ASTVผู้จัดการรายวัน- เรกูเลเตอร์เตรียมเช็คต้นทุนผลิตไฟฟ้าก่อนเคาะค่า Ftงวดใหม่(ม.ค.-เม.ย.57) ยอมรับบาทอ่อน 1 บาทต่อเหรียญฯมีผลต่อ Ft ถึง 6 สตางค์ต่อหน่วย “กฟผ.”ส่งซิกขยับกว่า 10 สตางค์ต่อหน่วยแต่ต้องรอให้”เรกูเลเตอร์”ชี้ขาด เผยงวดที่ผ่านมากฟผ.ยังแบกรับอยู่ 2.91 สตางค์ต่อหน่วยเตือนอนาคตถ่านหินไม่เกิดรับเละค่าไฟขึ้นสูง
นายดิเรก ลาวัลย์ศิริ ประธานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานหรือเรกูเลเตอร์ เปิดเผยว่า ภายในกลางเดือนธ.ค.นี้จะมีการพิจารณาถึงต้นทุนการผลิตไฟฟ้าเพื่อสรุปตัวเลขก่อนที่จะนำมาคำนวณอัตราค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติหรือ Ft ที่จะเรียกเก็บในบิลค่าไฟประชาชนรอบใหม่(ม.ค.-เม.ย.57) โดยเฉพาะ 2 ปัจจัยหลักที่จะมีผลให้ค่าไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงคือราคาก๊าซธรรมชาติ และค่าเงินบาท
ซึ่งยอมรับว่าค่าเงินบาทที่อ่อนค่าทุก 1บาทต่อเหรียญสหรัฐอเมริกามีผลกระทบต่อต้นทุนค่า Ft สูงถึง 6 สตางค์ต่อหน่วย
“ยังไม่สามารถตอบได้ว่าตัวเลขจะเป็นอย่างไรเพราะคงจะต้องดูหลายปัจจัยทั้งราคาก๊าซฯ ค่าเงินบาทภาระอื่นๆ ที่มีอยู่ และมีเงินชดเชยอื่นๆเหลือพอมาดูแลบ้างหรือไม่ รวมถึงภาวะเศรษฐกิจในช่วงนั้นหากขึ้นก็ต้องดูว่าอัตราใดที่จะเหมาะสมไม่ให้เป็นภาระต่อประชาชนต่อเศรษฐกิจมากไป “นายดิเรกกล่าว
แหล่งข่าวจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) กล่าวว่า ค่า Ft ในงวดม.ค.-เม.ยง 57 มีทิศทางปรับขึ้นประมาณกว่า 10 สตางค์ต่อหน่วยจากปัจจัยราคาก๊าซธรรมชาติที่สูงขึ้นตามราคาน้ำมันเล็กน้อย ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าจากเดิมงวดที่แล้วใช้ฐานการคำนวณที่ 31.24 บาทต่อเหรียญฯแต่ล่าสุดค่าเงินบาทเคลื่อนไหวเฉลี่ยที่ 32 บาทกว่าต่อเหรียญฯ ประกอบกับค่า Ft งวดที่ผ่านมา(ก.ย.-ธ.ค.56)
เรกูเลเตอร์ให้กฟผ.แบกรับภาระไว้อีก 2.91 สตางค์ต่อหน่วย
“ค่าFt งวดก.ย.-ธ.ค.56 ควรจะต้องขึ้น 14.18 สตางค์ต่อหน่วยแต่เพื่อลดภาระประชาชนเรกูเลเตอร์จึงนำเงินชดเชยจากการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าขนอมและเงินค่าปรับโรงไฟฟ้าเอกชนจำนวน 2,247 ล้านบาทคิดเป็น 4.91 สตางค์ต่อหน่วยและให้กฟผ. รับภาระ 1,566 ล้านบาทหรือคิดเป็น 2.91 สตางค์ต่อหน่วยจึงทำให้ Ftปรับขึ้นเพียง 7.08 สตางค์ต่อหน่วย
ซึ่งคงจะต้องดูว่างวดหน้านี้ทางเรกูเลเตอร์จะให้กฟผ.แบกรับภาระอีกหรือไม่อย่างไร
”แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวว่า ทิศทางค่าไฟฟ้าแนวโน้มจากปี 2557 หากพิจารณาจากปัจจัยเชื่อเพลิงแล้วต้องยอมรับว่าไทยจะต้องทยอยใช้ก๊าซธรรมชาติเหลวหรือแอลเอ็นจีนำเข้ามากขึ้นในการผลิตไฟฟ้าซึ่งสัดส่วนที่ใช้มากจะมีผลต่อค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นเนื่องจากแอลเอ็นจีขณะนี้ราคาสูงถึงกว่า 15 เหรียญฯต่อล้านลูกบาศก์ฟุต
ซึ่งตามแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าหรือพีดีพีฉบับใหม่ที่กำลังปรับปรุงจึงพยายามใช้ถ่านหินมาเป็นตัวกระจายความเสี่ยงเชื้อเพลิงและความมั่นคงมากขึ้นเพื่อรักษาระดับค่า Ft ไม่ให้สูงเกินไป
“เราเองต้องยอมรับว่าการส่งเสริมพลังงานทดแทนก็มีต้นทุนค่าไฟที่สูงตามไปด้วยไม่ว่าจะเป็นหญ้าเนเปียร์ พลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาหรือโซล่าร์รูฟทอป แต่สิ่งเหล่านี้ก็ต้องทำไปแต่ถ่านหินน่าจะเป็นทางออกของไทยในช่วง 10-20 ปีข้างหน้านี้หากไม่สามารถเกิดขึ้นได้ตามแผนค่าไฟไทยจะสูงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
การซื้อไฟต่างประเทศมากไปก็เสียงต่อความมั่นคง”แหล่งข่าวกล่าว
นายดิเรก ลาวัลย์ศิริ ประธานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานหรือเรกูเลเตอร์ เปิดเผยว่า ภายในกลางเดือนธ.ค.นี้จะมีการพิจารณาถึงต้นทุนการผลิตไฟฟ้าเพื่อสรุปตัวเลขก่อนที่จะนำมาคำนวณอัตราค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติหรือ Ft ที่จะเรียกเก็บในบิลค่าไฟประชาชนรอบใหม่(ม.ค.-เม.ย.57) โดยเฉพาะ 2 ปัจจัยหลักที่จะมีผลให้ค่าไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงคือราคาก๊าซธรรมชาติ และค่าเงินบาท
ซึ่งยอมรับว่าค่าเงินบาทที่อ่อนค่าทุก 1บาทต่อเหรียญสหรัฐอเมริกามีผลกระทบต่อต้นทุนค่า Ft สูงถึง 6 สตางค์ต่อหน่วย
“ยังไม่สามารถตอบได้ว่าตัวเลขจะเป็นอย่างไรเพราะคงจะต้องดูหลายปัจจัยทั้งราคาก๊าซฯ ค่าเงินบาทภาระอื่นๆ ที่มีอยู่ และมีเงินชดเชยอื่นๆเหลือพอมาดูแลบ้างหรือไม่ รวมถึงภาวะเศรษฐกิจในช่วงนั้นหากขึ้นก็ต้องดูว่าอัตราใดที่จะเหมาะสมไม่ให้เป็นภาระต่อประชาชนต่อเศรษฐกิจมากไป “นายดิเรกกล่าว
แหล่งข่าวจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) กล่าวว่า ค่า Ft ในงวดม.ค.-เม.ยง 57 มีทิศทางปรับขึ้นประมาณกว่า 10 สตางค์ต่อหน่วยจากปัจจัยราคาก๊าซธรรมชาติที่สูงขึ้นตามราคาน้ำมันเล็กน้อย ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าจากเดิมงวดที่แล้วใช้ฐานการคำนวณที่ 31.24 บาทต่อเหรียญฯแต่ล่าสุดค่าเงินบาทเคลื่อนไหวเฉลี่ยที่ 32 บาทกว่าต่อเหรียญฯ ประกอบกับค่า Ft งวดที่ผ่านมา(ก.ย.-ธ.ค.56)
เรกูเลเตอร์ให้กฟผ.แบกรับภาระไว้อีก 2.91 สตางค์ต่อหน่วย
“ค่าFt งวดก.ย.-ธ.ค.56 ควรจะต้องขึ้น 14.18 สตางค์ต่อหน่วยแต่เพื่อลดภาระประชาชนเรกูเลเตอร์จึงนำเงินชดเชยจากการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าขนอมและเงินค่าปรับโรงไฟฟ้าเอกชนจำนวน 2,247 ล้านบาทคิดเป็น 4.91 สตางค์ต่อหน่วยและให้กฟผ. รับภาระ 1,566 ล้านบาทหรือคิดเป็น 2.91 สตางค์ต่อหน่วยจึงทำให้ Ftปรับขึ้นเพียง 7.08 สตางค์ต่อหน่วย
ซึ่งคงจะต้องดูว่างวดหน้านี้ทางเรกูเลเตอร์จะให้กฟผ.แบกรับภาระอีกหรือไม่อย่างไร
”แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวว่า ทิศทางค่าไฟฟ้าแนวโน้มจากปี 2557 หากพิจารณาจากปัจจัยเชื่อเพลิงแล้วต้องยอมรับว่าไทยจะต้องทยอยใช้ก๊าซธรรมชาติเหลวหรือแอลเอ็นจีนำเข้ามากขึ้นในการผลิตไฟฟ้าซึ่งสัดส่วนที่ใช้มากจะมีผลต่อค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นเนื่องจากแอลเอ็นจีขณะนี้ราคาสูงถึงกว่า 15 เหรียญฯต่อล้านลูกบาศก์ฟุต
ซึ่งตามแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าหรือพีดีพีฉบับใหม่ที่กำลังปรับปรุงจึงพยายามใช้ถ่านหินมาเป็นตัวกระจายความเสี่ยงเชื้อเพลิงและความมั่นคงมากขึ้นเพื่อรักษาระดับค่า Ft ไม่ให้สูงเกินไป
“เราเองต้องยอมรับว่าการส่งเสริมพลังงานทดแทนก็มีต้นทุนค่าไฟที่สูงตามไปด้วยไม่ว่าจะเป็นหญ้าเนเปียร์ พลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาหรือโซล่าร์รูฟทอป แต่สิ่งเหล่านี้ก็ต้องทำไปแต่ถ่านหินน่าจะเป็นทางออกของไทยในช่วง 10-20 ปีข้างหน้านี้หากไม่สามารถเกิดขึ้นได้ตามแผนค่าไฟไทยจะสูงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
การซื้อไฟต่างประเทศมากไปก็เสียงต่อความมั่นคง”แหล่งข่าวกล่าว