xs
xsm
sm
md
lg

บทความ

x

จับตาการเมืองช่วงชุลมุน! ครม.จะลักไก่รถไฟฟ้าหรือไม่ ?

เผยแพร่:   โดย: นะโม อตุลโล

ว่ากันว่าช่วงเวลาในทางการเมืองที่ชุลมุนวุ่นวายที่สุด คือโอกาสทองที่นักการเมืองจะแสวงหารผลประโยชน์ได้มากที่สุด เพราะสื่อมวลชนทั่วไปจะหลงอยู่ในประเด็นทางการเมืองเป็นหลัก

กรณีที่ต้องไม่กระพริบตาล่าสุดก็คือกรณีเกี่ยวกับกิจการรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร ที่กำลังมีหลายโครงการจ่อคิวอย่างมากมายมหาศาล เอาเป็นว่าถ้าทางการเมืองมีเอี่ยวแล้วละก็คงแสวงหาผลประโยชน์ได้อย่างมหาศาลได้อย่างไม่ยากเย็น

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดยความเห็นชอบของมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มกรคม พ.ศ. 2549 ได้ซื้อหุ้นของ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL จำนวน 2,987.5 ล้านหุ้นในราคาพาร์(มูลค่าหุ้นละ 1 บาท) คิดเป็นร้อยละ 25 ของทุนจดทะเบียน ซึ่งมีจำนวน 11,950 ล้านบาท

การถือหุ้นร้อยละ 25 ของ รฟม. มีลักษณะเป็นการป้องกันการครอบงำกิจการ มีอำนาจที่จะใช้สิทธิ์ในการคัดค้าน (VETO RIGHT) ในมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นในเรื่องสำคัญ เช่น การเพิ่มทุน การลดทุน การควบรวมกิจการ ฯลฯ

แต่เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556 คณะกรรมการ BMCL ได้มีมติเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง

1) เพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 8,550 ล้านบาท(หุ้นละ 1 บาท)
2) จัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนเพื่อเสนอขาย
ก. ผู้ถือหุ้นเดิม(RO) จำนวน 2,000 ล้านหุ้น
ข. บุคคลในวงจำกัด(PP) ได้แก่ ช.การช่าง (CK) จำนวน 4,200 ล้านหุ้น
ง. บุคคลในวงจำกัด(PP) ได้แก่ เจ้าหนี้สถาบันการเงินของบริษัท จำนวน 2,350 ล้านหุ้น
3) ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

BMCL ได้ชี้แจงเหตุผลในการเพิ่มทุนว่า มีข้อจำกัดเรื่องเวลาโดยจะต้องเพิ่มทุนให้ได้ภายในสิ้นปี เพื่อที่จะได้ไม่ถูกลงบัญชีเป็นหนี้เสียหรือหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้

แต่ผลของการเพิ่มทุนจะทำให้โครงสร้างผู้ถือหุ้นเปลี่ยนไป โดย รฟม. ซึ่งมีสัดส่วน 25% จะคงเหลือ 14.75% เสียสิทธิอำนาจในการ Vote ไปโยทันที

นอกจากนี้ผลกระทบอีกด้านหนึ่งที่บอร์ด รฟม. ไม่ได้คำนึงถึงก็คือ BMCL มีหนี้ค่าตอบแทนให้แก่ รฟม. ตามสัญญาสัมปทานอีก 54,000 ล้านบาท โดยต้องเริ่มจ่ายให้ รฟม. ปี 2557 เป็นต้นไปปีละเป็นพันล้าน

ดังนั้นการที่ รฟม. ไม่มีสัดส่วนถือหุ้นใหญ่แล้วก็เท่ากับว่าทำให้ รฟม. อ่อนแอไม่มีอำนาจต่อรองใดๆ รฟม.จะมีอิทธิพลไปคุ้มครองค่าสัมปทานอีก 54,000 ล้านบาทได้อย่างไร?

อย่างไรก็ตาม ฐานะทางการเงิน BMCL มีส่วนของผู้ถือหุ้นต่ำมาก เหลือเพียง 500 ล้านบาท ภายในสิ้นปีนี้จะติดลบ มีมูลค่าทางบัญชี 0.008 บาท แม้กระแสเงินสดจะมีมูลค่ารายได้ก่อนหักดอกเบี้ยภาษีและค่าเสื่อม (EBITDA) เป็นบวก แต่เมื่อหักค่าใช้จ่ายของการเงินและค่าเสื่อมราคาก็ยังคงขาดทุนติดลบ

การเพิ่มทุนของ BMCL เพื่อปรับปรุง D/E จาก 33 เท่าเป็น 2 เท่า แต่ได้กระแสเงินสดจริงเพียง 2,000 ล้านบาท

กรณีดังกล่าวถือว่าผิดปกติของการเพิ่มทุนโดยทั่วๆ ไปอยู่มาก เพราะนอกจากนี้ยังมีหนี้เหลืออยู่อีก 11,000 ล้านบาท ขาดทุนสะสม 12,000 ล้านบาท นอกจากนี้ยังเท่ากับเป็นการแปลงหนี้เป็นทุน ซึ่งอาจเพียงพอกับการดำเนินงานประมาณ 2 – 3 ปี ต่อไปก็ต้องติดลบและต้องการเพิ่มทุนใหม่อีกเท่ากับชื้อเวลาไม่มีผลดีใดๆ กับบริษัทอย่างแท้จริง

นอกเสียจากว่ามีเป้าหมายทยอยยกกิจการนี้ให้เอกชนรายอื่น ใช่หรือไม่?

ความจริงแล้วการแก้ปัญหาแบบยั่งยืน ควรดำเนินการโดยปรับโครงสร้างทางการเงิน โครงสร้างผู้ถือหุ้น โครงสร้างหนี้ การดำเนินธุรกิจของ BMCL ก็จะแข็งแรงขึ้นต่างหาก

แปลกดีว่าในการประชุมบอร์ด รฟม. ทั้ง 2 ครั้ง บรรดาบอร์ดส่วนใหญ่กลับเห็นว่าถ้า รฟม. ไม่ให้ BMCL เพิ่มทุนจะทำให้ BMCL เสียหายอย่างมากแทนที่จะเห็นว่าการที่เพิ่มทุนครั้งนี้ รฟม. จะเสียสิทธิในการถือหุ้นจาก 25% เหลือ 14 % ซึ่งแม้จะลดลงไป 0.01% ก็ตามสิทธิสำคัญในการ VETO ก็จะเสียหายไปทันทีราคามูลค่าหุ้น 25% ลดลงไปแม้แต่น้อยราคามูลค่าก็เสื่อมทันทีเช่นกันอย่างนี้รัฐไม่เสียหายหรือ?

การเพิ่มทุนของ BMCL ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้หนี้ให้กับเจ้าหนี้(ช.การช่าง และกลุ่มธนาคาร) จึงถือว่าเจ้าหนี้เป็นผู้รับประโยชน์โดยตรง!!!

แต่ผู้ถือหุ้น เช่น รฟม. ในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่และประชาชนผู้ถือหุ้นรายย่อยถูกลดสัดส่วนการถือหุ้นลงตกเป็นผู้เสียประโยชน์

เท่ากับว่า ช.การช่างและธนาคารร่วมกันฮั้วแล้วร่วมมือกันบีบให้รัฐเล็กลงผู้ถือหุ้นรายย่อยก็เหลือน้อยลงใช่หรือไม่? นี่เท่ากับเป็นการฮุบบริษัทปกติโดยธนาคารรัฐอย่างกรุงไทยสมควรจะกระทำเช่นนี้หรือไม่?

โดยปกติแล้ว การเพิ่มทุนบริษัทฯ ต้องปรึกษาหารือผู้ถือหุ้นรายใหญ่เพื่อขอรับการสนับสนุนและเพื่อให้มีเวลาในการพิจารณาไตร่ตรอง แต่ BMCL กลับมิได้ดำเนินการ ซึ่งมีผลกระทบต่อ รฟม. ในฐานะหน่วยงานของรัฐที่ถือหุ้น 25% ตามมติ ครม. ซึ่งมีระเบียบและขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติ การดำเนินการของ BMCL จึงมีลักษณะปกปิดพลการ ข้ามขั้นตอน

ตั้งแต่ตุลาคม 2555 รฟม. ได้เคยทวงถามสถานะ BMCL ว่าจะต้องเพิ่มทุนหรือไม่ BMCL ตอบว่าไม่ต้องเพราะสถานะการเงินยังมั่นคงอยู่นอกจากนี้ รฟม. ประสานงานขอรับข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาก็ได้รับอย่างจำกัด ไม่เพียงพอปกปิดข้อมูลทำให้การพิจารณาตัดสินใจจึงอาจมีความสุ่มเสี่ยงและก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐและประชาชนได้ การเลื่อนประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นออกไปเพื่อให้ รฟม. มีเวลาศึกษาพิจารณาก็จะเป็นการรักษาประโยชน์แก่ภาครัฐและประชาชน (เนื่องจากราคาหุ้นละ 1 บาทของ BMCL เทียบเคียงจากราคาซื้อขายหุ้นในช่วงที่ผ่านมาและประมาณการ Cash Flow แต่จากการทำ Sensitivity Analysis หากมีค่าเบี่ยงเบนจะทำให้มูลค่าลดลงอย่างมาก) เท่ากับรัฐก็จะเสียหายเข้าไปอีก

เพื่อให้การเพิ่มทุนสามารถผ่านไปได้ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ช.การช่าง (CK) ในฐานะเจ้าหนี้ของ BMCL และเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการเพิ่มทุนนี้ได้รับว่า จะขายหุ้น BMCL ให้แก่ รฟม. ในราคาหุ้นละ 1 บาท ภายใน 1 ปี เพื่อให้ รฟม. ถือหุ้นของ BMCL ได้ถึง 25% ซึ่ง รฟม. จะต้องเสนอขอเงินกว่า 2,000 ล้านบาทจาก คณะรัฐมนตรี (ครม.)เพื่อซื้อหุ้นจาก ช.การช่าง เพื่อให้มีสัดส่วน 25% ของทุนจดทะเบียนของ BMCL ต่อไป

แต่บอร์ดกลับมองไม่เห็นว่าการที่ BMCL ให้ รฟม. ไปซื้อหุ้นดังกล่าวจาก ช.การช่าง เป็นการปฏิบัติผิดมติ ครม. เพราะ ครม. ให้ รฟม. ซื้อหุ้นได้จาก BMCL เท่านั้นเรื่องนี้น่าจะไม่ชอบมาพากลทั้งบริษัทผู้ขายหุ้นคือ ช.การช่าง และการกำหนดราคาที่ 1 บาท ซึ่งไม่มีใครกล้ายืนยันได้ว่าสมเหตุสมผลหรือไม่อีกด้วย

ในการประชุมคณะกรรมการ รฟม. กลับมีความเห็นว่าการเพิ่มทุนตามเงื่อนไขของ BMCL เป็นประโยชน์ แก่ รฟม. ที่สุด โดยได้มีมติเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556 ให้ รฟม. เสนอ ครม. พิจารณาเห็นชอบให้ รฟม. ไปลงคะแนนเห็นด้วยกับการเพิ่มทุนในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2556 จนได้

การประชุมที่กระทรวงคมนาคมล่าสุดเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556 รัฐมนตรีว่าการกรทะรวงคมนาคม (นายชัชชาติ) ยังไม่กล้าตัดสินใจเห็นว่าเรื่องนี้ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้สั่งการด้วยวาจาว่าจะให้ BMCL เลื่อนประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นวันที่ 11 พฤศจิกายน 56 ไปก่อนหรือไม่ก็ให้เข้าประชุมแต่ไม่ต้องออกเสียงลงคะแนน ซึ่งก็เท่ากับว่าจะทำให้แผนเพิ่มทุนล้มไป

แต่มีคนตั้งข้อสังเกตและเกิดความเคลือบแคลงสงสัยว่า นายกิติรัตน์ ณ ระนอง จะพูดอย่างแต่ทำอีกอย่างหรือไม่

หากรัฐบาลไม่คิดจะทำเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและผู้ถือหุ้นรายย่อย กรณีอย่างนี้ทั้ง รฟม. และผู้บริโภครือผู้ถือหุ้นรายย่อยได้รับผลกระทบเต็มๆ เพราะผู้ถือหุ้นรายย่อยบางส่วนที่ซื้อหุ้น BMCL ก็เพราะเห็นว่า รฟม. ถือหุ้นถึง 25% เท่ากับว่าจะคุ้มครองผู้ถือหุ้นรายย่อยอย่างพวกเขาได้

สิ่งที่ประหลาดก็คือขณะนี้ราคาหุ้น BMCL ขึ้นถึงบาทเศษ ทั้ง ๆ ที่ที่ปรึกษาทางการเงินวิเคราะห์แล้วมีค่าอยู่แค่เพียง 0.07 บาทต่อหุ้นเท่านั้น

ดังนั้นจึงเห็นความผิดสังเกตของรูปเรื่องได้เลยว่าน่าจะมีเงินหล่นในตลาดหลักทรัพย์อีกบานและมันก็ทำให้คนบางคนตาบอดกับแผนการเพิ่มทุนครั้งนี้อย่างที่ไม่น่าเชื่อเลยจริงๆ
กำลังโหลดความคิดเห็น