือ 1. ตลาดใหม่ โดยเฉพาะการที่ไทยจะก้าวสู่เออีซีในปี 2558 นั้น หลังจากนี้ธุรกิจจะไม่ได้อยู่แค่ในประเทศไทยเท่านั้น ระบบและขนาดของเศรษฐกิจจะใหญ่ขึ้น คู่แข่งที่จะเข้ามาในไทยมีเพิ่มขึ้น นักการตลาดและนักโฆษณาจะต้องปรับตัวให้ทัน 2. ผู้บริโภคมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ต้องทำความเข้าใจให้ทัน โดยเฉพาะกลุ่มเจน Z ที่เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับเทคโนโลยีมากที่สุด
3. สื่อใหม่ๆ จากเดิมที่จะเน้นโฆษณาในสื่อหลัก ปัจจุบันมีนิวมีเดียเข้ามาให้เลือกใช้มากขึ้น พฤติกรรมความนิยมใช้แอปพลิเคชันบนมือถือมีเพิ่มขึ้น ช่องทางการสื่อสารใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ทีวีดิจิตอลมีการเปลี่ยนแปลง ล้วนแต่เป็นโจทย์ใหม่ของการใช้สื่อโฆษณาหลังจากนี้ และ 4. เทคโนโลยี หลังจากนี้จะเห็นการสื่อสารใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดวิธีการสื่อสารรูปแบบใหม่ ล้วนแต่เป็นพรมแดนใหม่ของการสื่อสารทั้งสิ้น ดังนั้นนักการตลาดและนักโฆษณาจะต้องปรับตัวให้ทันและเลือกใช้สื่อโฆษณาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้าน นายศิวัตร เชาวริยวงษ์ นายกสมาคมโฆษณาดิจิตอล (ประเทศไทย) กล่าวว่า นักโฆษณาและเอเยนซีต้องปรับตัวรับสิ่งใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นให้ทัน เพราะปัจจุบันเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงเร็วมากและส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อให้เปลี่ยนแปลงไป เจ้าของสินค้าและเอเยนซีจะต้องทำงานหนักขึ้นและปรับวิธีการทำงานเพื่อรับการเปลี่ยนแปลง โดย 1. จะต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน เปลี่ยนวิธีคิด มีการเปิดกว้างและแบ่งปันข้อมูลข่าวสารต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการคิดงานโฆษณาให้ตรงจุด 2. สื่อต่างๆ จะมีสเกลและบทบาทมากขึ้น มองให้เห็นถึงผลกระทบและประโยชน์ที่จะตามมา เช่น การแชร์บนโลกโซเชียลจะส่งผลให้ยอดขายสินค้าเติบโตได้รวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องสำอางที่เลือกใช้วิธีดังกล่าวในปัจจุบัน หรือการเลือกใช้แอปพลิเคชันบนมือถือที่ใช้งานง่ายจะช่วยให้ประสบความสำเร้จได้เร็วขึ้น เป็นต้น
สอดคล้องกับความคิดเห็นของ นางวรรณี รัตนพล นายกสมาคมมีเดีย เอเยนซีและธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย และประธานบริหาร บริษัท ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส จำกัด ที่กล่าวว่า ปัจจุบันพฤติกรรมผู้บริโภคใช้งานดีไวซ์ไปพร้อมๆ กันหลายๆ จอและยังสามารถดูย้อนหลังได้ จะต้องหาวิธีการวัดเรตติ้งให้มีประสิทธิภาพตาม ขณะที่ทีวีดิจิตอลแม้จะมีเพิ่มอีก 24 ช่องซึ่งเป็นผลดีต่อลูกค้าที่จะซื้อสื่อโฆษณา แต่ผู้บริโภคเองยังสับสนว่าช่องรายการที่สนใจอยู่ตรงไหน มีอะไรดูบ้าง วิธีการดูจะเป็นอย่างไร ดังนั้นนักการตลาดและนักโฆษณาจึงต้องทำรีเสิร์ชเช็กข้อมูลช่วยลูกค้า รวมทั้งรู้จักประเมินสถานการณ์ในอนาคตให้ลูกค้าด้วยเช่นกัน
*** เจ้าของสินค้าหวังโฆษณาช่วยสร้างแบรนด์ระยะยาว ***
ทั้งนี้ ในส่วนของเจ้าของแบรนด์สินค้าอย่าง “บุญรอดฯ” โดยนายรติ พันธุ์ทวี ผู้อำนวยการบริหาร ประจำสำนักงานกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด กล่าวว่า ในมุมของเจ้าของสินค้า มองว่าการเปลี่ยนแปลงของสื่อและการนำเสนอช่องทางใหม่ๆ เกิดขึ้น ในมุมของนักการตลาดและนักโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และมีเดียจะต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงให้ทัน สื่อสารให้ตรงจุดและมีประสิทธิภาพ
ขณะที่เจ้าของสินค้ามองว่า ปัจจุบันผู้บริโภคมีกำลังซื้อตกลง ไม่มีอารมณ์ในการใช้จ่าย การแข่งขันด้านราคารุนแรง การทำตลาด หรือโฆษณาประชาสัมพันธ์จะต้องช่วยด้านแบรนด์ในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเข้าสู่เออีซีด้วยแล้วอาจจะมีคู่แข่งรายใหม่เข้ามาซึ่งมีต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่า สงครามราคาก็จะกลับมารุนแรงกว่าเดิม การดึงความมั่นใจจากผู้บริโภคจะทำยากขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นโจทย์ที่นักโฆษณาและการตลาดจะต้องคิดให้ทัน
*** คืนสู่สามัญ โฆษณาต้องสร้างแบรนด์ ***
นางสาวอ่อนอุษา ลำเลียงพล นายกสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า พรมแดนใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น เทคโนโลยีพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป นักการตลาดและนักโฆษณาต้องมีชาเลนต์ที่ดีจะต้องข้ามผ่านให้ได้ โดยมองว่า
1. เอเยนซีต้องปรับโครงสร้างองค์กร บุคลากร และเปิดรับไอเดียใหม่ๆ ให้สอดคล้องและมองนอกกรอบให้ทุกส่วนต้องผสมผสานกัน 2. ในมุมของลูกค้าจะต้องชัดเจนในโจทย์ที่จะโฆษณาและพัฒนาตัวเองตลอดเวลาให้เข้ากับเทคโนโลยี และเครื่องมือต่างๆ ขณะที่การผลิตโฆษณาใหม่ๆ ออกมายังคงหน้าที่ของโฆษณาว่าจะต้องโปรโมตแบรนด์ให้มีภาพลักษณ์ที่ดีแก่ตัวสินค้าด้วย และช่วยด้านยอดขาย รวมถึงการเติบโตที่ยั่งยืน
“ปัจจุบันทิศทางโฆษณาทั่วโลกกำลังหลงทางเหมือนกันหมด รวมถึงของไทยด้วย ถึงแม้ว่าชิ้นงานโฆษณานั้นจะโดนใจ สร้างกระแสได้จริง ซึ่งการวิ่งไล่ตามเทคโนโลยีเป็นเรื่องที่ดี การครีเอตงานโฆษณาออกมาได้อย่างน่าสนใจ ไอเดียสดใหม่เป็นเรื่องที่ดี แต่สุดท้ายแล้วควรที่จะยึดในหลักการโฆษณาด้วย โดยชิ้นงานโฆษณานั้นจะต้องสร้างอิมเมจให้กับแบรนด์ มีผลต่อยอดขาย และการเติบโตอย่างยั่งยืน”
*** สื่อออนไลน์ พระเอกครึ่งปีหลัง โตร่วม 40% ***
อย่างไรก็ตาม นายกสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทยกล่าวด้วยว่า ภาพรวมโฆษณาในครึ่งปีแรกติดลบถึง 9.37% ส่วนครึ่งปีหลังมีแนวโน้มดีขึ้น นักลงทุนมีความมั่นใจ เห็นการแก้ปัญหาของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ความมั่นใจของผู้บริโภคคืนกลับมา แต่โดยรวมแล้วทั้งปีโฆษณาอาจจะมีมูลค่าได้แค่ทรงตัวเท่าปีก่อนเท่านั้น โดยในส่วนของรูปแบบการใช้สื่อโฆษณานั้นพบว่ามีทิศทางไปใช้สื่ออนไลน์มากขึ้น
สอดคล้องกับที่ นายศิวัตร เชาวริยวงษ์ นายกสมาคมโฆษณาดิจิตอล (ประเทศไทย) ที่กล่าวว่า ปีนี้สื่อออนไลน์น่าจะโตได้อย่างน้อย 40% หรือมีมูลค่ารวมกว่า 5,800 ล้านบาท โดยกลุ่มสินค้าคอนซูเมอร์โปรดักต์หันมาใช้สื่อนี้มากขึ้น หลังจากเกิดความไม่แน่ใจในการโฆษณาทางสื่อฟรีทีวีที่มีปัญหาเรื่องทีวีดิจิตอลอยู่ในขณะนี้
ส่วนรูปแบบสื่อออนไลน์ที่พบว่าเติบโตมากสุด 3 อันดับแรกคือ 1. เสิร์จเอนจิน 2. วิดีโอ และ 3. แบรนด์เนอร์ รวมถึงแอปพลิเคชันบนมือถืออย่าง “ไลน์” ที่มีแบรนด์สินค้าเลือกทำสติกเกอร์เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว
นายวีรชน วีรวรวิทย์ ประธานคณะกรรมการตัดสิน Adman Awards & Symposium 2014 เปิดเผยว่า ทิศทางวงการโฆษณาในประเทศไทย หลังจากนี้ควรจะต้องมีการปรับตัวอย่างมาก หลังจากที่พบว่ามี 4 ปัจจัยหลักที่เปลี่ยนแปลงไป คือ 1. ตลาดใหม่ โดยเฉพาะการที่ไทยจะก้าวสู่เออีซีในปี 2558 นั้น หลังจากนี้ธุรกิจจะไม่ได้อยู่แค่ในประเทศไทยเท่านั้น ระบบและขนาดของเศรษฐกิจจะใหญ่ขึ้น คู่แข่งที่จะเข้ามาในไทยมีเพิ่มขึ้น นักการตลาดและนักโฆษณาจะต้องปรับตัวให้ทัน 2. ผู้บริโภคมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ต้องทำความเข้าใจให้ทัน โดยเฉพาะกลุ่มเจน Z ที่เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับเทคโนโลยีมากที่สุด
3. สื่อใหม่ๆ จากเดิมที่จะเน้นโฆษณาในสื่อหลัก ปัจจุบันมีนิวมีเดียเข้ามาให้เลือกใช้มากขึ้น พฤติกรรมความนิยมใช้แอปพลิเคชันบนมือถือมีเพิ่มขึ้น ช่องทางการสื่อสารใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ทีวีดิจิตอลมีการเปลี่ยนแปลง ล้วนแต่เป็นโจทย์ใหม่ของการใช้สื่อโฆษณาหลังจากนี้ และ 4. เทคโนโลยี หลังจากนี้จะเห็นการสื่อสารใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดวิธีการสื่อสารรูปแบบใหม่ ล้วนแต่เป็นพรมแดนใหม่ของการสื่อสารทั้งสิ้น ดังนั้นนักการตลาดและนักโฆษณาจะต้องปรับตัวให้ทันและเลือกใช้สื่อโฆษณาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้าน นายศิวัตร เชาวริยวงษ์ นายกสมาคมโฆษณาดิจิตอล (ประเทศไทย) กล่าวว่า นักโฆษณาและเอเยนซีต้องปรับตัวรับสิ่งใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นให้ทัน เพราะปัจจุบันเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงเร็วมากและส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อให้เปลี่ยนแปลงไป เจ้าของสินค้าและเอเยนซีจะต้องทำงานหนักขึ้นและปรับวิธีการทำงานเพื่อรับการเปลี่ยนแปลง โดย 1. จะต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน เปลี่ยนวิธีคิด มีการเปิดกว้างและแบ่งปันข้อมูลข่าวสารต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการคิดงานโฆษณาให้ตรงจุด 2. สื่อต่างๆ จะมีสเกลและบทบาทมากขึ้น มองให้เห็นถึงผลกระทบและประโยชน์ที่จะตามมา เช่น การแชร์บนโลกโซเชียลจะส่งผลให้ยอดขายสินค้าเติบโตได้รวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องสำอางที่เลือกใช้วิธีดังกล่าวในปัจจุบัน หรือการเลือกใช้แอปพลิเคชันบนมือถือที่ใช้งานง่ายจะช่วยให้ประสบความสำเร้จได้เร็วขึ้น เป็นต้น
สอดคล้องกับความคิดเห็นของ นางวรรณี รัตนพล นายกสมาคมมีเดีย เอเยนซีและธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย และประธานบริหาร บริษัท ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส จำกัด ที่กล่าวว่า ปัจจุบันพฤติกรรมผู้บริโภคใช้งานดีไวซ์ไปพร้อมๆ กันหลายๆ จอและยังสามารถดูย้อนหลังได้ จะต้องหาวิธีการวัดเรตติ้งให้มีประสิทธิภาพตาม ขณะที่ทีวีดิจิตอลแม้จะมีเพิ่มอีก 24 ช่องซึ่งเป็นผลดีต่อลูกค้าที่จะซื้อสื่อโฆษณา แต่ผู้บริโภคเองยังสับสนว่าช่องรายการที่สนใจอยู่ตรงไหน มีอะไรดูบ้าง วิธีการดูจะเป็นอย่างไร ดังนั้นนักการตลาดและนักโฆษณาจึงต้องทำรีเสิร์ชเช็กข้อมูลช่วยลูกค้า รวมทั้งรู้จักประเมินสถานการณ์ในอนาคตให้ลูกค้าด้วยเช่นกัน
*** เจ้าของสินค้าหวังโฆษณาช่วยสร้างแบรนด์ระยะยาว ***
ทั้งนี้ ในส่วนของเจ้าของแบรนด์สินค้าอย่าง “บุญรอดฯ” โดยนายรติ พันธุ์ทวี ผู้อำนวยการบริหาร ประจำสำนักงานกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด กล่าวว่า ในมุมของเจ้าของสินค้า มองว่าการเปลี่ยนแปลงของสื่อและการนำเสนอช่องทางใหม่ๆ เกิดขึ้น ในมุมของนักการตลาดและนักโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และมีเดียจะต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงให้ทัน สื่อสารให้ตรงจุดและมีประสิทธิภาพ
ขณะที่เจ้าของสินค้ามองว่า ปัจจุบันผู้บริโภคมีกำลังซื้อตกลง ไม่มีอารมณ์ในการใช้จ่าย การแข่งขันด้านราคารุนแรง การทำตลาด หรือโฆษณาประชาสัมพันธ์จะต้องช่วยด้านแบรนด์ในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเข้าสู่เออีซีด้วยแล้วอาจจะมีคู่แข่งรายใหม่เข้ามาซึ่งมีต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่า สงครามราคาก็จะกลับมารุนแรงกว่าเดิม การดึงความมั่นใจจากผู้บริโภคจะทำยากขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นโจทย์ที่นักโฆษณาและการตลาดจะต้องคิดให้ทัน
*** คืนสู่สามัญ โฆษณาต้องสร้างแบรนด์ ***
นางสาวอ่อนอุษา ลำเลียงพล นายกสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า พรมแดนใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น เทคโนโลยีพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป นักการตลาดและนักโฆษณาต้องมีชาเลนต์ที่ดีจะต้องข้ามผ่านให้ได้ โดยมองว่า
1. เอเยนซีต้องปรับโครงสร้างองค์กร บุคลากร และเปิดรับไอเดียใหม่ๆ ให้สอดคล้องและมองนอกกรอบให้ทุกส่วนต้องผสมผสานกัน 2. ในมุมของลูกค้าจะต้องชัดเจนในโจทย์ที่จะโฆษณาและพัฒนาตัวเองตลอดเวลาให้เข้ากับเทคโนโลยี และเครื่องมือต่างๆ ขณะที่การผลิตโฆษณาใหม่ๆ ออกมายังคงหน้าที่ของโฆษณาว่าจะต้องโปรโมตแบรนด์ให้มีภาพลักษณ์ที่ดีแก่ตัวสินค้าด้วย และช่วยด้านยอดขาย รวมถึงการเติบโตที่ยั่งยืน
“ปัจจุบันทิศทางโฆษณาทั่วโลกกำลังหลงทางเหมือนกันหมด รวมถึงของไทยด้วย ถึงแม้ว่าชิ้นงานโฆษณานั้นจะโดนใจ สร้างกระแสได้จริง ซึ่งการวิ่งไล่ตามเทคโนโลยีเป็นเรื่องที่ดี การครีเอตงานโฆษณาออกมาได้อย่างน่าสนใจ ไอเดียสดใหม่เป็นเรื่องที่ดี แต่สุดท้ายแล้วควรที่จะยึดในหลักการโฆษณาด้วย โดยชิ้นงานโฆษณานั้นจะต้องสร้างอิมเมจให้กับแบรนด์ มีผลต่อยอดขาย และการเติบโตอย่างยั่งยืน”
*** สื่อออนไลน์ พระเอกครึ่งปีหลัง โตร่วม 40% ***
อย่างไรก็ตาม นายกสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทยกล่าวด้วยว่า ภาพรวมโฆษณาในครึ่งปีแรกติดลบถึง 9.37% ส่วนครึ่งปีหลังมีแนวโน้มดีขึ้น นักลงทุนมีความมั่นใจ เห็นการแก้ปัญหาของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ความมั่นใจของผู้บริโภคคืนกลับมา แต่โดยรวมแล้วทั้งปีโฆษณาอาจจะมีมูลค่าได้แค่ทรงตัวเท่าปีก่อนเท่านั้น โดยในส่วนของรูปแบบการใช้สื่อโฆษณานั้นพบว่ามีทิศทางไปใช้สื่ออนไลน์มากขึ้น
สอดคล้องกับที่ นายศิวัตร เชาวริยวงษ์ นายกสมาคมโฆษณาดิจิตอล (ประเทศไทย) ที่กล่าวว่า ปีนี้สื่อออนไลน์น่าจะโตได้อย่างน้อย 40% หรือมีมูลค่ารวมกว่า 5,800 ล้านบาท โดยกลุ่มสินค้าคอนซูเมอร์โปรดักต์หันมาใช้สื่อนี้มากขึ้น หลังจากเกิดความไม่แน่ใจในการโฆษณาทางสื่อฟรีทีวีที่มีปัญหาเรื่องทีวีดิจิตอลอยู่ในขณะนี้
ส่วนรูปแบบสื่อออนไลน์ที่พบว่าเติบโตมากสุด 3 อันดับแรกคือ 1. เสิร์จเอนจิน 2. วิดีโอ และ 3. แบรนด์เนอร์ รวมถึงแอปพลิเคชันบนมือถืออย่าง “ไลน์” ที่มีแบรนด์สินค้าเลือกทำสติกเกอร์เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว