หุ้นไทยรีบาวนด์กลับ 24 จุด โบรกฯชี้ราคาลงมาต่ำ จนหลายฝ่ายเริ่มกลับเข้ามาสะสม อีกทั้งสถานการณ์การเมืองยังไม่มีความรุนแรง ด้านสภาธุรกิจตลาดทุนฯ เตรียมถกผลกระทบ “ชัตดาวน์” ภายในเดือน ม.ค.นี้ ขณะที่ตลท.ยังเปิดทำการซื้อขายปกติ ด้านมูดี้ส์ยันไม่ลดเรตติ้งไทย
ดัชนีตลาดหุ้นไทยวานี้ (16 ม.ค.) ปิดที่ระดับ 1,301.48 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้น 24.45 จุด หรือ 1.91 มูลค่าการซื้อขาย 37,764.50 ล้านบาท ระหว่างวันปรับตัวสูงสุดที่ระดับ 1,304.89 จุด และลดลงต่ำสุดที่ 1,280.09 จุด ภาพรวมดัชนีหลักทรัพย์เริ่มปรับตัวดีขึ้นแม้ความขัดแย้งทางการเมืองจะยืดเยื้อ แต่ยังไม่มีเหตุการจราจลรุนแรง
โดยการซื้อขายสุทธิแยกตามกลุ่มนักลงทุนพบว่า สถาบันในประเทศ ซื้อสุทธิ 1,029.99 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักหลักทรัพย์ (บล.) ซื้อสุทธิ 345.4 ล้านบาท และ นักลงทุนทั่วไป ซื้อสุทธิ 456.74 ล้านบาท ในขณะที่ นักลงทุนต่างประเทศ ขายสุทธิ -1,832.21 ล้านบาท
นายธีรศักดิ์ ธนวรากุล นักวิเคราะห์เทคนิคตราสารทุน และตราสารอนุพันธ์ บล.ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) กล่าวว่า แนวโน้มตลาดหุ้นไทยในวานนี้ปรับฟื้นตัวขึ้นตามทิศทางตลาดในภูมิภาค ซึ่งตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงไปมากในช่วงที่มีการประท้วง ซึ่งหากพิจารณาเปรียบเทียบกันกับตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP คือ ไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ที่ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงมาค่อนข้างมากจึงเกิดเป็นแรงจูงใจในการเข้ามาลงทุน ทำให้ดัชนี SET INDEX ปรับตัวขึ้น
ในส่วนของการประท้วงปิดกรุงเทพที่หลายฝ่ายมีความกังวลว่าจะกระทบต่อตลาดทุนนั้น ในความเป็นจริงนักลงทุนในทุกกลุ่มรับรู้ข่าวก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งส่งผลต่อบรรยากาศการลงทุน ทำให้หุ้นปรับตัวลดลง แต่เมื่อหุ้นปรับตัวลดลงไปถึงจุดหนึ่งที่พอคาดเดาสถานการณ์ได้ว่าไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น ดัชนีหุ้นไทยก็จะดีดตัวกลับขึ้นมา แต่อย่างไรก็ดี นักลงทุนก็ยังคงต้องติดตามต่อเพราะยังไม่สามารถสรุปได้ว่าความขัดแย้งทางการเมืองจะจบลงเมื่อไหร่และ อาจจะมีความรุนแรงเกิดขึ้นได้
**สภาธุรกิจตลาดทุนฯ เตรียมถกผลกระทบ “ชัตดาวน์”
นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ ในฐานะประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยว่า สภาธุรกิจตลาดทุนไทยเตรียมจะมีการหารือ และศึกษาผลกระทบจากการชุมนุม และความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศภายในเดือน ม.ค.นี้ โดยขณะนี้ได้ให้แต่ละสมาคม และองค์กรในสภาธุรกิจตลาดทุนไปประเมินผลกระทบในช่วงที่มีการชุมนุมทางการเมืองที่มีต่อสมาชิก มาก่อน
**ตลท.ยังงดเข้าออกอาคาร สนง.
ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า วันนี้ (17 ม.ค.) ตลท.จะเปิดทำการซื้อขายปกติ แต่จะคงมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง โดยงดการเข้าออกอาคารสำนักงานจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม สัปดาห์หน้า ตลท. จะประเมินสถานการณ์อีกครั้ง เพื่อสรุปผลว่าจะสามารถเปิดให้เข้าออกอาคารได้เป็นปกติหรือไม่
“มูดี้ส์” ยันไม่ลด “เรตติ้งไทย
มูดี้ส์ บริษัทเครดิตเรตติ้งรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของโลก ระบุในวันพฤหัสบดี (16 ม.ค.) ว่า ความไม่สงบทางการเมืองซึ่งกำลังเกิดขึ้นในไทย อาจจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศชะลอตัว แต่ระดับสถานการณ์ในปัจจุบันยังไม่ถึงกับจะทำให้ต้องมีการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลง
สเตฟเฟน ไดค์ นักวิเคราะห์ความเสี่ยงระดับประเทศของมูดี้ส์ อธิบายกับสำนักข่าวเอเอฟพีว่า เท่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน การประท้วงต่อต้านรัฐบาลยังคงจำกัดอยู่เฉพาะในกรุงเทพฯ และยังไม่ได้ไปถึงจุดที่จะคุกคามฐานะทางการคลังของประเทศ
“ถ้าหากความไร้เสถียรภาพทางการเมืองพัฒนาไปจนถึงระดับที่ปัจจัยพื้นฐานด้านความน่าเชื่อถือทั้งหลาย เกิดการอ่อนตัวลงอย่างรุนแรงแล้ว เราก็จะลงมือดำเนินการด้านปรับเรตติ้ง” เขาบอก และกล่าวต่อไปว่า “หรือถ้าหากเรามองเห็นการเบี่ยงเบนใดๆ จากการรักษาวินัยการคลัง ซึ่งจะส่งผลให้การขาดดุลทางการคลังเพิ่มพูนขึ้นอย่างมหาศาล และยอดหนี้สินภาคสาธารณะก็พุ่งลิ่วแล้ว สภาพเช่นนี้แหละที่จะจุดชนวนให้ลงมือปรับเรตติ้งลง”
ดัชนีตลาดหุ้นไทยวานี้ (16 ม.ค.) ปิดที่ระดับ 1,301.48 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้น 24.45 จุด หรือ 1.91 มูลค่าการซื้อขาย 37,764.50 ล้านบาท ระหว่างวันปรับตัวสูงสุดที่ระดับ 1,304.89 จุด และลดลงต่ำสุดที่ 1,280.09 จุด ภาพรวมดัชนีหลักทรัพย์เริ่มปรับตัวดีขึ้นแม้ความขัดแย้งทางการเมืองจะยืดเยื้อ แต่ยังไม่มีเหตุการจราจลรุนแรง
โดยการซื้อขายสุทธิแยกตามกลุ่มนักลงทุนพบว่า สถาบันในประเทศ ซื้อสุทธิ 1,029.99 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักหลักทรัพย์ (บล.) ซื้อสุทธิ 345.4 ล้านบาท และ นักลงทุนทั่วไป ซื้อสุทธิ 456.74 ล้านบาท ในขณะที่ นักลงทุนต่างประเทศ ขายสุทธิ -1,832.21 ล้านบาท
นายธีรศักดิ์ ธนวรากุล นักวิเคราะห์เทคนิคตราสารทุน และตราสารอนุพันธ์ บล.ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) กล่าวว่า แนวโน้มตลาดหุ้นไทยในวานนี้ปรับฟื้นตัวขึ้นตามทิศทางตลาดในภูมิภาค ซึ่งตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงไปมากในช่วงที่มีการประท้วง ซึ่งหากพิจารณาเปรียบเทียบกันกับตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP คือ ไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ที่ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงมาค่อนข้างมากจึงเกิดเป็นแรงจูงใจในการเข้ามาลงทุน ทำให้ดัชนี SET INDEX ปรับตัวขึ้น
ในส่วนของการประท้วงปิดกรุงเทพที่หลายฝ่ายมีความกังวลว่าจะกระทบต่อตลาดทุนนั้น ในความเป็นจริงนักลงทุนในทุกกลุ่มรับรู้ข่าวก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งส่งผลต่อบรรยากาศการลงทุน ทำให้หุ้นปรับตัวลดลง แต่เมื่อหุ้นปรับตัวลดลงไปถึงจุดหนึ่งที่พอคาดเดาสถานการณ์ได้ว่าไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น ดัชนีหุ้นไทยก็จะดีดตัวกลับขึ้นมา แต่อย่างไรก็ดี นักลงทุนก็ยังคงต้องติดตามต่อเพราะยังไม่สามารถสรุปได้ว่าความขัดแย้งทางการเมืองจะจบลงเมื่อไหร่และ อาจจะมีความรุนแรงเกิดขึ้นได้
**สภาธุรกิจตลาดทุนฯ เตรียมถกผลกระทบ “ชัตดาวน์”
นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ ในฐานะประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยว่า สภาธุรกิจตลาดทุนไทยเตรียมจะมีการหารือ และศึกษาผลกระทบจากการชุมนุม และความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศภายในเดือน ม.ค.นี้ โดยขณะนี้ได้ให้แต่ละสมาคม และองค์กรในสภาธุรกิจตลาดทุนไปประเมินผลกระทบในช่วงที่มีการชุมนุมทางการเมืองที่มีต่อสมาชิก มาก่อน
**ตลท.ยังงดเข้าออกอาคาร สนง.
ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า วันนี้ (17 ม.ค.) ตลท.จะเปิดทำการซื้อขายปกติ แต่จะคงมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง โดยงดการเข้าออกอาคารสำนักงานจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม สัปดาห์หน้า ตลท. จะประเมินสถานการณ์อีกครั้ง เพื่อสรุปผลว่าจะสามารถเปิดให้เข้าออกอาคารได้เป็นปกติหรือไม่
“มูดี้ส์” ยันไม่ลด “เรตติ้งไทย
มูดี้ส์ บริษัทเครดิตเรตติ้งรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของโลก ระบุในวันพฤหัสบดี (16 ม.ค.) ว่า ความไม่สงบทางการเมืองซึ่งกำลังเกิดขึ้นในไทย อาจจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศชะลอตัว แต่ระดับสถานการณ์ในปัจจุบันยังไม่ถึงกับจะทำให้ต้องมีการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลง
สเตฟเฟน ไดค์ นักวิเคราะห์ความเสี่ยงระดับประเทศของมูดี้ส์ อธิบายกับสำนักข่าวเอเอฟพีว่า เท่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน การประท้วงต่อต้านรัฐบาลยังคงจำกัดอยู่เฉพาะในกรุงเทพฯ และยังไม่ได้ไปถึงจุดที่จะคุกคามฐานะทางการคลังของประเทศ
“ถ้าหากความไร้เสถียรภาพทางการเมืองพัฒนาไปจนถึงระดับที่ปัจจัยพื้นฐานด้านความน่าเชื่อถือทั้งหลาย เกิดการอ่อนตัวลงอย่างรุนแรงแล้ว เราก็จะลงมือดำเนินการด้านปรับเรตติ้ง” เขาบอก และกล่าวต่อไปว่า “หรือถ้าหากเรามองเห็นการเบี่ยงเบนใดๆ จากการรักษาวินัยการคลัง ซึ่งจะส่งผลให้การขาดดุลทางการคลังเพิ่มพูนขึ้นอย่างมหาศาล และยอดหนี้สินภาคสาธารณะก็พุ่งลิ่วแล้ว สภาพเช่นนี้แหละที่จะจุดชนวนให้ลงมือปรับเรตติ้งลง”