ASTV ผู้จัดการรายวัน – บล.เออีซี ยืนยันการสรรหาบุคลากรทำตามข้อปฏิบัติ เหตุเพราะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ชี้ทุกอุตสาหรรมมีการแข่งขันเพื่อพัฒนา “ประธานบอร์ด”ย้ำเป้าหมายมุ่งหน้าสู่ตลาดต่างประเทศ เน้นวาณิชธนกิจ ไม่ได้หวังพึ่งแต่ค่านายหย้าซื้อขายหลักทรัพย์ ตั้งเป้าปีนี้มาร์เกตแชร์ติดTop10 พร้อมขยายสาขาทั่วประเทศ 18 แห่งภายในปีนี้ แถมเตรียมชงตลท.ตั้ง Mini mai ด้านบล.ทรีนิตี้ ลุ้นการเมืองจบในครึ่งปีดันหุ้นพุ่ง
นายกอบเกียรติ บุญธีรวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.เออีซี จำกัด (มหาชน) (AEC) กล่าวถึงกระแสข่าวที่บริษัทถูกต่อต้านจากโบรกเกอร์รายอื่นๆ เพราะมีพนักงานย้ายค่ายมาอยู่กับบริษัทว่า การรับพนักงานทั้งหมดเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ และได้มีการชี้แจงทำความเข้าใจแล้ว ซึ่งการที่บุคลากรตัดสินใจย้ายงานมาที่ให้ข้อเสนอที่ดีกว่าที่เดิมถือเป็นเรื่องปกติ และเป็นสิทธิของแต่ละคน และบุคลากรในวงการโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่มาร์เกตติ้งมีมากถึง 5,000 ราย การย้ายมาทำงานกับบริษัทเพียง 100กว่ารายถือว่าเป็นสัดส่วนไม่มาก
“การแข่งขันมีอยู่ในทุกอุตสาหกรรม เราไม่แคร์ เพราะเราคิดว่านี่ไม่ใช่การทำลายอุตสาหกรรม และเป็นการช่วยให้อุตสาหรรมเติบโต”
ด้าน ประพล มิลินทจินดา ประธานกรรมการบริหาร กล่าวในเรื่องดังกล่าวว่า การป้องกันผู้ประกอบการธุรกิจรายใหม่เข้ามาสู่ตลาดเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ ถึงเรือจับปลามี 48 ลำ ก็ไม่เพียงพอ อีกทั้งบล.เออีซีไม่มองเพียงการจับปลาในบ่อ เรามองถึงการออกไปเชื่อมโยงในประเทศ ผ่านการแข่งขันที่เป็นธรรม บริษัทไม่ได้มุ่งเน้นรายได้จากธุรกรรมนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ แต่มุ่งเน้นในงานวาณิชธนกิจที่มองว่ามีอยู่เป็นจำนวนมาก และถือเป็นแกนธุรกิจหลักของ บล.เออีซีมากกว่า อย่างไรก็ตามบริษัทพร้อมจะรับฟังข้อติเตือนจากผู้อยู่ในธุรกิจเดียวกันทุกคน เพื่อปรับปรุงและทำให้อุตสาหกรรมเติบโต
นอกจากนี้ บริษัทยังมีแนวคิดที่จะเสนอให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ(ตลท.)ให้จัดตั้งตลาดหลักทรัพย์ Mini MAI เพื่อเพิ่มช่องทางการระดมทุนให้กับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SME) ที่มีขนาดทุนจดทะเบียนในระดับ 10-20 ล้านบาท เพื่อให้ SME มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน และในทางกลับกันตลาดหลักทรัพย์ก็จะมีผู้เล่นมากขึ้นและมีสินค้ามากขึ้น
ส่วนแผนธุรกิจในต่างประเทศ บล.เออีซี วางแผนในเบื้องต้น การเข้าไปทำธุรกิจในกัมพูชา ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์และเวียดนาม จากนั้นจะขยายให้ครอบคลุมอาเซียน เพื่อเชื่อมโยงโอกาสทางธุรกิจในทุกระดับตั้งแต่ระดับภูมิภาคลงไปจนถึงระดับรากหญ้า ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรและใช้เครือข่ายงานวาณิชธนกิจเข้ารับงาน ซึ่ง คาดว่าจะเห็นความชัดเจนภายใน 3 เดือนข้างหน้า จากปัจจุบันมีทุนขนาดใหญ่ จากยุโรป จีน มาเลเซีย และสิงคโปร์ ที่สนใจจะลงทุนในหลายด้าน ได้แก่ ปิโตรเคมี พลังงาน อาหาร และท่องเที่ยว ในภูมิภาคอาเซียน
“เราจะมุ่งสู่การเป็นโบรกเกอร์ขนาดใหญ่ติด 1 ใน 5 ของไทยภายในอีก 2 ปีข้างหน้า ซึ่งเป้าหมายในปีนี้จะมีมาร์เก็ตแชร์ให้ได้ 2-3% เพื่อก้าวสู่ Top 10 ก่อน เราจะมีพันธมิตรทางธุรกิจมาก เปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนได้มาก เป็นบริการด้าน Business Development ที่ไม่ค่อยมีใครเน้น"นายประพล กล่าว
นายกอบเกียรติ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับแผนธุรกิจโดยรวม บริษัทจะเพิ่มบุคลากรเพื่อรองรับการขยายงานโดยภายในเดือนมีนาคม จะมีเจ้าหน้าที่การตลาดเข้ามาดูแลรายย่อยราว 140 คน และดูแลลูกค้าสถาบัน 2-3 คน รวมทั้งทีมเจ้าหน้าที่วิเคราะห์หลักทรัพย์ 8-9 คน ส่วนทีมวาณิชธนกิจ ตั้งเป้าจะมีเพิ่มขึ้นอีก 1 ทีม จากปัจจุบันมี 7 คน และมีพอร์ต Proptrade วงเงิน 200 ล้านบาท
ส่วนแผนขยายสาขาในประเทศ บล.เออีซี ยังเดินหน้าเพิ่มสาขาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในต่างจังหวะ เพื่อเข้าถึงทั้งกลุ่มลูกค้ารายย่อย และกลุ่มผู้ประกอบการในแต่ละภูมิภาค เพื่อเพิ่มช่องทางในการทำวาณิชธนกิจ จากปัจจุบันที่เปิดสาขาแล้วที่จ.เชียงใหม่ บริษัทกำลังจะเปิดสาขาเพิ่มเติมที่ หาดใหญ่ , นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยในปีนี้จะมีสาขาทั้งสิ้น 18 สาขา
**ทรีนิตี้ ลุ้นการเมืองจบในครึ่งปีดันหุ้นพุ่ง
นายณัฐชาติ เมฆมาสิน ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทรีนิตี้ กล่าวว่า ภาพรวมตลาดหุ้นไทยขณะนี้ปรับตัวลดลงจากปัจจัยภายในประเทศที่มีผลมากจากความขัดแย้งทางการเมือง อีกทั้งผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่ประสบปัญหาขาดทุนในหลายบริษัท โดยการปรับตัวลดลงของ SET INDEX ในช่วงที่ผ่านมาเป็นการสะท้อนราคาผลประกอบการที่ลดลงในไตรมาสที่ 1 และ 2 ไปแล้ว หากการเมืองมีข้อสรุปที่ชัดเจนภายในครึ่งปีแรก คาดว่าผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนจะเริ่มปรับฟื้นตัวขึ้นในครึ่งปีหลัง โดยจะเริ่มทยอยปรับตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงนี้
“แนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นไทยอาจปรับตัวขึ้นสูงแตะระดับที่ 1,350 จุด จาก valuation gap ระหว่างหุ้นไทยกับตลาดหุ้นโลก กลับเข้าสู่ค่าเฉลี่ยระยะยาว แต่การปรับตัวขึ้นของดัชนีคาดว่าจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากบรรยากาศการลงทุนยังถูกกระทบจากปัจจัยทางการเมือง”
ทั้งนี้ หุ้นกลุ่มที่คาดว่าจะได้รับอานิสงค์จากเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัวขึ้น คือ หุ้นกลุ่มอาหาร อิเล็กทรอนิกส์ การเดินเรือ ปิโตรเคมี แต่อย่างไรก็ตาม หุ้นที่อ้างอิงกับเศรษฐกิจภายในที่มีการปรับตัวลดลงมาแรง เริ่มมีความน่าสนใจในแง่ของการประเมินมูลค่าหุ้นกับสินทรัพย์บริษัทที่ปรับตัวลดลง
อย่างไรก็ดี คาดว่าเม็ดเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างประเทศที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทยในรอบถัดไปจะเข้ามาในช่วงกลางปีนี้ จากยูโรโซน และประเทศญี่ปุ่น โดยคาดการณ์จากธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB (European Central Bank) อาจจะมีการลดดอกเบี้ยลง หรือออกโครงการ LTRO อีกครั้งเพื่อป้องกันเงินฝืดภายในประเทศ หลังจากเกิดภาวะเงินเฟ้อสูงสุดในรอบ 4 ปี ในขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นอาจจะมีการผลักดันสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีแก่ภาคธุรกิจ เพื่อมาทดแทนการขึ้นภาษีการขาย หรือ Sales Tax ที่มีกำหนดในช่วงเดือนเมษายนนี้
นายกอบเกียรติ บุญธีรวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.เออีซี จำกัด (มหาชน) (AEC) กล่าวถึงกระแสข่าวที่บริษัทถูกต่อต้านจากโบรกเกอร์รายอื่นๆ เพราะมีพนักงานย้ายค่ายมาอยู่กับบริษัทว่า การรับพนักงานทั้งหมดเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ และได้มีการชี้แจงทำความเข้าใจแล้ว ซึ่งการที่บุคลากรตัดสินใจย้ายงานมาที่ให้ข้อเสนอที่ดีกว่าที่เดิมถือเป็นเรื่องปกติ และเป็นสิทธิของแต่ละคน และบุคลากรในวงการโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่มาร์เกตติ้งมีมากถึง 5,000 ราย การย้ายมาทำงานกับบริษัทเพียง 100กว่ารายถือว่าเป็นสัดส่วนไม่มาก
“การแข่งขันมีอยู่ในทุกอุตสาหกรรม เราไม่แคร์ เพราะเราคิดว่านี่ไม่ใช่การทำลายอุตสาหกรรม และเป็นการช่วยให้อุตสาหรรมเติบโต”
ด้าน ประพล มิลินทจินดา ประธานกรรมการบริหาร กล่าวในเรื่องดังกล่าวว่า การป้องกันผู้ประกอบการธุรกิจรายใหม่เข้ามาสู่ตลาดเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ ถึงเรือจับปลามี 48 ลำ ก็ไม่เพียงพอ อีกทั้งบล.เออีซีไม่มองเพียงการจับปลาในบ่อ เรามองถึงการออกไปเชื่อมโยงในประเทศ ผ่านการแข่งขันที่เป็นธรรม บริษัทไม่ได้มุ่งเน้นรายได้จากธุรกรรมนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ แต่มุ่งเน้นในงานวาณิชธนกิจที่มองว่ามีอยู่เป็นจำนวนมาก และถือเป็นแกนธุรกิจหลักของ บล.เออีซีมากกว่า อย่างไรก็ตามบริษัทพร้อมจะรับฟังข้อติเตือนจากผู้อยู่ในธุรกิจเดียวกันทุกคน เพื่อปรับปรุงและทำให้อุตสาหกรรมเติบโต
นอกจากนี้ บริษัทยังมีแนวคิดที่จะเสนอให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ(ตลท.)ให้จัดตั้งตลาดหลักทรัพย์ Mini MAI เพื่อเพิ่มช่องทางการระดมทุนให้กับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SME) ที่มีขนาดทุนจดทะเบียนในระดับ 10-20 ล้านบาท เพื่อให้ SME มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน และในทางกลับกันตลาดหลักทรัพย์ก็จะมีผู้เล่นมากขึ้นและมีสินค้ามากขึ้น
ส่วนแผนธุรกิจในต่างประเทศ บล.เออีซี วางแผนในเบื้องต้น การเข้าไปทำธุรกิจในกัมพูชา ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์และเวียดนาม จากนั้นจะขยายให้ครอบคลุมอาเซียน เพื่อเชื่อมโยงโอกาสทางธุรกิจในทุกระดับตั้งแต่ระดับภูมิภาคลงไปจนถึงระดับรากหญ้า ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรและใช้เครือข่ายงานวาณิชธนกิจเข้ารับงาน ซึ่ง คาดว่าจะเห็นความชัดเจนภายใน 3 เดือนข้างหน้า จากปัจจุบันมีทุนขนาดใหญ่ จากยุโรป จีน มาเลเซีย และสิงคโปร์ ที่สนใจจะลงทุนในหลายด้าน ได้แก่ ปิโตรเคมี พลังงาน อาหาร และท่องเที่ยว ในภูมิภาคอาเซียน
“เราจะมุ่งสู่การเป็นโบรกเกอร์ขนาดใหญ่ติด 1 ใน 5 ของไทยภายในอีก 2 ปีข้างหน้า ซึ่งเป้าหมายในปีนี้จะมีมาร์เก็ตแชร์ให้ได้ 2-3% เพื่อก้าวสู่ Top 10 ก่อน เราจะมีพันธมิตรทางธุรกิจมาก เปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนได้มาก เป็นบริการด้าน Business Development ที่ไม่ค่อยมีใครเน้น"นายประพล กล่าว
นายกอบเกียรติ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับแผนธุรกิจโดยรวม บริษัทจะเพิ่มบุคลากรเพื่อรองรับการขยายงานโดยภายในเดือนมีนาคม จะมีเจ้าหน้าที่การตลาดเข้ามาดูแลรายย่อยราว 140 คน และดูแลลูกค้าสถาบัน 2-3 คน รวมทั้งทีมเจ้าหน้าที่วิเคราะห์หลักทรัพย์ 8-9 คน ส่วนทีมวาณิชธนกิจ ตั้งเป้าจะมีเพิ่มขึ้นอีก 1 ทีม จากปัจจุบันมี 7 คน และมีพอร์ต Proptrade วงเงิน 200 ล้านบาท
ส่วนแผนขยายสาขาในประเทศ บล.เออีซี ยังเดินหน้าเพิ่มสาขาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในต่างจังหวะ เพื่อเข้าถึงทั้งกลุ่มลูกค้ารายย่อย และกลุ่มผู้ประกอบการในแต่ละภูมิภาค เพื่อเพิ่มช่องทางในการทำวาณิชธนกิจ จากปัจจุบันที่เปิดสาขาแล้วที่จ.เชียงใหม่ บริษัทกำลังจะเปิดสาขาเพิ่มเติมที่ หาดใหญ่ , นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยในปีนี้จะมีสาขาทั้งสิ้น 18 สาขา
**ทรีนิตี้ ลุ้นการเมืองจบในครึ่งปีดันหุ้นพุ่ง
นายณัฐชาติ เมฆมาสิน ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทรีนิตี้ กล่าวว่า ภาพรวมตลาดหุ้นไทยขณะนี้ปรับตัวลดลงจากปัจจัยภายในประเทศที่มีผลมากจากความขัดแย้งทางการเมือง อีกทั้งผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่ประสบปัญหาขาดทุนในหลายบริษัท โดยการปรับตัวลดลงของ SET INDEX ในช่วงที่ผ่านมาเป็นการสะท้อนราคาผลประกอบการที่ลดลงในไตรมาสที่ 1 และ 2 ไปแล้ว หากการเมืองมีข้อสรุปที่ชัดเจนภายในครึ่งปีแรก คาดว่าผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนจะเริ่มปรับฟื้นตัวขึ้นในครึ่งปีหลัง โดยจะเริ่มทยอยปรับตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงนี้
“แนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นไทยอาจปรับตัวขึ้นสูงแตะระดับที่ 1,350 จุด จาก valuation gap ระหว่างหุ้นไทยกับตลาดหุ้นโลก กลับเข้าสู่ค่าเฉลี่ยระยะยาว แต่การปรับตัวขึ้นของดัชนีคาดว่าจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากบรรยากาศการลงทุนยังถูกกระทบจากปัจจัยทางการเมือง”
ทั้งนี้ หุ้นกลุ่มที่คาดว่าจะได้รับอานิสงค์จากเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัวขึ้น คือ หุ้นกลุ่มอาหาร อิเล็กทรอนิกส์ การเดินเรือ ปิโตรเคมี แต่อย่างไรก็ตาม หุ้นที่อ้างอิงกับเศรษฐกิจภายในที่มีการปรับตัวลดลงมาแรง เริ่มมีความน่าสนใจในแง่ของการประเมินมูลค่าหุ้นกับสินทรัพย์บริษัทที่ปรับตัวลดลง
อย่างไรก็ดี คาดว่าเม็ดเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างประเทศที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทยในรอบถัดไปจะเข้ามาในช่วงกลางปีนี้ จากยูโรโซน และประเทศญี่ปุ่น โดยคาดการณ์จากธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB (European Central Bank) อาจจะมีการลดดอกเบี้ยลง หรือออกโครงการ LTRO อีกครั้งเพื่อป้องกันเงินฝืดภายในประเทศ หลังจากเกิดภาวะเงินเฟ้อสูงสุดในรอบ 4 ปี ในขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นอาจจะมีการผลักดันสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีแก่ภาคธุรกิจ เพื่อมาทดแทนการขึ้นภาษีการขาย หรือ Sales Tax ที่มีกำหนดในช่วงเดือนเมษายนนี้