ASTVผู้จัดการรายวัน- เรกูเลเตอร์เคาะขึ้นค่า Ft ที่เรียกเก็บงวดใหม่(ม.ค.-เม.ย.57) แค่ 5 สตางค์ต่อหน่วยส่งผลให้ค่าไฟที่เรียกเก็บรวมกับค่าไฟฐานอยู่ที่ 3.86 บาทต่อหน่วยจากต้นทุนจริงต้องขึ้น 6.99 บาทต่อหน่วยหวั่นประชาชนรับภาระมากไปโดยดึงเงินค่าปรับจากการขาดส่งก๊าซฯเยตากุนมาโปะ และให้กฟผ.แบกรับภาระ 939 ล้านบาทไปก่อน
นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(เรกูเลเตอร์) เปิดเผยภายหลังการประชุมพิจารณาการประมาณการค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติหรือ Ft สำหรับเรียกเก็บในเดือนมกราคม-เมษายน 2557 ว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบปรับขึ้นค่า Ft งวดม.ค.-เม.ย.57 ในอัตรา 5 สตางค์ต่อหน่วยส่งผลให้ค่า Ft ที่เรียกเก็บงวดนี้อยู่ที่ 59 สตางค์ต่อหน่วยจากเดิมอยู่ที่ 54
สตางค์ต่อหน่วยและเมื่อรวมกับค่าไฟฐานค่าไฟที่เก็บจะอยู่ที่ 3.8622 บาทต่อหน่วย ซึ่งหากคิดตามการคำนวณต้นทุนที่แท้จริงแล้วจะต้องปรับขึ้นรวมในอัตราที่ 60.99 สตางค์ต่อหน่วยหรือปรับขึ้น 6.99สตางค์ต่อหน่วยแต่เนื่องจากเห็นว่าอัตราดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อประชาชนมากเกินไป
อย่างไรก็ตามอัตราที่ปรับขึ้นดังกล่าวเรกูเลเตอร์ได้นำเงินค่าปรับที่ได้จากการขาดส่งก๊าซฯแหล่งเยตากุนจำนวน 130.39 ล้านบาทมาช่วยชดเชยภาระค่าFt ได้ส่วนหนึ่งและให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) แบกรับภาระจากงวดที่ผ่านมา 939.48 ล้านบาทไปก่อนอีกงวดหนึ่งเพื่อไม่ให้เป็นภาระกับประชาชนมากเกินไป
สำหรับปัจจัยที่ทำให้ค่าไฟงวดนี้สูงขึ้นมาจากความต้องการพลังงานไฟฟ้าเท่ากับ 5.8 หมื่นล้านหน่วยเพิ่มสูงขึ้น 2.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนรวมทั้งการเตรียมการรองรับก๊าซพม่า และอ่าวไทยหยุดจ่ายจึงมีความจำเป็นต้องพึ่งการผลิตไฟฟ้าจากน้ำมันเตา ถ่านหิน ดีเซล นอกจากนี้ยังมีผลจากปัจจัยค่าเงินบาทอ่อนค่าลง 0.97 บาทต่อเหรียญสหรัฐโดยอ่อนค่าจาก 31.24
บาทต่อเหรียญฯมาเป็น32.21บาทต่อเหรียญฯ เป็นต้น
"รายละเอียดทั้งหมดเรกูเลเตอร์จะเผยแพร่รายละเอียดทั้งหมดผ่าน www.erc.or.th เพื่อรับฟังความเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตั้งแต่ 27 ธ.ค.นี้เป็นต้นไปเพื่อนำมาประกอบความเห็นประกาศเรียกเก็บค่าไฟอย่างเป็นทางการอีกครั้ง"นายดิเรกกล่าว
สำหรับแนวทางการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาหรือ Solar PV Rooftop จากเดิมที่มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) กำหนดให้ต้องจ่ายไฟเข้าระบบเชิงพาณิชย์หรือ SCOD ภายในวันที่31 ธ.ค.56 แต่ปรากฏว่ามีปัญหาการขออนุญาตประกอบกิจการโรงงานหรือรง.4 จึงจะขอขยายเวลาSCOD แต่ปรากฏว่ารัฐบาลยุบสภาฯก่อนจึงมีมติให้สงวนสิทธิ์ของผู้มีสิทธิ์ได้รับการคัดเลือกขายไฟฟ้าไว้ต่อไปจนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่
"คนไหนพร้อมที่จะขายไฟฟ้าโดยไม่ติดรง.4 ก็ขอให้ขายไฟได้ทันทีแต่ถ้ายังไม่ได้ก็ขอให้ดำเนินการไปตามปกติเสมือนหนึ่งขยายเวลาแล้ว"นายดิเรกกล่าว
นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(เรกูเลเตอร์) เปิดเผยภายหลังการประชุมพิจารณาการประมาณการค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติหรือ Ft สำหรับเรียกเก็บในเดือนมกราคม-เมษายน 2557 ว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบปรับขึ้นค่า Ft งวดม.ค.-เม.ย.57 ในอัตรา 5 สตางค์ต่อหน่วยส่งผลให้ค่า Ft ที่เรียกเก็บงวดนี้อยู่ที่ 59 สตางค์ต่อหน่วยจากเดิมอยู่ที่ 54
สตางค์ต่อหน่วยและเมื่อรวมกับค่าไฟฐานค่าไฟที่เก็บจะอยู่ที่ 3.8622 บาทต่อหน่วย ซึ่งหากคิดตามการคำนวณต้นทุนที่แท้จริงแล้วจะต้องปรับขึ้นรวมในอัตราที่ 60.99 สตางค์ต่อหน่วยหรือปรับขึ้น 6.99สตางค์ต่อหน่วยแต่เนื่องจากเห็นว่าอัตราดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อประชาชนมากเกินไป
อย่างไรก็ตามอัตราที่ปรับขึ้นดังกล่าวเรกูเลเตอร์ได้นำเงินค่าปรับที่ได้จากการขาดส่งก๊าซฯแหล่งเยตากุนจำนวน 130.39 ล้านบาทมาช่วยชดเชยภาระค่าFt ได้ส่วนหนึ่งและให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) แบกรับภาระจากงวดที่ผ่านมา 939.48 ล้านบาทไปก่อนอีกงวดหนึ่งเพื่อไม่ให้เป็นภาระกับประชาชนมากเกินไป
สำหรับปัจจัยที่ทำให้ค่าไฟงวดนี้สูงขึ้นมาจากความต้องการพลังงานไฟฟ้าเท่ากับ 5.8 หมื่นล้านหน่วยเพิ่มสูงขึ้น 2.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนรวมทั้งการเตรียมการรองรับก๊าซพม่า และอ่าวไทยหยุดจ่ายจึงมีความจำเป็นต้องพึ่งการผลิตไฟฟ้าจากน้ำมันเตา ถ่านหิน ดีเซล นอกจากนี้ยังมีผลจากปัจจัยค่าเงินบาทอ่อนค่าลง 0.97 บาทต่อเหรียญสหรัฐโดยอ่อนค่าจาก 31.24
บาทต่อเหรียญฯมาเป็น32.21บาทต่อเหรียญฯ เป็นต้น
"รายละเอียดทั้งหมดเรกูเลเตอร์จะเผยแพร่รายละเอียดทั้งหมดผ่าน www.erc.or.th เพื่อรับฟังความเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตั้งแต่ 27 ธ.ค.นี้เป็นต้นไปเพื่อนำมาประกอบความเห็นประกาศเรียกเก็บค่าไฟอย่างเป็นทางการอีกครั้ง"นายดิเรกกล่าว
สำหรับแนวทางการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาหรือ Solar PV Rooftop จากเดิมที่มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) กำหนดให้ต้องจ่ายไฟเข้าระบบเชิงพาณิชย์หรือ SCOD ภายในวันที่31 ธ.ค.56 แต่ปรากฏว่ามีปัญหาการขออนุญาตประกอบกิจการโรงงานหรือรง.4 จึงจะขอขยายเวลาSCOD แต่ปรากฏว่ารัฐบาลยุบสภาฯก่อนจึงมีมติให้สงวนสิทธิ์ของผู้มีสิทธิ์ได้รับการคัดเลือกขายไฟฟ้าไว้ต่อไปจนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่
"คนไหนพร้อมที่จะขายไฟฟ้าโดยไม่ติดรง.4 ก็ขอให้ขายไฟได้ทันทีแต่ถ้ายังไม่ได้ก็ขอให้ดำเนินการไปตามปกติเสมือนหนึ่งขยายเวลาแล้ว"นายดิเรกกล่าว