นายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ แถลงผลงานประจำปีของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ในรอบปี 2556 ว่า ศาลรัฐธรรมนูญได้ดำเนินการภายใต้รัฐธรรมนูญ และแผนยุทธศาสตร์ตามวิสัยทัศน์ที่ว่า ศาลรัฐรัฐธรรมนูญ ได้ยึดถือหลักนิติธรรม ค้ำจุนประชาธิปไตย ห่วงใยสิทธิ และเสรีภาพของประชาชน โดยในรอบปี 2556 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีการพิจารณาคำร้องทั้งสิ้น 113 คำร้อง ซึ่งเป็นการพิจารณา ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ถึง วันที่ 18 ธ.ค. โดยมีคำร้องค้างพิจารณายกมาจากปี 2555 จำนวน 14 คำร้อง คำร้องที่รับไว้พิจารณาในปี 2556 มีจำนวน 99 คำร้อง และคำร้องค้างพิจารณาที่จะยกไปดำเนินการในปี 2557 มี 39 คำร้อง ส่วนคำร้องที่พิจารณาแล้วเสร็จ มี 74 คำร้อง
โดยมีคำร้องสำคัญๆ อย่างเช่น การพิจารณาวินิจฉัยคำร้องที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในส่วนของที่มาของส.ว. ที่เกี่ยวข้องกับ ส.ส.และ ส.ว. 312 คน ซึ่งมีอยู่ 3 คำร้อง โดยศาลได้พิจารณาในคราวเดียวกัน โดยศาลได้วินิจฉัยว่า เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญทั้งกระบวนการจัดทำ และเนื้อหา อีกทั้งยังมีการพิจารณากรณี ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 ที่เกี่ยวกับงบประมาณของสำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานศาลปกครอง และสำนักงานคณะกรรมการการป้องกันการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) รวมถึงการพิจารณาสถานภาพการเป็นรัฐมนตรีของ นายวราเทพ รัตนากร รมว.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรมช.เกษตรฯ จำนวน 1 คำร้อง ซึ่งศาลวินิจฉัยว่า ไม่สิ้นสภาพ
นายเชาวนะ กล่าวอีกว่า ศาลรัฐธรรมนูญยังมีการวินิจฉัยคดียุบพรรคการเมือง 2 พรรค คือ พรรคชีวิตที่ดีกว่า และพรรคพลังแผ่นดินหรือพรรคพลังอาสามาตุภูมิ โดยมีคำสั่งให้ยุบ 2 พรรค ส่วนคำร้องอื่นที่เกี่ยวกับการยื่นคำร้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 ที่เป็นการยื่นตรงจากประชาชน 21 คำร้อง ศาลไม่สามารถรับไว้พิจารณาได้ เนื่องจากไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ และคำร้องที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 7 คำร้อง ประกอบด้วย คำร้องที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามมาตรา 68 กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 190 และกรณีให้ศาลวินิจฉัยตามมาตรา 154 วรรคหนึ่ง (1) ว่าร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
นายเชาวนะ กล่าวต่อว่า ความคืบหน้าคำร้องในพิจารณาคำร้องว่า ร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น ขณะนี้ศาลก็ได้เร่งกระบวนการพิจารณาคำร้องอยู่ เพราะกรณีนี้มีความซับซ้อน ศาลจึงต้องแสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมประกอบการพิจารณา ซึ่งขณะนี้ยังไม่อยู่ในขั้นที่เพียงพอต่อการพิจารณา
ส่วนคำร้องที่เกี่ยวกับการพิจารณาสมาชิกภาพความเป็น ส.ส.ของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ สิ้นสุดลงหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่คาบเกี่ยวกับการดำเนินงานของศาลอื่นด้วย โดยศาลเองก็ต้องรอข้อมูล ข้อเท็จจริงมาประกอบการพิจารณาเพิ่มเติม ส่วนการยุบสภาแล้ว นายอภิสิทธิ์ก็พ้นจากการเป็น ส.ส. แล้ว ศาลสามารถจำหน่ายคดีได้ออกหรือไม่นั้น ขณะนี้ยังไม่มีการหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาพิจารณา
เมื่อถามว่าในคำร้องดังกล่าว ศาลรัฐธรรมนูญต้องรอให้มีคำวินิจฉัยของศาลปกครองออกมาใช่หรือไม่ นายเชาวนะ กล่าวว่า ศาลรัฐธรรมนูญต้องรอ กระบวนการที่จะให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริง หรือพยานหลักฐานอย่างอื่น เพื่อมาประกอบการพิจารณา เพราะเป็นคดีที่ซับซ้อน และมีคาบเกี่ยวกับศาลอื่นด้วย ส่วนคำวินิจของศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญจะออกมาขัดแย้งกันหรือไม่นั้น ขณะนี้ยังไม่เกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น ก็ต้องรอดูว่าจากนี้ไปจะต้องพิจารณาในเรื่องนี้อย่างไร ทั้งนี้ไม่ขอไปเร่งการทำงานของศาลปกครอง เพราะในทางปฏิบัติศาลจะไม่มีการไปก้าวล่วงอำนาจกัน
เมื่อถามถึงกรณีศาลรัฐธรรมนูญ ได้รับคำร้องเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่ของ ส.ว. จนมีหลายฝ่ายออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณา นายเชาวนะ กล่าวว่า ศาลเองก็มีหลักในการพิจารณา คือความยุติธรรม ความเป็นกลาง ยึดหลักรัฐธรรมนูญ ยึดหลักนิติธรรม ซึ่งความเห็นที่เหมือนหรือต่างนั้น ศาลก็เคารพสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งการแสดงความคิดเห็นที่เหมือนหรือต่างจากศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่มีผลกระทบต่อการวินิจฉัยของศาลแต่อย่างใด เพราะศาลรักษาระเบียบแบบแผนกฎหมายของรัฐธรรมนูญไว้เป็นสำคัญ
ส่วนที่ผ่านมาศาลรัฐธรรมนูญมักจะถูกโยงเป็นคู่กรณีการขัดแย้งทางการเมืองนั้นนายเชาวนะ กล่าวว่า ศาลเองเป็นองค์กรเยียวยาปัญหาข้อพิพาทในคดีซึ่งมีทั้งคดีที่เกี่ยวกับการเมืองหรือไม่เกี่ยวกับการเมือง แต่ในการทำหน้าที่ของศาลก็ยึดหลักการดำรงนิติธรรม โดยรักษาเป้าหมายของความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส่วนผลการพิจารณาของศาลจะออกมาในรูปแบบไหน มีผลต่อการเมืองอย่างไรนั้น ศาลคงไม่ไปคาดหมายหรือมีความเกี่ยวข้องในเป้าหมายทางการเมือง เพราะ ศาลมีส่วนในการกำหนดกรอบด้วยความชอบตามรัฐธรรมนูญ และยึดรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการพิจารณา
"ตลอดการทำงานในรอบปีที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญก็มีความพอใจในการดำเนินคดี เพราะศาลได้เร่งรัดให้มีความรวดเร็ว และคดีที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบการบริหารราชการแผ่นดินในด้านต่างๆ ศาลก็สามารถทำได้ในเวลาที่ทัน และสอดคล้องกับสถานการณ์ที่จำเป็นต้องแก้ไขเยียวยา ส่วนเรื่องของอุปสรรคในการทำงาน ศาลเองไม่มีการพูดการหยิบยกปัญหาอุปสรรคมาพูดกัน แต่กรณีของคดีที่มีความสำคัญ มีความซับซ้อนนั้น กระบวนการแสวงหาข้อเท็จจริงก็ต้งใช้เวลา เป็นไปตามเหตุผลในการพิจารณา เพื่อประโยชน์ของความยุติธรรม" นายเชาวนะ กล่าว
รายงานข่าวจากศาลรัฐธรรมนูญแจ้งว่า ในวันนี้ (25 ธ.ค.) คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีการประชุมตามปกติ โดยจะมีวาระสำคัญคือ การพิจารณาว่าจะรับหรือรับคำร้องที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การชุมนุมของกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) เข้าข่ายเป็นการล้มล้างการปกครองตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 หรือไม่ ไว้พิจารณาวินิจฉัย โดยมีจำนวนหลายคำร้อง อีกทั้งยังมีวาระกำหนดประเด็นวินิจฉัย และวันไต่สวนคู่กรณีในคดีที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งความเห็นของส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ขอให้วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 154 วรรคหนึ่ง ( 1) ว่า ร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ด้วย
โดยมีคำร้องสำคัญๆ อย่างเช่น การพิจารณาวินิจฉัยคำร้องที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในส่วนของที่มาของส.ว. ที่เกี่ยวข้องกับ ส.ส.และ ส.ว. 312 คน ซึ่งมีอยู่ 3 คำร้อง โดยศาลได้พิจารณาในคราวเดียวกัน โดยศาลได้วินิจฉัยว่า เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญทั้งกระบวนการจัดทำ และเนื้อหา อีกทั้งยังมีการพิจารณากรณี ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 ที่เกี่ยวกับงบประมาณของสำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานศาลปกครอง และสำนักงานคณะกรรมการการป้องกันการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) รวมถึงการพิจารณาสถานภาพการเป็นรัฐมนตรีของ นายวราเทพ รัตนากร รมว.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรมช.เกษตรฯ จำนวน 1 คำร้อง ซึ่งศาลวินิจฉัยว่า ไม่สิ้นสภาพ
นายเชาวนะ กล่าวอีกว่า ศาลรัฐธรรมนูญยังมีการวินิจฉัยคดียุบพรรคการเมือง 2 พรรค คือ พรรคชีวิตที่ดีกว่า และพรรคพลังแผ่นดินหรือพรรคพลังอาสามาตุภูมิ โดยมีคำสั่งให้ยุบ 2 พรรค ส่วนคำร้องอื่นที่เกี่ยวกับการยื่นคำร้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 ที่เป็นการยื่นตรงจากประชาชน 21 คำร้อง ศาลไม่สามารถรับไว้พิจารณาได้ เนื่องจากไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ และคำร้องที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 7 คำร้อง ประกอบด้วย คำร้องที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามมาตรา 68 กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 190 และกรณีให้ศาลวินิจฉัยตามมาตรา 154 วรรคหนึ่ง (1) ว่าร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
นายเชาวนะ กล่าวต่อว่า ความคืบหน้าคำร้องในพิจารณาคำร้องว่า ร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น ขณะนี้ศาลก็ได้เร่งกระบวนการพิจารณาคำร้องอยู่ เพราะกรณีนี้มีความซับซ้อน ศาลจึงต้องแสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมประกอบการพิจารณา ซึ่งขณะนี้ยังไม่อยู่ในขั้นที่เพียงพอต่อการพิจารณา
ส่วนคำร้องที่เกี่ยวกับการพิจารณาสมาชิกภาพความเป็น ส.ส.ของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ สิ้นสุดลงหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่คาบเกี่ยวกับการดำเนินงานของศาลอื่นด้วย โดยศาลเองก็ต้องรอข้อมูล ข้อเท็จจริงมาประกอบการพิจารณาเพิ่มเติม ส่วนการยุบสภาแล้ว นายอภิสิทธิ์ก็พ้นจากการเป็น ส.ส. แล้ว ศาลสามารถจำหน่ายคดีได้ออกหรือไม่นั้น ขณะนี้ยังไม่มีการหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาพิจารณา
เมื่อถามว่าในคำร้องดังกล่าว ศาลรัฐธรรมนูญต้องรอให้มีคำวินิจฉัยของศาลปกครองออกมาใช่หรือไม่ นายเชาวนะ กล่าวว่า ศาลรัฐธรรมนูญต้องรอ กระบวนการที่จะให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริง หรือพยานหลักฐานอย่างอื่น เพื่อมาประกอบการพิจารณา เพราะเป็นคดีที่ซับซ้อน และมีคาบเกี่ยวกับศาลอื่นด้วย ส่วนคำวินิจของศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญจะออกมาขัดแย้งกันหรือไม่นั้น ขณะนี้ยังไม่เกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น ก็ต้องรอดูว่าจากนี้ไปจะต้องพิจารณาในเรื่องนี้อย่างไร ทั้งนี้ไม่ขอไปเร่งการทำงานของศาลปกครอง เพราะในทางปฏิบัติศาลจะไม่มีการไปก้าวล่วงอำนาจกัน
เมื่อถามถึงกรณีศาลรัฐธรรมนูญ ได้รับคำร้องเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่ของ ส.ว. จนมีหลายฝ่ายออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณา นายเชาวนะ กล่าวว่า ศาลเองก็มีหลักในการพิจารณา คือความยุติธรรม ความเป็นกลาง ยึดหลักรัฐธรรมนูญ ยึดหลักนิติธรรม ซึ่งความเห็นที่เหมือนหรือต่างนั้น ศาลก็เคารพสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งการแสดงความคิดเห็นที่เหมือนหรือต่างจากศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่มีผลกระทบต่อการวินิจฉัยของศาลแต่อย่างใด เพราะศาลรักษาระเบียบแบบแผนกฎหมายของรัฐธรรมนูญไว้เป็นสำคัญ
ส่วนที่ผ่านมาศาลรัฐธรรมนูญมักจะถูกโยงเป็นคู่กรณีการขัดแย้งทางการเมืองนั้นนายเชาวนะ กล่าวว่า ศาลเองเป็นองค์กรเยียวยาปัญหาข้อพิพาทในคดีซึ่งมีทั้งคดีที่เกี่ยวกับการเมืองหรือไม่เกี่ยวกับการเมือง แต่ในการทำหน้าที่ของศาลก็ยึดหลักการดำรงนิติธรรม โดยรักษาเป้าหมายของความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส่วนผลการพิจารณาของศาลจะออกมาในรูปแบบไหน มีผลต่อการเมืองอย่างไรนั้น ศาลคงไม่ไปคาดหมายหรือมีความเกี่ยวข้องในเป้าหมายทางการเมือง เพราะ ศาลมีส่วนในการกำหนดกรอบด้วยความชอบตามรัฐธรรมนูญ และยึดรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการพิจารณา
"ตลอดการทำงานในรอบปีที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญก็มีความพอใจในการดำเนินคดี เพราะศาลได้เร่งรัดให้มีความรวดเร็ว และคดีที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบการบริหารราชการแผ่นดินในด้านต่างๆ ศาลก็สามารถทำได้ในเวลาที่ทัน และสอดคล้องกับสถานการณ์ที่จำเป็นต้องแก้ไขเยียวยา ส่วนเรื่องของอุปสรรคในการทำงาน ศาลเองไม่มีการพูดการหยิบยกปัญหาอุปสรรคมาพูดกัน แต่กรณีของคดีที่มีความสำคัญ มีความซับซ้อนนั้น กระบวนการแสวงหาข้อเท็จจริงก็ต้งใช้เวลา เป็นไปตามเหตุผลในการพิจารณา เพื่อประโยชน์ของความยุติธรรม" นายเชาวนะ กล่าว
รายงานข่าวจากศาลรัฐธรรมนูญแจ้งว่า ในวันนี้ (25 ธ.ค.) คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีการประชุมตามปกติ โดยจะมีวาระสำคัญคือ การพิจารณาว่าจะรับหรือรับคำร้องที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การชุมนุมของกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) เข้าข่ายเป็นการล้มล้างการปกครองตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 หรือไม่ ไว้พิจารณาวินิจฉัย โดยมีจำนวนหลายคำร้อง อีกทั้งยังมีวาระกำหนดประเด็นวินิจฉัย และวันไต่สวนคู่กรณีในคดีที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งความเห็นของส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ขอให้วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 154 วรรคหนึ่ง ( 1) ว่า ร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ด้วย