ASTVผู้จัดการรายวัน- “รัฐประหาร”ลุ้นดันอุตสาหกรรมโฆษณาครึ่งปีหลังกระเตื้องขึ้น หลังครึ่งปีแรกฟันธงติดลบแน่นอน ชี้ปิดสถานีโทรทัศน์1วัน เชื่อเจ้าของสถานีโทรทัศน์พร้อมจัดการเวลาชดเชยโฆษณาให้ แต่เจ้าของสินค้าผวาเตรียมตัดงบโฆษณาเดือนมิ.ย.ทิ้ง กูรูโฆษณาหวังสถานการณ์ดีขึ้นเร็ววัน ประเทศก้าวต่อไป เม็ดเงินโฆษณากลับมา ฟากสมาคมค้าปลีกหวังให้เกิดการจัดตั้งรัฐบาลที่มีอำนาจเต็มในการแก้ไขปัญหาประเทศชาติอย่างรวดเร็ว
นางวรรณี รัตนพล ประธานบริหาร ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส และในฐานะนายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย หรือ MAAT เปิดเผยว่า ในช่วงที่ฟรีทีวีรวมถึงสถานีโทรทัศน์ทุกช่องในทุกแพลทฟอร์มถูกระงับสัญญาณการออกอากาศตั้งแต่เย็นวันที่ 22 พ.ค. เวลา 16.30 น.มาจนถึงเย็นวันที่ 23พ.ค.ที่ผ่านมา
โดยประมาณจากการทำรัฐประหารช่วงเวลาดังกล่าวพบว่า เจ้าของสินค้าค่อนข้างกังวลกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะขณะนั้นยังไม่ทราบว่าฟรีทีวีจะถูกระงับสัญญาณออกไปนานเพียงใดบวกกับความตึงเครียดที่เกิดขึ้น ส่งผลให้เจ้าของสินค้าหลายราย ต้องการที่จะขอตัดงบโฆษณาในเดือนมิ.ย.ออกไปก่อน เพื่อดูสถานการณ์ให้แน่ใจจึงจะกลับมาใช้งบโฆษณาอีกครั้ง ทั้งนี้ทางบริษัทได้ชี้แจงและทำความเข้าใจกับเจ้าของสินค้าเหล่านั้นไปแล้ว ส่งผลให้ลูกค้าเหล่านี้ยังพร้อมใช้งบลงโฆษณาในเดือนต่อไปอยู่ แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ว่าจะคลี่คลายได้เร็วเพียงใด
อย่างไรก็ตามในช่วงเวลาที่ฟรีทีวีถูกระงับสัญญาณออกอากาศนั้น ทำให้โฆษณาที่ลงไปหายไปด้วย เชื่อว่าทางเจ้าของสถานีเองได้เตรียมแก้ปัญหาเหล่านี้ไว้แล้วเช่นกัน โดยอาจจะมีช่วงเวลาชดเชยลงโฆษณาที่หายไปกว่า 1 วันให้ เพราะเมื่อคำนวนออกมาแล้ว ช่วงเวลาที่สปอตโฆษณาหายไป ถือเป็นมูลค่าที่สูงอยู่มาก โฆษณาหายไปรายได้ของสถานีก็หายตาม
นางวรรณี กล่าวต่อว่า ในส่วนของเม็ดเงินโฆษณาในครึ่งปีแรกดูแล้วยังไงก็ยังคงติดลบ แม้จะเหลือเดือนมิ.ยอีกแค่เดือนเดียวก็ตาม เพราะ4เดือนที่ผ่านมาพบว่า ทั้งอุตสาหกรรมโฆษณายังคงติดลบ7%อยู่ เดือนมิ.ยเดือนเดียวคงไม่สามารถทำให้ครึ่งปีแรกกลับมาดีได้ แต่ในครึ่งปีหลังดูมีแนวโน้มที่ดีขึ้น หรือทั้งปีน่าจะทำให้ภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณา อย่างน้อยที่ที่สุดอาจจะติดลบแค่ 1-2% เท่านั้น
“ถ้าทหารเข้ามาจัดการได้เร็ว ทุกอย่างก็จบเร็ว เข้าสู่กระบวนการปกติและเดินหน้าต่อไปได้ อุตสาหกรรมโฆษณาในครึ่งปีหลังก็น่าจะดีขึ้น ลูกค้ากลับมาใช้เงินลงโฆษณาอีกครั้ง ถือเป็นสัญญาณที่ดี เพราะหากมองสถานการณ์ของประเทศไทยก่อนที่จะมีการทำรัฐประหารแล้ว ทุกอย่างหยุดนิ่ง ทั้ง2ฝ่ายต่างไม่ยอมกัน ประเทศชาติก้าวต่อไม่ได้ อุตสาหกรรมโฆษณาเองก็มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ แต่พอมีรัฐประหารขึ้นมา ครึ่งปีหลังก็มีโอกาสมากขึ้น เพราะประเทศเดินต่อไปได้”
ทั้งนี้จากข้อมูลของทางเน็ลสัน คอมปะนี พบว่า เม็ดเงินโฆษณาในช่วง4เดือนที่ผ่านมา(ม.ค.57-เม.ย.57) มีมูลค่าที่ 33,298 ล้านบาท ติดลบ7.57% โดยมีเพียงสื่อในโรงภาพยนตร์เพียงสื่อเดียวที่ยังเติบโตอยู่ 17.80% หรือมีมูลค่าที่ 2,210 ล้านบาท ส่วนสื่อหลักอย่างสื่อทีวีตกลง 6.38% หรือมีมูลค่าที่ 20,854 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา แต่เฉพาะเดือนเม.ย.ที่ผ่านมาเพียงเดือนเดียวแล้ว กลับยิ่งพบว่าทุกสื่อติดลบหมด ส่งผลให้เม็ดเงินโฆษณาในเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ติดลบ 8.38% หรือมีมูลค่าเพียง 8,744 ล้านบาท โดยสื่อทีวีติดลบ 4.89% หรือมีมูลค่าเพียง 5,460 ล้านบาทเท่านั้น
ส.ผู้ค้าปลีกไทย ขอรัฐบาลใหม่ แก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว
ดร.ฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการบริหารสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวว่า จากการที่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จำเป็นต้องเข้าควบคุมอำนาจการปกครองประเทศนั้น ในระยะสั้นย่อมส่งผลกระทบและทำให้เศรษฐกิจหยุด ชะงัก แต่ยังต้องเฝ้าดูสถานการณ์ต่อไปอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ดี ภาคเอกชนต้องการให้ภาครัฐควบคุมสถานการณ์ให้อยู่ในความสงบ หลีกเลี่ยงเหตุการณ์รุนแรงต่างๆ และขอให้จัดตั้งรัฐบาลที่มีอำนาจเต็มในการแก้ไขปัญหาประเทศชาติอย่างรวดเร็ว พร้อมให้นโยบายที่เป็นรูปธรรมในเรื่องการแก้ไขความขัดแย้งในประเทศ และมีนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศอย่างชัดเจนและรวดเร็ว
นางวรรณี รัตนพล ประธานบริหาร ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส และในฐานะนายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย หรือ MAAT เปิดเผยว่า ในช่วงที่ฟรีทีวีรวมถึงสถานีโทรทัศน์ทุกช่องในทุกแพลทฟอร์มถูกระงับสัญญาณการออกอากาศตั้งแต่เย็นวันที่ 22 พ.ค. เวลา 16.30 น.มาจนถึงเย็นวันที่ 23พ.ค.ที่ผ่านมา
โดยประมาณจากการทำรัฐประหารช่วงเวลาดังกล่าวพบว่า เจ้าของสินค้าค่อนข้างกังวลกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะขณะนั้นยังไม่ทราบว่าฟรีทีวีจะถูกระงับสัญญาณออกไปนานเพียงใดบวกกับความตึงเครียดที่เกิดขึ้น ส่งผลให้เจ้าของสินค้าหลายราย ต้องการที่จะขอตัดงบโฆษณาในเดือนมิ.ย.ออกไปก่อน เพื่อดูสถานการณ์ให้แน่ใจจึงจะกลับมาใช้งบโฆษณาอีกครั้ง ทั้งนี้ทางบริษัทได้ชี้แจงและทำความเข้าใจกับเจ้าของสินค้าเหล่านั้นไปแล้ว ส่งผลให้ลูกค้าเหล่านี้ยังพร้อมใช้งบลงโฆษณาในเดือนต่อไปอยู่ แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ว่าจะคลี่คลายได้เร็วเพียงใด
อย่างไรก็ตามในช่วงเวลาที่ฟรีทีวีถูกระงับสัญญาณออกอากาศนั้น ทำให้โฆษณาที่ลงไปหายไปด้วย เชื่อว่าทางเจ้าของสถานีเองได้เตรียมแก้ปัญหาเหล่านี้ไว้แล้วเช่นกัน โดยอาจจะมีช่วงเวลาชดเชยลงโฆษณาที่หายไปกว่า 1 วันให้ เพราะเมื่อคำนวนออกมาแล้ว ช่วงเวลาที่สปอตโฆษณาหายไป ถือเป็นมูลค่าที่สูงอยู่มาก โฆษณาหายไปรายได้ของสถานีก็หายตาม
นางวรรณี กล่าวต่อว่า ในส่วนของเม็ดเงินโฆษณาในครึ่งปีแรกดูแล้วยังไงก็ยังคงติดลบ แม้จะเหลือเดือนมิ.ยอีกแค่เดือนเดียวก็ตาม เพราะ4เดือนที่ผ่านมาพบว่า ทั้งอุตสาหกรรมโฆษณายังคงติดลบ7%อยู่ เดือนมิ.ยเดือนเดียวคงไม่สามารถทำให้ครึ่งปีแรกกลับมาดีได้ แต่ในครึ่งปีหลังดูมีแนวโน้มที่ดีขึ้น หรือทั้งปีน่าจะทำให้ภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณา อย่างน้อยที่ที่สุดอาจจะติดลบแค่ 1-2% เท่านั้น
“ถ้าทหารเข้ามาจัดการได้เร็ว ทุกอย่างก็จบเร็ว เข้าสู่กระบวนการปกติและเดินหน้าต่อไปได้ อุตสาหกรรมโฆษณาในครึ่งปีหลังก็น่าจะดีขึ้น ลูกค้ากลับมาใช้เงินลงโฆษณาอีกครั้ง ถือเป็นสัญญาณที่ดี เพราะหากมองสถานการณ์ของประเทศไทยก่อนที่จะมีการทำรัฐประหารแล้ว ทุกอย่างหยุดนิ่ง ทั้ง2ฝ่ายต่างไม่ยอมกัน ประเทศชาติก้าวต่อไม่ได้ อุตสาหกรรมโฆษณาเองก็มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ แต่พอมีรัฐประหารขึ้นมา ครึ่งปีหลังก็มีโอกาสมากขึ้น เพราะประเทศเดินต่อไปได้”
ทั้งนี้จากข้อมูลของทางเน็ลสัน คอมปะนี พบว่า เม็ดเงินโฆษณาในช่วง4เดือนที่ผ่านมา(ม.ค.57-เม.ย.57) มีมูลค่าที่ 33,298 ล้านบาท ติดลบ7.57% โดยมีเพียงสื่อในโรงภาพยนตร์เพียงสื่อเดียวที่ยังเติบโตอยู่ 17.80% หรือมีมูลค่าที่ 2,210 ล้านบาท ส่วนสื่อหลักอย่างสื่อทีวีตกลง 6.38% หรือมีมูลค่าที่ 20,854 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา แต่เฉพาะเดือนเม.ย.ที่ผ่านมาเพียงเดือนเดียวแล้ว กลับยิ่งพบว่าทุกสื่อติดลบหมด ส่งผลให้เม็ดเงินโฆษณาในเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ติดลบ 8.38% หรือมีมูลค่าเพียง 8,744 ล้านบาท โดยสื่อทีวีติดลบ 4.89% หรือมีมูลค่าเพียง 5,460 ล้านบาทเท่านั้น
ส.ผู้ค้าปลีกไทย ขอรัฐบาลใหม่ แก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว
ดร.ฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการบริหารสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวว่า จากการที่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จำเป็นต้องเข้าควบคุมอำนาจการปกครองประเทศนั้น ในระยะสั้นย่อมส่งผลกระทบและทำให้เศรษฐกิจหยุด ชะงัก แต่ยังต้องเฝ้าดูสถานการณ์ต่อไปอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ดี ภาคเอกชนต้องการให้ภาครัฐควบคุมสถานการณ์ให้อยู่ในความสงบ หลีกเลี่ยงเหตุการณ์รุนแรงต่างๆ และขอให้จัดตั้งรัฐบาลที่มีอำนาจเต็มในการแก้ไขปัญหาประเทศชาติอย่างรวดเร็ว พร้อมให้นโยบายที่เป็นรูปธรรมในเรื่องการแก้ไขความขัดแย้งในประเทศ และมีนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศอย่างชัดเจนและรวดเร็ว