ASTVผู้จัดการรายวัน- สุญญากาศการเมืองพ่นพิษทำโครงการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ทั้งระบบป่วน! มูลค่าลงทุนกว่า6หมื่นล้านบ.ชะงักงัน โซล่ารูฟท็อปหมื่นลบ.หนักสุดเหตุลงนามซื้อขายไฟแล้วเอกชนนำเข้าอุปกรณ์แบกรับภาระหลังแอ่นจากความไม่ชัดเจนรง.4 ต้องรอรัฐบาลใหม่เคาะ เล็งยื่นหนังสือเรกูเลเตอร์แจงขั้นตอนขอขยายเวลาขายไฟเดือนก.พ.
นายดุสิต เครืองาม นายกสมาคมอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ไทย เปิดเผยว่า จากกรณีที่รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกาศยุบสภาฯทำให้นโยบายการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ทั้งโครงการโซล่าร์เซลล์บนหลังคาบ้าน อาคาร โรงงาน(โซล่าร์รูฟท็อป)ประมาณ 150 เมกะวัตต์เงินลงทุนรวมประมาณ 1.05 หมื่นล้านบาท และโซล่าร์ชุมชนที่รัฐเตรียมจะส่งเสริมอีก 800
เมกะวัตต์เงินลงทุนราว 5.6หมื่นล้านบาทต้องหยุดชะงักงันลงทันที โดยเฉพาะโซล่าร์รูฟท็อปที่เอกชนได้มีการลงนามขายไฟฟ้ากับภาครัฐไปแล้วต้องได้รับผลกระทบอย่างมาก
“ ทุกอย่างต้องรอรัฐบาลใหม่มาตัดสินใจแต่ปัญหาคือกรณีโซล่าร์รูฟท็อปมีผู้ยื่นเสนอขอติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป เป็นของบ้านพักอาศัยจำนวน 6 พันราย คิดเป็นกำลังผลิต 52.29 เมกะวัตต์ และมีอาคารธุรกิจ จำนวน 201 ราย กำลังผลิต 100 เมกะวัตต์ มูลค่าการลงทุน 1 หมื่นล้านบาทซึ่งจากการหารือล่าสุดผู้ประกอบการมากกว่า 60 รายทั้งที่เป็นเจ้าของเอง ผู้รับเหมาติดตั้ง ผู้นำเข้าและผลิตอุปกรณ์แผงโซล่าร์เซลล์ได้รับผลกระทบถ้วนหน้าในหลายรูปแบบ เช่นกรณีผู้นำเข้าต้องแบกภาระหนี้เพราะได้นำเข้าอุปกรณ์มาแล้วแต่ไม่สามารถติดตั้งได้ เจ้าของบ้านอาคารโรงงานเองก็ไม่กล้าติดบางรายที่เจรจาอยู่ก็ยกเลิกเลย ส่วนบางรายที่ตกลงก็ขอชะลอจนกว่านโยบายรัฐจะชัดเจน”นายดุสิตกล่าว
ทั้งนี้เร็วๆ นี้สมาคมฯจะทำหนังสือไปยังคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.)เพื่อขอความชัดเจน 1. กรณีที่สัญญาเดิมกำหนดให้จ่ายไฟเข้าระบบ(COD) สิ้นธ.ค. 56 ซึ่งรัฐเตรียมจะเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.)ขยายเวลาแต่ก็ยุบสภาฯก่อนต่อมาคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(เรกูเลเตอร์)อนุโลมให้ขยายได้อีก 1เดือนดังนั้นก็จะถามว่าหากจะขยายให้อีกเดือนก.พ.เอกชนจะต้องยื่นเอกสารอ้างอิงอย่างไรให้ชัดเจนซึ่งล่าสุดยังไม่มีการชี้แจง 2.ต้องการให้เรกูเลเตอร์ กระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงพลังงานระหว่างสุญญากาศเร่งร่างเกณฑ์โซล่าร์รูฟท็อปให้ได้รับยกเว้นการขอใบประกอบกิจการโรงงานหรือรง.4 เพื่อรัฐบาลใหม่มาจะได้เดินหน้าทันที
“ผมเคยเตือนแล้วว่ายังไม่พร้อมรัฐเองก็ยังเดินหน้ามาถึงตอนนี้กลายเป็นเทคนิคมีปัญหาทำต่อกันไม่ได้หมดใบ รง. 4 เรกูเลเตอร์บอกว่าให้ยื่นไปก่อนถ้าไม่ได้ยังไงเดี๋ยวค่อยว่ากันอย่าลืมว่าทุกอย่างมันก็ต้องมีค่าใช้จ่ายไหนจะค่าออกแบบ ค่าจ้างวิศวกรมารับรองแบบฯลฯแล้วถ้าโดนตีตกมันไม่ยุติธรรมสำหรับผู้ลงทุนทั้งที่ก่อนหน้ารัฐรับปากว่าทุกอย่างจะแก้ไขให้”นายดุสิตกล่าว
นายพิชัย ถิ่นสันติสุข ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อโครงการโซลาร์รูฟท็อปโดยเฉพาะอาคารโรงงาน ที่มีจำนวน 100 เมกะวัตต์ ดำเนินการไปเพียงไม่ถึง 20% เพราะติดปัญหาการขอใบอนุญาต รง.4 และกฎหมายผังเมืองทำให้ดำเนินงานได้ไม่ทันตามที่กำหนดในวันที่ 31ธ.ค. 56 แม้ว่าเรกูเลเตอร์จะผ่อนผันไปอีกประมาณ 1 เดือน หลังจากนี้ก็จะอนุโลมไปเรื่อยๆ ไม่ตัดสิทธิ์ที่ได้รับอนุญาตแต่ก็ขาดความชัดเจน
นายดุสิต เครืองาม นายกสมาคมอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ไทย เปิดเผยว่า จากกรณีที่รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกาศยุบสภาฯทำให้นโยบายการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ทั้งโครงการโซล่าร์เซลล์บนหลังคาบ้าน อาคาร โรงงาน(โซล่าร์รูฟท็อป)ประมาณ 150 เมกะวัตต์เงินลงทุนรวมประมาณ 1.05 หมื่นล้านบาท และโซล่าร์ชุมชนที่รัฐเตรียมจะส่งเสริมอีก 800
เมกะวัตต์เงินลงทุนราว 5.6หมื่นล้านบาทต้องหยุดชะงักงันลงทันที โดยเฉพาะโซล่าร์รูฟท็อปที่เอกชนได้มีการลงนามขายไฟฟ้ากับภาครัฐไปแล้วต้องได้รับผลกระทบอย่างมาก
“ ทุกอย่างต้องรอรัฐบาลใหม่มาตัดสินใจแต่ปัญหาคือกรณีโซล่าร์รูฟท็อปมีผู้ยื่นเสนอขอติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป เป็นของบ้านพักอาศัยจำนวน 6 พันราย คิดเป็นกำลังผลิต 52.29 เมกะวัตต์ และมีอาคารธุรกิจ จำนวน 201 ราย กำลังผลิต 100 เมกะวัตต์ มูลค่าการลงทุน 1 หมื่นล้านบาทซึ่งจากการหารือล่าสุดผู้ประกอบการมากกว่า 60 รายทั้งที่เป็นเจ้าของเอง ผู้รับเหมาติดตั้ง ผู้นำเข้าและผลิตอุปกรณ์แผงโซล่าร์เซลล์ได้รับผลกระทบถ้วนหน้าในหลายรูปแบบ เช่นกรณีผู้นำเข้าต้องแบกภาระหนี้เพราะได้นำเข้าอุปกรณ์มาแล้วแต่ไม่สามารถติดตั้งได้ เจ้าของบ้านอาคารโรงงานเองก็ไม่กล้าติดบางรายที่เจรจาอยู่ก็ยกเลิกเลย ส่วนบางรายที่ตกลงก็ขอชะลอจนกว่านโยบายรัฐจะชัดเจน”นายดุสิตกล่าว
ทั้งนี้เร็วๆ นี้สมาคมฯจะทำหนังสือไปยังคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.)เพื่อขอความชัดเจน 1. กรณีที่สัญญาเดิมกำหนดให้จ่ายไฟเข้าระบบ(COD) สิ้นธ.ค. 56 ซึ่งรัฐเตรียมจะเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.)ขยายเวลาแต่ก็ยุบสภาฯก่อนต่อมาคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(เรกูเลเตอร์)อนุโลมให้ขยายได้อีก 1เดือนดังนั้นก็จะถามว่าหากจะขยายให้อีกเดือนก.พ.เอกชนจะต้องยื่นเอกสารอ้างอิงอย่างไรให้ชัดเจนซึ่งล่าสุดยังไม่มีการชี้แจง 2.ต้องการให้เรกูเลเตอร์ กระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงพลังงานระหว่างสุญญากาศเร่งร่างเกณฑ์โซล่าร์รูฟท็อปให้ได้รับยกเว้นการขอใบประกอบกิจการโรงงานหรือรง.4 เพื่อรัฐบาลใหม่มาจะได้เดินหน้าทันที
“ผมเคยเตือนแล้วว่ายังไม่พร้อมรัฐเองก็ยังเดินหน้ามาถึงตอนนี้กลายเป็นเทคนิคมีปัญหาทำต่อกันไม่ได้หมดใบ รง. 4 เรกูเลเตอร์บอกว่าให้ยื่นไปก่อนถ้าไม่ได้ยังไงเดี๋ยวค่อยว่ากันอย่าลืมว่าทุกอย่างมันก็ต้องมีค่าใช้จ่ายไหนจะค่าออกแบบ ค่าจ้างวิศวกรมารับรองแบบฯลฯแล้วถ้าโดนตีตกมันไม่ยุติธรรมสำหรับผู้ลงทุนทั้งที่ก่อนหน้ารัฐรับปากว่าทุกอย่างจะแก้ไขให้”นายดุสิตกล่าว
นายพิชัย ถิ่นสันติสุข ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อโครงการโซลาร์รูฟท็อปโดยเฉพาะอาคารโรงงาน ที่มีจำนวน 100 เมกะวัตต์ ดำเนินการไปเพียงไม่ถึง 20% เพราะติดปัญหาการขอใบอนุญาต รง.4 และกฎหมายผังเมืองทำให้ดำเนินงานได้ไม่ทันตามที่กำหนดในวันที่ 31ธ.ค. 56 แม้ว่าเรกูเลเตอร์จะผ่อนผันไปอีกประมาณ 1 เดือน หลังจากนี้ก็จะอนุโลมไปเรื่อยๆ ไม่ตัดสิทธิ์ที่ได้รับอนุญาตแต่ก็ขาดความชัดเจน