น.ส.บุษบา จิราธิวัฒน์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย คาดหมายว่า ตัวเลขการค้าปลีกนับจากนี้จะขยับดีขึ้น หลังจากแนวโน้มสถานการณ์การเมืองคลี่คลาย โดยกลุ่ม กปปส. ได้ยุบรวมเวทีการชุมนุม ไปอยู่ในสวนลุมพินีเพียงแห่งเดียว ทำให้ภาคประชาชนและภาคการท่องเที่ยว มีอารมณ์จับจ่ายซื้อสินค้ามากขึ้น
นอกจากนี้ หากมีการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินโดยเร็วนักท่องเที่ยวจะกลับเข้ามาในประเทศไทย ส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจดีขึ้น ซึ่งภาคเอกชนยังคาดหวังจะเห็นนักท่องเที่ยว 26 ล้านคนภายในปีนี้ อีกทั้งคาดหวังให้รัฐบาลชุดใหม่คงมาตรการภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 และพิจารณาปรับลดภาษีสินค้าแบรนด์เนมต่างประเทศ เพื่อดึงดูดการจับจ่ายของนักท่องเที่ยว
น.ส.บุษบา ยอมรับว่า ปัญหาการเมืองส่งผลกระทบต่อการค้าปลีกตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้วต่อเนื่องถึงไตรมาส 1 ปีนี้ ทำให้คาดว่า ยอดค้าปลีกทั้งปีจะขยายตัวที่ร้อยละ 6-7 สะท้อนจีดีพีที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดการณ์ว่า จะขยายตัวประมาณร้อยละ 2.5 โดยไตรมาส 1 คาดว่ายอดค้าปลีกจะขยายตัวที่ร้อยละ 2-3
อย่างไรก็ตาม เพื่อร่วมกระตุ้นเศรษฐกิจ ทางกลุ่มผู้ประกอบการผู้ค้าปลีกไทยยังเดินหน้าการลงทุนตามแผนงานอย่างต่อเนื่อง โดยปีนี้จะมีการขยายสาขาเพิ่มใกล้เคียงกับปีที่แล้วคือ มากกว่า 2,000 สาขา ทั้งคอนวีเนียนสโตร์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ซูเปอร์เซ็นเตอร์ และดีพาร์ตเมนต์สโตร์ และกลุ่มร้านค้าเฉพาะทาง
ทั้งนี้ ในปี 2556 จากภาวะปัญหาการเมือง ปัญหาการส่งออกที่ลดลง รวมถึงสินค้าเกษตรที่มีราคาต่ำลง ส่งผลให้ยอดขายสินค้าเติบโตเพียงร้อยละ 6.3 มีมูลค่า 2.3 ล้านล้านบาท นับเป็นการลดต่ำกว่าคาดการณ์ โดยในปี 2555 มีอัตราขยายตัวประมาณร้อยละ 12 และหากแยกสินค้าในปี 2556 พบว่าสินค้าคงทน อาทิ วัสดุก่อสร้าง มียอดขายเติบโตร้อยละ 8.5 สินค้ากึ่งคงทน อาทิ เสื้อผ้ากระเป๋า มียอดขายเติบโตร้อยละ 5.5 และสินค้าไม่คงทน อาทิ อาหาร ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 60 ของยอดขายรวม มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 4.5 เท่านั้น
นอกจากนี้ หากมีการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินโดยเร็วนักท่องเที่ยวจะกลับเข้ามาในประเทศไทย ส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจดีขึ้น ซึ่งภาคเอกชนยังคาดหวังจะเห็นนักท่องเที่ยว 26 ล้านคนภายในปีนี้ อีกทั้งคาดหวังให้รัฐบาลชุดใหม่คงมาตรการภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 และพิจารณาปรับลดภาษีสินค้าแบรนด์เนมต่างประเทศ เพื่อดึงดูดการจับจ่ายของนักท่องเที่ยว
น.ส.บุษบา ยอมรับว่า ปัญหาการเมืองส่งผลกระทบต่อการค้าปลีกตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้วต่อเนื่องถึงไตรมาส 1 ปีนี้ ทำให้คาดว่า ยอดค้าปลีกทั้งปีจะขยายตัวที่ร้อยละ 6-7 สะท้อนจีดีพีที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดการณ์ว่า จะขยายตัวประมาณร้อยละ 2.5 โดยไตรมาส 1 คาดว่ายอดค้าปลีกจะขยายตัวที่ร้อยละ 2-3
อย่างไรก็ตาม เพื่อร่วมกระตุ้นเศรษฐกิจ ทางกลุ่มผู้ประกอบการผู้ค้าปลีกไทยยังเดินหน้าการลงทุนตามแผนงานอย่างต่อเนื่อง โดยปีนี้จะมีการขยายสาขาเพิ่มใกล้เคียงกับปีที่แล้วคือ มากกว่า 2,000 สาขา ทั้งคอนวีเนียนสโตร์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ซูเปอร์เซ็นเตอร์ และดีพาร์ตเมนต์สโตร์ และกลุ่มร้านค้าเฉพาะทาง
ทั้งนี้ ในปี 2556 จากภาวะปัญหาการเมือง ปัญหาการส่งออกที่ลดลง รวมถึงสินค้าเกษตรที่มีราคาต่ำลง ส่งผลให้ยอดขายสินค้าเติบโตเพียงร้อยละ 6.3 มีมูลค่า 2.3 ล้านล้านบาท นับเป็นการลดต่ำกว่าคาดการณ์ โดยในปี 2555 มีอัตราขยายตัวประมาณร้อยละ 12 และหากแยกสินค้าในปี 2556 พบว่าสินค้าคงทน อาทิ วัสดุก่อสร้าง มียอดขายเติบโตร้อยละ 8.5 สินค้ากึ่งคงทน อาทิ เสื้อผ้ากระเป๋า มียอดขายเติบโตร้อยละ 5.5 และสินค้าไม่คงทน อาทิ อาหาร ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 60 ของยอดขายรวม มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 4.5 เท่านั้น