xs
xsm
sm
md
lg

ความจริงของการเลือกตั้งยังคงรักษาอัปรีย์จัญไรให้คงอยู่ต่อไป

เผยแพร่:   โดย: ดร.ป. เพชรอริยะ

มีคนสำคัญคนหนึ่งได้ถามว่า “ท่าน อ. ดร. ป. เลือกตั้งแล้วมันก็ยังคงรักษา อัปรีย์จัญไรเช่นเดิม หรือระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญอันยาวนาน 81 ปี ที่ท่านเสนอนั้น มันเป็นอย่างไรหรือ”

ตอบสั้นๆ ตอบยากมาก อธิบายแล้วก็ยากที่จะเข้าใจ ดังนั้นขอตอบท่าน และท่านอื่นๆ ที่สงสัยด้วยการให้ปัญญา เมื่อได้องค์ความรู้นี้แล้ว ก็จะมองออกเองว่าประเทศไทยนั้น มีระบอบการเมืองเผด็จการที่เอาประชาชนมาเป็นทาสทางการเมือง แต่หลอกว่าเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยการหลอกว่า “2 กุมภา เข้าคูหา รักษาระบอบประชาธิปไตย” นี่คือป้ายคัตเอาท์ หาเสียงของพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นการโกหก หลอกลวงทาสทางการเมือง ให้ เข้าใจผิดต่อไปและต่อไปเรื่อยๆ ให้ยาวนานออกไป จนกระทั่งคนไทยไม่รู้จักเลยว่าระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงนั้นเป็นอย่างไร “พรรคการเมืองทุกพรรคมันสอนให้ประชาชนหลงผิด “เห็นกงจักรเป็นดอกบัว เห็นระบอบโคตรชั่วๆๆ ว่าเป็นระบอบประชาธิปไตย” บางคนยอมตายแทนพรรคเพื่อไทย เพื่อจะไปใช้สิทธิทางการเมืองที่ตนเชื่อและหลงผิดอย่างร้ายแรงตามนักการเมืองว่า “เลือกตั้งรักษาระบอบประชาธิปไตย”

แท้ที่จริงแล้ว“การเลือกตั้งทุกครั้งในประเทศไทยเป็นการเลือกตั้งเพื่อรักษาระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น” บางคนให้ความเห็นว่า “เป็นการเลือกตั้งระบอบเผด็จการรัฐสภา” บางคนพูดว่า “เลือกตั้งเพื่อแม้ว” ซึ่งทั้งสอง เป็นผลหรือเป็นเงาของระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญ “ระบอบเลว รัฐบาลเลว ปกครองเลว (ใช้อำนาจไปในทางที่เลว กดขี่ ขูดรีด ต่อประชาชน)”

ระบอบเผด็จการคือระบอบที่นักการเมือง กลุ่มทุนสามานย์เป็นใหญ่ โดยใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นวิธีการหรือเครื่องมือในการปกครองเพื่อประโยชน์ของพวกพ้องนักการเมือง เราจึงเห็น “การคอร์รัปชันมากมายมหาศาลทั่วทั้งประเทศ” การจะปราบคอร์รัปชันต้องโค่นระบอบเผด็จการ (ปฏิวัติ) เปลี่ยนการเมืองอันมีนักการเมืองและทุนสามานย์ เป็นศูนย์กลาง เป็นการเมืองใหม่ของปวงชนด้วยการเสนอหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 โดยมีหลักประกันความยุติธรรมคือหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 ศูนย์กลาง จึงเป็นความถูกต้องที่แท้จริง

ท่านทั้งหลาย ระหว่าง (บุคคล) คือนักการเมือง ทุนสามานย์ เป็นศูนย์กลางการปกครองกับการที่มีหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 เป็นศูนย์กลางการปกครอง อย่างไหนจะดีกว่ากัน ท่านก็พิจารณาด้วยปัญญาเถิด หากทุกท่านเลือกที่จะเลือกแก่นแท้ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ก็พึงเชิดชูหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 เถิด ประชาชนก็จะมีการเมืองของประชาชน ชาวนาก็จะมีการเมืองของชาวนา กรรกร ก็จะมีการเมืองของกรรมการ นักศึกษาก็จะมีแนวการของนักศึกษา ที่มีคุณภาพที่สุดและพ้นจากความเป็นทาสทางการเมือง

เอาละ จะอธิบายองค์ความรู้สำคัญที่จะเป็นแกนนำธรรมาธิปไตยได้อย่างมีปัญญาที่แท้จริง จะเสนอ 3 มิติ 5 ลักษณะ อันเป็นสัจธรรมลักษณะของกฎธรรมชาติ

มิติแรก สองลักษณะ เอาแบบง่ายๆ ไปสู่ความลึกซึ้ง ตั้งใจฟังนะ (อ่าน)

มิติที่ 1 สัมพันธภาพระหว่างองค์เอกภาพกับความแตกต่างหลากหลาย

มิติที่ 2 สัมพันธภาพระหว่างองค์เอกภาพซึ่งมีลักษณะ แผ่กระจายออกไปเป็นรัศมี 360 องศา หรืออันเป็นลักษณะให้ก่อน ให้โอกาสก่อน ให้พระคุณ ให้ความเมตตาแผ่กระจายออกไป ฯลฯ) กับส่วนลักษณะที่แตกต่างหลากหลาย มีลักษณะหรือมีหน้าที่ที่จะต้องมุ่งหน้าพัฒนาเข้าหาศูนย์กลางหรือองค์เอกภาพ

ทั้งสองมิติใน 4 ลักษณะดังกล่าวนั้น ก่อให้เกิดมิติที่สาม ลักษณะที่ 5 คือ ดุลยภาพ

สัจธรรม ทฤษฎี (กฎธรรมชาติ) มีแค่นี้ สั้นๆ ง่ายๆ

เอาละ เราจะนำสัจธรรมทฤษฎีนี้มาอธิบายจากง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน

เพราะกฎนี้มันครอบคลุม ทุกเรื่องอธิบายได้ทุกเรื่อง นับตั้งแต่เรื่องกินอาหาร ไปโรงเรียน ไปวัด ไปมหาวิทยาลัย และระบอบการเมืองโดยธรรม ฯลฯ

เอาละ ประยุกต์ใช้กันเลยนะ หลายคนเป็นเจ้าหน้าที่ หลายคนเป็นนักศึกษา หลายคนเคยไปเดินเที่ยว ใน ม.ธรรมศาสตร์

ม.ธรรมศาสตร์ (หรือโรงเรียนใดๆ หรือองค์กร ใด เช่น บ้าน วัด ที่ทำงาน โรงพยาบาล ฯลฯ) เป็นลักษณะองค์เอกภาพหนึ่ง

ส่วน เจ้าหน้าที่ นักศึกษา เป็นฝ่ายแตกต่างหลากหลาย

เราจะเห็น ได้ว่า ม.ธรรมศาสตร์ ให้โอกาสก่อนแก่คนทุกคน เข้าสู่ ม.ธรรมศาสตร์ ได้ทั้งการสมัครงาน ทำงานและเรียน

ขณะเดียวกัน ด้านความแตกต่างหลากหลาย ต่างก็มุ่งหน้าเข้าหาองค์เอกภาพ คือ ม.ธรรมศาสตร์ ด้วยเป้าประสงค์ที่แตกต่างหลากหลายแต่จุดหมายเดียวกันคือ ม.ธรรมศาสตร์

จึงก่อให้เกิดดุลยภาพมายาวนานกว่า 78 ปี (2477-2557) ถ้า ม.ธรรมศาสตร์ ไม่ให้โอกาสก่อน ไม่มีพระคุณ ไม่เมตตา ฯลฯ อันใครๆ ก็เข้าไปไม่ได้แสดงให้เห็นว่า องค์เอกภาพหรือจุดหมายต้องเกิดก่อน ต้องมาก่อน ต้องมีอยู่ก่อน วิธีการไปเสมอไป และวิธีการไป ก็ย่อมแตกต่างหลากหลาย เช่น เดิน วิ่ง ขี่จักรยาน รถยนต์ เกวียน ฯลฯ

ลองเขียนวงกลมเล็กๆ แสดงเป็นองค์เอกภาพ แล้วขีดรัศมีแผ่ออกไปทั่วทิศ 360 องศา (จะทำให้เข้าใจง่ายขึ้น) ขณะเดียวกัน บุคคลจากทั่วสารทิศ ทั่วประเทศ ต่างก็มุ่งหน้าเข้าหาวงกลมก็คือ ม.ธรรมศาสตร์)

ข้อสังเกตอีกอย่าง ม.ธรรมศาสตร์ไม่ตาย แต่บุคคลที่มาติดต่อเจ้าหน้าที่ นักศึกษา ทยอยกันตายกันไปเรื่อยๆ นับแต่รุ่นแรกจนปัจจุบันตรงนี้ แสดงให้เห็นถึงสัมพันธภาพระหว่างฝ่ายที่ไม่เปลี่ยนแปลงกับฝ่ายที่เปลี่ยนแปลง

ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่ง จุดหมายไม่เปลี่ยนแปลง แต่วิธีการเข้าถึงจุดหมายอันแตกต่างหลากหลายเปลี่ยนแปลงได้เสมออันเป็นไปตามเงื่อนไขและสถานการณ์

จุดหมายกับองค์เอกภาพคือตัวเดียวกัน ใช่ไหม ใช่แล้ว

จากนั้น เรานำองค์ความรู้นี้ไปจับไปมององค์กรต่างๆ เช่น เรื่อง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ระบบสุริยจักรวาล ก็ในทำนองเดียวกันนี้

และที่สำคัญต้องประยุกต์ใช้ในทางการเมือง อันเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด แต่ก่อนถึงตรงนั้น เรามาพิจารณาตรงนี้ก่อนนะ

หากเราย่อส่วนเล็กลงมา ณ ที่ห้องเรียนย่อมให้โอกาสแก่คนทุกคน ทั้งครู และนักศึกษา ฯลฯ ห้องเรียนเป็นเอกภาพของทุกคนเป็นความแตกต่างหลากหลาย ถ้าใช้ห้องเรียนนี้ จึงดุลยภาพอยู่ได้ในคาบเวลาเรียนนั้นๆ

และเมื่อครู-อาจารย์เริ่มสอนนั่นก็หมายความว่าครู (ดี) ย่อมแผ่เมตตาให้โอกาส ฯลฯ ให้แก่ศิษย์ทุกๆ คน

ขณะเดียวกัน ศิษย์ (ดี) ก็จะตั้งใจฟังคุณครู-อาจารย์ (โฟกัส) เล็งไปที่ครู-อาจารย์อย่างตั้งใจฟัง ตั้งใจเรียน

สัจธรรมนี้สุดยอดไหมสามระดับแล้วนะ 1. ม.ธรรมฯ 2.ห้องเรียน 3.ครู-อาจารย์

หากเราไปที่ รพ.ศิริราช ก็เช่นเดียวกัน ในทำนองเดียวกัน

หากเราจะเป็นนักเรียน นักศึกษาที่ดี ก็คิดแบบองค์เอกภาพ คือชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล ฯลฯ

และหากว่าเราคิดจะเป็นนักการเมือง เราก็ต้องคิดแบบองค์เอกภาพดังกล่าว คือ คิดแผ่เมตตามหาศาล คิดให้ เฉกเช่น องค์พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ ฯลฯ ดังกล่าวแล้ว

ต่อจากนี้ จะเป็นการทดสอบความเข้าใจ จากรูปที่ให้วาดเมื่อสักครู่นี้ ลักษณะอย่างนี้

ถามว่า เส้นสีอะไร เป็นลักษณะของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดพระแก้ว ม.ธรรมศาสตร์ (รวมทุกองค์กร)

ตอบ เส้นสีฟ้า เจ้าค่ะ / ครับ...เก่งมาก

ถาม เส้นสีอะไร เป็นประชาชน, เป็นพุทธบริษัท 4, เป็นพสกนิกร, เป็นชาวพุทธและคนไปชมวัดพระแก้ว, เป็นเจ้าหน้าที่, เป็นนักศึกษา ฯลฯ

ตอบ เส้นสีแดง เจ้าค่ะ/ครับ...เก่งมาก พวกเธอทั้งหลายเข้าใจดีแล้ว ฉลาดกว่านักการเมือง ผู้ปกครองทั้งหมดที่ตายไปแล้วและที่มีชีวิตอยู่

ดังนี้แล้ว ขอให้พิจารณารูปนี้และนำไปคิด คิด คิดต่อ ว่าไทยเรานั้นจะต้องปฏิวัติ (Revolution) ทางการเมืองอย่างสันติและเปิดเผย

กำลังโหลดความคิดเห็น