วานนี้ (16 ธ.ค.) คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)ชุดใหม่ ที่ประกอบไปด้วย นายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต. นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านบริหารงานเลือกตั้ง นายบุญส่ง น้อยโสภณ กกต.ด้านสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย นายธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์ กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง และการออกเสียงประชามติ และ นายประวิช รัตนเพียร กกต.ด้านการมีส่วนร่วม ได้ร่วมพิธีรับพระบรมราชโองการแต่งตั้ง ที่ทางสำนักงานกกต.จัดขึ้น
จากนั้น นายศุภชัย ได้นำกกต.และพนักงานกกต. กล่าวถวายปฏิญาณตนจะประพฤติตน และปฏิบัติตนเป็นพนักงานของรัฐที่ดี และเป็นพลังของแผ่นดิน สนองพระมหากรุณาธิคุณ ซื่อสัตย์ สุจริต มุ่งมั่นแน่วแน่แก้ไขปัญหาประเทศชาติ ประชาชน สร้างสรรค์คุณประโยชน์ประเทศชาติประชาชน โดยภายหลังการถวายสัตย์ กกต.และพนักงานกกต.ก็ได้ร่วมกันจุดเทียนชัยถวายพระพรด้วย
นายศุภชัย ได้ให้สัมภาษณ์ถึงการเตรียมความพร้อมในการจัดการเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ 2 ก.พ.57 ว่า หน้าที่ของกกต. คือจะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งตามกฎหมาย ตามพระราชกฤษฎีกา ส่วนจะมีเหตุการณ์อย่างไรนั้น ตนไม่อาจทราบได้ แต่ขณะนี้จะต้องดำเนินให้มีการเลือกตั้งก่อน และยืนยันว่า จะไม่มีปัญหาใดๆ เกิดขึ้น แม้กกต.ชุดนี้จะเข้ามารับช่วงต่อจากกกต.ชุดเดิม
ส่วนกรณีที่กลุ่ม กปปส. จะเคลื่อนไปชุมนุมในวันที่ กกต.เปิดรับสมัครนั้น กกต.คงไม่สามารถไปห้ามได้ เพราะเป็นสิทธิตามกฎหมาย และถ้าเป็นการชุมนุมที่สงบ ปราศจากอาวุธ ก็สามารถทำได้อยู่แล้ว
"ขณะนี้กกต.ได้มีการเตรียมความพร้อมในการเลือกตั้งไว้แล้ว ส่วนเหตุการณ์จะเป็นอย่างไร ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ ผมเพิ่งจะได้รับโปรดเกล้าฯในวันนี้เอง ต้องคิดว่าจะทำอย่างไรต่อไป เพราะกกต.ต้องเสียสละ ซึ่งทราบดีว่าเข้ามารับหน้าที่แล้วจะเจอกับอะไร โดยกกต.ทั้ง 5 คน เข้ามาทำงานเพื่อประเทศชาติ เพื่อให้เกิดความสงบ " ประธานกกต. กล่าว
**ขอผู้รู้แนะแนวทางเลื่อนเลือกตั้ง
ส่วนที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. จะขอเข้าพบกกต.ทั้ง 5 คน นั้น นายศุภชัย กล่าวว่า ตนก็ยินดี เพราะการพูดคุยกันเป็นเรื่องที่ดี มีอะไรที่ไม่เข้าใจกัน ก็สามารถปรับความเข้าใจกันได้
ส่วนที่บอกว่าจะไม่มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นนั้น ตนก็ไม่ทราบเหมือนกัน แต่ก็พร้อมที่จะรับฟังทุกฝ่าย เพราะกกต.ต้องเป็นกลางทางการเมือง ทั้งนี้ มองว่าปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้นฝ่ายการเมืองก็ต้องไปแก้ไขกันเอง เพราะกกต. มีหน้าที่จัดการเลือกตั้งให้สุจริต และเที่ยงธรรม
เมื่อถามว่า มั่นใจหรือไม่ว่า วันที่ 2ก.พ. 57 จะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น นายศุภชัย กล่าวว่า ตามกฎหมาย เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาแล้ว ก็ต้องมีการเลือกตั้ง ส่วนจะมีการขยายเวลาการเลือกตั้งออกไปได้ หรือไม่นั้น ตนก็กำลังคิดอยู่ แต่ก็ต้องให้ท่านผู้รู้บอกตนด้วยว่า จะสามารถเลื่อนการเลือกตั้งออกไปได้อย่างไร และวิธีการใดจะทำให้ไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งกกต.ก็ต้องรับฟังทุกฝ่าย การจะเลื่อนได้หรือไม่ได้นั้นก็ต้องดูก่อน ถ้าบอกว่าสามารถเลื่อนได้ ก็ถือว่าเป็นการมัดคอตัวเอง
สำหรับถ้ามีการเลือกตั้งแล้วจะมีการทำประชามติ สอบถามประชาชนเกี่ยวกับการตั้งสภาประชาชนไปด้วย ได้หรือไม่นั้น เห็นว่า ปัญหาต่างๆ ที่สื่อมวลชนถามนั้น ก็จะไปหารือกันต่อไป เพราะการตัดสินใจนั้น ต้องให้กกต.ทั้ง 5 คนตัดสินใจร่วมกัน ไม่ใช่ว่าประธานกกต. คิดอย่างหนึ่ง แล้วจะพูดว่าเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ ไม่ได้
**ยึดพระราชดำรัสในหลวงในการทำหน้าที่
ในวันเดียวกันนี้ กกต. ทั้ง 5 คน นำโดยนายศุภชัย สมเจริญ ประธานกกต. เป็นประธานมอบนโยบาย และประชุมเตรียมความพร้อมการจัดการเลือกตั้ง แก่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งทั่วประเทศ โดยนายศุภชัย กล่าวตอนหนึ่ง ว่า กกต.ทั้ง 5 คน จะยึดมั่นหลักความเป็นกลาง สุจริต เที่ยงธรรม ปราศจากอคติใดๆ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเห็นว่า ในสภาวะที่คนในสังคมเห็นแตกต่างกันในเรื่องความคิด ความเชื่อทางการเมือง จำเป็นที่ต้องช่วยกันประคับประคองให้บ้านเมืองเราเกิดความเรียบร้อย เกิดความสามัคคีของคนในชาติ ซึ่งในการจัดการเลือกตั้งครั้งนี้ ขอให้กกต. และพนักงานทุกคน น้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้เสด็จออกมหาสมาคมเมื่อวันที่ 5 ธ.ค.ที่ผ่านมา ที่ว่า “บ้านเมืองของเราเป็นปึกแผ่นมั่นคง และร่มเย็นเป็นสุขสืบมาช้านาน เพราะเรามีความยึดมั่นในชาติ และต่างบำเพ็ญกรณียกิจตามหน้าที่ ให้สอดคล้อง เพื่อเกื้อกูลกัน เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของชาติ ” มาเป็นหลักในการปฏิบัติหน้าที่ โดยกกต.พร้อมที่จะรับฟังข้อเสนอแนะจากทุกกลุ่มในการที่จะทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบเรียบร้อย สามัคคี ปรองดอง เพื่อให้ เพื่อให้การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อยู่คู่ประเทศชาติสืบไป
“การแบ่งงานในการกำกับดูแลของ กกต.แต่ละคน เป็นเพียงการแบ่งภารกิจเพื่อให้มีผู้รับผิดชอบเบื้องต้นเท่านั้น แต่ภาพรวมภารกิจของสำนักงานฯ กกต.ทุกคนสามารถกำกับงานในทุกด้านได้อยู่แล้ว ซึ่งนโบบายในการทำงานของกกต.ชุดนี้ พวกเราทั้ง 5 คน ได้ยกร่างเป็นแนวทางปฏิบัติงานไว้สรุปเป็นถ้อยคำสั้นๆว่า สร้างกลไกเลือกตั้งที่สุจริต สร้างวิถีเลือกตั้งให้ยั่งยืน บนพื้นฐานการเมืองที่เข้มแข็ง และเมื่อปฏิบิติหน้าที่ไประยะหนึ่งก็จะนำกลับมาพิจารณาทบทวน หรืออาจเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น”
นายบุญส่ง น้อยโสภณ กกต. ด้านกิจการสืบสวนสอบสวน และวินิจฉัย กล่าวว่า การทำงานด้านการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย มีระเบียบ ข้อกำหนดที่ชัดเจนซึ่ง ผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำจังหวัด ต้องมีความเป็นกลาง เที่ยงธรรม สุจริตและโปร่งใส ขอให้เป็นกลางทุกขั้นตอนการปฏิบัติงานไม่ใช่ตอนวินิจฉัยเท่านั้น ต้องเริ่มตั้งแต่การจ่ายสำนวน ต้องดูให้รอบคอบ ให้นักการเมืองเชื่อใจว่าเป็นกลางจริงๆ ขอฝากสั้นว่า ขอให้ดำรงตนให้เป็นที่เคารพนับถือของพี่น้องประชาชน
ส่วนนายประวิช รัตนเพียร กกต. ด้านกิจการมีส่วนร่วม กล่าวว่า ถ้าพูดถึงการเลือกตั้งทั่วไปในพ.ศ.นี้เรากำลังพูดถึง 50 ล้านคน ที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง ปี 2554 มีคนไปใช้สิทธิ์ 75% หรือ 30 กว่าล้านคน ดังนั้นในการเลือกตั้งครั้งนี้ ทำอย่างไรจะให้เกิดพลังการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งหากในการเลือกตั้งปราศจากความโปร่งใส และการมีส่วนร่วมชองประชาชน จะเป็นจุดล้มละลายของชาติบ้านเมือง
ขณะที่นายธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์ กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง กล่าวว่า กกต. ต้องเป็นกลางในการเลือกตั้งซึ่งอยากให้เป็นกลางและเที่ยงธรรมในทุกขั้นตอนปฏิบัติ วิกฤตการณ์บ้านเมืองที่เกิดขึ้นในรอบ 10 กว่าปี ฉุดรั้งให้บ้านเมืองตกต่ำ ล้วนเกิดจากปัญหาการเมือง โยงมาถึงเลือกตั้งที่เป็นกลไกประชาธิปไตย วันนี้ทุกสายตาในประเทศจับจ้องมาว่า กกต.จะมีบทบาทอย่างไรให้บ้านเมืองพ้นวิกฤติ พ้นความขัดแย้งที่หยั่งรากลึก จะทำอย่างไร ให้การเมืองมีความชอบธรรม ตนเห็นว่าเราเกิดมาชาติหนึ่ง เมื่อมีโอกาสที่จะได้ช่วยบ้านเมืองแล้วก็ควรทำหน้าที่ให้ดี เราจะต้องไม่ทำตัวเป็น “ศาลเจ้า “อย่างที่กลุ่มผู้ชุมนุมเขากล่าวหา แต่เราต้องเป็นองค์กรที่เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ
**ระวังเลือกตั้งเสียงบฯ เปล่า
ส่วนนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวว่า กกต.ชุดนี้เข้ามาต้องมาจัดการเลือกตั้งในสภาพที่มีความข้ดแย้ง ถือว่าเจอรับน้องใหม่หนักมาก สังคมจับจ้องว่าจะทำให้ดีแค่ไหน จึงอยากให้พนักงานกกต.ทุกคน ใช้การเลือกตั้งคราวนี้เป็นโอกาสเปลี่ยนแปลงประเทศไทย อย่ามองเพียงว่าจัดการเลือกตั้งให้เสร็จๆ ไป แต่ต้องเปลี่ยนแปลงประเทศไปในทางที่ดีขึ้น ถ้าเราสามารถคัดกรองคนดี ได้คนซื่อสัตย์เข้าไป ขจัดคนทุจริต ก็เชื่อว่าการเมืองไทยน่าจะดีขึ้น ฉะนั้นพนักงาน กกต.ต้องคิดนอกกรอบ แต่อยู่ภายใต้กฎหมาย ต้องคิดทำอย่างไรให้เกิดผลดีสูงสุด
“การเลือกตั้งย่อมต้องมีการซื้อขายเสียงของนักการเมือง เราต้องไม่ให้การเลือกตั้งก็เป็นส่วนหนึ่งของการปิดการขาย แต่ต้องสร้างมาตรการในการป้องกันต่างๆ เพื่อให้เมื่อเลือกตั้งแล้ว ประชาชนยอมรับ การเลือกตั้งคราวนี้ กกต.ทุกจังหวัดต้องเตรียมพร้อมในระดับ 100 เปอร์เซ็นต์ ต้องคิดว่า อาจจะเกิดสถานการณ์เลวร้ายที่สุดจะทำอย่างไร เช่น ในวันเลือกตั้ง มีการขัดขวาง ก่อกวน ไม่ได้ให้นับคะแนน จะทำอย่างไร วันสมัคร มีการไปชุมนุม ทำให้ไม่สามารถเปิดรับสมัครได้ จะทำอย่างไร นึกถึงภาพการเลือกตั้งในกัมพูชา ชุมนุมประท้วง ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งจะเป็นอย่างไร”
หลังจากนั้น กกต.ทั้ง 5 คนก็ได้รับฟังแนวทางในการเตรียมความพร้อมในการจัดการเลือกตั้ง ซึ่งสำนักงานกกต.ได้รายงานให้ทราบว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถประกาศจำนวน ส.ส.ทั่วประเทศและการแบ่งเขตเลือกตั้งได้ เนื่องจากพบว่ามีการเพิ่มลดของจำนวนประชากร โดยจะมีการเพิ่มลดจำนวนส.ส.ใน 2 จังหวัดคือ นนทบุรี และ สุโขทัย โดย กกต.จว.สุโขทัย เตรียมเสนอข้อมูลการแบ่งเขตให้ทางสำนักงานฯทราบแล้ว ดังนั้นคาดว่าจะสามารถประกาศจำนวน ส.ส.ทั่วประเทศและการแบ่งเขตเลือกตั้งได้ในวันที่ 18 ธ.ค.นี้ ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งผู้สมัคร ส.ส. 1 คน จะใช้จ่ายได้ คนละไม่เกิน 1.5 ล้านบาท เท่ากับครั้งเลือกตั้งเมื่อ 3 ก.ค. 54
นอกจากนี้ ในส่วนการตรวจสอบการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง การแจ้งยอดเพิ่มลดสมาชิกของแต่ละพรรคการเมืองในขณะนี้ยังไม่สามารถจัดลงในระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้ทัน ดังนั้นหลังการรับสมัครแล้วหากจังหวัดใดมีปัญหาในเรื่องการตรวจสอบ ก็ให้ผู้อำนวยการเขตสำเนาใบสมัคร พร้อมระบุพรรคการเมืองมายังสำนักงานกกต. ให้ดำเนินการตรวจสอบ รวมทั้งการที่สำนักงานฯได้รับการประสานจากปลัดกระทรวงกลาโหมว่าเตรียมกำลังเจ้าหน้าที่ทหารไว้กว่า 4 แสนคน พร้อมที่จะเข้ามาช่วยจัดการเลือกตั้ง ซึ่ง กกต.กำลังพิจารณาว่า จะให้เข้ามาช่วยในส่วนใด เช่น อาจจะมาเป็นกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง หรือมาเป็นหน่วยรักษาความปลอดภัย ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ส่วนเรื่องงบประมาณที่ใช้ในการเลือกตั้งนั้น ทางสำนักงานกกต. ได้ส่งหนังสือไปยังเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอเบิกใช้งบกว่า 3,885 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ต้องรอให้มีการประชุมครม. โดยคาดว่าในวันที่ 24 ธ.ค. นี้ จึงจะทราบว่า ครม.จะอนุมัติงบประมาณดังกล่าวได้เต็มจำนวนที่ขอไปหรือไม่
แต่สิ่งที่กังวลคือในตอนนี้เป็นสถานการณ์ที่ไม่ปกติ เหมือนกับการเลือกตั้งปี 2549 ที่เมื่อมีการเลือกตั้งไปแล้วและต่อมามีการฟ้องให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ประเทศชาติต้องสูญเสียงบประมาณกว่า 2 พันล้าน ในการเลือกตั้ง กกต.ก็ได้ถูก คตส.ตรวจสอบซึ่งต้องสู้คดีนานกว่า 2 ปี จึงขอให้ระมัดระวัง เรื่องการใช้เงินให้ดี
**ทำประชามติพร้อมจัดเลือกตั้งไม่ได้
นายสมชัย ยังกล่าวถึงการทำประชามติ เรื่องสภาประชาชน และปฎิรูปประเทศไทย ควบคู่ไปกับการเลือกตั้ง ว่า คงทำไม่ทัน เพราะการทำประชามติต้องมีเวลาดำเนินการ 90 วัน โดยต้องตั้งประเด็นให้ชัดเจน ขณะเดียวกันต้องเปิดโอกาสให้ทั้งสองฝ่ายแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณะด้วย
**อดีตคณบดีนิติ มธ.ชี้เลื่อนเลือกตั้งได้
นายปรีชา สุวรรณทัต อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงกระแสการเรียกร้องให้มีการเลื่อนการเลือกตั้งส.ส.ในวันที่ 2 ก.พ. 57 ออกไปจนกว่าจะมีการปฏิรูปประเทศ วางกติกาการเมืองใหม่ ว่า กรณีนี้สามารถทำได้ โดยไม่ผิดพระราชกฏษฎีกาการเลือกตั้ง และไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นดุลยพินิจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่ต้องตัดสินใจให้ดี และรอบคอบ จริงอยู่ที่ว่าเราไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงร่าง พ.ร.ฎ.การเลือกตั้งได้อีก แต่คณะกรรมการการเลือกตั้ง สามารถใช้ดุลยพินิจเลื่อนการเลือกตั้งออกไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ ในมาตรา 8 ที่ให้สิทธิ กกต. ว่า หากเกิดเหตุอันสุดวิสัย ทำให้ไม่สามารถจัดการเลือกตั้ง ในวันที่ 2 ก.พ. 57 ได้อย่างเรียบร้อย ก็สามารถเลื่อนการเลือกตั้งได้ ตามเหตุอันสมควร จนกว่าสถานการณ์จะสงบ
ดังนั้น ตนจึงอยากฝากไปยัง กกต. และรัฐบาล ให้พิจารณาเรื่องนี้อย่างถี่ถ้วน เนื่องจากมีประชาชนจำนวนนับล้าน ออกมาชุมนุมประท้วงเรียกร้องให้มีการปฏิรูปประเทศ ก่อนจัดการเลือกตั้ง ส่วนกรณีที่มีผู้ขัดขวางการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ. 57 ก็เป็นหน้าที่ที่ กกต. จะต้องดำเนินการตามกฏหมายแต่หาก กกต. และรัฐบาล ยังดื้อดึง ที่จะจัดการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ. 57 โดยไม่ฟังเสียงประชาชน และทำให้เกิดความวุ่นวายจนจัดการเลือกตั้งไม่ได้ ก็จะต้องเป็นความรับผิดชอบของ กกต. และรัฐบาล
จากนั้น นายศุภชัย ได้นำกกต.และพนักงานกกต. กล่าวถวายปฏิญาณตนจะประพฤติตน และปฏิบัติตนเป็นพนักงานของรัฐที่ดี และเป็นพลังของแผ่นดิน สนองพระมหากรุณาธิคุณ ซื่อสัตย์ สุจริต มุ่งมั่นแน่วแน่แก้ไขปัญหาประเทศชาติ ประชาชน สร้างสรรค์คุณประโยชน์ประเทศชาติประชาชน โดยภายหลังการถวายสัตย์ กกต.และพนักงานกกต.ก็ได้ร่วมกันจุดเทียนชัยถวายพระพรด้วย
นายศุภชัย ได้ให้สัมภาษณ์ถึงการเตรียมความพร้อมในการจัดการเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ 2 ก.พ.57 ว่า หน้าที่ของกกต. คือจะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งตามกฎหมาย ตามพระราชกฤษฎีกา ส่วนจะมีเหตุการณ์อย่างไรนั้น ตนไม่อาจทราบได้ แต่ขณะนี้จะต้องดำเนินให้มีการเลือกตั้งก่อน และยืนยันว่า จะไม่มีปัญหาใดๆ เกิดขึ้น แม้กกต.ชุดนี้จะเข้ามารับช่วงต่อจากกกต.ชุดเดิม
ส่วนกรณีที่กลุ่ม กปปส. จะเคลื่อนไปชุมนุมในวันที่ กกต.เปิดรับสมัครนั้น กกต.คงไม่สามารถไปห้ามได้ เพราะเป็นสิทธิตามกฎหมาย และถ้าเป็นการชุมนุมที่สงบ ปราศจากอาวุธ ก็สามารถทำได้อยู่แล้ว
"ขณะนี้กกต.ได้มีการเตรียมความพร้อมในการเลือกตั้งไว้แล้ว ส่วนเหตุการณ์จะเป็นอย่างไร ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ ผมเพิ่งจะได้รับโปรดเกล้าฯในวันนี้เอง ต้องคิดว่าจะทำอย่างไรต่อไป เพราะกกต.ต้องเสียสละ ซึ่งทราบดีว่าเข้ามารับหน้าที่แล้วจะเจอกับอะไร โดยกกต.ทั้ง 5 คน เข้ามาทำงานเพื่อประเทศชาติ เพื่อให้เกิดความสงบ " ประธานกกต. กล่าว
**ขอผู้รู้แนะแนวทางเลื่อนเลือกตั้ง
ส่วนที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. จะขอเข้าพบกกต.ทั้ง 5 คน นั้น นายศุภชัย กล่าวว่า ตนก็ยินดี เพราะการพูดคุยกันเป็นเรื่องที่ดี มีอะไรที่ไม่เข้าใจกัน ก็สามารถปรับความเข้าใจกันได้
ส่วนที่บอกว่าจะไม่มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นนั้น ตนก็ไม่ทราบเหมือนกัน แต่ก็พร้อมที่จะรับฟังทุกฝ่าย เพราะกกต.ต้องเป็นกลางทางการเมือง ทั้งนี้ มองว่าปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้นฝ่ายการเมืองก็ต้องไปแก้ไขกันเอง เพราะกกต. มีหน้าที่จัดการเลือกตั้งให้สุจริต และเที่ยงธรรม
เมื่อถามว่า มั่นใจหรือไม่ว่า วันที่ 2ก.พ. 57 จะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น นายศุภชัย กล่าวว่า ตามกฎหมาย เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาแล้ว ก็ต้องมีการเลือกตั้ง ส่วนจะมีการขยายเวลาการเลือกตั้งออกไปได้ หรือไม่นั้น ตนก็กำลังคิดอยู่ แต่ก็ต้องให้ท่านผู้รู้บอกตนด้วยว่า จะสามารถเลื่อนการเลือกตั้งออกไปได้อย่างไร และวิธีการใดจะทำให้ไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งกกต.ก็ต้องรับฟังทุกฝ่าย การจะเลื่อนได้หรือไม่ได้นั้นก็ต้องดูก่อน ถ้าบอกว่าสามารถเลื่อนได้ ก็ถือว่าเป็นการมัดคอตัวเอง
สำหรับถ้ามีการเลือกตั้งแล้วจะมีการทำประชามติ สอบถามประชาชนเกี่ยวกับการตั้งสภาประชาชนไปด้วย ได้หรือไม่นั้น เห็นว่า ปัญหาต่างๆ ที่สื่อมวลชนถามนั้น ก็จะไปหารือกันต่อไป เพราะการตัดสินใจนั้น ต้องให้กกต.ทั้ง 5 คนตัดสินใจร่วมกัน ไม่ใช่ว่าประธานกกต. คิดอย่างหนึ่ง แล้วจะพูดว่าเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ ไม่ได้
**ยึดพระราชดำรัสในหลวงในการทำหน้าที่
ในวันเดียวกันนี้ กกต. ทั้ง 5 คน นำโดยนายศุภชัย สมเจริญ ประธานกกต. เป็นประธานมอบนโยบาย และประชุมเตรียมความพร้อมการจัดการเลือกตั้ง แก่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งทั่วประเทศ โดยนายศุภชัย กล่าวตอนหนึ่ง ว่า กกต.ทั้ง 5 คน จะยึดมั่นหลักความเป็นกลาง สุจริต เที่ยงธรรม ปราศจากอคติใดๆ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเห็นว่า ในสภาวะที่คนในสังคมเห็นแตกต่างกันในเรื่องความคิด ความเชื่อทางการเมือง จำเป็นที่ต้องช่วยกันประคับประคองให้บ้านเมืองเราเกิดความเรียบร้อย เกิดความสามัคคีของคนในชาติ ซึ่งในการจัดการเลือกตั้งครั้งนี้ ขอให้กกต. และพนักงานทุกคน น้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้เสด็จออกมหาสมาคมเมื่อวันที่ 5 ธ.ค.ที่ผ่านมา ที่ว่า “บ้านเมืองของเราเป็นปึกแผ่นมั่นคง และร่มเย็นเป็นสุขสืบมาช้านาน เพราะเรามีความยึดมั่นในชาติ และต่างบำเพ็ญกรณียกิจตามหน้าที่ ให้สอดคล้อง เพื่อเกื้อกูลกัน เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของชาติ ” มาเป็นหลักในการปฏิบัติหน้าที่ โดยกกต.พร้อมที่จะรับฟังข้อเสนอแนะจากทุกกลุ่มในการที่จะทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบเรียบร้อย สามัคคี ปรองดอง เพื่อให้ เพื่อให้การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อยู่คู่ประเทศชาติสืบไป
“การแบ่งงานในการกำกับดูแลของ กกต.แต่ละคน เป็นเพียงการแบ่งภารกิจเพื่อให้มีผู้รับผิดชอบเบื้องต้นเท่านั้น แต่ภาพรวมภารกิจของสำนักงานฯ กกต.ทุกคนสามารถกำกับงานในทุกด้านได้อยู่แล้ว ซึ่งนโบบายในการทำงานของกกต.ชุดนี้ พวกเราทั้ง 5 คน ได้ยกร่างเป็นแนวทางปฏิบัติงานไว้สรุปเป็นถ้อยคำสั้นๆว่า สร้างกลไกเลือกตั้งที่สุจริต สร้างวิถีเลือกตั้งให้ยั่งยืน บนพื้นฐานการเมืองที่เข้มแข็ง และเมื่อปฏิบิติหน้าที่ไประยะหนึ่งก็จะนำกลับมาพิจารณาทบทวน หรืออาจเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น”
นายบุญส่ง น้อยโสภณ กกต. ด้านกิจการสืบสวนสอบสวน และวินิจฉัย กล่าวว่า การทำงานด้านการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย มีระเบียบ ข้อกำหนดที่ชัดเจนซึ่ง ผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำจังหวัด ต้องมีความเป็นกลาง เที่ยงธรรม สุจริตและโปร่งใส ขอให้เป็นกลางทุกขั้นตอนการปฏิบัติงานไม่ใช่ตอนวินิจฉัยเท่านั้น ต้องเริ่มตั้งแต่การจ่ายสำนวน ต้องดูให้รอบคอบ ให้นักการเมืองเชื่อใจว่าเป็นกลางจริงๆ ขอฝากสั้นว่า ขอให้ดำรงตนให้เป็นที่เคารพนับถือของพี่น้องประชาชน
ส่วนนายประวิช รัตนเพียร กกต. ด้านกิจการมีส่วนร่วม กล่าวว่า ถ้าพูดถึงการเลือกตั้งทั่วไปในพ.ศ.นี้เรากำลังพูดถึง 50 ล้านคน ที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง ปี 2554 มีคนไปใช้สิทธิ์ 75% หรือ 30 กว่าล้านคน ดังนั้นในการเลือกตั้งครั้งนี้ ทำอย่างไรจะให้เกิดพลังการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งหากในการเลือกตั้งปราศจากความโปร่งใส และการมีส่วนร่วมชองประชาชน จะเป็นจุดล้มละลายของชาติบ้านเมือง
ขณะที่นายธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์ กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง กล่าวว่า กกต. ต้องเป็นกลางในการเลือกตั้งซึ่งอยากให้เป็นกลางและเที่ยงธรรมในทุกขั้นตอนปฏิบัติ วิกฤตการณ์บ้านเมืองที่เกิดขึ้นในรอบ 10 กว่าปี ฉุดรั้งให้บ้านเมืองตกต่ำ ล้วนเกิดจากปัญหาการเมือง โยงมาถึงเลือกตั้งที่เป็นกลไกประชาธิปไตย วันนี้ทุกสายตาในประเทศจับจ้องมาว่า กกต.จะมีบทบาทอย่างไรให้บ้านเมืองพ้นวิกฤติ พ้นความขัดแย้งที่หยั่งรากลึก จะทำอย่างไร ให้การเมืองมีความชอบธรรม ตนเห็นว่าเราเกิดมาชาติหนึ่ง เมื่อมีโอกาสที่จะได้ช่วยบ้านเมืองแล้วก็ควรทำหน้าที่ให้ดี เราจะต้องไม่ทำตัวเป็น “ศาลเจ้า “อย่างที่กลุ่มผู้ชุมนุมเขากล่าวหา แต่เราต้องเป็นองค์กรที่เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ
**ระวังเลือกตั้งเสียงบฯ เปล่า
ส่วนนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวว่า กกต.ชุดนี้เข้ามาต้องมาจัดการเลือกตั้งในสภาพที่มีความข้ดแย้ง ถือว่าเจอรับน้องใหม่หนักมาก สังคมจับจ้องว่าจะทำให้ดีแค่ไหน จึงอยากให้พนักงานกกต.ทุกคน ใช้การเลือกตั้งคราวนี้เป็นโอกาสเปลี่ยนแปลงประเทศไทย อย่ามองเพียงว่าจัดการเลือกตั้งให้เสร็จๆ ไป แต่ต้องเปลี่ยนแปลงประเทศไปในทางที่ดีขึ้น ถ้าเราสามารถคัดกรองคนดี ได้คนซื่อสัตย์เข้าไป ขจัดคนทุจริต ก็เชื่อว่าการเมืองไทยน่าจะดีขึ้น ฉะนั้นพนักงาน กกต.ต้องคิดนอกกรอบ แต่อยู่ภายใต้กฎหมาย ต้องคิดทำอย่างไรให้เกิดผลดีสูงสุด
“การเลือกตั้งย่อมต้องมีการซื้อขายเสียงของนักการเมือง เราต้องไม่ให้การเลือกตั้งก็เป็นส่วนหนึ่งของการปิดการขาย แต่ต้องสร้างมาตรการในการป้องกันต่างๆ เพื่อให้เมื่อเลือกตั้งแล้ว ประชาชนยอมรับ การเลือกตั้งคราวนี้ กกต.ทุกจังหวัดต้องเตรียมพร้อมในระดับ 100 เปอร์เซ็นต์ ต้องคิดว่า อาจจะเกิดสถานการณ์เลวร้ายที่สุดจะทำอย่างไร เช่น ในวันเลือกตั้ง มีการขัดขวาง ก่อกวน ไม่ได้ให้นับคะแนน จะทำอย่างไร วันสมัคร มีการไปชุมนุม ทำให้ไม่สามารถเปิดรับสมัครได้ จะทำอย่างไร นึกถึงภาพการเลือกตั้งในกัมพูชา ชุมนุมประท้วง ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งจะเป็นอย่างไร”
หลังจากนั้น กกต.ทั้ง 5 คนก็ได้รับฟังแนวทางในการเตรียมความพร้อมในการจัดการเลือกตั้ง ซึ่งสำนักงานกกต.ได้รายงานให้ทราบว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถประกาศจำนวน ส.ส.ทั่วประเทศและการแบ่งเขตเลือกตั้งได้ เนื่องจากพบว่ามีการเพิ่มลดของจำนวนประชากร โดยจะมีการเพิ่มลดจำนวนส.ส.ใน 2 จังหวัดคือ นนทบุรี และ สุโขทัย โดย กกต.จว.สุโขทัย เตรียมเสนอข้อมูลการแบ่งเขตให้ทางสำนักงานฯทราบแล้ว ดังนั้นคาดว่าจะสามารถประกาศจำนวน ส.ส.ทั่วประเทศและการแบ่งเขตเลือกตั้งได้ในวันที่ 18 ธ.ค.นี้ ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งผู้สมัคร ส.ส. 1 คน จะใช้จ่ายได้ คนละไม่เกิน 1.5 ล้านบาท เท่ากับครั้งเลือกตั้งเมื่อ 3 ก.ค. 54
นอกจากนี้ ในส่วนการตรวจสอบการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง การแจ้งยอดเพิ่มลดสมาชิกของแต่ละพรรคการเมืองในขณะนี้ยังไม่สามารถจัดลงในระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้ทัน ดังนั้นหลังการรับสมัครแล้วหากจังหวัดใดมีปัญหาในเรื่องการตรวจสอบ ก็ให้ผู้อำนวยการเขตสำเนาใบสมัคร พร้อมระบุพรรคการเมืองมายังสำนักงานกกต. ให้ดำเนินการตรวจสอบ รวมทั้งการที่สำนักงานฯได้รับการประสานจากปลัดกระทรวงกลาโหมว่าเตรียมกำลังเจ้าหน้าที่ทหารไว้กว่า 4 แสนคน พร้อมที่จะเข้ามาช่วยจัดการเลือกตั้ง ซึ่ง กกต.กำลังพิจารณาว่า จะให้เข้ามาช่วยในส่วนใด เช่น อาจจะมาเป็นกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง หรือมาเป็นหน่วยรักษาความปลอดภัย ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ส่วนเรื่องงบประมาณที่ใช้ในการเลือกตั้งนั้น ทางสำนักงานกกต. ได้ส่งหนังสือไปยังเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอเบิกใช้งบกว่า 3,885 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ต้องรอให้มีการประชุมครม. โดยคาดว่าในวันที่ 24 ธ.ค. นี้ จึงจะทราบว่า ครม.จะอนุมัติงบประมาณดังกล่าวได้เต็มจำนวนที่ขอไปหรือไม่
แต่สิ่งที่กังวลคือในตอนนี้เป็นสถานการณ์ที่ไม่ปกติ เหมือนกับการเลือกตั้งปี 2549 ที่เมื่อมีการเลือกตั้งไปแล้วและต่อมามีการฟ้องให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ประเทศชาติต้องสูญเสียงบประมาณกว่า 2 พันล้าน ในการเลือกตั้ง กกต.ก็ได้ถูก คตส.ตรวจสอบซึ่งต้องสู้คดีนานกว่า 2 ปี จึงขอให้ระมัดระวัง เรื่องการใช้เงินให้ดี
**ทำประชามติพร้อมจัดเลือกตั้งไม่ได้
นายสมชัย ยังกล่าวถึงการทำประชามติ เรื่องสภาประชาชน และปฎิรูปประเทศไทย ควบคู่ไปกับการเลือกตั้ง ว่า คงทำไม่ทัน เพราะการทำประชามติต้องมีเวลาดำเนินการ 90 วัน โดยต้องตั้งประเด็นให้ชัดเจน ขณะเดียวกันต้องเปิดโอกาสให้ทั้งสองฝ่ายแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณะด้วย
**อดีตคณบดีนิติ มธ.ชี้เลื่อนเลือกตั้งได้
นายปรีชา สุวรรณทัต อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงกระแสการเรียกร้องให้มีการเลื่อนการเลือกตั้งส.ส.ในวันที่ 2 ก.พ. 57 ออกไปจนกว่าจะมีการปฏิรูปประเทศ วางกติกาการเมืองใหม่ ว่า กรณีนี้สามารถทำได้ โดยไม่ผิดพระราชกฏษฎีกาการเลือกตั้ง และไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นดุลยพินิจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่ต้องตัดสินใจให้ดี และรอบคอบ จริงอยู่ที่ว่าเราไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงร่าง พ.ร.ฎ.การเลือกตั้งได้อีก แต่คณะกรรมการการเลือกตั้ง สามารถใช้ดุลยพินิจเลื่อนการเลือกตั้งออกไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ ในมาตรา 8 ที่ให้สิทธิ กกต. ว่า หากเกิดเหตุอันสุดวิสัย ทำให้ไม่สามารถจัดการเลือกตั้ง ในวันที่ 2 ก.พ. 57 ได้อย่างเรียบร้อย ก็สามารถเลื่อนการเลือกตั้งได้ ตามเหตุอันสมควร จนกว่าสถานการณ์จะสงบ
ดังนั้น ตนจึงอยากฝากไปยัง กกต. และรัฐบาล ให้พิจารณาเรื่องนี้อย่างถี่ถ้วน เนื่องจากมีประชาชนจำนวนนับล้าน ออกมาชุมนุมประท้วงเรียกร้องให้มีการปฏิรูปประเทศ ก่อนจัดการเลือกตั้ง ส่วนกรณีที่มีผู้ขัดขวางการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ. 57 ก็เป็นหน้าที่ที่ กกต. จะต้องดำเนินการตามกฏหมายแต่หาก กกต. และรัฐบาล ยังดื้อดึง ที่จะจัดการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ. 57 โดยไม่ฟังเสียงประชาชน และทำให้เกิดความวุ่นวายจนจัดการเลือกตั้งไม่ได้ ก็จะต้องเป็นความรับผิดชอบของ กกต. และรัฐบาล