ยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ
อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
3/ ก.พ. /57
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดและเป็นกฎหมายแม่แบบที่กำหนดคุณลักษณะ (Character )อุดมการณ์ (Conception ) ของการบริหารราชการแผ่นดินตามหลักการในระบอบประชาธิปไตย(Sovereign Power) อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน อำนาจทั้งหมดของรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นอำนาจโดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือโดยกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายอื่นใด ก็ล้วนเป็นอำนาจที่สืบสมุฏฐานมาจากอำนาจของประชาชนทั้งสิ้น รัฐธรรมนูญจึงเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสังคมทุกภาคส่วนที่ต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ และจะตีความการใช้รัฐธรรมนูญเพื่อล่วงล้ำอำนาจในทางรัฐธรรมนูญของประชาชนที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติรับรองไว้ไม่ได้ และจะตีความให้ฝ่ายบริหารมีอำนาจบริหารเกินกว่าที่รัฐธรรมนูญกำหนดบัญญัติให้อำนาจไว้ไม่ได้เช่นกัน
การที่รัฐบาลได้ยุบสภาและได้ออกพระราชกฤษฎีกายุบสภา โดยกำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป เป็นการใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญมาตรา 108 ซึ่งก็คือ การสิ้นสุดของการเป็นผู้แทนของประชาชนโดยการคืนอำนาจอธิปไตยในการบริหารราชการแผ่นดินให้แก่ประชาชน ภายใต้เงื่อนไขที่ฝ่ายบริหารจะต้องไปกำหนดวันเลือกตั้งเพื่อให้ประชาชนไปมีฉันทานุมัติ ( Unanimous ) ตั้งผู้แทนฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติใหม่ด้วยการเลือกตั้ง โดยมีฉันทานุมัติให้การเลือกตั้งนั้น จะต้องกระทำขึ้นในวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักรตามรัฐธรรมนูญมาตรา 108
เมื่อนายกรัฐมนตรีผู้นำฝ่ายบริหารได้กำหนดวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นวันเลือกตั้ง ในขณะที่ประชาชนกำลังชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ เรียกร้องให้มีการปฏิรูปประเทศและขอให้รัฐบาลลาออกเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ใช้อำนาจอธิปไตยของตนเองในการปฏิรูประเทศก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง แล้วให้ประชาชนทำการเลือกตั้งเพื่อมีฉันทานุมัติมอบอำนาจอธิปไตยของประชาชนให้ผู้แทนไปดำเนินการใช้อำนาจในภายหลังแทนการยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งในทันทีนั้น จึงเป็นการที่รัฐบาลใช้ความได้เปรียบทางการเมืองมาดำเนินการตามวิถีทางรัฐธรรมนูญ โดยถือเอาประชาชนเป็นวัตถุแห่งการเลือกตั้งไม่ใช่ถือเอาการเลือกตั้งนั้นเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน จึงไม่เกิดจุดอับในทางรัฐธรรมนูญ เพราะกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้นเป็นกฎหมายที่มีคุณลักษณะและอุดมการณ์ในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไม่ใช่เป็นการคุ้มครองสิทธิและอำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหาร เพราะอำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหารนั้นเป็นอำนาจอธิปไตยของประชาชน การตีความรัฐธรรมนูญไม่อาจตีความเพื่อเอื้อประโยชน์ หรือขยายอำนาจเพื่อให้อำนาจแก่ฝ่ายบริหาร หรืออำนาจคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นองค์กรอิสระให้มีอำนาจหน้าที่เกินกว่าหรือที่นอกเหนือกว่าที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ไม่ได้ เพราะอำนาจดังกล่าวล้วนเป็นอำนาจของประชาชนทั้งสิ้น
เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ดำเนินการเลือกตั้งทั่วไป ( ให้ประชาชนเลือกผู้แทนเพื่อนำฉันทานุมัติของประชาชนมาใช้ในการทำหน้าที่เป็นผู้แทน ) แต่ไม่อาจดำเนินการได้ตามความมุ่งหมายตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยไม่อาจทำการเลือกตั้งได้ในวันเดียวกันเพื่อให้ได้ฉันทานุมัติของประชาชนพร้อมกันทั่วราชอาณาจักรแล้ว จึงเป็นการเลือกตั้งที่ไม่อาจได้ฉันทานุมัติของประชาชนมาเป็นอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินได้เลย และประธานกรรมการการเลือกตั้งได้แถลงการณ์ว่าไม่อาจประกาศผลการเลือกตั้งได้ โดยแถลงจะรอผลการเลือกตั้งล่วงหน้าก่อน และได้แถลงถึงการไม่อาจดำเนินการเลือกตั้งได้ในหลายจังหวัดและหลายเขตเลือกตั้ง ฉันทานุมัติของประชาชนที่จะให้มีผู้แทนราษฎรไปใช้อำนาจแทนประชาชนจึงไม่อาจเกิดขึ้นได้เลย ไม่ว่าในกรณีใด และจะดำเนินการบิดเบือนเพื่อให้เกิดฉันทานุมัติของประชาชน โดยกำหนดวันเลือกตั้งในเขตที่เลือกตั้งไม่ได้นั้นก็ไม่อาจกระทำได้ ไม่ว่าโดยรัฐบาลหรือโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพราะการกระทำดังกล่าวย่อมเป็นการกระทำที่นอกเหนือบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ (Extraconstitutional )
เมื่อนายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาและกำหนดวันเลือกตั้งเป็นวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 นั้น คณะรัฐมนตรีทั้งคณะ(รวมทั้งนายกรัฐมนตรี) ได้พ้นจากตำแหน่ง แต่คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ (ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 181 ) การอยู่ในตำแหน่งของคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งจึงมีอำนาจหน้าที่โดยอาศัยรัฐธรรมนูญมาตรา 181 ไม่ใช่อาศัยอำนาจของประชาชนโดยตรง เพราะอำนาจของประชาชนดังกล่าวฝ่ายบริหารได้คืนอำนาจให้กับประชาชนแล้วโดยการยุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้งไปแล้ว อำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งและอยู่ในตำแหน่งตามมาตรา 181 จึงไม่ใช่เป็นอำนาจการใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 3 และการอยู่ในตำแหน่งของคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งดังกล่าว ต้องอยู่ในตำแหน่งภายใต้เงื่อนไขว่า จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ามารับหน้าที่ เมื่อเงื่อนไขที่จะมีคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ไม่อาจเกิดขึ้นได้อย่างแน่แท้ เพราะไม่มีฉันทานุมัติของประชาชนที่จะมีผู้แทนราษฎรได้แล้ว ก็ไม่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งไม่สามารถเรียกประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และไม่อาจดำเนินการให้มีสมัยประชุมสามัญทั่วไปและสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติในปีหนึ่งได้ ไม่มีสภาผู้แทนราษฎรที่จะกำหนดวันประชุมครั้งแรกได้ เรียกประชุมสมัยวิสามัญเพื่อแถลงนโยบายไม่ได้ ไม่มีสภาผู้แทนราษฎรก็แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เรียกให้มีการประชุมรัฐสภาครั้งแรกไม่ได้ และไม่อาจมีคณะรัฐมนตรีใหม่ขึ้นได้ ทั้งนี้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 127, 129 ,136 (12) , 171,172, 176 กระบวนการตามรัฐธรรมนูญดังกล่าว ซึ่งมีกำหนดเวลาที่จะต้องดำเนินการที่แน่นอนนั้น เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสิทธิหน้าที่และเสรีภาพของประชาชน ไม่ใช่กระบวนการที่เป็นอำนาจหน้าที่โดยเป็นสิทธิเด็ดขาดของคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง หรือคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่อย่างใดไม่ การใช้สิทธิของคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง หรือการใช้สิทธิของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่มีผลกระทบต่อฉันทานุมัติของประชาชนย่อมเป็นการกระทำที่เข้าข่ายเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญตามมาตรา 68 ซึ่งประชาชนย่อมเกิดสิทธิที่จะต่อต้านในการกระทำดังกล่าวของคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งและคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 69
เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่อาจดำเนินการให้มีการเลือกตั้ง เพื่อให้เกิดฉันทานุมัติของประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไปได้ ไม่ว่าจะเกิดจากการกระทำของฝ่ายใดก็ตามย่อมมีผลในทางรัฐธรรมนูญ เพราะไม่มีคณะรัฐมนตรีที่จะตั้งขึ้นใหม่ที่จะเข้ารับหน้าที่แทนอย่างแน่แท้ คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งย่อมไม่อาจอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ได้อีกต่อไป เงื่อนไขในการอยู่ในตำแหน่งเพื่อทำหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งสิ้นสุดลงโดยผลแห่งรัฐธรรมนูญมาตรา 127 , 129, 136 (12) ,171,172,176 และอำนาจอธิปไตยได้กลับคืนมาเป็นอำนาจของประชาชนโดยสมบูรณ์ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 3 จึงเป็นหน้าที่ของกปปส.ที่จะต้องดำเนินการแจ้งให้คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งให้หยุดปฏิบัติการซึ่งเคยเป็นอำนาจหน้าที่นั้นเสียโดยไม่จำเป็นต้องลาออก ตลอดจนต้องแจ้งหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องรวมทั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งให้ทราบถึงการหมดอำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งนั้นๆด้วย การดำเนินการใดๆของคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งและผู้ที่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวย่อมเป็นการอันไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ผิดกฎหมาย ซึ่งต้องรับผิดชอบทั้งทางแพ่งและทางอาญาเป็นการส่วนตัว
อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
3/ ก.พ. /57
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดและเป็นกฎหมายแม่แบบที่กำหนดคุณลักษณะ (Character )อุดมการณ์ (Conception ) ของการบริหารราชการแผ่นดินตามหลักการในระบอบประชาธิปไตย(Sovereign Power) อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน อำนาจทั้งหมดของรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นอำนาจโดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือโดยกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายอื่นใด ก็ล้วนเป็นอำนาจที่สืบสมุฏฐานมาจากอำนาจของประชาชนทั้งสิ้น รัฐธรรมนูญจึงเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสังคมทุกภาคส่วนที่ต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ และจะตีความการใช้รัฐธรรมนูญเพื่อล่วงล้ำอำนาจในทางรัฐธรรมนูญของประชาชนที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติรับรองไว้ไม่ได้ และจะตีความให้ฝ่ายบริหารมีอำนาจบริหารเกินกว่าที่รัฐธรรมนูญกำหนดบัญญัติให้อำนาจไว้ไม่ได้เช่นกัน
การที่รัฐบาลได้ยุบสภาและได้ออกพระราชกฤษฎีกายุบสภา โดยกำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป เป็นการใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญมาตรา 108 ซึ่งก็คือ การสิ้นสุดของการเป็นผู้แทนของประชาชนโดยการคืนอำนาจอธิปไตยในการบริหารราชการแผ่นดินให้แก่ประชาชน ภายใต้เงื่อนไขที่ฝ่ายบริหารจะต้องไปกำหนดวันเลือกตั้งเพื่อให้ประชาชนไปมีฉันทานุมัติ ( Unanimous ) ตั้งผู้แทนฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติใหม่ด้วยการเลือกตั้ง โดยมีฉันทานุมัติให้การเลือกตั้งนั้น จะต้องกระทำขึ้นในวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักรตามรัฐธรรมนูญมาตรา 108
เมื่อนายกรัฐมนตรีผู้นำฝ่ายบริหารได้กำหนดวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นวันเลือกตั้ง ในขณะที่ประชาชนกำลังชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ เรียกร้องให้มีการปฏิรูปประเทศและขอให้รัฐบาลลาออกเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ใช้อำนาจอธิปไตยของตนเองในการปฏิรูประเทศก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง แล้วให้ประชาชนทำการเลือกตั้งเพื่อมีฉันทานุมัติมอบอำนาจอธิปไตยของประชาชนให้ผู้แทนไปดำเนินการใช้อำนาจในภายหลังแทนการยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งในทันทีนั้น จึงเป็นการที่รัฐบาลใช้ความได้เปรียบทางการเมืองมาดำเนินการตามวิถีทางรัฐธรรมนูญ โดยถือเอาประชาชนเป็นวัตถุแห่งการเลือกตั้งไม่ใช่ถือเอาการเลือกตั้งนั้นเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน จึงไม่เกิดจุดอับในทางรัฐธรรมนูญ เพราะกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้นเป็นกฎหมายที่มีคุณลักษณะและอุดมการณ์ในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไม่ใช่เป็นการคุ้มครองสิทธิและอำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหาร เพราะอำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหารนั้นเป็นอำนาจอธิปไตยของประชาชน การตีความรัฐธรรมนูญไม่อาจตีความเพื่อเอื้อประโยชน์ หรือขยายอำนาจเพื่อให้อำนาจแก่ฝ่ายบริหาร หรืออำนาจคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นองค์กรอิสระให้มีอำนาจหน้าที่เกินกว่าหรือที่นอกเหนือกว่าที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ไม่ได้ เพราะอำนาจดังกล่าวล้วนเป็นอำนาจของประชาชนทั้งสิ้น
เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ดำเนินการเลือกตั้งทั่วไป ( ให้ประชาชนเลือกผู้แทนเพื่อนำฉันทานุมัติของประชาชนมาใช้ในการทำหน้าที่เป็นผู้แทน ) แต่ไม่อาจดำเนินการได้ตามความมุ่งหมายตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยไม่อาจทำการเลือกตั้งได้ในวันเดียวกันเพื่อให้ได้ฉันทานุมัติของประชาชนพร้อมกันทั่วราชอาณาจักรแล้ว จึงเป็นการเลือกตั้งที่ไม่อาจได้ฉันทานุมัติของประชาชนมาเป็นอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินได้เลย และประธานกรรมการการเลือกตั้งได้แถลงการณ์ว่าไม่อาจประกาศผลการเลือกตั้งได้ โดยแถลงจะรอผลการเลือกตั้งล่วงหน้าก่อน และได้แถลงถึงการไม่อาจดำเนินการเลือกตั้งได้ในหลายจังหวัดและหลายเขตเลือกตั้ง ฉันทานุมัติของประชาชนที่จะให้มีผู้แทนราษฎรไปใช้อำนาจแทนประชาชนจึงไม่อาจเกิดขึ้นได้เลย ไม่ว่าในกรณีใด และจะดำเนินการบิดเบือนเพื่อให้เกิดฉันทานุมัติของประชาชน โดยกำหนดวันเลือกตั้งในเขตที่เลือกตั้งไม่ได้นั้นก็ไม่อาจกระทำได้ ไม่ว่าโดยรัฐบาลหรือโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพราะการกระทำดังกล่าวย่อมเป็นการกระทำที่นอกเหนือบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ (Extraconstitutional )
เมื่อนายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาและกำหนดวันเลือกตั้งเป็นวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 นั้น คณะรัฐมนตรีทั้งคณะ(รวมทั้งนายกรัฐมนตรี) ได้พ้นจากตำแหน่ง แต่คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ (ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 181 ) การอยู่ในตำแหน่งของคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งจึงมีอำนาจหน้าที่โดยอาศัยรัฐธรรมนูญมาตรา 181 ไม่ใช่อาศัยอำนาจของประชาชนโดยตรง เพราะอำนาจของประชาชนดังกล่าวฝ่ายบริหารได้คืนอำนาจให้กับประชาชนแล้วโดยการยุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้งไปแล้ว อำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งและอยู่ในตำแหน่งตามมาตรา 181 จึงไม่ใช่เป็นอำนาจการใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 3 และการอยู่ในตำแหน่งของคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งดังกล่าว ต้องอยู่ในตำแหน่งภายใต้เงื่อนไขว่า จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ามารับหน้าที่ เมื่อเงื่อนไขที่จะมีคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ไม่อาจเกิดขึ้นได้อย่างแน่แท้ เพราะไม่มีฉันทานุมัติของประชาชนที่จะมีผู้แทนราษฎรได้แล้ว ก็ไม่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งไม่สามารถเรียกประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และไม่อาจดำเนินการให้มีสมัยประชุมสามัญทั่วไปและสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติในปีหนึ่งได้ ไม่มีสภาผู้แทนราษฎรที่จะกำหนดวันประชุมครั้งแรกได้ เรียกประชุมสมัยวิสามัญเพื่อแถลงนโยบายไม่ได้ ไม่มีสภาผู้แทนราษฎรก็แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เรียกให้มีการประชุมรัฐสภาครั้งแรกไม่ได้ และไม่อาจมีคณะรัฐมนตรีใหม่ขึ้นได้ ทั้งนี้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 127, 129 ,136 (12) , 171,172, 176 กระบวนการตามรัฐธรรมนูญดังกล่าว ซึ่งมีกำหนดเวลาที่จะต้องดำเนินการที่แน่นอนนั้น เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสิทธิหน้าที่และเสรีภาพของประชาชน ไม่ใช่กระบวนการที่เป็นอำนาจหน้าที่โดยเป็นสิทธิเด็ดขาดของคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง หรือคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่อย่างใดไม่ การใช้สิทธิของคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง หรือการใช้สิทธิของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่มีผลกระทบต่อฉันทานุมัติของประชาชนย่อมเป็นการกระทำที่เข้าข่ายเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญตามมาตรา 68 ซึ่งประชาชนย่อมเกิดสิทธิที่จะต่อต้านในการกระทำดังกล่าวของคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งและคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 69
เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่อาจดำเนินการให้มีการเลือกตั้ง เพื่อให้เกิดฉันทานุมัติของประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไปได้ ไม่ว่าจะเกิดจากการกระทำของฝ่ายใดก็ตามย่อมมีผลในทางรัฐธรรมนูญ เพราะไม่มีคณะรัฐมนตรีที่จะตั้งขึ้นใหม่ที่จะเข้ารับหน้าที่แทนอย่างแน่แท้ คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งย่อมไม่อาจอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ได้อีกต่อไป เงื่อนไขในการอยู่ในตำแหน่งเพื่อทำหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งสิ้นสุดลงโดยผลแห่งรัฐธรรมนูญมาตรา 127 , 129, 136 (12) ,171,172,176 และอำนาจอธิปไตยได้กลับคืนมาเป็นอำนาจของประชาชนโดยสมบูรณ์ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 3 จึงเป็นหน้าที่ของกปปส.ที่จะต้องดำเนินการแจ้งให้คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งให้หยุดปฏิบัติการซึ่งเคยเป็นอำนาจหน้าที่นั้นเสียโดยไม่จำเป็นต้องลาออก ตลอดจนต้องแจ้งหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องรวมทั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งให้ทราบถึงการหมดอำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งนั้นๆด้วย การดำเนินการใดๆของคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งและผู้ที่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวย่อมเป็นการอันไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ผิดกฎหมาย ซึ่งต้องรับผิดชอบทั้งทางแพ่งและทางอาญาเป็นการส่วนตัว