xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

สังคมขี้ข้า และพี่น้องขี้สองกอง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์-บทวิเคราะห์สังคมการเมืองไทยว่า ด้วยสังคมขี้ข้า ดูจะสะท้อนข้อเท็จจริงที่ยากปฏิเสธ จนทำให้ “ขี้ข้า”หลายประเภทดาหน้ากันมาตอบโต้บทวิเคราะห์การเมืองนี้

ธีรยุทธ บุญมี อดีตเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ผู้นำนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 กล่าวแสดงปาฐกถาพิเศษ วาระ 40 ปี 14 ตุลาคม 2516 ประจำปี 2556 ที่อาคารอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา 16 (แยกคอกวัว) หัวข้อ “ปณิธานประเทศไทย” ว่า

“พรรคการเมืองหลัง 14 ต.ค. เกิดจากทุนท้องถิ่น ผู้มีอิทธิพลท้องถิ่นมุ่งหาผลประโยชน์เกาะเกี่ยวรัฐและระบบราชการ ก็ไม่ได้ส่งเสริมประชาธิปไตยเช่นกัน และอ่อนกำลังเมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ จนมาถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นตัวแทนทุนใหม่ขนาดใหญ่ สามารถใช้อำนาจควบคุมรัฐและภาคชนบท จนเป็นชนวนความขัดแย้งกับกลุ่มอนุรักษ์ และวิกฤติในปัจจุบัน ในเรื่องวัฒนธรรมการเมือง สังคมไทยเป็นสังคมอุปถัมภ์ หรือสังคมขี้ข้า เข้าหาคนมีอำนาจ เข้าหาเส้นสาย ผมมักสอนนักศึกษาว่าสังคมไทยเป็นสังคมขี้ ที่มักมีมุมมองเรื่องขี้ในเรื่องต่างๆ”

เขายังอธิบาย"ถ้าจะมอง พ.ต.ท.ทักษิณ ผ่านมุมมองว่าด้วยขี้ ก็ต้องเรียกว่า ขี้ขำ เพราะ ขี้ขำ แปลว่า อุจจาระที่ค้างรูทวารอยู่ แม้จะออกแรงแคะก็ยังเอาออกลำบาก ส่วนนายกฯ ยิ่งลักษณ์ อาจจะมองว่า ขี้หย้อง กับ ขี้แบ๊ะ คำแรกหมายถึงหญิงสาวที่ชอบแต่แต่งตัวสวยงาม ชอบสำรวยสำอาง ส่วนคำที่สอง หมายถึง พวกที่ไม่ทำอะไรจริงจังเป็นล่ำเป็นสัน ทำตัวอีล่อยป้อยแอ หรือทำไปอย่างเสียไม่ได้ ส่วนชนชั้นนำฝ่ายอนุรักษ์ของไทยอาจมองได้ว่าเป็นพวก 'ขี้หักถ่อง' ซึ่งแปลว่า พวกทำอะไรครึ่งๆ กลางๆ ปากว่าตาขยิบ ปากพูดให้คนทำดี แต่ไม่กล้าลงมือแก้ปัญหาเอง"

ขี้ขำแบบทักษิณ จึงมีฤทธิ์เดช ทำให้รัฐสภาต้องพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

โดยเฉพาะ มาตรา 3 ที่เปิดโอกาสให้ ทักษิณ ชินวัตร สูบพลังงานจากอ่าวไทยของประเทศไทยไป

นายสรรเสริญ สมะลาภา ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า การที่กรรมาธิการเสียงข้างมากแก้ไข มาตรา 190 ให้เหลือเพียงหนังสือสัญญา ที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือมีบทให้เปิดเสรีด้านการค้า หรือการลงทุนนั้นต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาฯ นั้น ขอเสนอว่า นอกจากเรื่องเขตแดนเปิดเสรีด้านการค้า การลงทุน แล้วต้องเพิ่มว่าหากหนังสือสัญญาดังกล่าวมีบทเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ในการคุ้มครอง หรือการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และพลังงาน ย่อมต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาฯ ด้วย

“แหล่งพลังงานพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลของไทยและกัมพูชา ที่ยังไม่มีข้อยุติ ซึ่งกระทบต่อประชาชนทั้งประเทศ เพราะมีมูลค่ามหาศาล เนื่องจากธนาคารโลกประเมินว่าพื้นที่ 2.6 หมื่นตาราง กม. มีน้ำมันถึง 2 พันล้านบาร์เรล มีแก๊สธรรมชาติถึง 10 ล้านล้าน ลบ.ฟุต มีมูลค่ารวมถึง 5 ล้านล้านบาท” สรรเสริญอธิบาย

แม้กระทั่งการเลือกกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เมื่อวันที่ 15 ต.ค.ที่ผ่านมา ปรากฏว่า ที่ประชุมคณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ลงมติเลือก นายสมชัย ศรีสุทธิยากร ข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ เลขาธิการพีเน็ต นายบุญส่ง น้อยโสภณ ผู้พิพากษาอาวุโส ในศาลอุทธรณ์ ภาค 7 และ นายประวิช รัตนเพียร อดีตผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็น กกต.

โดยทั้ง 3 ราย เป็นผู้ได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการสรรหาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ทั้งนี้คณะกรรมการสรรหาจะเสนอรายชื่อต่อประธานวุฒิสภา เพื่อบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมเพื่อให้ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบต่อไป

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 30 ก.ย.ที่ผ่านมา มีบุคคลสมัครเข้ารับการสรรหาเป็น กกต. 42 คน อาทิ นายวรินทร์ เทียมจรัส ทนายความอิสระ และอดีต ส.ว. นายวัยวุฒิ หล่อตระกูล อัยการอาวุโส สำนักงานอัยการสูงสุด นายประชา เตรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ปลัดกระทรวงคมนาคม พล.ต.ต.เกริก กัลยาณมิตร อดีต ส.ว. พล.ต.ท.ทวีศักดิ์ ตู้จินดา กกต. ประจำกรุงเทพมหานคร นางสุดสงวน สุธีสร รองศาสตราจารย์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ นายคมสัน โพธิ์คง นักวิชาการอิสระ และอดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เป็นต้น

สำหรับรองศาสตราจารย์สมชัย ศรีสุทธิยากร นั้น ปัจจุบันอายุ 55 ปี วุฒิการศึกษา รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปี 2523 พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ปี 2527 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งข้าราชการบำนาญ สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประสบการณ์ เคยดำรงตำแหน่ง ผอ.สำนักเสริมศึกษาและบริการสังคม , ผอ.สถาบันทรัพยากรมนุษย์ และรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา ม.ธรรมศาสตร์ รวมถึง ผอ.หลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก ทางรัฐประศาสนศาสตร์ ม.ศรีปทุม

นายบุญส่ง น้อยโสภณ ปัจจุบันอายุ 65 ปี วุฒิการศึกษา นิติศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2517 เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายเนติบัณฑิตยสภา ปี 2518 ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ประสบการณ์ทำงาน เคยดำรงตำแหน่งรองอธิบดีผู้พิพากษาภาค 7 อธิบดีผู้พิพากษาภาค 3 รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค 7 ผู้พิพากษาศาลฎีกา และประธานศาลอุทธรณ์ภาค 7

นายประวิช รัตนเพียร ปัจจุบันอายุ 57 ปี วุฒิการศึกษา รัฐศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2519 Master of Public Administration, The Pennsylvania State University, สหรัฐอเมริกาปี 2522 และ Doctor of Education (Major - Higher Education, The Pennsylvania State University, สหรัฐอเมริกา ปี 2526) ประสบการณ์ทำงาน เคยดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงานกลาง ส.ส.กทม. สส.นครราชสีมา รองเลขาธิการนายก รัฐมนตรีฝ่ายการเมือง รมช.พาณิชย์ รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI และผู้ตรวจการแผ่นดิน

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 15 ต.ค. ที่ประชุมคณะกรรมการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ลงมติเลือก นายณรงค์ รัฐอมฤต เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.เป็นผู้สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็น ป.ป.ช.ด้วยคะแนน 3 คะแนน

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 30 ก.ย.ที่ผ่านมา มีผู้สมัครเป็นกรรมการ ป.ป.ช. จำนวน 10 คน ได้แก่ 1. ศ.ดร.วิเชียร ศรีคำ ศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2. นายพลเดช ปิ่นประทีป อดีต รมช.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 3. นายสุรสีห์ โกศลนาวิน อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 4.น.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง 5. นายพิสิษฐ์ ผลรักษ์เขตต์ ที่ปรึกษากฎหมาย สำนักงานกฎหมายปกครองและทนายความ 6.พ.ต.อ.ดุษฎี อารยวุฒิ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม 7. นายชั่งทอง โอภาสศิริวิทย์ อดีตเลขาธิการสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 8. นายพิพัฒน์ วงศาโรจน์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก 9. นายณรงค์ รัฐอมฤต เลขาธิการ คณะกรรมการ ป.ป.ช. และ 10. พลโท ศานิต สร้างสมวงษ์ อดีตหัวหน้าสำนักตุลาการทหาร

ทั้ง กกต.และ ป.ป.ช. ยังไม่แน่ว่า จะจัดอยู่ในจำพวก “ขี้ข้าทักษิณ”อีกหรือไม่...ซึ่งคงต้องรอให้การกระทำพิสูจน์

ตรงกันข้ามกับพฤติกรรมของ “จุลสิงห์ วสันตสิงห์”อดีตอัยการสูงสุด

โดยเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ที่ผ่านมา นายนันทศักดิ์ พูลสุข อธิบดีอัยการคดีพิเศษคนใหม่ และโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุดคนใหม่ แถลงถึงการสั่งคดีของอัยการ ในสำนวนคดีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กับพวกรวม 26 คน ผู้ต้องหาฐานร่วมกัน หรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำผิดหรือสนับสนุนให้มีการกระทำผิดฐานก่อการร้าย หรือ เพื่อให้เกิดเหตุร้ายแก่ประเทศไทยจากภายนอกประเทศ กรณีการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาชนต่อต้านประชาธิปไตยแห่งชาติ (นปช.) ที่แยกราชประสงค์ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2553 ว่า “คดีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ในขณะเกิดเหตุผู้ต้องหาพำนักอยู่ในต่างประเทศ และ พ.ต.ท.ทักษิณได้วิดีโอลิงค์ โฟนอิน หรือทวิตเตอร์ ทั้งภาพและเสียงเข้ามาในเวทีปราศรัยของกลุ่มผู้ชุมนุม นปช. ที่ประท้วงตามสถานที่ต่างๆ ทั้งในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดนั้น โดยสาระเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการเรียกร้องประชาธิปไตยให้มีการยุบสภาตามวิถีทางระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งโจมตีการปฏิวัติรัฐประหาร และโจมตีการบริหารงานของรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี โดย พ.ต.ท.ทักษิณ มิได้กล่าวเรียกร้องให้ผู้ชุมนุมกระทำผิดกฎหมายให้เผาศาลากลางจังหวัด เผาสถานทูต หรือเผาสถานกงสุล หรือยุยงให้ล้มล้างรัฐธรรมนูญโดยวิธีการอันไม่ชอบด้วยกฎหมาย”

“นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อดีตอัยการสูงสุด ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจพิจารณา เนื่องจากเป็นเหตุเกิดนอกราชอาณาจักร จึงมีคำสั่งไม่ฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ในความผิดฐานร่วมกันก่อการร้ายดังกล่าว" โฆษกคนใหม่บอกนักข่าวไว้อย่างนั้น

ก่อนหน้านี้ นายจุลสิงห์ สั่งไม่อุทธรณ์คดีเลี่ยงภาษีการโอนหุ้น บริษัท ชินคอร์ป ของคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร์ นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ และนางกาญจนาภา หงษ์เหิน มาแล้วครั้งหนึ่ง จนโดนนายถาวร เสนเนียม ยื่นเรื่องเอาผิดต่อ ป.ป.ช. ไปเมื่อ 30 ก.ย.ที่ผ่านมา

สังคมขี้ ยังสะท้อนผ่านกระบวนการ “ขี้ฉ้อ” โครงการจำนำข้าวของรัฐบาล

โดยเมื่อวันที่ 15 ต.ค.ที่ผ่านมา ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาลเพื่อขอให้ยกเลิกวิธีการรับจำนำข้าว และหันมาใช้วิธีจ่ายผลประโยชน์ส่วนเพิ่มให้ชาวนาโดยตรงแทน พร้อมระบุว่า การดำเนินนโยบายรับจำนำข้าวในระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา สร้างความสูญเสียทางงบประมาณไปแล้วไม่น้อยกว่า 425,000 ล้านบาท แต่มีชาวนาได้รับผลประโยชน์ไปไม่ถึงครึ่งหนึ่ง แต่กลับมีผู้อื่นที่มิใช่ชาวนา ใช้ช่องโหว่ทำการคอร์รัปชันหาประโยชน์ไปมากกว่า 110,000 ล้านบาท

ที่สำคัญยังมีข้อมูลของกระทรวงเกษตรของสหรัฐ ระบุว่า โครงการจำนำข้าว ทำให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นโดยปริมาณข้าวในสต็อกของไทยระหว่างปี 2556-2557 จะพุ่งขึ้น 24% เป็น 15.5 ล้านตัน ทั้งนี้ผลผลิตข้าวของไทย ระหว่างปี 2556-2557 จะเพิ่มขึ้น 4.5% เป็น 21.1 ล้านตัน ขณะที่ปริมาณผลผลิตข้าวทั่วโลกเพิ่มขึ้น 1.7% สู่ระดับมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ที่ 476.8 ล้านตัน

รายงานด้านราคาข้าวระบุว่า ราคาข้าวของไทยที่ปีนี้ตกลง 24% เป็น 445 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน และมีแนวโนมปรับลดลงอีก โดยการประเมินของพ่อค้าและนักวิเคราะห์ที่บลูกเบิร์กรวบรวมได้ คาดว่าราคาข้าวขาวหัก 5% ของไทยจะลดลง 12 % เหลือเพียง 390 ดอลลาร์/ตัน ภายในเดือนเมษายนปีหน้า ซึ่งถือว่าเป็นราคาต่ำสุดในรอบ 5 ปีด้วย

นี่แหละผลผลิตของ พฤติกรรมขี้สองก้อน จากสองพี่น้องชินวัตร !!!


จุลสิงห์ วสันตสิงห์
ทักษิณ ชินวัตร
กำลังโหลดความคิดเห็น