นายเสรี สุวรรณภานนท์ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) 2540 โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว เสรี สุวรรณภานนท์ เมื่อวานนี้ (4 ก.พ.) ระบุว่า รัฐบาลรักษาการ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะหมดอายุรัฐบาลรักษาการในวันที่ 1 เม.ย. 57 นี้ ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดไว้ ที่ต้องการให้มีนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี มีอำนาจเต็มตามตำแหน่ง เพื่อบริหารประเทศ ดังนั้นทางออกของรัฐบาลเพื่อเห็นแก่ประเทศชาติ คือ ลาออกจากตำแหน่งรักษาการ ดีกว่าปล่อยให้ประชาชน ออกมาปะทะออกมาสู้รบกันเองให้บาดเจ็บล้มตาย ซึ่งจะกลายเป็นสงครามกลางเมืองในที่สุด และดีกว่าปล่อยให้เศรษฐกิจของประเทศ ต้องล่มสลายพังพินาศเสียหาย เนื่องจากสถานการณ์บ้านเมืองเป็นอยู่ในปัจจุบัน
ทั้งนี้ เนื้อหาในเฟซบุ๊ก ระบุว่า ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกาให้มีการยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.56 ทำให้อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 106 และทำให้รัฐมนตรีทั้งคณะ พ้นจากตำแหน่ง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 180 ซึ่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 กำหนดให้คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ เท่ากับคณะรัฐมนตรีปัจจุบัน คงทำหน้าที่รักษาการตามที่พูดกัน
แต่รัฐบาลชุดปัจจุบันที่ทำหน้าที่รักษาการอยู่ จะมีอายุเวลารักษาการเท่าใดนั้นรัฐธรรมนูญ มาตรา 127 ได้บัญญัติว่าภายใน 30 วัน นับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้มีการเรียกประชุมรัฐสภา เพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก ก็เพื่อจะให้มีการเลือกนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 172 ทำให้เห็นว่า รัฐธรรมนูญก็มีเจตนาที่จะให้มีนายกรัฐมนตรีโดยเร็ว และไม่ต้องการให้คณะรัฐมนตรีรักษาการไปนานๆ เพราะมีข้อจำกัดในเรื่องอำนาจหน้าที่ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 ดังกล่าว
ซึ่งหลังจากวันที่ 2 ก.พ.57 ซึ่งเป็นวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ตอนนี้ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า ยังไม่สามารถเลือกตั้งให้ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครบจำนวน 95 % ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 93 หากมีการประชุมรัฐสภาครั้งแรก ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 127 คงมีได้เฉพาะสมาชิกวุฒิสภาที่ทำหน้าที่รัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 132 เท่านั้น เพราะยังไม่มีสภาผู้แทนราษฎร แต่ถือว่าเป็นเจตจำนงที่รัฐธรรมนูญ ประสงค์ให้มีการประชุมรัฐสภาครั้ง แรกภายใน 30 วัน นับแต่วันเลือกตั้งดังกล่าว ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 2 ม.ค.57
การเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ.ที่ผ่านมา ก็มีปัญหามากมาย ที่จะถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าเป็นโมฆะหรือไม่ ?
ส่วนการจัดการเลือกตั้งต่อไปได้หรือไม่นั้น ก็ยังเป็นปัญหา เพราะรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 กำหนดให้วันเลือกตั้ง ต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร แต่ที่ผ่านมาการเลือกตั้งไม่สามารถทำได้วันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร
ซึ่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 172 ได้บัญญัติว่า ให้สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคล ซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ให้แล้ว เสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภา เป็นครั้งแรก ตามมาตรา 127 โดยจะครบกำหนดเวลาในวันที่ 1 เม.ย.57
เท่ากับว่า ตามมาตรา 172 และ มาตรา 127 ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลรักษาการย่อมมีอายุอยู่ได้ถึง วันที่ 1 เม.ย.57 เท่านั้น และในที่สุด นับแต่วันที่ 2 เม.ย.57 ประเทศไทย ก็จะไม่มีรัฐบาลรักษาการอีกต่อไป และเมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ของประเทศในปัจจุบัน การเลือกตั้งที่จะให้ได้ส.ส. จำนวน 95 % ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 127 เพื่อจะให้เปิดประชุมรัฐสภาภายใน 30 วันนั้น ไม่อาจกระทำได้แน่นอน และการให้สภาผู้แทนราษฎร เห็นชอบแต่งตั้งบุคคลให้เป็นนายกรัฐมนตรีได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกดังกล่าว ก็ไม่อาจกระทำได้ อายุของคณะรัฐมนตรีรักษาการ ก็จะสิ้นสุดในวันที่ 1 เม.ย.57
รัฐบาลรักษาการ ก็คงทำหน้าที่ได้เท่าที่จำเป็น ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 ทำให้เกิดปัญหาการบริหารประเทศมากมาย ซึ่งหากปล่อยให้เนิ่นนานมากกว่านี้อีกต่อไป เศรษฐกิจของประเทศ ก็จะล่มสลาย ประชาชนก็จะได้รับความเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า
เพื่อเป็นการแก้ปัญหาของบ้านเมืองในปัจจุบัน รัฐบาลรักษาการ ควรลาออกจากตำแหน่งในช่วงเวลานี้ ก็จะทำให้สถานการณ์บ้านเมืองดีขึ้น ซึ่งน่าจะดีกว่ารอไปให้ถึงวันที่ 1 เม.ย.57 อย่างแน่นอน ดีกว่าปล่อยให้ประชาชน ออกมาปะทะ ออกมาสู้รบกันเองให้บาดเจ็บล้มตาย ซึ่งจะกลายเป็นสงครามกลางเมืองในที่สุด และดีกว่าปล่อยให้เศรษฐกิจของประเทศต้องล่มสลาย พังพินาศเสียหาย เนื่องจากสถานการณ์บ้านเมืองเป็นอยู่ในปัจจุบัน
ทั้งนี้ เนื้อหาในเฟซบุ๊ก ระบุว่า ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกาให้มีการยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.56 ทำให้อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 106 และทำให้รัฐมนตรีทั้งคณะ พ้นจากตำแหน่ง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 180 ซึ่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 กำหนดให้คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ เท่ากับคณะรัฐมนตรีปัจจุบัน คงทำหน้าที่รักษาการตามที่พูดกัน
แต่รัฐบาลชุดปัจจุบันที่ทำหน้าที่รักษาการอยู่ จะมีอายุเวลารักษาการเท่าใดนั้นรัฐธรรมนูญ มาตรา 127 ได้บัญญัติว่าภายใน 30 วัน นับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้มีการเรียกประชุมรัฐสภา เพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก ก็เพื่อจะให้มีการเลือกนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 172 ทำให้เห็นว่า รัฐธรรมนูญก็มีเจตนาที่จะให้มีนายกรัฐมนตรีโดยเร็ว และไม่ต้องการให้คณะรัฐมนตรีรักษาการไปนานๆ เพราะมีข้อจำกัดในเรื่องอำนาจหน้าที่ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 ดังกล่าว
ซึ่งหลังจากวันที่ 2 ก.พ.57 ซึ่งเป็นวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ตอนนี้ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า ยังไม่สามารถเลือกตั้งให้ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครบจำนวน 95 % ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 93 หากมีการประชุมรัฐสภาครั้งแรก ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 127 คงมีได้เฉพาะสมาชิกวุฒิสภาที่ทำหน้าที่รัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 132 เท่านั้น เพราะยังไม่มีสภาผู้แทนราษฎร แต่ถือว่าเป็นเจตจำนงที่รัฐธรรมนูญ ประสงค์ให้มีการประชุมรัฐสภาครั้ง แรกภายใน 30 วัน นับแต่วันเลือกตั้งดังกล่าว ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 2 ม.ค.57
การเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ.ที่ผ่านมา ก็มีปัญหามากมาย ที่จะถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าเป็นโมฆะหรือไม่ ?
ส่วนการจัดการเลือกตั้งต่อไปได้หรือไม่นั้น ก็ยังเป็นปัญหา เพราะรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 กำหนดให้วันเลือกตั้ง ต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร แต่ที่ผ่านมาการเลือกตั้งไม่สามารถทำได้วันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร
ซึ่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 172 ได้บัญญัติว่า ให้สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคล ซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ให้แล้ว เสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภา เป็นครั้งแรก ตามมาตรา 127 โดยจะครบกำหนดเวลาในวันที่ 1 เม.ย.57
เท่ากับว่า ตามมาตรา 172 และ มาตรา 127 ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลรักษาการย่อมมีอายุอยู่ได้ถึง วันที่ 1 เม.ย.57 เท่านั้น และในที่สุด นับแต่วันที่ 2 เม.ย.57 ประเทศไทย ก็จะไม่มีรัฐบาลรักษาการอีกต่อไป และเมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ของประเทศในปัจจุบัน การเลือกตั้งที่จะให้ได้ส.ส. จำนวน 95 % ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 127 เพื่อจะให้เปิดประชุมรัฐสภาภายใน 30 วันนั้น ไม่อาจกระทำได้แน่นอน และการให้สภาผู้แทนราษฎร เห็นชอบแต่งตั้งบุคคลให้เป็นนายกรัฐมนตรีได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกดังกล่าว ก็ไม่อาจกระทำได้ อายุของคณะรัฐมนตรีรักษาการ ก็จะสิ้นสุดในวันที่ 1 เม.ย.57
รัฐบาลรักษาการ ก็คงทำหน้าที่ได้เท่าที่จำเป็น ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 ทำให้เกิดปัญหาการบริหารประเทศมากมาย ซึ่งหากปล่อยให้เนิ่นนานมากกว่านี้อีกต่อไป เศรษฐกิจของประเทศ ก็จะล่มสลาย ประชาชนก็จะได้รับความเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า
เพื่อเป็นการแก้ปัญหาของบ้านเมืองในปัจจุบัน รัฐบาลรักษาการ ควรลาออกจากตำแหน่งในช่วงเวลานี้ ก็จะทำให้สถานการณ์บ้านเมืองดีขึ้น ซึ่งน่าจะดีกว่ารอไปให้ถึงวันที่ 1 เม.ย.57 อย่างแน่นอน ดีกว่าปล่อยให้ประชาชน ออกมาปะทะ ออกมาสู้รบกันเองให้บาดเจ็บล้มตาย ซึ่งจะกลายเป็นสงครามกลางเมืองในที่สุด และดีกว่าปล่อยให้เศรษฐกิจของประเทศต้องล่มสลาย พังพินาศเสียหาย เนื่องจากสถานการณ์บ้านเมืองเป็นอยู่ในปัจจุบัน